ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สามมหาราช ตอนที่๑๕



                                                                               ตอนที่ ๑๕ ศึกสายเลือด 

                       กรมหลวงอภัยนุชิต และกรมหลวงพิพิธมนตรี  พระพันวัสสาทั้งสองพระองค์นี้เป็นพี่น้องกันคือเป็นบุตรีของเจ้าพระยาบำเรอภูธรในรัชสมัยพระ เพทราชา มีพระมารดาเป็นเชื้อตระกูลพราหมณ์ชาวเมืองเพชรบุรี(บ้านทมอปรือ)โดยพระพันวัสสาใหญ่ ทรงมีพระโอรสธิดา ๗พระองค์  คือ  เจ้าฟ้าบรม           เป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือเจ้าฟ้าธรรม ธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง กรมขุนเสนาพิทักษ์)  เจ้าฟ้าธิดา   เจ้าฟ้ารัศมี    เจ้าฟ้าสุริยวงศ์   เจ้าฟ้าสุริยาและ เจ้าฟ้าอินทสุดาวดี
 ส่วนพระพันวัสสาน้อย มีพระโอรส ธิดา ๘พระองค์เป็นพระราชโอรส ๒พระองค์คือ     เจ้าฟ้าประภาวดี
เจ้าฟ้าประชาวดี     เจ้าฟ้าพินทวดี    เจ้าฟ้าเอกทัศน์  เจ้าฟ้าจันทวดี     เจ้าฟ้ากษัตรี      เจ้าฟ้ากุสุมาวดี และ   เจ้าฟ้าดอกเดื่อ   และนอกจากนั้นพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศยังมีพระราชโอรสที่เกิดแต่พระสนมอื่นอีกหลายพระองค์ที่สำคัญคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ(พระองค์เจ้าแขกราชโอรสพระเจ้าบรมโกศกับพระสนมชาวลังกา)  กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดี  โดยกรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดี จับกลุ่มรวมตัวกันเหนียวแน่น จนเรียกกันว่า เจ้าสามกรม เจ้าพระ(กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์)นั้นทรงสนิทกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษเป็นอย่างยิ่งจนทำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรพระโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเกิดความระแวงเรื่องราชสมบัติจึงวางแผนลอบทำร้ายเจ้าพระเพราะเกรงว่าพระราชบิดาจะมอบราชสมบัติคืนให้เจ้าพระทั้งที่พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่มีสิทธิโดยชอบธรรมในราชสมบัติ.ในปีพ.ศ.๒๒๗๘ขณะพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครองราชย์ได้ ๓ ปี โปรดให้พวกช่างก่อสร้างช่างฝีมือทำการปฏิสังขรณ์พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทซึ่งเก่าแก่ชำรุดทรุดโทรม ในปีนั้นก็ทรงพระประชวรหนัก เจ้าพระซึ่งทรงผนวชจำพรรษาอยู่ ณ วัดเกาะ ก็เสด็จเข้ามาจำพรรษา ณ วัดโคกแสงภายในพระนครเพื่อเข้าไปเยี่ยมสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอันทรง
พระประชวรอยู่ ณ พระราชวังหน้านั้นเนืองๆ  อยู่มาวันหนึ่งเจ้าฟ้าธรรมมาธิเบศร(สมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมขุน
                                                                                                         ๑๔๘
เสนาพิทักษ์)ตรัส ใช้ให้พระองค์เจ้าชื่นและ พระองค์เจ้าเกิด   ออกไปทูลลวงเจ้าพระว่า มีพระราชโองการให้นิมนต์เข้าไปในพระราชวังหน้าในเวลาค่ำ เจ้าพระก็เสด็จเข้าไปในพระราชวังในเวลามืดค่ำนั้น  พระชัยเจ้าฟ้าธรรมมาธิเบศรแอบพระทวารคอยท่าอยู่ พอเจ้าพระผ่านเข้าทวารจึงเอาพระแสงดาบฟันเอาเจ้าพระถูกองค์แต่หาเข้าไม่แต่ผ้าจีวรขาด    เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเห็นเช่นนั้นจึงผละวิ่งเข้าไปข้างในตำหนักพระราชมารดา เพราะกลัวพระราชอาญา ฝ่ายเจ้าพระก็เสด็จเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์แปลกพระทัยนักที่เจ้าพระเข้าเฝ้ายามค่ำคืน และได้ทอดพระเนตรเห็นจีวรขาดจึงตรัสถามว่าเหตุไฉนผ้าจีวรจึงขาด เจ้าพระถวายพระพรว่าเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรหยอกเล่น ครั้นเจ้าพระถวายพระพรลาออกมาแล้ว พระพันวัสสาใหญ่กรมหลวงอภัยนุชิต(พระราชมารดา
ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร)จึงเสด็จมา อ้อนวอนว่า ถ้าพ่อมิช่วยก็เห็นจะตาย เจ้าพระ จึงตรัสว่าจะช่วยได้ก็แต่กาสาวพรรสอันเป็นธงชัยพระอรหันต์ (คือต้องบวช) กรมหลวงอภัยนุชิตได้พระสติจึงเสด็จกลับเข้าที่ในไป พาเจ้าฟ้าธรรมธิเบศราชโอรสขึ้นซ่อนในพระวอเดียวกันกับเจ้าพระ ออกจากทางประตูฉนวนวัดโคกแสง ให้ไปบวชเป็นพระภิกษุอยู่ ณ วัดโคกแสงนั้น ข้างพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษรับสั่งให้สอบสวนเรื่องราว ทรงพระพิโรธเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเป็น อันมากให้ค้นหาตัวในพระราชวังหาพบไม่  ได้แต่พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าชื่นพระองค์เจ้าเกิด ซึ่งร่วมคิดกันนั้น  ดำรัสสั่งให้เอาไปสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์ เสียทั้งสองพระองค์ การบวชเจ้าฟ้าธรรมธิเบศครั้งนี้ เจ้าพระฯก็ทรงช่วยอนุเคราะห์อย่างสุดกำลังโดยเป็นพระอุปัชฌาย์ถวายการทรงผนวชให้ด้วย จึงทำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรมีพระชนม์ชีพอยู่รอดปลอดภัยมาได้ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงใช้เวลาในระหว่างบวชเรียนอยู่กับเจ้าพระ ทำการศึกษาเล่าเรียนจนทรงแตกฉานวิชาการประพันธ์ ดังปรากฏอยู่ในผลงาน กาพย์แห่เรือ กาพห์ห่อโคลง ทำนองนิราศประพาสธารทองแดงและธารอโศกที่พระพุทธบาทสระบุรีเป็นต้น  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรต้องบวชอยู่ ๕-๖พรรษา จนถึง พ.ศ. ๒๒๘๔ พระราชโกษา  ได้กราบทูลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศขอให้แต่งตั้งเจ้าฟ้าธรรมธิเบศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อปรึกษาบรรดาเสนาบดีแล้วไม่มีใครคัดค้านพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษทรงอภัยโทษเก่าให้และโปรดให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร(กรมขุนเสนาพิทักษ์)เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช แต่เรื่องราวร้ายๆยังดำเนินต่อไป เมื่อถึงเดือน ๖ ปีกุน  พ.ศ. ๒๒๙๘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระบันทูรย์ให้มาเอาตัวเจ้ากรม ปลัดกรม นายเวรปลัดเวร ข้าราชบริพารในกรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดีมาถามว่า เจ้ากรมมีศักดิ์แค่หมื่น แต่จัดกันเองในกรม ตั้งขึ้นเป็นขุน สูงกว่าศักดิ์ได้อย่างไร จึงให้ลงอาชญาโบยหลังคนละ ๑๕ ทีแล้วให้กลับไป เจ้าสามกรมทราบความเรื่องนี้จึงโกรธเคือง กรมพระราชวังบวรยิ่งนัก เจ้าสามกรมทราบความบางเรื่องถึงความประพฤติของกรมพระราชวังบวร จึงร่วมกับกรมหมื่นสุนทรเทพ ทำฎีการ้องเรียนกรมพระราชวังบวรเรื่องกระทำชู้กันข้างในพระนครหลายครั้งหลายหน กับเจ้าฟ้านิ่มพระสนมและ เจ้าฟ้าสังวาลพระมเหสีฝ่ายซ้ายในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ จึงมีรับสั่งให้ผู้ร้องฎีกาคนถูกกล่าวหาเข้าเฝ้า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงเสด็จลง
                                                                                                         ๑๔๙
เรือจากวังหน้าเพื่อเข้าเฝ้าที่วังหลวง มาถึงประตูน้ำเสาธงชัยเห็นประตูปิดเวรยามประจำไม่ลงมาเปิดให้อ้างไม่มีรับสั่งจากพระเจ้าอยู่หัว จึงล่องเรือไปเข้าประตูท่าฉนวนก็ปิดเช่นเดียวกัน จึงล่องเรือมาเข้าคลองท่อเพื่อเข้าทางสระแก้วเทียบท่าแล้วประทับเสลี่ยง แต่คงคิดฉงนว่าอาจเกิดเหตุผิดปกติจึงสั่งกลับเสลี่ยงมาท่าน้ำเพื่อประทับเรือออกนอกวังองค์รักษ์ไม่ยินยอมทูลว่าเมื่อมาถึงเขตพระราชฐานนั้นแล้วต้องเข้าเฝ้า มิบังควรขัดกฏมนเฑียรบาล เจ้าฟ้ากุ้งจึงต้องเข้าเฝ้าโดยดี ในท้องพระโรงนั้น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษจึงทรงสอบสวนเหตุที่มีฏีการ้องเรียนได้ความจริง แล้วให้ลงโทษนาบพระบาทกรมพระราชวังบวร และทรงด่าว่า กระทำผิดศีลธรรมร้ายแรงนัก คบหากับเมียเจ้าทั้งสององค์ จนเกิดพระราชบุตรด้วย ๓ องค์ ๔ องค์  ต้องรับโทษ เฆี่ยน ๗๐๐ครั้ง แต่จะแบ่งโทษเป็น
๓ ส่วน ยกเสีย ๒ ส่วน จะให้เฆี่ยน ๒๓๐ที จะว่าประการใด กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตรัสขอรับพระราชอาชญาตามแต่พระราชบิดาจะทรงพระกรุณาโปรด แต่กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งอยู่ในที่สอบสวนนั้นด้วยเห็นว่าโทษนั้นหนักนัก จึงทูลขอต่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษว่า ขอให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนเพียง ๖๐ ที แต่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษไม่ยินดีตรัสสั่งว่า ให้เฆี่ยนยกละ ๓๐ที ไปจนกว่าจะครบ ๒๓๐ที เมื่อเจ้าพนักงานลงมือเฆี่ยนได้ ๖ ยกรวมเป็น๑๘๐ที กรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็สิ้นพระชนม์ จึงสิ้นราชโอรสในพระพันวัสสาใหญ่(สนมใหญ่)กรมหลวงอภัยนุชิต  ช่วงเวลาผ่านมาสองปีบรรดาขุนนางผู้ใหญ่พากันปรึกษาหารือต่อกันถึงการตั้งองค์รัชทายาท ซึ่งเมื่อเจ้าฟ้ากุ้งถึงแก่พิราลัยแล้วผู้ที่สมควรได้รับโปรดเกล้ามีหลายองค์แต่โดยกฏมนเทียรบาลต้องไล่เรียงลำดับตามสายพระโลหิตคือ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี และ กรมขุนพรพินิต โดยกรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นเป็นผู้เข้มงวด มุทะลุไม่เกรงใจผู้ใด บรรดาขุนนางล้วนเข้าหน้าไม่ติดหากทำราชการย่อหย่อนไป เกรงต้องมีโทษทัณฑ์ ส่วนกรมขุนพรพินิตคล้ายเจ้าฟ้ากุ้ง เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนยิ้มแย้มตรัสกับขุนนางแบบไม่ถือพระองค์จึงทำให้บรรดาขุนนางรักใคร่หากวันข้างหน้าได้ครองราชสมบัติ จะเป็นที่สมใจของบรรดาขุนนาง   ถึงเดือน ๕ ปีฉลูพ.ศ.๒๓๐๐ ในที่ประชุมว่าราชการ บรรดาเจ้าฟ้าและเหล่าขุนนางเข้าเฝ้า   กรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าพระยาอภัยราชา พระยากลาโหม พระยาพระคลัง จึงเห็นเป็นโอกาสที่จะให้พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งอุปราชจึงร่วมกันกราบทูลต่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษว่า บ้านเมืองขาดกรมพระราชวังบวรสถานมงคลขอพระองค์ทรงโปรดตั้งกรมพระราชวังบวรองค์ใหม่ให้ช่วยงานราชการโดยขอพระราชทานโปรดเกล้าตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมขุนพรพินิต(พระเจ้าอุทุมพร) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่กรมขุนพรพินิต กราบบังคมทูลว่า กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(พระเจ้าเอกทัศน์)พระเชษฐา นั้นเหมาะสมที่จะเป็นกรมพระราชวังฯมากกว่า พระองค์จึงตรัสว่าการแต่งตั้งกรมพระราชวังบวรนั้นสำคัญมากเพราะจะเป็นผู้สืบสันติวงศ์ในภายหน้า ทั้งต้องช่วยราชกิจทั้งปวงให้ไพร่ฟ้าอยู่ร่มเย็น จึงจะรับฎีกาไว้เมื่อข้าตัดสินสิ่งใดจะมีราชโองการในภายหลัง
หลังจากการประชุมวันนั้นบรรดา ขุนนางใหญ่น้อยแตกกันเป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มที่สนับสนุนกรมขุนพรพินิต  กลุ่มที่สนับสนุนกรมขุนอนุรักษ์มนตรี และกลุ่มพระราชโอรสจากพระสนมได้แก่ กรมหมื่นจิตรสุนทร
                                                                                                        ๑๕๐
กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดี ด้วยกรมขุนพรพินิตทราบเรื่องราวความแตกแยกนี้จึงเข้าเฝ้าพระเชษฐาปรึกษาความ และตรัสถึงความประสงค์ที่ต้องการให้พระเชษฐาครองราชย์ในภายหน้า แต่ขณะนี้เกิดความบาดหมางกันในกลุ่มขุนนางและราชวงศ์ขอพระเชษฐาช่วยชี้ทางด้วยเถิด กรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงตรัสให้ช่วยกันระวังกลุ่มเจ้าสามกรมที่ดูเหมือนว่าจะไม่ยอมรับไม่ว่าพระองค์หรือกรมขุนพรพินิต ส่วนตัวพระองค์คงแล้วแต่พระราชบิดาจะโปรดหรือไม่ขอให้อนุชาอย่ากังวลพระทัย
แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานฐานาศักดิ์กรมขุนพรพินิต เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลดำรงฐานะเป็นพระมหาอุปราช ส่วนกรมขุนอนุรักษ์มนตรีมิให้ดำรงตำแหน่งราชการใด เป็นที่สมใจของเหล่า
ขุนนาง พระองค์ไม่ฟังคำทัดทานจากกรมขุนพรพินิต ประการนี้เข้าใจได้ว่าพระเจ้าบรมโกษทรงรักกรมพระราชวังบวรกรมขุนเสนาพิทักษ์มากที่ปราศเปรื่องเรื่องหนังสือ ซึ่งกรมขุนพรพินิตมีส่วนคล้ายกรมขุนเสนาพิทักษ์มาก ตรัสสิ่งใดน่าฟังไม่ดุดันเหมือนพระเชษฐา ทั้งชอบเรื่องการศาสนา และการเรียนเขียนอ่านก็หลักแหลม ที่สำคัญเข้ากันดีกับเหล่าขุนนางและราชวงศ์ ส่วนกรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นเป็นคนมุทะลุดุดันมั่นใจในตนสูงมิใคร่ฟังผู้อื่นไม่สนใจเรื่องหนังสือเรื่องศาสนาให้พระเจ้าบรมโกศพึงพอใจ และขุนนางส่วนใหญ่เกรงกลัวต่อกรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงรวมกันสนับสนุนกรมขุนพรพินิตซึ่งหากขึ้นครองราชย์พวกขุนนางจะยอมรับมากกว่า
การขัดพระบรมราชโองการเป็นการกบฏดังนั้นจึงต้องปฏิบัติตามโดยทุกฝ่าย กรมขุนพรพินิตนั้นลำบากพระทัยนักด้วยเป็นอนุชาอ่อนอาวุโสหากภายหน้าขึ้นครองราชย์จะแต่งตั้งพระเชษฐาเป็นกรมพระราชวังบวร เพื่อช่วยราชการ นั้นหามีประเพณีกระทำไม่ เมื่อปรับความเข้าใจกันดีแล้วระหว่างพระองค์และพระเชษฐาจึงไม่มีเหตุการณ์แย่งชิงระหว่างพี่น้องร่วมอุทร ส่วนพี่น้องต่างมารดานั้นข่าวว่าเตรียมผู้คนไม่ประสงค์ดีต่อทั้งพระองค์และพระเชษฐา หลังจากนั้นอีกหนึ่งปี ก็เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาอ่อนแอจนต้องเสียกรุงในที่สุดเมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศใกล้สวรรคต (พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคตในเดือน๖ แรม๕ ค่ำ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๐๑เวลา๕โมงเย็น) เมื่อเชื้อสายของพระองค์ แบ่งแยกเป็นก๊กใหญ่ๆสองก๊ก ต่างฝ่ายต่างส้องสุมกำลังไว้เป็นจำนวนมาก ขุนนางเองก็แบ่งแยกเป็นสองฝ่ายตามแต่จะสังกัดเจ้าทรงกรมใด ก๊กแรกเป็นก๊กของกรมพระราชวังบวรขุนพรพินิจ ประกอบด้วยกรมขุนอนุรักษ์มนตรี กรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าพระยาอภัยราชา พระยากลาโหม พระยาพระคลังและขุนนางชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากเพราะเป็นฝ่ายที่เตรียมขึ้นครองราชย์โดยถูกต้องมีกองบัญชาการเตรียมกำลังอยู่ที่ตำหนักสวนกระต่ายของกรมพระราชวังบวรกรมขุนพรพินิจก๊กที่สองเป็นก๊กเจ้าสามกรมประกอบด้วยกรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดี ตั้งกองบัญชาการเตรียมกำลังเอาไว้ที่ตำหนักศาลาลวด ซึ่งได้ส้องสุมผู้คนไว้เงียบๆอยู่ก่อนแล้ว เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคตลง ต่างฝ่ายต่างเริ่มเข้าช่วงชิงเครื่องราชกุฎภัณฑ์นตลอดจนพระแสงปืนพระแสงดาบมาถือครองไว้ในฝ่ายตน โดยกรมหมื่น
                                                                                                         ๑๕๑
เทพพิพิธไปเชิญพระแสงดาบ พระแสงกระบี่ พระแสงง้าวข้างที่เพื่อเอาไปถวายกรมพระราชวังบวร ณ พระตำหนักสวนกระต่าย  ขณะเดียวกันข้างฝ่ายเจ้าสามกรม กรมหมื่นสุนทรเทพ และ กรมหมื่นเสพภักดี ทั้งสององค์เสด็จไปข้างใน เชิญเอาพระแสงบนพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ไปไว้ยังตำหนักศาลาลวด  ส่วนกรมหมื่นจิตรสุนทร เสด็จเข้าวังหลวงพบกับกรมหมื่นเทพพิพิธยังไม่รู้ความ สั่งให้พระยาอภัยราชา และพระยาคลังคุมทหารปิดประตูวัง จนเมื่อเห็นกรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสด็จเข้ามา ตรัสเรียกให้กรมหมื่นเทพพิพิธไปอัญเชิญหีบพระแสง ณ โรงแสงไปไว้ตำหนักสวนกระต่าย กรมหมื่นจิตรสุนทรก็ตกพระทัยและเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆว่าตนอยู่
ท่ามกลางศัตรูทางการเมืองเสียแล้วจึงรีบเสด็จกลับไปตำหนักศาลาลวดโดยพลันครั้นใกล้พลบค่ำกรมพระราชวังบวรฯมีบัณฑูลให้ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยมาเข้าเฝ้า ณ ศาลาลูกขุนตำหนักสวนกระต่าย ข้างฝ่ายเจ้าสามกรมนอกจากไม่ยอมมาเข้าเฝ้าตามพระบัญชาแล้วยังให้ทหารของขุนพิพิธภักดีจางวางในกรมหมื่นจิตรสุนทร พาคนไปกระทุ้งบานประตูโรงแสงเข้าไปเอาพระแสงมายึดถือไว้เป็นอันมาก เพื่อเตรียมพร้อมอีกต่างหากกับให้ทหารข้ามกำแพงวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์และกำแพงโรงราชรถ เข้ามารวมพล ณ ตำหนักศาลาลวด ต่างฝ่ายต่างเตรียมรบกันถึงขั้นแตกหัก ครั้งนั้นต้องเดือดร้อนพระผู้ใหญ่ในบ้านเมืองด้วยเป็นวันพระแรม ๑๕ ค่ำ พระเทพมุนี พระพุทธโฆษาจารย์ พระธรรมอุดม พระธรรมเจดีย์ พระเทพกวี เข้าวังมาเตรียมจะถวายพระธรรมเทศนาราชพิธีพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรมพระราชวังบวรฯจึงให้นิมนต์พระผู้ใหญ่เหล่านั้นเข้ามา ณ ตำหนักสวนกระต่ายแล้วอาราธนาให้ช่วยไปเจรจากับฝ่ายเจ้าสามกรม ให้สมัครสมานกัน เจรจาตั้งแต่หนึ่งทุ่มจนถึงยามสามเศษจึงบรรลุข้อตกลงเจ้าสามกรมจึงมาเฝ้าทำสัตย์ถวายทั้งสามองค์ ครั้น เพลาเช้าจึงเสด็จมา ณ พระที่นั่งทรงปืน สรงพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัว แล้วเชิญเข้าพระโกศ(ด้วยพระองค์มีสรีระใหญ่โตโกศบรรจุพระบรมศพจึงมีขนาดใหญ่มากสะดุดตาแก่ผู้คนจนทำให้ในเวลาต่อมากล่าวถึงพระองค์ซึ่งสวรรคตไปแล้วจึงแทนคำเรียกพระนามว่าพระเจ้าบรมโกศ ประทับไว้ที่พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาตามพระราชประเพณี
แต่นั้นมาต่างฝ่ายต่างคุมเชิงกัน ต่างไม่เชื่อใจต่อกันต้องช่วงชิงอำนาจให้ได้เบ็ดเสร็จจึงต่างวางแผนการ ฝ่ายข้างเจ้าสามกรมเตรียมพร้อมกำลังเต็มที่เพื่อเข้ารัฐประหารระหว่างนั้นเอง  กรมพระราชวังบวรกรมขุนพรพินิจว่าที่กษัตริย์มีความตั้งใจเดิมตามที่กราบทูลพระราชบิดาว่าต้องการให้พระเชษฐาได้รับตำแหน่งกรมพระราชวังบวรและขึ้นครองราชย์โดยพระองค์จะบวชแต่เมื่อเหตุการณ์ชิงอำนาจกับเจ้าสามกรมเกิดขึ้นยังจัดการสิ่งใดไม่เรียบร้อย ย่อมเป็นภัยกับทั้งพระองค์ในตำแหน่งกรมพระราชวังบวรว่าที่กษัตริย์ และพระเชษฐา ดังนั้นพระองค์จึงวางแผนกับพระเชษฐากรมขุนอนุรักษ์มนตรีให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วยเป็นเชษฐาองค์โต   ฝ่าย กรมขุนอนุรักษ์มนตรีจะนำกำลังบุกจับกุมตัวพวกเจ้าสามกรมที่วัง กรมพระราชวังบวรจึงทัดทานพระเชษฐาหากนำกำลังบุกไปคงรบกันใหญ่เพราะฝ่ายเจ้าสามกรมก็เตรียมกำลังเอาไว้มากโขจึงร่วมปรึกษากันโดยใช้แผนการให้พระเชษฐาชักชวนเจ้าสามกรมให้ชิงราชสมบัติ โดยวังหน้าตระเตรียมทหารฝีมือดีไว้กุมตัวเจ้าสามกรมให้ได้ ดังนั้นกรมขุน
                                                                                         ๑๕๒
อนุรักษ์มนตรีจึงเดินแผนทำทีลอบพบกับฝ่ายเจ้าสามกรม ทำทีไปเกลี้ยกล่อมเจ้าสามกรมให้ช่วยหนุนหลังเพื่อโดดเดี่ยวกรมพระราชวังบวรและพาเจ้าสามกรมมาเฝ้ากรมพระราชวังบวรเพื่อบังคับไม่ให้ขึ้นครองราชย์โดยมีข้อตกลงให้ฝ่ายเจ้าสามกรมรับผิดชอบกรมท่าเรียกเก็บภาษีทั้งมวล มีการหารือกันหลายครั้งหลายหน ดำเนินการถึง ๒๑ วันจึงสำเร็จ  เมื่อฝ่ายเจ้าสามกรมตายใจ กรมขุนอนุรักษ์มนตรีก็นัดแนะให้มาเข้าเฝ้าตามปกติในเวลาว่าราชการกลางวันแบบเปิดเผยเหมือนมาหารือราชกิจธรรมดาๆทั่วไปทั้งสามองค์ จะได้ไม่เป็นที่ผิดสังเกตของ
ทหารฝ่ายเจ้าสามกรม ส่วนกำลังวังหน้าได้มอบให้กรมหมื่นเทพพิพิธจัดวางคนซุ่มไว้ทุกทางแล้ว
ครั้น ถึงวันแรม ๑๑ ค่ำเพลาบ่าย กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดี หลงกลเสด็จขึ้นไปเฝ้ากรมพระราชวังบวร ณ พระตำหนักตึก ขณะนั้นคนที่วางไว้ก็เข้าล้อมจับทหารฝ่ายเจ้าสามกรมจนหมดสิ้นจึงแจ้งความมายังกรมพระราชวังบวร  กรมขุนอนุรักษ์มนตรีทราบสถานการณ์เป็นไปตามแผนการแล้วจึงลุกขึ้นจากที่ประทับชักพระแสงตรงเข้าไปยังกรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดีท่ามกลางที่ทุกคนตะลึงเจ้าสามกรมเข้าใจในทีว่าเสียทีแก่สองพี่น้องแล้ว กรมขุนอนุรักษ์มนตรีชี้พระแสงไปที่อนุชาต่างมารดาทั้งสามคนตรัสถามว่าไหนใครคิดแย่งชิงบรรลังค์ของน้องข้าเจ้าคนไหนต้นคิดทั้งสามองค์นิ่งเสียด้วยทราบชะตาตัวเองถึงกาลสิ้นแน่แล้วด้วยเขลากว่า สององค์พี่น้อง กรมพระราชวังบวรจึงให้ทหารจับกุมเอากรมหมื่นสุนทรเทพไปลงสังขลิก(โซ่ตรวน) ไว้ ณ หอพระมนเทียรธรรม กุมเอากรมหมื่นเสพภักดีไปพันธนาการไว้ ณ ตึกพระคลัง ศุภรัตจับเอากรมหมื่นจิตรสุนทรไปจำไว้ ณ พระคลังพิเศษ ครั้นแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๖ จึงให้ประหารด้วยท่อนจันทน์ ณ พระคลังพิเศษทั้งสามองค์  รวมทั้งทหารฝ่ายเจ้าสามกรมทั้งหมดก็ถูกประหารไปสิ้น ฝ่ายข้าราชบริพารที่เป็นสตรีหรือเด็กตลอดจนทรัพย์สมบัติทั้งหลายของฝ่ายเจ้าสามกรมก็ถูกริมเสียหมดสิ้น ศึกสายเลือดครั้งนี้กรุงศรีอยุธยาสูญเสียขุนนางผู้ใหญ่ไปมากมายรวมถึงเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เกือบทั้งหมดด้วย
 (ขณะนั้นเป็นเวลาก่อนเสียกรุง ๙ ปี)
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓๒ของกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา พระองค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง เมื่อกำจัดศรัตรูทางการเมืองสิ้นแล้วเพื่อให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระราชบิดาบรมโกษ กรมพระราชวังบวรฯจึงตั้งการพระราชพิธีอภิเษกขึ้นเสวยราชย์ ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท เมื่อเดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ ( พ.ศ. ๒๓๐๑)ทรงพระนามพระบรมราชาธิราช หลังจากเสวยราชย์สมบัติได้ไม่กี่เพลา พระองค์ก็เชิญพระเชษฐาเข้าเฝ้าลำพังเพื่อปรึกษาถึงความประสงค์เดิมที่เคยตรัสกันไว้ด้วยพระองค์ต้องการถวายราชสมบัติให้พระเชษฐา พระเจ้าอุทุมพรตรัสกับพระเชษฐาใจความว่า เพราะความต้องการของพระราชบิดาทำให้เกิดเหตุที่พระองค์ต้องประหารพี่น้องเจ้าสามกรม ส่วนพระองค์จะตั้ง พระเชษฐาให้เป็นกรมพระราชวังบวร นั้นหามีประเพณีแต่ก่อนมาไม่ ส่วนเมื่อพระเชษฐาครองราชย์แล้วจะตั้งตัวข้าพเจ้าเป็นกรมพระราชวังบวรนั้นจะเป็นที่ขบขันที่พระมหากษัตริย์สละราชสมบัติมาเป็นอุปราช คงต้องหากลอุบาย ส่วนเรื่องขุนนางที่แบ่งเป็นก๊กเหล่า นั้นพระองค์ทราบดีว่าขุน
                                                                                                          ๑๕๓
นางมากมายเกรงกลัวและไม่ชอบพระเชษฐาและถือข้างสนับสนุนพระองค์ให้ครองราชย์หากเมื่อพระองค์สละราชสมบัติ เหล่าขุนนางย่อมไม่ถูกใจรวมตัวกันก่อกบฏหากปราบปรามก็จะเสียผู้คนดังที่เคยเสียจากการประหารขุนนางฝ่ายเจ้าสามกรมครั้งนั้นเสียคนไปมาก มีหนทางเดียวตามแบบอย่างเจ้าพระ  นุ่มนวลที่สุดและพระองค์ยังสามารถเป็นคนกลางประสานระหว่างขุนนางและพระเชษฐาได้ ดังนั้นเมื่อ เสวยราชสมบัติได้๑๐วัน สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงทรงเรียกขุนนางทั้งปวงเข้าเฝ้าจึงประกาศให้ทราบว่าด้วยสิ้นพระราชบิดาและได้สำเร็จโทษพี่น้อง
ขุนนางของแผ่นดินไปมากพระองค์จะบรรพชาเป็นราชกุศล บรรดาขุนนางจึงอนุโมทนาบุญโดยพร้อมกัน                                                                                      
ในระหว่างที่พระองค์บรรพชาโปรดให้กรมขุนอนุรักษ์มนตรีสำเร็จราชการแทนพระองค์ บริหารราชกิจทั้งปวงขุนนางทั้งหลาย อย่าได้กระทำการเป็นที่ขุนข้องขัดเคือง หลังจากนั้นอีก๑๕วันก็เสด็จออกไปผนวชแล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดประดู่ทรงธรรม โดยตั้งพระทัยเดิมที่จะสละราชย์จึงไม่ประสงค์ลาสิกขา
แต่การเมืองมันไม่เรียบร้อยเหมือนที่พระองค์คิด อำนาจไม่ได้อยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เท่านั้นบรรดาเจ้าฟ้า พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางที่ถือข้างย่อมต้องการได้อำนาจมีอยู่กับตนสามารถใช้อำนาจเหนือขุนนางผู้อื่น เหนือฝ่ายข้างอื่น และใช้อำนาจให้ได้มาซึ่งทรัพย์และบริวารดังนั้นหากพระมหากษัตริย์ข้างตนวางลงซึ่งอำนาจ ขุนนางพวกนี้จึงพลอยหมดอำนาจไปด้วยเมื่อรู้ตัวก็ต้องดิ้นรนอาจกระทำสิ่งไม่พึงประสงค์เพื่อให้ได้ซึ่งอำนาจคืนกลับมามีคนปล่อยข่าวลือต่างๆนานาให้ขุนนางทั้งส่วนกลางและหัวเมืองเกลียดชังกรมขุนอนุรักษ์มนตรี เช่นกรมขุนอนุรักษ์มนตรีถือพระแสงไปนั่งบรรลังค์เพราะอยากเป็นพระมหากษัตริย์ความเกลียดชังเกิดขึ้นทั่วพระนครและหัวเมือง มีขุนนางหลายคนรวมตัวกันก่อกบฏ บ้างก็กินเบี้ยสินบนไม่เกณฑ์ไพร่หลวงเข้ารับราชการ ในพระนครมีขุนนางที่จงรักษ์ภักดีจากการสนับสนุนของกรมขุนอนักษ์มนตรีไม่มากนัก นับเป็นสถานการณ์สำคัญที่พระเจ้าเอกทัศน์ต้องเร่งแก้ไขเพราะหากปล่อยเนิ่นนานหากเกิดสงครามบรรดาหัวเมืองที่สิ้นความจงรักภักดีต่อกรุงศรีอโยธยาหันไปภักดีต่ออริราชศรัตรูคงจะรักษากรุงศรีอโยธยาเอาไว้ไม่ได้

           พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓๓ของอาณาจักรศรีอโยธยา พระองค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง สมเด็จพระบรมราชากษัตริย์บวรสุจริต(กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) ครองราชย์อยู่นาน๙ปี(พ.ศ.๒๓๐๑ ๒๓๑๐)พระองค์ขึ้นครองราชย์ภายหลังจากพระเจ้าอยู่หัวพระบรมราชาธิราช สมเด็จพระอุทุมพรมหาพรพินิต เสวยราชสมบัติได้๑๐วัน และทรงออกผนวชโดยไม่ยอมลาสิกขา เมื่อแผ่นดินกลับมาอยู่ภายใต้ร่มเศวตฉัตรของพระเจ้าเอกทัศน์พวกขุนนางและเจ้าฟ้าที่ตั้งตนเป็นศรัตรูกับกรมขุนอนุรักษ์มนตรี มาแต่แรกจึงร้อนตัว กรมหมื่นเทพพิพิธนั้นรู้ตัวว่าเมื่อสิ้นพระเจ้าอุทุมพรถึงแม้ช่วยกันวางแผนกำจัดเจ้าสามกรมก็ร้อนตนว่า ตนเองคงไม่รอดเพราะเป็นผู้นำในการถวายคำแนะนำให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษแต่งตั้งพระเจ้าอุทุมพรเป็นกรมพระราชวังบวรฯ เมื่อพระเจ้าอุทุมพรสละราชย์ จึงได้เสด็จหนีไปผนวช ณ.วัดกระโจม การหนีก็เหมือนร้อนตนเรื่องไม่จบลงง่ายๆ ส่วนขุนนาง
ที่ตั้งตนสนับสนุนพระเจ้าอุทุมพรให้ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวร
                                                                                                          ๑๕๔
เพื่อครองราชย์ในวันข้างหน้าจึงร้อนตัวระส่ำระสายถึงภัยที่กำลังจะมาถึงตัว มีขุนนางข้างพระเจ้าเอกทัศมากราบทูลว่าเจ้าพระยาอภัยราชา พระยาเพ็ชรบุรี หมื่นทิพเสนา นายเพ็งจันทร์ คิดกบฎ จะชิง เอาราชสมบัติถวายกรมหมื่นเทพพิพิธจึงรับสั่งให้ไปกุมตัวขุนนางทั้งหมดมาเฝ้า ส่วนพระภิกษุกรมหมื่นเทพพิพิธ รู้ตัวก็หนีออกไปจากวัดกระโจม ถูกตามตัวจับได้ ณ ป่านาเริ่ง(หนองแค สระบุรีในปัจจุบัน) นำตัวเข้าเฝ้า  ส่วนเจ้าพระยาอภัยราชา พระยาเพ็ชรบุรี นายจุ้ยนั้น เฆี่ยนแล้วให้ จำไว้ หมื่นทิพเสนา นายเพ็งจันทร์ หนีรอดไปได้ แล้วจึงโปรดให้ถอดยศกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเพียงพระสงฆ์
ธรรมดาเนรเทศไปลังกาซึ่งเป็นเมืองเกิดของมารดากรมหมื่น บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ที่กระด้างกระเดื่องถูกถอดบรรดาศักดิ์ริบศักดินาหมดสิ้นมานับแต่นั้นไม่เว้นขุนนางชั้นปลายแถวก็ถูกปัญหาการเมืองถูกให้พ้นจากราชการเพราะถือข้างพระเจ้าอุทุมพรไม่ยอมรับพระองค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น