๑๓ ก.พ.๒๕๓๑ เครื่องบินชุดเดิมจึงขึ้นบินโจมตีเป้าหมายอีกครั้งได้รับแจ้งข่าวจาก ฝูงบิน ๑๐๒ ว่า สปป.ลาวมีอาวุธต่อสู้อากาศยานที่มีอำนาจการยิงสูง ขอให้ระมัดระวัง
ผบ.ฝูงบิน ๔๑๑ จึงได้สั่ง หมู่บินย่อยแรก บินนำเข้าสู่เป้าหมายและทิ้งระเบิดที่ความสูง ๖,๐๐๐ ฟุต หมู่บินย่อยที่ ๒ ให้บินอยู่เหนือขึ้นไปที่ ความสูง ๘,๐๐๐ ฟุต ทำหน้าที่เข้าโจมตีซ้ำหากหมู่บินแรกทิ้งระเบิดพลาดเป้าหมาย
ก่อนที่หมู่บิน เอฟ.๕ จะมาถึงเป้าหมายได้มีหมู่บิน โอวี๑๐ได้ โจมตีกวาดล้างรัง ปตอ.อยู่ก่อนแล้ว เมื่อเอฟ.๕มาถึงและกำลังจะเข้าโจมตีต่อเป้าหมายคลังอาวุธ นักบิน เครื่อง๔หมู่๒ มองเห็นกลุ่มควันสีขาวจากพื้นดินพุ่งตรงมายัง เอฟ.๕ลำที่๑ หมู่๑ คาดว่าจะเป็นจรวดแซม ๗ เครื่องบินเสียการทรงตัว นักบินทั้งสองจึงต้องสละ เครื่อง (เวลาประมาณ ๑๓๐๐)โดดร่มไป ตกลงที่สนามบินบ้านนากอก เครื่องอีก ๓ ลำถูกระดมยิงจากอาวุธภาคพื้นดินอย่างหนักจนต้องถอนตัวกลับเข้ามาฝั่งไทย
มีคำสั่งให้ เครื่องบินที่เหลือ ทั้ง ๓ เครื่อง กลับไปโจมตีเป้าหมายเดิมอีกครั้ง แต่ไม่อาจกระทำได้เพราะนักบิน ๒ คน ของเราถูกจับตัวไป อาจได้รับอันตรายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายเรา นักบินของเรา ถูกทหารลาวนำตัวไปควบคุมไว้ที่นครเวียงจันทร์ (ภายหลังจากมีการเจรจาสงบศึก คณะผู้แทนทหารของไทยจึงได้รับตัว นักบินทั้งสองกลับมาเมื่อวันที่ ๒๔ ก.พ.๒๕๓๑)ในวันรุ่งขึ้น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ประกาศกร้าวที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติ หากจำเป็นจะเปิดศึกข้ามโขงก็ต้องทำ การเผชิญหน้ายังมีอยู่ต่อไปอีกหลายวันหน่วยจรยุทธของทหารพรานปฏิบัติการได้ผลที่หมายต่างๆทั้งปืนใหญ่ เส้นทางส่งกำลังบำรุงจากแขวงไชยบุรีรวมทั้งเนิน ๑๔๒๘ถูกทำลายจนหน่วยกำลังรบพร้อมที่จะเข้าตีขั้นแตกหักอีกครั้ง ต่างคอยคำสั่งเข้าตีเพื่อเผด็จศึกข้าศึกให้ได้ เมื่อทางลาวถูกทำลายอาวุธสนับสนุนและถูกตัดเส้นทางส่งกำลังมายังแนวหน้า จึงเร่งเปิดการเจรจากับฝ่ายไทย สอดคล้องกับความเห็นของรัฐบาลที่ต้องการยุติปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการเจรจาคำสั่งต่างๆจึงยังเงียบอยู่ จนมีคำสั่งให้หยุดยิงตามผลการเจรจาในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ หลังจากนั้นจึงมีคำสั่งถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทใน ๔๘ ชั่วโมง สรุปความสูญเสียของการรบครั้งนี้
เปรียบ
เทียบหน่วย ขนาดหนึ่งกองพัน (ประกอบด้วย ๑ กองร้อยบังคับการ ๓ กองร้อยอาวุธเบา) เสียชีวิตประมาณ ๑กองร้อย บาดเจ็บสาหัส ๑
กองร้อย บาดเจ็บไม่มากนัก ๒ กองร้อย
ในจำนวนนี้ต้องพิการ ประมาณ ๑ หมวด ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากระเบิด และกระสุนปืนใหญ่และปืน
ค.กำลังพลส่วนที่พิการนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการเหยียบกับระเบิดเพราะฝ่ายเราเป็นฝ่ายเข้าตีที่ต้องเคลื่อนที่ผ่านดงกับระเบิดนับหมื่นๆลูกซึ่งเป็นลักษณะการทำสงครามของประเทศฝ่ายตรงข้ามของเราในหลายๆพื้นที่
ส่วนฝ่าย
สปป.ลาวและพันธมิตร เทียบกองพันทหารราบ ๔กองร้อย เสียชีวิต ประมาณ มากกว่า๒
กองร้อย บาดเจ็บประมาณ ๒ กองร้อย เช่นเดียวกันเสียชีวิตและบาดเจ็บจากระเบิดและกระสุนปืนใหญ่
ส่วนที่พิการนั้นมีน้อยกว่าไทยเพราะการใช้กับระเบิดฝ่ายไทยนั้นมีน้อยกว่าฝ่ายลาวมาก
๒๘ก.พ. กองทัพบกจึงสั่งการให้ทัพภาค ๓
จัดกำลังไปทดแทนกองพันทหารม้า โดยจัดทหารราบจาก พล.ร.๔เข้าผลัดเปลี่ยนแทนกำลังจากพล.ม.๑
.......................................................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น