ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

สามมหาราช ตอนที่ ๑๓



                                                  

                                                                                                  ตอนที่ ๑๓ ราชวงศ์ใหม่

                             พระอาทิตยวงศ์ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่๒๓ เป็นรัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์สุโขทัย พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเชษฐาธิราช เมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชถูกรัฐประหารและสำเร็จโทษ เสด็จสวรรคตแล้ว โดยเจ้าพระยากลาโหมทำหน้าที่สำเร็จราชการและได้อัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้เพียง ๙ พรรษา   เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้วคงเที่ยวเล่นตามประสาเด็กประพาสไปเรื่อยทั่วกรุง เจ้าพนักงานต้องนำเครื่องทรงและเครื่องเสวยตามไปทุกที่ ไม่มีวันใดที่แสดงพระประสงค์ออกท้องพระโรงให้ขุนนางเข้าเฝ้า ชาวต่างชาติขอเข้าเฝ้าเจรจาการค้าหลายคณะตั้งแต่แผ่นดินก่อน เมื่อมาถึงการเปลี่ยนแผ่นดินก็ไม่สามารถทำให้สถานการณ์การค้าดีขึ้นล้วน ประสพความล้มเหลวทั้งสิ้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ผู้สำเร็จราชการไม่สามารถตกลงทำสัญญากับชาวต่างชาติได้ด้วยตัวเอง ครองราชย์ได้เพียง หนึ่งเดือน บรรดาขุนนางข้าราชการทั้งปวงเห็นว่า พระองค์ยังเยาว์วัยนักไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ มุขมนตรีจึงได้ปรึกษากันและเห็นพ้องกันว่าหากพระเจ้าแผ่นดินเป็นเช่นนี้ ราชการแผ่นดินจะเสียหาย เจ้าพระยากลาโหม และเหล่าเจ้าพระยา จางวาง ทั้งหลายจึงเข้าประชุมเพื่อปรึกษาเรื่องสำคัญของการบริหารราชการที่อยู่ภายใต้ผู้สำเร็จราชการซึ่งพระเจ้าอยู่หัวยังไร้เดียงสาต้องปกครองแบบไร้พระมหากษัตริย์อีกยาวนานนับ ๑๐ ปี บ้านเมืองจะเสียหาย จึงจำเป็นต้องอัญเชิญพระองค์ออกจากราชสมบัติ เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์สุโขทัย                  
ที่ประชุมไม่เห็นใครมีอำนาจสามารถควบคุมทั้งการบริหารทั้งการทหารได้เท่าเจ้าพระยากลาโหม ครานี้ไม่มีขุนนางผู้ใดต่อต้าน จึงเชิญเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ใน พ.ศ. ๒๑๗๓ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๓๑พรรษาทรงพระนามสมเด็จพระสรรเพชญ์   เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๔ แห่งกรุงศรีอโยธยา เป็นพระองค์ที่ ๑ จากสามัญชนด้วยมีความปรีชาด้านการบริหาร และการค้าขายทำให้ราชอาณาจักรเจริญมั่งคั่งหลังจากหยุดชะงักมาขวบปีในสมัยของพระองค์สามารถเก็บอากรเข้าพระคลังได้มากดังนั้นจึงมีการบูรณะก่อสร้างปราสาทราชวังขึ้นที่สำคัญ มีการลงรักปิดทองคำเปลวที่ยอดปราสาท ทำให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาในราชอาณาจักร บันทึกเล่าขานถึงความสวยงามอลังการของหมู่ปราสาทที่เคลือบทองคำทำให้การลำดับราชวงศ์ในภายหลังตั้งชื่อราชวงศ์ของพระองค์ตามบันทึกต่างๆเหล่านี้ว่า  “ราชวงศ์ปราสาททอง” และเรียกพระนามของพระองค์ว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในเวลาต่อมา ระหว่างนั้นพระอาทิตยวงศ์อดีตยุวกษัตริย์ ยังคงประทับอยู่ภายในพระราชวังหลวงกับพระพี่เลี้ยงเป็นปกติ
ด้วยการสืบราชสมบัติในภายหน้าจะได้ไม่ยุ่งยากและแย่งชิงอำนาจเหมือนรัชการก่อนๆจึงมีพระประสงค์จะแต่งตั้งพระมหาอุปราชโดยพระองค์ยังไม่มีพระราชโอรสที่เจริญวัยคงมีแต่เจ้าฟ้าองค์อินทร์ที่เยาว์วัย ด้วยเล็งเห็นว่าอนุชาของพระองค์(พระศรีสุธรรม)เป็นคนมีนิสัยกักขะนัก ไม่มีหิริโอตะปะไม่สามารถแต่งตั้งให้เป็นอุปราชบริหารบ้านเมืองต่างพระเนตรพระกรรณ์ได้ จึงเพียงแต่งตั้งให้มีตำแหน่งราชการให้สมฐานะพระประยูรญาติเท่านั้นจึงโปรดเกล้าให้พระอนุชาเป็นพระศรีสุธรรมพระราชทานบ้านหลวงให้อยู่ที่ริมวัดสุธาวาส พระศรีสุธรรมนั้น ขัดเคืองใจยิ่งนักที่ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระมหาอุปราช และไม่ชอบใจในตัวพระมเหสีและเจ้าฟ้าองค์อินทร์ผู้เป็นหลานที่รอเจริญวัยขึ้นเพื่อรับตำแหน่งอุปราชในวันหน้า
ดังนั้นพระศรีสุธรรมจึงเป็นที่สนิทสนมกับพระราชเทวี พระสนม และโอรสในพระสนมของพระเจ้าปราสาททอง
ในด้านการเสริมสร้างอำนาจทางทหารและการเมืองเนื่องจากตัวของพระเจ้าปราสาททองเองเข้าใจเป็นส่วนพระองค์ว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ปราบดาภิเษกมาจากเจ้าพระยากลาโหมที่ควบคุมกองทหารในพระนครและควบคุมการเกณฑ์ไพร่พลจากหัวเมืองทำให้ง่ายต่อการทำรัฐประหารยึดอำนาจ ดังนั้นพระเจ้าปราสาททองจึงแก้ปัญหาการ ปกครองที่จะย้อนรอยการทำรัฐประหารของพระองค์ คือไม่ให้เจ้าหรือขุนนางคนใดคนหนึ่งมีอำนาจในการคุมทาสคุมไพร่เป็นจำนวนมาก  มากจนมีอำนาจมากขึ้นได้ง่ายต่อการก่อกบฏ ดังนั้นพระองค์จึงทำการตัดกำลังและ ลดอำนาจของเจ้าเมืองบางเมืองลง ยกเลิกตระกูล “เจ้า” หัวเมืองที่จะสืบต่ออำนาจกัน โดยพระองค์ทรงแต่งตั้งขุนนางที่ไว้ใจจากเมืองหลวงออกไป ส่วนการควบคุมกำลังที่ต้องขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์ให้แยกอำนาจกันระหว่าง ๒ เสนาบดีผู้ใหญ่ คือ พระยากลาโหมควบคุมทหารในพระนคร พลเรือนทั้งปวงและทหารในหัวเมืองใต้ และสมุหนายกควบคุมขุนนางพลเรือนในเมืองหลวงและพลเรือนและทหารหัวเมืองเหนือ เพื่อให้การคิดระดมพลนอกเหนือพระบัญชามีการคานอำนาจกันและกันแต่ก็ทำได้ระดับหนึ่งเพราะเมื่อสิ้นรัชการของพระองค์ก็ยังเกิดการรัฐประหารที่เกิดจากการแบ่งฝ่ายของราชวงศ์ที่พระองค์ก็ยังหาทางป้องกันไม่ได้ 
ในกาลต่อมาก็ถึงกาลต้องสิ้นรัชทายาทของราชวงศ์สุโขทัยอย่างสิ้นเชิงเมื่อคราวเคราะห์ของพระอาทิตยวงศ์ วันหนึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทอง เสด็จมานมัสการพระพุทธปฏิมากร ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ทอดพระเนตรเห็นพระอาทิตยวงศ์นั่งห้อยเท้าอยู่หลังกำแพงแก้วเมื่อขบวนเสด็จผ่านคงนั่งทอดพระเนตรเฉยอยู่ไม่เสด็จลงมาจากบนกำแพง สมเด็จพระเจ้าปราสาทจึงสั่งหยุดขบวนเสด็จ แล้ว จึงตรัสว่า เจ้าอาทิตยวงศ์เขามีความ องอาจยิ่งจึงมิได้ลงมาจากกำแพงแก้ว จึงโปรดให้ลดพระยศและให้ออกจากวังหลวงไปปลูกเรือนริมวัดท่าทรายโดยมีเจ้าพนักงาน(พระพี่เลี้ยงเดิม)สำหรับตักน้ำหุงข้าวรับใช้ ๒ คนเมื่อพระอาทิตยวงศ์ มีพระชันษามากขึ้นได้สมคบคิดกับขุนนางซึ่งโดนถอดออกจากราชการไปก่อนหน้านั้นส่องสุมผู้คนเพื่อทวงสิทธิ์ในราชบรรลังค์ แต่พระเจ้าปราสาททองสืบความทราบแล้วให้ทหารไปกุมตัวแลจับผู้สมรู้ร่วมคิดมาลงอาญานำเจ้าอาทิตยวงศ์ไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา จึงสิ้นพระราชวงศ์ที่สืบราชบรรลังค์ต่อกันมาของกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา ณ บัดนั้น กาลต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงพระประชวรหนักและเสด็จลงมาประทับที่พระที่นั่งเบญจรัตน ทรงพระกรุณามอบราชสมบัติและพระแสงขรรค์ไชยศรีให้ เจ้าฟ้าไชยเพื่อสืบราชบรรลังค์ต่อจากพระองค์ ทรงครองราชย์ได้ ๒๕ ปีประชวรหนักจน สวรรคตลงในปี พ.ศ. ๒๑๙๘ พระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา
บ้านเมืองที่สงบมาตลอดระยะเวลา ๒๕ปีเมื่อกำหนดองค์รัชทายาท เป็นเจ้าฟ้าไชยเรียบร้อยแล้วหากทุกฝ่ายทั้งเจ้านายแลขุนนางน้อยใหญ่ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าปราสาททอง บ้านเมืองก็จะปกติสุขแต่หาเป็นดังพระราชประสงค์ของพระองค์ไม่
พระเจ้าปราสาททองนั้นมีพระราชโอรส และราชธิดาหลายพระองค์ เป็นพระโอรส ๘องค์ พระธิดา ๑ องค์ ดังนี้ ในพระมเหสี มีพระโอรส ๑ องค์ คือเจ้าฟ้าไชย(พระนามเดิมคือเจ้าฟ้าองค์อินทร์เมื่อทำพิธีโสกันต์แล้วจึงพระราชทานนามใหม่) พระราชเทวีสิริกัลยาณีมีโอรส๑องค์ธิดา ๑ องค์คือพระนารายณ์ราชกุมาร และ เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ พระราชเทวีอีกองค์หนึ่งมีโอรส ๒ องค์ คือ เจ้าฟ้าอภัยทศ และเจ้าฟ้าน้อย  พระสนมเอกมีโอรส ๓ องค์ คือ พระอาทิตยวงศ์ พระองค์ทองจันทร์ พระอินทราชา  พระสนมเลื่อนมี โอรส ๑ องค์ คือ เจ้าแสงจันท์
เมื่อเสร็จจากพระราชพิธีถวายพระเพลิงแล้วจึงอภิเษกเจ้าฟ้าไชยพระราชโอรสในพระมเหสีจึงขึ้นเสวยราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่๖เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๕ แห่งกรุงศรีอโยธยาเป็นพระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ในปี พ.ศ.๒๑๙๙ เจ้าฟ้าไชยครองราชสมบัติด้วยความไม่ราบรื่นนักท่ามกลางการแบ่งฝ่ายของพระประยูรญาติมาตั้งแต่ช่วงปลายรัชกาลของพระราชบิดา โดยฝ่ายของเจ้าอาพระศีสุธรรมร่วมกับพระอนุชาหลายพระองค์ ส่วนฝ่ายพระองค์มีแต่ขุนนางในพระเจ้าอยู่หัวปราสาททองเท่านั้น หลังขึ้นครองราชย์ได้ ๙ เดือนพระองค์ก็ยังไม่สามารถควบคุมอำนาจเอาไว้ในมือได้ไม่สามารถเสด็จประพาสไปที่ต่างๆภายนอกกำแพงพระบรมมหาราชวังได้ด้วยเกรงคนของฝ่ายพระศรีสุธรรมจักลอบปลงพระชมน์ แต่พระองค์ไม่อาจรอดพ้นจากภัยได้ ค่ำวันหนึ่งพระนารายณ์ราชกุมารพร้อมเจ้าฟ้าศรีสุวรรณพระขนิษฐาเสด็จจากวังที่ประทับทางประตูสระแก้ว ตัดตรง ไปยังบ้านพระศรีสุธรรมที่ตระเตรียมไพร่พลไว้จำนวนหนึ่ง จากนั้นพระศรีสุธรรมพร้อมพระนารายณ์กุมารก็นำไพร่พลทั้งหมดบุกเข้าวังหลวงเพื่อชิงราชสมบัติ กุมตัวได้สมเด็จเจ้าฟ้าไชยพาพระองค์ไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา พระศรีสุธรรมปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๖แห่งกรุงศรีอโยธยา พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์ปราสาททอง และโปรดให้พระนารายณ์ราชกุมารเป็นพระมหาอุปราชโดยให้ไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ได้ ๒ เดือนเศษ ได้รับสั่งให้พระศรีสุพรรณกัลยาณีเข้าเฝ้า  ในพระที่เพื่อให้เป็นพระสนมพระศรีสุวรรณกัลยาณีร้อนใจนำความปรึกษาพระนมจึงซ่อนองค์ในตู้หนังสือให้ทหารนำพาออกไปยังพระราชวังบวรสถานมงคล จึงทราบความและแจ้งในองค์พระเจ้าอา จึงตรัสว่าสมเด็จพระบิตุราชสวรรคต เหลืออยู่แต่พระเจ้าอาก็เหมือนพระบรมราชบิดายังอยู่ หวังจะได้ปกป้องพระราชวงศานุวงศ์สืบไป แต่พระเจ้าอาปราศจากหิริโอตะปะ ขนาดหลานของพระองค์แท้ๆยังทำได้ขนาดนี้ แล้วจะปกครองประชาราษฎร์ สมณะชีพราหม์ให้มีความสงบสุขได้อย่างไร หากนิ่งเฉยคอยท่าคงต้องอาญาทั้งพี่ทั้งน้อง ครั้งจะไปทูลเรื่องราวไฉนพระเจ้าอาจะหยุดยั้งกลับจะลงอาญาเสมือนพระองค์และขนิตฐาจะเดินเข้าไปในกองเพลิง กระนั้นเมื่อพระเจ้าอาไม่เกรงใจพระราชบิดาคิดมาข่มเหงพระราชธิดา เราจักเกรงใจพระเจ้าอาได้อย่างไรจึงจัดเตรียมผู้คนที่วังหน้าพร้อมสรรพาวุธ ค่ำวันพฤหัสบดี เวลายามสี่ แรม ๒ ค่ำเดือน๑๒ปีวอก พ.ศ.๒๑๙๙ พระองค์จึงพร้อมด้วยกำลังทหารจากพระยาเสนาภิมุข พระยาไชยาสุระและและทหารอาสาญี่ปุ่น ๔๐ นาย รวมทั้งชาวมุสลิมจากเปอร์เซีย ก็เข้ายึดอำนาจพระศรีสุธรรม ฝ่ายวังหลวงเมื่อทราบความว่าการไม่สำเร็จจะเกิดการรบกับวังหน้าจึงตระเตรียมผู้คนเอาไว้มากล้อมวังแน่นหนา การต่อสู้เกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรง จนถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น ไพร่พลของทั้งสองฝ่ายล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ทั้งสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาและพระนารายณ์ต่างได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืน สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาสู้ไม่ได้จึงถอยหนีออกสวนหลวงไปวังหลังแต่ถูกพระนารายณ์ตามไปจับกุมตัวได้และนำไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา พระนารายณ์จึงคุมอำนาจไว้ได้สิ้น จนเหตุการณ์ยุติจึงเรียกประชุมขุนนางปรึกษาราชการ จึงพร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ราชครูทูลยกพระนารายณ์สถาปนาเป็นพระมหาราชาครองกรุงเทพทราวดีสืบต่อไป แล้วจึงกำหนดฤกษ์ยามกระทำพระราชพิธีราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์     ทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดี เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ขณะมีพระชนมายุ ๒๕พรรษามื่อ เสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ ต้องทำการปราบปรามพวกข้าราชการจากแผ่นดินพระราชบิดาปราสาททอง แผ่นดินพระเชษฐาไชยราชา แผ่นดินพระเจ้าอาศรีสุธรรมที่เป็นศัตรูให้หมดสิ้น หลังจากกำจัดขุนนางฝ่ายตรงข้ามไปหมดแล้ว พระองค์ไม่ประสงค์ประทับในวังหลวง ยังคงประทับและว่าราชการที่วังบวรสถานมงคลเหมือนเดิม ช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์เริ่มต้นครองราชย์นั้นพระอนุชาในพระสนมของพระเจ้าปราสาททองได้แก่ เจ้าอาทิตยวงศ์ และเจ้าทองจันทร์ โดย พระอาทิตย์ไม่พอใจที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ทรงกรมเป็นกรมพระราชวังบพิธภิมุข โดยเคลื่อนไหวซ่องสุมผู้คน แต่ล่วงรู้ถึงพระกรรณสมเด็จพระนารายณ์จึงนำกำลังไปจับกุมตัวพระอนุชาทั้งสองและขุนนางผู้ใหญ่หลายคนที่ให้การยุยงสนับสนุนเจ้าอาทิตย์มาลงอาญาโทษฐานกบฎโดยพระองค์สืบความได้ว่าเหล่าขุนนางที่รับราชการมาครั้งพระราชบิดา และแผ่นดินพระเชษฐารวมทั้งพระเจ้าทรงธรรมไม่ค่อยสนองราชกิจแต่คอยรวมกลุ่มสนับสนุนเจ้าฟ้าที่ตนชอบพอให้ขึ้นเป็นใหญ่ ซึ่งหากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อพระองค์อีกทั้งมีชาวต่างชาติจำนวนมากเจริญการทูตเข้ามาค้าขายซึ่งต่างสมประโยชน์ในสินค้าอากรเข้าพระคลังหลวงซึ่งขุนนางผู้ใหญ่จำนวนมากไม่สามารถตอบสนองราชกิจต่างๆเหล่านี้ได้ ดังนั้นพระองค์จึงได้ถอดขุนนางอาวุโสเป็นจำนวนมากออกจากราชการโดยหาขุนนางรุ่นหนุ่มขึ้นมาแทนเพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่หลายคน เช่นด้านการเกณฑ์ไพร่หลวงมาฝึกฝนการทหารอย่างแบบฝรั่ง แล้วทรงแต่งตั้งขุนนาง มาดูแลการทัพ แปดคนตามคัมภีร์พิชัยสงคราม คล้ายการจัดเหล่าทหารในปัจจุบันคือหัวศึก(ทหารราบ) ได้แก่ เจ้าพระยาโกษาเหล็ก มือศึก(ทหารราบตระเวน) ได้แก่ พระยาเดโชไชย  ตีนศึก(ทหารม้า) ได้แก่ พลช้างม้าครบถ้วน ตาศึก(การข่าว) ได้แก่ โหรา อันมีพระพิมลธรรมวัดระฆัง สร้างขวัญกำลังใจ และให้ฤกษ์ยามการเคลื่อนทัพ  หูศึก (การข่าวและสื่อสาร) ปากศึก(การเงิน) ได้แก่ พระวิสุทธิสุนทร(โกษาปาน)เขี้ยวศึก(หน่วยรบพิเศษ) ได้แก่ ทหารที่มีทั้งไทยและเทศ    กำลังศึก(พลาธิการและสรรพาวุธ) ได้แก่ ผู้คน
ช้างม้า เสบียงอาหารอันอุดมสมบูรณ์   หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ ๑๐ ปี ตั้งแต่รัชสมัยพระราชบิดาเป็นต้นมาชาวต่างชาติโปรตุเกส ฮอลันดา จีน ญี่ปุ่นเข้ามาค้าขายและรับราชการเป็นทหารมากโดยอาศัยการเดินทางจากแผ่นดินของเขาโดยเรือกำปั่น เรือสลุป เดินทะเลพอค้า และบาทหลวงเหล่านี้มีกำลังทหารคุ้มกันในการเดินเรือทะเล เมื่อมาถึงแผ่นดินใดก็เสนอตัวรับราชการทหาร โดยรับเงินค่าจ้าง และสิทธิทางการค้า ถึงแม้มีจำนวนเมื่อเทียบกับทหารในพระนครนับว่าน้อยมากกว่านัก แต่ด้วยพวกฝรั่งมีอาวุธปืนที่ทันสมัยและพระองค์เคยร่วมมือกับต่างชาติพวกนี้ทำการยึดอำนาจจากพระเชษฐาคือ พระไชยราชาและพระเจ้าอาศรีสุธรรมมาแล้ว และนับวันจะมีชาวต่างชาติเดินเรือเข้ามามากมาย เมื่อมีหลายพวกก็เกิดความบาดหมางกัน ต่างฝ่ายต่างพึ่งพระราชอำนาจเพื่อจะให้เข้าข้างตนเองหากไม่ชอบใจเข้าอาจทำการร่วมมือกับเจ้าฟ้า  เจ้าพระยายึดอำนาจศูนย์กลางปกครองได้ เมื่อศรัตรูแห่ง ราชอาณาจักรนอกจากอาณาจักรอังวะที่เป็นคู่สงครามกันมาหลายสมัย แล้วยังมี ภัยคุกคามจากชาวต่างชาติดังนั้น ขุนนางต่างชาติที่พระองค์สนิทชิดชอบที่พระองค์ต้องพึ่งทั้งภาษา และกฏเกณฑ์การค้าอย่างฝรั่งจึงทรงแต่งตั้งให้รับราชการในระดับเจ้าพระยา แต่กระนั้น สมเด็จพระนารายณ์
ไม่ทรงวางพระทัยเกรงว่าข้าศึกอาจเอาเรือกำปั่นเข้ามาบุกรุกถึงพระนคร จึงคิดหาทำเลตั้งราชธานีสำรองเพื่อเป็นที่มั่นทางศูนย์กลางอำนาจหากมีอะไรเกิดขึ้นกับอโยธยา ด้วยทำเนียมปฎิบัติมาครั้งกาลก่อนพระมหาอุปราชตั้งแต่ครั้งพระรามาธิบดีอู่ทองก็ทรงใช้ลพบุรีเป็นเมืองอุปราชและใช้เรื่อยมาอีกหลายพระองค์การเคลื่อนพล การเดินทางจากพระนครสะดวก อีกเมืองหนึ่งได้แก่พระพิษณุโลกแต่อยู่ไกลจากกรุงศรีอยุธยาการค้าขายเดินทางยากจึงโปรด  เกล้าฯ ให้บูรณะวังอุปราชเดิมท้องพระโรงและสร้างวังที่ประทับขึ้นที่เมืองลพบุรีใช้เป็นราชธานีว่าราชการ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๙ และสร้างป้อมปราการขึ้นที่ธนบุรีและนนทบุรีเพื่อจะได้เป็นที่สกัดกั้นเรือกำปั่นข้าศึกก่อนที่จะยกขึ้นไปถึงพระนครเและเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุกๆปีครั้งละเป็นเวลานานหลาเดือน  พระองค์ต้องดำเนินราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศรักษาเอกราชของอาณาจักรให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา การดำเนินนโยบายต่างๆนั้นก็เพื่อให้สอดคล้องกับความมั่นคงแห่งอาณาจักรและให้ถูกใจประชาราษฎร์และชาวต่างชาติ แต่เมื่อมีการสร้างเมืองใหม่ย่อมเดือดร้อนการเกณฑ์แรงงานทั้งการเก็บภาษีอากรเพื่อเข้าเป็นรายได้ของแผ่นดินและเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคยังคงมีกรุงศรีอยุธยา และ กรุงอังวะเหมือนเดิม  แต่อังวะสามารถตัดทางการค้าของป่า พืชพรรณธัญญาหารต่างๆของล้านนาที่เคยเป็นสินค้าออกของกรุงศรีอยุธยาโดยได้ล้านนาเป็นประเทศราชทำให้ความมั่งคั่งของกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีปัญหากับคู่แข่งทางธุรกิจ และหากอังวะมีความเข้มแข็งขีดสุดอาจยกทำเข้ามาทำลายเมืองท่ากรุงศรีอยุธยา ดังนั้นการเตรียมไพร่พลการเกณฑ์ไพร่พลเพื่อทำสงครามหลังจากอาณาจักรไม่ได้ทำสงครามมาหลายรัชกาลเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒๗ ปีจึงเกิดขึ้น เมื่อต้องถูกเกณฑ์ประชาชนอาจไม่พอใจอยู่บ้าง แต่หากไม่ทำสงครามแสดงแสนยานุภาพ ความมั่นคงของอาณาจักรก็นับวันแต่จะถูกสั่นคลอนประเทศราชก็จะพากันแข็งเมืองอาณาจักรอังวะจะได้ประเทศราชเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลในการเป็นฐานส่งกำลังบำรุงและผลิตสินค้าส่งออกให้อังวะมั่งคั่ง และเกณฑ์ไพร่พลเข้ารบพุ่งกับอโยธยาได้ 

ขณะนั้น เมืองเชียงใหม่และหัวเมืองลานนานี้ได้ตกเป็นประเทศราชของอังวะมาแต่สมัยพระเจ้าเอกาทศรถซึ่งเป็น สมัยพระเจ้าสุทโธธรรมราชาอันเป็นกษัตริย์ของอังวะเมื่อพระเจ้าสุทโธธรรมราชาได้สิ้นพระชนม์ลงเมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๗ มังเรนันทมิต ราชบุตรครองราชสมบัติทรงพระนามว่า พระเจ้าสิรินันทสุธรรมราชา  พ.ศ. ๒๒๐๓ ทัพจีนนั้นคิดเสมอว่าอังวะเป็นประเทศราชเมื่อไม่เจริญสัมพันธไมตรีส่งบรรณาการ ยามจีนมีไพร่พลพร้อมจึงยกกองทัพลงมาตีอังวะ  ข่าวศึกลงมาถึงเชียงใหม่พระยาเชียงใหม่เกรงว่าหากทัพจีนยกมาตีซึ่งเป็นประเทศราชของอังวะ เชียงใหม่เห็นทีจะสู้ทัพจีนไม่ได้ จึงได้ทูลขอกำลังไปยังอังวะให้ส่งกองทัพลงมาช่วยรับศึกจีนที่เชียงใหม่ ด้วย ดังนั้น พระเจ้าอังวะนันทสุธรรมราชาจึงจัดกองทัพลงมาช่วยทางเชียงใหม่  แต่พอกองทัพจีนเข้าประชิดเมืองอังวะ พระเจ้าอังวะเห็นทัพจีนกำลังมากนักจึงเรียกกองทัพที่ส่งมาช่วยเชียงใหม่กลับอังวะ  ฝ่าย พระยาเชียงใหม่เมื่อกองทัพอังวะยกกลับไปหมดแล้ว ก็มีความหวาดหวั่นกองทัพจีนเป็นกำลัง  ความหวังในอันที่จะพึ่งอังวะก็หมดหนทางแล้ว  จึงได้จัดเจ้าแสนสุรินทร์นำคณะทูตลงมาเจริญไมตรีขอยอมอ่อนน้อมต่อทางกรุงศรีอโยธยาซึ่งเป็นอาณาจักรที่เป็นพันธมิตรกับจีน และขอกองทัพไปช่วยรักษา เมืองเชียงใหม่  พระนารายณ์เห็นเป็นโอกาสที่จะได้เชียงใหม่คืนมาเป็นของไทยอีกจึงให้จัดกองทัพหลวงขึ้นไปช่วยให้เจ้าแสนสุรินทร์เป็นผู้นำทัพหน้าไปกองหนึ่ง  ให้พระยาสีหราชเดโชไชย กับพระยากลาโหมนำทัพหนุนตามไปอีก  ฝ่ายทางเมืองอังวะเมื่อพวกจีนยกกองทัพมาถึงก็ตั้งกองทัพล้อมเมืองอังวะแล้วก็ยกเข้าตีเมืองเป็นหลายครั้งแต่ก็ตีไม่ได้  ครั้นล้อมอยู่นานเข้าเสบียงอาหารหมดจึงเลิกทัพกลับไปและไม่เข้าตีเมืองเชียงใหม่  ฝ่าย พระเจ้าเชียงใหม่ครั้นทราบว่ากองทัพจีนยกกลับไปแล้ว  และกรุงอังวะก็มิได้เสียแก่พวกจีนจึง มีความกลัวพระเจ้าอังวะจึงให้คนรีบลอบมาบอกให้เจ้าแสนสุรินทร์รีบหนีออกจากกองทัพอโยธยากลับเชียงใหม่  ขณะทัพพระยาสีหราชเดโชไชย กับพระยากลาโหมเคลื่อนพลขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลกจึงทราบความจากกองหน้าว่าเจ้าแสนสุรินทร์ทิ้งทัพกลับเมืองเชียงใหม่ไปแล้ว จึงมีใบบอกถึงพระนคร สมเด็จพระนารายณ์ทรง ทราบว่าเชียงใหม่มิได้ยอมอ่อนน้อมจริงก็ทรงขัดเคืองเป็นอันมากจึงให้พระยาสีหราชเดโชไชย กับพระยากลาโหมนำกองทัพไปตีเชียงใหม่  แต่ไพร่พลที่ยกไป คราวนี้ตั้งใจแค่ไปรักษาเมือง ดังนั้นจึงมีจำนวนไพร่พลน้อยไม่สามารถที่จะตีเชียงใหม่ได้จึงมีรับสั่งเรียกกอง ทัพกลับมาขณะนั้นทางอังวะเกิดจลาจลวุ่นวายขึ้น  พระเจ้าแปรราชอนุชาเป็นกบฏจับพระเจ้าอังวะได้ปลงพระชนม์เสีย  พระเจ้าแปรขึ้นครองราชย์แทนทรงพระนามว่า พระเจ้าสีหสุธรรมราชา  ครั้น ข่าวการจลาจลทางอังวะทราบมาถึงทางกรุงศรีอโยธยาสมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นเป็น โอกาสเหมาะที่จะตีเอาเมืองเชียงใหม่คืนให้จงได้จึงโปรด ฯ ให้พระยาโกษาธิบดีเป็นแม่ทัพหน้า  ส่วนสมเด็จพระนารายณ์เองทรงนำกองทัพหลวงหนุนตามไปกองทัพของพระยาโกษาธิบดี ตีได้ลำปาง  ลำพูน แล้วยกเลยเข้าล้อมเชียงใหม่ไว้แต่ยังตีเอาเมืองเชียงใหม่ไม่ได้จึงรอกองทัพหลวง  ครั้นกองทัพหลวงยกไปถึงก็ยกเข้าตีเชียงใหม่พร้อมกันจึงเข้าเมืองได้ จับได้เจ้าหลวงเชียงใหม่ข้าราชการและราชวงศ์มากมาย สมเด็จพระนารายณ์ทรงบรรลังค์ให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ถือน้ำเป็นประเทศราชกรุงศรีอยุธยา โดย ได้อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์ กลับมาไว้ยังพระนคร อโยธยา แล้วจึงจัดทัพอยู่ป้องกันอังวะ ให้ทัพหน้าคอยทัพพม่านอกเมืองระยะเดินกึ่งวันหากพบอังวะซุ่มทัพไว้   ฝ่ายทางอังวะเมื่อทราบข่าวศึกทางเชียงใหม่ก็ยกกองทัพลงมากู้เอาเชียงใหม่คืน พระเจ้าอังวะยกเข้าล้อมเชียงใหม่จึงถูกกองทัพอโยธยาด้านนอกเมืองตีกระหนาบกองทัพพระเจ้าอังวะแตกพ่ายไป  จึงโปรดให้เจ้าหลวงปกครองเชียงใหม่ต่อไปทัพกรุงศรีอยุธยาเร่งถอนทัพยังมิทันเข้าพระนครมีใบบอกจากผู้รั้งเมืองกาญจน์ว่าเกิดการจลาจลทีเมาะตะมะจึงโปรดให้พระยาโกษานำทัพจากพระนครไปตั้งที่กาญจน์รับชาวมอญหากเกิดการรบกับอังวะจะเร่งนำทัพจากเชียงใหม่ไปช่วยหนุน
เมืองเมาะตะมะเป็นประเทศราชของอังวะแต่ครั้งแผ่นดินพระเอกาทศรถได้เกิดการจราจลเมื่อชาวเมืองบุกเข้าจับเจ้าเมืองชาวพม่าขังเอาไว้และรวบรวมผู้คนคอยต้านทัพอังวะ   ทัพอังวะนำโดยอุปราชเมืองอังวะเมื่อยกมาถึงเมาะตะมะก็เข้าโจมตีกับทัพมอญ ชาวมอญไม่สามารถต่อสู้ทัพอังวะได้จึงรวมครัวมอญทั้งหมดสู้พลางถอยพลางเพื่อหนีทัพอังวะเข้าพึ่งอาณาจักรอโยธยาจนล่วงเข้าเขตด่านเจดีย์สามองค์ จึงพบทัพพระยาโกษาธิบดีเหล็กพวกมอญทั้งหมดสิ้นจึงลี้ภัยอยู่ด้วยทัพอโยธยา ขณะนั้นพระยาสีหราชเดโชยกทัพไปปราบเชียงใหม่ ทัพหลวงพระนารายณ์จึงให้ยกกองทัพลงมาช่วยกองทัพพระยาโกษา  ขณะนั้นกองทัพอังวะยกตามทัพมอญและครัวมอญมาจนถึงตำบลไทรโยค ปะกองทัพของพระยาโกษาธิบดีจึงเข้าตะลุมบอนกัน หลายเพลายังไม่รู้แพ้ชนะ  จนกองทัพทางเชียงใหม่ซึ่งพระสีหราชเดโชคุมลงมากระหนาบกองทัพอังวะจนต้องถอยทัพจับได้เชลย  ช้าง  ม้า  เครื่องศาสตราวุธ เสบียงอาหารมากมายเสร็จศึกแล้วก็ยกกองทัพกลับอโยธยา  ฝ่ายพวกมอญนั้นสมเด็จพระนารายณ์โปรด ฯ ให้ไปตั้งบ้านอยู่ที่ตำบลสามโคก ตลอดไปถึงเมืองตลาดขวัญ โดยให้ขุนนางเข้ารับราชการและควบคุมไพร่มอญทำนาและปลูกพืชผักแลมีช่างมอญทำถ้วยชามอพยพเข้ามาจึงผลิตถ้วยชามค้าขายสืบมา สมเด็จพระนารายณ์ คิดยุทธศาสตร์ทางทหารเจริญรอยตามสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช พระองค์เห็นว่าตั้งแต่วัยเยาว์สมัยแผ่นดินพระราชบิดาและก่อนหน้านั้นเมื่อสิ้นสมเด็จพระเอกาทศรถต่อเนื่องมาจนถึงสมัยของพระองค์ อาณาจักรอังวะเริ่มฟื้นตัวเป็นปึกแผ่นมีกำลังไพร่พลเข้มแข็งกว่าอโยธยา และประเทศราชที่อโยธยาเคยได้ไว้ในอาณาจักรเป็นแหล่งผลิตสินค้าการเกษตร ข้าวปลา และของป่าทั้งหลาย  เมื่ออังวะมีกำลังเข้มแข็งมากขึ้นก็มาชิงเมืองเหล่านั้นกลับไปในปกครองเป็นประโยชน์ของอังวะอีก หากเป็นเช่นนี้ไม่นานทัพอังวะจะมาถึงอโยธยาเป็นแน่ ดังนั้น ใน พ.ศ.๒๒๐๗ พระองค์จึงโปรดให้ยกกองทัพไปตีเอาอังวะเสียจึงให้พระยาโกษาธิบดีเหล็กเป็นแม่ทัพใหญ่ จัดทัพเป็น ๓ กองโดย ให้พระยารามเดโชคุมทัพเมืองเชียงใหม่ยกไปทางเมืองผาปูน  พระยากำแพงเพชรคุมทัพหัวเมืองทางเหนือยกไปทางด่านแม่ละเมาและให้พระยาสีหราชเดโชไชยเป็นแม่ทัพหน้ายกไปทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ทุกกองทัพเข้าที่ รวมพลเมืองเมาะตะมะ ชาวมอญทั้งหลายต่างอาสาเข้าทัพอโยธยาจำนวนมาก  เริ่มเคลื่อนทัพเข้าอังวะ บุกโจมตีที่หมายระหว่างทางได้เมืองจิดากอง  สีเรียม  ย่างกุ้ง  จัดกองทัพเรือยกไปตีเมืองหงสาวดี  เมือง แปร มุ่งยังเมืองอังวะทัพอังวะมาตั้งทัพหน้าสกัดกั้นที่เมืองพุกามมีเจ้ามังจาเล ราชบุตรพระเจ้าอังวะเป็นแม่ทัพตั้งรับกองทัพอโยธยา  ทัพพระยาสีหราชเดโชเข้าตีทัพเจ้ามังจาเล ที่ตั้งมั่นอยู่ในค่ายคอยป้องกันรักษาค่ายไว้เป็นสามารถ  พระยาสีหราชเดโชไชยได้เข้าตีค่ายอังวะหลายครั้งจนขวบปี ก็ยังตีหักเอาเมืองพุกามไม่ได้เสบียงอาหารขาดแคลนลงทุกทีจึงคิดจะถอยทัพกลับ ตกพลบค่ำก็ให้ทหารออกซุ่มนอกค่ายรอบเมืองพุกามแล้วให้ยิงปืนเผาค่ายและถอนกำลังกลับอโยธยาศึกครั้งนี้ไม่สามารถตีหักอังวะเมืองหลวงของอาณาจักรได้คงได้แค่ล้อมเมืองพุกามด่านหน้าของอังวะที่อังวะใช้เป็นที่มั่นสกัดกั้นเท่านั้นดังนั้นจึงต้องถอยทัพกลับ
รัชสมัยของพระองค์สามารถเผชิญกับภัยคุกคามจากต่างชาติด้วย ความสามารถของพระองค์ที่ต้องเจริญสัมพันธ์ทางทูตกับเหล่าต่างชาติให้มีผลประโยชน์  ไม่เหลื่อมล้ำกันทางการค้า ด้วยมีชาวต่างชาติมุ่งแสวงประโยชน์จากการค้าและเผยแผ่คริสต์ศาสนามาในราชอาณาจักรพระองค์จึงทรงแต่งตั้งขุนนางชาวกรีชที่พูดภาษาตะวันตกได้หลายภาษาทั้ง ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาโปรตุเกส และภาษามลายูเข้าเป็นขุนนางเพื่อประโยชน์ทางการเมืองการค้าการทูตและการทหารเขาผู้นั้นคือ คอนสแตนติน ฟอลคอน รับราชการใกล้ชิดราชสำนักจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ตำแหน่งสมุหนายกมีภรรยาชื่อดอญา มารี กีมาร์ (โดยมาดามกีมาร์ได้นำอาหารหวานต้นกำเนิดทองหยิบทองหยอดฝอยทอง สังขยา มาถึงวันนี้)
 เมื่อพ.ศ. ๒๒๓๑  สมเด็จพระนารายณ์ประชวรหนักพระองค์ไม่มีพระราชโอรสที่เป็นรัชทายาท มีแต่พระราชธิดาทรงตั้งให้เป็น กรมหลวงโยธาเทพ  และมีพระเจ้าน้องยาเธออีก ๒ พระองค์คือกรมหลวงโยธาทิต กับเจ้าฟ้าอภัยทศ ที่ไปเข้ารีตนับถือคริสต์ สมเด็จพระนารายณ์ทรงชุบเลี้ยงพระอนุชามาแต่เล็กทรงเมตตาเหมือนอย่างราชโอรส จนทำให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ขุนนางชาวกรีช เข้าใจว่าอย่างไรเสีย สมเด็จพระนารายณ์คงจะทรงมอบราชสมบัติให้ครองต่อจึงได้ตีสนิทเจ้าฟ้าอภัยทศไว้เป็น พรรคพวกเพื่อความมั่นคงของตน                                  
สมเด็จพระนารายณ์ทรงระแวงพระยากลาโหมจึงให้สมุหนายกเตรียมกำลังฝรั่งเศสเอาไว้เพื่อคุมสถานการณ์ในพระนครหากมีการรัฐประหารเมื่ออาการประชวรของพระองค์หนักขึ้น เพื่อคุ้มกันให้พระอนุชาอภัยทศขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่เพราะพระองค์ยังไม่ทรงจัดการด้านความมั่นคงภายในให้เรียบร้อยก็ประชวรเสียก่อน ส่วนภายในกรุงพระสงฆ์เริ่มรู้สึกไม่มั่นคงจากคริสต์ศาสนา  ช่วงปลายรัชกาลนี้มีความผิดปกติขึ้นเมื่อเจ้าพระยาวิชาเยนทร์สมุหนายกที่ดูแลทหารในพระนครทั้งหมดนำทหารฝรั่งเศสพร้อมอาวุธปืนยาวเข้ามาประจำการที่ป้อมธนบุรีควบคุมโดยนายพลเดส์ฟาร์จ ซึ่งถือว่าเป็นอันตราย เพราะอาวุธเหล่านั้นมีอานุภาพเหนือกว่าทางอโยธยามาก แม้มีทหารเพียงกองร้อยเดียว ก็สามารถเอาชนะทหารอโยธยาระดับกองทัพได้ ช่วงเวลานั้นบาทหลวงฝรั่งเศสเข้ามายังอโยธยามากมายและยังชักชวนเจ้ากรุงศรีให้เข้ารีตเป็นชาวคริสต์ทั้งเกิดสัญญาการค้าที่ฝรั่งเศสมีเปรียบชาวต่างชาติอื่นทำให้พระยากลาโหมสุรสีห์ เฝ้าจับตาสมุหนายกเป็นพิเศษเกรงจะนำทหารฝรั่งเศสเข้ายึดอำนาจซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยพระเจ้าอยู่หัวนารายณ์ประทับที่วังลพบุรีและประชวรหนักพระยากลาโหมสุรสีห์ผู้นี้เป็นบุตรบุญธรรมของแม่นมเปรม เป็นชาว บ้านพลูหลวง ในตำบลสนามชัย สุพรรณบุรีเป็นน้องชายของท้าวศรีจุศรีจุฬาลักษณ์แจ่มพระสนมเอกในพระนารายณ์รับราชการเป็นจางวางกรมช้างและเลื่อนเป็นพระยากลาโหมในพ.ศ.๒๒๑๙ครั้นถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๒๓๑ ที่ประชุมเหล่าขุนนางตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์จากที่พระนารายณ์ทรงประชวรหนักประทับที่วังลพบุรีจึงอยู่ในฐานะ ได้เปรียบกว่าในการสั่งการต่างๆ โดยอ้างพระราชโองการด้วยพระยากลาโหมควบคุมแต่ทหารหัวเมืองมิได้คุมทหารในพระนครเหมือน สมุหนายกเพราะพระเจ้าอยู่หัวเกรงสมุหกลาโหมมีอำนาจมากจะปราบดาภิเศกเหมือนรัชกาลก่อนๆดังนั้นพระยากลาโหมสุรสีห์จึงต้องอาศัยพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ ในเขตเมืองลพบุรีและปริมณฑลที่รู้ตัวถึงภัยคุกคามจากคริสต์ศาสนา ทั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากพระราชาคณะ เมืองลพบุรี ทั้งในเรื่องการสอดแนมการเคลื่อนไหวต่างๆการอาศัยกำลังจากพระสงฆ์ในกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น เป็นวิธีที่แนบเนียน ซึ่งสมุหนายกพระยาวิชาเยนทร์ไม่เข้าใจ รู้แต่เพียงว่า พระเพทราชาไม่มีกำลังรบในกรุง อยู่ในมือเลย กว่าจะระดมคนได้ต้องใช้เวลาเป็นเดือน เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ และนายพลเดส์ฟาร์จ มีการพบปะ บ่อยครั้งขึ้น จนพระยาสุรสีห์จับความเคลื่อนไหวได้ จึงให้หน่วยทหารลับที่อาสาจากวัดพุทธต่างๆของเมืองบางเกาะและธนบุรีคอยสืบข่าวกองทหารนี้ และกดดันไม่ให้ทหารฝั่งเศสเคลื่อนกำลังออกมาตามนัดแนะของสมุหนายกเมื่อถึงเดือนเมษายน ๒๒๓๑ จึงเป็นเดือนของการชิงไหวชิงพริบกันอย่างมากระหว่างพระยาสุรสีห์กับพระยาวิไชยเยนทร์บรรยากาศการเมืองในเวลานั้นจึงสับสนอึมครึมอย่างมาก ราวๆ ต้นเดือนพฤษภาคม พระอาการประชวรก็ทรุดลงอย่างหนักด้วยโรคไอหืด  การดำเนินแผนการไปสู่การรัฐประหารเริ่มจากฝ่ายบ่าว ไพร่ คึกคักไปตามการนำของพระภิกษุ พากันจับอาวุธยุทธภัณฑ์เท่าที่จะหาได้ ปล้นบ้านของพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมเข้าไปในพระบรมมหาราชวังกุมตัวเจ้าฟ้าอภัยทศอนุชาพระนารายณ์ ไปประหารชีวิตที่วัดซากทางเหนือนอกกำแพงเมืองลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๒๓๑ เวลาบ่ายสี่โมงเย็น เมื่อมีเหตุวุ่นวายเกิดขึ้นพระยาสุรสีห์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จึงชิงกระทำการรัฐประหารโดยทันที ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๒๓๑ โดยมีหลวงสรศักดิ์ เป็นกำลังสำคัญ เสริมด้วยเหล่าชาวบ้านและชาววัดในเขตเมืองและปริมณฑลเป็นตัวช่วยส่วนเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์เวลาเดียวกันนั้นสามารถเดาเหตุการณ์ได้ก็ตัดสินใจเข้าปราบปรามกลุมรัฐประหารแต่คิดการณ์ชักช้าไปไม่ทันเคลื่อนกำลังไพร่พลมาจากพระนครเพื่อควบคุมวังลพบุรี แต่นายพลเดส์ฟาร์จถูกเหล่าชาวบ้านกดดัน เกิดลังเลใจไม่ยอมยกกองทหารฝรั่งเศสจากธนบุรีขึ้นมาลพบุรีตาม สัญญานัด พระเพทราชาและพรรคพวกดำเนินการอย่างฉลับพลันพากำลังเข้า จับตัวฟอลคอนถึงในจวนประหารชีวิตเสีย และพากำลังล้อม พระราชวังลพบุรี ไม่ให้ผู้ใดเข้าเฝ้า ยึดอำนาจจากพระนารายณ์ และสั่งการให้ข้าราชการน้อยใหญ่มาประชุมโดยพร้อมเพรียง ผู้ใดขัดคำสั่งนั้นให้ตามกุมตัวมาประหารเสียสิ้น แล้วจึงเข้าควบคุมการปกครองกรุงศรีอโยธยา ในด้านทางการเมืองขุนนางอโยธยาฝ่ายของพระนารายณ์ก็ถูกกำจัดไปหมดสิ้น แต่ยังเหลือกลุ่มก้อนของขุนนางฝ่ายชำนัญการชาวฝรั่งเศสที่ยังคงเป็นกองทหารติดอาวุธที่ยังเป็นปัญหาอยู่เพียงกลุ่มเดียว เพราะกลุ่มอื่นๆ ก็ล้วนเสียประโยชน์จากการเข้ามาของฝรั่งเศส อย่างเช่นกลุ่มฮอลันดา กลุ่มโปรตุเกส กลุ่มมุสลิม กลุ่มมัวร์ เป็นต้น ทั้งหมดนั้นจึงมีศัตรูร่วมกัน คือ กองทหารอาสาฝรั่งเศสที่มีฐานที่มั่นในบางเกาะดังนั้น หลังจากที่พระเพทราชายึดอำนาจได้ระยะเวลาหนึ่งให้นำกำลังทหารฮอลันดาและอโยธยาเข้าโจมตีกองทหารฝรั่งเศส จับกุมนายทหาร บาทหลวงคณะเยซูอิตคนสำคัญเป็นตัวประกัน จากการวางแผนของฮอลันดา และท้ายที่สุด ก็ได้ปิดล้อมป้อมปราการที่บางเกาะ ทหารฝรั่งเศสที่ถูกล้อม และพยายามต่อสู้อย่างถึงที่สุดแล้ว แต่ก็ต้องพ่ายแพ้และต้องออกจากอโยธยาไปทั้งหมด ถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญเพราะหากพระยาวิไชยเยนทร์ปราบปรามกลุ่มพระเพทราชาสำเร็จเข้าควบคุมอโยธยาอาจตกเป็นเมืองขึ้นชาติตะวันตกตั้งแต่นั้น เหตุการณ์จึงลงเอยด้วยการรัฐประหารของสมุหกลาโหม หลังจากพระเพทราชาควบคุมอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ยังอยู่ในพระอาการประชารหนักและเสด็จสวรรคต  พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรีเมื่อ ๑๑กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑ ครองราชสมบัติ ๓๒ ปี พระชนมายุ ๕๗ พรรษา  ถึงกาลสิ้นราชวงศ์