ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

บ้านร่มเกล้า สมรภูมิเลือดชโลมแผ่นดิน ตอนที่ ๑

              สภาพป่าไม้ในเขตป่า ภูเขา ของจังหวัด เลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และน่าน โดยเฉพาะพื้นที่ป่าเขาห่างไกล   บริเวณรอยต่อ ระหว่างประเทศไทย และ ประเทศ สปป.ลาว ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ไม่มีผู้คนบุกรุก ด้วยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๐ ถึงปี พ.ศ.๒๕๒๐ พื้นที่บริเวณนี้ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้ความทุรกันดาร ห่างไกลสายตาของทางการ  และใช้ประโยชน์จากความสลับซับซ้อน   ของภูมิประเทศป่าเขา เป็นที่ซ่องสุมกองกำลัง เคลื่อนไหวทางการเมืองและการทหาร เพื่อยึดอำนาจรัฐ  ปฏิวัติประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งป่าเขานี้สะดวกต่อการเข้าออกประเทศ ไปศึกษาการเมืองการทหาร การส่งกำลังบำรุง จากสปป.ลาว เวียดนาม และจีน การเคลื่อนไหวทางทหารของพรรคคอมมิวนิสต์  สามารถใช้ประโยชน์จากป่าเขา ของเมืองไชยบุรี น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ซึ่งแนวป่าและเทือกเขาหนาทึบสลับซับซ้อน  ซ่อนสายตาจากทางการ ยากทั้งการเข้าถึงไม่ว่าการลาดตระเวนทางเท้า และทางอากาศ จัดตั้งสำนัก๗๐๘ เป็นสำนักบัญชาการที่ภูพยัคฆ์จังหวัดน่าน  ชายแดนไทยกับ สปป.ลาว จัดตั้งเขตงานเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน ข.๓๓ ที่เขาค้อ ในเขตนี้ครอบคลุมหลายอำเภอของเพชรบูรณ์  บางส่วนของพิษณุโลกมีคณะกรรมการบริหารงานด้านต่างๆ  เรียกว่าคณะกรรมการรัฐมีประธาน รองประธานหัวหน้าฝ่ายต่างๆ  เช่นฝ่ายปกครองฝ่ายเศรษฐกิจ   ฝ่ายทหาร  ฝ่ายศึกษา  ฝ่ายสาธารณสุข  ฝ่ายสตีและเด็ก  ฝ่ายพาณิชย์และฝ่ายโฆษณาการ  ภายในฐานที่มั่นประกอบด้วย สำนักอำนาจรัฐ โรงเรียนการเมืองการทหาร สำนักพล เขตนายร้อยพลาธิการทหารช่าง กองร้อยทหารหลัก ๕๑๕,๕๒๐ พยาบาลเขต คลังเสบียง คลังอาวุธ  ป่าเขาสลับซับซ้อนของภูหินร่องกล้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูทับเบิก เขาค้อ เขาย่า ทอดตัวยาวลงมา จากเขาค้อมาทางใต้บรรจบกับป่าดงพญาไฟ(ดงพญาเย็น)นครราชสีมา ปราจีนบุรี  ป่าพนมสารคาม ป่าตาพระยาติดต่อประเทศกัมพูชา
ส่วนป่าเขาที่ติดต่อกัมพูชานั้นเริ่มต้นจากรอยต่อ สปป.ลาวไทยและกัมพูชาที่จังหวัดอุบลราชธานี ลงมาด้านใต้ถึงจังหวัดปราจีนบุรี(ปัจุบันคือจังหวัดสระแก้ว)มีพื้นที่ราบบ้างและเป็นป่าเขาจากอำเภอโป่งน้ำร้อน (และอำเภอสอยดาว ในอดีตคือตำบลหนึ่งของอำเภอโป่งน้ำร้อน) จันทบุรีที่เป็นผืนใหญ่จากพนมสารคาม เขาอ่างฤาไนยป่าขุนซ่อง ทอดตัวมาด้านใต้คือป่าเขาสอยดาวเหนือ และสอยดาวใต้ข้ามทางหลวงสายจันทบุรี-สระแก้วฝั่งตะวันออกเป็นป่าปัถวี ป่าตกพรม ป่าเครือหวาย ป่าทับนครบ่อเวฬเขาปีกกาทั้งหมดเป็นป่าผืนใหญ่แนวชายแดนกัมพูชาเข้าเมืองไพริน จังหวัดพระตะบองรวมกับแนวเขาบรรทัดไปจนถึงจังหวัดตราดจังหวัดโพธิสัตป่าเขา
ที่กล่าวมาเป็นที่ส่องสุมกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งพคท. ทั้งเขมรแดง  การเคลื่อนไหวของพคท.นั้นสอดประสานกับกองทัพของกลุ่มสามประเทศอินโดจีน พันธมิตรของพคทซึ่งมีแผนตั้งสหพันธ์อินโดจีนโดยการปฏิบัติการทางทหารในประเทศเป็นหน้าที่ของ พคท.เมื่อสถานการณ์สุกงอมแล้วจะมีการส่งกองทัพจากภายนอกประเทศเรุกเข้ามายัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เพื่อให้การปฏิบัติการของพคท.ประสานงานกับขบวนการดาวเขียวที่เวียดนามหนุนอยู่ เป็นไปโดยสะดวก พคท.จึงกำหนดบริเวณป่าเขารอยต่อ จังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เลย และแขวงไชยบุรีของลาว เพราะเป็นเส้นทางตรงจากเวียดนาม ลาว ไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติการ ทางการเมือง การทหารและสถานที่อบรมการเมือง
 การเคลื่อนไหวของพคท.ในป่านั้นหนักหน่วงขึ้น  เกิดการสู้รบกับกองทัพไทยในหลายพื้นที่   ที่เขาค้อ ภูหินร่องกล้า จังหวัดเพชรบูรณ์นั้นถือว่าเป็นการรบที่หนักหน่วงของกองทัพไทยใช้เวลารบยืดเยื้อนานหลายปี ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๑๐ จนถึง ถึงปีพ.ศ.๒๕๒๓ รัฐบาลไทยก็ยังไม่สามารถได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด  แม้ได้ชัยชนะในการรบจากหลายยุทธการแต่ก็เกิดการขยายแนวร่วมเพิ่มมากขึ้นจากการล้อมปราบที่มีการจับกุมและสังหารพลพรรคของทหารป่า พคท.ดังนั้น กองทัพจึงได้ปรับยุทธศาสตร์ผูกมิตรกับประเทศจีน ทำให้จีนปิดการกระจายเสียงทางวิทยุเสียงปักกิ่งภาคภาษาไทยที่ใช้สื่อสารปลุกระดมพลพรรคและดำเนิน นโยบายสลายกองกำลังแยกแนวร่วมออกจากกองกำลังทหารป่า และแยกมวลชนที่หนีการจับกุมของรัฐบาลแล้วเข้าร่วมกับ พคท.ออกมาจาก พคท.เสีย  โดยออกคำสั่งนิรโทษกรรมให้ผู้ที่เข้าร่วมกับ พคท.เรียกว่านโยบาย๖๖/๒๕๒๓ เป็นการใช้การเมืองนำการทหารทำให้นิสิตนักศึกษาและประชาชนรวมถึงชาวม้งทยอยวางอาวุธออกจากป่าเข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย จำนวนมาก  ในหลายๆเขตงานของพคท.ขาดแนวร่วมและกองกำลังติดอาวุธ    พื้นที่ซ่องสุมกำลังต่างๆ ก็ถูกตัดถนนนำการพัฒนาเข้าสู่เขตป่าเขา การสู้รบกับ กองกำลังติดอาวุธของพคท. ลดน้อยลงไปมาก
จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สถานการณ์ของคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนเปลี่ยนแปลงไป ประเทศที่สนับสนุน พรรคคอมมิวนิสต์แตกแยกเป็นสองแนวทาง  พคท.เริ่มอ่อนล้าลงจากการเปิดยุทธการปราบปรามอย่างต่อเนื่องของกองทัพไทย อีกด้านหนึ่ง เกิดเหตุการณ์สู้รบระหว่างกองทัพไทยกับกองกำลังต่างชาติตามบริเวณแนวชายแดน ของสปป.ลาวและกัมพูชา การสู้รบในหลายๆครั้งเกิดขึ้นหนักหน่วง  ในหลายๆพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี(สระแก้ว) จันทบุรีและตราด แต่กองทัพต่างชาติก็ไม่ประสพความสำเร็จ   การรุกทุกๆครั้งถูกกองทัพไทยต้านทานและผลักดันเอาไว้ได้ ด้านประเทศกัมพูชารัฐบาลฝ่ายคอมมิวนิตส์กัมพูชาภายใต้การสนับสนุนของจีนที่เราเรียกกันว่าเขมรแดงได้ถูกกัมพูชาภายใต้การนำของเฮงสัมรินสนับสนุนโดยเวียดนามเข้ายึดอำนาจและขับไล่กวาดล้างต้องหลบหนีมาตั้งกองกำลังตามตะเข็บชายแดนด้านตะวันตกของกัมพูชาตลอดแนวชายแดนตั้งแต่อุบลราชธานีถึงจังหวัดตราดทำให้กองกำลังเขมรแดงเป็นกันชนส่วนหนึ่งยับยั้งการบุกโจมตีไทยของกลุ่มดาวเขียวเวียดนาม
 ส่วนสถานการณ์ชายแดนด้าน สปป.ลาวก็เช่นเดียวกัน   ตั้งแต่ลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบออบคอมมิวนิสต์ก็กระทบกระทั่งกับไทยมาตลอด      โดยกองทัพไทยได้จัดกองกำลังปกป้องอธิปไตยตามลำน้ำโขง      จากกองเรือลำน้ำของกองทัพเรือและกำลังนาวิกโยธินอีกจำนวนหนึ่งเรียกว่าหน่วย นปข.  แต่แนวเขตแดนระหว่างไทย-ลาวยังมีพื้นที่ติดต่อกับไทยโดยใช้ภูมิประเทศทิวเขาและลำห้วยลำธารกั้นเขตแดนที่เราเรียกว่าฝั่งขวาแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดเชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลกและจังหวัดเลย มีการบุกของกำลังทหารจาก สปป.ลาวเข้าปิดล้อมโจมตีหมู่บ้านไทยหลายครั้งที่บ้านใหม่ บ้านกลาง บ้านสว่าง อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
 ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้อพยพมาจากฝั่งลาวจากหมู่บ้านใหม่ บ้านกลางและบ้านสว่างเมื่อเข้ามาอาศัยฝั่งไทยก็ยังเรียกหมู่บ้านนี้ชื่อเดิม   หมู่บ้านตามแนวชายแดนไทย กับ สปป.ลาวเช่นเดียวกับสามหมู่บ้านเช่นบ้านร่มเกล้านั้น มีปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของทั้งไทยและลาวมาช้านาน ทางสปป.ลาวมักส่งทหารข้ามสันเขาเข้ามาเมื่อทางไทยทราบก็จัดกำลังเข้าตรึงเอาไว้ผลักดันให้ลาวกลับออกไป กองทัพภาคที่๓ จึงจัดกำลังเข้าป้องกันอธิปไตยชายแดนโดยมอบหมายให้กองพลทหารม้าที่ ๑ จัดกำลังเข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการที่สามหมู่บ้านโดยให้ใช้กำลังจาก ม.พัน.๗จากจ.อุตรดิตถ์ ม.พัน๑๒ จากจ.แพร่ ม.พัน.๑๕ จาก จ.น่าน มีการก่อตั้งหมู่บ้านเพื่อความมั่นคงขึ้นใหม่ทดแทนชื่อเดิมชื่อว่า หมู่บ้านห้วยยาง(ซึ่งก็คือบ้านใหม่บ้านกลางบ้านสว่างเดิมนั่นเอง) ต.บ่อเบี้ย อ.บ้านโคก กำลังทหารม้าได้แบ่งพื้นที่รับผิดชอบตั้งฐานปฏิบัติการ  มีการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดนด้านนี้อยู่บ่อยครั้ง  
                     มูลเหตุของปัญหา สปป.ลาวอ้างถึงการรุกราน ของไทยเนื่องมาจาก กองพลทหารม้าที่๑ ได้เสนอให้สร้างทางเพื่อความมั่นคง สายบ้านน้ำมวบ – บ้านสาลี่ อำเภอสา ,จังหวัดน่าน – บ้านบ่อเบี้ยกิ่งอำเภอบ้านโคกจังหวัดอุตรดิตถ์    โดยกรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้าง ในกลางเดือน เมษายน ๒๕๒๗ ขณะทำเส้นทางถึงหมู่๓ บ้านกิ่วนกแซว พบทหารของ สปป.ลาวออกมาใช้อาวุธขัดขวางการก่อสร้าง จนเกิดการปะทะกับชุดคุ้มกัน หลังจากนั้นทหารลาวขนาดกองพันเพิ่มเติมกำลังก็ได้เข้าปิดล้อมยึดหมู่บ้านห้วยยางเอาไว้ แต่การสร้างทางก็ยังดำเนินการต่อไปภายใต้ความคุ้มครองของทหาร ดังนั้นกองทัพภาคที่๓ จึงให้กองพลทหารม้าที่๑เข้าทำการผลักดัน ทหาร สปป.ลาวและเข้าควบคุมสามหมู่บ้านให้ได้พล.ม.๑ค่ายขุนผาเมือง จึงดำเนินขั้นตอน วางแผนการปฏิบัติการตามเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาโดยจัดทำแผนยุทธการพิชัยดาบหัก๒๗ขึ้น กำลังทหารม้าของพล.ม.๑เคลื่อนกำลังไปยังบ้านใหม่เพื่อเข้าตีกองกำลัง ลาวใช้กำลังตามแผนยุทธการคือ ม.พัน.๗เป็นส่วนเข้าตีสนับสนุน เคลื่อนที่เข้าปะทะจากบ้านบ่อเบี้ย ส่วนกำลังเข้าตีหลักจัดจาก พตท.๓๒ ใช้กำลัง ม.พัน.๑๕เคลื่อนที่เข้าปะทะจากอำเภอสาจังหวัดน่าน เพื่อเข้าผลักดันกองกำลังทหารลาว  ส่วนทก.พลส่วนหน้าจัดตั้งที่บ้านบ่อเบี้ย ๗ มิถุนายน ๒๕๒๗ หลังจากปรับรูปขบวนผ่านแนวออกตีเคลื่อนกำลังถึงที่หมาย บ้านห้วยยาง เป็นเวลาเช้ามืดตรวจการณ์พบว่าทหารลาวส่วนใหญ่ได้ร่นถอยถอนกำลังออกจากหมู่บ้านไปแล้ว ทิ้งเอาไว้แค่ส่วนระวังป้องกันถึงกระนั้นกำลังทหารไทยก็เข้าตีกำลังส่วนที่เหลือในทันทีเกิดการปะทะกันอย่างหนักเมื่อถูกโจมตีกำลังส่วนนี้ก็อาศัยความมืดเล็ดรอดหนีไปได้กำลังเข้าตีปฏิบัติการสำเร็จใน ๗ มิถุนายน ๒๕๒๗นั่นเอง ทำการเสริมความมั่นคง ซึ่งฝ่ายเราเข้าตีฝ่าย สปป.ลาวรุกเข้าไปอีกระยะทางไกลพอประมาณ       เป็นวันที่สามที่สถาปนาที่มั่นตั้งรับคอยการปฏิบัติ  ฝ่าย สปป.ลาวก็เริ่มตอบโต้ด้วยปืนใหญ่สนามขนาด ๑๒๒ ม.ม.กระสุนปืนตกบริเวณบ้านเรือนประชาชน และทก.ของฝ่ายเราได้รับบาดเจ็บกันจำนวนหนึ่ง ตกเวลามืดค่ำ ทหารสปป.ลาวก็ส่งชุดลาดตระเวนรบ    ลักลอบเข้ามาเกาะติดยิงรบกวน ฝ่ายเราจึงตอบโต้ด้วยการใช้ปืนใหญ่ต่อที่ตั้งของทหารลาว เมื่อยังเป็นพื้นที่พิพาทการจัดกองกำลังทหารตั้งฐานปฏิบัติการคุ้มครองหมู่บ้านของฝ่ายเราในพื้นที่จึงยังไม่ได้กำหนดขึ้น หน่วยเหนือจึงสั่งถอนตัวออกมาโดยดำเนินการถอนตัวเสร็จสิ้นใน กลางเดือนตุลาคม ๒๕๒๗
 ภายหลังจากที่กำลังทหารไทยต้องถอนตัวกลับออกมาจากสามหมู่บ้านแห่งนี้ ฝ่ายสปป.ลาวก็เสริมกำลังเข้ายึดครองทั้งสามหมู่บ้านอีกครั้งครั้งนี้ทหารลาวตั้งรับแบบปราณีตยิ่งกว่าครั้งที่แล้วมา  เมื่อข่าวของฝ่ายเรารายงานถึงการเข้ายึดครองสามหมู่บ้านของทหารสปป.ลาวอีกครั้ง  กองกำลังผาเมืองจึงจัดชุด ลาดตระเวนรบเข้าพื้นที่เพื่อไปพิสูจน์ทราบเกิดการปะทะกันอย่างหนักอีกครั้งฝ่ายลาวจึงขอปืนใหญ่ ขนาด ๑๒๒ ม.ม.และจรวดหลายลำกล้อง ยิงสนับสนุน จนฝ่ายเราต้องถอยกลับออกมา      แต่การถอนตัวก็ไม่ง่ายนักเมื่อข้าศึกแบ่งกำลังไล่ติดตามปิดล้อมชุดลาดตระเวนเอาไว้  หากไม่มีเครื่องยิงลูกระเบิด ๖๐ ม.ม.ของกองร้อยข้างเคียง ยิงช่วยเปิดทางถอนตัวชุดลาดตระเวนทั้งหมดคงยากที่จะถอนตัวได้            
 เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ภายในประเทศสถานการณ์สู้รบกับ ผกค.จะสงบ กว่าก่อนประกาศนโยบาย ๖๖/๒๓ แต่สถานการณ์จากประเทศเพื่อนบ้านกลับปะทุรุนแรง บางทีขบวนการดาวเขียวที่ผิดหวังกับ พคท.ที่พ่ายแพ้ต่อนโยบายอภัยโทษที่รัฐบาลไทยกำหนดขึ้นดังนั้นจึงเปิดแนวรุกจากกองกำลังภายนอกประเทศไทย ทั้งกับ สปป.ลาวที่สามหมู่บ้าน ทั้งช่องโอบก และช่องบก ระหว่างกองทัพบกไทยกับกองทัพกัมพูชาเฮงสัมรินและ เหตุการบุกข้ามดินแดนไทยเพื่อต่อสู้กับเขมรแดงที่บ้านหนองกกตำบลเทพนิมิต อำเภอโป่งน้ำร้อน และที่บ้านชำราก จังหวัดตราดเป็นการสู้รบระหว่างนาวิกโยธินไทยกับกองทัพกัมพูชาเฮงสัมรินที่เวียดนามหนุนหลัง  และกรณีที่บ้านร่มเกล้ากับกองทัพ สปป.ลาว
บ้านร่มเกล้า และบ้านสงบสุข เป็นอีกที่หนึ่งที่มีปัญหาตั้งอยู่ ตามแนวถนนหมายเลข ๑๒๖๘ ของตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่เป็นป่าเขาของเทือกเขาเพชรบูรณ์มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์  มองไปด้านใดของหมู่บ้านก็เต็มไปด้วยทิวเขาสูงสลับซับซ้อนภูเขาสูงยอดใดยอดหนึ่งนั้นเป็นเครื่องหมายกั้นเขตแดนระหว่างไทยลาวไม่ห่างไกลจากบ้านร่มเกล้านักเป็นบ้านม้งหมู่บ้านบ่อแตน ยึดถือกันว่าหมู่บ้านนี้อยู่ ในฝั่งลาวเป็นเขต เมืองบ่อแตน แขวงไชยบุรีหมู่บ้านทั้งในเขตไทยและ สปป.ลาว เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าม้งทั้งสิ้น ม้งที่บ้านร่มเกล้าแต่ก่อนอาศัยกระจายตามภูเขา และบนเนิน ๑๔๒๘ ซึ่งพวกเขาไม่ยึดถือแนวเขตแดนเขายึดมั่นในเผ่าพันธุ์ชาวม้ง   ชาวม้งเหล่านี้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์สู้รบกับทางการไทย จนกระทั่งรัฐมีนโยบาย ๖๖/๒๓จึงวางอาวุธ ร่วมพัฒนาชาติไทยจึงมีการตั้งหมู่บ้านอพยพม้งเหล่านี้มาตั้งหมู่บ้านร่มเกล้า มีม้งที่เข้าร่วม กับ พคท.ใช้พื้นที่เขตติดต่อไทยลาวบริเวณนี้เพื่อหลบซ่อนจากการต่อสู้ปราบปรามของกองทัพซึ่งก็ไม่สามารถปราบปราบชาวม้งเหล่านี้ได้โดยง่ายเพราะเมื่อถูกปราบปรามก็จำเคลื่อนย้ายหลบหนีเข้าเมืองบ่อแตน ส่วนกองกำลังจากนอกประเทศนั้นก็เคลื่อนกำลังเข้าพื้นที่โดยสถาปนาฐานที่มั่นตามยอดเขาต่างๆที่เป็นภูมิประเทศสำคัญเพื่อสอดประสานกับพคท.ในพื้นที่  จากการเปิดยุทธการเข้าสู้รบกับ กองกำลังติดอาวุธของ พคท.การลำเลียงกองกำลังรวมถึงการส่งกำลังบำรุงให้กองทหารที่เข้าปฏิบัติการรบในพื้นที่ต่างๆถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะบ่งชี้ถึงชัยชนะที่จะได้รับแต่การไม่มีโครงข่ายถนนที่ใช้ในการลำเลียงทั้งกำลังพลอาวุธ ยุทโธปกรณ์  นั้นเป็นอุปสรรคที่สำคัญดังนั้น กองทัพไทยจึงได้ตัดถนนยุทธศาสตร์รอบแนวชายแดนทั้งกองทัพภาคที่ ๑ ,๒ และ๓ เพื่อสะดวกในการส่งกำลังให้กับกองกำลังต่างๆที่ตั้งรับป้องกันประเทศโดยกองทัพภาคที่ ๓ ได้ตัดถนนสายยุทธศาสตร์ตามแนวชายแดนจาก อ.นาแห้ว จ.เลย ขึ้นไปสิ้นสุดที่บ้านร่มเกล้า