ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สามมหาราช ตอนที่ ๑๔



                                                                   ตอนที่ ๑๔ ราชวงศ์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอโยธยา
                    หลังจากพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนารายณ์เสร็จสิ้น พระยากลาโหมสุรสีห์ก็จัดพระราชพิธีปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็น พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๘ของอาณาจักรศรีอโยธยา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดมเป็นต้นราชวงศ์ ในภายหลังเรียกว่าราชวงศ์บ้านพลูหลวง  สมเด็จพระเพทราชา (ทองคำ) หรือมีพระชาติกำเนิดเด่นมาจากสามัญชน ชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี เป็นบุตรของสามีท้าวศรีสัจจาหรือพระนมเปรม (พระนมชั้นโท) และมีพระขนิษฐาคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่งรักษาการสมุหกลาโหม สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระนารายณ์  พระยาทองคำปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุ ๕๖ พรรษา ในปีพ.ศ.๒๒๓๑ พ.ศ.๒๒๔๖ ในสมัยพระเพทราชานี้พระองค์ได้เร่งทำการค้าขายกับชาวต่างด้าวหลังจากเกิดชะงักงันช่วงปลายรัชกาลแผ่นดินก่อนจึงส่งฑูตไปเมืองปัตตาเวีย ที่เกาะชวา ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฮอลันดา เพื่อติดต่อเรื่องการค้า และย้อนไปยืนยันสิทธิการผูกขาดทางการค้าหนังสัตว์อย่างที่เคยทำมา โดยที่ฮอลันดายังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอยุธยาก็สืบเนื่องจากที่ฮอลันดา ไม่ประสงค์ที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอย่างที่ฝรั่งเศสและชุมชนญี่ปุ่นเคยกระทำมา ทำให้เรื่องราวของการต่างประเทศในรัชสมัยพระเพทราชาไม่มีปัญหาใหญ่อย่างที่เกิดในสมัยพระนารายณ์  แต่อุปสรรคสำคัญของพระเพทราชาที่ไม่แตกต่างจากสมัยพระนารายณ์ก็คือ สถานะความมั่นคงของพระองค์ การยอมรับในชาติกำเนิด การแสดงออกด้านการเป็นจอมทัพเนื่องจากปราศจากสงคราม เมื่อพระองค์มีที่มาจากสามัญชนที่รวบรวมกำลังสามารถปราบดาภิเษกเป็พระมหากษัตริย์ได้ ดังนั้น ในสมัยของพระองค์จึงเกิดกระแสความพยายามในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใหญ่ๆ ๒ ครั้ง คือ กรณีกบฎธรรมเถียร และ กบฏบุญกว้าง ทั้งสองกรณีนี้เกิดขึ้น เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายใต้สถาบันกษัตริย์อยุธยาที่ดูเหมือนว่าไม่ได้มีสถานะอำนาจที่สูงมากจนท้าทายอะไรไม่ได้เลย ทำให้ พระธรรมเถียรอดีตขุนนางคนสนิทของเจ้าฟ้าอภัยทศพระอนุชาสมเด็จพระนารายณ์ได้ปลุกระดมไพร่รวบรวมผู้คนจากดินแดนลุ่มแม่น้ำป่าสัก สระบุรี ลพบุรี นครนายก หมายเข้าล้มล้างอำนาจของพระเพทราชา และตั้งตนเป็นกษัตริย์ ด้วยพระยาสุรสีห์ก็เป็นขุนนางในสมเด็จพระนารายณ์ ตัวพระธรรมเถียรก็เป็นขุนนางในเจ้าฟ้าอภัยทศ จึงไม่มีความเคารพยำเกรงตัวพระยาสุรสีห์ แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อกำลังสรรพาวุธของอาณาจักรที่อยู่ในอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยธรรมเถียรที่ขี่ช้างมานั้นถูกปืนใหญ่เสียชีวิตทันที ส่วนกรณีกบฎบุญกว้างก็มีที่มาต่างจากธรรมเถียรตรงที่ บุญกว้างเป็นอำนาจของท้องถิ่นที่ห่างจากอยุธยาออกไป (เมืองนครราชสีมา) ที่ท้าทายอำนาจของกษัตริย์ที่อยุธยาที่ในสมัยพระเพทราชายึดอำนาจมานั้น ทำให้พอจะมองได้ว่าศูนย์กลางของอยุธยาไม่ได้มีอำนาจที่มั่นคงมากพอที่จะควบคุมได้ จึงพยายามท้าทายอำนาจ ซึ่งในที่สุดก็พ่ายแพ้ต่อกองกำลังของอยุธยาที่ยังเป็นศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ดีประเด็นสำคัญของการเมืองในราชอาณาจักรอยุธยาที่ยังคงท้าทายให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ของกษัตริย์และขุนนางอยุธยายังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอมา และเหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งนอกจากการปราบดาภิเษกในช่วงของพระเพทราชา คือการกำจัด เจ้าพระยาศรีธรรมราช (โกษาปาน) ราชฑูตคนแรกที่ไปยังกรุงปารีสนั้น เกิดขึ้นจากความไม่ไว้วางใจของพระเพทราชา ท่านโกษาปานเป็นคนที่ไม่ไว้ใจฝรั่งเศสเป็นคนที่เข้าด้วยกับพระเพทราชในการต่อต้านฝรั่งเศสมาตลอด แต่ พระเพทราชาเห็นว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราช นั้นมียศ อำนาจ บารมี และความฉลาดหลักแหลมมากพอที่อาจเป็นภัยต่อพระราชบัลลังก์ได้ พระองค์มิได้สั่งสำเร็จโทษทางตรง แต่มีเหตุรับสั่งบางอย่างต่อท่านโกษาปาน จนในที่สุด เจ้าพระยาศรีธรรมราช หรือ โกษาปานก็ตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยดาบของตัวเองสมเด็จพระเพทราชาครองราชย์ยาวนาน ๑๕ ปีสวรรคตด้วยพระชมมายุ ๗๑ พรรษา

                   พระมหากษัตริย์องค์ที่๒๙ของอาณาจักรศรีอโยธยา องค์ที่๒ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง  สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดีพระสรรเพชญ์  หรือพระเจ้าเสือ พระนามเดิมคือ หลวงสรศักดิ์ได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยพระเพทราชา  และได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเพทราชา พระเจ้าเสือเป็นบุตรจางวางกรมช้างในแผ่นดินพระนารายณ์ ครั้งหนึ่งสมเด้จพระนารายณ์มีพระประสงค์ไปเสด็จประพาสไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก โดยทางชลมารค จางวางกรมช้าง(พระยาทองคำ)และภริยาซึ่งครรภ์แก่ ได้อยู่ในขบวนข้าราชบริพารตามเสด็จสมเด็จพระนารายณ์ กระบวนเสด็จพระราชดำเนินถึงตำบลหนึ่งเขตเมืองโอฆะบุรี(ตำบลโพธิ์ประทับช้างเมืองพิจิตร )ภริยาจางวางกรมช้างเกิดเจ็บครรภ์คลอดบนหลังช้างในขบวนเสด็จใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ ต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ใกล้กันได้บุตรชาย และได้นำรกไปฝังไว้ระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อพระนารายณ์พระราชทานชื่อให้ว่า เดื่อเสร็จแล้วกระบวนเสด็จพระราช ดำเนินทางต่อไปจนถึงเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อวางวางกรมช้างบิดาเลื่อนขั้นขึ้นเป็นสมุหกลาโหมนายเดื่อบุตรชายเป็นหลวงสรศักดิ์ และบิดาได้ทำการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระเพทราชาได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ หลวงสรศักดิ์ผู้บุตรเป็นพระอุปราช พ.ศ.๒๒๔๒ พระอุปราชสรศักดิ์จึงดำหริปรับปรุงณ.ที่เป็นที่เกิดนั้นให้เจริญขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยจัดสร้างวัดบริเวณต้นโพธิ์ที่ท่านเกิดประทานชื่อว่าวัดโพธิ์ประทับช้าง เมื่อพระราชบิดาสวรรคตพระองค์จึงขึ้นเสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดาอยู่ในพระราชสมบัติ เป็นเวลา ๕ ปี พ.ศ. ๒๒๔๖  ๒๒๕๑ พระชนมายุจนถึงสวรรคต ๔๗ พรรษา   (ก่อนเสียกรุง ๔๙ ปี )
                 พระมหากษัตริย์องค์ที่๓๐ของอาณาจักรศรีอโยธยา องค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง  สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาพระสรรเพชญ์ หรือ พระเจ้าท้ายสระ(เจ้าฟ้าเพชร)เป็นพระราชโอรส องค์โต ของพระเจ้าเสือ ขึ้นครองราชย์ใน ปี พ.ศ. ๒๒๕๑ ๒๒๗๕ เป็นเวลา๒๔ ปี     มีเหตุการณ์สำคัญประการหนึ่งเกิดขึ้นในรัชกาลของพระองค์พ.ศ.๒๒๗๑  ที่เมืองป่าโมกเกิดน้ำเหนือบ่าแรงในแม่น้ำเจ้าพระยา กัดเซาะตลิ่งด้านหน้า วัดตลาด เมืองป่าโมก ใกล้ ถึงองค์พระนอนจึงต้องมีการย้ายพระพุทธไสยาสน์เก่าแก่ยาว ๔ เส้น ๔ วา ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ต้นกรุง โดยพระองค์ร่วมกับพระอนุชาคือเจ้าฟ้าพร มีพระราชสงครามเป็นนายกองควมคุมไพร่พล ทำการเคลื่อนย้ายองค์พระนอนขยับออกห่างจากฝั่งน้ำและบูรณะให้งดงามดังเดิม ไพร่ฟ้าที่มาร่วมงานบุญนั้นประจักษ์ถึงความรักกันสามัคคีกันทำให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข  แต่ความไม่ลงตัวในหมู่พระญาติราชวงศ์  ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจครั้งใหญ่เมื่อพระเจ้าเสือราชบิดาครองราชย์ได้เพียง ๕ ปีเสด็จสวรรคตลง ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดาเจ้าฟ้าเพชรก็ขึ้นครองราชย์ โดยมีเจ้าฟ้าพร พระอนุชา เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์และพระอนุชาเติบโตภายใต้เศวตฉัตรบ้านเมืองสงบเรียบร้อยต่อเนื่องมาจนขึ้นครองราชย์และแต่งตั้งพระอนุชาเป็นวังหน้าอำนาจในราชอาณาจักรลงตัวมายาวนาน ๒๔ ปี และเมื่อพระเจ้าท้ายสระประชวรหนัก กลับมีเหตุให้ถึงคราวล่มสลาย เค้าลางการชิงอำนาจจึงเริ่มปรากฏเมื่อพระเจ้าท้ายสระ โปรดเกล้าให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรส เป็นองค์รัชทายาท ซึ่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล(เจ้าฟ้าพร)พระอนุชาไม่เต็มพระทัย เพราะปรารถนา จะให้ทรงมอบราชสมบัติแก่เจ้าฟ้านเรนทร (กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์) ซึ่งในขณะนั้นผนวชอยู่  แต่พระเจ้าท้ายสระมิทรงยินยอมตามกรมพระราชวังบวร เหตุการณ์นี้ชวนให้คิดได้ว่าแท้จริงแล้ว กรมพระราชวังบวรคิดจะ  ขึ้นครองราชย์เองเนื่องจากเจ้าฟ้าพรเติบโตมาคู่กับเจ้าฟ้าเพชรพระเชษฐาธิราชที่ได้ราชสมบัติจากพระราชบิดาตัวของเจ้าฟ้าพรได้เป็นอุปราชมีสิทธิที่จะครองราชย์เป็นองค์ต่อมา แต่เมื่อพระเชษฐามีโอรสย่อมต้องการให้ราชสมบัติตกอยู่กับโอรส แต่เมื่อพระเจ้าท้ายสระประชวรหนักรู้สึกพระองค์จะไม่หายเป็นปกติได้จำเป็นต้องตั้งรัชทายาทและไม่ต้องการแตกหักกับพระอนุชาเพราะจะนำภัยมาสู่พระโอรสจึงตัดสินพระทัย ยกราชสมบัติแก่ เจ้าฟ้านเรนทร พระโอรสพระองค์ใหญ่ตามคำของอนุชาราชวงศ์เจ้านายทั้งปวงเห็นชอบตามนั้น แต่ตัว เจ้าฟ้านเรทรในเพศบรรพชิตไม่เห็นชอบด้วย  ไม่ยอมลาสิกขา เพราะเกรงภัยจากพระอุปราชซึ่งเจ้าฟ้านเรนทรทราบประสงค์ของพระเจ้าอาว่าคิดอย่างไร ไม่เห็นทางอื่นพระเจ้าท้ายสระ จึงได้ยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระโอรสองค์รอง ไม่กี่เพลาจากนั้นพระเจ้าท้ายสระก็สววรคต
แล้วเหตุการณ์ที่เจ้าฟ้านเรนทรคิดก็เป็นจริง หลังสวรรคตเสร็จพระราชพิธีถวายพระเพลิง ขุนนางฝ่ายวังหลวงที่เกรงจะสูญเสียอำนาจให้วังหน้าจึงได้จัดเตรียมกองทัพตั้งค่ายไว้ หน้าวังหลวงเพื่อเตรียมที่จะรบกับกรมพระราชวังบวรฯ(เจ้าฟ้าพร)โดยมีเจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าปรเมศร์ เป็นหัวหน้าคณะชิงอำนาจ  เหตุการณ์ในครั้งนี้อยู่ในสายตาของวังหน้าสิ้น สร้างความไม่พอใจให้กับกรมพระราชวังบวรฯเป็นอย่างมากเนื่องจากพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวร  มีสิทธิที่จะขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐาอย่างถูกต้อง ระหว่างนั้นทั้งสองฝ่ายจึงตระเตรียมเคลื่อนพลเข้า สู้รบกันขึ้น  ฝ่ายวังหลวงมีพระธนบุรีเป็นนายกองเป็นผู้มีความสามารถนำกองบุกมายังวังหน้า ฝ่ายวังหน้านำกองทหารออกมาหน้าวังเกิดต่อสู้กัน นายกองวังหน้าเสียทีถ่อยร่นเข้าภายในวังทัพวังหลวงจึงล้อมวังหน้าตั้งกองท้าทายอยู่หน้าวัง ทัพวังหน้าของกรมพระราชวังบวรฯ ระส่ำระสายอย่างหนัก ขณะนั้นขุนชำนาญชาญณรงค์ทหารคนสนิทของกรมพระราชวังบวร แจ้งให้เสด็จลี้ภัยไปคอยทีดูสถานะการณ์ที่วัดขุนอินทร์เมืองอ่างทอง ส่วนทางวังหน้านี้ขุนชำนาญจะอาสาเข้าสู้รบกับพระธนบุรีแม่ทัพผู้เก่งกาจของฝ่ายวังหลวงเองและหากตนเองพ่ายแพ้ ถึงตอนนั้นกรมพระราชวังบวรคงเดินทางไปซ่อนตัวที่เมืองอ่างทองคงปลอดภัยและค่อยคิดการณ์กลับมาชิงอำนาจคืนในภายหลัง  กรมพระราชวังบวรจึงเสด็จลงเรือหลบออกจากวังหน้าไป แล้วขุนชำนาญคนสนิทวังหน้าจึงถือดาบสองมือขึ้นม้านำทหารเปิดประตูวังหน้าออกมา บุกเข้ารบกับพระธนบุรีที่ตั้งกองทหารเผชิญหน้าอยู่ พระธนบุรีก็หาเกรงกลัวไม่ จึงชักม้ามารบกับขุนชำนาญฯ รุกรบต่อตีกันเป็นสามารถท้ายที่สุดขุนชำนาญฯใช้ดาบสองมือฟันพระธนบุรีตายบน หลังม้า ฝ่ายทหารฝ่ายวังหน้าได้ใจจึงโห่ร้องต่อตีทัพวังหลวงที่กำลังเสียขวัญแตกพ่าย ไปจนทุกทิศทางฝ่ายวังหน้าได้ยึดกุมอำนาจทางทหารไว้ได้ขุนชำนาญจึงได้นำทหารบุกวังหลวงเข้ากุมตัวเจ้าฟ้าอภัย และเจ้าฟ้าปรเมศร์ มาจำไว้ที่วังหน้า เหตุการณ์สงบลง จึงแจ้งข่าวให้ กรมพระราชวังบวรเจ้าฟ้าพร เสด็จกลับมาจากเมืองอ่างทอง สั่งนำตัวเจ้าฟ้าทั้งสององค์ไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา ขณะนั้นเหลือเวลาอีก ๓๕ ปีจะเสียกรุงศรีอยุธยา

พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓๑ของอาณาจักรศรีอโยธยา องค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง   หลังจากสำเร็จโทษเจ้าฟ้าอภัย และเจ้าฟ้าปรเมศร์แล้ว กรมพระราชวังบวรเจ้าฟ้าพรได้สถาปนา ขึ้นครองราชย์ ณ พระที่นั่งวิมานรัตยาในพระราชวังบวรสถานฝ่ายหน้านั้นสืบต่อไป(ทรงประทับที่วังหน้าตลอดรัชกาล)เป็น สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมราชาธิราช (พระเจ้าบรมโกษ ) พ.ศ.๒๒๗๕ –๒๓๐๑ ครองราชย์ รวม๒๖ ปี
และทรงพระกรุณาโปรดให้ขุนชำนาญชาญณรงค์เป็นเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ว่าที่โกษาธิบดี  หลวงจ่าแสนยากรเป็นเจ้าพระยาอภัยมนตรี ว่าที่จักรี(สมุหนายก)พระยาราชภักดีผู้ว่าที่ สมุหนายกเดิมนั้นเป็นว่าที่ สมุหกลาโหมแล้วโปรดเกล้าให้พระพันวัสสาใหญ่(สนมใหญ่)เป็นกรมหลวงอภัยนุชิต ให้พระพันวัสสาน้อย(สนมรอง)เป็นกรมหลวงพิพิธมนตรี  ส่วนเจ้าฟ้านเรนทรพระราชโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระที่มิยอมลาสิกขามาเป็นกษัตริย์ ดำรงเพศบรรพชิตตลอดมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงทรงสถาปนาให้ทรงกรมที่ กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์(เจ้าพระฯ) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น