จากการตัดถนนที่ผ่านเขตป่าเขาทำให้พื้นที่ป่าเขาทุรกันดารเปิดสู่โลกภายนอกการคมนาคมสะดวกขึ้นด้วยเป็นเขตที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์รัฐบาลยุคนั้นจึงเปิด
ให้บริษัททำไม้รับสัมปทานป่าไม้ แต่การตัดไม้ในพื้นที่ที่ยังไม่มีการเจรจาปักปันเขตแดนที่แน่นอน
มีเพียงหลักเขตที่๓๖บนภูสอยดาวเท่านั้น จึงนั้นทำให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่อ้างสิทธิเหนือดินแดนบ้านร่มเกล้า เนื่องจากยึดถือพรมแดนจากแผนที่คนละฉบับ โดยในปี
พ.ศ.๒๔๓๐
ฝรั่งเศสได้ทำการสำรวจและจัดทำแผนที่บริเวณเขตแดนด้านนี้ขึ้นมาและถูกนำมาประกอบสนธิสัญญาระหว่าง สยาม กับ ฝรั่งเศสที่ที่ลงนามกันในปี พ.ศ.๒๔๕๐ สาระสำคัญของลักษณะเขตแดน
ระบุเอาไว้ว่าใช้แม่น้ำเหืองเป็นเขตแดน ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่สำรวจได้สำรวจบริเวณโดยทั่วพบลึกเข้ามาฝั่งไทยยังมีแม่น้ำเหืองอีกหนึ่งแห่ง
แท้จริงแล้วแม่น้ำเหืองอีกสายหนึ่งนั้นชื่อน้ำเหืองป่าหมัน
ดังนั้นจึงพิมพ์แผนที่ใช้น้ำเหืองป่าหมันเป็นเขตแดนโดยที่ไม่แจ้งให้สยามทราบหรือเจ้าหน้าที่สยามไม่มีความรู้เรื่องแผนที่จึงไม่ท้วงติง ฝรั่งเศสจึงยึดครองดินแดนเข้ามาฝั่งสยามเพิ่มมากขึ้น เมื่อสหรัฐเข้าช่วยเหลือเวียดนามใต้รบกับเวียดนามเหนือ
ได้จัดทำแผนที่ถ่ายภาพทางอากาศ
ไทยจึงพบว่ามีแม่น้ำเหืองป่าหมันอีกแห่งอยู่ลึกเข้ามาฝั่งไทยแต่ยังไม่มีเหตุการณ์กล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ในเวลานั้นจึงยังไม่มีการเจรจาหรือปฏิบัติการทางทหารใดๆ
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทางการลาวได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนบริเวณบ้านร่มเกล้า ประกอบกับห้วงเวลานั้นทางการไทยนำความเจริญและก่อสร้างเส้นทางเพื่อความมั่นคง
เปิดป่าทึบที่หลบซ่อนของกองกำลังติดอาวุธจึงเกิดโครงข่ายถนนเข้าไปในพื้นที่ป่าทึบ
เป็นผลให้เกิดจากการเข้าทำสัมปทานไม้จากบริษัทของไทย ทำให้ สปป.ลาวที่เชื่อว่าดินแดนบริเวณนั้นเป็นของตนจึงนำกำลังเข้ารบกวน
ขัดขวาง เพื่อปกป้องอธิปไตยจากการรุกรานของไทย
เหตุการณ์ตึงเครียดระหว่างสองชาติจึงอุบัติขึ้น
จากการถูกกองกำลังติดอาวุธเข้าขัดขวาง ทำร้ายและจับกุมคนงานของบริษัททำไม้และยังเคลื่อนกำลังลึกเข้ามาในเขตประเทศไทยเข้าโจมตีหมู่บ้านชาวม้งในเขตไทย
ทำให้ทางการไทยต้องควบคุมพื้นที่และผลประโยชน์ของคนไทยในพื้นที่นั้นพล.ม.๑จึงจัดกำลังเข้าตรึงกำลังในพื้นที่
แต่การสู้รบยังไม่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติการทางทหารหน่วยลาดตระเวนของทหารม้าสามารถลาดตระเวนไปถึงเนินต่างๆทั้งเขตไทยและบริเวณแนวชายแดนได้ตามปกติ
ด้วยมีภารกิจด้านสามหมู่บ้าน จ.อุตรดิตถ์ พล.ม.๑ จึงต้องถอนกำลังออกมาและมอบพื้นที่ให้กำลังทหารพราน
ที่ ๓๔๐๕ รับผิดชอบคุ้มครองหมู่บ้านและป่าไม้
เป็นเวลาไม่นานนักจากนั้นฝ่ายลาวเริ่มมีการปฎิบัติการทางทหารอย่างเงียบๆเพราะลาวมิใช่แค่การอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนและจับกุมบริษัททำไม้ของไทยเท่านั้น
ช่วงเช้าตรู่ของปลายเดือนพฤษภาคม
๒๕๓๐ ที่แคมป์คนงานของปางไม้ ขณะครอบครัวคนงานกำลังหุงหาข้าวปลาเพื่อเตรียมเข้าป่าตัดและชักลากไม้
ระหว่างนั้นในราวป่าด้านหน้าแคมป์บนทางลากไม้ที่ตัดออกมาจากภายในป่า ทหารลาวปรากฏตัวพร้อมอาวุธสงครามครบมือ ดาหน้าเข้าปิดล้อมแคมป์คนงานพร้อมสั่งการให้ทุกคนออกมารวมกันที่ลานหน้าแคมป์ คนงานเกือบ ๒๐คนจึงออกมารวมตัวกัน อาวุธสงครามเล็งตรงมายังกลุ่มคนงานพร้อมตะโกนสั่ง ให้ทุกคนออกมาให้หมดนั่งลงเอามือประสานบนหัว มีทหารกลุ่มหนึ่งปีนป่ายขึ้นบนรถแทรกเตอร์ ๓
คันที่จอดเอาไว้ที่ลานหมอนไม้ ยิงคนขับรถแทคเตอร์คนหนึ่งเสียชีวิต เปิดถังน้ำมันแล้วเผารถทั้งหมดมีคนงานสามสี่คนแอบซ่อนอยู่หลังแคมป์
ตัดสินใจออกวิ่งมุ่งสู่ฐานทหารพรานที่๓๔๐๕เพราะจวนได้เวลาที่ทหารพรานจะเดินทางมาลาดตระเวนคุ้มกันบริษัททำไม้ทหารลาววิ่งไล่ติดตามแล้วยิงอาวุธปืนใส่ทันทีมีคนงานถูกกระสุนปืนล้มคว่ำไปหนึ่งคน
เสียงอาวุธปืนสงครามทำให้การปฏิบัติการของลาวถูกเปิดเผย ทหารลาวจึงรีบถอนตัวพร้อมกับนำหัวหน้าคนงานกลับไปด้วยและหายสาปสูญไปนับแน่วันนั้น
ขณะทหารลาวเคลื่อนพลออกจากแคมป์ ทหารพรานก็นำกำลังเข้ามาถึง
จึงเกิดการปะทะกันขึ้นเมื่อเข้าไปตรวจภายในแคมป์ จึงทราบความเสียหายมีรถแทรกเตอร์ถูกเผา
๓ คัน คนงานถูกยิงเสียชีวิต ๑ บาดเจ็บ๑คน คนถูกทหารลาวจับตัวไป ๑นาย ในภายหลังก็ไม่สามารถติดตามตัวกลับมาได้
ส่วนทหารลาวถอยกลับไป การตัดไม้ของบริษัททำไม้พิษณุโลกนั้นได้เข้าตัดไม้รอบๆภูสอยดาว
อำเภอชาติตระการ เหตุการณ์นี้จึงทำให้บริษัททำไม้ต้องหยุดตัดไม้และออกจากพื้นที่ทันทีและมีข่าวว่าทหารลาวส่งหน่วยรบพิเศษมาติดตามล่าสังหารชาวม้งขาวที่บริษัททำไม้จ้างมาเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยในการตัดไม้
เช้ามืดของวันที่ ๗มิถุนายน ๒๕๓๐ ทหารลาวก็นำกำลัง กลับเข้ามาที่บ้านร่มเกล้าอีกครั้ง
เข้าปิดล้อมหมู่บ้านโจมตีชาวไทยม้งที่บ้านร่มเกล้าโดยกล่าวอ้างว่าเป็นการกวาดล้างกองกำลังกบฏจึงเกิดการปะทะกับกองกำลังทหารพรานขึ้น
ในอดีตนั้นมีชาวม้งที่เป็นกำลังพลในกองทัพกู้ชาติลาวขาวของนายพลวังเปา
ที่เคลื่อนไหวต่อต้านทางการลาวอยู่ในพื้นที่นี้ซึ่ง ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐมาตั้งแต่สงครามเวียดนาม
เพื่อใช้ต่อต้านการรุกรานของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือและลาวแดง เมื่อลาวแดงสามารถมีชัยชนะเหนือรัฐบาลลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น
สปป.ลาว กลุ่มม้งขาวพวกนี้ก็มีพื้นที่เคลื่อนไหวในเขตภาคเหนือของ สปป.ลาวเรื่อยมา
จนเกิดการสู้รบกันอย่างหนักที่ด่านวังเต่าติดชายแดนไทยทหารสปป.ลาวสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจึงระดมกำลังเพิ่มเติมเข้ากวาดล้างแต่กองโจรม้งได้เคลื่อนกำลังหลบหนีออกจากพื้นที่หายไปโดยลาวนั้นกล่าวหาไทยว่าให้การสนับสนุนและที่พักพิงแก่ม้งกลุ่มนี้โดยมีฐานส่งกำลังที่บ้านน้ำ
เข็ก พิษณุโลก ขณะเดียวกันมีทหารลาวอีกชุดหนึ่งได้ยกกำลังเข้ามาที่เขตบ้านนาผักก้าม
และบ้านนากอก อ.นาแห้ว จ.เลย โดยชุดลาดตระเวนของทหารลาว ได้ ยิงราษฎรไทยตาย ๑ คน และจับกุมตัวไป
๗ คน แต่สามารถเล็ดรอดออกมา๒คนแต่ถูกติดตามยิงตาย ๑คนโดยทางการลาวตั้งข้อกล่าวหาว่าชาวบ้านเหล่านี้บุกรุกเข้าไปตัดไม้ในเขตลาว
ที่บ้านร่มเกล้าจากการที่ลาวนั้นอ้างว่าเขตของลาวอยู่ที่น้ำเหืองปากหมัน
ส่วนไทยว่าเขตแดนที่ปักปันกันอยู่ที่น้ำเหืองงา
ด้วยยึดถือเขตแดนไม่ตรงกันทำให้เขตแดนที่ลาวอ้างอยู่ลึกเข้ามาในแดนไทยถึง
๗๐ ตารางกิโลเมตร หลังจากจับชาวม้งไทยไป
ทางลาวก็พยายามคุกคามให้ชาวม้งบ้านร่มเกล้าให้ย้ายออกจากพื้นที่ไป กองทัพภาคที่๓จึงต้องจัดกำลังทหารเพื่อคุ้มครองความตึงเครียดบริเวณชายแดนจึงเกิดขึ้นมีการปะทะกันถี่ขึ้นจากชุดลาดตระเวนของทั้ง
สองฝ่ายที่ลาดตระเวนมาพบกันมีการตอบโต้กันด้วยเครื่องยิงลูกระเบิด ๘๒
ม.ม.อยู่บ่อยๆจนจึงขั้นนำกำลังเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของฝ่ายไทย
สายของวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๓๐ ทหารลาวประมาณ
๓๐๐คนได้เข้าทำการรุกเข้ามาที่บ้านร่มเกล้าด้วยกำลัง
๑กองพันทหารราบพร้อมอาวุธเต็มอัตราศึก สนับสนุนด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดและ
ปืนใหญ่๑๒๒ ม.ม. ที่เริ่มระดมยิงตั้งแต่เช้ามืดบ่งบอกถึงการเตรียมการเข้าตีของฝ่ายข้าศึกอย่างเต็มที่
สิ้นเสียงปืนใหญ่ไม่นานกำลังทหารราบของลาวระลอกแรกก็ได้ดำเนินกลยุทธ
เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการ กองร้อยทหารพรานชุดคุ้มครองที่ ๓๔๐๕ที่มีอาวุธสนับสนุนเพียง
ปืนใหญ่ขนาด ๗๕ ม.ม.จาก ป.พัน.๗ จำนวน๑หมู่
ที่มาสมทบ ทหารพรานนั้นเตรียมพร้อมประจำแนวอยู่ก่อนแล้วจึงได้ยิงสกัดกั้น การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือด
ที่มั่นทหารพรานถูกระดมยิงทั้งเครื่องยิงลูกระเบิด จรวดอาร์พีจี
และปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังอย่างหนักแต่ทหารพรานได้ตอบโต้จนกำลังของลาวไม่สามารถเข้าถึงขอบหน้าที่มั่นได้จึงตรึงกำลังระดมยิงเครื่องยิงลูกระเบิดและจรวดต่อสู้รถถังอาร์พีจีเข้าใส่บังเกอร์
หลังสิ้นเสียงระเบิดการเข้าตีละลอกที่สองก็โหมเข้ามาจนทหารพรานที่มีกำลังน้อยกว่ามากจวนเจียนจะละลายแต่ยังสามารถยิงต้านทานลาวเอาไว้จนเสียงปืนสงบทหารพรานสูญเสียจากการรบ
๑๓ นายและบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง บ้านของชาวบ้านถูกเผา ๑๕ หลัง ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกรับทราบรายงานถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากกองกำลังผาเมือง
เสนาธิการทุกฝ่ายประชุมเคร่งเครียดเพื่อกำหนดแนวทางการตอบโต้และรายงานตรงไปยังรัฐบาลกรุงเทพ เมื่อไม่สามารถยึดฐานทหารพรานของไทยได้กำลังหลักของ
สปป.ลาวก็ถอนตัวกลับไปยังฝั่งลาว จากเหตุการณ์บุกข้ามพรมแดนเข้ามาโจมตีฐานทหารพรานนั้น
กองทัพภาคที่๓ จึงจัดกำลัง จากม.พัน.๗ จำนวน
๒กองร้อยเข้าตีผ่านกองกำลังทหารพรานติดตามกองกำลังลาว จนถึงเนิน ๑๔๒๘ยังไม่พบการดัดแปลงที่มั่นบนเนิน
๑๔๒๘ ระหว่างทางพบร่องรอยจากการเข้าตีและถอนตัวของทหารลาวเช่น รอยเลือด ผ้าทำแผล อาหารและอาวุธต่างๆที่ถูกทิ้งเอาไว้จำนวนมากจึงคะเนได้ว่าฝ่ายลาวมีการสูญเสียจากการเข้าตีครั้งนี้มากพอควรจนต้องถอนตัวกลับไป
ชุดไล่ติดตาม ไม่พบทหารลาวจึงถอนตัวกลับ ฝ่ายลาวนั้นได้ออกอากาศทางวิทยุโฆษณาชวนเชื่อถึงความชอบธรรมที่ได้ปฏิบัติการโจมตีทหารไทยให้พ้นออกจากดินแดนลาว
ส่วนทหารพรานได้รับการเพิ่มเติมกำลังยังคงรับผิดชอบชายแดนบ้านร่มเกล้าต่อไป ด้านกองทัพลาวในส่วนหลังนั้นเคลื่อนไหวเสริมกำลังในพื้นที่บ้านบ่อแตนมากจนสังเกตุถึงความผิดปกติได้
รายงานข่าวทางสถานีวิทยุแห่งชาติลาว
ในวันที่๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๐ ได้เสนอบทสัมภาษณ์ของประธานคณะปกครองเมืองบ่อแตนแขวงไชยบุรี
โดยกล่าวหาบริษัททำไม้เอกชนของไทยกับฝ่ายทหารไทยว่าได้ร่วมกันสร้างเส้นทางเข้าไปตัดไม้ในลาว
และยัง ใช้กำลังทหารพรานเข้ารุกรานแผ่นดินลาว
ดังนั้นลาวจึงเรียกร้องให้ไทยยุติการกระทำดังกล่าวทันที อีกสามเดือนต่อมาชาวม้งที่ลาวจับตัวไปก็ถูกปล่อยกลับมา เดือน กันยายน ๒๕๓๐ เกิดการปะทะกันด้วยอาวุธอีกครั้ง
และอีกหลายครั้งติดต่อกันเรื่อยมา
ทางการไทยและสปป.ลาวจึงนัดเปิดการเจรจาเพื่อหาข้อยุติมิให้เหตุการณ์บานปลายไปมากกว่านี้
แต่การเจรจาประสพความล้มเหลวจนเกิดการเผชิญหน้ากันอีกครั้ง
ระหว่างที่เปิดการเจรจากันนั้นฝ่ายลาวได้ลักลอบ นำกำลังบุกรุกเข้าสร้างฐานที่มั่นบนเนิน
๑๑๘๒ เนิน,๑๓๗๐ และที่มั่นใหญ่เนิน๑๔๒๘อย่างแข็งแรงด้วยบังเกอร์คอนกรีต
เมื่อเหตุการณ์ดำเนินมาจนถึงจุดวิกฤติเช่นนี้ ในปลายเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม กองทัพไทยจึงจำเป็นต้องสั่งการให้กองทัพภาคที่
๓ ปกป้องอธิปไตยตามแผนป้องกันประเทศเปิดยุทธการ “สอยดาว๐๑”ขึ้น เพื่อปฏิบัติภารกิจขับไล่กองกำลังต่างชาติออกจากแผ่นดินไทย กองทัพภาคที่๓ได้สนธิกำลังทั้งหน่วยกำลังรบ
หน่วยสนับสนุนการรบ ได้แก่ ทหารม้า ทหารราบ ทหารปืนใหญ่ ทหารช่างสนาม
ทหารพรานจู่โจม และหน่วยช่วยรบอื่นๆ
เพื่อเข้าผลักดันให้ข้าศึกถอนกำลังออกจากเขตแดนของไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น