ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ขุนหลวงตาก ตอนที่๒




                                                                        ตอนที่ ๒ อโยธยาสิ้นแล้ว
                        ทัพกรุงศรีอยุธยาป้องกันกำแพงเมืองอย่างสุดความสามารถ อังวะทุ่มเททั้งเจาะทำลายทั้งถมทำนบประชิดแต่อยุธยาก็ยังสามารถ  ป้องกันทัพอังวะเอาไว้ได้ ทั้งทราบความแล้วว่ามีไส้ศึกปะปนอยู่ในพระนคร ยามค่ำคืนคอยออกปล้นชาวเมือง  พระเจ้าเอกทัศออกตรวจตราทัพจึงทราบความอีกว่ามีพระยาหลายคนหนีทัพเล็ดลอดจากพระนครทิ้งไพร่พลให้อยู่ลำพังบ้าง ทิ้งค่ายพาไพร่พลกลับเมืองไปบ้าง  สืบได้ความว่าหนีไปยังพิมาย และพิษณุโลก  ซึ่ง สองเมืองนี้ซ่องสุมผู้คนคอยทีจะปล้นเอาเมือง แต่ยามนี้ขุนนางที่ไม่ชอบพระองค์ต่างกระด้างกระเดื่องหนีทัพโดยที่พระองค์ไม่สามารถลงอาญาได้            ความหวังสุดท้ายที่คอยทัพจากหัวเมืองตะวันออกถึงเกือบ ๓ เดือนคงสิ้นหวังยังไม่มีวี่แววทัพหนุนเดินทางมาถึง   (ขณะนั้นพระยาตากเข้ายึดเมืองระยอง วางแผนปราบปรามและเกณฑ์ไพร่พลจากจันทบูร)    ก่อนขึ้นเดือน ๕ หลายเพลา ทัพอังวะล้อมจนติดกำแพงเมือง อโยธยา  ไม่มีทัพจากในพระนครออกไปโจมตีทัพอังวะอีกแล้วคงมีกองประจำทวารทั้งสิ้นปิดทวารมั่นคง     ฝ่ายใน หลวงเวรสิทธิ์นายเวรรับราชโองการนำ       เครื่องราชกกุธภัณฑ์ แลทรัพย์ในคลังหลวง ๘-๙คลัง  ให้มหาดเล็กคนสนิททั้งหลายและนางในไปเก็บกรุซ่อนของ ที่บ่อน้ำ ทั้งฝังดินที่ กรุ วัดย่านวังหลวง และ  วัดต่างๆอีกมากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศทรงตรัสกับเหล่าราชวงศ์ ฝ่ายใน อำมาตย์ราชครูใกล้ชิดว่า    การสู้รบมาถึงที่สุดแล้วคงรักษาเมืองไว้ไม่ได้ จนพระทัยขุนนางพากันทิ้งทัพหลบหนีก็มาก  หวังพึ่งทัพพระยาตากก็ยังไม่มีมาถึง  กำลัง
เพียงน้อยในพระนครจะยันข้าศึกได้ไปอีกกี่เพลาหากอังวะเข้าเมืองได้คงบุกเข้าพระราชวัง     หากแม้นพระองค์สู้ศึกจนสิ้นหรือถูกอังวะกุมตัวได้ แม้นถึงคราวนั้นให้ทหารมหาดเล็กวางเพลิงเมืองให้หมดสิ้น     อย่าให้อังวะยึดเมืองเอาไปใช้ประโยชน์ได้      หากวันใดอโยธยามีคนดีมีความสามารถคงกอบกู้บ้านเมืองให้กลับคืนได้       ถึงเราไม่ทำลายพระนครเมื่ออังวะเข้ามาได้คงเก็บกวาดทรัพย์สินและเผาทำลายไม่ให้อโยธยาฟื้นคืน ส่วนอารามนั้นอังวะ คงละเว้นเพราะอารามของพระพุทธองค์พระสงฆ์คงไม่ลำบาก   หากใครเกรงกลัวอังวะให้เร่งหนีออกจากเมืองด้านทิศใต้ไปทางน้ำ    แล้วจึงลอบให้เหล่าสนม นางใน ราชโอรส ราชธิดาล่องเรือออกคลองฉะไกร
ยามค่ำคืน  มุ่งไปยังด้านทิศบูรพาให้หลบซ่อนในป่าห่างไกล ส่วนพระองค์และ ทหารรักษาพระองค์ทุกคนต่างไม่คิดหนีแต่อย่างใด  ครั้นถึงวันที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช  ๒๓๑๐  เวลาประมาณบ่ายสามโมง อังวะจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริม ป้อมมหาไชยะ และยิงปืนใหญ่ระดมจากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่ายเข้าไปในพระนคร ถูกปราสาทราชวัง วัดวาพังเสียหายมากนัก  พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา ๒ทุ่ม แม่ทัพอังวะยิงปืน เป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้านเข้าตะลุมบอน ด้วยกำลังที่เหนือกว่า อังวะเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดด้านหัวรอนั้นก่อน มีเสียงลือว่าอังวะลอบเข้าเมืองมาปลอมตัวแฝงอยู่ในพระนครทั้งเผาบ้านร้านตลาดครั้งก่อน ด้วยมีขุนนางมอญคอยให้การช่วยเหลือซ่อนเร้น     ยามนี้คนเหล่านั้นก็เข้าเปิดประตูเมืองให้กองหน้าทัพอังวะบุกทะลวงเข้ามาได้โดยทหารอโยธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ อังวะก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทิศทางทหารอโยธยาสู้จนตัวตายเกือบหมดผู้คนที่เหลือถูกกุมตัวเวลานั้นชาววังชาวเมือง อลหม่าน เพลาค่ำนั้นเกิดเพลิงเผาไหม้จากวังหลวงวังหน้าและวังหลังจนทั่ว เมื่อ ทัพหน้าอังวะทะลายกำแพงด้านหัวรอเมืองเข้ามาก็พบกับทะเลเพลิงแดงฉานข้างหน้าคงหยุดอยู่นอกกำแพงพระราชวังหลวงนั่นเอง   ทหารที่รักษากำแพงมีน้อยมากพากันวางอาวุธยอมจำนนบ้างต่อสู้ก็ถูกฆ่าฟันล้มตายศพก่ายกอง   แม้ทัพอังวะบุกเข้าเมืองมาได้ ก็ไม่สามารถใช้สถานที่ใดตั้งทัพและบุกเข้าในพระราชวังได้ท่ามกลางความอลม่าน  เพลานั้นมหาดเล็กคนสทิทก็ลอบพาพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากพระราชตำหนักมุ่งออกมาด้านทิศใต้มีทหารองค์รักษ์ตามเสด็จเพียงไม่กี่คนมหาดเล็กเตรียมเรือชะล่าซุ่มเอาไว้พระองค์ตั้งพระทัยมุ่งหน้าตามทัพพระยาตาก นายกองอังวะที่พังกำแพงเมืองเข้ามากรูมาถึงแนวกำแพงพระราชวังก็กระจายกำลังเที่ยวค้นหาพระเจ้ากรุงศรีวังหลวงบางส่วนถูกเพลิงไหม้ จึงเร่งหาพระเจ้ากรุงศรีอโยธยา มาพบทหารกลุ่มหนึ่ง แท้จริงเป็นกลุ่มมหาดเล็กและทหารองค์รักษ์นำเสด็จจึงเข้าสู้รบกันเป็นสามารถนายกองอังวะยิงปืนเข้าใส่ต้องพระอุระพระเจ้ากรุงศรี และฆ่าฟันทหารกรุงศรีตายทั้งสิ้น จึงทราบว่าเป็นพระเจ้ากรุงศรีอโยธยา  นายกองจึงแจ้งข่าวไปยังแม่ทัพเมเมียวสีหบดี ว่าปลงพระชนม์พระเจ้ากรุงศรีลงได้แล้ว  แม่ทัพเมเมียวสีหบดีจึงสั่งให้นำพระบรมศพพระเจ้ากรุงศรีมายังค่ายโพสามต้นและให้ นายกองอังวะ รวบรวมเชลยพันธนาการแยกขุนนาง  พระวงศานุวงศ์บ่าวไพร่ ราษฎร เจ้านาย ข้าราชการ สังเกตจากการแต่งตัวว่าใครนายใครบ่าวใครไพร่     ไม่มีทางหลบเลี่ยงซ่อนตัวในพระนครได้ทั้งพระภิกษุสามเณรจำนวนมาก พระภิกษุ สามเณร
ถูกจับรวมไปคุมไว้ที่ค่ายโพสามต้น   รวมทั้งจับกุม สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรที่จำพรรษารวมกับเหล่าข้าราชการที่วัดประดู่ทรงธรรมนั้นด้วย     ส่วนราษฎรทั้งหลาย นำไปคุมขังไว้ตามค่ายต่างๆและเร่งตั้งค่ายลงที่เพนียด ที่วัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์ เมื่อนำพระบรมศพพระเจ้ากรุงศรีมาถึงค่ายจึงตั้งเอาไว้เช่นสามัญชนกลางค่ายท่ามกลางเหล่าเชลยศึกทั้งราชวงศ์และขุนนางอโยธยาจึงพากันร้องไห้ระงมครานี้อโยธยาสิ้นบุญแล้วจริงๆ เมเมียวประกาศชัยเหนืออโยธยาท่ามกลางเสียงโห่ร้องของเหล่าแม่ทัพนายกองจึงให้ตระเตรียมพัธนาการและปักเสาเพนียด คุมขังบรรดาเชลยเพื่อเตรียมกวาดต้อนกลับอังวะและให้ฝังพระศพเอาไว้ที่กลางค่ายนั้น
บรรดาแม่ทัพนายกองอังวะพากันตระเวนทั่วพระนครและเก็บกวาดทรัพย์สินและค้นจับเชลยศึกเมื่อ ไร้ทรัพย์สินในพระบรมมหาราชวัง แม่ทัพนายกองพม่าทั้งหลายต่างทราบเรื่องคลังทรัพย์สมบัติของเจ้ากรุงอโยธยาที่มีมากนับ๘-๙คลัง ทรัพย์สินเงินทอง เพชร นิลจินดา บรรจุใส่ใหซ้อนกันสูงอีกทั้งเครื่องราชกุธภัณฑ์ของกษัตริย์ พากัน เที่ยวค้นหาไม่พบ ก็ผิดหวัง             พากันโกรธแค้นพระเจ้าอโยธยายิ่งนัก    จึงต่างมุ่งเข้าวัดวาอาราม ค้นหาทรัพย์สินเผาลอกทองพระกันนับ ๑๐กว่าวันเอาเพลิงสุมหลอมเอาทองคำซึ่งแผ่หุ้มองค์พระพุทธรูปผืนใหญ่ บีบบังคับทั้งราษฎรทั้งพระภิกษุให้บอกแหล่งของทรัพย์ที่ฝังซ่อนไว้ ในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชรนั้น ขนเอาเนื้อทองคำไปหมดสิ้น
บ้านช่องขุนนาง บ้านเรือนชาวเมืองทหารอังวะพากันบุกค้นจนหมดสิ้นจับทั้งผู้คนริบทั้งทรัพย์สิน ไว้ได้ทั้งหมดสิ้น ครานี้ขจัดศูนย์กลางการบริหารอาณาจักรให้หมดสิ้นเพื่อไม่สามารถฟื้นตัวได้ในเร็ววัน  แต่เก่าก่อนมาการโจมตีอาณาจักรเพียงการกำจัดแค่พระมหากษัตริย์แล้วกวาดต้อนนำเชลยกลับไปยังอาณาจักรอังวะ การจะซ้ำรอยครั้งพระมหาธรรมราชาให้พระนเรศวรราชาธิราชกอบกู้บ้านเมืองกลับคืนได้ อีกประการหนึ่งนั้น มาจากความสามารถของทัพอโยธยาที่ประจักษ์แก่แม่ทัพพม่าว่ามีความแข็งแกร่งกว่าอาณาจักรอื่นๆที่อังวะเคยโจมตีมา แม้กำลังน้อยกว่าอังวะมากนัก  แต่ยังสามารถต้านทานทัพอังวะได้นานนับปี ถ้าปล่อยเอาไว้         ไม่นานกรุงศรีโยธยาต้องสถาปนาขึ้นใหม่   คิดเช่นนั้นแล้วแม่ทัพจึงสั่งให้ตระเวนเผาบ้านเรือนที่ยังไม่ถูกเพลิงไหม้จนราบ
สิ้นกรุงศรีอยุธยาแล้วครั้งนี้อังวะมิได้แค่ต้องการยึดเมืองได้แล้วปกครองแบบประเทศราชดังเช่นครั้งก่อนหากแต่ต้องการทำลายรากฐานบ้านเมืองประชาชนราชสำนักให้หายไปโดยไม่สามารถฟื้นตัวได้ง่ายๆ อังวะต้องใช้เวลานานถึง ๒ เดือน ในการเที่ยวเก็บทรัพย์สมบัติจำนวนมาก เตรียมเสบียงเลี้ยงคนและเชลย และเตรียมการต้อนเชลยศึกทั้งหมดรวมทั้งสมณะเจ้าอุทุพร และราชวงศ์กรุงศรีทั้งปวง รวมทั้ง  พลเมืองอโยธยานับแสนคนกลับอังวะแล้วเร่งยกทัพกลับ  อาณาจักรอังวะใน วันที่ ๖ มิถุนายนพ.ศ. ๒๓๑๐
ด้วยต้องตระเตรียมระดมพลรับทัพจีน ดังนั้นจึงไม่สามารถทิ้งกองทัพและจัดการปกครองกรุงศรีอยุธยาได้   เนเมียวสีหบดีแม่ทัพใหญ่ได้แต่งตั้งให้ สุกี้นายทัพ คุมพล ๓,๐๐๐ ใช้ค่ายโพสามต้นเป็นที่ตั้ง คอยกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินตามกลับไปภายหลังให้หมดสิ้นทั้งแผ่นดิน 
ขณะที่ราชวงศ์บางพระองค์และขุนนางต่างเห็นกรุงศรีอยุธยาไม่มีโอกาสชนะอังวะได้นั้น เพื่อความอยู่รอดทำให้เกิดชุมนุมทางการเมืองในระดับต่างๆ ซึ่งเป็น"รัฐบาลธรรมชาติ"ขึ้นมาในท้องถิ่นทันทีบรรดาพระยา เจ้าเมืองขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากนักเพราะหลบเลี่ยงเกณฑ์พลเข้าทัพรักษาพระนครจึงเหลือไพร่พลมากจึงได้ตั้งตนเป็นใหญ่แยกอาณาจักรตั้งตนเป็นขุนหลวงในเขตอิทธิพลของตน   ซึ่งมีจำนวน ๔-๖ แห่ง หากแต่ไม่มีชุมนุมทางการเมืองใดคิดจะกอบกู้อโยธยา หรือฟื้นฟูให้กลับคืนดังเดิม

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ขุนหลวงตาก


                          หลังถวายพระเพลิงขุนหลวง เอกาทศรุทรอิศวร (ขุนหลวงพร)กษัตริย์แห่งมหานครศรีอโยธยาแล้ว กรมพระราชวังบวรพรพินิจได้ราชาภิเษกขึ้นเป็นขุนหลวง ตามการสืบราชสันตติวงศ์  เสวยราชสมบัติเพียงไม่นานกรมขุนอนุรักษ์มนตรีพระเชษฐาก็นำกำลังเข้ายึดอำนาจ ปราบดาเปลี่ยนแผ่นดินด้วยร่วมปราบ เจ้าสามกรมมาด้วยกันจึงไม่เกิดความรุนแรงในการปราบดา ขุนหลวงพรพินิจทรงหลีกทางออกผนวชที่วัดอโยธยา ในกาลก่อนพระราชบิดาในพระบรมโกศโปรดชุบเลี้ยงมหาดเล็กผู้หนึ่งชื่อสินผู้เกิด จากหญิงชาวจีนผู้เป็นน้องหญิงออกญาเมืองเพชร รับใช้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ครั้งโตพอบวชเรียนได้ขุนหลวงจึงโปรดให้บวชเณรเล่าเรียนพร้อมมหาดเล็กอื่นๆที่สำนักวัดเชิงท่า สามเณรเล่าเรียนเขียนอ่านจนแตกฉานได้สามพรรษา  ขุนหลวงคัดเลือกสามเณรที่มีสติปัญญาอ่านเขียนแตกฉานให้เรียนกฏหมายบ้านเมืองจากออกญาจักรี(ครุฑ)เสนาบดีผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นวิถีทางที่ขุนหลวงไว้วางใจที่จะเลือกคนสนิทให้เป็นขุนนางออกไปอำนวยความยุติธรรมตามหัวเมืองปกครองแทนพระองค์   ครั้นขุนหลวงเอกาทศรุทรอิศวร(ขุนหลวงอนุรักษ์มนตรีขึ้นครองราชย์ทรงโปรดตั้งให้เป็นหลวงยกบัตร ข้าหลวงแทนพระองค์เชิญตรา พระราชสีห์ ขึ้นไปชำระความตามหัวเมืองฝ่ายเหนือฝ่ายใต้หัวเมืองประเทศราช

 หลวงยกบัตรสินสามารถกระทำราชกิจที่ได้รับมอบหมายให้เป็นที่ยุติธรรมบังเกิดแก่หมู่ราษฎรชาวมหานคร มีความดีความชอบเป็นอย่างมาก จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้เป็นยกกระบัตรเมืองตาก ทำหน้าที่รักษากฎหมายอยู่ช่วยราชการออกญาตาก ต่อมาไม่นาน ออกญาผู้นี้รับราชการมาครั้งพระราชบิดา วัยชรามากเมื่อป่วยไข้ถึงแก่อนิจกรรมจึงทรงโปรด ให้หลวงยกกระบัตรเป็นออกญาเมืองตากซึ่งเป็นเมืองชายแดนหน้าด่านที่สำคัญระหว่าง ล้านนาประเทศราชอังวะ และอังวะ โดยจวนเจ้าเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำพิงฝั่งตะวันตกใกล้ปากห้วยแม่ท้อ เรียกกันว่าจวนเจ้าเมืองสวนมะม่วง เนื่องจากบริเวนนั้นมีมะม่วงป่าขึ้นอยู่มากมาย หรือบ้างก็เรียกว่าตำหนักสวนมะม่วงเนื่องจากเคยเป็นที่ประทับของพระนเรศวราชาคราวย้ายเมืองลงมาจากเกาะตะเภา มาสร้างเมืองใหม่บริเวณ ป่ามะม่วงนี้ เนื่องจากมีทำเลเหมาะสมเป็นหน้าด่านตั้งรับแจ้งข่าวทัพอังวะและทัพล้านนา เมื่อครั้งย้ายจาก เกาะตะเภาลงมา พระนเรศวราชาโปรดให้สร้างเสาหลักเมืองเอาไว้ตรงบ้านปากร้อง ให้ไพร่ฟ้าอพยพจากบ้านระแหงฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ มาอยู่ แผ้วถางป่ามะม่วง เป็นท้องนาชาวเมืองเรียกทุ่งหลวง เพื่อเป็นเสบียงเลี้ยงทัพอโยธยา ยามเดินทัพมาตี ลำปาง เชียงใหม่ และอังวะ จนมาถึงสมัยออกญาสินเป็นเจ้าเมืองก็ยังคงใช้บริเวณนี้เป็นเมืองมิได้ย้ายเป็นที่แห่งใหม่ด้วยมีชัยภูมิเหมาะสมและได้ทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านตลอดมา

                                                                                                                                                      

            วันครบรอบราชาภิเษกของสมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวร ขึ้นครองราชย์ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติให้หัวเมืองต่างๆกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ออกญาเมืองตาก พร้อมด้วยพวกกรมการเมืองได้รวมไพร่พลร่วมกับหัวเมืองเหนือ ทั้งปวงได้แก่เมืองพิชัย  เมืองวชิรปราการ เมืองวิศณุโลก เมืองสุโขทัย ต่างเดินทางมาร่วมกระทำพิธี ณ วัดใหญ่เมืองพระวิศณุโลก   ตามประเพณี มีการละเล่นสมโภชน์ ฟันดาบ ชนไก่ ต่อยตี  หัวเมืองเหนือมีมวยท่าเสาขึ้นชื่อนัก ครั้งนี้นครูมวยห้าวเมืองตาก ตามมากับออกญาสิน ไม่มีใครกล้าเปรียบมวยด้วย ออกญาพิชัยจึงให้ตามตัวอ้ายทองดีชาวเมืองพิชัยที่รักษาบาดแผลจากเสือตะปบกับอาจารย์วัดใหญ่มาเปรียบมวย อ้ายทองดีรักษาตัวหายแล้วตรียมลาพระอาจารย์เดินทางกลับเมืองพิชัยจึงขันอาสาเปรียบมวยกับครูห้าวนั้นเอง ครูห้าวนั้นเป็นนักมวย ตลอดทั้งเมืองตากไม่มีใครสู้ได้ ผลการต่อสู้ปรากฏว่านายทองดีนั้นเก่งด้านมวยท่าเสา สามารถ เอาชนะครูห้าวได้ พระยาตากจึงตกรางวัลให้  และเอ่ยขอตัวจากออกญาพิชัย ให้อยู่เข้าสังกัดรับราชการอยู่เมืองตากด้วยกัน

อ้ายทองดีจึงตามออกญาตากมาด้วย มาอาศัยเมืองตากได้อุปสมบทที่วัดเขาแก้ว ครบพรรษาลาสิกขา  ออกญาสินจึงแต่งตั้งให้เป็นขุนทองดี นอกจากมีฝีมือเชี่ยวชาญด้านชกมวยและยังชำนาญการต่อสู้ฟันดาบ โดยเฉพาะดาบสองมือมีความถนัดเป็นอย่างยิ่ง 

                      พุทธศักราช ๒๓๐๓ อองไจยะ นายบ้าน มอกโซโบ  ได้ปราบดาภิเษก เป็นเจ้ากรุงอังวะ     พระเจ้าอองไจยะและไพร่พลของพระองค์มีความเข้มแข็งจากสามัญชนปราบดาขึ้นเป็นเจ้ากรุงอังวะ ต้องขยายอำนาจเหนือแว่นแคว้นทั้งมวลจึงจัดทัพเข้าตียึดแคว้นต่างๆ รบมอญชนะได้หงสาวดี แขกเมืองยะไข่ แคว้นไทใหญ่ และแคว้น คะฉิ่น ดำหริว่าอังวะไม่ได้ยกทัพปราบปรามกรุงศรีอโยธยา เมืองมะริด เมืองตะนาวศรีประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา ทำให้การควบคุมเมืองท่าด้านอ่าวเมาะตะมะและอ่าวเมืองบางเกาะของกรุงศรีอยุธยายังไม่สามารถควบคุมได้ทำให้การค้าขายจากต่างชาติในเมืองต่างๆของอังวะในแม่น้ำเอยาวดีถูกแบ่งไปยังกรุงศรีอโยธยา ด้วยกำปั่นจากเปอร์เซียนำสินค้าขึ้นลงที่มะริดแล้วใช้ขบวนช้างม้าข้ามมายังแม่น้ำแม่กองและไปยังสุพรรณภูมิ และกรุงศรีอโยธยาโดยทำให้อโยธยามั่งคั่งหากไม่เร่งปราบปรามอโยธยานานวันจะไม่สามารถปราบปรามได้และจะเป็นภัยต่ออังวะยามใดอโยธยาเข้มแข็งบรรดาหัวเมืองอังวะที่อยู่ไกลและชิดอโยธยามักกระด้าง กระเดื่องกับอังวะ และอ่อนน้อมต่ออโยธยา  ส่วนด้านอโยธยาเปลี่ยนแผ่นดินจะยังไม่มีความเข้มแข็งจึงต้องเร่งลงมือเสียโดยมิชักช้า จึงมีรับสั่งให้เจ้าฟ้าและขุนนางจัดทัพเพื่อยกมาตีกรุงศรีอโยธยาตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวร(ขุนหลวงอนุรักษ์มนตรี)

สภาพกรุงศรีอโยธยาหลังจากสิ้นพระนารายณ์ราชา มีความอ่อนแอมากขึ้นจากการแย่งชิงราชบัลลังค์และสังหารขุนนางจำนวนมาก ประเทศราชต่างๆกระด้างกระเดื่อง การควบคุมอำนาจท้องถิ่นหละหลวม ขุนนางท้องถิ่นฝากตัวเจ้านาย องค์ต่างๆไม่ยำเกรงอำนาจขุนหลวง ขุนนางตั้งตนรับสินไหมไพร่ หลีกเลี่ยงการเกณฑ์แรงงานทั้งไพร่หลวง ไพร่สังกัดเจ้านาย เมืองหลวงขาดแรงงานซ่อมแซมกำแพงเมือง เมื่อเกิดศึกครั้งนี้จึงมีความจำกัดด้านเกณฑ์ไพร่พลอโยธยานั้นสามารถ จัดทัพเพื่อสกัดการบุกของทัพอังวะได้เพียง ๒กองทัพ คือ  ทัพที่๑ตั้งให้พระอินทราราชรองเมืองเป็น พระยายมราช แม่ทัพที่ขวา ไพร่พล ๕,๐๐๐นาย มีพระยาเพชรบุรีเป็นกองหน้า ผู้รั้งเมืองราชบุรีเป็นรองแม่ทัพ พระสมุทรสงครามเป็นเกียกกาย พระธนบุรีกับพระนนทบุรีเป็นกองหลัง ให้ไปตั้งรับที่ตำบลแก่งตุ่ม กองทัพที่ซ้าย ไพร่พล ,๐๐๐นาย ให้พระยารัตนาธิเบศร์เป็นแม่ทัพ สบทบด้วยกองทัพอาสาชาววิเศษไชยชาญขุนรองและปลัดชูจำนวน ๔๐๐ คน ไปตั้งสกัดอยู่ ณ เมืองกุยบุรี พร้อมกันนั้นพระองค์มีพระบรมราชโองการไปยังเจ้าหัวเมืองต่าง ๆ ให้เกณฑ์ไพร่ทุกเมืองส่งมาช่วยป้องกันพระนคร ส่วนชาวเมืองที่ต่อสู้ไม่ได้ให้หลบไปซ่อนตัวอยู่ในป่า อย่าให้อังวะจับตัวได้ ขณะเดียวกันกองทัพฝ่ายอังวะก็ยกทัพเข้าตีเมืองมะริดและตะนาวศรีได้ชัยชนะ กวาดต้อนทั้งสยาม ทั้งมอญเข้าทัพทัพกรุงศรีไม่สามารถไปช่วยประเทศราชทั้งสองได้ คงไปสกัดทัพอังวะได้แค่เพชรบุรี หลังจากยึดมะริด ทวายได้แล้วยกเข้าด่านสิงขรมุ่งสู่เมืองเพชรเมืองราชบุรี ปะหน้า ทัพฝ่ายอโยธยาตั้งรับสู้กันไม่นานทัพพระยารัตนาธิเบศ ถูกตีแตก ขุนรอง และปลัดชูเสียชีวิตในที่รบ ไพร่พลที่เหลือจึงถอยร่นลงมาจนถึงแขวงเมืองราชบุรี  ในที่สุดกองทัพอังวะได้ยกเข้าล้อมถึงชานพระนคร จนทำให้ภายในพระนครเกิดความวุ่นวายตกใจกลัว เนื่องจากว่างเว้นการศึกมานาน ขุนนางที่ภักดีกับกรมพระราชวังบวรพรพินิตที่ผนวช  ต่างถูกจำขังอยู่คุกลูกเมียขัถูกงตาราง

ขุนหลวงจึง ให้อภัยโทษ ปล่อยตัวขุนนางและแม่ทัพผู้ใหญ่และลูกเมีย  ให้พ้นอาญาออกมาช่วย ป้องกันพระนครเข้าสังกัดกรมพระราชวังบวรพรพินิตดังเดิม

มีรับสั่งให้สมุหนายกและสมุหกลาโหมกราบไปทูลเชิญสมเด็จกรมพระราชวังบวร พระอนุชา ให้ลาผนวชมาช่วยศึกครั้งนี้ สมณะเจ้ากรมพระราชวังบวรจึงทรงลาผนวชเพื่อ ช่วยราชการทัพ จัดระเบียบผู้คนใหม่ ตระเตรียมป้อมปราการสำหรับเป็นที่มั่นต่อสู้ข้าศึก

ด้านเหนือตั้งค่ายที่วัดหน้าพระเมรุและเพนียดคล้องช้าง 
ด้านตะวันออกตั้งค่ายที่วัดมณฑปและวัดเกาะแก้ว(ให้ออกญาตากเป็นแม่ทัพ)
ด้านใต้ หลวงอภัยพิพัฒน์  ขุนนางจีน คุมพวกจีน บ้านในไก่ ตั้งค่ายที่ บ้านสวนพลู จำนวน ๒,๐๐๐ คน        พวกคริสเตียน๒,๐๐๐ตั้งค่ายที่วัดพุทธไธสวรรย์
ด้านตะวันตก กรมอาสาหกเหล่า ตั้งค่ายที่ วัดไชยวัฒนาราม

เดือนเมษา ขึ้น ๑๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๐๓ ทัพอังวะ เข้ามาถึงกำแพงเมืองด้านเหนือและด้านตะวันออก มังระกับมังฆ้องนรธาเป็นแม่ทัพ ตั้งอยู่ทุ่งโพธิ์สามต้น เข้าโจมตีค่ายหน้าพระเมรุและเพนียดช้างจนแตกถอยร่นเข้าเมืองอังวะยึดค่ายได้แล้วเอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพลี วัดกษัตรา วัดหน้าพระเมรุ วัดหัสดาวาส ระดมยิงเข้าไปในพระราชวังทั้งกลางวันและกลางคืน จนลูกปืนถูกยอดพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทลายลง กรมพระราชวังบวรได้เข้าบัญชาการรบอย่างเข้มแข็ง อังวะล้อมกรุงอยู่เป็นเวลานาน ได้พยายามตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนครทุกวัน แต่ ถึงกระนั้นกองทัพอังวะก็ไม่สามารถตีกรุงศรีอโยธยาได้ พระเจ้าอองไจยะ จึงกริ้วแม่ทัพนายกองยิ่งนัก  ที่รบไม่เข้มแข็ง ในเพลาเช้าวันหนึ่งจึงเสด็จมายังค่ายวัดหน้าพระเมรุเข้าควบคุมการยิงปืนใหญ่ด้วยตนเอง บางครั้งต้องยิงปืนใหญ่ด้วยพระองค์เอง การตรากตรำวรกายมากเกินไปพระองค์จึงประชวรด้วยโรคบิดอย่างรุนแรง กองทัพอังวะจึงต้องหยุดการโจมตีกรุงศรีอโยธยาพระอุปราชเมิงลอกจึงสั่งกองทัพให้ถอยเพื่อนำเสด็จพระเจ้าอลองพญากลับอังวะ ๑๗ เมษา พ.ศ.๒๓๐๓ มังฆ้องนรธาคุมพล ๖,๐๐๐ ทัพม้า ๕๐๐ เร่งถอยออกไปทางด่านแม่ละเมา ฝ่ายอโยธยาเห็นได้ที กรมพระราชวังบวร  จึงสั่งให้ออกญาสีหราชเดโช เร่งยกทัพติดตามไปทำลายกำลังอังวะ  ๔วัน๔คืนเข้าเมืองตากยังตามมิทัน จึงยกทัพกลับพระนคร เมื่อพ้นเมืองตาก พระเจ้า อองไจยะ  ทรงสวรรคต ณ บริเวณตำบลเมาะกะโลก อยู่ระหว่างเมืองตากและเมียวดี  เมื่อทัพอังวะถอยกลับไปขุนหลวงเอกาทศรุทร  จึงสั่งเลิกทัพ เหตุการณ์ในพระนครศรีอโยธยาภายหลังเสร็จการศึกกลับมา อยู่ในสถานการณ์มืดมัวอีกครั้ง ด้วยแม่ทัพนายกองต่างพากันไปมาตำหนักวังหน้าเข้าเฝ้าเยี่ยมเยียนกรมพระราชวังบวรเป็นที่เอิกเริก ขุนนางวังหลวงพากันเพ่งเล็งและนำความขึ้นกราบบังคมทูล กรมพระราชวังบวรทราบถึงข้อเคลือบแคลงที่พระเชษฐามีกับพระองค์ จึงเห็นควรว่าต้องบวชหนีเรื่องราวอันสับสนนี้เสียอีกครั้งเพราะหากอยู่สถานะเช่นนี้พระเซษฐาอาจทรงระแวงพากันเดือดร้อน เวลานั้น ยังมีข่าวลือว่ากลุ่มขุนนางผู้ใหญ่หลายคนแสดงออกถึงการจะก่อกบฏเพื่อชิงราชบัลลังค์

เมื่อเล็งเห็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และเพื่อยุติเหตุการณ์ร้ายแรง พระองค์จึงตัดสินพระทัยเข้าเฝ้าพระเชษฐาลาผนวชอีกครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นต้นเหตุให้กลุ่มขุนนางทั้งหลายที่กระด้างกระเดื่องต่อ ขุนหลวงได้เข้าเฝ้าเป็นที่บาดหมางใจกับพระเชษฐาจึงเสด็จทางชลมารคไปเมืองอ่างทองประทับที่ตำหนักคำหยาดให้ห่างไกลจากพระนครและทรงผนวชที่วัดพิ์ทองก่อนเข้าพรรษาจึงเสด็จมาจำพรรษาที่วัดประดู่โรงธรรมดังเดิม โดยมีพระประสงค์ ไม่ยอมสึกอีกเลย

                                    ทางด้านกรุงอังวะ หลังจากการสวรรคตของกษัตริย์อองไจยะ  เจ้าเมิงลอกได้ครองราชสมบัติขึ้นเป็นพระเจ้าเนียงดอคยี และแต่งตั้งเจ้าเมิงระอนุชาขึ้นเป็นพระอุปราช เกิดความวุ่นวายขึ้นภายใน เกิดการก่อกบถในอาณาจักรหลายครั้ง จากอุปราชเมิงระ จากแม่ทัพมินคุงเนาวธา และ พระปิตุลาธโดเธียนคลู ต้องนำทัพปราบปรามมณีปุระทำให้ กรุงศรีอโยธยาสงบศึกมาหลายปี เมื่อพระเจ้าเมิงลอกสิ้นพระชนม์  อุปราชเมิงระจึงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาเป็นพระเจ้าสินพยูฉิน ก็สืบสานนโยบายต่อจากกษัตริย์อองไจยะราชบิดาด้วยการปราบปรามคู่แข่งทางการค้าและความต้องการทรัพย์สมบัติจากความมั่งคั่งของกรุงศรีอยุธยา และทำลายที่พักพิงของเมืองมอญทั้งหลาย ที่ใช้กรุงศรีอยโธยาหนุนหลังให้แข็งเมืองกับอังวะ อยู่เสมอมานานนับร้อยปี 

และพระเจ้าเมิงระ ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องลดอำนาจของกรุงศรีอโยธยาลงจนถึงให้แตกสลาย หรืออ่อนแอจนไม่อาจเป็นที่พึ่งให้กับหัวเมืองที่คิดตีออกห่างมาพึ่งอาณาจักรอโยธยาได้อีก โดยมิใช่แค่การขยายอาณาเขตอย่างเคยคือยึดเมืองไว้เป็นประเทศราชเหมือนเช่นบรรพบุรุษคือพระเจ้าบุเรงนองเคยทำ สงครามกับอโยธยาครั้งก่อนพระเจ้ามังระได้คุมทัพ เสด็จมาในกองทัพของพระราชบิดา หลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ                                                                                                                                                                           

จึงนำบทเรียนและประสบการณ์ในการรบกับกรุงศรีอโยธยาครั้งก่อน ทำให้ทรงรู้จุดอ่อนของกรุงศรีอโยธยา

                      ประการแรกระบบทัพของอโยธยา ต้องระดมไพร่พลทัพจากหัวเมืองรอบๆที่สำคัญคือหัวเมืองด้านเหนือของกรุงศรีอโยธยา ดังนั้นเมื่อ พระเจ้ามังระตัดสินใจทำสงครามกับกรุงศรีอโยธยาแผนขั้นแรกต้องทำการปราบกบฏในแว่นแคว้นต่างๆเพื่อเกณฑ์ไพร่พลมาร่วมทัพให้มากที่สุด และแผนขั้นต่อมาคือจัด ทัพล้อมกรอบกรุงศรีอยุธยาทั้งด้านเหนือและด้านใต้เพื่อให้อโยธยาไม่สามารถเกณฑ์ไพร่พลได้และโดดเดี่ยวกรุงศรีอโยธยา

                       ปีวอกพ.ศ.๒๓๐๗  อังวะระดมไพร่พลพร้อมสรรพาวุธครบ และต้องระดมกองทัพจากประเทศราชอีก มหานรธานำทัพ ๓๐,๐๐๐ ขณะนั้นอโยธยาเสียทะวาย มะริด และตะนาวศรีให้อังวะไปคราวพระเจ้าอองไจยะแล้วแต่ เจ้าทวายยังมีใจภักดีต่ออโยธยาจึงหนีเข้ามากรุงศรีอโยธยา แจ้งข่าวทัพอังวะกับ อโยธยา

                        จัดอีกทัพหนึ่งให้เสนาบดี เนมะโยสีหะปะเต๊ะไพร่พล ๔๐,๐๐๐ไปกะเกณฑ์ผู้คนทางหัวเมืองคะฉิ่น ฉาน จามปาสัก หลวงพะบาง เมืองจัน เมืองเวียงตุงเมืองเวียงใหม่ เพิ่มอีก   เวียงใหม่นั้นอยู่ในปกครองตองอู และหงสาวดี มาช้านาน สยามทั้งสุโขทัย และกรุงศรีอโยธยาต่างแย่งชิงมาอยู่ในปกครองเป็นบางยุคสมัยครั้งแผ่นดินพระนารายณ์สามารถยึดเชียงใหม่เป็นประเทศราชได้

                         ทั้งสองทัพเคลื่อนพลจาก หงสาวดี มหานรธารวมไพร่ ทวายมะริด ตะนาวศรี เดินทัพทางช่องเขาสิงขรมุ่งเข้าตีเพชรบุรี        ส่วนทัพเนมะโยสีหะปะเต๊ะเข้ากรุงศรีอโยธยาทางเหนือ  ขณะอังวะเปลี่ยนแผ่นดินจากอองไจยะ ล้านช้าง ล้านนา ต่างแข็งเมืองกับอังวะเป็นอิสระ ส่วนกรุงศรีอโยธยาก็ไม่สามารถส่งกองทัพไปช่วยกับล้านนาได้  ทัพอังวะเมื่อผ่านแม่ละเมาก็มุ่งตีล้านช้าง ล้านนาปราบปรามได้ก็รวมไพร่พลมาตั้งรวมพลเมืองลำพาง

                           ฝ่ายอโยธยาระหว่างที่การเมืองยังไม่มั่นคงจากการเปลี่ยนแผ่นดินมีเจ้านาย และขุนนางเก่าจ้องปราบดาพระเจ้าเอกาทศรุทร  ขุนหลวงไม่มีกำลังทัพที่จะยกไปช่วยอาณาจักรล้านนาได้และด้วยเกรงทัพอังวะด้านทวายจะรุกเข้ามากรุงศรี จึงทำได้แต่เพียงเตรียมไพร่พลป้องกันกรุงและออกหมายเกณฑ์ไพร่พลหัวเมืองต่างๆให้นำกำลังมาป้องกันพระนคร เมื่อขุนนางแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันกำลังจากการเกณฑ์ก็ต่างไม่ร่วมมือกันด้วยยึดถือฝ่ายเจ้านายตนเป็นที่ตั้งมีเมืองหลายเมืองไม่ยอมส่งไพร่พลมาจึงไม่สามารถใช้ยุทธวิธีไปรบในที่มั่นเมืองประเทศราชได้ ขณะข่าวการศึกของอังวะที่เมืองหน้าด่านส่งมายังพระนครหยั่งกำลังข้าศึกมี การรวมไพร่พลสักห้าหมื่นคนเพื่อป้องกันพระนครในยามที่ท้าวพระยาที่มีไพร่ในสังกัดแข็งข้อกับราชสำนักนั้นออกจะยากเย็น   เมืองหลายเมืองถ่วงเวลาชักช้าไม่ส่งคนมาพระนคร อำนาจลงฑัณฑ์ขณะมีศึกมาประชิดเช่นนี้      การลงโทษทัณฑ์จึงต้องพักเอาไว้ เป็นเรื่องสะท้อนถึงพระราชอำนาจ

                             อังวะ เริ่มเคลื่อนทัพมุ่งลงใต้สู่อโยธยา  อโยธยานั้นมีกำลังเพียงจัดทัพไปสกัดกั้นการบุกของทัพอังวะจากล้านนาและจากทวาย เพื่อถ่วงเวลาเท่านั้น    มิอาจหวังผลแตกหักทำลายทัพอังวะได้  ออกญาตากจัดกองสอดแนมไปเฝ้าข้าศึกถึงเมืองลำพางแล้วคอยแจ้งเตือนมาเป็นระยะ มีเรือแจ้งข่าวจากพระนครด้วยสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรุทรมีราชโองการให้ออกญาตาก เทครัวตาก วิศณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ลงมาพระนครแลนำไพร่พลไปสมทบเข้ากับออกญาสุโขทัย ออกญาวิศณุโลกชลอทัพอังวะด้านเหนือ เสร็จแล้วเร่งลงมาช่วยทัพในพระนคร

                              ออกญาตากจึงป่าวประกาศให้เร่งรีบเร่งเก็บเกี่ยวเสร็จเร็วพลันแล้วพากันเทียมเกวียนบรรทุกข้าวปลาอพยพลงไปพระนครหากใครห่วงเคหาวัวควายให้ซ่อนตัวตามป่าอย่าให้ต่อสู้ให้อังวะจับตัวได้ แล้วตัวข้าจะกลับมาฟื้นฟูเมืองหลังเสร็จศึกรับใช้ขุนหลวงที่พระนคร แล้วจึงให้ผู้รั้งเมืองระแหงเป็นนายทัพเป็นกองรักษาด่านเมืองคอยส่งข่าวทัพอังวะพร้อมจัดไพร่พลจำนวนหนึ่งไม่มากนักอยู่เป็นกำลัง

                                ส่วนเมืองกำแพงเพชรเวลานั้น ออกญากำแพงเพชรถึงแก่อนิจกรรม ผู้รั้งเมืองกำแพงจึงนำครัวกรรมการเมือง พร้อมไพร่พลมากับทัพออกญาตากไม่เหลือทิ้งไว้ ขบวนไพร่พลของออกญาตากล่องเรือมาไม่กี่เพลาก็ถึงพระนครจึงเข้าเฝ้าขุนหลวง                          

                                เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองมาถึงขณะนี้ ขุนหลวง จึงเรียกขุนนางทั้งปวงมาเข้าเฝ้าปรึกษาการทัพ ด้วยอังวะเคลื่อนทัพมาจวนถึงพระนครหากมัวย่อหย่อนชักช้าจะรับทัพอังวะไม่ทันการป้องกันเมือง จึงแต่งตั้ง บรรดาขุนนางให้เป็นแม่ทัพนายกองต่างๆเพื่อเตรียมรับศึก ด้วยเจ้าเมืองกำแพงเพชรป่วยถึงแก่อสัญกรรมจึงโปรดให้ไพร่พลกำแพงเพชรรวมจัดทัพขึ้นบังคับบัญชากับออกญาตาก  โปรดให้ช่างต่อเรือกำปั่น และติดตั้งปืนใหญ่ รักษาทางน้ำรอบพระนคร  ให้จัดทัพแยกตั้งค่ายรายล้อมรอบพระนคร ๕๐ ค่าย ห่างคูเมือง ๕๐๐เส้น ให้ไพร่พลเร่งสร้างค่ายทั้งวันทั้งคืน เสร็จแล้วให้จัดทัพออกญา พระ หลวง ขุนรับผิดชอบป้องกัน   พร้อมเก็บเสบียงอาหารใส่ป้อมให้ครบครันออกญาวิศณุโลกตั้งทัพที่ภูเขาทอง  ทัพเมืองราชเสมาตั้งค่ายวัดเจดีย์แดงให้ ออกญารัตนาธิเบศนำไปตั้งค่ายรับทัพเรืออังวะที่เมืองบางเกาะ ออกญายมราชตั้งค่ายเมืองตลาดขวัญ  ออกญาตากตั้งค่ายวัดเกาะแก้วป้องกันหน้าคูเมืองตะวันออก มีค่ายใหญ่ ได้แก่ ค่ายหัวรอ ค่ายวัดไชย ค่ายจีนคลองสวนพลู ค่ายอื่นๆวังหน้า วัดมณฑป วัดนางชี วัดพิชัย วัดเกาะแก้ว วัดจีน ปากคลองในก่าย ค่ายวิลันดา ค่ายโปตุเกตุ ค่ายคลองจีน ค่ายออกญากง ค่ายคูงาม พุทไธศวรรค เซนโยเซฟ วัดแร้ง วัดราชพลี วัดกษัตรา วัดการ้อง วัดศาลาปูง อู่เรือหลวง ปากคลองตะเคียน หน้าพระเมรุ คลองสระบัว  แม่นางปลื้ม สามพิหาร ไพร่พลที่อพยบจากหัวเมืองให้ประจำเชิงเทินประจำกำแพงเมืองโดยรอบ                

                  บรรดาท้าวพระยาเจ้าเมืองหรือผู้รั้งเมืองขณะนั้นต้องนำไพร่พลเมืองลงมาเข้าทัพกับทัพหลวงเพื่อป้องกันพระนคร ซึ่งมีหลายเมืองต่างไม่จงรักภักดีกับขุนหลวง พากันไม่ส่งไพร่พลมาพระนครเลือกที่จะหนีบ้างอ่อนน้อมกับอังวะบ้าง เพื่อรักษาตัวรอด      บางเมืองเลือกที่จะป้องกันตนเองเข้าต่อสู้กับทัพอังวะ    

                            กองทัพด้านเหนือของ เนมะโยสีหะปะเต๊ะผ่านเมืองใดก็ป่าวประกาศให้ชาวเมืองมาเข้าร่วมทัพแล้วจะละเว้นชีวิต กองทัพสี่หมื่น ฝ่ายเหนือของอาณาจักรอังวะ ภายใต้การบัญชาการของเนมะโยสีหะปะเต๊ะได้จัดแบ่งกำลังพลออกเป็นทัพบกและทัพเรือ ทั้งหมดยกออกจากลำปางใน

                          เดือนสามเดือนสี่ ปีวอกพ.ศ.๒๓๐๘ มุ่งเข้าตีเมืองตาก ระแหง เทครัวมาพระนคร  พระสวรรคโลก ออกญาสุโขทัยทิ้งเมืองหลบหนีอังวะ ออกญาพิษณุโลกตั้งรับพลางถอยพลางมาพระนคร  อังวะจึงผ่านเข้าเมืองเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายจึงตั้งกองบัญชาการกองทัพเอาไว้ที่กำแพงเพชร หลังจากนั้นก็ได้แบ่งกำลังออกเป็นสองกองทัพ ทัพหนึ่งมีติรินานตะเตงจานเป็นแม่ทัพ  อีกกองทัพให้จอคองจอตูเป็นแม่ทัพตีเมืองเชลียง พิชัย เมืองจัน(นครสวรรค์) และอ่างทอง ต่างยอมอ่อนน้อมกองทัพอังวะจึงผ่านเมืองต่างๆได้อย่างง่ายดาย ส่วนทัพหลังกองเกียกกายก็เข้าเก็บเสบียง ปล้นชาวเมืองต่างๆรวมข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงทัพ

                        เดือนสาม ๒๓๐๙ กองทัพอังวะกากวาดต้อนชาวสยามและข้าวปลาอาหารพบค่ายบ้านระจันเมืองวิเศษไชยชาญ ชาวบ้านระจันไม่ยอมอ่อนน้อมจึงเข้าตีค่ายอยู่หลายเพลาก็ยังไม่ได้ชัยชนะเหนือชาวบ้านระจัน ซึ่งการรบของชาวค่ายบางระจัน นับว่าเข้มแข็งมากแต่ด้วย ขุนหลวงให้เมืองต่างๆเทครัวกับนำไพร่พลมาป้องกันพระนคร ซึ่งหากขัดราชโองการต้องพากันหนีซ่อนอย่าให้ถูก อังวะจับตัวได้ ซึ่งประเมินสถานการณ์แล้วค่ายชาวบ้านไม่มีทางสู้รบกับกองทัพอังวะขนาดใหญ่ได้ อีกประการพระนครและค่ายรบต่างๆต้องการทั้งเสบียงอาหาร แล ศราตราวุธจำนวนมาก  ประกอบกับเมืองหลวงก็ติดพันศึกจึงไม่สามารถส่งทัพย่อยๆไปช่วยกลุ่มต่างๆนอกพระนครได้ อาวุธปืนใหญ่และกระสุนดินดำก็มีจำกัดไม่สามารถส่งไปช่วยได้ ด้วยบางระจันอาสารบกันเองหากส่งปืนใหญ่ไปโดยไม่มีทัพสนับสนุนไปพร้อมกันทัพอังวะคงแย่งชิงไปใช้ยิงชาวบางระจันนั่นเองวันเพ็ญ ๒๓ มิถุนายน  ๒๓๐๙ ค่ายบ้านระจันก็แตก ครัวบางระจันจึงถูกสังหารนับพันคนและจับเป็นเชลยทั้งหมด

มีใบบอกจากกองสอดแนมเมืองกาญจน์ส่งลงมาว่าทัพอังวะยกออกจากทะวายเข้าด่านสิงขรเพื่อเดินทัพ ๑ เดือนเข้าโจมตีเพชรบุรี ส่วนอโยธยาให้ออกญาพิพัฒน์โกษาธิบดี และ ออกญารัตนาธิเบศสมุหกลาโหมเป็นแม่ทัพหลวงยกกองทัพ ๖๐,๐๐๐ออกไปป้องกันเมืองเพชรบุรี ตั้งทัพเรือที่บางกุ้ง รบพุ่งกับทัพอังวะจนอังวะล่าถอย  ยั้งทัพได้ไม่นาน อังวะแม้ถอยแต่ตระเตรียมทัพยั้งทัพที่หัวเมืองมอญอโยธยามิได้ถอยกลับ ด้วยประเทศราชนครศรีธรรมมาแข็งเมืองไม่เข้าร่วมสู้รบกับอังวะที่เพชรบุรี เดือนเจ็ดปีวอก ขุนหลวงโปรดให้ทัพออกญาพิพัฒน์โกษามายั้งทัพด้านเหนือ  ทัพสุโขทัย และพิษณุโลกยั้งทัพอังวะด้านเหนือไม่สามารถยั้งได้จึงได้เทครัวเมืองมายังพระนครหมดสิ้น กองทัพของอังวะด้านนี้จึงเคลื่อนพลได้สะดวก               

                       กองทัพอังวะฝ่ายใต้ ของแม่ทัพ มหานรธา หลังจากต้องร่นถอยจากทัพออกญากลาโหมเมื่อปีก่อน ก็เข้าเกณฑ์พลหัวเมืองมอญได้เพิ่มเติมจำนวนมาก ตั้ง มีเนเมียวกุนเยะ และ คุเชงยานองจอ เป็นปลัดทัพ  ตั้ง เมคะราโป เป็นแม่ทัพหน้า ตั้ง   เมขะระโบ เป็นนายกองนำกำลัง ๕,๐๐๐ เคลื่อนเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ อีกทางหนึ่งด้านกรุงศรีอโยธยา กองทัพพระพิเรนทรเทพเจ้ากรมตำรวจ มีจำนวนพล ๓,๐๐๐ ที่ตั้งรักษาเมือง กาญจนบุรีอยู่  เข้ารบกับเมขะระโบ  อังวะนั้นมีกำลังมากกว่าก็ตีกองทัพพระพิเรนทรเทพแตกไพร่พลที่เหลือหนีกลับพระนคร อังวะจึงยกเข้ามาถึงลำน้ำแควมาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลลูกแก ตำบลดอกละออม ข้ามฟากน้ำมาตั้งค่ายที่ ดงรังหนองขาวอีกแห่ง หนึ่ง ส่วนทัพหลวงของมหานรธาเคลื่อนทัพเข้าด่านสิงขรรุกเข้าตีเมืองเพชรบุรี จากนั้นจึงเคลื่อนมายังราชบุรี สุพรรณบุรี ตามลำดับ รั้งเมืองราชบุรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองไทรโยค ยอมอ่อนน้อมต่อกองทัพอังวะไม่มีเมืองใดถอยทัพเข้าร่วมกับทัพพระนคร

                              เมื่ออังวะมาถึงเมืองนครชัยศรี มหานรธาจัดทัพใหม่ขึ้น โดยเลือกไพร่พล ช้างและม้าจากเมืองต่าง ๆ ให้ เมจขี กามะณีสานตะคุม ไปเป็นทัพหน้า และมหานรธาคุมกองทัพหนุนตามไป ทั้งหมดมุ่งหน้าต่อไปยังกรุงศรีอโยธยา   เพื่อบรรจบทัพเนมะโยสีหะปะเต๊ะ  ที่ยกมาจากแคว้นล้านนา

                             ปีวอก พุทธศักราช ๒๓๐๗ ถึง ปีระกา๒๓๐๘ ทัพอังวะก็ยึดหัวเมืองด้านตะวันตกด้านเหนือของกรุงศรีอโยธยาได้ไม่ยากเย็นนักไพร่พลล้มตายไม่มากจนเสียการยุทธ ทัพหน้าอโยธยาตั้งรับอังวะที่บ้านโพธิ์สามต้น คอยรั้งหน่วงตัดกำลังและหยั่งกำลังทัพอังวะราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๐๙ ได้เข้าปะทะกับทัพ เนมะโยสีหะปะเต๊ะ ที่ปากน้ำประสบ มีออกญากูระติ เป็นแม่ทัพบก ออกญากลาโหมเป็นแม่ทัพเรือ กองทัพอโยธยาถูกตีแตกถอยกลับเข้าพระนครไพร่พลล้มตายจำนวนมาก ออกญากลาโหมถูกจับตัวพร้อมอาวุธเป็นจำนวนมาก ไพร่พลอีกมากตกเป็นเชลย กองทัพเนมะโยสีหะปะเต๊ะจึงรวมพลตั้งค่ายใหญ่ที่วัดสีกุก ปากน้ำประสบนั้น อังวะโจมตีค่ายอโยธยา ได้รับชัยชนะแล้วเร่งรื้อกำแพงวัดวา ตั้งค่ายวัดภูเขาทอง วัดการ้อง ขยายวงล้อมไปทางวัดกระซ้าย วัดเต่า วัดสุเรนทร์ ปิดล้อมกรุง    ส่วนค่ายอโยธยาด้านตะวันตกมีหลวงพิพัฒน์คุมค่าย สู้รบอย่างกล้าหาญยังสามารถรักษาค่ายไว้ได้

                               ด้านกองทัพมหานรธา  รุกคืบหน้าเข้าตั้งทัพยังหมู่บ้านกานนี  ขุนหลวงให้  ออกญาพลเทพจัดไพร่พลเข้าตีแต่ ถูกอังวะรุกกลับแตกพ่ายถอยกลับพระนคร     เมื่อทราบ ว่าเนมะโยสีหะปะเต๊ะ  มาตั้งที่ปากน้ำประสบชานพระนครแล้ว มังมหานรธา  จึงย้ายทัพมาตั้งประชิดที่ด้านหลังของ พระมหาเจดีย์ภูเขาทอง ในระยะห่างจากกำแพงพระนคร ไม่เกิน ๒๐๐๐เมตร อังวะกระจายกำลังออกเกลี้ยกล่อมผู้คนพลเมืองในเส้นทางที่ทัพผ่าน รอบๆกรุงศรีอโยธยา ทำให้พลเมืองไปเข้ากับอังวะเป็นจำนวนมาก

                           เมื่อยึดค่ายด้านตะวันตกบางส่วนได้แล้ว มหานรธา พร้อม เนมะโยสีหะปะเต๊ะก็โอบล้อมยึดค่ายอโยธยา ไพร่พลเข้าสู้รบกันฝ่ายอโยธยาแตกพ่ายถอยกลับเข้าพระนครทั้งค่ายวัดเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์

 ฝ่ายอโยธยาตั้งปืนใหญ่ป้องกันบนกำแพงเข้มแข็งยิงค่ายอังวะที่ยึดจากฝ่ายอโยธยา ทำให้ ฝ่ายอังวะต้องให้ไพร่พลพูนดินค่ายต่างๆทั้ง ๒๗ ค่าย รอบกรุงกำบังปืนใหญ่อโยธยาและเข็นปืนใหญ่ขึ้นตั้งบนเนินดินยิงถล่มเข้ามาในพระนคร

                       กรุงศรีอโยธยาสูญเสียค่ายรอบๆกรุงทั้งด้านเหนือ และด้านตะวันตกแก่อังวะ ส่วนค่ายด้านตะวันออกยังสามารถควบคุมทัพเรือของอังวะที่มาจากด้านเหนือไม่ให้เข้าประชิดกำแพงเมืองได้  ประกอบด้วยค่ายพระเนียดคล้องช้าง ค่ายวัดพิชัย วัดเกาะแก้ว มีออกญาเพชรบุรี และ ออกญาตาก รักษาค่ายอย่างมั่นคง ส่วนด้านใต้มีปืนใหญ่ป้อมเพชร คอยยิงสำเภาอังวะไม่ให้เข้าประชิดเมือง

                                 อังวะมาล้อมประชิดเมือง ตั้งแต่แล้งของปี ๒๓๐๙ ต้องต่อสู้กันแล้วหลายยก ขณะตั้งรับอังวะคับขันอยู่นั้น ส่วนอโยธยาจะบังคับหัวเมืองตนเองก็แสนยาก   เมือง พิมาย ราชสีมา ระยอง จันทบูร วิษณุโลกเป็นเมืองที่ทัพอังวะไม่มีประสงค์ผ่านไปโจมตี เมืองเหล่านี้ล้วนกระด้างกระเดื่องไม่ส่งคนมาช่วยพระนครโดยนิ่งเฉยอยู่ ออกญาวิษณุโลกนั้นลงมาตั้งค่ายรักษากรุง พร้อมออกญาตากได้ไม่นานก็ทิ้งทัพกลับเมือง มีขุนนางผู้ละทิ้งหน้าที่ระหว่างการทัพหลายคนเมื่ออังวะจัดทัพเข้าตีค่ายยังมิทันต่อสู้ก็พากันหนี มี พระยาพลเทพ หลวงโกษา พระยารัตนาธิเบศร์ พระยานครราชสีมา เจ้าศรีสังข์ เป็นต้น

                                   ด้านกรมหมื่นพิพิธกลับมาจากลังกาเข้าเมืองที่จันทบูรทราบเรื่องศึกอังวะจึงได้รวมไพร่พลคอยดูท่าที ข้าศึกประชิดคับขันเช่นนี้ ไม่มีกำลังเพียงพอ ที่จะไปปราบปรามได้   อันตัวกรมหมื่นเทพพิพิธท่านนี้สนับสนุนให้กรมพระราชวังบวรขึ้นครองราชย์ดังนั้นเมื่อกรมขุนอนุรักษ์มนตรี ขึ้นครองราชย์จึงถูกเนรเทศไปลังกา ขณะนั้นบ้านเมืองเกิดศึกกับอังวะในประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๐๙ จึงเดินทางกลับมาพร้อมหม่อมเจ้าประยงโอรส  ชักชวนเจ้าเมือง จันทบูร ให้ตั้งตน แข็งข้อกับกรุงศรีอโยธยา และไม่เกณฑ์ไพร่พลไปร่วมทัพในพระนคร

                                    กรมหมื่นเทพพิพิธพร้อมไพร่พลไม่มากนักเดินทางจากจันทบูรมาเมืองแกลง เมืองพญาเร่และเดินทางยาวไกลถึงเมืองราชเสมา เกลี้ยกล่อมพระยาราชเสมาให้เข้าร่วมทัพไปชิงอำนาจขุนหลวงเอกาทศรุทร พระยาราชสีมายังภักดีจึงไม่ตกลงด้วย

กรมหมื่นเทพพิพิธจึงให้หม่อมเจ้าประยงโอรสและพระมหาพิชัย คนสนิทลอบสังหารพระยาราชสีมา ยึดได้เมืองแล้วต้องสู้รบกับหลวงแพ่งน้องพระยาราชสีมาที่นำทัพร่วมกับพระยาพิมายมาชิงเมืองคืนได้กุมตัวกรมหมื่นเทพพิพิธหลวงแพ่งให้ประหารเสีย แต่พระยาพิมายเคารพในเชื้อพระวงศ์ไม่ยินยอมจึงขอตัวไปยังพิมายและยกกรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นเจ้าเมืองพิมาย เจ้าพิมายคนใหม่(กรมหมื่นเทพพิพิธ)แต่งตั้งเจ้าเมืองพิมายให้เป็นเจ้าพระยากลาโหมศรีสุริยวงศ์ กับเรียกระดมรวบรวมหัวเมืองภาคอิสานทั้งปวงได้หมื่นคน เตรียมตั้งอาณาจักรไม่ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกต่อไป  

                                        การศึกกับอโยธยาครั้งนี้เป้าหมายของอังวะมิได้ต้องการได้อโยธยาเป็นประเทศราชแต่ต้องกำจัดอาณาจักรที่มีความเข้มแข็งใกล้เคียงกันให้สิ้นซากเพื่อควบคุมประเทศราชที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของ อาณาจักรอโยธยาทั้งหมด และยึดความเป็นเมืองท่าของกระศรีอยุธยาที่มั่งคั่งจากการค้าให้มาอยู่ในมือของอังวะ เพราะเป้าหมายที่สูงดว่านั้นคือเตรียมกำลังเอาไว้สู้กับชาติฝรั่งและชาติจีนที่มีอาวุธชั้นดีได้ และที่สำคัญอโยธยาเป็นผู้สนับสนุนชนชาติมอญให้แข็งข้อกับอังวะ

                              ถึงกลางเดือน กันยายน พ.ศ. ๒๓๐๙ ฝ่ายพม่าก็เข้ามาตั้งติดกำแพงพระนครห่างกันแค่คูเมืองและแม่น้ำขวางกั้นเท่าระยะปืนใหญ่ ภายใต้วงล้อมนี้ อโยธยาไม่สามารถพลิกผลันสถานการณ์ได้เลย ในพระนครเริ่มขาดแคลนอาหาร ประสิทธิภาพและขวัญกำลังใจของกองทัพเสื่อมโทรมอังวะแต่งกองโจรข้ามแพมาปีนกำแพง ทหารประจำปืนใหญ่บนกำแพงตกใจกลัวฝ่ายอังวะจะปีนเข้ากำแพงเข้ามาก็ยิงปืนใหญ่อื้ออึงลูกปืนตกลงในแม่น้ำ ขุนหลวงเห็นว่าหากแม่ทัพนายกองควบคุมไพร่เลวไม่ดีไม่นานกระสุนดินดำที่ขาดแคลนก็จะหมดลงจึงดำรัสให้นายกองพิจารณาเป้าหมายให้ดีก่อนยิงปืนใส่อังวะเพื่อประหยัดกระสุนดินปืนไว้ใช้ยามตะลุมบอนข้าศึก  

                        ในพระนครอดอยากขาดแคลน ขุนหลวง จึงให้ออกญาตาก คุมกองกำลังไพร่พลและนายกองฝีมือดีออกไปทำลายป้อมค่ายพม่า ที่วัดโปรดสัตว์นอกเมือง ออกญาตาก ตีป้อมค่ายอังวะแตกได้ให้ส่งสัญญาณ จึงให้กองทัพในเมืองส่งกำลังหนุนขึ้นมารักษาป้อมค่าย  เพื่อที่จะได้รุกคืบตี เอาป้อมค่ายอื่น ๆของ อังวะ ต่อไป แต่ทางพระนครขาดกำลังมาก พระยากลาโหมจึงไม่สามารถจัดกองกำลังออกไปสนับสนุนช่วยรักษาป้อมค่ายที่ ตีได้   แม่ทัพอังวะ จึงสั่งให้ทหารอังวะที่อยู่ในค่ายอื่น ๆ นำกำลังทหารโหมรุมเข้าต่อสู้ยึดค่ายคืน  ออกญาตากจึงจำต้องถอยร่นกลับเข้าพระนคร