ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

สามมหาราช ตอนที่ ๑๑

                                                                                                      

                                                                                                ตอนที่ ๑๑ มหานครร้าง
พระเอกาทศรถ พระอนุชาของพระนเรศนั้นต้อง ช่วยพระราชบิดาดูแลบูรณะวัดวา  พระราชวังต่างๆที่ถูกกระสุนปืนใหญ่ชำรุดพังเสียหาย นับจากวันที่พระมหาธรรมราชาขึ้นครองราชย์ได้ สองปีเศษ พระนเรศทรงเล่าเรียนในราชสำนักกรุงหงสาวดีทั้งเรียนการศึก การกฎหมายได้สำเร็จบริบูรณ์ เจ้านางสุพรรณกัลยา พระสนมในพระเจ้าบุเรงนอง จึงทรงทูลขอราชานุญาตให้อนุชาได้กลับไปกรุงศรีอโยธยาช่วยราชกิจพระราชบิดาปกครองบ้านเมือง พระเจ้าบุเรงนองทรงอนุญาต เมื่อเสด็จกลับมาถึงกรุงศรีอโยธยา สมเด็จพระสรรเพชญ โปรดให้พระองค์เป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองพิษณุโลก ด้านเมืองพิษณุโลกนั้นเป็นพันธมิตรกับอังวะ มิได้เสียหายดังเช่นอโยธยา วัด วัง บ้านเรือน ชาวบ้านจึงมีขวัญกำลังใจดีด้วยไม่ถูกอังวะกวาดต้อนเหมือนชาวกรุงศรีอยุธยา พระนเรศวรราชาประทับอยู่พิษณุโลก ทรงปกครองประชาราษฎร์อย่างดี พระองค์ตระหนักถึงการจัดทัพที่ทั้งพิษณุโลกทั้งพระนครรวมไพร่พลแล้วไม่อาจเทียบกับอังวะได้หากคิดแข็งเมือง คงกระทำการได้ยากแต่ก็ต้องเริ่มต้นจึงทรงเริ่มเตรียมแผนการที่จะแข็งเมืองจากหงสาวดี ถึงแม้ทางหงสาวดีจะให้สายลับคอยสอดส่องท่าทีของอโยธยาแต่ก็ต้องคิดการค่อยเป็นค่อยไป พระองค์ทรงคุ้นเคยกับพระเจ้าจอเดงนรธาจากการไปประทับถึง ๖ ปี และพระสุพรรณกัลยาพี่นางเธอยังสถิตย์เป็นบาทบริจาริกาในพระองค์พระเจ้าจอเดงนรธา ด้วยเริ่มรวบรวมไพร่พล ดังนั้นพระองค์จึงแจ้งความประสงค์โยกย้ายไพร่พลและขุนนางไปยังกรุงหงสาวดีเพื่อมิให้ราชสำนักหงสาวีหวาดระแวงโดยพระองค์นำขุนนางจากฝ่ายเหนือตำแหน่งต่างๆสมัยพระราชบิดาครองพิษณุโลกเข้ามารับราชการในกรุงศรีอยุธยาเพื่อขับเคลื่อนกรมต่างๆที่ขาดขุนนาง  โดยอ้างกับหงสาวดีว่าข้าราชการในกรุงศรีอโยธยาเกลียดชังสมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงต้องถอนข้าราชการเมืองเหนือที่เคยใช้สอยขณะพระบิดาเป็นพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองพิษณุโลก ทำให้จำนวนข้าราชการทางเมืองเหนือขาดกำลังจึงต้องหาตัวแต่งตั้งใหม่ พระองค์ทรงเสด็จเที่ยวตามหาผู้คนในวัยเดียวกับพระองค์เพื่อทรงใช้สอย(ส่องสุมผู้คน)โดยทำการฝึกทหารตามยุทธวิธีของพระองค์ที่ได้ศึกษาขณะอยู่หงสาวดี ยังไม่มีใครระเคะระคายความคิดของพระองค์ ซึ่งพระองค์ตระหนักถึงอำนาจกองทัพหงสาวดี หากอโยธยาไม่พร้อมจริง ยากที่จะคิดการใหญ่ได้
พ.ศ. ๒๑๑๗ อโยธยารับราชสานส์ให้จัดกองทัพไปช่วยอังวะ เพื่อตีเมืองล้านช้าง เมื่อเคลื่อนทัพออกจากพระนครไปล้านช้างแล้วนั้น ทำให้กรุงศรีอโยธยาเหลือทหารดูแลพระนครและพระราชวังไม่มากนัก  เมื่อกองทัพอโยธยายกไปถึงเมืองหนองบัวลำภู แขวงอุดรพระนเรศวรเกิดประชวรเป็นไข้ทรพิษ ได้แจ้งข่าวไปยัง พระเจ้าบาเยงนองดอ จึงโปรดให้กองทัพอโยธยายกกลับกรุง เดือนอ้าย พ.ศ. ๒๑๑๘ เป็นเวลาเดียวกับที่พระยาละแวกคิดอ่านยามกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอเป็นประเทศราชอังวะสมควรจะนำทัพเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาจึงจัดทัพเรือยกมาตามลำน้ำบางกอก ขึ้นมาถึงกรุงศรีอโยธยา และได้ตั้งทัพชุมนุมพลอยู่ที่ตำบลขนอนบางตะนาว และลอบแฝงเข้ามา
                                                                                ๑๐๓
อยู่ในวัดพนัญเชิง และใช้เรือ ๓ ลำเข้าทำการปล้นปล้นป้อมปากคลองนายก่าย ทหารอโยธยาใช้ปืนใหญ่ยิงไปยังป้อมค่ายนายก่าย ถูกข้าศึกล้มตายเป็นอันมาก แตกพ่ายถอยทัพกลับไป เมื่อได้ข่าวทัพใหญ่ของพระนเรศวรมุ่งมายังพระนครพระเจ้าละแวกจึงถอยกลับออกเมืองบางปลากดไป ด้วยชาวพระนครกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยานั้นเป็นชนหลากหลายที่เดินทางมาค้าขายและตั้งรกรากทั้งล้านนา ขอมเขมร มอญ จีน ด้วยมุ่งมั่นจะชิงกรุงศรีให้ได้พระยาละแวกจึงส่งจารชนเข้ามาปะปนค้าขายอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เพื่อดูช่องทางการป้องกันเมือง เมื่อถึงเวลาอันควรจึงให้พระยาจีนจันตุนายสำเภาคนจีนรับราชการในกัมพูชามีความสามารถใช้สำเภาล่องทะเลได้ทำทีมาค้าขายล่องไปทั่วทั้งแม่น้ำแม่กลองแม่น้ำเพชรบุรี พบปะจารชนที่แทรกซึมอยู่ทั่วครั้งมาถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ค้าขายและลอบพบจารชนจนขุนนางกรุงศรีอยุธยาจับได้   เตรียมนำกำลังเข้าจับตัว พระยาจันตุไหวตัวเร่งหนีโดยออกสำเภาไปโดยเร่งรีบ ไม่สามารถตามทัน เมื่อพระนเรศวรทราบความจึงลงฑัณท์ขุนนางที่มัวชักช้าไม่แจ้งความให้พระองค์ทราบ พระองค์จึงเสด็จลงเรือพร้อมไพร่พลจำนวนหนึ่งและพระเอกาทศรถ ตามเสด็จไปด้วยอีกลำหนึ่ง ไปทันกันเมื่อใกล้จะออกปากน้ำบางปลากด พระยาจันตุยิงปืนต่อสู้ สมเด็จพระนเรศวรจึงเร่งเรือพระที่นั่งขึ้นหน้าเรือลำอื่นประทับยืนทรงยิงพระแสงปืนคู่พระหัตถ์ไล่กระชั้นชิดเข้าไปจนข้าศึกยิงสวนมา พอดีกับเรือสำเภาของพระยาจันตุ ใบเรือได้ลมแล่นออกทะเลหนี ไปได้ ส่วนเรือที่ทั้งสองพระองค์นำไปเป็นเรือเล็กจึงต้องถอยขบวนกลับมาตาม ลำน้ำบางเกาะพบกับพระราชบิดาที่คุมกำลังทหารลงเรือหนุนตามมา จึงทรงกราบทูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบ แล้วเคลื่อนขบวนกลับสู่พระนครพระนเรศวรราชาในชันษา ๒๔ ชันษานั้นมีพระปรีชาในการรบให้เป็นที่ประจักษ์ต่อไพร่พลขุนทหารจนกระทั่งได้รับความนับถือยกย่อง 
พ.ศ. ๒๑๒๓ พระเจ้าละแวกก็ต้องการกลับมามีอำนาจเหนืออโยธยาอีกครั้งหลังจากที่บรรพบุรุษกษัตริย์เคยปกครองดินแดนแถบลุ่มน้ำบางเกาะ และละโว้ นี้มาแต่ครั้งเก่าก่อน  กษัตริย์กัมพูชาได้ให้พระทศราชาและพระสุรินทร์ราชาคุมกำลังประมาณ ๕,๐๐๐ ประกอบไปด้วยช้าง ม้า ลาดตระเวนเข้ามาในหัวเมืองด้านตะวันออก แล้วเคลื่อนต่อเข้ามายังเมืองสระบุรีและเมืองอื่นๆ หมายจะปล้นทรัพย์จับผู้คนไปเป็นเชลย ขณะนั้นพระนเรศวรราชาเสด็จลงมาจากพิษณุโลกประทับอยู่ที่กรุงศรีอโยธยา เมื่อทรงทราบข่าวศึกก็ทรงทูลขอกำลังทหารประจำพระนคร ๓,๐๐๐ คนแบ่งเป็น ๒ กอง กองหนึ่งเข้าโจมตีทัพหน้าของเขมรให้แตกหนีกลับไปได้ในที่สุดฝ่ายพระทศโยธา และพระสุรินทราชาเห็นทัพหน้าแตกยับเยิน ไม่ทราบแน่ว่ากองทัพอโยธยามีกำลังมากน้อยเพียงใด ก็รีบถอยหนีกลับไปทางเมืองสีมา ก็ได้ถูกทัพอีกกองหนึ่งของอโยธยาที่ดักซุ่มอยู่ก่อนแล้ว เข้าโจมตีซ้ำเติมอีก กองทัพละแวกทั้งหมดจึงรีบถอยหนีกลับไป การรบครั้งนี้ทำให้พระนเรศวรราชาเป็นที่เคารพยำเกรงแก่บรรดาแม่ทัพนายกอง และบรรดาทหารทั้งปวงเป็นอย่างยิ่ง อังวะสอดแนมในอโยธยาจึงส่งข่าวสารนี้ให้ทราบไปถึง
กรุงหงสาวดี และผลจากการรบครั้งนี้ทำให้กัมพุชประเทศไม่ทำศึกกับกรุงศรีอโยธยาอีก เมื่อพระเจ้าจอเดงนรธาแห่งกรุงหงสาวดีสิ้นพระชนม์ อังวะจึงมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ ราชสำนักหงสาวดีจัดพระราชพิธี
                                                                            ๑๐๔
ราชาภิเษกพระเจ้านันทจอเดงขึ้นครองราชสมบัติ บรรดาประเทศราชทั้งปวงต้องนำเครื่องราชบรรณาการ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง เข้าเฝ้าถวายสัตย์ พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ตามราชประเพณี  พระนเรศวรราชาได้รับบัญชาจากสมเด็จพระมหาธรรมราชาให้คุมทัพและเครื่องราชบรรณาการฐานะประเทศราชไปถวายแก่หงสาวดีตามราช ประเพณี ด้านเจ้าฟ้าเมืองไทใหญ่เมืองคัง ประเทศราชเมืองหนึ่งของหงสาวดี ไม่ยอมส่งเครื่องบรรณาการไปถวาย จึงทราบโดยทั่วในที่ชุมนุมนั้นว่าเมืองคังไม่ยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดีอีกต่อไป ดังนั้นหงสาวดีจึงจัดกองทัพ เป็น ๓ กอง โดยให้ พระมหาอุปราชโอรสของพระเจ้านันทจอเดง เจ้าสังขทัต โอรสเจ้าเมืองตองอูเป็นแม่ทัพ ๒ กอง พระนเรศวรราชา เป็นแม่ทัพอโยธยา ๑ กอง ให้ยกไปปราบปรามเมืองคัง ๓ทัพเข้าล้อมเมืองคัง เจ้าฟ้าเมืองคังต่อสู้เป็นสามารถ สกัดทัพทั้ง ๒ เอาไว้ไม่สามารถเข้าเมืองได้ พระนเรศพิจารณาสถานการณ์การรบแล้วเห็นว่าชัยภูมิของเมืองคังตั้งอยู่บนที่สูงหากเข้าตีตรงหน้าทิศทางเดียวผลย่อมเหมือนทัพหลักทั้งสอง พระองค์จึงนำกองหนุนทหารอโยธยาเข้าโจมตีเป็นระลอกที่ ๓ โดยแยกเป็นส่วนเข้าตีหลักเข้าตีด้านหน้า และให้ส่วนเข้าตีอีกกองตีโอบด้านหลังสามารถยึดเมืองคังไว้ได้กุมตัวเจ้าฟ้าเมืองคังไปถวายพระเจ้านันทจอเดงที่หงสาวดีเป็นผลสำเร็จ กลับจากหงสาวดีในพระทัยพระนเรศนั้นยกย่องเจ้าฟ้าเมืองคังที่คิดต่อสู้เพื่อปลดฐานะประเทศราชจากอังวะ เมื่อนำทัพกลับพิษณุโลกในฐานะ เมืองอุปราช เพื่อซ่องสุมผู้คน เพราะห่างไกลสายตาขุนนางมอญที่ตั้งเรือนอยู่ในอโยธยา ในฐานะอโยธยาเป็นกองทัพประเทศราชที่ต้อง ช่วยอังวะทำสงครามเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๖ เจ้ากรุงอังวะคิดแยกตั้งตนไม่ขึ้นกับหงสาวดี  และบรรดา เจ้าเมืองไทยใหญ่อีกหลายเมืองพากันแข็งเมือง พระเจ้าจอเดงนรธาจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้มีรับสั่งให้เจ้าประเทศราชได้แก่เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู เจ้าเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองอโยธยา ให้ยกทัพไปตีกรุงอังวะ สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงโปรดให้พระนเรศวรราชายกทัพไปแทนพระองค์ ขณะนั้นพระนเรศประทับอยู่พิษณุโลกจึงจัดทัพจากเมืองพิษณุโลก ถึงแรม ๖ค่ำ เดือน ๓ปีมะแม พ.ศ. ๒๑๒๖ ยกทัพออกจากพิษณุโลก มุ่งตรงไปกรุงอังวะสงครามครั้งนี้เป็นการแข็งเมืองของหมู่ประเทศราชของกรุงหงสาวดี ซึ่งกรุงอโยธยาก็เป็นหนึ่งในประเทศราชนั้น พระองค์จึงดูท่าทีและไม่ประสงค์เข้าตีกรุงอังวะ หวังให้ชนชาวพยู มอญและไทใหญ่จัดการกันเองเสียก่อน ทัพอโยธยาจึงเคลื่อนกำลังอย่างช้าๆจนเลยเวลานัดหมายเข้าโจมตีอังวะของทัพหลวงหงสาวดี มอญผู้คอยสอดแนมในอโยธยาเห็นผิดสังเกตุจึงแจ้งข่าวไปถึงหงสาวดี ทำให้พระเจ้านันทจอเดง หวาดระแวง ว่าอโยธยาคงจะเข้าช่วยกรุงอังวะเป็นแน่ หรืออาจแข็งเมืองเสียแล้ว จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาตั้งทัพคอยทัพอโยธยาไว้ในเมืองหงสาวดี ถ้าทัพอโยธยายกมาถึงก็ให้ ต้อนรับ และหาทางฆ่าพระนเรศวรราชาให้ได้ และพระองค์สั่งให้พระยาเกียรติ และพระยาราม พระยาเมืองมอญ ซึ่งคุ้นเคยกับพระนเรศวรราชามาแต่ก่อน และมีพรรคพวกอยู่เมืองแครงมาก เป็นกองลาดตระเวนทำทีลงมาคอยต้อนรับทัพอโยธยาที่เมืองแครง(อาณาจักรล้านนา) อันเป็นชายแดน พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อพระนเรศวรราชายกกองทัพจากพิษณุโลกไปถึง แล้วนำกองทัพมาพบกองทัพพระ
                                                                                 ๑๐๕
มหาอุปราชที่คอยอยู่หงสาวดี เมื่อพระมหาอุปราชาจะยกทัพเข้าตีทัพพระนเรศ วรราชา ทางด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยารามคุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดพระนเรศวรราชาเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยารามเมื่อไปถึงเมืองแครงแล้วจึงแจ้งความลับนี้แก่พระมหา เถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตน และเป็นอาจารย์ชาวมอญผู้ประสาทวิชาการเมืองแก่พระองค์ดำครั้งเล่าเรียนอยู่หงสาวดีมาก่อน เมื่อกองทัพอโยธยายกมาถึงเมืองแครง ขึ้น๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก พ.ศ. ๒๑๒๗ โดยใช้เวลาเดินทัพจากพิษณุโลกเกือบสองเดือน กองทัพอโยธยาตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้ารับเสด็จพระนเรศวรราชา จากนั้นจึงพากันไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่อง พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสารในตัวอุปราชอโยธยายิ่งนักจึงกราบทูลเรื่องของทางกรุงหงสาวดี พระยาเกียรติกับพระยาราม กราบทูลถึงแผนการพระมหาอุปราชให้พระองค์ทราบ เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็มีพระราชดำริแข็งเมืองไม่เชื่อฟังเป็นประเทศราชพระเจ้านันทจอเดงตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  เพราะอย่างไรเสียคงหลีกเลี่ยงการรบกันไม่ได้ด้วยกษัตริย์นันทจอเดงทราบความแล้วว่าอโยธยาแข็งเมือง จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยารามและทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆ์ ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบ นับแต่นี้ไปอโยธยา จะไม่ส่งบรรณาการดอกไม้เงินดอกไม้ทองกับอังวะอีกต่อไป พระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าเมืองแครงเป็นข้าพระเจ้าแผ่นดินนันทจอเดงวันนี้จะเข้าข้างฝ่ายใด หากเป็นข้างกรุงหงสา เราจะต้องรบกัน พวกมอญทั้งปวงต่างถวายพระพรขอพึ่งพระนเรศวรราชาทั้งสิ้น พระนเรศวรราชาจึงให้จับเจ้าเมืองแครงกรมการเมืองที่เป็นคนของพระเจ้าหงสาวดีมาประหารแล้วเอาเมืองแครงเป็นที่รวมพลจัดทัพจากเดิมมุ่งเข้าตีกรุงอังวะจึงมุ่งลงใต้สู่กรุงหงสาวดี ในวัน แรม ๓ค่ำ เดือน ๖ก็เคลื่อนพลเข้าตีกรุงหงสาวดีทันที  ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติพระยารามกลับไปเข้ากับพระนเรศวรราชา จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ พระนเรศวรราชาเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมีชัยชนะได้กรุงอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนกรุงหงสาวดี ดังนั้นลำพังแต่ทัพพระมหาอุปราชคงสามารถเอาชนะได้แต่หากรวมทัพของพระเจ้านันทบุเรง และทัพเจ้าฟ้าประเทศราชของหงสาที่กลับจากอังวะแล้วคงมีกำลังมากกว่าอโยธยาหลายเท่าซึ่งพระองค์ประจักษ์เมื่อครั้งพระเจ้าบุเรงนองเข้าโจมตีอโยธยา ดังนั้น เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้คงยังไม่ได้ จึงให้จัดเป็นกองโจรเล็กๆหลายกองเข้าตระเวนหมู่บ้านอโยธยาเมืองพะโคชักชวนคนอโยธยาที่อังวะกวาดต้อนไปแต่ศึกครั้งก่อนให้อพยพ กลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษจัดเป็นขบวนเดินเร่งกลับอโยธยา พระองค์ทรงคุมทัพหลังตามมารับสั่งให้ กองหน้าและชาวอโยธยาผูกแพเคลื่อนไพร่พลข้ามแม่น้ำสะโตงทิศเข้าเมืองตาก แล้วจึงลำเลียงปืนใหญ่ข้ามแพมาฝั่งตรงข้ามตั้งปืนใหญ่คอยทีเอาไว้หากฝ่ายอังวะตามมาทันก็ให้ระดมยิงพม่าขณะพระองค์พาทัพหลังสุดท้ายข้ามแพถึงฝั่งน้ำมิทันรื้อถอนแพ ข้างฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า พระนเรศวร
                                                                                       ๑๐๖
ราชากวาดต้อนคนอโยธยากลับอโยธยาจึงพิโรธนักจึงจัดทัพไล่ติดตามโดยพระองค์คุมทัพหลวง ให้สุรกรรมาคุมทัพหน้านั่งหลังช้างเร่ง ตาม มาทันถึงริมฝั่งแม่น้ำสะโตงเร่งข้ามแพไล่ตามทัพอโยธยาโดยไม่ระวังทัพอโยธยา ปืนใหญ่ฝ่ายของอโยธยาจึงระดมยิงกองทัพของพม่าถูกสุรรมาตายและช้างศึกล้มหลายเชือก บรรดาไพร่พลเห็นแม่ทัพตาย ก็พากันหนีเลิกทัพกลับไป เมื่อพระมหาอุปราชาทรงทราบความ เห็นทีจะติดตามทัพอโยธยาไม่ทันแล้วจึงให้ถอยทัพกลับกรุงหงสาวดี  เมื่อทัพสมเด็จพระนเรศวรกลับถึงเมืองแครง ทรงรับพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติพระยารามให้มาทำราชการอยู่กรุงศรีอโยธยา และให้พาครัวมอญพรรคพวกของพระยารามพระยาเกียรติอพยพตามมาด้วย เมื่อเข้าด่านแม่ละเมา เมืองตาก พระองค์ให้พระยาเกียรติ พระยาราม นำทัพเดินผ่านหัวเมืองมอญลงมาทางใต้ มาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ ด้วยเกรงกรุงหงสาวดีจะส่งข่าวถึง พระยากำแพงเพชรให้ขวางทัพอโยธยา(เมื่อเสียกรุงในรัชกาลพระเจ้าจักรพรรดิ อาณาจักรอโยธยาที่ประกอบด้วยเมืองต่างๆย่อมตกเป็นประเทศราชอังวะทั้งหมดรวมถึงกำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก แต่พระนเรศวรราชาแข็งเมืองไม่รับไมตรีเป็นมิตรไม่ส่งบรรณาการให้ กับพระเจ้าหงสาวดี เมืองอื่นจึงยังไม่ทราบข่าวทั่ว ย่อมฟังคำบัญชาจากพระเจ้าหงสาวดีตามประเพณีที่มีมา แต่เมื่อผ่านสงครามต่อสู้ชนะกรุงหงสาวดีหลายครั้งทุกเมืองย่อมต้องการไม่ขึ้นกับกรุงหงสาวดีตามอโยธยาและฟังคำบัญชาบริหารราชการจากอโยธยาเหมือนเดิม)เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอโยธยาแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พวกมอญที่สวามิภักดิ์ ส่วนพระยาจักรีมอญสายลับอังวะมีพระบัญชาให้ตามกุมตัวมาประหารเสียและให้ริบครัวบ่าวไพร่และทรัพย์เสียให้สิ้น   ทรงตั้งพระมาหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชาที่สมเด็จอริยวงศ์  ให้ตั้ง พระยารามเป็นจักรีมอญได้พระราชทานพานทองควบคุมมอญที่เข้ามาด้วย ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้นและวัดขุนแสนใกล้วังจันทร์ของพระนเรศวรราชา อุปราช 
เมื่ออโยธยาเมืองประเทศราชของกรุงหงสาวดี แข็งเมือง และยังนำทัพเข้ากวาดต้อนชาวอังวะชาวกรุงศรีอยุธยาข้าแผ่นดินกรุงหงสาวดีกลับมาอีกด้วย ที่สำคัญแม่ทัพอโยธยาเคยอาศัยแผ่นดินเมืองหงสาวดีด้วย พระเจ้านันทจอเดงจึงโกรธแค้นยิ่ง ต้องการปราบปราบให้สิ้นเพราะสั่นคลอนกับเหล่าประเทศราชอื่นให้แข็งเมืองด้วย จึงให้จัดกองทัพใหญ่เข้าโจมตีกรุงศรีอโยธยาหลังจากเกิดเหตุการณ์ นับเวลาได้๗ เดือน ทัพแรกมีพระยาพะสิม (พระเจ้าอาของพระเจ้านันทบุเรง) คุมกำลัง ๓๐,๐๐๐ มาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทัพที่สองมีมังนรธาช่อเจ้าเมืองเชียงใหม่ พระอนุชาพระเจ้านันทจอเดงเป็นแม่ทัพ ยกทัพบกและเรือล่องน้ำปิงลงมา จากเชียงใหม่มีกำลังพล ๑๐๐,๐๐๐ ทางอโยธยาจัดทัพรับศึก ๒กองทัพ โดยกองเรือให้พระยาจักรี(พระยาราม)เป็นแม่ทัพนำปืนใหญ่ไปซุ่มโจมตีข้าศึกที่จะข้ามน้ำจระเข้สามพันธุ์ เมืองสุพรรณบุรี ทัพที่๒ให้พระยาสุโขทัยยกทัพบกหนุนทัพเรืออยู่หลังคอยตีตลบหงสาวดี เมื่อ ทัพหงสาวดีเคลื่อนพลจากกาญจน์มาถึงที่ทัพอโยธยาซุ่มอยู่ ถูกปืนใหญ่ระดมยิงใส่แตกพ่ายหนีไปอยู่บนเขาพระยาแมน เจ้าพระยาสุโขทัยยกทัพไปเขาพระยาแมน เข้าตีทัพพระยาพสิมแตกพ่ายหนีกระเจิง เจ้าพระยาสุโขทัยจึงสั่งให้ตามบดขยี้ข้าศึกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ อีกสิบกว่าวันจากนั้น กองทัพพระ
                                                                                      ๑๐๗
ยาเชียงใหม่ได้เดินทัพมาถึงชัยนาท แม่ทัพและทหารจำนวนหนึ่งมาตั้งค่ายที่ปากน้ำบางพุทราคอยรวมพล ทัพบกและทัพเรือให้พร้อมโดยที่ไม่ทราบข่าวการพ่ายแพ้ของพระยาพะสิม สงครามด้านนี้ พระนเศวรราชามอบหมายให้พระราชมนูยกทัพ ๓,๒๐๐คนไปตีข้าศึกที่ปากน้ำบางพุทรา ขณะนั้นทัพเรือเชียงใหม่มีกำลัง ๑๕,๐๐๐ คน พระราชมนูประมาณสถานการณ์แล้วไม่สามารถส่งกำลังเข้าตีได้ จึงจัดกองกองโจรคอยดักฆ่าพม่าจนขวัญเสียถอยกลับไปชัยนาท ส่วนทัพบกเชียงใหม่ขาดการประสานกับทัพเรือที่ถอยร่นจนเสียขบวน  ด้วยไม่อาจประมาณสถานการณ์ทัพกรุงศรีอโยธยาว่ามีมากน้อยเท่าใดประกอบกับเป็นทัพประเทศราชขวัญกำลังใจในการรบมีน้อยสุดท้ายทัพเชียงใหม่จึงถอยกลับไปตั้งที่กำแพงเพชร    พ.ศ. ๒๑๒๘ หลังจากต้องถอยทัพปีก่อน พระเจ้าเชียงใหม่ได้ยกกองทัพมาเพื่อโจมตีอโยธยาอีกครั้ง ทางอังวะ จึงได้ให้ข้าหลวงสามคน เข้ามาเป็นที่ปรึกษาและควบคุม กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่  ซึ่งถอยทัพไปตั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ให้ทำการเข้าตีอโยธยาอีกครั้ง  เมื่อเดือน ๔ปีวอก พ.ศ. ๒๑๒๘  ทัพเชียงใหม่เคลื่อนลงมาตั้งอยู่ที่เมืองนครสวรรค์  พร้อมกันนั้น ก็ได้ให้พระมหาอุปราชา คุมกองทัพกำลังพล ๕๐,๐๐๐ คน  เข้ามาตั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร  เข้าเดือน ๕ ปีระกา ให้กองเกียกกายคุมไพร่พลทำนาอยู่ในท้องที่หัวเมืองเหนือ  เพื่อเตรียมเสบียงอาหารไว้สำหรับกองทัพใหญ่  ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจะเสด็จยกมาเอง ในฤดูแล้งปลายปีระกา พระเจ้าเชียงใหม่มังนรธาได้รับมอบหมายให้นำทัพกองระวังหน้า  อยู่ที่เมืองชัยนาท  เพื่อคอยต้านทานกองทัพกรุงศรีอโยธยา ที่จะยกขึ้นไปขัดขวางการสะสมเสบียงอาหารของกองทัพกรุงหงสาวดีในหัวเมืองภาคเหนือและขัขวางไม่ให้กรุงศรีอยุธยาปลูกข้าวทำกิน  ทัพเมืองเชียงใหม่ ได้ยกลงมาถึงบ้านสระเกศ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ กระจายกำลัง  คอยขัดขวางไม่ให้ฝ่ายอโยธยาทำไร่ทำนาได้ในปีนั้น  ให้เจ้าเมืองพะเยาคุมกองทหารม้า ลงมาเผาบ้านเรือนราษฎร และไล่จับผู้คน จนถึงสะพานเผาข้าวใกล้พระนคร พระนเรศวรราชา ทราบสถานการณ์ดังกล่าว จึงคาดการณ์ได้ว่าข้าศึกยกลงมาครั้งนี้เป็นทัพใหญ่ แยกเป็นหลายทาง  มีกำลังพลมากนัก  หากใช้วิธีสกัดกั้นกลางทางจะทำได้ยาก  จึงได้กวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองด้านนอก เข้ามาไว้ในกำแพงกรุงศรีอโยธยา  เตรียมการรักษาพระนครไว้เป็นที่บัญชาการรบ เกณฑ์ไพร่พลจัดทัพได้ไม่ถึงแสนคน จึงสั่งการออกตั้งรับทัพอังวะภายนอกกำแพงเมืองเพื่อไม่ให้ทัพอังวะที่มีไพร่พลมากกว่ากรุงศรีอยุธยามาก มุ่งโจมตีล้อมกรอบจนถูกขังอยู่ภายในกำแพง ด้วยพระองค์ประสพมาเองเมื่อครั้งเยาว์วัยสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ผู้เป็นพระเจ้าตา ของพระองค์
ดังนั้น พระองค์จึงใช้ยุทธวิธีรบแบบวิธีรุก ด้วยการจัดเป็นกองโจรเข้าตีโฉบฉวยตัดกำลัง และข่มขวัญข้าศึก ซึ่งก็ใช้ได้ผลมาทุกครั้ง ในครั้งนี้จึงเสด็จคุมกำลังออกไปพร้อมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ  เข้ารบพุ่งกับทัพเจ้าเมืองพะเยา กองหน้าของทัพเชียงใหม่ถึงขั้นตลุมบอน  เจ้าเมืองพระเยาตายในที่รบ  ไพร่พลที่เหลือก็พากันแตกหนีไป  พระองค์ทรงพระดำริว่าเพื่อไม่ให้ทัพอังวะรวบรวมเสบียงได้ถนัดและไม่ให้รบกวนการทำนาของอโยธยา
                                                                                     ๑๐๘
จึงต้องตีกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศให้แตกเสียก่อน  จึงจัดทั้งทัพทางบกรวมอาสาจามอาสาโปตุเกส และทัพทางเรือมีกำลังพล ๘๐,๐๐๐ คน  ไปตั้งประชุมพลที่ทุ่งลุมพลี รอเคลื่อนพลไปโจมตีทัพเชียงใหม่ ในห้วงเวลานั้นได้ข่าวลงมาว่า มีกองกำลังเมืองเชียงใหม่ ยกมากวาดต้อนผู้คนจนถึงบ้านป่าโมก  พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ  จึงสั่งเคลื่อนพลทางเรือเข้าสกัดกั้นทันที ถึงตำบลป่าโมกน้อย ก็พบกองทัพสะเรนันทสู  ซึ่งเป็นทัพหน้าคุมพล ๕,๐๐๐ ยกลงมาทำการปล้นสดมภ์และฆ่าฟันราษฎรเมืองวิเศษชัยชาญ  จึงรับสั่งให้เทียบเรือเข้าฝั่ง  แลัวยกพลขึ้นบกเข้าโจมตีข้าศึก  พระองค์ทรงยิงพระแสงปืนถูกนายทัพฝ่ายเชียงใหม่ตาย  ข้าศึกก็แตกหนีไปทางเหนือ  พวกพลอาสาจามเคลื่อนกำลังติดตามขึ้นไป จนถึงทัพของพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งมีพระยาเชียงแสนเป็นแม่ทัพ  กองอาสาจาม เห็นว่าฝ่ายข้าศึกมีกำลังมากกว่า ต้านทานไม่ไหวจึงสั่งถอยทัพลงมา  พวกเชียงใหม่ก็ไล่ติดตามมา  พระนเรศวรราชา จึงให้เลื่อนเรือพระที่นั่ง พร้อมทั้งเรือที่อยู่ในกระบวนเสด็จขึ้นไปจอดเรียงหน้ากระดานอยู่ข้างเหนือปากคลองป่าโมกน้อย  พอข้าศึกไล่ตามกองอาสาจามมาถึงที่นั้น  ได้มีการรบพุ่งกันในระยะประชิด   ก็ให้โปตุเกสยิงปืนใหญ่น้อยจากเรือ   ระดมใส่ข้าศึกจนแตกกระจายคนละทิศละทาง กองทัพทางบกจากกรุงตามขึ้นไปทัน จึงเข้าตีกระหนาบจนกองทัพพระยาเชียงแสน ต้องถอยหนีขึ้นไปทางเหนือ  พระองค์จึงทรงให้รวมพลตั้งมั่นกองทัพที่บริเวณทุ่ง  เมืองป่าโมก (ได้ชื่อว่าทุ่งเอกราชในยุคปัจจุบัน) ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ตั้งอยู่ที่บ้านสระเกศ  เห็นกองหน้าแตกกลับมา  คาดการณ์ว่าพระนเรศวรราชา คงจะยกกองทัพตามขึ้นไปเป็นแน่  จึงจัดรูปขบวนทัพรุกกลับทัพอโยธยาเสียก่อน โดยให้พระยาเชียงแสนกับ สะเรนันทสู เป็นทัพหน้าคุมกำลัง ๑๕,๐๐๐ ส่วนทัพหลวง  ของพระเจ้าเชียงใหม่มีกำลัง ๖๐,๐๐๐ คน  กำหนดวันแรม ๒ค่ำ เดือน ๕ ปีระกา เคลื่อนพลเข้าปะทะกองทัพอโยธยา ส่วนทางทัพอโยธยาของสมเด็จพระนเรศวรทรง ให้พระราชมนูคุมกำลังพล ๑๐,๐๐๐ เคลื่อนพลเข้าปะทะทัพเชียงใหม่ส่วนพระองค์กับสมเด็จพระเอกาทศรถ  ก็เสด็จยกทัพหลวงมีกำลังพล ๓๐,๐๐๐ เป็นกองหนุนตามขึ้นไป  กองทัพพระราชมนูยกขึ้นไปถึงบางแก้ว ก็ปะทะกับทัพหน้าของพระเจ้าเชียงใหม่  พระนเรศวรราชา นำทัพหลวงหนุนถึงบ้านแห  ได้ยินเสียงปืนใหญ่น้อยจากการปะทะกันหนาแน่นขึ้นทุกที  จึงให้หยุดกองทัพหลวง แล้วจัดกองรบเข้าซุ่มโจมตีกระจายกำลังซุ่มอยู่ที่ป่าจิกป่ากระทุ่ม ข้างฝั่งตะวันตก  แล้วให้ข้าหลวงขึ้นไปสั่งพระราชมนูให้ล่าถอยลงมา  ฝ่ายพระราชมนูไม่ทราบ
กลศึกของพระนเรศวรราชา  เห็นว่ากำลังรี้พลไล่เลี่ยกับกองทัพหน้าของข้าศึก  พอจะต่อสู้เพื่อรอกองทัพหลวงขึ้นไปหนุนได้จึงยังไม่ถอยลงมา  พระองค์จึงให้จมื่นทิพรักษาขึ้นไปเร่งให้ถอยอีก  พระราชมนูกับรบพุ่งติดพันกับข้าศึกไม่ยอม ถอยลงมา จึงสั่งให้จมื่นทิพรักษา คุมทหารม้าเร็วกลับไปโบกธงให้สัญญาณถอยทัพอีกครั้ง ไพร่พลจึงถอย พระราชมนูจึงจำยอมคุมกำลังถอยลงมา  ขณะนั้นกองทัพหลวงพระเจ้าเชียงใหม่ยกหนุนมาถึง  เห็นกองทัพกรุงศรีถอยร่นแตกหนี  จึงเร่งสั่งยกทัพไล่ติดตามโดยเร่งรีบไพร่ทหารเลววิ่งไล่ไม่เป็นกระบวนศึก  จนถึงพื้นที่ซุ่มของกองทัพพระนเรศวรราชาที่ซุ่มพลไว้  พระองค์เห็นข้าศึกหลงกลสมประสงค์  ก็ให้ยิงปืน
                                                                                   ๑๐๙
โบกธงสัญญาณ ยกกองทัพหลวงเข้าตีกลางกองทัพข้าศึก  ฝ่ายพระราชมนูเห็นกองทัพหลวงเข้าตีโอบดังนั้นจึงเข้าใจกลศึก  จึงให้กองทัพของตน กลับตีกระหนาบข้าศึกอีกทางหนึ่ง ได้รบพุ่งกันถึงขั้นตะลุมบอน  กองทัพเชียงใหม่ก็แตกพ่ายไปทั้งทัพหน้าและทัพหลวง  ไพร่พลวิ่งหนีตายทิ้งช้างม้าและศพไพร่พลจำนวนมากเอาไว้ ยึดได้ช้างใหญ่ หลายเชือก  ม้า ศึกนับร้อยตัว กับเครื่องศัตราวุธอีกเป็นอันมาก พบศพขุนนางเชียงใหม่จำนวนมาก พระยาลอ  พระยากาว  พระยานคร  พระยาราย  พระยางิบ สมิงโยคราช และสะเรนันทสู  เสียชีวิตในการรบเมื่อรวมพลณ.ที่นั้นพระนเรศวรราชา ต้องการให้ทัพเชียงใหม่แตกให้สิ้นเพื่อตัดกำลังของทัพใหญ่หงสาวดีจึงได้เสด็จยกทัพติดตามเข้าตีข้าศึกต่อไปไปจนพลบค่ำ จึงให้พักแรมหุงหาอาหารที่บ้านชะไวเสร็จแล้ว  เคลื่อนทัพต่อไปแต่กลางดึก  ถึงบ้านสระเกศจึงเข้าซุ่มพลคอยทีเพลาเช้าตรู่กำหนดเข้าตีค่ายพระเจ้าเชียงใหม่               
 ฝ่ายทัพพระเจ้าเชียงใหม่เสียนายกองไปถึง ๗ คน พร้อมไพร่พลไปหลายพันคนเมื่อถอยหนีกลับไปถึงที่รวมพล บ้านสระเกศแล้ว  ประมาณการณ์ว่ากองทัพอโยธยาต้องยกติดตามขึ้นไปแน่การปรับกระบวนทัพตั้งรับไม่สามารถทำได้ทันจึงสั่งแม่ทัพนายกองให้เร่งรวบรวมศาสตราวุธเสบียงอาหาร จึงสั่งถอยทัพตั้งแต่ตอนกลางคืนวันนั้นเมื่อสั่งการแล้วพระเจ้าเชียงใหม่จึงพาทัพหลวงล่วงหน้าไปก่อน  เมื่อกองทัพอโยธยาติดตามถึงที่ซุ่มบ้านสระเกศ    ทัพส่วนหน้าพบข้าศึกกำลังถอยออกจากบ้านสระเกศผ่านที่ซุ่ม  ทัพอโยธยาจึงจู่โจมเข้าตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่โดยพลัน  จับได้พระยาเชียงแสน และรี้พลเป็นเชลยรวม ๑๐,๐๐๐ คนเศษ  กับช้าง ๑๒๐ เชือก  ม้า มากกว่า๑๐๐ตัว  เรือรบและเรือเสบียงรวม๔๐๐ ลำ  เครื่องศัตราวุธยุทธภัณฑ์และเสบียงอาหารเป็นอันมาก  เมื่อยึดค่ายพม่าที่บ้านสระเกศแล้วสมเด็จพระนเรศวรทรงไล่ติดตามพระเจ้าเชียงใหม่ขึ้นไปถึงเมืองปากน้ำโพเมื่อทรงเห็นว่าพระเจ้าเชียงใหม่หนีไปสมทบกับกองทัพพระมหาอุปราชาที่กำแพงเพชร คำนวณกำลังพลแล้วเป็นการยากที่จะนำคนจำนวนน้อยเข้าตีคนจำนวนมากให้ได้ชัยชนะ ทัพอโยธยาอาจเสียทีพระมหาอุปราชาได้ จึงถอยทัพเสียตั้งแต่เมืองปากน้ำโพ และตั้งกองรักษาด่านรบเอาไว้ที่เมืองปากน้ำโพกองหนึ่งทำหน้าที่สืบข่าวทัพหงสาวดีและเกาะติดเอาไว้ แลส่งข่าวการบุกของหงสาวดีแต่เนิ่นเพื่อพระองค์จะเตรียมการต่อสู้ให้ได้ทันท่วงทีก่อนข้าศึกประชิดกรุง ส่วนสมเด็จพระมหาธรรมราชานั้น  ได้จัดกองทัพหลวงเสด็จโดยขบวนเรือจากกรุงศรีอโยธยา  กำลังหนุนขึ้นไปถึงปากน้ำบางพุทรา  พระนเรศพร้อมพระเอกาทศรถจึงยกทัพลงไปสมทบที่ปากน้ำบางพุทรา  ถวายรายงานสมเด็จพระมหาธรรมราชา ราชบิดา เมื่อได้ทราบผลการรบแล้ว  สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงมีรับสั่งให้เลิกกองทัพกลับกรุงศรีอโยธยาเพื่อพักรบฟื้นฟูไพร่พลเตรียมรับศึกใหญ่ที่คาดการณ์ว่าต้องรบกันในไม่ช้าดังนั้นหลังศึกพระเจ้าเชียงใหม่แล้วบรรดาหัวเมืองเหนือให้เร่งอพยพครัว คืนบ้านเมืองเร่งทำนาให้เจ้าเมืองควบคุมเมื่อเกี่ยวข้าวแล้วให้เคลื่อนย้ายลงมาเมืองหลวงถ้าเก็บเกี่ยวไม่ทันให้เผาทำลาย พระอุปราชนเรศวรจึงรับสั่งให้เจ้าพระยากำแพงเพชรยกทัพกลับไปและวางกำลังป้องกันชาวนา อย่าได้หลบหนีดังครั้งก่อนอีก  ส่วนทางกรุงศรีอโยธยาก็ได้เร่งรัดการทำนาในหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นตรงต่อพระนคร   เมื่อถึงฤดูฝนก็ให้เร่งทำ
                                                                                    ๑๑๐
นาทุกพื้นที่  และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว  เมื่อได้ข้าวมาแล้วก็ให้ขนข้าวมาสะสมไว้ในกรุง  เพื่อไว้ใช้เป็นเสบียงอาหาร  เมื่อมีศึกมาล้อมกรุง ข้าวที่เกี่ยวได้ไม่ทันก็ให้เผาทำลายเสียมิให้ข้าศึกใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน 
เวลาผ่านได้ขวบปีต้นปีพ.ศ. ๒๑๒๙ พระเจ้านันทจอเดง(นันทบุเรง)ตั้งใจจะตีอโยธยาให้ได้ในหน้าแล้งนี้จึงจัดทัพใหญ่ รวมไพร่พลที่เชียงใหม่ ๒๕๐,๐๐๐ คนยกทัพมาตีกรุงศรีอโยธยา ถึงขณะนี้อโยธยาเร่งสะสมเสบียงไว้เพื่อเตรียมพร้อมรับศึกจากอังวะเต็มที่เมื่อทัพพระมหาอุปราชยกทัพมาถึงกำแพงเพชรให้ทัพม้าเข้าตีจนทัพเจ้าพระยากำแพงเพชรถอยร่นหนีเข้าเมือง พระยากำแพงเพชรถูกทัพหงสาวดีกุมตัวได้และยึดได้เมืองกำแพงเพชร พระนเรศวรราชาทรงพิโรธอย่างมาก  พระองค์และสมเด็จเอกาทศรถเสด็จลงเรือพระที่นั่งจากพิษณุโลกขึ้นไปปะทะกับอังวะที่กำแพงเพชรจนแตกพ่ายสามารถยึดค่ายคืนมาได้พระนเรศวรราชาจึงสั่งประหารชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชรด้วยละทิ้งหน้าที่ขณะรบกับข้าศึก สมเด็จพระมหาธรรมราชาทราบเรื่องจึงทรงขอชีวิตพระยากำแพงเพชรเอาไว้ด้วยเห็นว่าทัพพระมหาอุปราชอังวะเป็นทัพใหญ่ยากที่ทัพเมืองกำแพงเพชรโดยลำพังจะชนะได้ การรบกับอังวะครั้งนี้พระองค์ใช้ยุทธวิธีกองโจรเช่นเดิม โดยจัดกำลังขนาดเล็กออกโจมตีอังวะแบบโฉบฉวย โดยพระองค์เป็นคนเลือกโอกาส วันเวลาเอง ทัพอังวะนั้นมุ่งตรงเพื่อเข้าตีกรุงศรีอโยธยา แต่อยุธยาไม่มีทัพใหญ่คอยตั้งรบขัดขวางเลย แต่ขณะตั้งค่ายพักกลับถูกกองรบราวพันคนมุ่งเข้าตะลุมบอนจึงขวัญเสียอดหลับอดนอนคอยเฝ้าระวังแต่ทหารอโยธยาจะเข้าปล้นค่าย เพราะการรบในครั้งก่อนๆกับอโยธยาครั้งพระเจ้าจักรพรรดิ
เป็นการรบตะลุมบอนด้วยไพร่ราบเมื่อทัพอังวะมีกำลังมากแรงปะทะมีสูง และมีแรงหนุนเนื่องจึงประสพกับชัยชนะมาตลอด เมื่อไพ่ร่ราบขนาดใหญ่ต้องพบกับการกระทำการรบแบบกองโจรขนาดเล็กดังเช่นพระนเรศวรราชาจึงเสียขวัญยิ่งนัก ขณะอังวะถอยทัพหนี ทหารอโยธยากองหนึ่งก็ไล่ติดตามส่วนอีกกองหนึ่งซุ่มโจมตีจนหงสาแตกทัพหนีเข้าในค่ายทัพหลวง ของพระเจ้านันทบุเรงเป็นที่อื้ออึงเมื่อกองโจรอโยธยามาถึงค่ายพระเจ้านันทบุเรง พระนเรศวรราชาจึงเสด็จลงจากม้าคาบพระแสงดาบแล้วนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงข้าศึก แต่ถูกพม่าใช้หอกแทงตกลงมาข้างล่างหลายครั้ง พระเจ้าหงสาวดีทรงทราบการกระทำอันห้าวหาญของสมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสว่าดีแล้วมาให้จับถึงที่ไม่ต้องตามหาตัว จะต้องจับ ให้ได้ถึงแม้ว่าจะใช้ ทหารมากมายเพียงใด จึงวางแผนให้ลักไวทำมูนำทหารจำนวน ๑,๐๐๐ ไปซุ่มนอกค่ายคอยดักจับพระนเรศ ขณะเข้าปล้นค่ายหลวงอังวะอีก ด้านพระนเรศคาดการว่าออกปล้นค่ายหลายครั้งยังไม่มีอังวะทัพใดออกจากค่ายมาสู้รบกับพระองค์เลยเป็นเรื่องแปลกดังนั้นเพลานี้มาปล้นค่ายจึงจัดทหารกองหนึ่งคุ้มกันอยู่ห่างๆไม่กี่เพลากองทัพย่อยของพระนเรศก็ควบม้าตรงมาทางค่ายครั้งนี้อังวะออกมาจากค่ายเข้าสู้รบโดยใช้ทหารจำนวนน้อยเข้าล่อให้พระองค์ไล่ตีเป็นการใช้ยุทธวิธีเดียวกับพระองค์ใช้อยู่บ่อยๆ จึงทรงระวังตัวมาก เข้ามาจนถึงบริเวณที่ลักไวทำมูซุ่มรออยู่ ลักไวทำมูจะเข้ามาจับพระองค์ พระนเรศจึงใช้พระแสงทวนแทงลักไวทำมูตาย พระองค์ถูกล้อมอยู่ และสู้กับทหารอังวะไม่นาน ทัพหนุนที่จัดคอยทีก็เข้าช่วยตลบหลังทัพลักไวมูจน  แตกหนีระส่ำระสายตายในที่รบมากมายทหารใน
                                                                                      ๑๑๑
ค่ายขวัญตกต่ำจากการสู้รบกับทัพพระนเรศวรราชานานหลายค่ำวัน พระเจ้านันทบุเรงเห็นกำลังพลรวนเรจึงถอยทัพกลับอังวะ อโยธยาจึงว่างสงคราม ๔ ขวบปีล่วงพุทธศักราช ๒๑๓๓ สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต อโยธยาจึงผลัดแผ่นดิน พิธีราชาภิเษกมีขึ้น     ในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓พระนเรศวรราชา พระชนมายุ ๓๕ พรรษาได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์พระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอโยธยา พระองค์ที่ ๑๘ ราชวงศ์สุโขทัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระนเรศวรราชาครองราชย์ยังไม่ทันขวบปี เจ้าฟ้าแข็งเมืองกับอังวะขึ้นอีก พระเจ้านันทบุเรง ทราบดีว่าเมืองคังไม่เกรงอำนาจอังวะเพราะตั้งแต่กรุงศรีอโยธยาแข็งเมือง อังวะไม่สามารถปราบปราบกรุงศรีอโยธยาลงได้แสดงให้เห็นว่าอังวะอ่อนแอมากขึ้น ดังนั้น จึงไม่ยอมอ่อนน้อมต่ออังวะอีกต่อไป ตราบใดที่ยังไม่สามารถปราบกรุงศรีอโยธยาลงได้และต้องถอยทัพกลับมามือเปล่ายิ่งทำให้พระบรมเดชานุภาพเสื่อมถอยเพื่อกอบกู้เกียรติภูมิของอังวะต้องจัดทัพไปตีกรุงศรีอโยธยาให้ได้ในครั้งนี้จึงเรียกบรรดาเจ้าฟ้า ขุนนาง อำมาตย์เข้าปรึกษาการทัพ ส่วนตัวพระเจ้านันทบุเรงเองนั้นก็ทรงวัยชรา การจะไปทำสงครามดังแต่ก่อนเห็นทีจะยาก จึงโปรดให้จัดกองทัพขึ้นสองทัพ ให้เจ้าฟ้าเมืองแปรราชบุตร ยกไปตีเมืองคัง  อีกทัพหนึ่งมีไพร่พลเต็มกำลังศึก มีพระยาพสิม  พระยาพุกามเป็นกองหน้า พระเจ้านันทบุเรงและพระมหาอุปราชาเป็นทัพหลวงยกลงมาตีกรุงศรีอโยธยา ในเดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๑๓๓ พระมหาอุปราชา  ยกออกจากกรุงหงสาวดี เดินทัพทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ เข้าตีพระนครศรีอโยธยา หัวเมืองมอญแจ้งข่าวมายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรราชาจึงเกณฑ์ไพร่พลเตรียมทัพ คิดการว่าทัพอโยธยาจะใช้ยุทธวิธีคนน้อยเข้าตีโฉบฉวยคนมาก ดังครั้งก่อนๆ เพราะถ้าปล่อยทัพอังวะเจาะเข้าเมืองหลวงได้คงมีความลำบากทั้งไพร่พลและชาวบ้าน เมื่อประชุมทัพพร้อมแล้ว จึงรีบเสด็จยกกองทัพหลวงออกไปกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ในเดือนยี่  เพื่อไปรับทัพอังวะ เสด็จไปถึงเมืองสุพรรณกองตระเวนหน้าแจ้งข่าวว่าข้าศึกยกล่วงเมืองกาญจนบุรีเข้ามาแล้ว จึงให้ตั้งทัพหลวงซุ่มโจมตีข้าศึกอยู่ที่ลำทวน(ต่อมาที่นั้นเรียกท่าคอย) พอกองทัพอังวะยกมาถึงข้ามท่าก็ถูกทัพอยุธยาเข้าตะลุมบอน พระยาพุกามแม่ทัพหน้าอังวะตายในที่รบ กองทัพอังวะถูกกองทัพกรุงศรีอโยธยาฆ่าฟันล้มตายเป็นอันมาก ที่เหลือก็พากันพ่ายหนี อโยธยาไล่ติดตามไปจับพระยาพสิมกุมตัวได้ที่บ้านจระเข้สามพันเมืองอู่ทอง พระนเศวรคิดการจู่โจมทัพหลวงอังวะเพื่อตัดกำลังในช่วงค่ำคืนจึงลอบนำทัพปืนใหญ่เข้าปะชิดค่ายอังวะและยิงปืนใหญ่โจมตีทัพหลวงอังวะย่างรุนแรงแล้วจึงถอยออกมาค่ายอังวะสับสนอลหม่านพากันเข็นปืนใหญ่ออกมายิงออกมาโดยไม่เห็นฝ่ายอยุธยาการรบครั้งนี้พระเจ้านันทบุเรงถูกปืนใหญ่ฝ่ายอโยธยาจนได้รับบาดเจ็บไม่สามารถบัญชาการรบได้ พระมหาอุปราชาเมื่อเห็นทัพหน้าของพระยาพสิมและพระยาพุกามพ่ายหนีเข้าทัพหลวงและรวนเรถอยร่นไม่เป็นอันสู้รบอีกทั้งพระราชบิดาก็บาดเจ็บจึงสั่งถอยทัพอย่างเร่งรีบออกด่านเจดีย์สามองค์ส่วนพระเจ้านันทบุเรงนั้นโกรธและด่าทอพระมหาอุปราชว่าขลาดเขลากลัวข้าศึก จะครองแผ่นดินอย่างไรรบแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่าได้ถอยทัพจะรบกับอยุธยาให้รู้แพ้รู้ชนะ
                                                                                          ๑๑๒
ถ้าหากพระมหาอุปราชาจะครองแผ่นดินในภายหน้าให้เร่งตีอโยธยาให้ได้บรรดาแม่ทัพนายกองทัดทานให้พระองค์กลับหงสาวดีเพื่อรักษาพระองค์ก่อนวันหน้าค่อยกลับมาทำศึกอีกครั้งพระเจ้านันทบุเรงจึงยอมถอยทัพ หลังที่พระมหาอุปราชาล้มเหลวนำทัพกลับจากอโยธยา อังวะ ก็เร่ง บำรุงกองทัพสะสมเสบียง ฝึกปรือไพร่พลถึง ๒ ปี พ.ศ. ๒๑๓๕ พระเจ้านันทบุเรง จึงโปรดให้พระมหาอุปราชา เป็นแม่ทัพใหญ่เจ้าฟ้าจาปะโรเป็นทัพหน้า กินหวุ่นมิงคะยีและเตงดาวุนคะยีเป็นรองแม่ทัพ เร่งเกณฑ์ผู้คนเป็นทัพหลวง  เจ้าฟ้าเมืองแปรเป็นแม่ทัพคุมกองทัพเมืองแป  เจ้านัดจินหน่องโอรสพระเจ้าตองอู เป็นแม่ทัพคุมเมืองตองอู สั่งการให้ทัพตองอูและทัพเมืองแปร เคลื่อนทัพมาด้านเมืองตาก      เข้าตีตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก หัวเมืองเหนือของอโยธยา แล้วมาบรรจบทัพหลวง ที่มุ่งหน้าจากด่านเจดีย์สามองค์มาที่อโยธยา    เจ้ามังนรธาช่อน้องของพระเจ้านันทบุเรงเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นทัพหนุนเคลื่อนพลตามลงมาอโยธยารวมไพร่พลทั้งสิ้นสามทัพ๒๔๐,๐๐๐คน     การโจมตีกรุงศรีอโยธยาครั้งนี้ต้องยึดเข้าไว้เป็นประเทศราชเหมือนดังแผ่นดินพระราชบิดาบุเรงนองให้จงได้ เมื่อจัดทัพไพร่พลพร้อม ช้างม้าศราตราวุธ ถึงวันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรงพ.ศ.๒๑๓๕  กองทัพพระมหาอุปราชาก็กรีฑาทัพออกจากเมืองหงสาวดีมุ่งสู่อโยธยา  เดินทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์ เข้าถึงตำบลไทรโยค ตั้งค่ายลง แล้ววางแผนเข้าตีเมืองกาญจน์  เส้นทางเดินทัพผ่านลำตะเพินในตำบลลาดหญ้า  ให้พระยาจิตตองคุมพลสร้างสะพานเรือกเพื่อใช้ข้ามลำน้ำสายนี้ หยุดรวมพลค้างแรม รุ่งขึ้นจึงเคลื่อนทัพมายังเมืองกาญจน์ เจ้าเมืองกาญจน์หลังไพร่พลที่จัดป้องกันเมืองเร่งส่งสารแจ้งข่าวทัพพม่าเคลื่อนพลไปยังพระนครตามรับสั่งพระนเรศวรราชาธิราช แล้ว ก็พาผู้คนหลบหนีซ่อนตามป่าเขาสิ้น เมื่อทัพหลวงหงสาวดีเคลื่อนพลถึงเมืองกาญจน์ใกล้ลำน้ำแคว พระมหาอุปราชาก็ทรงให้ตั้งค่ายเป็นวงรอบ ตรงชัยภูมินาคนามใช้ลำน้ำเป็นแนว ป้องกันทัพอโยธยาเข้าโจมตีพักค้างแรม  ไม่มีวี่แววทัพอโยธยาเข้าตีสกัดกั้นทัพอังวะเลย พระมหาอุปราชาจึงชะลอการเคลื่อนพลเข้าบ้านพนมทวนเลาะริมน้ำอู่ทอง(จระเข้สามพันธุ์)ขึ้นเหนือมาได้ตามลำดับ จนเข้าเขต เมืองสุพรรณ ก็ให้หยุดตั้งทัพอยู่ ณ ที่นั้น  พระมหาอุปราชาวางแผนให้ทัพด้านเหนือกับทัพของพระองค์เข้าตีบรรจบที่อโยธยาพร้อมกันเพื่อเพิ่มอำนาจเข้าปะทะให้ได้สูงสุด  จึงโปรดให้สมิงจอดาน  สมิงเป่อ  สมิงซาม่วน คุมทัพม้าออกลาดตระเวณไปสืบข่าวทัพด้านเหนือของตองอูและเมืองแปรที่ยกมาทางด่านแม่ละเมา  และทัพพระเจ้าเชียงใหม่ที่คุมกองเรือลงมาตามแม่ปิงรวมถึง ให้ลาดตระเวนสืบข่าวกองทัพฝ่ายอโยธยาว่าได้ยกออกมาและตั้งค่ายไว้ที่ใดบ้าง  จึงได้ปะทะกับกองตระเวนของอโยธยาต่างผละออกจากการรบเร่งแจ้งข่าวทัพให้ทัพหลวงของฝ่ายตนทราบ
ส่วนข้าง โยธยาศึกครั้งก่อนหลังเสร็จการทัพครั้งก่อนพระองค์จึงเกณฑ์ไพร่พลและฝึกเตรียมเป็นอย่างดีพร้อมรับศึกจากหงสาวดี จึงโปรดให้เจ้าเมืองกาญจน์ เมืองชุมพร เมืองตาก คอยสืบข่าวทัพพม่า ไม่นานก็ ได้รับใบบอกจากกองรักษาด่านเมืองกาญจน์ ว่า  พระเจ้าหงสาวดีทรงให้พระมหาอุปราชา ยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์  และได้ข่าวจากหัวเมืองตากแจ้งว่า  มีกองทัพข้าศึกยกลงมาอีกทางหนึ่ง และมีกองเรือของเชียงใหม่ล่อง
                                                                                         ๑๑๓
แม่ปิงลงมา จึงทรงมีพระราชดำริคิดอ่านการศึกว่าข้าศึกยกทัพรุกลงมาสองทาง หากตั้งรับในพระนครคงยากที่จะทานกำลังทัพพม่าได้ดังนั้น   การศึกครั้งนี้พระองค์จึงไม่คิดจะตั้งรับแบบยึดพื้นที่เหนียวแน่นอยู่ในพระนครเพราะกำลังกรุงศรีมีไม่มากเท่าทัพพม่าถึงแม้มีกำลังเสมอก็ยังยากที่จะชนะทัพกรุงหงสาวดีที่เป็นฝ่ายเข้าตีได้อีกทั้งฝ่ายเข้าตีคงใช้ปืนใหญ่ยิงโจมตีพระนครให้บ้านเมือง พระราชวัง วัดวาอารามเสียหายเป็นอย่างมากหลังจากเสียหายมามากในสมัยพระมหินทร์ราชา ดังนั้นหากตั้งรับ รบกันเพียงแค่เสมอแล้วยันไว้จนอังวะถอยทัพกลับไปเองก็ยังยาก เพราะพระเจ้านันทบุเรงมีพระทัยแน่วแน่จะตีเมืองอโยธยาให้ได้  พระองค์จึงคิดอ่านยุทธวิธีตั้งรับแบบคล่องตัวและรุกกลับเมื่อสบโอกาสโดยเลือกเมืองหน้าด่านก่อนถึงกรุงศรีเป็นพื้นที่การรบ ไม่ปล่อยให้ทัพพม่ามาสมทบกันได้ เพราะจะทำให้ข้าศึกมีกำลังมาก  เมื่อกองทัพพระมหาอุปราชายกเข้ามาก่อน  จึงจะต้องชิงตีให้แตกเสียก่อน เป็นการรวมกำลังเข้ากระทำการต่อข้าศึกเป็นส่วนๆ ไป เมื่อประชุมแม่ทัพนายกองเจ้าเมืองผู้รั้งเมืองทั้งหลายทราบกลศึกแล้วจึงแยกย้ายไปนำทัพตามแผนที่รับสั่ง  เจ้าเมือง และผู้รั้งเมืองนำไพร่พลจากหัวเมืองเหนือ และหัวเมืองปักษ์ใต้ ๒๓ หัวเมือง รวมกำลังพลได้ ๕๐,๐๐๐ คน  โปรดให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระยาราชฤทธานนท์เป็นรองแม่ทัพ ส่วนทัพหลวงตระเตรียมไพร่พลไว้ หนึ่งแสนคนเคลื่อนเข้าที่รวมพลทุ่งลุมพลีเพื่อทำพิธีตัดไม้ข่มนาม เสริมขวัญให้ไพร่พล โดยนิมนต์พระสังฆราชาทำพิธีกรรม ประพรมน้ำมนต์พระราชทานพระกริ่งวัดปากคลองตะเคียนให้แม่ทัพนายกอง
ที่ทัพหลวงทุ่งลุมพลีขณะนั้นพระองค์ประชุมพลคัดเลือกแม่ทัพที่จะคุมกองตั้งรับอังวะ ต่อจากทัพหน้าโดย ให้ทัพหัวเมืองเคลื่อนเข้าตั้งรับอังวะที่ดอนฆัง  ส่วนกองทัพหลวงก็ทรงให้เตรียมค่ายและกระบวนทัพที่จะรบข้าศึกหรือหนุนเสริมทัพหน้า   ทัพหลวงนั้นพระองค์ทรงจัดทัพเป็น ๕ ทัพ แต่ละทัพแบ่งเป็นสามกองคือกองหลักกองซ้ายและกองขวา
ทัพหน้า ส่วนเข้าตีสนับสนุน เป็นส่วนระวังป้องกันหน้า  ให้พระยาสีหราชเดโชชัยเป็นนายทัพ พระยาพิชัยรณฤทธิ์เป็นกองขวา พระยาวิชิตณรงค์เป็นกองซ้าย
ทัพเกียกกาย(กองเสบียง)  ให้พระยาเทพอรชุน เป็นนายทัพเกียกกาย  พระยาพิชัยสงคราม เป็นกองขวา พระยารามคำแหงเป็นกองซ้าย
ทัพหลวง(ส่วนเข้าตีหลัก)  สมเด็จพระนเรศวรราชา ทรงเป็นจอมทัพ  พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าพระยามหาเสนาเป็นกองขวา เจ้าพระยาจักรีเป็นกองซ้าย
ทัพยกกระบัตร(ทัพหนุนจัดจากขุนนางฝ่ายพลเรือน)  ให้พระยาพระคลัง เป็นนายทัพ  พระราชสงครามเป็นกองขวา พระรามรณภพเป็นกองซ้าย
ทัพหลัง(ส่วนระวังป้องกันหลัง,ทัพหนุนอีกทัพหนึ่ง)  ให้พระยาท้ายน้ำ เป็นนายทัพ  หลวงหฤทัย เป็นกองขวา  หลวงอภัยสุรินทร์เป็นกองซ้าย
                                                                                    ๑๑๔
จับยามสามตาได้ฤกษ์เดินทัพ ณ.วันขึ้น ๙ค่ำเวลาเช้า จึงไชโยโห่ร้องทัพหน้าของพระยาศรีไสยณรงค์จึงเคลื่อนพลเดินทางจากทุ่งลุมพลี มุ่งไปตั้งทัพค้างแรมที่ทุ่งป่าโมก  แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ       ครั้นตั้งค่ายเสร็จสิ้นแล้วบัญชาให้พระอัมรินทร์ฤาไชย  ผู้รั้งเมืองราชบุรี คุมพล ๕๐๐ คน  แต่งเป็นกองโจร ออกไปแทรกซึมปฏิบัติการโจมตีกองเกียกกายทัพอังวะตัดเส้นทางลำเลียง  และรื้อสะพานทางเดินทัพของข้าศึกทางด้านหลัง ให้กองทัพหัวเมือง ของพระยาศรีไสยณรงค์และ พระยาราชฤทธานนท์ ไปตั้งสกัดกั้นข้าศึกอยู่ที่ลำน้ำสุพรรณแขวงเมืองสุพรรณบุรี ครั้นกองตระเวนหน้าพบกองตระเวนอังวะต่างผละจากการรบแจ้งข่าวต่อทัพหลวงของฝ่ายตนทัพอังวะพ้นจากพนมทวนมาแล้ว  ขึ้น๑๒ค่ำ ทัพอโยธยา จึงเคลื่อนออกจากทุ่งป่าโมกมุ่งตรงไปตั้งรับทางบ้านสามโก้เมืองสุพรรณ ข้ามลำน้ำสุพรรณที่ท่าท้าวอู่ทอง  และตั้งค่ายลงบริเวณหนองสาหร่ายริมลำน้ำในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ คอยทัพอังวะหากคราวนี้เสียทีอังวะกองทัพจะสามารถถอยเข้าที่มั่นสกัดกั้นที่เมืองอ่างทองได้อีกหากต้องถอยร่น จนถึงกรุงศรีอโยธยาคงรู้แพ้ชนะกันแล้ว

หนองสาหร่ายนั้นเป็นที่สูงเหมาะเป็นที่ตั้งค่าย  ครั้นถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือนยี่  พระยาศรีไสยณรงค์คุมกองทัพอยู่ส่วนหน้าให้ม้าตระเวนรีบมาทัพหลวงกราบทูลว่า  ข้าศึกยกกองทัพใหญ่พ้น บ้านจระเข้สามพันมาแล้ว  สมเด็จพระนเรศวรราชาจึงมีรับสั่งให้กองทัพทั้งปวง เตรียมตัวรบข้าศึก จึงทรงมีพระบัญชา ให้พระยาศรีไสยณรงค์ เข้าตีโฉบฉวยหยั่งกำลังข้าศึกแล้วให้ถอยกลับมา ข้างฝ่ายกองตระเวนสมิงซาม่วน เมื่อปะกับกองตระเวนหน้าของพระยาศรีไสยณรงค์ที่ตำบลดอนเผาข้าวก็เข้าปะทะกัน สุดกำลังที่ทัพหน้าจะรับข้าศึกเอาไว้ได้ จึงแจ้งข่าวถึงทัพหลวงที่ทุ่งลุมพลีว่าทัพหน้าคงยั้งข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่ เช้าของวันจันทร์ที่๑๘ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวรราชากับสมเด็จพระเอกาทศรถ  ทรงเครื่องพิชัยยุทธ ให้ผูกช้างพระที่นั่งชื่อ พลายไชยานุภาพ  เป็นพระคชาธารของพระองค์  มีเจ้ารามราฆพเป็นกลางช้าง นายมหานุภาพเป็นควาญ  อีกช้างหนึ่งชื่อพลายบุญเรือง  ขึ้นระวางเป็นเจ้าพระยาปราบไตรจักร  เป็นพระคชาธารสมเด็จพระเอกาทศรถ  มีหมื่นภักดีศวรเป็นกลางช้าง ขุนศรีคชคงเป็นควาญ พร้อมด้วย นายแวง จตุลังคบาท  พรั่งพร้อมทหารคู่พระทัยสำหรับรักษาพระองค์ การศึกครั้งนี้พระนเรศได้รับศราตราวุธปืนคาบศิลาจากโปรตุเกตมาใหม่พระองค์บรรจุไว้กับทัพหน้าและทัพหลวงอีกทั้งพระองค์ใช้เป็นอาวุธประจำพระองค์ในครั้งนี้ทรงถือไว้ในพระหัตถ์ประทับหลังเจ้าพระยาไชยานุภาพพร้อมแสงของ้าว  หลังจากทัพหน้าแจ้งข่าวลงมาว่าต้องถอยลงมา  จึงดำรัสให้จมื่นทิพเสนา ปลัดกรมตำรวจ เอาม้าเร็วไปสืบข่าว ได้ความว่า  พระยาศรีไสยณรงค์ได้ยกกำลังออกไป และได้ปะทะกับข้าศึกที่ ตำบลดอนเผาข้าวเมื่อเวลาเช้า  ฝ่ายข้าศึกมีกำลังมากต้านทานไม่ไหว จึงแตกถอยร่นมาแน่แล้ว จึงตรัสเรียกแม่ทัพทั้งหลายมาชุมนุมโดยพร้อม บรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลายกราบทูลว่า ควรให้กองหนุน ออกไปช่วยต้านทานข้าศึกไว้ให้อยู่เสียก่อน  แล้วจึงให้ทัพหลวงหนุนเข้าตีภายหลัง  สมเด็จพระนเรศวรไคร่ครวญ
                                                                                     ๑๑๕
สถานการณ์แล้ว ตามการรบที่เคยมีมาคราวทัพเชียงใหม่ทัพหน้าถูกตีแตก ทัพหลวงเร่งส่งมาช่วยกับถูกพระองค์ซุ่มโจมตีพากันแตกพ่ายเพราะขาดกองหนุน ต้องพากันหนีเสียกระบวนทัพ พ่ายแพ้ต่ออโยธยา ดังนั้นครั้งนี้พระองค์จึงไม่ส่งทัพหลวงไปช่วยแต่จะส่งสัญญาน ให้พระยาศรีไสยณรงค์พาทัพผละหนีทัพอังวะกลับมาพระนครเมื่อผ่านทัพหลวงแล้วพระองค์จะสั่งทัพหลวงดักซุ่มโจมตีอังวะที่ตามมา สมเด็จพระนเรศวรราชา จึงมีพระดำรัสว่า กองทัพแตกลงมาเช่นนี้แล้ว  จะให้กองหนุนเข้าขวางข้าศึก คงรับไว้ไม่อยู่  มาปะทะกันเข้าก็จะพากันแตกลงมาหรือถูกพม่าซุ่มเอาได้ควรเลือกหนทางล่าถอยลงมาโดยเร็ว  เพื่อปล่อยให้ข้าศึกยกติดตามมาอย่างไม่เป็นกระบวน พอได้ทีให้ยกกำลังส่วนใหญ่เข้าโจมตีข้าศึก ก็คงจะได้ชัยชนะโดยง่ายแม่ทัพนายกองจึงเข้าใจในกลศึกนี้  พระองค์จึงมีรับสั่งให้ จมื่นทิพเสนา กับ จมื่นราชามาตย์  ขึ้นม้าเร็ว รีบไปส่งสัณญานแก่พวกกองทัพหน้าของไทย  อย่าได้รั้งรอข้าศึก ให้รีบล่าถอยหนีมาโดยเร็ว  ทัพหน้าของพระยาศรีไสยณรงค์จึงพากันถอยหนีอย่างไม่เป็นกระบวน ทัพเจ้าฟ้าจาปะโรเห็นดังนั้น ก็พากันรุกไล่ทัพหน้าอโยธยาลงมาด้วยเห็นได้ที จนไม่เป็นกระบวนเช่นกัน  สมเด็จพระนเรศวรราชาสงบทัพหลวงรออยู่จน เพลาเพล  เห็นข้าศึกอื้ออึงไล่ตามทัพอโยธยาลงมาไม่เป็นกระบวน ก็สมคะเน ทรงดำรัสสั่งให้บอกสัญญาณกองทัพทั้งปวง ให้ยกออกตีข้าศึก  พระองค์และพระเอกาทศรถ ยกกองทัพหลวงเข้าโอบทัพหน้าข้าศึก  บรรดาทัพท้าวพระยาหลายกองยกไปไม่ทันเสด็จถึง ๖ กอง  คงมีแต่กองทัพพระยาสีหราชเดโชชัยแม่ทัพหน้า กับกองทัพเจ้าพระยามหาเสนาซึ่งเป็นกองขวาทัพหลวง  ตามกองทัพหลวงเข้าตั้งกระบวนเตรียมตะลุมบอนกับข้าศึกโดยให้พลปืนตั้งแถวประทับปืนด้านหน้า พลหอก ดาบ ตั้งแถวสองแถว สามต่อมาเมื่อทัพพม่ามาถึงก็เข้าจู่โจมทันที กองทัพหน้าของพม่าไม่คาดว่าว่าจะมีทัพอโยธยาดักซุ่มอยู่ ก็เสียทีแตกหนีอลหม่าน สมเด็จพระนเรศวรราชาทรงไสช้างไล่ตามทัพหน้าของพม่าที่แตกพ่าย หนีกลับเข้าทัพหลวงของพระมหาอุปราชา ถึงเพลานั้นพระองค์จึงทรงทอดพระเนตรเห็นทัพหลวงของพม่ามีจำนวนคะเนได้มากกว่าอโยธยาสามเท่าตัวและที่สำคัญทัพหลวงของพระองค์อีกหลายกองยังตามเสด็จมาไม่ทันพระองค์ มีแต่ช้างของพระเอกาทศรถ กองทัพพระยาสีหราชเดโชชัย และกองทัพเจ้าพระยามหาเสนาเท่านั้นที่ตามพระองค์มาเผชิญหน้าทัพหลวงพระมหาอุปราชา หากพระองค์รุกเข้ารบและนำไพร่พลเข้าตะลุมบอนกับทัพพระมหาอุปราชา คงไสช้างไปไม่ถึงช้างพระมหาอุปราชา และไพร่พลคงล้มตายหมดสิ้น หากถอยทัพเข้าพระนครก็ต้องถูกรุกไล่ ล้มตายทั้งกองทัพอีกเช่นกัน การรุกมาเผชิญหน้ากันแล้วยากที่จะนำยุทธวิธีอื่นๆหลอกล่อทัพพม่าที่เคยใช้มาก่อน มาใช้ได้อีก ซึ่งอังวะคงไม่หลงกลศึกง่ายๆ ส่วนพระมหาอุปราชาเห็นทัพอโยธยามีคนเพียงน้อยนิด จึงมิได้เร่งรีบเข้าตะลุมบอนคงโบกธงปรับขบวนทัพให้เสร็จสิ้นครั้งนี้อย่างไรเสียต้องจับตัวพระนเรศได้แน่จึงสั่งทัพหลวงโอบล้อมทางปีกพร้อมไสช้างนำทัพหน้าเตรียมจับตัวพระนเรศ ด้วยพระนเรศวรราชาทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกทุกด้าน  มีทางเดียวที่จะจู่โจมทัพขนาดใหญ่ของพระมหาอุปราชาให้ได้ชัยชนะจึงสั่ง พระยาสีหราชเดโชชัย ตั้งรูปขบวนรบทัพปืนไฟของทหารรับจ้างเป็นหน้ากระดานเตรียมพร้อมรับ
                                                                                     ๑๑๖
ทัพหน้าพระมหาอุปราชแล้วพระองค์และพระเอกาทศรถจึงไสช้าง ออกมาหน้าไพร่พล ครั้งนี้พระองค์จะได้ทรงพระแสงปืนไฟให้ประจักษ์ถึงฤทธานุภาพ ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงช้างนำหน้าเหล่าท้าวพระยาแม่ทัพ และเจ้าเมืองประเทศราช พระองค์จึงไสช้างเคียงคู่พระอนุชาเข้าเผชิญหน้าทัพพม่าอย่างมิเกรงกลัว พระมหาอุปราชาโดยนิสัยย่อมรู้พระองค์ว่ามีความสามารถเหนือพระนเรศวรทั้งพร้อมไพร่พลมากกว่าทัพพระนเรศหลายเท่าตัว การรบครั้งนี้อย่างไรเสียต้องจับพระนเรศได้แน่นอนพระมหาอุปราชชูพระแสงของ้าวให้สัญญาณ เดินหน้าเตรียมตะลุมบอน โดยพลันเสียงพระแสงปืนยาวในพระหัตถ์พระนเรศก็แผดเสียงกึกก้องเป็นสัณญานเข้าปะทะข้าศึกกระสุนนัดเดียวเจาะเข้าพระอุระพระมหาอุปราชหงายหลังสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง(จากบันทึกเหตุการณ์รบครั้งนี้ของพม่าและบันทึกของบาดหลวงชาวยุโรป) เมื่อกองปืนไฟลั่นไกพร้อมกันกองหน้าอังวะล้มระเนระนาด แม่ทัพอังวะเห็นการณ์เสียทีอันรวดเร็วเช่นนั้นจึงสั่งถอยทัพหน้ารายล้อมกันพระศพพระมหาอุปราชออกจากที่รบเหล่าทหารขวัญเสียเรรวน พระนเรศวรพร้อมพระเอกาทศรถจึงไสช้างรุกไล่กองหน้าอังวะร่นถอยไม่เป็นกระบวน จับนายทัพนายกองและไพร่พลอังวะพันธนาการไว้เป็นจำนวนมาก ด้วยกำลังน้อยกว่ามากเกรงถลำเข้ากลางทัพอังวะจะเสียการแม้ทัพอังวะเสียแม่ทัพใหญ่ก็ยังมีพิษสงด้วยมีเจ้าฟ้าเจ้าเมืองประเทศราชอีกหลายทัพจึงหยุดทัพคอยทัพที่ยังตามไม่ทันมาสมทบ ส่วนทัพอังวะนั้นสูญเสียจอมทัพตั้งแต่ยังมิทันรบ พ่ายแพ้เร่งถอยทัพกลับอังวะทันที  ครานี้อังวะเสียพระมหาอุปราชองค์รัชทายาทด้วยถูกกระสุนปืนของสมเด็จพระนเรศวรราชา
การศึกครั้งนี้  นายกองทำหน้าที่ คุมไพร่พล ตามเสด็จไม่ทันถึง ๖ กอง การคุมพลไม่ได้ตามรับสั่ง ดังนั้นเมื่อทัพอโยธยากลับถึงพระนคร สมเด็จพระนเรศวรราชา โปรดให้เรียก    พระยาพิชัยสงคราม พระยารามกำแหง เจ้าพระยาจักรี พระยาพระคลัง และพระยาศรีไสยณรงค์ เข้าเฝ้า เพื่อพิจารณาโทษ การขาดทัพ โดยเสนาอำมาตย์คณะลูกขุนพิจารณาให้ประหารชีวิตขุนนาง ทั้ง ๖ คนร้อนถึงพระสังฆราช ต้องมาขอให้พระองค์ยกเว้นโทษตายกับแม่ทัพทั้ง๖ แต่เมื่อผิดกฎอัยการศึกจึงต้องรับโทษแต่เพื่อไถ่โทษและประกอบคุณความดีในการทัพจึงให้แม่ทัพทั้ง๖นำทัพ ขยายเขตพระราชอำนาจไปยังเมืองตะนาวศรีและเมืองทวาย เมืองทวายอยู่ต่อแดนมอญ ข้างเหนือเมืองตะนาวศรี พลเมืองเป็นชาวทวายชาติหนึ่งต่างหาก  ขึ้นต่อกรุงศรีอโยธยาเหมือนอย่างประเทศราช  เมืองตะนาวศรีอยู่ใต้เมืองทวายมาต่อกับเมืองชุมพร  พลเมืองมีทั้งพวกเม็งและไท ส่วนเมืองมะริดอันเป็นเมืองประเทศราชอโยธยา  ตั้งอยู่ที่ปากน้ำเมือง ตะนาวศรี  มีเรือกำปั่นแขกฝรั่งมาค้าขายที่เมืองนี้  และมีทางขนสินค้ามากรุงศรีอโยธยาได้สะดวก  เมืองมะริดจึงกลายเป็นเมืองท่าของอาณาจักรอโยธยาทางอ่าวบังกล่า  ซึ่งเรียกว่าทะเลตะวันตก  ทางกรุงศรีอโยธยาจึงตั้งข้าราชการในกรุง  ออกไปเป็นเจ้าเมืองตะนาวศรีอย่างหัวเมืองทั้งปวง เมื่ออังวะชิงเอาเมืองทวายกับตะนาวศรีไปได้จึงต้องชิงกลับคืนมา  เพื่อเป็นเมืองท่าและเป็นฐานส่งกำลังบำรุง และเกณฑ์ไพร่พลไปตีหงสาวดีในภายหน้าดังนั้นพระองค์ จึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรี พระยาเทพอรชุน  พระยา
                                                                                     ๑๑๗
ศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพคุมพลห้าหมื่นไปตีตะนาวศรี ส่วนพระยาพระคลัง   พระยาพิชัยสงคราม  พระยารามคำแหงคุมกำลังพลหนึ่งหมื่นไปตีทะวาย เมื่อทัพอังวะเคลื่อนพลกลับมาถึงพระนครแล้วพระเจ้านันทจอเดงเสียพระมหาอุปราชาพระโอรสก็โทมนัสยิ่งนัก ทรงลงอาญาขังแม่ทัพไว้นานหลายเพลาแล้ว ตรึกตรองถึงการทัพในวันข้างหน้าว่า เมื่ออโยธยาชนะศึกพม่ามาหลายครั้ง ครั้งนี้ยังสังหารราชโอรส องค์รัชทายาทของพระองค์วันหน้าคงได้ใจยกมาตีถึงกรุงหงสาวดีเป็นแน่ ดังนั้นอังวะจะต้องรักษาเมืองมอญทวาย และตะนาวศรี ชายแดนอโยธยากับอังวะไว้ให้ได้อย่าให้อโยธยายึดไว้ในอำนาจได้จึงโปรดให้แม่ทัพนายกองที่ต้องอาญาคุมขัง  ไปรักษาเมือง ตะนาวศรีและเมืองทะวายให้ได้  ทัพพระยาจักรี และพระยาคลังยกออกจากกรุงศรีอโยธยาแยกเป็น สองทาง เจ้าพระยาจักรียกทัพไปทางราชบุรีไปถึงเมืองตะนาวศรีก่อน  แล้วล้อมเมืองไว้  ทางตะนาวศรีสู้อยู่ได้ ๑๕วันก็เสียเมืองแก่ทัพอโยธยา  ส่วนกองทัพพระยาพระคลังที่ยกออกจากด่านเจดีย์สามองค์ไปตีเมืองทวาย ได้รบพุ่งกับข้าศึกตรงด่านเชิงเขาบรรทัดครั้งหนึ่ง  ทัพอโยธยาตีข้าศึกแตกพ่ายไป  จากนั้น กองทัพพระยาพระคลังก็ยกไปล้อมเมืองทวาย  ล้อมอยู่ได้ ๒๐ วัน ทางเมืองทวายก็ออกมาเจรจาขอ ยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมา  ของกรุงศรีอโยธยาเหมือนดังแต่ก่อน ฝ่ายพระยาจักรี  เมื่อได้เมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดแล้วไม่สามารถติดต่อทัพพระยาคลังได้  วิตกว่าข้าศึกยกทัพมาตีกระหนาบกองทัพพระยาพระคลัง  จึงให้จับเรือกำปั่นที่มาค้าขายอยู่ที่เมืองมะริด  ได้เรือสลุปของฝรั่ง ลำหนึ่ง  ของแขก ๒ ลำ  และเรือพื้นเมืองอีก ๑๕๐ ลำ  จัดเป็นกองเรือรบ  ให้พระยาเทพอรชุนเป็นนายทัพเรือ  คุมกำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน  ยกไปเมืองทวายทางทะเล  ให้พระยาศรีไสยณรงค์ คุมกำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน  อยู่รักษาเมืองตะนาวศรี  แล้วเจ้าพระยาจักรียกกำลังพล ๓๐,๐๐๐เข้าตั้งกองที่บ้านบ่อในแดนเมืองทวาย  ก็ปะทะกับกำลังทางเรือ๒,๐๐๐ ลำ  กำลังพลประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน   ของสมิงอุบากองและ สมิงพะตะบะ ซึ่งพระเจ้านันทบุเรงให้ลงมาช่วยรักษาเมืองตะนาวศรี  เข้ารบพุ่งกันทางทะเล ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง ยังไม่แพ้ชนะกัน ถึงเวลาบ่ายลมตั้งคลื่นใหญ่ จึงต้องทอดสมอเรือรอกันอยู่ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายพระยาพระคลัง เมื่อได้ตีเมืองทวายแล้ว  ก็เป็นห่วงทางเจ้าพระยาจักรี  เนื่องจากไม่ได้ข่าวว่าตีเมืองตะนาวศรีได้แล้วหรือไม่  จึงให้จัดกำลังทางเรือ  มีจำนวนเรือ ๑๐๐ ลำ  กับกำลังพล ๕,๐๐๐ คนให้พระยาพิชัยสงคราม  พระยาราม คุมกำลังไปช่วยเจ้าพระยาจักรีที่เมืองตะนาวศรี  พอกองทัพยกออกจากเมืองทวาย  ก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นทางทิศใต้  จึงให้ขุนโจมจตุรงค์ คุมเรือลาดตะเวณลงไปสืบ  ได้ความว่า กองกำลังทางเรือของอโยธยายกขึ้นมาจากทางตะนาวศรี  กำลังต่อสู้อยู่กับกองกำลังทางเรือของมอญอังวะ  ฝ่ายอโยธยาจึงยกกองทัพเข้าตีกระหนาบลงไปจากทางเหนือ  กองทัพอโยธยายิงปืนถูก สมิงอุบากองนายทัพอังวะตาย และยิงเรือสมิงพระตะบะ  และเรือข้าศึกจมอีกหลายลำ  กองกำลังทางเรือของอังวะก็แตก  ทัพอโยธยาจับเป็นเชลยได้ประมาณ ๕๐๐ คน  ได้เรือและเครื่องศัตราวุธเป็นจำนวนมาก  ทัพอโยธยาได้ทราบความจากพวกเชลยว่า  ยังมีกองทัพอังวะยกมาทางบก จากเมืองเมาะตะมะจะลงมาช่วยเมืองทวายเจ้าพระยาจักรีกับพระยาพระคลัง  จึงจัดกำลังทางบกขึ้นไปทางแม่น้ำทวายเป็นสองทาง  โดยที่กองทัพ
                                                                                             ๑๑๘
เจ้าพระยาจักรี ยกขึ้นไปทางฝั่งตะวันออก  กองทัพพระยาพระคลังยกไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ  ไปดักซุ่มอยู่สองฟากทางที่กองทัพข้าศึกจะยกลงมา  กองทัพพม่ามีเจ้าเมืองมะง่วนเป็นนายทัพ  ยกลงมาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำทางหนึ่ง  ตรงมาทางเมืองมะลิอ่อง หมายที่จะเข้าเมืองทวายทางตำบลเสือข้าม  โดยที่ไม่รู้ว่า อโยธยาตีได้เมืองทวายและเมืองตะนาวศรีแล้ว  ส่วนเจ้าเมืองกลิตองปุ ก็คุมกองทัพ มาทางชายทะเลด้านตะวันตก  มาถึงป่าเหนือบ้านหวุ่นโพะ  ฝ่ายอโยธยาเห็นฝ่ายอังวะ  ยกกำลังถลำเข้ามาในบริเวณที่ซุ่มอยู่  ก็ออกระดมโจมตีทั้งสองกองทัพ  ฝ่ายอังวะไม่ทันรู้ตัวก็แตกพ่าย  เสียช้างม้าผู้คนและเครื่องศัตราวุธให้แก่ฝ่ายอโยธยาเป็นอันมาก  จับได้นายทัพนายกอง ๑๑ คน  ไพร่พล ๔๐๐ คนเศษ  เมื่อยึดได้ทั้งมะริด ทวายและตะนาวศรีแล้วจึงส่งสารถึงสมเด็จพระนเรศวร  พระองค์ก็โปรดให้พระยาศรีไสยณรงค์ อยู่รักษาเมืองตะนาวศรีต่อไป  ส่วนเมืองทวายอ่อนน้อม ก็ให้เจ้าเมืองกรมการ  เข้ามาเฝ้าถือน้ำพิพัฒน์สัตยา แล้วโปรดให้กลับไปรักษาเมืองตามเดิม  แล้วรับสั่งให้กองทัพกลับพระนคร เพลานั้น ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๓๖ เบาพระทัยจากทัพอังวะที่อ่อนกำลังลงทั้งเสบียง ศาตราอาวุธ และไพร่พลจากทำศึกพ่ายแพ้กรุงศรีอโยธยาหลายครั้งติดต่อ แต่กัมพุชประเทศคอยลอบโจมตีอโยธยาบ่อยครั้งดังนั้น พอเสร็จศึกสำคัญหมดแล้ว   ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๓๖ หลังจากไพร่พลถึงพระนคร พระองค์จึงเสด็จยกทัพไปตีกัมพูชาโดยจัดกำลังเป็นทัพเรือและทัพบก  ให้พระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพ ยกไปตีทางเมืองจำปาสักทัพหนึ่ง  ให้พระยาราชวังสัน เป็นแม่ทัพเรือ ยกไปตีเมืองบันทายมาศอีกทัพหนึ่ง  ให้พระยานครราชสีมา  คุมพลหัวเมืองตะวันออก  ไปตีเมืองเสียมราฐ และฝั่งตะวันออก
ของทะเลสาบเขมรอีกทัพหนึ่ง  ส่วนกองทัพหลวง  ให้พระราชมนูคุมกองทัพหน้า  สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ  เสด็จยกทัพหลวงไปตีเมืองพระตะบอง  ทางด้านฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ  นัดหมายให้ไปถึงเมืองละแวก อันเป็นนครหลวงของกัมพูชา พร้อมกันทุกกองทัพ  ในการนี้ ให้เกณท์ผู้คนในเมืองนครนายก  เมืองปราจีณบุรีอันอยู่บนเส้นทางเดินทัพไปเขมร เข้าร่วมกองทัพด้วย  ตีได้ เมืองพระตะบอง และจับตัวพระยามโนไมตรีจิตเจ้าเมือง ได้  จากนั้นก็เข้าตีเมืองละแวกได้ เมื่อต้น ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๑๓๗ จับนักพระเจ้าสัตถากษัตริย์กรุงกัมพูชาได้  ให้ประหารชีวิตนักพระสัตถาเสีย แล้วกวาดต้อนครอบครัวเขมร มาเป็นเชลยเป็นอันมาก  พระองค์ได้ให้กองทัพพระมหามนตรีอยู่ปกครองเขมร คอยการโปรดเกล้าสถาปนากษัตริย์กัมพูชาแล้วให้นำพระเจ้าศรีสุธรรมมาธิราช อนุชาของนักพระสัตถา  มายังกรุงศรีอโยธยา  ถือน้ำพิพัตย์สัตยาแล้วจึง ให้กลับไปครองกรุงกัมพูชา  เป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอโยธยานับแต่นั้นมา (จะเห็นได้ว่าประเพณีการทหารการสงคราม การแข็งเมือง การปกครองประเทศราช ยุคสมัยนั้นเป็นเช่นเดียวกันทุกอาณาจักรในอุษาอาคเนย์ทั้ง อังวะ อโยธยา กัมพูชา ล้านช้าง ล้านนา มอญ) เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว  ได้มีพระราชดำรัสสั่งให้ตั้งหัวเมืองเหนือ ที่ได้ทิ้งให้ร้างตั้งแต่ตัดไมตรีกับอังวะทำสงครามกันอยู่ถึง ๘ ปีนั้น ให้กลับมีเจ้าเมืองกรมการปกครองดังแต่ก่อน ทรงตั้งให้ข้าราชการที่มีบำเหน็จความชอบ ให้ไปเป็นผู้ปกครอง โปรดเกล้าให้
                                                                                      ๑๑๙
พระยาชัยบูรณ์ (ไชยบุรี) ข้าหลวงเดิม ที่ได้ทรงใช้สอยทำศึกมาแต่แรกเลื่อนขึ้นเป็นพระยาสุรสีห์  ครองเมืองพิษณุโลก  พระยาศรีเสาวราช ไปครองเมืองสุโขทัย  พระองค์ทองไปครองเมืองพิชัย  หลวงจ่าแสนไปครองเมืองสรรคโลก อโยธยาได้ทั้งเมืองตะนาวศรีและทวายเป็นประเทศราชแล้วยังมีเมืองมอญอื่นทั้งที่เป็นเมืองอิสระ เป็นประเทศราชพม่าถวายบรรณาการเป็นขอบขัณฑสีมา ซึ่งช้าหรือเร็วอาณาจักรพม่าย่อมต้องรวบรวมเมืองน้อยใหญ่เข้าไว้ในพระราชอำนาจ ด้วยเป็นเมืองท่าสำคัญที่ติดต่อค้าขายกับฝรั่งแขกเปอร์เซียแขกมัวร์และอินเดีย
ในปี พ.ศ. ๒๑๓๗ พระยาละวะ เจ้าเมืองเมาะตะมะ เกิดเหตุหมางใจกับเจ้าพระยาพะโรเจ้าเมืองเมาะลำเลิง พระยาพะโรกลัวพระยาละวะ จะมาตีเมาะลำเลิงจึงให้ขุนนางคนสนิทถือหนังสือมาขอ บารมีสมเด็จพระนเรศวรเป็นที่พึ่ง สวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของอโยธยา และขอพระราชทานกองทัพไปช่วยป้องกันเมือง สมเด็จพระนเรศวรราชาจึงยอมรับช่วยเหลือพระยาพะโรทันที มีดำรัส สั่งให้พระยาศรีไศลออกไปช่วยรักษาเมืองเมาะลำเลิงฝ่ายข้างพระยาละวะเจ้าเมืองเมาะตะมะ ประเทศราชกับอังวะจึงขอกำลังจากพระนครมาช่วย กรุงหงสาวดีจึงให้พระเจ้าตองอูยกทัพมาช่วยเมาะตะมะ เกิดการสู้รบกัน ฝ่ายพระเจ้าตองอูรบแพ้พระยาศรีไศล ต้องทิ้งเมืองเมาะตะมะถอยทัพกลับไป เจ้าเมืองเมาะตะมะจึงยอมให้อโยธยาปกครอง นับแต่นั้น เมืองมอญทั้งปวงด้านใต้ของกรุงหงสาวดี จึงตกเป็นประเทศราชของอโยธยา(ทำให้มีการเกณฑ์ไพร่มอญเข้าทัพกรุงศรีอยุธยาและอพยบเคลื่อยย้ายไปมาระหว่างเมืองมอญและกรุงศรีอยุธยารวมทั้งได้ลงหลักปักฐานในเมืองบริวารต่างๆโดยรอบ มอญจึงเป็นส่วนหนึ่งของประชากรกรุงศรีอยุธยา) ความพร้อมของอโยธยาที่จะเข้าโจมตีกรุงหงสาวดี จึงมีมากขึ้น โดยจะได้กำลังและการส่งกำลังบำรุงข้าวปลาอาหารจากเมืองมอญรวมถึงไพร่พลที่จะเกณฑ์เข้าทัพอโยธยาและใช้เมืองมอญเป็นด่านหน้าหากอังวะทำสงครามกับกรุงศรีอโยธยา
ล้านนานั้นอังวะถือเป็นขอบขัณฑสีมา(เป็นอาณาเขต)มีเจ้ามังนรธาช่ออนุชาของพระเจ้านันทบุเรง ปกครองเป็นเจ้าเมือง และล้านนายังยกทัพเข้ายึดได้ล้านช้างเป็นประเทศราช หลังทำสงครามกับกรุงศรีอโยธยาทัพเชียงใหม่ต้องถอยกลับเพราะทัพหลวงของอังวะเสียทีอโยธยาพระมหาอุราชาถูกปืนสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง แพ้สงครามต่อกรุงศรีอโยธยา บรรดาเมืองประเทศราชของหงสาวดีต่างๆจึงเกรงอำนาจทัพกรุงศรีอโยธยาหมดสิ้น ดังเช่นเมืองศรีสัตนาคนหุต ขณะนั้นพระหน่อแก้ว  เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตอาณาจักรล้านช้าง  ร่วมกับเจ้าพระยาน่านซึ่งขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ แข็งเมืองต่อเชียงใหม่  บรรดาชาวลาวล้านช้างซึ่งถูกกวาดต้อนจากการสงครามมาไว้ล้านนา  พอรู้ว่าพระหน่อแก้วปกครองเมืองโดยไม่ขึ้นกับเชียงใหม่ก็ดีใจ  พากันอพยพครอบครัวจะกลับไปเมืองล้านช้าง  แต่ด้วยเคยอยู่ใต้บังคับของเชียงใหม่จึงยังเกรง และเส้นทางกลับต้องผ่านเขตเมืองเชียงใหม่  พระเจ้าเชียงใหม่มังนรธาช่อ ก็คอยตั้งกองทหารคอยขัดขวาง พระหน่อแก้วจึงเตรียมกองทัพ มารับครัวล้านช้างไปจากเมืองเชียงใหม่  พระเจ้าเชียงใหม่มังนรธาช่อ ทราบเรื่องร้อนใจยิ่งเพราะจะอาศัยทัพกรุงหงสาวดีมาช่วยสู้รบก็อ่อนเปลี้ยจากการรบกับกรุงศรีอโยธยาไม่มีทางจัดทัพมาช่วยได้ ด้วยตนเป็นพม่าเข้ามาปกครองชาวล้านนามี
                                                                                              ๑๒๐
เพียงเสนาอำมาตย์ไม่กี่คน เหล่าทหารแม่ทัพนายกองล้วนเป็นชาวล้านนา  เมื่อพม่าทำสงครามแพ้อโยธยา ราษฎรก็จะไม่กลัวเกรงพระองค์อีกต่อไป  ถ้ากองทัพกรุงศรีอโยธยาหรือกรุงศรีสัตนาคนหุตยกมาตีเชียงใหม่ ก็ เกรงว่าราษฎรจะไปเข้ากับฝ่ายอโยธยา ทำจลาจลจับตัวพระองค์เป็นแน่  เมื่อเห็นเช่นนั้น ต้องสวามิภักดิ์กับอโยธยาจึงจะรักษาตัวอยู่ได้  พระเจ้ามังนรธาช่อ จึงส่งทูตเชิญราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการมายังกรุงศรีอโยธยา  ขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ต่อสมเด็จพระนเรศวรราชา  และขอพระราชทานกองทัพขึ้นไปช่วยคุ้มกันเมืองเชียงใหม่จากล้านช้าง  แต่นั้นมาอโยธยาจึงได้เชียงใหม่เข้าเป็นประเทศราชโดยมิต้องทำการรบให้เสียเลือดเนื้อ
สมเด็จพระนเรศวรราชาจึงโปรดให้เจ้าพระยาสุรสีห์  เจ้าเมืองพิษณุโลก  คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นไปรักษาเมืองเชียงใหม่ มิให้ทางล้านช้างมารุกรานเมืองเชียงใหม่  แล้วจึงให้พาตัวพระยารามเดโช  ซึ่งเดิมเป็นท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่  แต่หนีภัยพระเจ้ามังนราช่อมาพึ่งสมเด็จพระนเรศวรราชาที่กรุงศรีอโยธยา นำทัพขึ้นไปช่วยพระเจ้าเชียงใหม่รักษาบ้านเมืองด้วย เจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปถึงเมืองเชียงแสน  จึงเข้าตั้งกองป้องกันมิให้ทัพกรุงศรีสัตนาคนหุต  ซึ่งยกกำลังมาตั้งที่เมืองเชียงแสนมิให้เคลื่อนกำลังเข้าโจมตีเชียงใหม่ได้ แลแจ้งข่าวกับทัพล้านช้างว่า พระเจ้าเชียงใหม่ได้ยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอโยธยาแล้ว  เจ้าหน่อแก้วเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ได้ทราบเรื่อง ก็เกรงพระบรมเดชานุภาพสมเด็จพระนเรศวรราชา จึง ถอยทัพกลับไป  ส่วนเมืองน่านและเมืองฝาง ยังไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าเชียงใหม่  เจ้าพระยาสุรสีห์จึงให้พระยารามเดโช  เข้ารับราชการเป็นข้าหลวงประจำอยู่ที่เมืองเชียงแสน ด้วยเป็นชาวล้านนาจึงสามารถพูดจาให้เจ้าน่านเจ้าฝางยอมรับอำนาจของอโยธยาโดยผ่านเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ อีกทั้งต้องทำหน้าที่เป็นเมืองกองรักษาด่านคอยสืบข่าวทัพล้านช้างหากเคลื่อนพลเข้าตีล้านนาเมืองในอาณาจักรอโยธยา
หลังจากมีฐานส่งกำลังบำรุงและไพร่พลที่เกณฑ์เข้าทัพอโยธยาเพิ่มจากเมืองมอญ ในวันอาทิตย์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะแม พ.ศ. ๒๑๓๘ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกกองทัพไปตีเมืองหงสาวดี ออกจากพระนครด้วยกำลังพล ๑๒๐,๐๐๐ คน เดินทัพไปถึงเมืองเมาะตะมะ แล้วรวบรวมกองทัพมอญเข้ามาสมทบ จากนั้น ได้เสด็จยกกองทัพหลวงไปยังเมืองหงสาวดี เข้าล้อมเมืองไว้ ทัพอโยธยาล้อมเมืองหงสาวดีอยู่ ๓ เดือน และได้เข้าโจมตี เมื่อวันจันทร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ ครั้งหนึ่ง ทหารหงสาวดีป้องกันเมืองเป็นสามารถ ไม่สามารถหักเข้าเมืองได้ พระเจ้าหงสาวดีสั่งระดมหัวเมืองประเทศราช เมืองแปร อังวะ ตองอู ให้ยกกองทัพลงมาช่วย รวมกำลังตั้งรับมากกว่ากำลังเข้าตีหลายแสนคน และคาดการณ์ว่าเมื่อทัพหนุนลงมาถึงคงเข้าตีผ่านกำลังตั้งรับของหงสาวดีและมีเมืองใดเมืองหนึ่งเป็นกองขนาบ ทัพอโยธยาคงเสียทีเป็นแน่ แพราะข้าศึกมีกำลังมากนัก จึงทรงให้ร่นถอยทัพกลับก่อนที่ทัพหนุนของหงสาวดีจะเดินทางมาถึง จึงได้กวาดต้อนครอบครัวในหัวเมืองหงสาวดี และคนอโยธยาที่พม่ากวาดต้อนไปเมื่อครั้งศึกคราวก่อนๆที่เมืองพะโค นำกลับ มาเป็นเชลยจำนวนมากเพื่อบั่นทอนกำลังของหงสาวดี
                                                                                  ๑๒๑
ในการศึกที่ต้องต่อสู้กันในวันหน้า มารวบรวมพลเอาไว้จัดเป็นขบวน คาราวานโดยใช้เกวียนบรรทุกข้าวของและให้แม่ทัพนายกองแยกจากขบวนทัพควบคุมเชลย นำขบวนเดินทางล่วงหน้าในหลายเพลาก่อนที่ขบวนทัพจะเริ่มร่นถอยปิดท้าย กลับอโยธยา กรุงศรีอโยธยาอยู่ช่วงพักรบบำรุงกองทัพให้เข้มแข็งรอทำสงครามใหญ่ตามพระราชดำริจากองค์เหนือหัวที่จะบัญชาลงมา ๔ ปีถัดมา พ.ศ.๒๑๔๒ สมเด็จพระนเรศวร ตระหนักถึงจำนวนไพร่พลของทัพอังวะที่มีจำนวนมากกว่าอโยธยาหลายเท่า หากอโยธยาหวังจะอยู่โดยความสงบ สันติ คงยาก ด้วยอังวะ มีเมืองประเทศราชใหญ่ เทียบเท่าอโยธยาถึง ๔ เมืองคือกรุงหงสาวดี เมืองแปร เมืองตองอู และเมืองอังวะ หากระดมพลทำสงครามกับอโยธยาสามารถระดมพลยกทัพได้ถึง ๕๐๐,๐๐๐คนหากกรุงศรีอโยธยาไม่คิดรุกรานคอยตั้งรับอยู่ในพระนครคงเสียทีตกเป็นประเทศราชอังวะอีกครั้งเป็นแน่ พระนเรศวรวรราชาจึงดำหริจะทำการรบต่างแดนหากป้องกันไม่ให้หงสาวดียกทัพมาตีกรุงศรีอโยธยา ต้องทำให้หงสาวดีไม่มีความสงบที่จะบำรุงกองทัพ รวบรวมกำลังพลและเสบียงและ ฝึกปรือไพร่พล ให้แข็งแรงแล้วลงมาตีอโยธยา ดังนั้น ต้องเป็นพระองค์จะเป็นผู้กำหนดสงครามขึ้นกับหงสาวดีเสียเอง ก่อนที่หงสาวดีจะกำหนดทำสงครามกับอโยธยาดังนั้น จึงต้องรบด้วยวิธีรุกเข้าโจมตีอาณาจักรพม่าตามแบบอย่างที่พระองค์ฝึกฝนมาแต่ครั้งเป็นตัวประกันในแผ่นดินพระเจ้าบุเรงนอง พระองค์จึง  หมายจะตีเอาเมืองหงสาวดีให้ได้ จึงตระเตรียมทัพยกไปทั้งทางบกและทางเรือจึงโปรด ให้เจ้าพระยาจักรี คุมกองทัพเป็นกองเกียกกาย(เสบียง) มีกำลังพล ๑๕,๐๐๐ คน  ยกออกไปเมื่อต้นปีกุน พ.ศ. ๒๑๔๒  ไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองเมาะลำเลิง  เกณฑ์ผู้คนมาทำนาในปีฤดูฝนปีนั้น เพื่อเตรียมเสบียงอาหารไว้สำหรับกองทัพหลวง  และได้เกณฑ์กองทัพเมืองทวาย มีกำลังพล ๕,๐๐๐ คน  ให้ไปตั้งอู่ต่อเรือสำหรับกองทัพ ที่เกาะพะรอก  แขวงเมืองวังราว ครั้งนั้น
หัวเมืองขึ้นของเมืองหงสาวดี  ทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรราชาจะเสด็จไปตีเมืองหงสาวดี  ก็พากันมาอ่อนน้อมหลายเมือง สามารถเกณฑ์ไพร่พลเข้าทัพได้มากอยู่ ที่สำคัญได้เมืองเชียงใหม่ ยอมรับราชอำนาจอโยธยา เมื่อครั้งหงสาวดีเกณฑ์ไพร่พลจากเชียงใหม่มาหนุนเข้าตีอโยธยาหงสาวดีได้ไพร่ของพลเชียงใหม่เข้าทัพถึง แสนคน ดังนั้นในครั้งนี้เชียงใหม่จึงเป็นทั้งทัพหนุนและฐานส่งกำลังบำรุงด้านเหนือให้กรุงศรีอโยธยาทำสงครามกับหงสาวดี ส่วนเมืองยะไข่ (ละเคิง) กับเมืองตองอู  ซึ่งได้ตั้งแข็งเมืองอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสองเมืองนี้ ให้ทูตถือหนังสือมาถวายสมเด็จพระนเรศวร ที่กรุงศรีอยุธยาขออ่อนน้อมแต่ยังไม่แสดงว่ายอมเป็นประเทศราชโดยแจ้งประสงค์ว่าถ้าเสด็จไปตีเมืองหงสาวดีเมื่อใด  ก็จะยกกองทัพลงมาช่วย  ดังนั้นจึงตีความเอาได้ว่าจะตั้งตนเป็นใหญ่แทนหงสาวดี แต่ขอเป็นพันธมิตรกับอโยธยา ซึ่งเป็นการดีที่เอาใจออกห่างจากกรุงหงสาวดีเท่ากับว่ากำลังของหงสาวดีส่วนนี้สูญเสียไปเป็นแสนคน การดำเนินการทางการทูตของทั้งสองเมืองนี้ทำเป็นการลับโดยหงสาวดีไม่ทราบเรื่อง เมื่อเมืองทั้งสองมาอ่อนน้อมต่ออโยธยา นอกจากจะเป็นการปลอดภัยจากทัพอโยธยาแล้ว
                                                                                     ๑๒๒
เจ้ายะไข่ยังหวังว่าเมื่ออโยธยาได้หงสาวดีแล้ว พระเจ้ายะไข่อยากได้หัวเมืองขึ้นของหงสาวดี ที่ที่อยู่ชายทะเลต่อจากเมืองยะไข่ไปทั้งหมด มาเป็นเมืองขึ้นของยะไข่สร้างอาณาจักรยะไข่ให้กว้างใหญ่  ด้วยหวังว่าสมเด็จพระนเรศวรราชา จะยกหัวเมืองดังกล่าวให้เป็นบำเหน็จ  เมื่อทูตยะไข่กลับจากกรุงศรีอโยธยา  พระเจ้ายะไข่ทราบว่า สมเด็จพระนเรศวรราชารับเป็นไมตรีแล้ว  ก็ให้ยกกองกำลังทางเรือยกมายึดเมืองสิเรียม ซึ่งตั้งอยู่ที่ปากน้ำหงสาวดีไว้ได้  และรอกองทัพอโยธยา ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑พ.ศ. ๒๑๔๒   สมเด็จพระนเรศวรพร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ  เสด็จยกไพร่พล ๑๐๐,๐๐๐ คน เป็นทัพหลวง ออกจากกรุงศรีอยุธยา เดินทัพออกด่านเจดีย์สามองค์  ในส่วน ของพระเจ้าตองอูต้องการจะครอบครองเมืองหงสาวดี  หากได้เป็นพระเจ้าหงสาวดี โดยที่มีกำลังฝ่ายอโยธยาสนับสนุนอยู่  ก็จะได้เป็นใหญ่ในเมืองพม่า เวลานั้นมีพระราชาคณะรูปหนึ่ง  ชื่อพระมหาเถรเสียมเพรียม  เมื่อทราบว่าพระเจ้าตองอู  มาอ่อนน้อมต่ออโยธยา เห็นจะไม่สำเร็จในการได้หงสาวดีเพราะทั้งสองอาณาจักรต่างมีความใหญ่ทัดเทียมกันหากอโยธยาได้หงสาวดีคงส่งอุปราชามาครอง ไม่ให้เมืองหงสาวดีกลับเป็นอิสระคงเป็นเพียงประเทศราชขึ้นกรุงศรีอโยธยา  เหมือนอย่างที่เมืองตองอูขึ้นพระเจ้าหงสาวดีอยู่ปัจจุบัน หากพระเจ้าตองอูคิดจะครองหงสาวดี  ไม่ต้องไปเป็นประเทศราชของอโยธยานั้นมีหนทางทำได้อยู่  จึงได้ยุยงพวกมอญ  ที่ถูกอโยธยาเกณฑ์ให้ทำนา แข็งข้อ โดยยุยงมอญว่า เมื่อเสร็จสงครามแล้ว พวกมอญก็จะถูกฝ่ายไทยกวาดต้อนมาไว้ที่กรุงศรีอโยธยา  พวกมอญเหล่านั้นจึงซ่องสุมกัน ก่อการกบฎต่ออโยธยา   นอกจากยุยงมอญให้แข็งข้อแล้ว  แต่งทูตไปยังกองทัพเมืองยะไข่  ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองสิเรียม  ชักชวนพระเจ้ายะไข่  ให้ยกทัพไปประชิดเมืองหงสาวดีทำทีเข้าตี  ส่วนพระเจ้าตองอูจะยกกองทัพไป ช่วยพระเจ้าหงสาวดี  เมื่อเข้าเมืองหงสาวดีกุมตัวพระเจ้าหงสาวดีได้แล้ว หัวเมืองทางชายทะเลทั้งหมดให้ยะไข่  พระเจ้ายะไข่ จึงตกลงด้วย  เมื่อทัพอโยธยาถึงเมืองเมาะตะมะ ต้องหยุดหน่วยเข้าที่รวมพล พระนเรศวรราชาโปรดให้จัดเป็นกอง เข้าปราบปรามพวกมอญกบฎอยู่เกือบสามเดือน จึงปราบลงได้  ส่วนพระเจ้ายะไข่จัดทัพไปตีเมืองหงสาวดี เมื่อเดือน ๑๒ ปีกุนพ.ศ.๒๑๔๒  แต่แล้วแผนการที่วางไว้ไม่สำเร็จ  พระเจ้าหงสาวดีระแวง ไม่ไว้ใจพระเจ้าตองอู  จึงจัดทัพยันทัพยะไข่ไว้และไม่ยอมให้กองทัพเมืองตองอูเข้าเมืองได้  กองทัพเมืองตองอูและกองทัพเมืองยะไข่  จึงต้องล้อมเมืองหงสาวดีไว้  เมื่อเมืองหงสาวดีถูกล้อมอยู่นานเข้า  เกิดขาดแคลนเสบียงอาหาร  ทั้งผู้คนทั้งขุนนางอดอยากก็พากันหลบหนี ไปเข้าข้างพระเจ้าตองอูมากขึ้น  และในที่สุดพระมหาอุปราชา ก็ไปเข้ากับพระเจ้าตองอู  เมื่อได้ข่าวว่ากองทัพสมเด็จพระนเรศวร ยกไปถึงเมืองเมาะตะมะแล้วถ้าไม่ยอมตองอูชนชาติเดียวกันเห็นทีจะต้องรบทั้งตองอูทั้งยะไข่และอโยธยา ดังนั้น  พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง จึงยอมให้กองทัพพระเจ้าตองอูเข้าไปในพระนครโดยไม่รบพุ่งกัน  แล้วมอบ ให้พระเจ้าตองอูบังคับบัญชาทัพสู้อโยธยาแทนพระองค์เป็นการถูกรัฐประหารอย่างเงียบๆ พระเจ้าตองอูนั้นไม่ประสงค์ใช้หงสาวดีเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร แต่ประสงค์ให้ตองอูของพระองค์เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเพราะมีชัยภูมิที่ดีกว่าจากนั้นจึงทูลขอธิดาองค์หนึ่งของพระเจ้านันทบุเรง กับ
                                                                                         ๑๒๓
ช้างเผือกเชือกหนึ่ง ไปถวายพระเจ้ายะไข่  เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างหงสาวดีกับยะไข่ให้แนบแน่น แล้วขอหย่าศึกตามที่ได้ตกลงกันมา และขอให้กองทัพพระเจ้ายะไข่  คอยตั้งรับกองทัพสมเด็จพระนเรศวรราชา  พระเจ้ายะไข่ยินดียิ่งนัก  จากนั้น พระเจ้าตองอูรับแจ้งข่าวจากกองตะเวน พระเจ้าตองอูก็ทูลพระเจ้าหงสาวดีว่า  กองทัพสมเด็จพระนเรศวรที่ยกมาครั้งนี้ มีกำลังมากนัก  จะต่อสู้อยู่ที่เมืองหงสาวดี คงรับไว้ไม่ไหว  ให้เชิญเสด็จไปเมืองตองอู  เพื่อตั้งรับต่อสู้ข้าศึกที่นั่น  แล้วพระเจ้าตองอูก็ทะยอยส่งผู้คน และทรัพย์สมบัติส่งไปเมืองตองอู  โดยส่งพระมหาอุปราชาควบคุมขบวนอพยพไปตองอู  เมื่อไปถึงไม่นานนัดจินหน่อง  ราชบุตรพระเจ้าตองอู ก็ลอบเข้าปลงพระชนม์พระมหาอุปราชาเสีย  แล้วปกปิดไม่ให้ความทราบถึงพระเจ้านันทบุเรง ขณะที่เมืองหงสาวดีพระเจ้าตองอูจึงพาพระเจ้าหงสาวดีออกจากพระนคร เมื่อวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน๔พ.ศ.๒๑๔๓ พร้อม ชาวเมืองทั้งหมดทั้งสิ้นช้างม้าวัวควาย ก็อพยพมุ่งไปเมืองตองอู  ทิ้งกรุงหงสาวดีไว้ให้พระเจ้ายะไข่คอยรักษาเมืองตั้งรับทัพอโยธยา  พวกยะไข่จึงเก็บทรัพย์สมบัติ แล้วเผา ปราสาทราชวัง  วัดวาอาราม  จนไฟไหม้ลุกลามไปทั้งเมือง(ไม่ต้องการให้ทัพอโยธยาใช้เมืองเป็นที่ตั้งทัพ คล้ายการเสียกรุงศรีอโยธยาครั้งที่ ๒พ.ศ.๒๓๑๐)  แล้วพากันถอยทัพออกจากพระนครไปรอทัพอโยธยา อยู่ที่เมืองสิเรียม  ได้เตรียมกำลังพลไว้ ๕,๐๐๐ คน  เมื่อพระนเรศวรราชาได้รับแจ้งว่า กองทัพเมืองยะไข่กับกองทัพเมืองตองอู เข้ากับหงสาวดีแล้ว  ก็เสด็จยกทัพหลวงจากเมืองเมาะตะมะ  เมื่อเดือนสาม ปีกุนเพื่อเข้าตีหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปถึงเมืองหงสาวดี เมื่อวันขึ้น ๑๐ค่ำ เดือน ๔ พ.ศ.๒๑๔๓ หลังจากที่พระเจ้าตองอู พาพระเจ้าหงสาวดีหนีไปได้ ๘ วัน  พระองค์ทอดพระเนตรเห็นเมืองเหลือแต่ซากก็ขัดพระทัยนัก  จึงทรงให้ทัพหลวงตั้งค่ายประทับอยู่ที่สวนหลวงใกล้พระธาตุมุตาว  แล้วแต่งข้าหลวง ถือหนังสือรับสั่งไปยังพระเจ้าตองอู  ถึงเรื่องที่ได้ให้สัญญากันไว้  เมื่อเหตุการณ์มาเป็นเช่นนี้  ถ้าหากว่าพระเจ้าตองอูถือความสัตย์อยู่  ก็ให้มาเฝ้า และพาพระเจ้าหงสาวดีมาถวายตามประเพณี  ถ้าไม่ทำดังนั้น จะยกกองทัพตามไปตีเมืองตองอูให้จงได้  พระเจ้าตองอูได้ทราบรับสั่ง จึงให้มังรัดอ่องเป็นทูต เชิญพระธำมรงค์เพชรสามยอด  อันเป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับพระเจ้าหงสาวดี มาถวายสมเด็จพระนเรศวร  เพื่อถ่วงเวลาทัพอโยธยาให้จัดทัพตองอู หงสาวดี และยะไข่เสร็จสิ้นเสียก่อน เล่ห์กลอุบายนี้สมเด็จพระนเรศวรทรงรู้เท่าทัน พระเจ้าตองอู คิดคดไม่มีสัจจะ  เมื่อสมเด็จพระนเรศวรราชาแคลื่อนทัพถึงเมืองหงสาวดี  พระเจ้ายะไข่จึงให้ขุนนางผู้ใหญ่เป็นทูต เข้าไปเฝ้ากราบทูลชี้แจงว่า  ได้ยกทัพมาช่วยตามที่ได้รับไว้ใน  แต่พระเจ้าตองอูชิงเอาเมืองหงสาวดีได้แล้วอพยพผู้คนและพระเจ้านันทบุเรง ไปที่ตองอู กองทัพยะไข่ไม่รู้ที่จะทำประการใด จึงถอยออกมารอกองทัพไทย สมเด็จพระนเรศวรรู้ข่าวจากกองลาดตระเวนแล้วว่าเจ้ายะไข่เข้ากับตองอู จึงหลบหน้าไม่มาเข้าเฝ้าเอง ด้วยมีกิจหลักที่ต้องนำทัพตามโจมตีเมืองตองอูไม่ต้อง การเสียเวลารบกับยะไข่ จึงมีรับสั่งตอบทูตไปว่า  กองทัพหลวงมีกำลังพลมากพออยู่แล้ว  อย่าให้กองทัพยะไข่ยกมาเลย  สมเด็จพระนเรศวรราชาจัดทัพเร่งติดตามทัพหงสาวดีตองอู จึง โปรดให้กองทัพพระยาจันทบุรี  อยู่รักษาเมืองหงสาวดี  แล้วพระองค์เสด็จยกกองทัพหลวงขึ้นไปเมือง
                                                                                  ๑๒๔
ตองอู เส้นทางที่ไปเป็นทางทุรกันดาร ต้องข้ามเทือกเขาสูง ผ่านป่าดงดิบลุ่มน้ำซิตอง  รกทึบมากนัก พลราบเดินเท้ากองเล็กๆใช้เวลาเดินนานถึง ๑๕ วันหากเป็นทัพใหญ่มีช้างม้า และกองเกียนบรรทุกใช้เวลาหนึ่งเดือนหรือหย่อนเดือนไม่มากนัก ด้วยทัพครั้งนี้ไพร่พลและเสบียงตระเตรียมมาเพื่อรบกับหงสาวดีที่เป็นเมืองในที่ราบลุ่ม แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์รบที่เกิดขึ้นที่หมายในการเข้าตีเปลี่ยนเป็นตองอู ทำให้ทัพอโยธยามีความอ่อนล้ามากขึ้น และสิ่งที่ตามมาหากรบติดพันคือความขาดแคลนเสบียงอาหาร  เมื่อถึงเมืองตองอู  ก็ให้ล้อมเมืองไว้  โปรดให้กองทัพเมืองเชียงใหม่ มีพระยาแสนหลวง  พระยานคร  คุมทัพ กองทัพพระยาศรีสุธรรม  พระยาท้ายน้ำ  หลวงจ่าแสนบดี และ กองทัพหลวงที่พระองค์บัญชาการทั้ง ๓ ทัพตั้งทางด้านใต้   ให้กองทัพพระยาเพชรบูรณ์  พระยาสุพรรณบุรี  กับหลวงมหาอำมาตย์ไปตั้งด้านตะวันออก  ให้กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์ และพระยากำแพงเพชรไปตั้ง ด้านเหนือ   ให้กองทัพพระยานครราชสีมา  พระสิงคบุรี  ขุนอินทรภิบาล  แสนภูมิโลกาเพชร ไปตั้งด้านตะวันตก ให้เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นเสนาธิการทัพทั้งปวง ส่วนพระเจ้านันทบุเรงเมื่อถึงตองอู พระเจ้าตองอูโปรดให้กุมตัวสำเร็จโทษเสียเตรียมปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรอังวะที่ตองอู ข้างฝ่าย พระเจ้าอังวะอะโนเพตะลุน พระนัดดาพระเจ้าบุเรงนองทราบข่าวการสวรรคตของพระเจ้านันทบุเรงจึงสถาปนาเป็นกษตริย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าสีหสุธรรมราชา ตั้งมั่นอยู่อังวะเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรประกาศควบคุมทั้งหงสาวดีทั้งตองอูพระเจ้าตองอูขออย่าได้ขวาง ด้านพระเจ้าตองอูตั้งมั่นอยู่ในเมืองตองอูสะสมเสบียงไว้ตั้งแต่คราวยกกองไปหงสาวดีและเก็บรวบรวมมาจากหงสาวดีพร้อมพระเจ้านันทบุเรงได้เป็นจำนวนมาก ด้วยหวังคราวน้ำหลากทัพอโยธยาตั้งล้อมเมืองในที่ลุ่มจะถูกน้ำท่วมจนต้องถอนทัพและคำนวนเสบียงที่อโยธยาเตรียมมาพอรู้อยู่เพราะเดินทัพไปบุกอโยธยาหลายครั้ง และ ด้วยยะไข่เผาเมืองหงสาวดีไม่มีเสบียงให้อโยธยาเก็บได้เพิ่มคงตั้งทัพได้ไม่เกิน๓เดือน พระนเรศวรราชาจึงรับสั่งให้เร่งโจมตีตองอูให้ได้ ภายใน ๓ เดือนทัพอโยธยาต้องบุกเข้าประชิดกำแพงเมืองเผาทำลายหรือจู่โจมด้วยกองโจรปีนเข้าเปิดประตูซึ่งเป็นภารกิจยากนักเพราะเมืองตองอูมีคูเมืองกว้างและลึกมากล้อมรอบ  สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้ขุดเหมือง  ไขน้ำในคูเมืองให้ไหลออกไปลงแม่น้ำ  ครั้นไขน้ำออกหมดแล้ว ก็ให้กองทัพยกเข้าปล้นเมือง  ฝ่ายเมืองตองอูก็ต่อสู้ป้องกันเมืองเป็นสามารถ  ฝ่ายอโยธยาทุ่มกำลังทุกทิศทางเข้าตีเมืองหลายครั้ง ก็ยังเข้าเมืองไม่ได้  ล้อมเมืองตองอูอยู่สองเดือน  เสบียงอาหารก็ขาดแคลน  เพราะขาดแผนการส่งกำลังบำรุงที่มีเป้าหมายแค่โจมตีหงสาวดีแต่ต้องเปลี่ยนเป้าหมายเป็นตองอูทำให้กองเสบียงส่งกำลังจากหงสาวดีมาเมืองตองอูที่เป็นป่าเขาเป็นระยะทางไกลมากขึ้นใช้เวลายาวนานขึ้น และทุรกันดาร  กองโจรยะไข่ ก็คอยตีตัดการลำเลียง  ในพื้นที่พระเจ้าตองอูสั่งกวาดต้อนผู้คนครัว ต่างๆและข้าวปลาอาหารถูกเก็บเข้าเมืองจนสิ้น เวลานั้นเป็นเดือน ๖ ตองอูฝนตกชุกนักก่อนทัพต่างๆจะล้ามากจนเสียกระบวนซึ่ง ทัพตองอูอาจส่งกองรบออกมาไล่ฆ่าฟันอาจเสียที่แก่ตองอูครานี้คงต้องถอยเมื่อสิ้นหงสาวดีลงแล้วคราต่อไปต้องนำทัพมาตีตองอูให้พร้อมทั้งสรรพกำลังสรรพาวุธ และเสบียง
                                                                                   ๑๒๕
ดังนั้นข่าวการถอนทัพจึงส่งต่อถึงแม่ทัพนายกองจนทั่วก่อนค่ำมืดโดยให้ถอยทัพกลับจากเมืองตองอูเวลาค่ำหลังอาทิตย์อัสดงแล้ว เวลาค่ำคืนแรม ๖ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด พ.ศ. ๒๑๔๓  เมืองตองอูปิดเงียบเวรยามระวังเชิงเทินป้อมปราการไม่ให้กองโจรอโยธยาปีนกำแพงเข้าเมืองได้ เมื่อฝ่ายตั้งรับพักผ่อน พระนเรศวรราชา จึงทรงเลือกเวลามืดค่ำตองอูไม่กล้าส่งกองทัพเปิดประตูเมืองไล่ล่าทัพอโยธยาเมื่อถอยจากเมืองได้สองชั่วยามพ้นเมืองผ่านป่าดวงจันทร์แรม ๖ ค่ำก็ให้แสงพอเห็นทางเดินทัพได้ถึงรุ่งคงมาไกลจากตองอูมากโข ฝ่ายพระเจ้าตองอูทราบจากเวรยามว่าโยธยาถอยทัพก็มีความครั่นคร้ามไม่รู้ว่าเป็นกลศึกใดของอโยธยาไม่กล้าเปิดประตูเมืองยกทัพออกติดตามเพราะกลัวเป็นกลลวง  ทัพอโยธยาจึง ถอยมาได้โดยสะดวก  กองทัพอโยธยากลับมาทางตรอกหม้อ  เมื่อถึงตำบลคับแค  ก็โปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถ  ยกกอง แยกมาทางเมืองเชียงใหม่  เพื่อระงับเหตุวิวาทระหว่างพระเจ้าเชียงใหม่กับพระยารามเดโชนายกองรักษาด่านเชียงแสนที่เคยบาดหมางกับพระเจ้าเชียงใหม่จนต้องหนีไปอโยธยาแต่ครั้งก่อน  ส่วนสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับทางเมืองเมาะตะมะ  ทรงตั้งพระยาทะละ ให้เป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะ  แล้วทรงยกทัพกลับพระนคร      ฝ่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ  เมื่อกองทัพถึงเมืองเถิน  ก็ให้ตั้งทัพอยู่ ณ ที่นั้น  แล้วมีรับสั่งให้พระเจ้ามังนรธาช่อ เจ้าเมืองเชียงใหม่  และเจ้าเมืองใหญ่น้อยในดินแดนล้านนา  เข้าเฝ้าที่เมืองเถิน  เพื่อสอบสวนถึงสาเหตุความบาดหมางและระงับเรื่องวิวาทที่เกิดขึ้นบรรดาเจ้าเมืองใหญ่น้อยในแคว้นลานนา  ต่างพากันมาเฝ้าถวายต้นไม้ทองเงิน และเครื่องราชบรรณาการถึงเมืองเถินทุกเมือง  เว้นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้บุตรคุมเครื่องราชบรรณาการมาแทนพระเอกาทศรถขัดพระทัยยิ่งนัก สอบสวนได้ความว่า มีผู้คนมาเข้ากับพระยารามเดโชที่เชียงแสนเป็นอันมาก  พระยาราม พระยาฝาง  กระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้ามังนรธาช่อ ทำให้อาณาจักรล้านนาแบ่งเป็นสองฝ่าย  ฝ่ายเหนือขึ้นต่อพระยารามเดโชข้าหลวงเมืองเชียงแสน  ฝ่ายใต้ขึ้นต่อพระเจ้าเชียงใหม่  ทราบความแล้วสมเด็จพระเอกาทศรถจึงเสด็จยกทัพขึ้นไปยังเมืองลำพูน  แล้วให้ข้าหลวงเข้าไปบอกพระเจ้ามังนรธาช่อมาเข้าเฝ้า พระเจ้าเชียงใหม่ได้แจ้งกระแสรับสั่งดังนั้น  ก็มีความเกรงกลัว นำพระทุลองราชบุตรและ พระราชธิดาอีกองค์หนึ่งมาเฝ้าที่เมืองลำพูน  แล้วถวาย ให้รับใช้พระเอกาทศรถเป็นการไถ่โทษที่ไม่เข้าเฝ้าที่เมืองลำเถิน สมเด็จพระเอกาทศรถทรงเห็นว่า  พระเจ้าเชียงใหม่สิ้นทิษฐิแล้ว  จึงมีรับสั่งให้ตั้งการพิธีที่พระธาตุหริภุญชัย  ให้พระเจ้าเชียงใหม่ถือน้ำกระทำสัตย์ต่อกรุงศรีอยุธยา  แล้วให้เจ้าเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงถือน้ำกระทำสัตย์ต่อพระเจ้าเชียงใหม่ แล้วเสด็จกลับพระนคร ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ก่อนครองราชย์จนขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระนเรศวรราชา ดำเนินการด้านความมั่นคงของอาณาจักร ด้วยยุทธวิธีการรุกไปยังดินแดนข้าศึกทั้งสิ้น  ด้วยครั้งวัยเยาว์ได้เรียนรู้ยุทธศาสตร์การทหารของพระเจ้าอยู่หัวบุเรงนอง ที่แสวงหาความมั่นคง การขยายราชอาณาจักรจากการรบด้วยวิธีรุก ทำให้พระองค์นำยุทธศาสตร์และยุทธวิธีนั้นมาใช้