--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บันทึก “ศึกร่มเกล้า” ยี่สิบสามปีตำนานสมรภูมิ ๑๔๒๘
Nov 1, 2011
ยุทธการสอยดาว
0
หากกางแผนที่ทหารจะพบว่า ถัดจากน้ำเหืองง่าที่ไหลทางด้านตะวันออกของบ้านร่มเกล้า ถัดเข้ามาตลอดแนวคือ
จุดยุทธศาสตร์สำคัญอันประกอบด้วยเนิน ๑๑๘๒, ๑๑๔๖, ๑๓๗๐, ๑๔๒๘, ๑๑๑๒, ๙๐๕ ที่เรียงตัวตลอดแนวแม่น้ำจากเหนือลงใต้ ส่วนบ้านร่มเกล้านั้นตั้งอยู่ลึกเข้ามาจากเนิน ๑๔๒๘ ไม่ไกลนัก
จุดยุทธศาสตร์สำคัญอันประกอบด้วยเนิน ๑๑๘๒, ๑๑๔๖, ๑๓๗๐, ๑๔๒๘, ๑๑๑๒, ๙๐๕ ที่เรียงตัวตลอดแนวแม่น้ำจากเหนือลงใต้ ส่วนบ้านร่มเกล้านั้นตั้งอยู่ลึกเข้ามาจากเนิน ๑๔๒๘ ไม่ไกลนัก
ปัจจุบันบ้านร่มเกล้าอยู่ห่างอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ๗๐ กิโลเมตร จาก
ตัวอำเภอขับรถไปตามถนนหลวงหมายเลข ๑๒๓๗ และ ๑๒๖๘ ที่ไต่ไปตามหน้าผาสูงชัน ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๔ ชั่วโมง
ตัวอำเภอขับรถไปตามถนนหลวงหมายเลข ๑๒๓๗ และ ๑๒๖๘ ที่ไต่ไปตามหน้าผาสูงชัน ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๔ ชั่วโมง
หมู่บ้านตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ โอบล้อมด้วยทิวเขาสูง ๓ ด้าน ทางตะวันตก เหนือ และตะวันออก การเข้าถึงหมู่บ้านทำได้จากทางทิศใต้เท่านั้น (ดูแผนที่หน้า ๑๖๙ ประกอบ)
วันที่ผมไปสำรวจพื้นที่ ผมไม่พบแม่น้ำเหืองป่าหมันทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน พบแต่ลำห้วยหนึ่งชื่อ “ห้วยควาย” ซึ่งชาวบ้านบางคนบอกว่าคือแม่น้ำเหืองป่าหมันเก่า
บ้านร่มเกล้ามีคนม้งซึ่งเป็น “อดีตสหาย” (แนวร่วม พคท.) อาศัยอยู่จำนวนมาก และปัจจุบันจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดหมู่บ้านใหม่อีกแห่งคือ บ้านสงบสุข
ในหมู่บ้านมีร่องรอยศึกร่มเกล้าหลงเหลือไม่กี่อย่าง ที่ยังมีชีวิตชีวาคือ อดีต “ฐานเอกราช” ที่มั่นทหารพรานซึ่งมีบทบาทในการรบครั้งนั้นถูกแปรสภาพเป็น “ฐานตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๑๕๓” อยู่ไม่ห่างจากทางเข้าหมู่บ้าน หลุมหลบภัยหลังโรงเรียนบ้านร่มเกล้าที่ถูกทิ้งร้าง สุดท้ายคือป้อมรักษาการณ์เก่าใจกลางหมู่บ้านที่สร้างขึ้นในระหว่างศึกครั้ง นั้น
ร่องรอยที่ชัดที่สุดคือ “ความทรงจำ” ของคนในหมู่บ้านที่รอดชีวิตมาได้
“สมัยนั้นในหมู่บ้านมีบ้านราว ๔๐ หลัง เป็นกระต๊อบ พอมีการโจมตีเอกชนที่เข้ามาทำไม้ นายทหารจากกรมทหารพรานที่ ๓๔๐๕ ผู้บังคับการกองร้อยทหารม้า ตัวแทนบริษัททำไม้และผมซึ่งขณะนั้นรักษาการตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เลยต้องไปหาข้อเท็จจริงที่จุดเกิดเหตุ” เซี่ยโล่ แซ่ลี วัย ๕๔ ปี ซึ่งเป็นไม่กี่คนในหมู่บ้านที่จำศึกร่มเกล้าได้ดี อธิบายจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ทั้งหมด
ความที่เขาเป็นอดีตสหาย พคท. ทำให้ทราบว่าหลักฐานในที่เกิดเหตุคือปลอกกระสุนปืนอาก้านั้นผลิตในเชโกสโลวา เกีย รอยรองเท้าผ้าใบเป็นแบบของโซเวียตน่าจะผลิตในเวียดนาม ทั้งหมดบ่งว่ากองกำลังดังกล่าวไม่ใช่กำลังของ พคท. ตามที่ทางการไทยสันนิษฐานเบื้องต้นว่าเป็นผู้ก่อเหตุ ที่สำคัญคือพบหนังสือประท้วงเป็นกระดาษขนาดเท่าฝ่ามือ “เขียนเป็นภาษาลาวบอกว่าตั้งแต่ภูเมี่ยงถึงริมน้ำเหืองป่าหมันเป็นของลาว ห้ามรัฐบาลไทยสนับสนุนชาวม้งที่ต่อต้านรัฐบาลลาว ห้ามตัดไม้ในพื้นที่ ถ้าไม่ฟังจะผลักดันตามกฎหมาย”
ไม่นานหลังจากนั้น สถานการณ์ก็เลวร้ายลง มีการตรวจพบความเคลื่อนไหวของทหารลาวตามจุดยุทธศาสตร์โดยรอบหมู่บ้าน แล้วพวกเขาก็พบว่าตนคือเหยื่อรายต่อมาของความขัดแย้งเรื่องเขตแดน
ในที่สุด เช้ามืดวันหนึ่งในเดือนสิงหาคม ๒๕๓๐ บ้านร่มเกล้าก็ถูกถล่มด้วยปืนใหญ่
เซี่ยโล่เล่าว่าเคราะห์ดีที่หลายคนมีทักษะการรบติดตัวอยู่บ้างทำให้รอด ตาย “เราหลบกันตามมีตามเกิด ยิงมาหลายชนิดทั้งปืนครก ปืนใหญ่ จรวด RPG ปืนกล ยิงตั้งแต่กลางดึกถึงตีสี่ บ้านพังหลายหลัง พวกผมได้รับคำสั่งให้อพยพ หลังเสียงปืนสงบ ผมกลับมาดูพบศพทหารลาว ๒ ศพ ชาวบ้านโดนกระสุน ๒ คน ตอนนั้นทำใจแล้วว่าที่นี่เป็นสมรภูมิรบแน่นอน และเราคงต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น”
บันทึกความทรงจำของทหารไทยที่ร่วมรบในศึกร่มเกล้าจำนวนมากยืนยันตรงกัน ว่า ช่วงกลางปีจนถึงปลายปี ๒๕๓๐ เนิน ๑๔๒๘ และจุดยุทธศาสตร์รอบบ้านร่มเกล้ากลายเป็นสมรภูมิเลือด เมื่อกองทัพภาคที่ ๓ ของไทยส่งทหารเข้าผลักดันทหารลาวอย่างเต็มที่หลังปะทะกันอย่างประปรายมา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม
พ.อ.วัฒนชัย คุ้มครอง อดีตผู้บังคับกองร้อยที่ ๑ กองพันทหารม้าที่ ๑๘ หนึ่งในทหารผ่านศึก เล่าสภาพสมรภูมิไว้ในบทความของ น.อ. วิพันธุ์ ชมะโชติ (เผยแพร่ใน www.iseehistory.com) ว่าในสมรภูมิ ทหารไทยเสียเปรียบเนื่องจากทหารลาวยึดชัยภูมิบนพื้นที่สูงเพื่อตั้งรับการ บุก ทำให้การเข้าตีมีความสูญเสียสูงมาก
“ฝ่ายเรามี ‘พื้นที่’ ดำเนินกลยุทธ์กว้างไม่ถึง ๕๐ เมตร ทั้งยังลาดชัน การเข้าโจมตีจึงเป็นลักษณะไม่ผิดอะไรกับการรบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ใน อดีต คือต้องเข้ายิงโจมตีลักษณะ ‘แถวตอนเรียงหนึ่ง’ ทำให้ไม่สามารถใช้อำนาจการยิง ‘เต็มรูปแบบ’ จากทหารที่มีหนึ่งกองร้อยได้ บางครั้งทหารด้านหน้าเปิดฉากยิงปะทะข้าศึก แต่ทหารที่ตามมาไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีการรบ…เป็นการรบภายใต้ ‘สภาพพิเศษ’ ซึ่งฝ่ายเราไม่ได้เตรียมตัวมา เนื่องจากจัดกำลังเต็มรูปแบบลักษณะที่จะรุกเข้าโจมตีที่หมายเป็น ‘แถวหน้ากระดาน’ ด้วยยุทธวิธีรบตามแบบ”
ต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๐ การรบรุนแรงและถี่ขึ้น กองทัพไทยตัดสินใจเปิดฉาก “ยุทธการสอยดาว ๐๑” ส่งกำลังทหารราบและทหารม้าจากกองทัพภาคที่ ๓ เข้าเสริมกำลังทหารพรานและกำลังทหารหลักที่รบอยู่ในพื้นที่แล้วบางส่วน ใช้เครื่องบินขับไล่ F-5 สนับสนุนการโจมตีทางอากาศ (Close air support) โดยแนวรบสำคัญจะอยู่ตามจุดยุทธศาสตร์ซึ่งส่วนมากเป็นยอดเนินสำคัญ ที่หมายสำคัญที่ต้องตีให้ได้คือ เนิน ๑๔๒๘ (ที่หมาย ๑) เนิน ๑๓๗๐ (ที่หมาย ๒) เนิน ๑๑๔๐ (ที่หมาย ๓) (ที่หมายนี้ระบุในแผนที่ชุด L7017 แต่ไม่ปรากฏในแผนที่ของกองทัพไทยในหน้า ๑๖๙)
ปลายปี ๒๕๓๐ การรบในสภาพดังกล่าวดำเนินต่อไป เกิดความสูญเสียทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตามทหารไทยยังไม่อาจยึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญส่วนใหญ่ไว้ได้แม้จะใช้ อาวุธหนัก
ธนวัฒน์ วงศ์ลีศิริวิวัฒน์ ครูโรงเรียนบ้านร่มเกล้าซึ่งขณะเกิดสงครามอายุ ๖ ขวบ เล่าสถานการณ์ขณะนั้นให้ฟัง “พื้นที่โรงเรียนบ้านร่มเกล้าที่เห็นตอนนี้คือพื้นที่ที่เขาเอาศพทหารมาพัก จำได้ว่ารถยีเอ็มซีที่เข้าพื้นที่สู้รบหลังหมู่บ้าน ขาเข้าไม่ได้บรรทุกอะไร ขากลับเต็มไปด้วยศพทหารไทย ตอนกลางคืนแสงสีแดงที่เกิดจากการยิงปืนใหญ่ระหว่างฝั่งภูเขาเป็นสายพุ่งตัด ท้องฟ้าสีดำ ความเป็นอยู่ลำบากมาก อาหารก็ขาดแคลน ไม่มีใครมีความสุขที่ต้องออกจากบ้านตัวเอง”
“หลายชีวิต” ในสมรภูมิร่มเกล้า
ในที่สุด ต้นปี ๒๕๓๑ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบกไทยขณะนั้น ก็ประกาศผลักดันข้าศึกออกจากพื้นที่โดยใช้ “ยุทธวิธีทุกรูปแบบ”
เขาชี้ว่าไทยกำลังรบกับกลุ่มประเทศอินโดจีน (ลาว เวียดนาม) โดยกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “เป็นที่ประจักษ์โดยแน่ชัดแล้วนะครับว่า ประเทศลาวก็ตาม ประเทศที่สนับสนุนก็ตาม ได้เลือกใช้วิธีปฏิบัติทุกหนทาง หนทางที่กำลังใช้อยู่ในขณะนี้ก็ได้มีการแทรกซึมเข้ามาเป็นจำนวนมาก เข้ามาในพื้นที่ของเราแล้วสร้างปัญหาต่าง ๆ ให้แก่พี่น้องประชาชนคนไทยโดยทั่วไป…เราจะปล่อยให้สถานการณ์นี้เนิ่นนานไป ไม่ได้ แต่เราจะต้องใช้วิธีแบบฝ่ายตรงข้าม ก็คือไม่คำนึงถึงขอบเขตและวิธีการทั้งสิ้น ซึ่งกองทัพบกจะเริ่มดำเนินการในลักษณะเต็มที่ในระยะเวลาที่จะถึงนี้” (มติชน ๑๐ ก.พ. ๒๕๓๑)
ถ้าพิจารณาบรรยากาศการเมืองระหว่างประเทศช่วงนั้นจะพบว่า ปี ๒๕๓๑ อยู่ในปลายยุคสงครามเย็น สังคมไทยยังคงมีแนวโน้มสูงที่จะระแวงเพื่อนบ้านซึ่งปกครองด้วยระบอบ คอมมิวนิสต์ คำกล่าวของ พล.อ.ชวลิตจึงส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากเชื่อมั่นในข้อมูลดังกล่าว
และยังผลให้ศึกร่มเกล้าเข้าสู่ช่วงรุนแรงและนองเลือดที่สุดใน “ยุทธการสอยดาว ๐๒” จากประวัติศาสตร์บอกเล่าของผู้อยู่ในเหตุการณ์
ประภาส รวมรส ปลัดอำเภอภูเวียงฝ่ายความมั่นคง อดีตทหารพรานสังกัดกองร้อยทหารพรานจู่โจมที่ ๙๕๗ ค่ายปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเข้าสู่สนามรบตั้งแต่ต้นปี ๒๕๓๑ ด้วยวัย ๑๙ ปี เล่าว่ากองทัพบกใช้ “ทหารพราน” ซึ่งเป็น “ทหารรับจ้าง” เป็นแนวหน้าในศึกนี้ โดยสั่งเข้าตีจุดที่ยากที่สุดคือเนิน ๑๔๒๘ ซึ่งถือเป็นหน่วยนำร่องก่อนที่ทหารหลักจะตามไปเสริม
ประภาสกรำศึกในสมรภูมิร่มเกล้าตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ประสบการณ์เฉียด
ตาย ๒๗ วันนั้นยังชัดเจนในความทรงจำ เขาเล่าว่าที่หมายทางทหารของไทยมีทั้งหมด ๕ จุด ที่หมาย ๑ คือเนิน ๑๔๒๘ เป็นจุดที่ต้องยึดให้ได้ และทหารพรานจากค่ายปักธงชัย ๙ กองร้อยกับ ๑ ฐานยิง ประกอบด้วยปืนใหญ่ขนาด ๘๐ ๑๑๐, ๑๒๐ มม. ได้รับมอบหมายให้อยู่ในแนวหน้าตีจุดนี้ส่วนจุดอื่น ๆ ทหารหลักเป็นผู้รับผิดชอบ
ตาย ๒๗ วันนั้นยังชัดเจนในความทรงจำ เขาเล่าว่าที่หมายทางทหารของไทยมีทั้งหมด ๕ จุด ที่หมาย ๑ คือเนิน ๑๔๒๘ เป็นจุดที่ต้องยึดให้ได้ และทหารพรานจากค่ายปักธงชัย ๙ กองร้อยกับ ๑ ฐานยิง ประกอบด้วยปืนใหญ่ขนาด ๘๐ ๑๑๐, ๑๒๐ มม. ได้รับมอบหมายให้อยู่ในแนวหน้าตีจุดนี้ส่วนจุดอื่น ๆ ทหารหลักเป็นผู้รับผิดชอบ
“กองทัพไทยอ่านเกมขาดว่าค่าตัวทหารหลักแพงกว่าทหารพรานที่มีค่าอาหารวัน ละ ๒๔๐ บาท ค่าจู่โจม ๑๘๐ บาท ตายแล้วจ่ายแค่ ๒ แสนบาทจบ คิดดูว่าเขาส่งทหารยศจ่าสิบเอกเท่านั้นมาคุมหน่วยผม ไม่ใช้นายร้อยเพราะไม่คุ้ม ปรกติทหารพรานถูกฝึกรบนอกแบบ (สงครามกองโจร) แต่ศึกนี้จัดกำลังในแบบ ซึ่งไม่เหมาะ ตอนไปถึงที่นั่นปืนใหญ่เราล้อมที่หมาย ๑ เป็นรูปครึ่งวงกลม เราต้องเข้าตีเนิน ๑๔๒๘ จากด้านหนึ่ง ถ้าตีได้จะตีเนินที่เหลือได้ทั้งหมด ที่ร่มเกล้าภูมิประเทศเป็นภูเขาดิน พอฝนตกจะลื่นมาก เนิน ๑๔๒๘ ชันราว ๗๐ องศา ไม่มีที่ราบ ฐานของลาวไม่ได้อยู่ยอดเนิน แต่อยู่ต่ำลงมาจากยอดเนิน เขาทำแนวตั้งรับไว้ ๓ แนว แนวแรกคือรั้วขวาก ไม้รวก แนวที่ ๒ คือกับระเบิด แนวที่ ๓ คือคูเลด (สนามเพลาะ) แนวตั้งรับจากแนวแรกถึงแนวสุดท้ายลึก
๑ กิโลเมตร ตามโคนไม้ก็วางระเบิดเต็มไปหมดเพราะรู้ว่าเวลายิงกันทหารไทยจะไปตรง นั้น ปืนใหญ่ลาวแม่นมากขณะที่ปืนใหญ่ไทยยิงไม่แม่น แม้จะเป็นฝ่ายรุกแต่ใจเราตั้งรับเพราะเสี่ยงมาก ยิงกันพักเดียวโดนหามลงมาทีละคน ๆ ผมคิดแล้วว่าจะถึงคิวเราเมื่อไหร่ ได้ยินเสียงทหารลาวตลอดแต่ไม่เห็นตัวเลย”
๑ กิโลเมตร ตามโคนไม้ก็วางระเบิดเต็มไปหมดเพราะรู้ว่าเวลายิงกันทหารไทยจะไปตรง นั้น ปืนใหญ่ลาวแม่นมากขณะที่ปืนใหญ่ไทยยิงไม่แม่น แม้จะเป็นฝ่ายรุกแต่ใจเราตั้งรับเพราะเสี่ยงมาก ยิงกันพักเดียวโดนหามลงมาทีละคน ๆ ผมคิดแล้วว่าจะถึงคิวเราเมื่อไหร่ ได้ยินเสียงทหารลาวตลอดแต่ไม่เห็นตัวเลย”
จ่าสิบเอกนายหนึ่งจากกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒๑ ค่ายพ่อขุนผาเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งระหว่างศึกร่มเกล้าสังกัดกรมทหารปืนใหญ่ลพบุรี เล่าสถานการณ์อีกมุมของสนามรบให้ฟังว่า “ปืนใหญ่แต่ละกระบอกของเรารัศมีการยิงเกิน ๓๐ กิโลเมตร ปัญหาคือมีคำสั่งจากผู้ใหญ่ว่าต้องรอให้ลาวยิงถึงโต้กลับได้ บางทีเราคำนวณพิกัดได้แล้ว แต่กว่าจะขออนุญาตยิง ปืนใหญ่ข้าศึกก็เปลี่ยนที่ตั้งไปแล้ว บางทีเห็นตำแหน่งปืนใหญ่ข้าศึกแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ สรุปคือยิงสนับสนุนไม่ได้เต็มที่ทั้งที่พร้อมมาก”
นั่นเป็นผลให้ประภาสและทหารในแนวหน้าต้องรบอย่างยากลำบาก ทหารจำนวนมากเสียชีวิต หลายคนพิการจากการเหยียบกับระเบิด หลายครั้งพวกเขาต้องแบกศพเพื่อนกลับมาแนวหลัง
ส่วนเหตุการณ์ในแนวหน้า อดีตทหารสังกัดหน่วยข่าวกรองของกองทัพภาคที่ ๓ นายหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ซึ่งก่อนสงครามฝังตัวหาข่าวในพื้นที่เนื่องจากสื่อสารกับชาวม้งได้คล่อง และระหว่างสงครามนำหน่วยทหารพรานเข้าตีจุดต่าง ๆ รวมถึงทำสงครามนอกแบบ ได้เล่าความโหดไว้อย่างเห็นภาพว่า
“ผมนำทหารพรานเข้าจุดที่จะตีเนินต่าง ๆ วิธีรบคือผมกับทหารคนหนึ่งจะนำหน้าหน่วย ทิ้งระยะ ๒๐๐-๓๐๐ เมตร มีอะไรเราเจอก่อน เช่นกับระเบิด หลายครั้งผมเข้าไปปาดคอข้าศึกทิ้ง ตอนนั้นมีคำสั่งด้วยวาจาให้ตัดคอหรือหูข้าศึกกลับมาเพราะมีค่าหัวและส่งผล ทางจิตวิทยาทำให้ข้าศึกกลัว ศีรษะข้าศึกจะถูกส่งไปที่กองบัญชาการเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นลาวหรือต่างชาติ ผมทำแต่ไม่เห็นได้ค่าหัวสักที ฟังแล้วคุณอาจรับไม่ได้ ช่วงหลังก็เอามาย่างกินด้วย หลัง ๆ ตัดหัวไม่ไหวเปลี่ยนเป็นตัดหูแทน สถานการณ์แบบนี้ทำให้ทหารในสมรภูมิต้องเหี้ยมผิดมนุษย์ ผมไม่อยากให้มีคำสั่งแบบนี้อีกเพราะสร้างความแค้นให้ทั้งสองฝ่าย”
หลังจากนั้นเขากับทหารพลร่มชุดหนึ่งยังได้รับภารกิจเข้าไปชี้ที่ตั้งฐาน ปืนใหญ่ลาวซึ่งอยู่ลึกจากชายแดนเข้าไปในเมืองบ่อแตน “ผมกับพลร่มระดับหัวกะทิ ๑๒ นายลอบเข้าลาวทางชายแดนด้านอุตรดิตถ์ นอนในที่ที่ไม่คิดว่าจะนอนได้ กินอาหารที่ไม่ต้องปรุง ผลคือทำลายปืนใหญ่ลาวได้ ๒ กระบอกและถอนตัวกลับมาได้ นี่คือการปฏิบัติการนอกประเทศที่ไม่ได้ถูกบันทึก”
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เขาเล่าไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีปฏิบัติการและพฤติการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ด้วยในสงครามครั้งนี้ไม่มีนักข่าวสำนักใดเกาะติดปฏิบัติการทางทหารในแนวหน้า แม้แต่สำนักเดียว
ส่วนการสู้รบทางอากาศ ข้อมูลจากเอกสารกองทัพภาคที่ ๓ ระบุว่าไทยเปิดการโจมตีด้วยเครื่องบินขับไล่ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๓๐ โดยใช้ฝูงบิน F-5 จากฐานบินที่นครสวรรค์และอุดรธานี เที่ยวบินโจมตีถี่ขึ้นช่วงต้นปี ๒๕๓๑ ถึงตอนนั้นพื้นที่ปฏิบัติการบางส่วนได้ล้ำออกไปในเขตเมืองบ่อแตนของลาวหรือ ออกนอกประเทศแล้ว
ก่อนที่การโจมตีทางอากาศจะถี่ที่สุดช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
“พวกผมรับคำสั่งก่อนออกปฏิบัติการไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง” น.อ. ไพโรจน์ เป้าประยูร อดีตนักบินที่ ๒ ของเครื่องบินตรวจการณ์ขนาดเบาติดอาวุธ OV-10 C Bronco ประจำกองบินที่ ๔๑ ฝูงบิน ๔๑๑ จังหวัดเชียงใหม่ รำลึกความหลัง
เขาเล่าว่าขณะนั้นรัฐบาลไทยใช้ศักยภาพกองทัพอากาศอย่างเต็มที่เพื่อยึดพื้นที่คืนให้ได้
“ตอนนั้นฝูงบิน F-5 ทำงานหนักมาก เพราะโจมตี/ทิ้งระเบิดมานานหลายเดือน หน่วยเหนือกลับมาคำนวณว่าเครื่องบินแบบใดทิ้งระเบิดแม่นที่สุด จากสถิติคือ OV-10 เขาจึงตัดสินใจเรียกใช้เรา ปรกติฝูงบินผมมีหน้าที่หลักคือลาดตระเวนและกู้ภัยกรณีเครื่องบินขับไล่ตก เหมือนหนังเรื่อง Behind Enemy Lines ซึ่งในเนื้อเรื่องจะมีหน่วยบินหน่วยหนึ่งเข้าไปช่วยนักบินขับไล่ที่หลบอยู่ ในแดนข้าศึก แต่เมื่อให้โจมตีเราก็ทำได้เช่นกัน”
เช้ามืดวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ร.อ.ไพโรจน์ (ยศขณะนั้น) กับ น.ท. สมนึก เยี่ยมสถาน ผู้บังคับฝูงบิน ๔๑๑ ขับ OV-10 หมายเลข ๐๘ จากกองบิน ๔๑ มาที่กองบิน ๔๖ (พิษณุโลก) พร้อม OV-10 อีก ๓ ลำ ที่นั่น พวกเขาร่วมกับเครื่องบินโจมตีแบบต่าง ๆ อีกไม่ต่ำกว่า ๒๐ ลำเตรียมไปโจมตีข้าศึกที่บ้านร่มเกล้า
ทว่า เมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า สภาพอากาศที่บ้านร่มเกล้าปิด มีเที่ยวบินขับไล่ F-5 เที่ยวเดียวเท่านั้นที่ออกไปทิ้งระเบิดในที่หมายสำคัญได้ ที่เหลือต้องรอสแตนด์บายที่ฐาน
ในที่สุดเวลา ๑๑.๐๐ น. วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ OV-10 ของเขาก็ทะยานขึ้นจากกองบิน ๔๖ ใช้เวลา ๔๐ นาทีเข้าสู่เขตสงคราม “เราบินโดยไม่สื่อสารทางวิทยุ พอเข้าสมรภูมิเสียงแรกที่ได้ยินมาจากนักบิน F-5 ที่ทิ้งระเบิดก่อนเรา เขาร้องในวิทยุว่า ‘SAM Break’ เป็นภาษานักบินที่หมายถึงโดนจรวดต่อต้านเครื่องบินขับไล่ ผมยังคงมุ่งหน้าไปจิกหัวทิ้งระเบิด จู่ ๆ เครื่องก็กระดอน หันไปก็พบว่าปีกขวาขาดแล้ว ตอนนั้นรู้แล้วว่าโดนแซมสอย”
น.อ. ไพโรจน์เล่าว่าหลังจากนั้นเขากับผู้ฝูงก็ดีดตัวและเจอประสบการณ์ที่ไม่มีวัน ลืม “ตอนดีดตัว ผมได้ยินเสียงร่มกาง รอบ ๆ ตัวเงียบมาก เห็นแสงไฟจากปากกระบอกปืนกลที่ยิงเราจากพื้นดิน เห็นกระสุนพุ่งเข้ามาหา โชคดีเฉียดไปโดนร่มหมด เสียงดัง ปุ ปุ ปุ ปุ ปุ ตาซ้ายผมโดนสร้อยที่สวมอยู่ตีจนปิดตอนดีดตัว ตาขวาเบลอไปหมด มองข้างล่างก็เห็นร่มผู้ฝูงอยู่ไม่ไกล พอถึงพื้นก็เจอตัวเองอยู่ใกล้สนามบินบ้านนากอก พูดได้ว่าลงไปเกือบกลางกองพันเขา”
เขากับผู้ฝูงพยายามหนี ทว่าในที่สุดก็ถูกจับ แล้วถูกนำตัวไปขังไว้ที่เวียงจันทน์ในฐานะเชลยศึก ถูกสอบสวนอย่างหนักต้องอยู่ในคุกทั้งสิ้น ๑๒ วัน
นอกจากการสูญเสีย OV-10 กองทัพอากาศไทยยังสูญเสียเครื่องบิน F-5 อีก ๒ ลำ จากอาวุธชนิดเดียวกันที่ กองทัพประชาชนลาว (ทปล.) นำมาใช้ในสนามรบ ทว่านักบินไม่ได้ถูกจับเป็นเชลย
ในช่วงท้ายของสงคราม การโจมตีทางอากาศยังผิดพลาด ก่อความสูญเสียอย่างหนักแก่หน่วยที่เข้าตีเนิน ๑๔๒๘ โดยในการทิ้งระเบิดครั้งหนึ่ง แรงระเบิดทำให้หน่วยทหารหน่วยหนึ่ง “ละลาย” เกือบทั้งกองพัน ซึ่งต่อมาเรื่องนี้กลายเป็นคำเล่าลือว่าทหารไทยบอมบ์พวกเดียวกันเอง
น.อ.ไพโรจน์เล่าเบื้องหลังที่เขาทราบมาจากทหารที่อยู่ในเหตุการณ์นี้ว่า “ไม่ใช่ความผิดใคร ผมมีเพื่อนเป็นทหารม้า ม.พัน ๑๘ เราคุยกันหลังสงคราม ระเบิดไม่ได้ทิ้งพลาด สถานการณ์คือขณะนั้นทหารบกส่งกำลังขึ้นไปเยอะ จะให้ถอยก็ลำบาก ระเบิดที่ทิ้งตอนนั้นคือ Guided Bomb Unit หรือ GBU-12 ใช้เลเซอร์นำวิถีขนาด ๒,๐๐๐ ปอนด์ ถือเป็นการใช้ครั้งแรก ๆ ของกองทัพอากาศ ซึ่งแรงระเบิดเกินคาด ไม่นับลูกถัดมาที่กลิ้งจากเนินมาเจอหน่วยทหารไทยอีก ความสูญเสียจึงมากเกินคาดคิด”
ส่วนพลเรือนไม่เฉพาะคนบ้านร่มเกล้าที่ได้รับผลกระทบ คนในพื้นที่ถัดออกมาก็ได้รับผลจากสงครามครั้งนี้ด้วยเช่นกัน อาทิ บริเวณอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ถูกยิงด้วยกระสุนปืนใหญ่ลาวกว่า ๔๐ ลูก แม้ว่าจะห่างบ้านร่มเกล้ากว่า ๔๐ กิโลเมตร แต่ก็ทำให้อาคารบ้านเรือนในตัวอำเภอเสียหายและมีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง
ขณะที่ในลาว ประชาชนที่บ้านเหมืองแผ่ บ้านใหม่ บ้านนาหล่ม บ้านนาเทา บ้านบ่อหางนา บ้านโพนสะหวัน บ้าน
นากาว โดนปืนใหญ่ไทยยิงถล่ม มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง ยังไม่นับความอดอยากอันเนื่องจากการปิดด่านชายแดนทั้งหมดที่ติดกับไทยในช่วง ท้ายสงคราม
นากาว โดนปืนใหญ่ไทยยิงถล่ม มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง ยังไม่นับความอดอยากอันเนื่องจากการปิดด่านชายแดนทั้งหมดที่ติดกับไทยในช่วง ท้ายสงคราม
ทั้งนี้ ความเสียหายทางการค้าที่เกิดกับพ่อค้าคนไทยจากการปิดด่านชายแดนทุกด้านอยู่ที่ ๑๐๐ ล้านบาท (ประชาชาติธุรกิจ ๖ ก.พ. ๒๕๓๑)
“ชาตินิยม” ของคนที่ไม่ได้รบ
ห่างจากสนามรบหลายร้อยกิโลเมตร ที่กรุงเทพฯ กับเวียงจันทน์ แนวรบทางการทูตร้อนระอุไม่แพ้กัน
กระทรวงการต่างประเทศทั้งไทยและลาวทำหนังสือกล่าวหาอีกฝ่ายไปยังองค์การ สหประชาชาติ เรียกทูตอีกฝ่ายมายื่นหนังสือประท้วง กล่าวหาอีกฝ่ายรุกล้ำอธิปไตย ตามเมืองต่าง ๆ มีการชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตของอีกฝ่าย ทั้งนี้รัฐบาลไทยยังนำทูตจาก ๓๔ ประเทศที่ประจำในกรุงเทพฯ ไปดูแนวรบ พบปะนักการทูตจากประเทศสังคมนิยมซึ่งเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังและมีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจรบของลาว
ส่วนแนวรบด้านสื่อนั้น งานวิจัย “ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในสายตาของคนลาว” ของ เขียน ธีระวิทย์ และคณะ ที่เผยแพร่เมื่อปี ๒๕๔๔ ให้ภาพแนวรบด้านสื่อสิ่งพิมพ์ระดับชาติระหว่างศึกนี้ไว้ว่า หากดูหนังสือพิมพ์ลาว ๒ ฉบับคือ ปะชาชน และ เวียงจันใหม่ และหนังสือพิมพ์ไทย ๒ ฉบับ คือ ไทยรัฐ และ มติชน พบว่า
“ปรกติหนังสือพิมพ์ไทยโขกสับ (วิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้กระทั่งประณาม) รัฐบาลหรือผู้นำรัฐบาลของตนอย่างไม่ไว้หน้า แต่เวลามีศึกกับต่างชาติ หนังสือพิมพ์ไทยกับหนังสือพิมพ์ลาวรายงานเข้าข้างรัฐบาลของตนอย่างซื่อสัตย์ คล้ายกัน”
โดยหนังสือพิมพ์ลาวกล่าวถึงทหารลาวที่สู้ในสนามรบว่าเป็น “ประชาชนและทหารประจำท้องถิ่น” ต่อสู้กับ “ทหารปฏิการไทย” ที่ป่าเถื่อน ใช้อาวุธหนัก เครื่องบินเอฟ กระสุนเคมี ขณะที่หนังสือพิมพ์ไทยบิดเบือนว่ามีทหารเวียดนามและทหารต่างชาติมาช่วยลาวรบ
ทั้งนี้ จากการสืบค้นบทความของคอลัมนิสต์และบุคคลสำคัญยุคนั้นเพิ่มเติม ผมยังพบความเห็นทำนองสนับสนุนให้ทหารรบอย่างเต็มที่ อาทิ
“ถามมีทหารไว้ทำไม-หรือกลัวลาว คึกฤทธิ์ข้องใจรัฐบาล ปล่อยลาวล้ำอธิปไตย” (มติชน ๑ ก.พ. ๒๕๓๑)
“รบเพื่อธรรมะไม่บาป-แนะพระสงฆ์ให้กำลังใจแนวหน้า พระปัญญาฯ (นันทภิกขุ) ปลุกขวัญทหาร ตายเสียยังดีกว่าอยู่อย่างผู้แพ้” (สยามรัฐ ๘ ก.พ. ๒๕๓๑)
ส่วนแนวรบในสื่อประเภทอื่นก็เข้มข้นไม่แพ้กัน วิทยุซึ่งเข้าถึงประชาชนจำนวนมากในยุคนั้น รัฐบาลไทยเปิดเพลงปลุกใจให้รักชาติ ขณะที่ลาวใช้การโฆษณาชวนเชื่อและวิทยุคลื่นสั้นซึ่งรับฟังได้ไกลถึงกรุงเทพฯ โจมตีไทย สื่อทีวีไม่มีข้อมูลชัดเจนนอกจากปากคำทหารผ่านศึกไทยที่เล่าว่าฝั่งลาว ติดตามข่าวสารจากทีวีไทยตลอดเวลา เนื่องจากสัญญาณทีวีเมืองไทยนั้นข้ามแม่น้ำโขงไปถึงลาว
สงครามสื่อระหว่างสองประเทศซาลงเมื่อปรากฏข่าว พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยที่มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำลาว เดินทางไปเยือนลาวเงียบ ๆ โดยต่อมาปรากฏว่านายไกสอน พมวิหาน นายกรัฐมนตรีลาว (ขณะนั้น) ส่งสารถึง พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย (ขณะนั้น) ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ โดยเสนอหยุดยิง ตั้งกรรมการผสมพิสูจน์เขตแดน และติดต่อเลขาธิการสหประชาชาติเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย ก่อนที่ พล.อ.เปรมจะตอบสารในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ เห็นพ้องให้ปรึกษาหารือ ส่งผลให้เกิดการเจรจาช่วงวันที่ ๑๖-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
ลาวส่งคณะผู้แทนทหารนำโดย พล.อ.สีสะหวาด แก้วบุนพัน หัวหน้าเสนาธิการทหารสูงสุด กองทัพประชาชนลาว (ทปล.) มาเจรจากับคณะผู้แทนทหารไทยนำโดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. และ ผบ.สส. ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศดอนเมือง ระหว่างเจรจาทั้งสองฝ่ายแสดงความเป็นกันเองอย่างยิ่ง โดย พล.อ. สีสะหวาดกล่าวกับ พล.อ. ชวลิตว่า “เราเป็นพี่เป็นน้องกันนะ” (สยามรัฐ, มติชน ๑๗ ก.พ. ๒๕๓๑)
ระหว่างนั้น ทั้งสองฝ่ายสั่งให้วิทยุและสื่อของตนลดการเปิดเพลงปลุกใจและโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้ “บรรยากาศการเจรจาดีขึ้น” อย่างไรก็ตาม ขณะที่เกมการทูตเข้มข้นอยู่ในเมือง ในสนามรบทั้งสองฝ่ายยังคงเสริมกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าสู่แนวรบอยู่ตลอด เวลา และความสูญเสียก็ยังคงเกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน
ผลการประชุมคือแถลงการณ์ร่วม “หยุดยิง” วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีข้อสรุปคือ หนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจะหยุดยิงตั้งแต่ ๐๘.๐๐ น. ของวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ สอง จะถอยจากแนวปะทะฝ่ายละ ๓ กิโลเมตร สาม ตั้งคณะเจ้าหน้าที่ประสานงานตรวจการปฏิบัติตามข้อตกลง และสี่ หลีกเลี่ยงการปะทะกันด้วยอาวุธ โดยจะให้มีการเจรจาภายใน ๑๕ วัน
สัญญาหยุดยิงนี้ได้รับการปฏิบัติจนเสร็จสิ้น หลังจากนั้น พล.อ. ชวลิตนำคณะผู้แทนทหารและสื่อมวลชนเดินทางไปเยือนกรุงเวียงจันทน์ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ “เที่ยวกันจนม่วนซื่นแล้วเลี้ยง ‘สเต๊กเก้ง’ แกล้มแชมเปญ” (สยามรัฐ ๒๓ ก.พ. ๒๕๓๑) ก่อนจะหารือกันและรับตัวนักบิน OV-10 ที่ถูกจับเป็นเชลยศึกกลับประเทศในวันต่อมา โดยกำหนดกับนักบินว่าต้องให้ข่าวว่า OV-10 ลำที่ตกนั้นกำลังอยู่ในภารกิจ “ลาดตระเวน” มิใช่ภารกิจ “โจมตี”
ท่ามกลางคำวิจารณ์บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีน้อยอย่างเห็นได้ชัดในการเจรจาสงบศึก