ตอนที่ ๒ อโยธยาสิ้นแล้ว
ทัพกรุงศรีอยุธยาป้องกันกำแพงเมืองอย่างสุดความสามารถ
อังวะทุ่มเททั้งเจาะทำลายทั้งถมทำนบประชิดแต่อยุธยาก็ยังสามารถ ป้องกันทัพอังวะเอาไว้ได้
ทั้งทราบความแล้วว่ามีไส้ศึกปะปนอยู่ในพระนคร ยามค่ำคืนคอยออกปล้นชาวเมือง พระเจ้าเอกทัศออกตรวจตราทัพจึงทราบความอีกว่ามีพระยาหลายคนหนีทัพเล็ดลอดจากพระนครทิ้งไพร่พลให้อยู่ลำพังบ้าง
ทิ้งค่ายพาไพร่พลกลับเมืองไปบ้าง
สืบได้ความว่าหนีไปยังพิมาย และพิษณุโลก
ซึ่ง สองเมืองนี้ซ่องสุมผู้คนคอยทีจะปล้นเอาเมือง
แต่ยามนี้ขุนนางที่ไม่ชอบพระองค์ต่างกระด้างกระเดื่องหนีทัพโดยที่พระองค์ไม่สามารถลงอาญาได้ ความหวังสุดท้ายที่คอยทัพจากหัวเมืองตะวันออกถึงเกือบ
๓ เดือนคงสิ้นหวังยังไม่มีวี่แววทัพหนุนเดินทางมาถึง (ขณะนั้นพระยาตากเข้ายึดเมืองระยอง
วางแผนปราบปรามและเกณฑ์ไพร่พลจากจันทบูร)
ก่อนขึ้นเดือน ๕ หลายเพลา
ทัพอังวะล้อมจนติดกำแพงเมือง อโยธยา ไม่มีทัพจากในพระนครออกไปโจมตีทัพอังวะอีกแล้วคงมีกองประจำทวารทั้งสิ้นปิดทวารมั่นคง ฝ่ายใน หลวงเวรสิทธิ์นายเวรรับราชโองการนำ
เครื่องราชกกุธภัณฑ์ แลทรัพย์ในคลังหลวง ๘-๙คลัง ให้มหาดเล็กคนสนิททั้งหลายและนางในไปเก็บกรุซ่อนของ ที่บ่อน้ำ ทั้งฝังดินที่
กรุ วัดย่านวังหลวง และ วัดต่างๆอีกมากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศทรงตรัสกับเหล่าราชวงศ์
ฝ่ายใน อำมาตย์ราชครูใกล้ชิดว่า การสู้รบมาถึงที่สุดแล้วคงรักษาเมืองไว้ไม่ได้
จนพระทัยขุนนางพากันทิ้งทัพหลบหนีก็มาก
หวังพึ่งทัพพระยาตากก็ยังไม่มีมาถึง
กำลัง
เพียงน้อยในพระนครจะยันข้าศึกได้ไปอีกกี่เพลาหากอังวะเข้าเมืองได้คงบุกเข้าพระราชวัง หากแม้นพระองค์สู้ศึกจนสิ้นหรือถูกอังวะกุมตัวได้
แม้นถึงคราวนั้นให้ทหารมหาดเล็กวางเพลิงเมืองให้หมดสิ้น อย่าให้อังวะยึดเมืองเอาไปใช้ประโยชน์ได้ หากวันใดอโยธยามีคนดีมีความสามารถคงกอบกู้บ้านเมืองให้กลับคืนได้ ถึงเราไม่ทำลายพระนครเมื่ออังวะเข้ามาได้คงเก็บกวาดทรัพย์สินและเผาทำลายไม่ให้อโยธยาฟื้นคืน
ส่วนอารามนั้นอังวะ คงละเว้นเพราะอารามของพระพุทธองค์พระสงฆ์คงไม่ลำบาก หากใครเกรงกลัวอังวะให้เร่งหนีออกจากเมืองด้านทิศใต้ไปทางน้ำ แล้วจึงลอบให้เหล่าสนม นางใน ราชโอรส
ราชธิดาล่องเรือออกคลองฉะไกร
ยามค่ำคืน มุ่งไปยังด้านทิศบูรพาให้หลบซ่อนในป่าห่างไกล
ส่วนพระองค์และ ทหารรักษาพระองค์ทุกคนต่างไม่คิดหนีแต่อย่างใด ครั้นถึงวันที่ ๗ เมษายน
พุทธศักราช ๒๓๑๐ เวลาประมาณบ่ายสามโมง
อังวะจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริม ป้อมมหาไชยะ และยิงปืนใหญ่ระดมจากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่ายเข้าไปในพระนคร
ถูกปราสาทราชวัง วัดวาพังเสียหายมากนัก
พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา ๒ทุ่ม แม่ทัพอังวะยิงปืน
เป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้านเข้าตะลุมบอน ด้วยกำลังที่เหนือกว่า
อังวะเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดด้านหัวรอนั้นก่อน
มีเสียงลือว่าอังวะลอบเข้าเมืองมาปลอมตัวแฝงอยู่ในพระนครทั้งเผาบ้านร้านตลาดครั้งก่อน
ด้วยมีขุนนางมอญคอยให้การช่วยเหลือซ่อนเร้น
ยามนี้คนเหล่านั้นก็เข้าเปิดประตูเมืองให้กองหน้าทัพอังวะบุกทะลวงเข้ามาได้โดยทหารอโยธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ อังวะก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทิศทางทหารอโยธยาสู้จนตัวตายเกือบหมดผู้คนที่เหลือถูกกุมตัวเวลานั้นชาววังชาวเมือง
อลหม่าน เพลาค่ำนั้นเกิดเพลิงเผาไหม้จากวังหลวงวังหน้าและวังหลังจนทั่ว เมื่อ
ทัพหน้าอังวะทะลายกำแพงด้านหัวรอเมืองเข้ามาก็พบกับทะเลเพลิงแดงฉานข้างหน้าคงหยุดอยู่นอกกำแพงพระราชวังหลวงนั่นเอง ทหารที่รักษากำแพงมีน้อยมากพากันวางอาวุธยอมจำนนบ้างต่อสู้ก็ถูกฆ่าฟันล้มตายศพก่ายกอง แม้ทัพอังวะบุกเข้าเมืองมาได้ ก็ไม่สามารถใช้สถานที่ใดตั้งทัพและบุกเข้าในพระราชวังได้ท่ามกลางความอลม่าน
เพลานั้นมหาดเล็กคนสทิทก็ลอบพาพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากพระราชตำหนักมุ่งออกมาด้านทิศใต้มีทหารองค์รักษ์ตามเสด็จเพียงไม่กี่คนมหาดเล็กเตรียมเรือชะล่าซุ่มเอาไว้พระองค์ตั้งพระทัยมุ่งหน้าตามทัพพระยาตาก
นายกองอังวะที่พังกำแพงเมืองเข้ามากรูมาถึงแนวกำแพงพระราชวังก็กระจายกำลังเที่ยวค้นหาพระเจ้ากรุงศรีวังหลวงบางส่วนถูกเพลิงไหม้
จึงเร่งหาพระเจ้ากรุงศรีอโยธยา มาพบทหารกลุ่มหนึ่ง
แท้จริงเป็นกลุ่มมหาดเล็กและทหารองค์รักษ์นำเสด็จจึงเข้าสู้รบกันเป็นสามารถนายกองอังวะยิงปืนเข้าใส่ต้องพระอุระพระเจ้ากรุงศรี
และฆ่าฟันทหารกรุงศรีตายทั้งสิ้น จึงทราบว่าเป็นพระเจ้ากรุงศรีอโยธยา นายกองจึงแจ้งข่าวไปยังแม่ทัพเมเมียวสีหบดี
ว่าปลงพระชนม์พระเจ้ากรุงศรีลงได้แล้ว แม่ทัพเมเมียวสีหบดีจึงสั่งให้นำพระบรมศพพระเจ้ากรุงศรีมายังค่ายโพสามต้นและให้
นายกองอังวะ รวบรวมเชลยพันธนาการแยกขุนนาง
พระวงศานุวงศ์บ่าวไพร่ ราษฎร เจ้านาย ข้าราชการ สังเกตจากการแต่งตัวว่าใครนายใครบ่าวใครไพร่ ไม่มีทางหลบเลี่ยงซ่อนตัวในพระนครได้ทั้งพระภิกษุสามเณรจำนวนมาก
พระภิกษุ สามเณร
ถูกจับรวมไปคุมไว้ที่ค่ายโพสามต้น รวมทั้งจับกุม สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรที่จำพรรษารวมกับเหล่าข้าราชการที่วัดประดู่ทรงธรรมนั้นด้วย ส่วนราษฎรทั้งหลาย นำไปคุมขังไว้ตามค่ายต่างๆและเร่งตั้งค่ายลงที่เพนียด
ที่วัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดนางปลื้ม
วัดศรีโพธิ์ เมื่อนำพระบรมศพพระเจ้ากรุงศรีมาถึงค่ายจึงตั้งเอาไว้เช่นสามัญชนกลางค่ายท่ามกลางเหล่าเชลยศึกทั้งราชวงศ์และขุนนางอโยธยาจึงพากันร้องไห้ระงมครานี้อโยธยาสิ้นบุญแล้วจริงๆ
เมเมียวประกาศชัยเหนืออโยธยาท่ามกลางเสียงโห่ร้องของเหล่าแม่ทัพนายกองจึงให้ตระเตรียมพัธนาการและปักเสาเพนียด
คุมขังบรรดาเชลยเพื่อเตรียมกวาดต้อนกลับอังวะและให้ฝังพระศพเอาไว้ที่กลางค่ายนั้น
บรรดาแม่ทัพนายกองอังวะพากันตระเวนทั่วพระนครและเก็บกวาดทรัพย์สินและค้นจับเชลยศึกเมื่อ
ไร้ทรัพย์สินในพระบรมมหาราชวัง แม่ทัพนายกองพม่าทั้งหลายต่างทราบเรื่องคลังทรัพย์สมบัติของเจ้ากรุงอโยธยาที่มีมากนับ๘-๙คลัง
ทรัพย์สินเงินทอง เพชร นิลจินดา บรรจุใส่ใหซ้อนกันสูงอีกทั้งเครื่องราชกุธภัณฑ์ของกษัตริย์
พากัน เที่ยวค้นหาไม่พบ ก็ผิดหวัง พากันโกรธแค้นพระเจ้าอโยธยายิ่งนัก จึงต่างมุ่งเข้าวัดวาอาราม ค้นหาทรัพย์สินเผาลอกทองพระกันนับ
๑๐กว่าวันเอาเพลิงสุมหลอมเอาทองคำซึ่งแผ่หุ้มองค์พระพุทธรูปผืนใหญ่ บีบบังคับทั้งราษฎรทั้งพระภิกษุให้บอกแหล่งของทรัพย์ที่ฝังซ่อนไว้ ในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชรนั้น
ขนเอาเนื้อทองคำไปหมดสิ้น
บ้านช่องขุนนาง
บ้านเรือนชาวเมืองทหารอังวะพากันบุกค้นจนหมดสิ้นจับทั้งผู้คนริบทั้งทรัพย์สิน ไว้ได้ทั้งหมดสิ้น
ครานี้ขจัดศูนย์กลางการบริหารอาณาจักรให้หมดสิ้นเพื่อไม่สามารถฟื้นตัวได้ในเร็ววัน แต่เก่าก่อนมาการโจมตีอาณาจักรเพียงการกำจัดแค่พระมหากษัตริย์แล้วกวาดต้อนนำเชลยกลับไปยังอาณาจักรอังวะ
การจะซ้ำรอยครั้งพระมหาธรรมราชาให้พระนเรศวรราชาธิราชกอบกู้บ้านเมืองกลับคืนได้
อีกประการหนึ่งนั้น มาจากความสามารถของทัพอโยธยาที่ประจักษ์แก่แม่ทัพพม่าว่ามีความแข็งแกร่งกว่าอาณาจักรอื่นๆที่อังวะเคยโจมตีมา
แม้กำลังน้อยกว่าอังวะมากนัก แต่ยังสามารถต้านทานทัพอังวะได้นานนับปี
ถ้าปล่อยเอาไว้ ไม่นานกรุงศรีโยธยาต้องสถาปนาขึ้นใหม่ คิดเช่นนั้นแล้วแม่ทัพจึงสั่งให้ตระเวนเผาบ้านเรือนที่ยังไม่ถูกเพลิงไหม้จนราบ
สิ้นกรุงศรีอยุธยาแล้วครั้งนี้อังวะมิได้แค่ต้องการยึดเมืองได้แล้วปกครองแบบประเทศราชดังเช่นครั้งก่อนหากแต่ต้องการทำลายรากฐานบ้านเมืองประชาชนราชสำนักให้หายไปโดยไม่สามารถฟื้นตัวได้ง่ายๆ
อังวะต้องใช้เวลานานถึง ๒ เดือน ในการเที่ยวเก็บทรัพย์สมบัติจำนวนมาก
เตรียมเสบียงเลี้ยงคนและเชลย และเตรียมการต้อนเชลยศึกทั้งหมดรวมทั้งสมณะเจ้าอุทุพร และราชวงศ์กรุงศรีทั้งปวง รวมทั้ง พลเมืองอโยธยานับแสนคนกลับอังวะแล้วเร่งยกทัพกลับ อาณาจักรอังวะใน วันที่ ๖ มิถุนายนพ.ศ. ๒๓๑๐
ด้วยต้องตระเตรียมระดมพลรับทัพจีน
ดังนั้นจึงไม่สามารถทิ้งกองทัพและจัดการปกครองกรุงศรีอยุธยาได้ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพใหญ่ได้แต่งตั้งให้ สุกี้นายทัพ
คุมพล ๓,๐๐๐ ใช้ค่ายโพสามต้นเป็นที่ตั้ง
คอยกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินตามกลับไปภายหลังให้หมดสิ้นทั้งแผ่นดิน
ขณะที่ราชวงศ์บางพระองค์และขุนนางต่างเห็นกรุงศรีอยุธยาไม่มีโอกาสชนะอังวะได้นั้น
เพื่อความอยู่รอดทำให้เกิดชุมนุมทางการเมืองในระดับต่างๆ
ซึ่งเป็น"รัฐบาลธรรมชาติ"ขึ้นมาในท้องถิ่นทันทีบรรดาพระยา เจ้าเมืองขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากนักเพราะหลบเลี่ยงเกณฑ์พลเข้าทัพรักษาพระนครจึงเหลือไพร่พลมากจึงได้ตั้งตนเป็นใหญ่แยกอาณาจักรตั้งตนเป็นขุนหลวงในเขตอิทธิพลของตน ซึ่งมีจำนวน ๔-๖ แห่ง
หากแต่ไม่มีชุมนุมทางการเมืองใดคิดจะกอบกู้อโยธยา หรือฟื้นฟูให้กลับคืนดังเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น