ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประวัติศาสตร์กับการสมยอมความคิดชาติตะวันตก

                                             ขอมคือใคร วันนี้ขอมหายไปไหน
ขอม คือไทย ไม่ใช่เขมร ::: ข้อคิดเห็นกรณีปราสาทนครวัด พระวิหาร และพิมาย
โดย ทวิช จิตรสมบูรณ์
ปราชญ์ไทยหลายท่านได้ชวนกันสรุปแบบไม่มีเยื่อใยต่อชนชาติตนเองไปหลายครั้งแล้วว่าปราสาทเหล่านี้เป็นของเขมร โดยอ้างว่าเขมรคือลูกหลานของขอมโบราณที่สร้างนครวัด ซึ่งชะรอยจะเป็นแนวคิดของนักวิชาการฝรั่ง(เศส)ที่มาสร้างกรอบให้นักวิชาการไทยเราติดกับเหมือนกับกรณีการอพยพจากเทือกเขาอัลไตนั่นเอง
บทความนี้จะแสดงเหตุผลให้เห็นว่าขอมน่าจะคือชนเผ่าไทยหรือวัฒนธรรมไทยโบราณที่เกิดอยู่ในดินแดนไทยมานานหลายพันปี และบัดนี้ก็ไม่ได้หายไปไหน แต่ละลายเจือสมอยู่กับสายเลือดไทยเรานี่เอง ส่วนเขมรนั้นน่าจะเป็นชนอีกเผ่าหนึ่งที่เข้ามาภายหลังแต่เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงและหนีร่นเข้ามาอยู่ในดินแดนประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแม่มาแต่โบราณกาล
ซากปรักหักพังของอารยธรรมขอมโบราณมีกระจายอยู่ทั่วดินแดนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาคอีสานมีตั้งแต่สกลนคร อุดรธานี (อีสานเหนือ) เลาะเรื่อยมาทาง ขอนแก่น นครราชสีมา ไปจนถึง บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบล จากนั้นก็ลามขึ้นเหนือ มี ลพบุรี ศรีเทพ (เพชรบูรณ์) ศรีสัชนาลัย (สุโขทัย) อุตรดิตถ์ หริภุญชัย (ลำพูน) เรียกได้ว่าแผ่นดินไทยทั้งหมดเป็นอายธรรมขอม ซึ่งกินพื้นที่ใหญ่กว่าแดนเขมรปัจจุบันตั้ง 4 เท่า จู่ๆ ขอมก็เลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ อย่างไร้ร่องรอย
แต่ลองคิดดูสิครับ ชนเผ่าจำนวนมหาศาลที่ครองดินแดนใหญ่โตขนาดดังกล่าว และมีเทคโนโลยีและวัฒนธรรมอันสูงส่ง จู่ๆจะเลือนหายไปได้ง่ายๆหรือ หรือว่ามันก็อยู่ที่เดิมนั่นแหละเพียงแต่เปลี่ยนการเรียกชื่อ หรือ “ถูกเรียกชื่อ” เสียใหม่ตามแต่นักประวัติศาสตร์(ฝรั่ง)อยากจะเรียกเท่านั้นเอง ซึ่งชักนำให้นักวิชาการไทยหลายคนพากันสรุปแบบเซื่องๆตามฝรั่งว่าขอมคือบรรพบุรุษของเขมร และยังยกย่องเขมรว่าในอดีตเข้มแข็งจนครอบครองดินแดนไทยไปถึงสุโขทัยโน่น และดังนั้นเขาพระวิหารจึงเป็นของ“เขมร”มานานแล้วอย่างไม่ต้องเสียแรงสงสัย
นิสัยเด่นของคนไทยและนักประวัติศาสตร์ไทยเรานั้นคือ อชาตินิยม กล่าวคือ ถ้ามีอะไรที่เราเหมือนต่างชาติ เป็นต้องสรุปว่าลอกมาจากต่างชาติเสมอ ยังไม่เคยเห็นนักประวัติศาสตร์ไทยสักคนเดียวที่กล้าสรุปว่าวัฒนธรรมต่างๆเป็นของไทยล้วนๆ โดยไม่ได้ลอกมาจากต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย พม่า เขมร (ขอม?) มอญ ลาว ญวน แม้แต่อินโด มาเลย์ ก็ไม่เว้น แม้ขนาด “ปลาบึก” ยังไม่สามารถเกิดในน่านน้ำไทยได้เลย ต้องสรุปว่าว่ายมาจากฝั่งลาวโน่น ส่วนปลาทู นั้น ก็มีนักวิชาการไทยบางคนสรุปว่า เป็นปลาของพม่าไปแล้ว เพียงเพราะว่าฝั่งพม่าก็เรียกว่าปลาทูเหมือนกัน!!!
เชื่อได้ว่าอาณาจักร ละโว้ ทวารวดี ศรีวิชัย ซึ่งก็เป็นเพียงชื่อที่เลือนๆลางๆขาดๆวิ่นๆ ในประวัติศาสตร์ ก็คงจะทับซ้อนกับอาณาจักรขอมด้วย หรือไม่ก็เป็นอาณาจักรเดียวกันนั่นแหละเพียงแต่เรียกชื่อต่างกันไปตามเหตุปัจจัยอันแสนหลากหลายทางประวัติศาสตร์ น่าคิดด้วยว่า ขอม นั้นอาจไม่ใช่อาณาจักรที่เป็นรูปธรรม แต่เป็นเพียงชื่อเรียกอารยธรรม อาณาจักรที่กล่าวมานั้นอาจมีอารยธรรมเดียวกันคืออารยธรรมขอมนั่นเอง
หลักฐานอารยธรรมขอมมีให้เห็นทั่วไปในแผ่นดินไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะที่เมืองเสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา มีพระนอนขนาดใหญ่สร้างด้วยศิลาแลงอายุ 1300 ปี ตั้งอยู่ใกล้ๆปราสาทหินขอมโบราณขนาดเล็กหลายปราสาท ซึ่งเป็นหลักฐานว่า “ขอม” ในช่วงนั้นก็นับถือทั้งพุทธและพราหมณ์ พร้อมๆกัน และศูนย์กลางขอมก็น่าจะอยู่แถวๆ นครราชสีมานี่แหละ อย่าลืมด้วยว่าดินแดนโคราช เจริญมาช้านาน โดยมีชุมชนโบราณที่ใหญ่โต ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอายุ 5000 ปีที่บ้านโนนวัด (ยุคเดียวกับบ้านเชียง มีการหล่อสำริดด้วย) และอายุ 3000 ปีที่บ้านธารปราสาท
ใน จ.นครราชสีมาปัจจุบันนี้มีวิหารหิน และปรางค์แบบพราหมณ์ใหญ่น้อยถึง 36 แห่ง โดยเฉพาะปราสาทหินพิมายนั้นใหญ่โตมโหฬารพอควร ซึ่งวินิจฉัยกันว่ามีอายุแก่กว่านครวัดประมาณ 100 ปี คือสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (สรม. ๑) ส่วนนครวัดสร้างในสมัยสรม. ๒ (ซึ่งคงไม่ได้เป็นพระโอรสของ สรม. ๑ เพราะห่างกัน 100 ปี) ตรงนี้น่าสนใจมาก และน่าจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญว่านครวัดนั้นสร้างโดยขอมที่อพยพไปจากแผ่นดินไทย
สำหรับปราสาทพระวิหาร มีคำสลักบนแผ่นหินว่า “สุริยวรมัน” (ไม่ได้บอกว่าที่ ๑ หรือ ๒ แสดงว่าต้องหมายความโดยปริยายว่า ๑ นั่นเอง) แถมบันไดหันมาทางด้านศรีสะเกษ แสดงว่า สรม. ๑ ผู้ทรงสร้างปราสาททั้งสองหลังนี้ ทรงประทับอยู่ทางฝั่งนี้ แน่นอน อาจเป็นที่พิมาย หรือที่กันทรลักษณ์ หรือระหว่างทางของทั้งสองเมืองนี้ (นักวิชาการบางคนก็ไปสรุปว่า สรม. ๑ ประทับอยู่ที่เสียมราฐของเขมรในปัจจุบันเสียอีก ซึ่งถ้าประทับเช่นนั้นจะมาลงแรงปีนเขามาสร้างปราสาทพระวิหาร แล้วหันบันไดทางขึ้นไปทางศรีสะเกษทำไม? แล้วทำไมต้องไปสร้างอีกปราสาทไว้ไกลถึงพิมายด้วยเล่า ก็ถ้าอยู่แถวนั้นเสียแล้วก็สร้างปราสาทมันที่เสียมราฐเสียเลยจะไม่ดีกว่าหรือ)
สรม. ๑ นั้นหลังจากสร้างปราสาทพิมายและพระวิหารเสร็จก็น่าจะถูกยึดอำนาจ โดยชัยวรมัน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการสร้างปราสาทนี่แหละ เพราะต้องเกณฑ์แรงงานมาก สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนมาก จากนั้นชัยวรมันก็ครองอำนาจมาได้หลายองค์กินเวลาประมาณ 100 ปีพอดี ในระหว่างนี้ลูกหลานของ สรม. ๑ ที่หนีรอดตายจากการยึดอำนาจของ ชรม. ๑ แล้วไปสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่เสียมราฐ ก็เข้มแข็งขึ้น แล้วยกทัพกลับมาตีเอาพิมายคืนได้ในที่สุด จากนั้นจึงสถาปนาตนขึ้นเป็น สุริยวรมันที่ ๒ ซึ่งห่างจากองค์ที่หนึ่งถึง 100 ปี จากนั้นก็เอาเทคโนโลยีการก่อสร้างปราสาทหินกลับไปยังเสียมราฐเพื่อสร้างนครวัดให้ยิ่งใหญ่กว่าที่สริยวรมันที่ ๑ ได้สร้างไว้เสียอีก มีความเป็นไปได้ว่า สรม. ๒ อาจบนบาลเทพเจ้าว่าหากกู้บัลลังก์ได้สำเร็จจะสร้างนครวัดถวายเป็นการบูชา อนึ่ง คำว่า เสียมราฐ นั้น ก็อาจเป็นชื่อที่บ่งว่าเป็น รัฐแห่งชาว เสียม หรือ สยาม นั่นเอง เนื่องจากคน สยาม จากพิมายเป็นผู้ก่อตั้ง
เป็นไปไม่ได้ที่กษัตริย์ที่ทำงานใหญ่เช่นการสร้างนครวัดอย่างสรม. ๒ จะไม่มีการส่งสืบสันตติวงศ์ไปยังสรม. ๓ ๔ ๕ เพื่อกระทำภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์ให้แล้วเสร็จ แต่อนิจจาเมื่อสรม. ๒ สร้างนครวัด ยังไม่แล้วเสร็จก็ถูกลูกหลานของ ชรม. ทางพิมายบรีรัมย์ศรีสะเกษรวมกำลังกันเข้ามายึดอำนาจคืนอีก ดังนั้นนครวัดจึงมาเสร็จเอาสมัยของชัยวรมันที่ ๗ แทนที่จะเป็น สุริยวรมันที่ ๓
ทั้งหมดนี้ก็ชนเผ่าสยามรบแย่งชิงอำนาจกันนั่นเอง โดยไม่ได้มีเขมรเข้ามาในภาพเลย สรุปคือพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (ผู้สร้างปราสาทหินพิมาย และ พระวิหาร) สรม. ๒ ชรม. ๗ ก็น่าจะคือแถวๆ พิมาย หรือ ศรีสะเกษนี่เอง คนเหล่านี้เป็นชนเผ่า อาหม ขะหม ขะหอม ขอม หรือ อาหม สยม สยาม หรือ ขะหอม สะหอม สะหยาม เรานี่แหละ ดังนั้นจึงมีจารึกที่กำแพงนครวัดว่าพวก “สยาม” ยกทัพมาช่วยรบกับพวกจัมปา (แขกจาม...ซึ่งอาจหมายถึงพวกเขมรนี่เอง) ถามว่าแล้วพวกสยามจะมาช่วยรบทำไม ถ้าไม่ใช่พี่น้องกันแต่ดั้งเดิม
นครวัดนั้นใหญ่โตมโหฬาร จู่ๆนึกจะสร้างก็คงไม่ได้หรอก มันต้องมีเทคโนโลยีพื้นฐานรองรับเสียก่อน คือต้องเรียนจากประถม มัธยม ไปจนถึงมหาวิทยาลัย ตามขั้นตอน เช่น เทคโนโลยีการตัดหิน ลากหิน ยกหิน ก้อนละเป็นตันๆ มันไม่ใช่เรื่องที่จะคิดเอาได้ชั่วข้ามคืน แต่มันต้องสะสมบ่มเพาะมาจากการสร้างวัดขนาดเล็กก่อน เช่น แถว อ. สูงเนิน โคราช ปราสาทพนมวัน พิมาย พระวิหาร พนมรุ้ง เป็นต้น ปราสาทหินพิมายนั้นไปตัดหินมาจากอ.สีคิ้ว แล้วลากไปพิมายระยะทาง 100 กม. โน่น มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
สรุปคือนครวัดนั้นน่าจะสร้างโดยชาว “ขอมพิมาย” เรานี่เอง ไม่ได้สร้างโดยชาว ขะแมร์แต่ประการใด และสร้างจากต้นแบบ แนวคิด ศิลปะ และเทคโนโลยีจากพิมาย แม้แต่นางอัปสรที่ฟ้อนรำยังมีลักษณะเหมือนกัน (ได้ยินเขาว่ากัน)
เมื่อตอนนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศสค้นพบปราสาทนครวัดนั้น บริเวณวัดปกคลุมด้วยป่าทึบโดยรอบ ซึ่งแสดงว่าถูกปล่อยร้างมานานหลายร้อยปี ซึ่งแสดงว่า “เขมร” ก็ไม่ได้สนใจปราสาทนี้เลยนับแต่ที่ “ขอมโบราณ” ได้ละทิ้งปราสาทนี้ไปอย่างไร้ร่องรอย ถ้าเขมรสร้างปราสาทนี้ขึ้นมาด้วยตัวเอง ก็น่าที่จะหวงแหนมากและควรจะสร้างบ้านแปงเมืองอยู่รอบๆ ปราสาทนี้อย่างต่อเนื่องตลอดมา เพราะปราสาทใหญ่โตงามสง่าปานนี้จะปล่อยให้ทิ้งร้างไปง่ายๆเช่นนี้ได้อย่างไร นักวิชาการฝรั่งเองยังวิจัยกันว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ในสมัยโน้น) ใหญ่กว่าลอนดอน และปารีส เสียอีก นักวิชาการฝรั่งสันนิษฐานกันไปต่างๆนาๆว่าเมืองนี้ร้างไปได้อย่างไร ส่วนใหญ่ก็ว่าไม่เป็นเพราะสงครามก็โรคร้าย
แต่ผู้เขียนไม่คิดเช่นนักวิชาการฝรั่ง เพราะปารีส ลอนดอน ก็โดนสงครามและโรคร้ายคุกคามมาตลอด ทำไมจึงไม่รกร้างเล่า? การลงทุนทางมนุษยชาติมากมายขนาดนครวัดไม่ใช่เรื่องง่ายๆ (ใช้เวลาสร้างตั้ง 100 กว่าปี) มันมีโมเมนตัมทางมนุษยชาติมหาศาลที่จะเป็นพลังทำให้ดำรงอยู่ตลอดไป ไม่รกร้างได้ง่ายๆหรอก ขนาดเมืองเล็กๆ เช่น สุโขทัย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา อยุธยา เชียงแสน อุตรดิตถ์ เวียงจันทร์ หลวงพระบาง ก็ไม่เคยรกร้าง มีการครองพื้นที่ต่อเนื่องตลอดมาทั้งที่ไม่ได้ยิ่งใหญ่แบพระนคร(วัด)เลย ดังนั้นถ้าเขมรคือผู้ก่อสร้างนครวัดจริง คงไม่ปล่อยให้นครวัดรกร้างไร้การครองพื้นที่นับร้อยปี ทั้งที่ก็อยู่ในดินแดนเขมรนั่นเอง มันจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เพียงแต่จะคิดว่าเขมรสร้างนครวัด
ผู้เขียนเชื่อว่าการรกร้างของนครวัดนั้นเป็นเพราะสงคราม “ผนวกกับความเชื่อด้านไสยศาสตร์” โดย “เขมร” เข้ามาตีขอมนครวัดแตกไป (คนป่ามักตีคนเมืองแตกเสมอ ดังเช่น กรุงโรมก็โดนมาแล้ว) ขอมนครวัดก็เลยถอยร่นเข้ามาอยู่ในแดนสยามซึ่งเป็น “แผ่นดินแม่” ของตนจนหมดสิ้น ปล่อยให้เขมรครองนครวัด แต่เขมร “ไม่กล้า” ครอง เพราะกลัวจะเกิดความวิบัติจากการสาปแช่งของเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ที่สิงห์สถิตอยู่นั้น ก็เลยปล่อยทิ้งให้รกร้างมานานนับร้อยปีนั่นแล แล้วเขมรก็ถอยร่นไปอยู่ริมทะเลตามเคยปล่อยให้นครวัดเป็น ”แดนกันชน” ระหว่าง ขอม (สยาม) กับ เขมร มาจนถึงยุคฝรั่งเศสเป็นใหญ่นั่นแล
น่าครุ่นคำนึงต่อไปว่าเมื่อขอมแพ้เขมรที่นครวัดแล้ว พวกเขาอันตรธานหายไปไหน คงไม่ได้ถูกฆ่าตายเสียหมดดอกเป็นแน่ หรือว่ามันมีการเชื่อมโยงกับการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะอยุธยาก่อตั้งมาประมาณ 650 ปีได้แล้ว ดูเหมือนว่าจะตรงกับช่วงที่นครวัดถูกยึดโดยเขมรพอดี โดยพงศาวดารเราเชื่อกันว่าพระเจ้าอู่ทองจากสุพรรณบุรีมาก่อตั้งอยุธยา แต่หากคิดให้ดี ท่านจะมาทำไมในเมื่อสุพรรณก็อุดมสมบูรณ์ดีไม่แพ้อยุธยา ตอนนั้นการรบกับพม่าก็ยังไม่มี หรือว่ามันมีปัจจัยเสริมจากขอมที่แตกทัพเขมรมาแต่นครวัด ชาวขอมจำนวนมหาศาลหลายแสนคนไม่มีเมืองจะอยู่ ก็เลยอาจเป็นปัจจัยให้พระเจ้าอู่ทองมาสร้างเมืองใหม่ก็เป็นได้ ผนวกกับการวิเคราะห์ของนักวิชาการไทยที่ว่าแต่ก่อนไทยเรา (สุโขทัย) ปกครองโดยกษัตริย์แบบธรรมราชา แต่พอมาถึงอยุธยากลับปกครองแบบ เทวราชา ซึ่งบังเอิญไปพ้องกับระบบเทวราชาของพวกขอมนครวัดพอดีอย่างเหมาะเจาะอะไรเช่นนี้ เช่น การตั้งชื่อกษัตริย์เป็นเทพเจ้าแห่งลัทธิพราหมณ์ (เช่น พระรามาธิบดีที่ ๑) การเปลี่ยนระบบการปกครองได้รวดเร็วเช่นนี้ไม่น่าใช่เรื่องวิวัฒนาการ หรือว่ามันเป็นการยกระบบมาครอบโดยพวกขอมที่อพยพมาจากนครวัดนั่นเอง
ขอสรุปว่า ขอมโบราณกับไทยโบราณ อย่างน้อยต้องเป็นเครือญาติกัน ถึงอย่างมากก็เป็นพวกเดียวกันไปเลยเพราะเราอยู่ร่วมแผ่นดินขวานทองแบบผสมกลมกลืนกันมาช้านานหลายพันปีแล้ว จริงอยู่พงศาวดารจารึกว่าทำสงครามกันบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดาของชนเผ่าโบราณเพราะแม้สยาม-ล้านช้าง-เชียงใหม่ ก็ทำสงครามกันอยู่เนืองๆ
ส่วนเขมรนั้นสันนิษฐานโดยตรรกได้ว่าไม่น่าใช่ชนเผ่าขอมที่สร้างปราสาทนครวัด (และพระวิหาร พิมาย) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของจำนวนพลเมืองเขมรในยุคนั้นไม่น่ามีมากพอขนาดที่จะทำการก่อสร้างสิ่งมหึมานี้ได้ อย่าลืมด้วยว่าคนงานก่อสร้างนับแสนต้องมีมวลชนอีกมหาศาลเพื่อรองรับด้านการส่งกำลังบำรุง อีกทั้งวัฒนธรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้างของเขมรก็ไม่เคยได้ยินว่าได้มีการพัฒนามาอย่างยาวนานและต่อเนื่องเช่นพวกขอม
อีกทั้งลักษณะทางกายภาพของชาวเขมรต่างจากคนบนแผ่นดินสุวรรณภูมิมาก กล่าวคือ มีลักษณะผิวคล้ำ ผมหยิก จมูกรั้น ซึ่งละม้ายกับพวกชาวเกาะแถวอินโดนีเซียเสียมากกว่า ชะรอยชาวเขมรจะอพยพมาจากทางโน้น อีกทั้งอาณาจักรจาม หรือ จัมปา ทางตอนใต้ของเวียตนามนั้นเล่า ไทยเรามักเรียกว่า “แขกจาม” ก็อาจจะเป็นพวกเดียวกับเขมรก็เป็นได้ เพราะโดยคำว่า “แขก” นั้นไทยเรามักหมายถึงพวกที่มีผิวคล้ำผู้เขียนหยิก อาจเป็นไปได้ว่าเขมรปัจจุบันนี้เป็นกลุ่มหนึ่งที่แตกออกมาจากอาณาจักรจาม (เหมือนกับที่ลาว-ไทย-ไทยใหญ่แตกออกจากกันนั่นเอง)
เป็นไปได้ยากว่า “ขอม” จะหมายถึงกลุ่มชนชาวเขมรที่ได้ขยายอำนาจจากดินแดนเขมรปัจจุบันออกมาทางพิมายและลพบุรี เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะต้องสร้างปราสาทหินทางโน้นก่อน แล้วจึงมาสร้างทางฝั่งไทยทีหลัง เพราะเทคโนโลยีการสร้างนี้ไม่ใช่ง่ายๆ มันต้องเริ่ม “หัดเดิน” ที่พิมายและพระวิหารเสียก่อน จึงจะไป”วิ่ง”ที่นครวัดได้ มีผู้สังเกตไว้มากรายว่าศิลปะที่นครวัดเหมือนกับที่พิมาย(ซึ่งเกิดก่อน) อีกทั้งเส้นทางโบราณที่ค้นพบว่าเป็นถนนหินจากพิมายไปสู่นครวัดนั้นก็เป็นหลักฐานหนึ่งว่านครวัดเชื่อมโยงกับพิมาย โดยตีความว่าเป็นเพราะเมื่อ สรม. ๒ กลับมายึดพิมายคืนจาก ชรม. ได้แล้วก็เลยให้สร้างถนนนี้ไว้เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเมืองทั้งสองให้เป็นทองแผ่นเดียวกัน ซึ่งแสดงว่าพิมายคงจะใหญ่โตมาก จึงคุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อเป็นเส้นทางค้าขายระหว่างกัน (รวมทั้งการเดินทัพ)
ข้อสังเกตในบทความนี้อาจผิดถูกอย่างไร ขอท่านผู้อ่านโปรดช่วยกันวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ต่อไป และหรือนำไปเป็นประเด็นในการศึกษาวิจัยกันต่อไป วิงวอนนักศึกษาประวัติศาสตร์ว่าอย่างเพิ่งด่วนสรุปว่า ขอมคือเขมร และ เขมรสร้างนครวัด