ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สามมหาราชตอนที่ ๕




                                       

                                                                                      ๔๒
                                         ตอนที่ ๕ อลังค์การสถาปัตย์แห่งอุษาคเนย์
วัง
                พระราชวังเป็นขอบเขตที่อยู่อาศัยของชนชั้นสูง ซึ่งได้แก่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ เป็นศูนย์กลางแห่งความรุ่งเรือง บรรดาชาวต่างประเทศที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา ยอส เซาเต็น พ่อค้าฮอลันดาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม และพระเจ้าประสาททอง กล่าวว่า พระราชวังหลวงที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ตั้งอยู่บนฝั่งน้ำด้านเหนือของพระนคร เสมือนเป็นเมืองเล็กๆ แยกอยู่อีกเมืองหนึ่ง  ปราสาทราชมณเฑียรดูมโหฬาร ตลอดจนอาคารต่างๆ มีสีทองทั้งสิ้น พระมหากษัตริย์สยาม เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในภาคตะวันออกนี้ ยังไม่มี
พระมหากษัตริย์พระองค์ใดในแถบนี้ของโลก ที่จะมีเมืองหลวงใหญ่โตมโหฬารวิจิตรพิสดาร และสมบูรณ์พูนสุขเหมือนพระมหากษัตริย์ในอาณาจักรสยามนี้ ภายในวังมีปราสาทราชมณเฑียรอันเป็นที่ประทับ มีท้องพระโรงเป็นที่ว่าราชการบ้านเมืองและที่ประกอบพระราชพิธี ของพระมหากษัตริย์ มีตำหนักน้อยใหญ่นับร้อยตำหนัก วังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเร่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับ และว่าราชการบริหารอาณาจักร ขุนนางผู้ใกล้ชิด และช่าง ควบคุมทาสและบ่าวไพร่ก่อสร้างทั้งเมืองวัดวาอาราม ถนนหนทาง ส่วนอื่นๆของราชธานีก็ทยอยก่อสร้างเป็นสัดส่วน พระราชวังหลวงของกรุงศรีอโยธยาศรีรามเทพนครนั้น ก่อสร้าง ในปีพ.ศ.๑๘๙๓ เมื่อแรกเริ่มสร้างอาณาจักรและ เป็นการสร้างต่อเนื่องกันในหลายรัชกาล ในระยะแรกพระรามาธิบดี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังด้วยเครื่องไม้ ขึ้นตรงวัดพระศรีสรรเพชญ ในปัจจุบัน หันหน้าพระราชวังไปทางทิศตะวันออก ใช้แม่น้ำลพบุรีอยู่ด้านข้าง วังที่ประทับประกอบไปด้วย หมู่พระมหาปราสาทคงเป็นปราสาทเครื่องยอดเป็นไม้ หลายองค์ แนวเขตพระราชวังเป็นกำแพงปักด้วยไม้แบบเสาพระเนียดเมื่อบ้านเมืองมีความมั่นคงขึ้น อันเนื่องจากการค้าขายกับต่างประเทศ และความเจริญในทางเทคนิค วิทยาการ ซึ่งชาวตะวันตกเป็นผู้นำเข้ามา ดังนั้นรูปแบบและโครงสร้างของเมืองจึงเปลี่ยนแปลงไป เริ่มจากการก่อสร้างกำแพงเมืองด้วยอิฐ หรือศิลาแลง มีใบเสมาและป้อมรับทางปืนอย่างเช่นเดียวกับเมืองในยุโรป ภายในเมือง
มีพวกพ่อค้า และผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ใช่การเกษตรอาศัยอยู่ จึงเป็นการยากที่พระมหากษัตริย์และเจ้านายจะอาศัยอยู่ในรั้วในวังที่เป็น เครื่องไม้ ให้สงบปลอดภัย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย และเพื่อการปกครองให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นในราชอาณาจักรจึงได้มี การสร้างพระราชวังอันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนขาวมีใบเสมา และป้อมเช่นเดียวกันกับกำแพงเมือง นอกจากนั้นยังแบ่งออกเป็นชั้นนอกชั้นในถึง ๓ชั้นด้วยกัน ปราสาทราชมณเฑียรก็เปลี่ยนจากเครื่องไม้มาก่อสร้างด้วยอิฐเป็นตึกใหญ่สูง ตระหง่าน เคียงคู่พระสถูปเจดีย์และวิหารทางศาสนา นอกจากพระราชวังหลวงแล้ว ยังมีวังอีก ๒ประเภทที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอโยธยา  ภายหลังรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถลง มา


                                                                                          ๔๓
ประเภทแรกคือ วังหน้าของพระมหาอุปราช และวังหลังหลังของเจ้าฟ้า ที่มีความสำคัญรองลงมา   สมัยก่อนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์บรรดาเจ้านายที่สำคัญรองลงมาจากพระมหากษัตริย์นั้น ไม่ได้อยู่ในเมืองหลวง มักโปรดให้ไปครองเมืองลูกหลวง หลานหลวงแต่เมื่อมีการปฏิรูปการปกครอง และการบริหาร ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งผนวกอาณาจักรสุโขทัยอย่างเด็ดขาด จัดแบ่งเมืองต่างๆให้เจ้านายและขุนนางออกไปปกครองส่วนบรรดาเจ้านายใกล้ชิดที่เรียงลำดับการสืบราชวงศ์ ก็ประทับอยู่ในเมืองหลวง เพื่อป้องกันการซ่องสุมผู้คนก่อการรัฐประหาร เจ้านายที่ ทรงมีฐานันดรศักดิ์ และตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในกฎมณเฑียรบาลโปรดให้มีวังที่ประทับ วังของเจ้านายพระองค์แรกที่ดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ก็คือวังจันทร์เกษมซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชา โปรดสร้างให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศ ราชโอรส ครั้นมาถึงสมัยพระเพทราชาปรากฏมีการตั้งตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ขึ้น เมื่อมีการกำหนดวังจันทรเกษมเป็นวังหน้าแล้วขาดแต่ที่ประทับวังหลัง จึงสร้างพระราชวังหลังขึ้นที่บริเวณสวนหลวงเป็นที่ประทับ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของวังหลวงติดกำแพงพระนครริมแม่น้ำ บางเกาะมีการก่อสร้างพระที่นั่งต่างๆเพิ่มเติมขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ได้แก่  พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท และพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท (พระที่นั่งทั้งสามองค์ตั้งอยู่แนวเดียวกับหมู่พระเจดีย์สามองค์ใน ปัจจุบัน) และสถานที่ตรงหอระฆังของวัดพระศรีสรรเพชญในปัจจุบันนั้นแต่เดิมสมัยสร้างพระราชวังในครั้งแรกสร้าง เป็นหอฆ้อง หอกลอง ประจำ พระราชวัง ใช้เป็นที่ย่ำยามทุ่มโมง ตีบอกสัญญาณ   โดยสร้างเป็นเสากลมสี่เสา ต่อมาจึง ก่อหุ้มเสากลมก่อเป็นหอ ครั้งหลังสุดได้ ก่อขยายชักมุขสี่ด้าน ก่อเป็นหอระฆังห้ายอด  จนเมื่อพระบรมไตรโลกนาถถวายวังเป็นวัด  หอกลอง ฆ้องนี้จึงใช้เป็นหอระฆังของวัดพระศรีสรรเพชญ พระบรมมหาราชวังนี้มีการก่อสร้างพระที่นั่งเพิ่มเติมต่อมาอีกหลายรัชกาลเช่น พระที่นั่งมังคลาภิเษก  จนถึงแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๘ แห่งกรุงศรีอโยธยา มีความเลื่อมใสศรัทราในพระพุทธศาสนามาก มีพระราชดำหริสร้างวัดเอาไว้ในพระบรมมหาราชวัง จึงได้ถวายพระราชวังเดิมให้เป็นวัดและขยายขอบเขตพระราชวังให้ใหญ่โตขึ้น โดยขยายขอบเขตพระราชวังไปทางทิศเหนือ ประชิดแม่น้ำลพบุรี ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเป็นวัดหน้าพระเมรุ วัดที่สร้างได้ขนานนามว่าวัดพระศรีสรรเพชญ ส่วนกำแผงวังหลวงขยายจากแนวเดิมชิดกำแพงพระนคร บนกำแพงเป็นใบเสมา ส่วนประตู ซุ้มเป็นยอดทรงแบบมลฑป เครื่องไม้ทาสีแดง    ซุ้มประตูเขตพระราชฐานส่วนในเป็นซุ้มปูนปั้นยอดเป็นรูปพรหมพักตร์    เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ถวายพระราชวังเป็นวัดแล้ว  จึงได้โปรดให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ทดแทนพระราชวังที่ถวายเป็นที่ตั้งวัด พระมหาปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่มีสององค์ ได้แก่ พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท และพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท   ส่วนพระที่นั่งอื่น ๆ  ได้สร้างเพิ่มขึ้นตามมาโดยพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆมา   เช่น พระที่นั่งสุริยาศอัมรินทร์สร้างขึ้นตรงข้ามกับพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท และพระนเรศวรให้สร้างพระที่

                                                                                     ๔๔
นั่งมังคลาภิเษก  เพื่อ เป็นพระที่นั่งที่ทรงเสด็จออกรับพระเจ้าเชียงใหม่ และต่อมาสมัยพระเอกาทศรถใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและใช้เป็นที่เสด็จออกรับราชฑูตของพระเจ้าตองอู(พุทธศักราช ๒๑๓๓  ๒๑๔๘) ในสมัยพระเจ้าปราสาททองครองราชย์ พระที่นั่งมังคลาภิเษกนี้ได้ถูกฟ้าผ่าจนเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น ไฟไหม้ครั้งนั้นถือ
เป็นครั้งรุนแรงมากในพระบรมมหาราชวังกรุงศรีอโยธยา ไฟได้เผาผลาญโรงเรือน ตำหนักใหญ่น้อย มากถึง ๑๐๐ หลังเนื่องจากตำหนักทั้งหมดเป็นเรือนไม้ทำให้เพลิงไหม้เสียหายหนักด้วยการก่อสร้างมีบริเวณไม่ห่างกันมากนักเพลิงจึงลุกลามอย่างง่ายพระเจ้าปราสาททองจึงทรงให้ก่อสร้างพระที่นั่งขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนพระที่นั่งมังคลาภิเศกที่ถูกเพลิงไหม้  ในปีพุทธศักราช ๒๑๘๖ บนรากฐานเดิมของพระที่นั่งมังคลาภิเษกพระราชทานชื่อพระที่นั่งวิหารสมเด็จ  เพื่อให้คล้องจองกับพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ตัวพระมหาปราสาทกว้าง ๒๓ เมตร ยาว ๒๕ เมตร มีมุขหน้าทางด้านทิศตะวันออก และมุขหลังทางด้านทิศตะวันตก เฉพาะมุขหน้ายาว ๓๑ เมตร มุขหลังยาว ๒๕.๕ เมตร เฉพาะมุขหลังแบ่งออกเป็นสองตอน ตอนสีหบัญชรทำเป็นมุขมีผนังและแบ่งเป็นมุขโถงตอนหลังยาว ๑๑ เมตร เฉพาะมุขมีมุขเด็จยาว ๓.๕ เมตร กว้าง ๘ เมตร โดยเฉพาะความยาวของพระที่นั่งจากมุขหน้าถึงมุขหลังยาวทั้งหมด ๘๑ เมตร    พระที่นั่งวิหารสมเด็จได้รับ การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการปฏิสังขรณ์โดยมีเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ มีการแก้ไขผนังเจาะช่องหน้าต่างเปลี่ยนเป็นบานพระบัญชรมีซุ้มยอด   แต่เดิมหลังคามุงด้วยกระเบื้องจึงเปลี่ยนเป็นดาดด้วยดีบุก ใส่บราลีที่สันหลังคา ปิดทองประดับกระจก เพราะรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษเป็นระยะรัชกาลยาวนาน (พุทธศักราช ๒๒๗๕  ๒๓๐๑) การสร้างใหม่มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นการปฏิสังขรณ์ให้ใหม่ขึ้นสวยงามขึ้นมากกว่า ฉะนั้นความสง่างามอลังการจึงเป็นสิ่งที่เลื่องลือ จนนำมาเรียกราชวงค์ว่า ราชวงศ์ปราสาททอง พระเจ้าอยู่หัวที่สถาปนามหาปราสาทพระวิหารสมเด็จก็ได้รับการถวายพระนามว่า พระเจ้าปราสาททอง  พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์เป็นอีกปราสาทหนึ่งที่พระเจ้าปราสาททองสั่งให้ก่อสร้างขึ้นพ.ศ.๒๑๗๕ บนกำแพงพระราชวังด้านตะวันออกเป็นโถงไม่มีฝากลางจตุมุขชั้นบนเป็นที่ตั้งแท่นสำหรับประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่และมหรสพด้านหน้าปราสาทเป็นถนนกว้าง ๖ วาเรียกว่าถนนหน้าจักรวรรษดิ์ติดถนนเป็นสนามกว้างใหญ่ตลอดแนวกำแพงพระบรมมหาราชวังเรียกสนามหน้าจักรวรรษดิ์หลังปราสาทมีสนามยิงเป้าพระแสงปืน ปลายรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ขณะพระองค์ประชวรได้ประทับ ณ พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทจนเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งนั้น ขณะประชวรหนักพระเจ้าปราสาททองได้รับสั่งให้เหล่าขุนนางผู้ใหญ่และราชโอรสทุกพระองค์เข้าเฝ้า ทรงมอบราชสมบัติให้เจ้าฟ้าไชยพระราชโอรส องค์ใหญ่ ทำให้พระนารายณ์พระราชโอรสองค์รองขัดใจเป็นอย่างมาก เสด็จออกจากที่เข้าเฝ้าแล้วใช้ปืนใหญ่ระดมยิงพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท พังทลายลง ในกาลต่อมาเมื่อพระนารายณ์ได้เสด็จผ่านพิภพจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ตรงพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งแบบสองชั้น ใช้เป็นที่ประทับเสด็จทอดพระเนตร

                                                                                      ๔๕
ขบวนแห่ทางชลมารคในแม่น้ำลพบุรี และเสด็จขึ้นลงในการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ เมืองลพบุรี ขอกล่าวถึงพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทเป็นพระที่นั่งที่ใหญ่โอ่โถง  มีความยาวประมาณ ๗๖เมตร ความกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ตัวพระมหาปราสาทเป็นเรือนยอดมีมุขหน้ามุขหลังยาว  มุขข้างสั้น องค์พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทแบ่งเป็นสองตอน คือ   ตอนหน้า มีที่เสด็จออกเป็นสีหบัญชร ด้านหน้าของสีหบัญชรเป็นท้องพระโรงยาว ด้านหน้าท้องพระโรงเป็นมุขเด็จแบบมุขโถง กลางมุขเด็จตั้งพระที่นั่งบุษบกใช้เป็นที่ประทับเวลาออกขุนนางหรือรับราชทูต ตามแต่โอกาส และด้านหลังข้างสีหบัญชรมีบันไดลงสองข้าง สำหรับเสด็จออกและใช้รับราชทูตต่าง ๆ    ส่วนตอนหลัง มีที่เสด็จออกเป็นท้องพระโรง ใช้เสด็จออกสำหรับฝ่ายในเข้าเฝ้า มุขตอนหน้าเป็นมุขโถงแบบมุขเด็จไม่มีบันไดลง แต่มีบันไดขนาบด้านข้างของมุขเด็จ ด้านข้างทางขวามีโรงช้างเผือกเป็นโรงยอดสี่เหลี่ยมจตุรัสความกว้าง ๑๐ เมตร กำแพงกั้นเป็นแนวเขื่อนเพ็ชรอยู่ในแนวถนนท้ายพระที่นั่ง ประเพณีการเสด็จออกสีหบัญชรของกษัตริย์สมัยกรุงศรีอโยธยานั้น เป็นการเสด็จออกสีหบัญชรภายในพระมหาปราสาท ขุนนางเฝ้าที่ท้องพระโรงตามตำแหน่ง ในสมัยพระนารายณ์พระองค์ เสด็จออกสีหบัญชรรับราชทูตเชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ ทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ถวายพระราชสาส์น เป็นการเสด็จออกเต็มยศ มีการยืนช้าง ยืนม้า ทหารเหล่าต่าง ๆ แต่งเต็มยศ รวมทั้งทหารอาสาต่างประเทศ ตลอดถึงบรรดาชาวต่างประเทศที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แต่งกายตามชาติของตนราชทูตถวายเครื่องราชบรรณาการและมีพระราชปฏิสันฐานตามขบวนการพิธีธรรมเนียมตรัสถามราชทูต
 อีกแบบอย่างหนึ่งเป็นการเสด็จออกมุขด้านหน้าพระมหาปราสาทมีการยืนช้าง ยืนม้า ทหารต่าง ๆ แต่งเต็มยศ ชาวต่างชาติแต่งกายตามชาติของตน ขุนนางและราชทูตเฝ้าที่ชาลาหน้าพระลานพระมหาปราสาท การเข้าเฝ้าดังกล่าวข้างต้น มีการประโคมแตร ทั่ง มโหระทึกไขพระวิสูตร เวลาเสด็จออกและเสด็จขึ้นทั้งสองคราวข้อความที่พรรณนาถึง พระราชวังหลวงกรุงศรีอโยธยาโดย ราชทูตลังกา กล่าวว่า
           “
เมื่อถึงเขตพระราชวัง แลเห็นปราสาทราชมนเฑียร ล้วนแต่ปิดทอง(ลงรักปิดทอง)อร่าม...เจ้าพนักงานจึงนำทูตานุทูตเข้าไปในพระราชวัง ผ่านประตู ๒ ชั้น ที่ประตูประดับประดาด้วยสีทองและสีอื่นๆ เมื่อล่วงประตูชั้นที่สองเข้าไป ก็ถึงพระที่นั่ง (สรรเพชญปราสาท) สองข้างฐานมุขเด็จพระที่นั่ง มีรูปภาพต่างๆ ตั้งไว้คือ รูปหมีรูปราชสีห์ รูปรากษส รูปโทวาริก รูปนาค รูปพิราวะยักษ์ รูปเหล่านี้ล้วนปิดทองตั้งอย่างละคู่ ตรงหมู่รูปขึ้นไปเป็น (มุขเด็จ) ราชบัลลังค์ก็สูงประมาณ ๕ ศอก ตั้งเครื่องสูงรอบ (มุขเสด็จ) ราชบัลลังค์นั้นผูกม่านปักทองงามน่าพิศวง ฝาผนังพระที่นั่งก็ปิดทอง บนราชบัลลังก์ตั้งบุษบกที่ประทับเสด็จออกที่บุษบกนั้น พวกทูตานุทูตเข้าเฝ้า ราชทูตถวายพระราชสาส์นและเครื่องบรรณาการเสร็จแล้ว พระเจ้ากรุงศรีอโยธยา จึงทรงพระกรุณาพระราชทานอนุญาตให้พวกทูตานุทูต ไปเที่ยวดูสถานที่ต่างๆ ในพระราชวังต่อไป”    บรรดาทูตานุทูตพรรณนาถึงโรงช้าง (โรงยอด) ในและนอกพระราชวัง และได้บรรยายถึงประตูพระราชวังว่า ประตูพระราชวัง

                                                                                       ๔๖
ยอดปิดทอง ประดับด้วยดอกไม้และเครือไม้(แกะสลัก) เมื่อแลดูกลับเข้าไปข้างในเห็นพระที่นั่งหลังคา ๕ ชั้น มียอดอันปิดทองพระราชวังอันงามวิจิตรที่กล่าวมานี้ สร้างที่ริมกำแพงใกล้แม่น้ำ  จากบันทึกดังกล่าวทำให้ภาพสถานที่เป็นพระราชวังและ ปราสาท ชัดเจนในการศึกษาเรื่องราวของอาณาจักรอโยธยา ราษฎรทั่วไปถ้าไม่มีรับสั่งในเข้าเฝ้าแล้วห้ามเข้าไปภายในกำแพงวัง จะเข้าได้ก็เฉพาะนางในและโขลนทวาร  เจ้านายและเชื้อพระวงศ์   ส่วนขุนนางและชาวต่างประเทศ เมื่อจะเข้าเฝ้า ก็จะผ่านเข้าทางประตูโขลน ด้านนอกเป็นทหารหลวงชาย ด้านในเป็นจ่าโขลนหญิง อาวุธและของที่อาจใช้เป็นอาวุธทุกชนิดที่นำมาด้วยจะถูกยึดไว้ คานหามและผู้ติดตามก็ให้รออยู่ด้านนอกกำแพงวัง ในวังหลวงจะมีวัดพระศรีสรรเพชญเป็นวัดประจำพระราชวัง หรือ เป็นหอพระแก้วของพระนคร (รัตนะที่หนึ่งตามคติทางพุทธศาสนา) มีพระศรีสรรเพชญ พระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ประดิษฐาน
ระบบน้ำที่ใช้ภายในพระราชวังมีระบบประปาของพระราชวังวางท่อไปยังพระราชวังและตำหนักต่างๆ  รากฐานการประปานั้นเริ่มก่อสร้างรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ด้วย แรงงานไพร่และทาส โดยช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้จัดวางระบบท่อดินเผา ระบบกังหัน ระหัดวิดน้ำและตะบันน้ำ  ผันน้ำจากแม่น้ำลพบุรีริมพระราชวังเข้ามาสู่ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่  จุด  แล้ว ปล่อยน้ำลงในระบบท่อดินเผา ไปสู่ห้องเครื่อง ห้องสรงในตำหนักต่าง ๆ 
อู่เรือรบและเรือพระที่นั่งที่ใช้ในพระราชพิธี อยู่ปากคลองคูไม้ร้อง แถววัดเชิงท่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดน้ำขนาดใหญ่ฝั่งตรงข้ามพระราชวัง  มีจำนวนเรือพระที่นั่งมากกว่า ๕๐ ลำ  มีชื่อต่าง ๆ  มากมาย เช่น ศรีษะพระครุฑพาหนะ อสุราวายุภักษ์ ศรีษะหงษ์พาหนะ   แก้วจักรมณี  สุวรรณจักรรัตนพิมานไชย  สุวรรณพิมานไชย สาลิกาล่องลม เอกไชย สินธุประเวศ รัตนพิมานอำมเรศ เป็นต้น     
ความมั่งคั่งของกรุงอโยธยา อาณาจักรสยาม มาจากทรัพยากรที่สมบูรณ์เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ทั้งการผลิตข้าว การปศุสัตว์วัวควาย หนังวัวหนังควาย ของป่าเครื่องเทศ ไม้สัก แร่ทองคำ อากรที่เก็บได้จากการค้าขายนำส่งเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้จ่ายและ ทะนุบำรุงวัดวาอาราม เวียง วังต่างๆ ให้ใหญ่โต สวยงามอลังการมีการสร้างอารามหลวง พระราชวัง ปราสาทหลายองค์จนชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายพรรณนาถึงเมืองที่มีความร่ำรวยความใหญ่โตสวยงามของ
พระราชวังแห่งกรุงอโยธยา ที่หาเมืองใดในอาณาจักรอื่นของแหลมอินโดจีน เทียบเทียมได้ แต่นั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ ทำให้บรรดาสมาชิกของราชวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ เช่นสมุหกลาโหม เกิดการแย่งชิงราชสมบัติเพื่อครองอำนาจเหนือกรุงศรีอโยธยา อีกประการที่มองข้ามไม่ได้คือการทำลายระบบเมืองท่าของอโยธยาของอังวะดินแดนของเมืองท่าสำคัญแห่งลุ่มน้ำเอยาวดี  เป็นผลให้อาณาจักรสยามที่มีความอ่อนแอมากกว่าอังวะ ความเป็นเมืองท่าจึงถูกทำลาย และในสมัยพระมหินทร์ได้ตกเป็นประเทศราชของอังวะ   ต้องส่งบรรณาการและสินค้าที่
                                                                                      ๔๗
อังวะต้องการ  ให้กับอังวะ    และในครั้งหลังรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศ ต้องถึงคราวสิ้นกรุงศรีอโยธยา  หลังจากพ่ายแพ้ สงครามแก่อังวะ

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สามมหาราช ตอนที่๔



                              


                                                             

                                                                                 ๓๐
                                             ตอนที่ ๔ จากอโยธยา สู่กรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา
        เมื่อตั้งพระทัยขยายเมืองอโยธยาให้ใหญ่โตมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู และป้องกันเมืองท่าแห่งนี้ให้ปลอดภัย จึงต้องสร้างเมืองสร้างระบบป้องกันจึงเป็นภาระหนักที่พระองค์ต้องเผชิญ พ.ศ.๑๘๙๓ ท้าวอู่ทองขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระรามาธิบดี(เป็นนารายณ์อวตารสมมุติเทพจากสรวงสวรรค์)พระมหากษัตริย์แห่งกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา บ่งบอกถึงรากเหง้าที่สืบมาจากทราวดี(นครชัยศรี ซึ่งก็คือแผ่นดินที่พระราชบิดาเข้ายึดครองก่อนเข้ายึดครองอโยธยา) สถาปนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการปกครองต่อจากศูนย์กลางจากกษัตริย์พระองค์ก่อนๆที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมที่ละโว้ ท้าวอู่ทองทรงใช้เวลา ๓ ปีเต็ม ก่อสร้างพระนครแต่ยังไม่ใหญ่โตมากนัก (การสร้างเมืองกระทำในหลายสมัยจนใหญ่โตทั้งเกาะเมือง)
          ในด้านภูมิศาสตร์และภูมิประเทศ กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยาพัฒนาขึ้นในพื้นที่ตอนล่างสุดของดินดอนสามเหลี่ยมเก่า และอยู่ในตำแหน่งตอนบนของดินดอนสามเหลี่ยมใหม่                                                         บริเวณที่เป็นดินดอนสามเหลี่ยมเก่าเริ่มตั้งแต่จังหวัดชัยนาท อันเป็นบริเวณที่การทับถมของโคลนตะกอนซึ่งมากับแม่น้ำและลำน้ำจากทางเหนือ ทางตะวันตก และตะวันออก ทำให้เกิดการแตกแพรกของลำน้ำใหญ่ๆ ขึ้นหลายสาย ประกอบด้วยแม่น้ำท่าจีนทางตะวันตก แม่น้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรีทางตอนกลาง และแม่น้ำป่าสักทางตะวันออก ระหว่างแม่น้ำใหญ่เหล่านี้มีการแตกออกเป็นหลายๆ แพรก และระหว่างแพรกล้วนเป็นท้องทุ่งกว้างใหญ่ เป็นที่รับน้ำในฤดูน้ำ และเป็นพื้นที่เกษตรในการปลูกข้าวนาปีของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น อยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณแม่น้ำอ้อม ของลำน้ำลพบุรี ซึ่งมีสาขาของลำน้ำน้อยและลำน้ำเจ้าพระยามาสบ ลำน้ำอ้อมนี้เริ่มตั้งแต่บริเวณตำบลหัวรอ หน้าวัดแม่นางปลื้ม หักวกไปทางตะวันตกกลายเป็นคลองเมืองด้านเหนือของเมืองอยุธยา ไปรวมกับลำน้ำเจ้าพระยาที่ไหลลงมาจากจังหวัดอ่างทองที่ตำบลหัวแหลม แล้ววกลงทางใต้เป็นคลองเมืองด้านตะวันตกของเมืองอยุธยา จากนั้นวกลงใต้ไปรวมกับลำคลองคูขื่อหน้าและลำน้ำป่าสักที่ตำบลบางกะจะ หน้าป้อมเพชร แม่น้ำใหญ่ไหลผ่านที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงของดินดอนสามเหลี่ยมตอนล่าง ผ่านสามโคก ตลาดขวัญ บางเกาะ ไปออกทะเลเมืองบางปลากด 
เมืองอยุธยาศรีรามเทพนครกับส่วนที่เป็นเป็นแพรกของลำน้ำสัก(ป่าสัก) ประกอบด้วยลำน้ำหันตราและลำคลองโพ เมื่อมีการขุดคูขื่อหน้าเชื่อมลำน้ำหันตรากับลำน้ำลพบุรี ตั้งแต่ตำบลหัวรอลงมาสบกับลำน้ำเจ้าพระยาที่
                                                                                         ๓๑
ตำบลบางกะจะ หน้าป้อมเพชร ก็ทำให้กลายเป็นคูเมืองหรือคลองเมืองด้านตะวันตกของเมืองอโยธยา ในขณะที่ลำน้ำหันตรานั้นทำหน้าที่เป็นคลองเมืองด้านเหนือและด้านตะวันออกของเมือง ส่วนด้านใต้นั้นอาศัยแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ข้างวัดพนัญเชิงเป็นคลองคู พื้นที่ของเมืองอโยธยาด้านกว้างนั้นเริ่มตั้งแต่คูขื่อหน้าไปทางตะวันออกจนถึงฝั่งแม่น้ำหันตรา แล้วมีการขุดคลองชักน้ำจากลำน้ำหันตราเข้ามาในพื้นที่เมืองเพื่อการใช้น้ำ และการคมนาคมภายในเมืองหลายคลอง คลองที่สำคัญก็คือ คลองข้าวเม่าหรือ คลองบ้านบาตรหรือ คลองหันตราที่เริ่มตั้งแต่คูขื่อหน้า เหนือวัดพิชัย ผ่ากลางเมืองอโยธยา ผ่านลำน้ำหันตราอันเป็นคลองเมืองด้านตะวันออกไปสู่ทุ่งพระอุทัย สบกับลำคลองโพซึ่งเป็นแพรกหนึ่งของลำน้ำป่าสัก โดยสรุป พื้นที่ตัวเมืองอยุธยามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้ากำหนดเอาคูขื่อหน้าที่เป็นทั้งคูเมืองด้านตะวันออกของเมืองอโยธยา และคลองเมืองด้านเหนือของเมืองอยุธยาเป็นเส้นแบ่ง ก็จะแลเห็นว่าเมืองอุยธยานั้นตั้งอยู่ภายในลุ่มน้ำป่าสักโดยตรง บริเวณพื้นที่ของเมืองที่มีลำน้ำล้อมรอบนี้มีขนาดยาวราว ๓ กิโลเมตร กว้างราว ๒ กิโลเมตร
กษัตริย์ของอโยธยาพระองค์ก่อนๆได้วางรากฐานเมืองแห่งนี้เอาไว้แล้วมีทั้งบึงกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพระนครและมีวัง วัดครบบริบูรณ์ แต่ยังไม่ใหญ่โตมากนัก
ความสำคัญของสายน้ำที่หล่อเลี้ยงกรุงศรีอยุธยา ลักษณะทางภูมิศาสตร์คงกล่าวได้ว่าสายน้ำหลักคือ แม่น้ำบางเกาะหรือได้ชื่อในภายหลังว่าเจ้าพระยาในแผนที่ของยุโรปเรียกสายน้ำขนาดใหญ่ว่า “แม่น้ำ”  Maenam” ส่วนสายน้ำแยกเรียกแม่ ซึ่งเป็นศัพท์เกิดขึ้นใหม่ เข้าใจว่าฝรั่งเข้ามาอยุธยาแล้วได้ยินหรือเป็นอันเข้าใจได้ว่าคนกรุงศรีอยุธยาเรียกสายน้ำว่าอะไร แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางน้ำหลักในการเดินทางค้าขาย เดินทัพ จากกรุงศรีอยุธยาไปหัวเมืองฝ่ายเหนือโดยมีจุดแยกที่เมืองพระบาง(นครสวรรค์)สุดท้ายต่อแดนระหว่างกรุงศรีอยุธยากับแคว้นสุโขทัย จากเมืองพระบางทวนน้ำ แม่ปิงขึ้นไปเป็นเมืองคนที  นครชุม ไตรตรึงษ์ ชากังราว ระแหง ตาก สุดแคว้นสุโขทัย เป็นแคว้นล้านนา ที่  เมืองละกอน(ลำปาง)เมือละพูร(หริภุญชัย หรือ ลำพูน)เวียงนครพิงค์เชียงใหม่เมืองหลางของแคว้นล้านนา ดังนั้นแม่ปิงจึงมีบทบาทสำคัญทั้งการคมนาคม การค้าขายและการศึกสงคราม  จากเมืองตากยังมีแม่วังแยกไป เวียงมังราย(เชียงราย)เมืองในแคว้นล้านนาบ้านเดิมของท้าวแสนพรหมนั่นเอง ส่วนแม่ย่าง(แม่น้ำน่าน)แยกจากปากน้ำโผล่เมืองพระบางถึงตำบลหนึ่ง(ชุมแสง)มีแม่ยมแยกไปเมืองพิจิตร วิศณุโลก แคว้นสุโขทัย เมืองแพร่แคว้นล้านนา แม่น่านนั้นต้นน้ำอยู่เมืองน่านไหลผ่าน ท่าอิด พิชัย สองแคว วิศณุโลกลงมาถึงเมืองพระบาง ในเวลาต่อมาแม่น้ำน่านเป็นสายน้ำสำคัญในการสู้รบเพื่อรักษากรุงศรี
                                                                                   ๓๒
อยุธยาและกรุงธนบุรีและตลอดระยะเวลารุ่งโรจน์ของกรุงศรีอยุธยาได้ใช้ลำเลียงสินค้าของป่าจากเมืองเหนือลงมายังท่าสำเภาหน้าป้อมเพชร
การค้ามีแม่น้ำบางเกาะเป็นเส้นทางออกทะเลจึงมีต่างชาติทั้งเมืองด้านมหาสมุทรอินเดียและเมืองจีนเมืองฝรั่ง ด้านมหาสมุทรแปซิฟิคการเก็บส่วยสาอากรการค้าจึงได้ทรัพย์สิน
แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำลพบุรี
แม่น้ำสัก
เมืองอโยธยา
เข้าพระคลังมากมายนัก  อยุธยาจึงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว  ด้วยเป็นเมืองน้ำ มีชุมชนก็ต้องมีการผลิตอาหารการเพาะปลูกและ การคมนาคม และเป็นเส้นทางเดินทัพป้องกันพระนคร จึงมีการขุดลอก คูคลอง ทั้งคลองลัดแม่น้ำให้ตรงสะดวกในการเดินเรือค้าขายออกทะเล ทั้งคลองขุดขึ้นใหม่ บูรณะคลองเก่า มาตลอดในหลายรัชสมัย
การบำรุงรักษาและการขุดคลองที่สำคัญมีตลอดในหลายรัชสมัยดังนี้
สำคัญที่สุดคือ คูขื่อหน้า เป็นคลองลัดเล็กๆด้านตะวันออก เชื่อมแม่น้ำป่าสักกับ แม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นคลองที่ใช้สัญจรมาแต่ครั้งเก่าก่อนเมื่อพระรามาธิบดีมาขยายเมืองเป็นกรุงเทพทราวดีก็ยังไม่มีการขุดขยายแต่อย่างใดคงมาขุดขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อป้องกันพระนครในสมัยพระมหาธรรมราชาจนเป็นคลองขื่อหน้า
คลองเมืองเมื่อแรกเริ่มคือแม่น้ำป่าสักไหลผ่านเมืองด้านเหนือพระนคร เมื่อขุดคลองขื่อหน้าแล้วจึง ทำให้กระแสน้ำป่าสักไหลทางตรงมาออกแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้างวัดพนัญเชิง ทำให้คลองเมืองตื้นเขินขึ้น แต่ก็มีการบูรณะ
                                                                                    ๓๓
ขุดลอกตลอดมาเพราะเป็นคูเมืองติดกับพระราชวัง และเป็นที่จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค       ยังมีลำคลองต่างๆที่บูรณะและขุดขึ้นในหลายรัชกาลอีกหลายคลอง
คลองสำโรง คลองทับนาง     สมเด็จพระรามาธิบดี(ที่ ๒) ขุดลอกให้กว้างใหญ่ขึ้น แม่น้ำบางเกาะช่วงปากคลองบางเกาะน้อย(โรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน)จนถึงเมืองธนบุรี(วังเดิม)ในปัจจุบันสมเด็จพระไชยราชาธิราช ขุดคลองลัดสายเล็กให้ตรงที่บางเกาะจนกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ในวันนี้นอกจากนี้แน่ม้ำบางเกาะหรือแม่น้ำเจ้าพระยาตรงอื่นๆก็ได้ขุดขึ้นให้แม่น้ำตรง สะดวกแก่การเดินเรือได้แก่ขุดคลองลัดที่บางกรวยในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขุดคลองลัด เกร็ดใหญ่ที่สามโคกในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดให้ขุดคลองลัด จากเมืองตลาดขวัญ มาออกบางกรวย (หรือตั้งแต่ปากคลองแม่น้ำอ้อมเมืองนนทบุรี ลงมาจนถึงวัดเขมาฯ)สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ขุดคลอง ปากเกร็ด
สมเด็จพระเจ้าเสือ ขุดคลองมหาชัยเชื่อมต่อแม่น้ำนครชัยศรีกับแม่น้ำบางเกาะ



                                                                                         ๓๔



                                                                                      ๓๕
กรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา ประกอบด้วย วัง บ้านเรือน ตลาด วัด ป้อมค่าย กำแพงเมือง การใช้ไม้เป็นสิ่งก่อสร้างชาวอุษาอาคเนย์มีที่ตั้งเมืองทางภูมิศาสตร์แถบศูนย์สูตรมีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ช่างกรุงศรีอยุธยาเรียนรู้ที่จะใช้
ไม้ชนิดต่างๆทำสิ่งก่อสร้างที่มีส่วนประกอบและใช้ชนิดของไม้ไม่เหมือนกันการสร้างพระนครทั้งวังและวัดวาอารามส่วนที่เป็นไม้จำเป็นต้องจัดหา และขอบรรณาการ เพราะป่าไม้บริเวณใกล้เคียง อโยธยา มีป่าไม้เบญจพรรณอยู่ทั่วไป ไม้ยาง ไม้กระบาก ไม้ตะแบก ไม้ตะเคียน มีดาษดื่น แต่ความคงทนมีน้อยสิ่งก่อสร้างต่างๆจึงต้องใช้ไม้ ตะเคียน(ส่วนที่อยู่กับน้ำ หรือในดิน) ไม้มะค่าไม้แดงทำพื้น ไม้ประดู่ ไม้กันเกรา ไม้หลุมพอ ทำเสา ไม้พะยูงทำตั่งหรือบรรลังค์ และไม้สักทำเครื่องบน ทำเสา ประตูหน้าต่าง ไม้จำพวกนี้ได้ นำมาจากป่าภูเขาในหัวเมืองลุ่มน้ำ ปิง วัง ยม น่าน และแม่น้ำสุพรรณ เมืองกาญจน์สิ่งก่อสร้างเครื่องบนไม้ที่สมบูรณ์ชมได้ที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ) ขุนนางเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาจากบัญชาพระเจ้าอู่ทอง  ขุนงั่วเป็นแม่งานควบคุมงานใช้ช่างไม้จากชาวมอญและลาวจากเมืองสุพรรณ ช่างมอญนั้นเก่งในการทำอิฐดินเผามากนัก การสร้างวัดวาและวังของอยุธยานั้นช่างมอญสามารถสรรสร้างอิฐเป็นศิลปะคล้ายปราสาทตั้งอยู่บนเรือสำเภาส่วนไม้ก็เกะสลักได้ปราณีตไพร่ และทาสเป็นแรงงาน ตัดโค่น แล้วผูกแพท่อนซุง ใช้ลำน้ำทั้ง๓ของอโยธยา ล่องแพมาขึ้นท่าที่หนองโสน ส่วนดินเหนียวที่มีมากมาย นำมาปั้นและเผาเป็นอิฐขนาดกว้างคืบ ยาวศอกหลายแสนหลายล้านก้อนที่ใช้ในการสร้างสถานที่ต่างๆ กรุงศรีอุยธยา   สร้างบนพื้นที่ประมาณ ๓,๕๐๐ ไร่จากเมืองอโยธยาเดิม กำแพงอิฐที่แข็งแกร่งของเมืองมีความสูงสามวา หนาหกศอก ความยาวกว่า ๑๒.๖ กิโลเมตร( ประมาณ๓๐๐เส้น)  ล้อมรอบพระนคร มีป้อมปราการเชิงเทินสูงจากกำแพงอีกสามศอก ติดตั้งปืนใหญ่ ๑๖ป้อม  ป้อมปราการที่สำคัญได้แก่ป้อมเพชร,ป้อมเกาะแก้ว ป้อมปากคลองคูจาม,ป้อมปากคลองขุนละครไชย,ป้อมปากคลองแกลบ,ป้อมท้ายกบ,ป้อมปืนใหญ่ศุภรัตน์ปากคูเมือง,ป้อมท้ายสนม มีป้อมมหาไชยและป้อมวัดฝางควบคุมคูขื่อหน้าทำนบหัวรอ  ส่วนประตูกำแพงเมืองนั้นมีถึง๒๓ ประตู  กำแพงพระบรมมหาราชวัง ๕ ประตู ประตูย่อย ๖๑ ประตู และประตูน้ำของส่วนกำแพงที่มีคูเมืองและลำคลองเชื่อมต่อภายในพระนครกับคลองคูเมืองและแม่น้ำอีก ๑๒ ประตู ที่ตั้งเรือนของนายกอง ผู้รักษาป้อมปราการ
ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลป้อมนัก ภายในกำแพงเมือง อันกว้างใหญ่นั้นมี  ทางเข้าพระนครทางบกทางเดียวบริเวณคูขื่อหน้า   เรียกว่า ทำนบหัวรอขบวนทัพทางบกยกออกจากพระนครก็ทางนี้ผ่านทางวัดสามวิหาร ถนนและคูคลองของพระนคร สร้างขึ้นในรูปแบบที่ตัดเชื่อมโยงลักษณะตาข่าย ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก และแนวทิศเหนือ-ใต้ ถนนมหารัถยาอยู่ กลางพระนคร สร้างด้วยอิฐปูพื้นลายก้างปลา กว้างขวาง เริ่มตั้งแต่ประตูไชยทอดแนวเหนือ-ใต้ผ่าน ตรอแลงแกง (สี่แยก)ที่ทำโทษประจานคนผิด   หน้าวัดบรมพุทธารามเป็นเส้นทางเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง   ใช้ในการต้อนรับราชทูตและพ่อค้าชาวต่างประเทศ(ฝรั่ง อินเดีย และเปอร์เซีย ที่ต้องเข้ามาเจรจาการค้า ราชสำนักอนุญาตให้เข้าพระนครได้เฉพาะทางประตูไชย เท่านั้น นอกจากนี้ยังใช้ในกระบวนแห่

                                                                                       ๓๖
พยุหยาตราทางบก การชุมนุมทหาร ขบวนกฐินหลวงพระราชทาน ขบวนแห่นาคหลวง ขบวนแห่พระบรมศพ แนวถนนตะวันออก-ตก ตรงตรอแลงแกง  ทิศตะวันออกเป็นถนนป่าโทนตัดยาวไปถึงประตูเมืองตะวันออก ตรงข้ามวัดพิชัยส่วนด้านตะวันตกถึงวังหลังย่านตรอแลงแกงยังเป็นที่ตั้งหอกลองสามชั้นสูงสามสิบวาเอาไว้ตรวจดูข้าศึกชั้นบนมีกลองชื่อพระมหาฤกษย่ำเมื่อพบข้าศึก  ชั้นกลางมีกลองชื่อพระมหาระงับย่ำเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ชั้นล่างมีกลองใหญ่ย่ำเวลาถัดไปหลังวัดเกศเป็นที่ตั้งคุกใส่โจรปล้นสะดม ฝั่งตรงข้ามวัดเกศเป็นที่ตั้งศาลชำระความ หัวมุมตรอแลงแกงด้านตะวันตกเป็นที่ตั้งศาลพระเสื้อเมืองพระทรงเมืองพระหลักเมือง ถนนสายย่อยๆถูกเชื่อมต่อถึงกันด้วยสะพานอิฐและสะพานไม้กว่า ๓๐ แห่ง ทำให้เกิดพื้นที่ขนาดเล็ก ที่เกิดจากการตัดกันของแม่น้ำลำคลองและถนน อันเป็นที่ก่อสร้างวัดวาอารามกว่า ๕๐๐ แห่ง กระจายอยู่ทั่วพระนคร ที่ตั้งของสะพานไม้และสะพานอิฐที่สำคัญคือ ตะพานไม้ชื่อตะพานขุนโลก  อยู่ตรงประตูปากคลองท่อตรงมาออกประตูฉะไกรใหญ่   มีตะพานไม้ตรงถนนวัดขวิดข้ามไปวัดกุฏิสลัก  มีตะพานอิฐชื่อตะพานลำเหยตรงถนนตะแลงแกงข้ามไปถนนลาว มีตะพานอิฐชื่อตะพานสายโซ่ตรงประตูมหาโภคราช  ข้ามไปหน้าโรงไหม  มีตะพานไม้ตรงถนนหน้าวัดระฆังข้ามเข้าสวนองุ่น  และ มีตะพานอิฐชื่อตะพานสวนองุ่นอยู่ตรงถนนหลังวัดระฆังข้ามเข้ามาท้ายสระ  ปากคลองท่อมีคลองน้อยเลี้ยวไปตะวันตก  เข้ามาสระแก้วพระคลังใน ไปออกประตูฉางมหาไชยริมวัดสวนหลวงวัดสบสวรรค์ โดยทั้งตัวพระบรมมหาราชวัง ตลาด โรงช่าง บ้านขุนนางหรือพระญาติ   ผู้เป็นเจ้ากรมบริหารราชการ และบ้านเรือนราษฎรนั้นถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย พระบรมมหาราชวัง วังหลวง วังหน้า และวังหลัง มีทหารหลวงอยู่เวรยามประจำมิได้ว่างเว้น เรือนเจ้านาย (พระประยูรญาติของพระมหากษัตริย์) เรือนพระยาและขุนนางผู้ใหญ่มักอยู่ใกล้ฝั่งน้ำและใกล้วัด ในพระนครแต่ละเรือนของเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่จะอยู่เป็นชุมชนย่อยๆเลยทีเดียวเพราะแต่ละองค์แต่ละท่านมีเรือนบ่าวไพร่หลายสิบเรือน 
 เมื่อมีชุมชนก็ต้องมีความต้องการแลกเปลี่ยนสินค้า ข้าวปลาอาหาร และเครื่องใช้เครื่องประดับต่างๆ  จึงต้องสร้างตลาดร้านรวง  การค้าภายในกรุงศรีอโยธยานั้น แหล่งที่เป็นศูนย์กลางการค้า จะอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง ซึ่งมีเรือแพสัญจรไปมามากมาย เช่นย่านคลองฉะไกรใหญ่หรือคลองท่อเป็นต้น มีตลาดน้ำขนาดใหญ่อีก๔ แห่ง
คือ ตลาดน้ำวนบางกะจะหน้าวัดพนัญเชิง  พวกจามจอดเรือ แพขายของพวกจามที่อาศัยอยู่ย่านบ้านท้ายคูมีอาชีพสานเสื่อลันไตขาย  ตลาดปากคลองคูจามอยู่ใต้วัดพุทไธสวรรย์ท้ายสุเหร่าแขก แขกชวาและแขกมลายูบรรทุกหมากและตะกร้าหวายใส่เรือปากกว้าง ทอดสมอขายอยู่ที่ตรงปากคลองคูจาม แขกตานีทอผ้าไหมผ้าด้ายมาขายพวกพ่อค้าจีนและแขกจามทอดสมอขายน้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด สาคูเม็ดใหญ่เม็ดเล็ก กำมะถัน จันทร์แดง หวายตะค้า กระแชงเคย   ตลาดปากคลองคูไม้ร้องอยู่ริมคูเมืองด้านทิศเหนือข้างวัดเชิงท่า   ตลาดปากคลองวัดเดิมอยู่ใต้ศาลเจ้าปูนเถ้าก๋งแถบวัดอโยธยาด้านทิศตะวันออก เป็นที่ซื้อขายสินค้าทั้งในประเทศและสินค้าจาต่างประเทศ  ส่วนย่านการค้าที่อยู่บกอาศัยถนนสายต่างๆที่มีชุมชนเป็นร้านรวงมีตลาดในพระนครและนอกพระ
                                                                                           ๓๗
นคร เรียงรายไปตามท้องถนน เช่น ตลาดลาว (บอกถึงกลุ่มชาวลาวจากสุพรรณที่มาจากเชียงแสน และคนล้านนา )เหนือวัดคูหาสวรรค์ ตลาดป่าปลาเชิงทำนบหัวรอ ตลาดท่าเรือจ้างวัดนางชี(กลุ่มชาวคริสต์) หน้าบ้านโปรตุเกส ตลาดหลังตึกฮอลันดา ตลาดวัดสิงห์หน้าตึกญี่ปุ่น ตลาดร้านค้าทั่วไปนั้นมีอยู่ถึง ๔๐ แห่ง และตลาดที่เป็นแหล่งรวมของสินค้าเฉพาะจากแต่ละท้องถิ่น ๒๑ แห่ง เช่น ย่านสำพะนี (ย่านคนอินเดีย)ตีสกัดน้ำมันงา น้ำมันลูกกระเบา น้ำมันสำโรง น้ำมันถั่ว ย่านบ้านหม้อ ปั้นหม้อข้าวหม้อแกง กระทะ เตาขนมครก ขนมเบื้อง เตาไฟ ย่านบ้านริมวัดพร้าว ทำแป้งหอม น้ำมันหอม กระแจะน้ำอบ ธูปกระแจะ ธูปกระดาษ ย่านบ้านคนที(ชาวมอญ) ปั้นกระถางดินกระโถนดิน ตะคันเชิงไฟ เตาไฟ ปั้นรูปช้าง รูปม้า ตุ๊กตา  ย่านถนนลาวขายสรรพดอกไม้สด   ย่านป่าเหล็กวัดป่าฝ้ายขายสรรพเครื่องเหล็ก มีดพร้า  ย่านวังไชยขายของสดเช้าเย็น  ซื้อทองแดงไปทำทองเหลืองบุขันใหญ่น้อยขาย มี  ย่านฉะไกรใหญ่มีทั้งคนมอญคนแขกทำการค้าขาย  มีตลาดขายของสดเช้าเย็นและมีร้านขายฝาเรือนหอไม้ไผ่(ฝาขัดแตะและไม้ไผ่สานคล้ายเสื่อลำแพน)  ขายนั่งร้าน  ขายผ้าสุรัต  ผ้าขาว  ย่านป่าพัดขายพัดตะโหนดร่มตะโหนด คันกลมคันแบนคันใหญ่คันน้อย     และมีตลาดขายของสดเช้าเย็นอยู่ในย่านป่าพัดด้วย ชื่อถนนในพระนครจะตั้งชื่อที่บ่งบอกถึงความสำคัญของย่านนั้นๆ โดยสังเกตได้ว่ามักจะมีคำว่า ป่า นำหน้า ในสมัยอยุธยาคำว่าป่า มีความหมายว่า ตลาด หรือย่านที่ผลิตสินค้าต่างๆ ถนนป่าโทน ถนนป่าถ่าน ถนนป่ามะพร้าว ถนนป่าตอง ถนนชีกุนเชิงตะพานชีกุนฝั่งตะวันตก มีพวกแขกอินเดียตั้งร้านขายกำไลมือ กำไลเท้า ปิ่นปักผม แหวน ลูกปัดเครื่องประดับ ถนนลาว เป็นต้น ป่าโทน ก็บ่งบอกว่าขายโทนและเครื่องดนตรีไทย ป่าถ่านเป็น  ย่านขายถ่านฟืน ป่าตองก็ขายใบตองสำหรับทำกระทงใบตอง ป่ามะพร้าวขายมะพร้าวมาก ใครต้องการมะพร้าวไปทำอาหารก็ต้องมาหาซื้อที่ย่านนี้ ส่วนถนนชีกุนหน้าวัดมหาธาตุเป็นชื่อย่านที่อยู่อาศัยของพวกพราหมณ์บริเวณสะพานชีกุน ดังนั้น ถนนสายเดียวกัน จึงอาจประกอบด้วยชื่อถนนหลายชื่อ จะเห็นได้ว่าคลองฉะไกรใหญ่หรือคลองท่อ  เป็นคลองที่มีความสำคัญสายหนึ่งของกรุงศรีอโยธยา  นอกจากนั้นลำคลองสายนี้ยังตัดผ่านส่วนที่สำคัญของพระนคร  คือพระบรมมหาราชวัง   มีคลองน้อยเลี้ยวจากคลองท่อเข้ามาสระแก้วพระคลังใน    ซึ่งคลองนี้คงจะอนุญาตให้พวกพ่อค้าแม่ค้านำสินค้าที่ชาวต่างชาตินำเข้ามา จากต่างประเทศ
เช่น  กำไลจากอินเดีย  ผ้าเนื้อดีจากเมืองสุรัต  เป็นต้น สามารถ นำเข้าไปขายได้ในตลาดยอด  บริเวณสระแก้ว  เพื่อให้สาวชาววังออกมาเที่ยวหาซื้อกัน สินค้าจากเมืองต่างๆในอาณาจักร ถูกลำเลียงส่งมายังอโยธยา และแจกจ่ายไปยังตลาดต่างๆส่วนตลาดนอกพระนครก็พายเรือมารับสินค้าแลกสินค้ากลับไปยังหมู่บ้านตน  ลำคลองภายในพระนคร นั้นเต็มไปด้วยบ้านเรือน ผู้คน วัดวาอาราม บนสองฝั่งแม่น้ำนอกพระนคร ขุนนางถือศักดินามีที่นากว้างใหญ่อยู่นอกกรุงและในกรุง ขณะที่การจัดการที่ดินถูกจัดแยกออกเป็นส่วนๆ คือส่วนที่เป็นเขตการอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปต่างๆ เขตพื้นที่ผลิตงานช่างศิลปกรรมต่างๆ และพื้นที่อยู่อาศัยซึ่งแยกออกเป็นชาวไทยและชาวต่างชาติ เช่นป้อมประตูข้าวเปลือก เป็นป้อมประตูน้ำ  ปากคลองข้าวเปลือกเป็นย่าน
                                                                                      ๓๘
การค้าของชนชั้นสูง เป็นตลาดที่มีผู้คนขวักไขว่ เรือใหญ่น้อยพายแจวเบียดไปมาบรรทุกผลผลิตมาแลกเปลี่ยนและค้าขาย คลองนี้เป็นเส้นเลือดสำคัญเพราะเป็นเส้นทางบรรทุกขาเข้าของข้าวเปลือกในฤดูเก็บเกี่ยวจากท้องทุ่งแม่น้ำบางกอกทางทิศเหนือ ลัดเลาะตามคลองลงมาทางใต้ยังบ้านโรงสีข้าว บ้านข้าวสาร ส่วนแกลบที่ได้จากการสีข้าวเปลือก จะบรรทุกเรือออกไปทางประตูแกลบ ออกยังคลองแกลบทางทิศตะวันตกของพระนครเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับพวกอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ที่บ้านคลองสระบัวด้านนอกพระนครทางตอนเหนือติดกับแม่น้ำลพบุรี ที่บ้านคลองสระบัว และบ้านคลองบางขวดนั้นเป็นบริเวณที่มีการทำอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา แม่น้ำทั้ง ๓ สายเป็นเส้นทางที่หัวเมืองต่างๆนำข้าวของ ต่างๆ เช่น กำยาน เนื้อสัตว์ หนังสัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ เมืองต่างๆในล้านนา ซึ่งเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบรูณ์ และเป็นแหล่งใหญ่ของพืชพันธุ์ธัญญาหารนำมาขายยังกรุง ศรีอโยธยา ชาวเมืองพิษณุโลกบรรทุกน้ำอ้อย ยาสูบ พวกมอญบรรทุกมะพร้าว ไม้แสม เกลือขาวขึ้นมาจากเมืองสาครบุรี เมืองบางปลากด มาขาย ส่วนชาวอ่างทอง ลพบุรี เมืองอินทร์ เมืองพรหม เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณ ก็เอาข้าวเปลือกบรรทุกเรือมา พ่อค้าทางเมืองตาก เมืองเพชรบูรณ์ ก็บรรทุกครั่ง กำยาน เหล็กหางกุ้ง เหล็กล่มเลย เหล็กน้ำพี้ ไต้ หวาย ชัน น้ำมันยาง ยาสูบ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ตลอดจนหน่องา ใส่เรือมาจอดขายตามแถวปากคลองทั้งหลาย นอกจากนี้ก็ยังมีเรือชาวทะเล นำสินค้าจำพวกหอย ปู แมงดา และปลาทะเลทั้งสดและย่าง มาจำหน่าย ส่วนพวกเมืองเพชรบุรี เมืองสวนนอกก็นำกะปิ(กะปิกำเนิดจากชาวมอญที่อาศัยแถบเมืองมะริด ตะนาวศรี ทวาย สาครบุรี สวนนอก ราชบุรี เพชรบุรี )น้ำปลา ปลาย่างชนิดต่างๆล่องแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำสวนนอก มาขายที่เมืองหลวง ในหน้าน้ำพวกทางหัวเมืองต่างๆ จะบรรทุกสินค้าของตนใส่เรือลงมาขายเป็นจำนวนมาก และนอกจากพ่อค้าจะบรรทุกสินค้าของตนมาทางน้ำแล้ว ก็ปรากฏว่ายังมีพวกที่อยู่ที่ดอนบรรทุกสินค้ามาทางบกโดยบรรทุกใส่เกวียน ในราวเดือน ๓ เดือน ๔ จะมีเกวียนจากมาจากเมืองครบุรี(นครราชสีมา) และพระตะบอง รวมทั้งชาวลาว บรรทุกสินค้าจำพวก น้ำรัก ขี้ผึ้ง ปีกนก ผ้าฝ้ายผ้าไหม เนื้อแห้ง ครั่งไหม กำยาน ของป่า วัวควาย การค้าจาก ต่างแดนนี้ห้ามเข้าในพระนคร มีเจ้าพนักงานกรมพระนครบาล สังกัดออกญาจักรี รักษาการณ์ ตรวจตราผู้คนเข้าออกอยู่อย่างเข้มงวด ขบวนเกวียนสินค้าคาราวานและนายฮ้อย จากหัวเมืองเหล่านี้ จะมาพักค้าขายกันอยู่ที่ บ้านศาลาเกวียน ด้านนอกพระนคร  ที่นั่นมีศาลาใหญ่ ๒ หลัง เป็นที่พักของพวกพ่อค้าเกวียนและลูกค้าที่อยู่ชานพระนคร
กลุ่มผู้ประกอบการค้าภายในกรุงนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะในแวดวงของ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย เสนาบดี และกลุ่มคนจีนเท่านั้น บริเวณนอกพระนครออกไปทางตอนใต้สองฝั่งแม่น้ำนั้นแยกออกเป็นตำบลต่างๆ อันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวอโยธยาทั้งไทลาวมอญเขมรและชาวต่างชาติ หลายชาติหลายภาษาบางส่วนยังมีโอกาสได้รับราชการในราชสำนักในหลายสาขาเช่น เป็นทหารอาสา มิชชันนารี ราชองค์รักษ์ และช่างราชสำนัก โดยได้รับพระบรมราชานุญาต ให้มีที่ดิน เป็นที่ตั้งบ้านเรือน อยู่เป็นหมู่ๆ เพื่อสะดวกในการประกอบศาสนกิจ และ
                                                                                            ๓๙
สามารถควบคุมดูแลได้ทั่วถึงเพราะขณะนั้นในทัพพม่าก็มีชาวต่างชาติทั้งฮอลันดาฝรั่งเศสญี่ปุ่น แขกเปอร์เซีย ชาวจีนและโปตุเกศเป็นทหารอาสารบกับกรุงศรีอโยธยาด้วยเหมือนกัน ย่านถิ่นอาศัยชาวต่างด้าว เต็มไปด้วยโกดังสินค้าและเรือสินค้า ชาวต่างด้าวนิยมจ้างแรงงานชาวอโยธยาเพื่อจัดการสินค้าต่างๆ ทำให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยกันระหว่างชาวเมืองกับผู้คนจากต่างชาติต่างภาษาที่เดินทาง มาเพื่อการค้าขายเดิมทีนั้น สมัยแผ่นดินพระเจ้าอู่ทอง จนกระทั่งถึง สมเด็จพระบรมราชาธิราช(ที่ ๓)(พ.ศ.๑๘๙๓- พ.ศ.๒๐๓๔) อโยธยายังไม่มีการติดต่อค้าขายกับประเทศทางตะวันตก ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการแต่งเรือสำเภาไปค้าขายกับจีนและแขก อินเดีย เปอร์เชีย อาหรับ(ต้นตระกูลมุสลิมกลุ่มขุนนาง) และแขกมัวร์นั้น เข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอโยธยานานจนตั้งบ้านเรือนในย่านนอกพระนครมากมาย
ย่านชุมชนชาวจีน อยู่ทางตอนใต้ของเกาะเมือง แถวคลองสวนพลู ส่วนภายในกำแพงพระนคร อยู่บริเวณประตูนายก่าย  ประตู คลองจีน ย่านนี้เป็นที่ครึกครื้นและวุ่นวายมากที่สุดในพระนคร เพราะเป็นท่าเรือใหญ่ เป็นที่จอดสำเภา ของชาวตะวันตก และจีน ที่เข้ามาทำการค้ากับอโยธยาใกล้ชุมชนจีนประตูนายก่ายมีชุมชนมุสลิมตั้งบ้านเรือนติดถนนปูด้วยอิฐขนาดใหญ่ชื่อมหารัถยาตั้งอยู่บริเวณเกือบจะกลางพระนคร มุสลิมอินโด-อิหร่าน ตั้งประชาคมอยู่ในย่านการค้าของอยุธยา คือ ตั้งแต่ประตูจีนถึงประตูใต้ท่ากายีเพื่อความเรียบร้อยในชุมชนต่างภาษาพระมหากษัตริย์จึงตั้งขุนนางตำแหน่งขุนโกชาอิศหากและขุนราชเศรษฐีขุนนางแขกมีหน้าที่ดูแลตรวจตราความสงบเรียบ ร้อยในเขตอำเภอแขก โดยเริ่มจากประตูจีนถึงวัดนางมุก เลี้ยววนไปถึงประตูใต้ท่ากายีชาวกรุงศรีจึงมักจะเรียกมุสลิมกลุ่มนี้ว่า แขกเทศ แขกใหญ่ หรือแขกเจ้าเซ็น บรรดาสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในบริเวณชุมชนจึงตั้งตามชื่อเรียกขานว่าบ้านแขกใหญ่เจ้าเซ็น บ้างเรียกโคกแขก  ทุ่งแขกส่วนคลองก็เรียกคลองประตูเทศ พวกแขกนี้สร้างสะพานอิฐช่องโค้งตามแบบถิ่นฐานที่จากมาแบบอิหร่าน อินโด ส่วนถนนเรียก ถนนบ้านแขกใหญ่นอกจากบ้านเรือนแล้วพวกแขกยังสร้างมัสยิส และกูร์โบไว้ในบริเวณชุมชนของตนด้วยพวกแขกนี้จ่ายส่วยสาจากการค้าคราวละมากๆให้ราชสำนัก ด้วยเป็นพวกพ่อค้านำเข้าสินค้าพวกพรมเปอร์เซีย น้ำอบน้ำหอม ผ้า แพรพรรณ เครื่องแก้ว เครื่องทอง ซึ่งสินค้าพวกนี้ราชสำนัก เจ้านาย ขุนนาง และคหบดีเท่านั้นที่จะหาซื้อได้เพราะมีราคาแพง ยังมีแขกทมิฬอีกพวกหนึ่งเป็นพ่อค้าดีบุก ค้าช้างจากกรุงศรีอยุธยาเดินเรือช่ำชองระหว่างอินเดีย มลายู อินโดนีเซีย ด้านนอกเมืองฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้คลองตะเคียนหรือคลองขุนละคอนไชยมีแขกมลายู
แขกมักกะสัน มาอยู่ค้าขายมากมายทั้งตั้งร้านค้า และเรือนแพ บ้างหนีสงครามพวกวิลันดาเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาสมัยพระนารายณ์ก็มีอยู่มากมีแขกเจ้าดายเป็นหัวหน้ามาพึ่งสมเด็จพระนารายณ์ พระราชทานที่ดินให้อยู่เป็นหมู่ใหญ่พวกนี้ชำนาญเดินเรือมากนักพวกแขกมลายูนี้ค้าทาสชายหญิงเพื่อนำไปใช้แรงงานกับจีน และแขกมัวร์ ด้านฝั่งวัดพุทไธศวรรย์มีคลองอยู่คลองหนึ่งพวกแขกจามอาศัยอยู่มากชาวกรุงเรียกว่าคลองคูจามส่วนย่านที่อยู่เป็นเมืองอโยธยาเดิมเรียกกันว่าค่ายจามหรือปทาคูจามนอกจากชุมชนจามยังมีมัสยิส และกุโบร์อยู่ด้วย
ชาวต่างชาติมาค้าขายในฤดูลมแล้งพัดจากใต้ขึ้นเหนือจะมีสำเภาจากจีน เรือสลุปของพวกแขก ส่วนฝรั่งมังค่าค้ากำปั่น อโยธยาเองก็มำสินค้าลงเรือสำเภาไปขายต่างประเทศด้วยเหมือนกัน คลองขุนละคอนไชย เป็นที่ตั้งของอู่เรือรบทางทะเล แสนยานุภาพทางทะเลของกรุงศรีอโยธยา มีขึ้นเพื่อการคุ้มครองขบวนเรือค้าข้าวและค้าของป่าจากสยามที่ไปขายยังมณฑลฟูเจี้ยนของราชวงศ์ชิง  ซึ่ง ต้องผ่านน่านน้ำที่มีโจรสลัดอันนัมและตังเกี๋ย(ญวน)ที่โหดร้าย คอยปล้นสะดม การค้าข้าวทางทะเลนำมาซึ่งรายได้และผลประโยชน์มหาศาลในช่วงปลายกรุง ศรีอโยธยา นี่คือที่มาของความร่ำรวยและรุ่งโรจน์ของกรุงศรีอโยธยา ครั้นถึง สมัยสมเด็จพระรามาธิบดี(ที่ ๒)  เริ่มมีชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับ สยามเมื่อ พ.ศ. ๒๐๕๔ ตามด้วยฝรั่งชาติต่าง ๆในยุโรป ซึ่งได้ทยอยกันเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอโยธยา ชาวฮอลันดาหรือวิลันดาเข้ามาราวปีพ.ศ.๒๑๔๑ อังกฤษเข้ามา พ.ศ.๒๑๕๕ เดนมารค์เข้ามา พ.ศ. ๒๑๖๓
ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มีการค้าของป่ากับอิหร่าน จีน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส ข้าวเป็นสินค้าที่ยุโรป และจีนซื้อจากกรุงศรีอโยธยา เพื่อไปจำหน่ายต่อยังหมู่เกาะมลายู ชวาส่วนชาวมะนิลาเข้ามา ซื้อ งาช้าง กำยาน ชะมดเชมียงจากกรุงศรีอโยธยา ดังนั้นสภาพความ  เป็นอยู่ของชาวพระนครและชาวอาณาจักรสยาม(ตามการเรียกของฝรั่ง)นับว่ามั่งคั่ง มั่นคง ขณะนั้น ประชากรทั้งพระนครมีประมาณ สองล้านคนรวมหัวเมืองทั้งอาณาจักรเฉพาะในเขตพระนครที่เป็นเกาะเมืองและฝั่งตรงข้ามริมแม่น้ำและลำคลองต่างๆนอกกำแพงพระนครนั้นประชากรมีมากราวหนึ่งล้านคน(หนังสือ Four Thousand Years of Urban Growth  ศ.จอร์จ โมเดลสกี (George Modelski) แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ได้ศึกษาเรื่องนี้มานาน และเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ในหนังสือ World City -3000 to 2000 ซึ่งเป็นเรื่องราวการวิวัฒน์ของเมืองต่างๆ ทั่วโลกในระยะเวลา 5,000 ปี คือ จากช่วงก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปี จนถึง ปี ค.ศ.2000ช่วง 400 ปีของกรุงศรีอยุธยานั้น นักการทูตชาวตะวันตกที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีด้วยได้เคยบันทึกเอาไว้ว่า เป็นเมืองที่สวยงาม .. แต่น่าเสียดายที่ถูกพม่าโจมตี และเผาทำลายราบในปี ค.ศ.1767 (พ.ศ.2310)  “อยุธยาได้ปรากฏในทำเนียบ 16 เมืองใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษย์ และเรื่องนี้ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ประวัติศาสตร์  ที่นี่มีประชากรถึง 1 ล้านคน และจัดให้เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในยุคสมัย อยู่ในลำดับที่ 13 เมืองใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ 5,000 ปีของมวลมนุษย์.) พื้นที่ป่ารกร้างระหว่างชุมชน ระหว่างเมืองแต่ละเมืองมีมากมาย การหา
ของป่าและการทำนาค้าข้าวยังคงเป็นการค้าหลักที่สามารถเก็บส่วยสาอากรโดยพระยาโกษาธิบดีเข้าสู่พระคลังราชสำนัก และพระมหากษัตริย์ก็วางแผนใช้ราชทรัพย์เพื่อ การสะสมกำลังคนกำลังอาวุธและเสบียงอย่างต่อเนื่องเพื่อประกันความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรจากการรุกรานของอาณาจักรข้างเคียงอย่าง   อาณาจักรตองอู  สุโขทัย เขมร และล้านนา การมอบสิทธิที่ดินผ่านมือขุนนางที่ถือศักดินา โดยใช้แรงงานบ่าวไพร่และทาสก็เพื่อประกันผลผลิต โดยมีผู้ถือศักดินาเป็นผู้ควบคุมและนำส่งอากรสู่ท้องพระคลังตามศักดินา ทำให้ผลิตในพระ
                                                                                       ๔๑
นครมีประสิทธิภาพ อีกทั้งความเป็นเมืองท่าที่เข้าออกทะเล ง่ายดาย มหานครแห่งนี้จึงเจริญมั่งคั่งอย่างรวดเร็วขณะที่ตองอูแห่งลุ่มน้ำ เอยาวดี(อิระวดี)ที่เป็นเมืองท่ามาก่อนอยุธยาก็เจริญรุ่งเรืองมากเช่นเดียวกันและด้วยความหลากหลายของสินค้าและจำนวนประชากรที่มีมากในพระนครอยุธยาทำให้พ่อค้าแขก และจีนในการเดินสำเภามาแวะที่เมืองท่าอโยธยาค้าขายโดยไม่แวะเมืองท่าตองอูโดยเฉพาะพ่อค้าจีนที่ต้องนำเรืออ้อมผ่านมะละกาที่คลื่นลมแรงและมีโจรชุกชุมคอยปล้นเรือสินค้า ดังนั้นเมื่อไม่มีพ่อค้าอากรต่างๆที่ต้องเก็บเข้าท้องพระคลังก็พลอยขาดไปด้วย ราชสำนักที่เป็นเจ้าของท่าเรือนั้นจึงสะสม    ความบาดหมางขุ่นข้องใจมากขึ้นๆ สินค้าสำคัญที่เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งในอาณาจักรต่างๆขณะนั้นได้แก่อาวุธปืน และ ทหารรับจ้างที่พระมหากษัตริย์  แต่ละราชสำนักซื้อไว้มีไว้ในครอบครอง