ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สามมหาราช ตอนที่๓





                             

                                                                            

                                                                                     ๒๓
                                                     ตอนที่ ๓ ขอม มหาอำนาจในอุษาคเนย์
                  ขอมเป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ โดยมีเมืองบริวารในดินแดนสุวรรณภูมิ อยู่ในอำนาจปกครองอย่างหลวมๆ โดยเมืองต่างๆก็ยังมีอำนาจปกครองตนเอง ที่ต้องส่งบรรณาการเพื่อแสดงถึงความไม่เป็นปรปักษ์การปกครองดินแดนในอาณาจักรครั้งโบราณเปรียบเทียบกับการเสียเอกราช การเป็นประเทศราช และการเป็นเมืองขึ้นหรือเมืองในอาณานิคมกับยุคปัจจุบันไม่ได้เนื่องจากการมีอำนาจเหนือกว่านั้น เหนือกว่าพระราชาของเมืองนั้นๆ ไม่มีการยึดดินแดน ไม่มีอาณาเขต หลักเขต พิกัดเขตแดน ด้วยดินแดนเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ ขาดแต่พลเมืองซึ่งแต่ละเมืองมีอยู่น้อย ดังนั้นเมืองที่มีพลเมืองมากย่อมมีความเข้มแข็งกว่าเมืองเล็กๆที่มีพลเมืองน้อยกว่าดังนั้นสงครามจึงเป็นการกวาดต้อนผู้คนจากเมืองอื่นมาเป็นพลเมืองของตนเพื่อใช้แรงงาน                                ขอม    มีความรุ่งเรืองในราวพุทธศษวรรตที่ ๖ โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนันที่อยู่บริเวณที่ราบโตนเลสาบใจกลางกัมพุชประเทศ อาณาจักรเจนละ และอาณาจักรจามปา ทั้งสามอาณาจักรล้วนมีพื้นฐานพลเมืองเป็นขแมร์ และลาว กินอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ สุวรรณภูมิที่มีชนชาวมอญ – ขแมร์ อยู่ในพื้นที่  บางส่วนของ ลาวที่มีชาวลาว ชาวลั้ว ชาวลื้อ อาศัยอยู่ และบางส่วนของ นามเวียด(เวียดนาม-ญวน)  จนวิวัฒน์เป็นขอมซึ่งขณะนั้นขอมมีแสนยานุภาพทางทหารมากกว่าเมืองน้อยใหญ่ใน อุษาคเนย์ ศูนย์กลางขอมอยู่บนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ บริเวณเมืองพิมาย ด้วยรับอิทธิพลด้านศาสนาจากชมพูทวีปมีการสร้างศาสนสถานด้วนหินทรายในดินแดนในปกครองมากมายด้านเหนือของพิมายกินอาณาบริเวณถึงลาว(จำปาสัก) ปรากฏหลักฐานศาสนสถานหินทรายอยู่ทั่งไปเช่นในจำปาสัก บนพนมดงแร็กศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครวัธ นครธม ด้วยทำเลที่ตั้งเป็นที่ราบสูงแห้งแล้ง เจ้าชัยวรมัน(พระองค์แรก)จึงสร้างศูนย์กลางพระนครขึ้นที่นครวัธมีการสร้างปราสาทที่ประทับของพระอิศวรและเทพต่างๆตามความเชื่อทางศาสนาฮินดูปราสาทแต่ละแห่งมีขนาดใหญ่แสดงถึงความมีอำนาจและความมั่งคั่งของพระราชาขอม ถือว่าขอมมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดวิวัฒนาการสืบต่อมาในกษัตริย์ขอมอีกหลายพระองค์ในการก่อสร้างศาสนสถานต่างๆขึ้นให้สำเร็จ
เมืองในสุวรรณภูมิ ในล้านนา ล้านช้างยังคงมีพระราชาปกครองแต่ยอมรับอำนาจขอมที่มีอิทธิพลมากกว่าปกครองซ้อนอีกชั้นหนึ่งอยู่หลวมๆหากมีเมืองใดคิดเป็นปรปักษ์ จึงจะเกิดทำสงครามกำจัดพระราชาเมืองนั้นและแต่งตั้งพระราชาพระองค์ใหม่จากเมืองนั้นที่ขอมเลือกขึ้นปกครอง ความผูกพันอาศัยการแต่งงานของราช
                                                                                              ๒๔
สำนักของเมืองต่างๆดังนิทานพื้นถิ่นของอุษาคเนย์หลายเรื่องที่ลูกเจ้าเมืองแต่งงานกับเจ้าหญิงต่างเมือง ซึ่งเป็นการผูกสัมพันธ์กันไปมาระหว่างเมือง ส่วนพลเมืองก็มีเคลื่อนย้ายค้าขาย และแต่งงานกันโดยอิสระโดยไม่มีกฏหมายต่างด้าวดังเช่นยุคปัจจุบัน เขตปกครองของขอมกว้างใหญ่ดังนี้
ด้านเหนือติดหริภุญชัย ล้านช้าง และจีน                                                                                                             ด้านตะวันออกติดนามเวียด                                                                                                                        ตะวันตกติดตะนาวศรีเมืองมอญ                                                                                                                                                  ทิศใต้ติดเมืองศรีธรรมราช
ต่อมาอิทธิพลทางอำนาจของขอมเริ่มเปลี่ยนอันเกิดจากการเข้ามาติดต่อค้าขาย จากเขตแคว้นอื่นๆต่างภูมิภาคทั้งทางบกและทางทะเลดังเมืองที่มีที่ราบลุ่มเหมาะกับการเพาะปลูกมีแม่น้ำหล่อเลี้ยงและเป็นเส้นทางค้าขายเมืองนั้นจะเจริญมั่งคั่งเป็นเมืองท่าศูนย์กลางการค้าขายต่างประเทศระหว่างภูมิภาค ด้านตะวันตกของขอม มีแม่น้ำคงคา แม่น้ำอิรวดี เมืองในอินเดีย และ พม่าในปัจุบันจึงมีความเจริญมั่งคั่ง  ส่วนขอมไม่อาจสร้างอิทธิพลเหนือกว่าได้ ด้วยสุวรรณภูมิเป็นแผ่นดินยื่นไปในสองมหาสมุทรด้านมหาสมุทรอินเดียลุ่มน้ำอิรวดี พม่าและมอญจึงมีความเจริญจากการค้าขายติดต่อกับชาวเปอร์เซีย ชาวอินเดียที่มุ่งหน้ามาด้านตะวันออกอีกด้านหนึ่งสุวรรณภูมิติดมหาสมุทรแปซิฟิคลุ่มน้ำท่าจีน(แม่น้ำสุพรรณ)ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีสาขาอีกสี่แม่น้ำจากด้านเหนือจึงเป็นดินแดนที่มั่งคั่งดังนั้นด้วยความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มีชาวจีนเดินเรือมาค้าขาย พลเมืองหลายเผ่าพันธุ์จึงเดินทางเข้ามาในภูมิภาคมากขึ้นการสร้างสมเป็นกำลังไพร่พลและการปกป้องผลประโยชน์จากการค้าขาย จึงสร้างความเข้มแข็งปฏิเสธอำนาจจากขอมที่ปกครองและทำสงครามจนได้ชัยชนะ ดังนั้นขอมที่เคยยิ่งใหญ่กลับเล็กลงจนเหลือแค่กัมพูชาในปัจจุบันในอาณาจักรขอมมีเมืองที่สำคัญที่ก่อกำเนิดเป็นสยามหรือไทยในปัจจุบันได้แก่ ละโว้ อู่ทอง สุพรรณภูมิ อโยธยา ศรีชุม ชากังราว สองแคว พระวิศณุโลก บางยาง ราด  ศรีเทพ พิมาย วิวัฒนาการแข็งเมืองปฏิเสธอำนาจขอมมีเกิดขึ้นหลายเมืองกล่าวคือเมืองที่รวมกันถือว่าเป็นอโยธยามีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับสุโขทัยคือเมืองละโว้ อู่ทอง สุพรรณ อโยธยาพลเมืองเป็นคนเขมร มอญและลาวที่เดินทางมาค้าขายและอาศัยอยู่ในพื้นที่ละโว้เป็นพลเมืองจากการแต่งงานดังที่กล่าวมาแล้ว และมีพ่อค้าจีน เปอร์เซียร์ แขก มลายู ศรีวิชัย เข้ามาค้าขายยังดินแดนลุ่มน้ำทำให้พลเมืองเพิ่มมากขึ้นเมืองขยายใหญ่ขึ้นศูนย์กลางอำนาจวังเจ้าเมืองอยู่ที่เมืองละโว้ 
                                                                                     ๒๕
ส่วนเมือง สุพรรณเมืองท่าค้าขายแห่งลุ่มน้ำสุพรรณก็มีเจ้าปกครองเป็นพันธมิตรกับละโว้  และอโยธยา เมืองท่าค้าขายแห่งลุ่มน้ำบางเกาะ(เจ้าพระยา) และอโยธยานี้ยังมีพันธมิตรทางการค้าจากเมืองต้นน้ำเจ้าพระยาอีกหลายเมืองในการผลิตและจัดหาของป่าส่งลงมายังอโยธยาได้แก่
ศีสัชนาลัย ศรีชุม ชากังลาว  พิชัย ฝาง พระวิศนุโลก สองแคว ราด บางยาง อโยธยามั่งคั่งจากเป็นเมืองระหว่างทางน้ำอกกทะเลของเมืองเหนือน้ำที่กล่าวมาและยังทำการค้านาๆชาติระหว่างจีน แขก อาหรับ มลายูจึงมีพลเมืองทั้งชนพื้นเมือง มอญลาว เขมร มลายู ซึ่งเรียกรวมรวมๆว่าชาวอโยธยา แรกเริ่มเดิมทีครั้งขอมปกครองวังเจ้าเมืองอยู่ละโว้เมื่อไม่ขึ้นกับขอมจึงย้าย วังของกษัตริย์ลงใต้เพื่อสะดวกในการค้าขายควบคุมแม่น้ำที่เป็นทั้งเส้นเลือดด้านการเพาะปลูกและเมืองท่าค้าขายมาอยู่บริเวณวัดอโยธยาคลองหันตรา ศูนย์กลางเมือง การค้าขายอยู่ตรงวัดใหญ่ชัยมงคลต่อมาบริเวณนี้ชาวจามมีถิ่นฐานอยู่เขมรเข้ามาค้าขายอยู่มากจนเรียกว่าเมืองปทาคูจาม จนถึงสมัยพระเจ้าธรรมมิกราชจึงขยายย้ายวังมาบริเวณวัดธรรมมิกราช  กษัตริย์ที่ปกครองอโยธยาตั้งแต่ราวๆศรรตวรรษที่๑๖เป็นต้นมาพอจะมีบันทึกเอาไว้ปฐมกษัตริย์ได้แก่                                                                                 ๑.พระนารายณ์ ราว พ.ศ.๑๖๒๕ – ๑๖๓๐ ราชวงศ์ละโว้                                                                                  ละโว้ศูนย์กลางปกครองของขอมเดิมที่ปกครองกลุ่มเมืองนี้อยู่จนพระนารายณ์แข็งเมืองต่อขอมเมื่อสิ้นพระนารายณ์เกิดการสู้รบกับขอมนานถึง ๒ ปีจึงสงบโดยเจ้าหลวงขึ้นปกครองเมืองละโว้                                                                                                                                     ๒.พระเจ้าหลวง ราว พ.ศ. ๑๖๓๒ – ๑๖๕๔ ราชวงศ์ละโว้                                                                                   ได้ย้ายศูนย์กลางปกครองจากละโว้มายังอโยธยา บริเวณวัดอโยธยา                                                                                                      ๓.พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ราว พ.ศ. ๑๖๕๔ – ๑๗๐๘ ราชวงศ์ละโว้                                                                                                        (สร้างวัดพนัญเชิงและวัดมงคลบพิตร)                                                                                                                 ๔.พระเจ้าธรรมมิกราช ราวพ.ศ. ๑๗๐๘ – ๑๗๔๘ ราชวงศ์ละโว้                                                                      (ย้ายเมืองมาด้านแม่น้ำทิศตะวันตกสร้างพระราชวังบริเวณวัดธรรมมิกราชในปัจจุบัน)                                                                                            ๕.พระเจ้าอู่ทอง ราว พ.ศ. ๑๗๔๘ – ๑๗๙๖ ราชวงศ์อู่ทอง
๖.พระเจ้าชัยเสน ราวพ.ศ.๑๗๙๖ – ๑๘๒๓ ราชวงศ์อู่ทอง                                                                                                          ๗.พระเจ้าสุวรรณราชา ราวพ.ศ.๑๘๒๓ – ๑๘๔๔  ราชวงศ์อู่ทอง                                                                                              
                                                                                      ๒๖
๘. พระเจ้าธรรมราชา ราวพ.ศ.๑๘๔๔ – ๑๘๕๓  ราชวงศ์อู่ทอง                                                                                                  ๙.พระบรมราชา ราวพ.ศ.๑๘๕๓ –๑๘๘๗ ราชวงศ์สุพรรณ                                                                                ๑๐.ท้าวอู่ทองหรือ ขุนหลวงวรเชษฐ ราวพ.ศ.๑๘๘๗ ราชวงศ์อู่ทอง สถาปนาอโยธยาเป็นกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา
ด้านเมือง(พันทุมบุรี)สุพรรณ มีพระราชาปกครองเฉกเช่นอโยธยา ขณะนั้นเมืองแสนที่มีพลเมืองเป็นลาว ลั๊ว ลื้อ (เชียงแสนในภาษาล้านนา)ที่มีความเจริญแห่งลุ่มน้ำโขงท้าวแสนพรหมโอรสพระเจ้าเชียงแสนได้ยกทัพเชียงแสนแผ่อิทธิพลมายังดินแดนในปกครองขอมยึดได้เมืองไตรตึงษ์(เมืองลุ่มน้ำปิงแถบเมืองชากังราว)ยึดหมายถึงรบชนะได้เสบียงอาหารและทรัพย์สินเป็นเสบียงไม่ได้ยึดดินแดนแล้วอยู่ปกครองเหมือนการรบในปัจจุบัน แล้วจึงมุ่งทัพสู่อู่ทองเมืองท่าสำคัญอีกเมืองของขอมบนลุ่มน้ำสุพรรณ(อู่ทองเคยร้างผู้คนมาแล้วในอดีตจากโรคระบาด ก่อนจะเป็นเมืองอีกครั้งหนึ่ง) เมื่อสามารถยึดอู่ทอง ทัพชาวลาวเชียงแสนจึงอยู่อาศัยในอู่ทองมากมายได้แต่งงานอยู่ครัวกับมอญ เขมรในถิ่นขอเรียกว่าชาวสุพรรณ ด้านเจ้าเมืองสุพรรณด้วยเกรงท้าวแสนพรหมจึงยกพระธิดาให้อภิเษกกับท้าวแสนพรหม และยกราชสมบัติให้ท้าวแสนพรหมจึงขึ้นครองเมืองสุพรรณต่อมาท้าวแสนพรหมเจ้าเมืองสุพรรณได้มีราชโอรสชื่อท้าวอู่ทอง และราชธิดามีขุนงั่วเป็นกลาโหมแม่ทัพใหญ่ และได้อภิเษกกับพระธิดาของพระเจ้าสุพรรณ เจ้าเมืองสุพรรณได้เข้ายึดเมืองต่างๆบริเวณลุ่มน้ำสุพรรณ(แม่น้ำท่าจีน)ยึดได้เมืองนครชัยศรี ราชบุรี เพชรบุรีดังนั้นอาณาเขตสุพรรณจึงลงไปถึงเมืองพลิบพีหรือเพชรบุรีต่อเมืองนครศรีธรรมราช(นครฯ สุราษฏ์,ชุมพร ประจวบฯ) ขณะนั้น เมืองอโยธยาร่ำรวยนักจากการค้าขายมากกว่า สุพรรณและอู่ทองเสียอีกด้วยมีทำเลตั้งอยู่ริมแม่น้ำกว้างใหญ่เข้าออกปากน้ำทะเลใกล้กว่าแม่น้ำสุพรรณ มีเรือต่างชาติเข้าออกค้าขายมากมายและอโยธยายังมีพันธมิตรการค้าคือหัวเมืองเหนือน้ำคือเมืองรุ่งหรือสุโขทัย ดังนั้นเพื่อควบคุมเมืองท่าทั้งสองลำน้ำ ท้าวอู่ทองจึงได้นำทัพจากอู่ทองพร้อมขุนงั่วมาตีอโยธยา มีชัยเหนือพระเจ้าอโยธยา จึงสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์อโยธยา ราวปีพ.ศ.๑๘๙๓ ด้วยอโยธยามากมายผู้คนแขก จีน มอญเขมร การค้าเจริญมากกว่าเมืองสุพรรณ พระองค์จึงดำหริก่อสร้างพระนครให้ใหญ่โตรองรับการค้าขายและเมื่อมีความมั่งคั่งจึงต้องป้องกันข้าศึกอันได้แก่หัวเมืองอื่นๆ ขอมเขมร มอญ ดังนั้นจึงได้ก่อสร้างทั้งวัง วัด เมือง ตลาด ทั้งขุดคลองสัญจรและก่อสร้างกำแพงเมืองเพื่อป้องกันข้าศึกโจมตี ท้าวแสนพรม พระราชบิดาท้าวอู่ทองได้ก่อสร้าง
                                                                                        ๒๗
พระใหญ่วัดพนัญเชิงจนเสร็จก็ด้วยเบี้ยจากการเก็บภาษีเมืองท่านี่เองเมื่อเป็นเมืองท่าค้าขายอโยธยาจึงผลิตและจัดหาสินค้าเพื่อป้อนให้พ่อค้าจากเปอร์เซียบ้าง จีนบ้าง มะละกา มลายูที่เดินเรือใบเข้ามาเมื่อต้องการสินค้ามากจึงต้องจัดหายังเมืองอื่นๆเมืองที่สำคัญในการรวบรวมสินค้ามายังกรุงศรีอยุธยาได้แก่สุโขทัยเมืองน่านโดยขนทางเกวียนมาลงเรือเล็กที่ท่าอิดเมืองพิชัยล่องแม่น้ำน่านลงมาดังนั้นความสัมพันธ์จึงมีเกี่ยวพันไปมา
ขณะนั้นสุโขทัย(แถบบ้านด่านลานหอย)เป็นศูนย์กลางการค้าทางบกระหว่างท่าเรือเมืองเมาะลำเลิงอ่าวตะมะของมอญ กับเมืองเว้ ของญวนอ่าวตังเกี๋ย (ดูภาพที่ ๑ แผนที่เส้นทาง) มีพ่อค้าจีนค้าขายเครื่องเหล็ก ถ้วยชามเครื่องประดับกับพ่อค้าเปอร์เซียส่วนหนึ่งถ่ายเทสินค้าลงมาที่พิชัยลงมากรุงศรีอยุธยาอีกทางหนึ่ง การค้าขายทั้งหมดยุคสมัยนั้นอยู่ในแวดวงศ์ของพระราชาและขุนนางโดยมีพลเมืองเป็นลูกค้าและผู้จัดหาสินค้าตามความต้องการของกลุ่มพ่อค้าเช่นหนังสัตว์ เครื่องเทศ และข้าว รวมทั้งเป็นผู้ผลิตตัวแทนอีกด้วยเช่นการถลุงเหล็ก การเผาเครื่องกระเบื้องที่มีจีนเป็นผู้ค้ารายใหญ่ ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญที่นำเข้าจากเปอร์เซีย อินเดียได้แก่ผ้า พรม ต่างๆ
กล่าวถึง เมืองสุโขทัยนั้นจากการเคลื่อนย้ายชนเข้ามาค้าขายและปกป้องผลประโยชน์จากการค้าจากชนขอมพื้นเมือง ยังมี ลาว ลั๊ว มอญ ที่อยู่อาศัยทั่วทั้งดินแดนทั้งอโยธยา สุพรรณ สุโขทัย  จึงทำให้ผู้คนผสมกลมกลืนเรียกตัวเองว่าไท เช่นเดียวกับเมืองอโยธยา  สุโขทัยนั้นมีการปกครองภายใต้อำนาจขอมเช่นเดียวกับอโยธยามีขุนหลวงปกครอง(พระราชา)สืบต่อมาจนถึงขุนศรีนาวนำถมเริ่มมีปัญหาการเมืองเกิดขึ้นโดยขอมเล็งถึงความมั่งคั่งจากการค้าจึงขอบรรณาการมากขึ้นและส่งขุนนางขอมจากพระนครยโสธรนครธม มาดูแลผลประโยชน์ ขุนศรีนาวนำถม มีโอรส และพระธิดา คือขุนผาเมือง และแม่นางเสือง เพื่อผูกพันขยายอำนาจจึงยกพระนางเสืองให้ขุนบางเจ้าเมืองบางยาง(นครไทยในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งบนเส้นทางการค้าดังกล่าว ส่วนขุนผาเมืองนั้น กษัตริย์ขอมได้ยกพระธิดาสิงขรมหาเทวีให้อภิเษกด้วยพร้อมพระราชทานพระขรรค์ชัยศรีให้ราชบุตรเขย พร้อมตั้งพระนามให้ว่า “กมรเต็งอันผาเมือง” สมัยนั้นอิสตรีทำหน้าที่ดูแลบ้านเมืองทั้งปวงขณะที่ชายทำหน้าที่ค้าขาย และรบทัพจับศึกการยกพระธิดาก็เพื่อควบคุมเมืองสุโขทัยเมื่อขุนผาเมืองต้องสืบต่อบรรลังค์ต่อจากขุนศรีนาวนำถมและต้องการกำลังไพร่พลเพื่อเสริมทัพ เพราะขณะนั้นขอมกัมพุช มีสงครามติดพันกับแคว้นจามปาประเทศที่แยกตนออกจากกัมพุชครองดินแดนแถบริมทะเลปากน้ำโขง ตรงนี้แหละสำคัญที่เราเรียกชาวจามปาประเทศว่า
                                                                                 ๒๘
พวกแขกจามนั่นเอง เพื่อควบคุมเส้นทางการค้าไปยังแดนขอมและญวน    อีกด้านหนึ่งของเทือกเขา(เทือกเขาเพชรบูรณ์ที่ทอดตัวจากลาว-น่าน-เพชรบูรณ์-พิษณุโลก)ขุนศรีนาวนำถม จึงให้ขุนผาเมืองมาครองเมืองราด(หล่มสัก)
ด้านละโว้ พญาสะบาดโขนลำพง เป็นข้าหลวงที่พระเจ้าชัยวรมันส่งมาดูแลเมืองต่างๆในสุวรรณภูมิทั้งอโยธยา สุพรรณ อู่ทอง พิมาย สุโขทัย ศรีเทพ ด้วยแลเห็นความมั่งคั่งจากการค้าของเมืองต่างๆ มีมากขึ้นไม่เหมือนเมืองเถื่อนดังเก่าก่อนจึงคิดการเข้าควบคุมเพื่อเก็บส่วยสาอากรให้มากกว่าบรรณาการที่ส่งไปยัง ยโสธรนครธม ครั้นขุนศรีนาวนำถมถึงแก่พิราลัย จึงนำกำลังเข้ายึดเมือง การยึดเมืองสุโขทัยศูนย์กลางการค้าทาบกกระทบกระเทือนไปทั่วภูมิภาค ด้วยสินค้าต่างๆทั้งของป่า ถ้วยชาม เหล็ก แพรพรรณ จากท่าเมาะมะ และท่าญวนต้องผ่านจากหัวเมืองนี้ และส่งลงไปอโยธยา ชาวเมืองทั้งหลายจึงคิดการแข็งเมืองต่ออำนาจขอม โดยขุนบางและขุนผาเมืองนำกองทัพจากเมืองราดและเมืองบางยางเข้าโจมตีพญาขอมสะบาดลำพงสามารถสังหารได้ ขุนบางจึงสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัยทรงพระนามว่า ศรีอินทราทิตย์ ส่วน ขุนผาเมืองยังคงปกครองเมืองราดดังเดิม ความเป็นอิสระของเมืองต่างๆจึงกลับคืนมาดังเดิม ขณะนั้นอำนาจของขอมเริ่มอ่อนลงคงปกครองเมืองได้ถึงเมืองศรีเทพ พิมาย เท่านั้น ส่วนสุโขทัยปกครองถึงเมืองชากังราว เมืองระแหง ศรีสัชนาลัย พระวิศณุโลก ส่วนเมืองสองแคว พิชัย น่านราชวงศ์ผาเมือง เมืองราดปกครองมีอาณาเขตถึงละโว้ของอโยธยา ติดต่อกับเมืองสุพรรณของ
                                                                                          ๒๙
พระเจ้าสุพรรณ เมืองอโยธยาที่มีอาณาเขตอิทธิพลขึ้นมาถึงปากน้ำโผล่ ความเป็นเมืองอิสระมีดังนี้ต่อมาอีกหลายขวบปี เมื่อขุนรามกษัตริย์สุโขทัยพระองค์ต่อมาได้เข้ายึดอำนาจของราชวงศ์ผาเมืองเมื่อสิ้นขุนผาเมืองแล้ว ลดบทบาทเมืองราดเหลือเพียงเป็นเมืองหนึ่งในแคว้นของสุโขทัย ดังนั้นเมืองสองแควจึงอยู่ในอำนาจสุโขทัยด้วย
จึงพอสรุปได้ว่าเมืองใหญ่ของชนชาวมอญ-เขมร-ลาว-ลั๊ว – ลื้อ ผสมกลมกลืนเป็นคนถิ่นของเมืองเหล่านี้ ขณะนั้นเมืองที่กล่าวมาไม่ขึ้นต่อกันได้แก่ด้านเหนือ ศูนย์กลางอยู่ที่สุโขทัย ตอนกลางมีสุพรรณ และอโยธยา ตอนใต้มีศรีธรรมราช ส่วนสุพรรณนั้นได้เข้าปกครองรวมกับอโยธยาและวิวัฒนาการมาเป็นกรุงศรีอยุธยาศรีรามเทพนครเมืองทั้งหมดรุ่งเรืองขึ้นมาพร้อมกับการล่มสลายของขอมเหลือเพียงกัมพุชประเทศ ที่มีชนชาวเขมร-ลาว-ญวน – จาม-มลายู ผสมกลมกลืนกันเป็นคนแขมร์ ส่วนจามในเวลาต่อมาก็สูญสิ้นความเป็นแว่นแคว้นเหลือเพียงเป็นชนกลุ่มหนึ่งในกัมพุชประเทศ   มูลเหตุของการทำสงครามเข้ายึดอำนาจปกครองกวาดต้อนผู้คนล้วนเกิดขึ้นในเวลาต่อมาก็ ด้วยเกิดจากมูลเหตุ การเคลื่อนย้ายผู้คนมายังเมืองท่าต่างๆเหล่านี้จนมีไพร่พลมากจัดเป็นทัพและโจมตีกันเพื่อแย่งผลประโยชน์และทรัพยากรจากการค้าที่อยู่ในมือขอพระราชาที่ครองเมืองจนเกิดข้อขัดแย้งระหว่างเมืองท่า จนต้องทำสงครามกัน  อีกมูลเหตุหนึ่งมาจากอิทธิพล คติพระราชาเหนือพระราชาที่พระเจ้าอโศกมหาราชานำเข้ามาจากการค้าขายในภูมิภาคอุษาคเนย์ พร้อมกับการนำพุทธศาสนามากับขบวนพ่อค้าก็มีส่วนในการก่อสงครามด้วยเช่นกัน