ตอนที่
๓
ฐานทัพจันทบูร
ในที่รวมพลวัดป่าเลไลย เร่งรวบรวมเสบียงอาหารและเกณฑ์ผู้คนพร้อมแล้ว
จึงจัดขบวนทัพ พระยาตากจึงนั่งช้างพัง คีรีบัญชรนำทัพออกจากเมืองระยอง
ไปเมืองจันทบูร ขณะนั้นเจ้าเมืองจันทบูรประกาศตนเป็นเจ้าเมืองก่อนแล้วด้วยจันทบูรเอาใจออกห่างเข้ากับกัมพุชประเทศและที่สำคัญไม่มีอังวะเข้ามา
รบราถึงจันทบูร เมื่อพระนครมีศึกอังวะและกรมหมื่นเทพพิพิธมาชักจูงให้ท้ายจึงกบถ เป็นเอกเทศไม่ขึ้นกับพระนครเมื่อรู้ข่าวพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาให้พระยาตากมาปราบปรามและเกณฑ์ผู้คนของหัวเมืองตะวันออก
จึงร้อนตนจึงให้พระรามเฝ้าติดตามและหาหนทางกำจัดทัพพระยาวชิรปราการตั้งแต่ผ่านค่ายขุนด่านมาด่านกบแจะ
พระรามนั้นอยู่เมืองพนมสาลคาม เมื่อพระยาวชิรปราการสามารถนำทัพมาถึงเมืองราย็องจึงทำทีอ่อนน้อมและลอบเข้าปล้นค่ายครั้งหนึ่งแล้วแต่พ่ายแพ้พระยาวชิรปราการต้องเตลิดหนี
เมื่อหมดทาง พระเจ้าจันทบูรจึงแต่งทูตโดยพระผู้ใหญ่๔รูปมาเจริญไมตรีกับพระยาวชิรปราการที่ราย็องโดยมารอรับทัพที่เมืองกร่ำ ทัพพระยาวชิรปราการนั้นมุ่งไปจันทบูรผ่าน
บ้านไข้ บ้านคา บ้านกล่ำ เข้าเขตจันทบูรที่บ้านแกลงด่านแรกต้องปราบปราม กองโจรพระรามหมื่นซ่อง
ที่ตั้งค่ายอยู่บ้านแกลง เมื่อถอยจากเมืองราย็องก็แต่งเป็นกองโจรลอบเกาะติดทัพพระยาวชิรปราการคอยเข้ามาปล้นเสบียงช้างม้า
วัวควายด้านท้ายขบวนทัพ เกิดรบกันหนักที่ทุ่งทะเลน้อย กองโจรพระรามแตกสิ้นถอยไปอีกครั้ง
ส่วน ไพร่พลทัพพระยาวชิรปราการ ล้มตายไปจำนวนหนึ่งเมื่อได้ครอบครัวช้างม้าโคกระบือล้อเกวียนที่ถูกพระรามหมื่นซ่องลักพาคืนมาแล้ว
จึงตั้งค่ายที่วัดทะเลน้อยบำรุงทแกล้วทหารรวบรวมเครื่องสรรพาวุธปืนใหญ่น้อย
จัดการเผาศพไพร่พล ณที่นั้นในภายหลังได้สร้างเจดีย์ครอบเป็นอนุสรณ์เอาไว้ ตัวพระรามแตกหนีไปจันทบูร
เป็นการรบอีกครั้งหลังจากครั้งแรกที่ปากน้ำท่าลาด ที่มีไพร่พลบาดเจ็บล้มตายไปมาก ขณะพักทัพมีข้าในวังที่หนีอังวะตามทัพพระยาวชิระปราการและมาทันที่วัดทะเลน้อยได้ข่าวพระนครแตกเสียแก่อังวะก็มาถึงทัพพระยาวชิรปราการจึงเกิดรัดทดจิตใจยิ่งนัก
จึงเรียกประชุมนายกองทั้งปวง แจ้งข่าว ว่าพระนครเสียแก่ข้าศึกลงแล้ว ทัพเรามิอาจกลับไปช่วยเหลือให้ทันการ
เมื่อสิ้นขุนหลวงอโยธยาบ้านเมืองก็สิ้น เชื้อพระวงศ์ ขุนนางไพร่ชาวพระนครถูกกวาดต้อนไปอังวะ
บ้านแตกสาแหรกขาด พวกที่หนีทัพก็ตั้งตนเป็นเจ้าแยกแผ่นดินเป็นหลายฝ่าย
พระยาพิษณุโลกก็ประกาศตนเป็นเจ้าตั้งแต่ยังไม่เสียกรุง
กรมหมื่นเทพพิพิธเองก็ต้องการเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาหาได้ยกทัพไปช่วยเหลือกรุงไม่
ส่วนทัพของเราตั้งใจเกณฑ์ไพร่พลกลับไปช่วยเหลือกรุงตามที่องค์เหนือหัวทรงโปรดรับสั่งไว้
ดังนั้นเราก็ยังต้องกระทำตามพระราชประสงค์ให้แล้วเสร็จ
เมื่อข้าพาทัพไปช่วยพระนครไม่ได้ข้าจะพาทัพไปไล่อังวะให้พ้นปลดทุกข์เข็ญให้พี่น้องที่ยังต้องหลบซ่อนพวกอังวะ
พวกแม่ทัพนายกองทั้งหลายจึงร่วมกันเสนอว่าเมื่อกรุงแตกแล้วการใช้ราชโองการและตราตั้งคงไม่ได้แล้วผู้คน
และขุนนางที่แตกหนีหวังพึ่งพาทัพที่เหลือทั้งทัพเราทั้งทัพกรมหมื่น
ด้วยเขาประกาศตนเป็นขุนหลวงกรุงศรีอยุธยามีขุนนาง เชื้อพระวงศ์ไปอยู่ร่วมก็มาก
หากทัพเราไม่นำทัพไปเข้าด้วยแล้วทัพเราจักกลายเป็นทัพกบฏ บรรดานายกองทั้งหลายจึงพากันยกพระยาวชิรปราการนายทัพตนให้ประกาศตนเป็นขุนหลวงกรุงศรีอโยธยา
เพราะเห็นทางเดียวที่จะมีอำนาจ สิทธิขาดไปเกณฑ์ผู้คนเข้ากอบกู้บ้านเมืองและเป็นที่พึ่งของเหล่าขุนนางและประชาชนทั้งปวง
ด้วยมีทั้งนายทั้งไพร่อันแตกตื่นออกไปอยู่ป่าดงต่างเดินทางมาอาสาเข้าร่วมกองทัพเป็นจำนวนมาก
ณ ที่วัดทะเลน้อยจึงตระเตรียมสร้างบัลลังค์ที่ประทับในพิธีบวงสรวงปราบดาภิเศก
วันที่๑๕ มิถุนายน๒๓๑๐ จึงนิมนต์พระสงฆ์ทั้งปวงในที่นั้นมาเจริญชัยมงคล พระยาตาก
ได้ทำพิธีกรรมบวงสรวง อันศักดิ์สิทธิ์พระองค์ออกนั่งบัลลังค์ประกาศตนเป็นขุนหลวงอยุธยาให้หมู่นายกอง
และไพร่พล
ทั้งหลายเข้าถือน้ำสาบานตนจะเป็นข้าแผ่นดินและช่วยกันกอบกู้บ้านเมืองให้ได้ในเร็ววัน
แผนการเข้าตีเมืองจันทบูรครั้งนี้ต้องรวมสรรพกำลัง
สรรพาวุธดินดำ ปืนใหญ่ปืนน้อยให้พร้อมมากที่สุด เพราะจันทบูรเป็นเมืองใหญ่ตั้งบนเนิน
มีกำลังทหารมาก กำแพงดินถมก็สูงใหญ่แข็งแรงรอบเมืองหากจะบุกเข้าต้องใช้การปีนข้ามได้เท่านั้น
ซึ่งมีป้อมปราการ ตั้งปืนใหญ่ป้องกันแน่นหนาการเข้าตีด้วยกำลังที่มากกว่ายังยากจะเอาชนะ
แต่ขณะนี้กำลังเข้าตีมีน้อยกว่าต้องใช้ความกล้าหาญ เท่านั้นจึงจะตีหักเอาเมืองได้เพื่อให้ไพร่พลฮึกเหิมใคร่ทำศึกยึดเมืองจันทบูรให้ได้ถือเป็นนิมิตหมายอันดีแสดงเจตจำนงว่าจะเดินหน้าบุกเพื่อชัยชนะเท่านั้น
ในการเริ่มภารกิจการรุกครั้งแรก พระองค์ตรัสสั่งให้ ขุนกอง จัดการบรรทุกเสบียง
นำข้าวปลาอาหารขึ้นเกวียนเพื่อเลี้ยงกองทัพเท่าจำนวนวันที่เดินทางจากวัดทะเลน้อยไปถึงเมืองจันทบูร(ประมาณ
๗ วัน)น้ำจืดให้นำจากด้านเหนือน้ำประแส บรรทุกใส่โอ่งไหขึ้นเกวียนเพื่อใช้หุงหาระหว่างทางเพื่อให้ไพร่พลบุกยึดเมืองจันทบูรให้จงได้แล้วนำข้าวปลาอาหารของเมืองจันทบูรเลี้ยงไพร่พลในมื้อถัดไป เพราะ
ณ.ที่นี้ก็เป็นแดนจันทบูร เมื่อได้ฤกษ์จึงเคลื่อนทัพผูกแพพาไพร่พลทั้งช้างม้าข้ามลำน้ำกระแสซึ่งก็เสมือนการบุกเข้าเหยียบเมืองจันทบูร ถึงตำบลที่หนึ่งเป็นทุ่งอุดมสมบูรณ์จึงหยุดทัพให้ช้าง
วัว ควาย ได้ดื่มกินการโจมตีจันทบูรนอกจากช้าง ม้า และ พลรบ
วัวควายของกองสรรพาวุธและเกียกกายยังจำเป็นต้องใช้กระสุน ดินดำของปืนใหญ่ปืนคาบศิลา
ทีมีอยู่นั้นคงไมพอ
จึงตรัสเรียกไพร่พลที่เป็นชาวแกงชาวกร่ำชาวทะเลน้อยมาเข้าเฝ้าตรัสถามถึงที่ตั้งของถ้ำค้างคาวว่าอยู่ที่ใด
จึงได้ทราบว่ามีภูเขาที่อยู่ไม่ไกลจากที่พักทัพแห่งนี้จึงตรัสสั่งให้ช่างสรรพาวุธช่างปืนใหญ่ปืนคาบศิลา
ช่วยกันนำกระชุไปเที่ยวหาขนมูลค้างคาวและเที่ยวตัดไม้โกงกางมาเผาถ่าน เมื่อขนมูลค้างคาวจากถ้ำและเผาถ่านได้มากจนกองใหญ่นายกองปืนจึงทำการตำดินปืน
รวบรวมให้มากที่สุด กระทำแล้วเสร็จก็บรรทุกขึ้นกองเกวียนไม่ชักช้าที่ค่ายพักตำดินปืนแห่งนี้จึงเรียกว่าค่ายกองดินปืน
ก่อนเคลื่อนพลพระองค์พร้อมทหารเอกหลวงพิชัยและ
พระเชียงเงินอธิฐานจิตปลูกต้นโพธิ์ร่วมกันสามต้น ณ
ที่รวมพลแล้วจึงเคลื่อนพล(ภายหลังตั้งเป็นวัดจึงได้ชื่อวัดกองดิน)
ขบวนทัพข้ามน้ำพังราด(พระเจ้าตากทรงช้างปัจจุบันบริเวณที่ช้างข้ามลำน้ำชื่อตำบลช้างข้าม)
แล้วขบวนทัพก็มุ่งเข้าเมืองจันทบูรที่หมายแรกคือวัดพลับ บางกะจะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนของชาวจีนที่มีขนาดใหญ่หยุดตั้งทัพที่วัดพลับ
สามารถชักชวนชาวจีนที่บ้านนี้เข้าร่วมทัพได้จำนวนมาก จึงแต่งทัพวางแผนเข้าตีจันทบูรโดยจัดกองหน้ามีกำลังมากสั่งการเตรียมเดินทางตามคณะทูตเข้าเมืองจันทบูร
เพื่อจุดประสงค์ ลวงคณะทูตของพระยาจันทบูรว่าเป็นทัพหลวงจะพากำลังข้ามลำน้ำไปตั้งในเมืองตามคำเชิญของเจ้าเมือง แล้วนิมนต์พระให้กลับไปแจ้งพระเจ้าจันทบูร
ว่ารับไมตรี แท้จริงแล้วพระองค์ทรงแต่งทัพส่วนนี้ให้เป็นกองเข้าตีลวงข้าศึก
เข้าตีจากทางทิศใต้ เป็นอุบายทัพโดยพระเจ้าตากให้ไพร่พลกองหนึ่งทำทีเตรียมต่อแพเพื่อให้ทัพหลวงข้ามลำน้ำ
เข้าจันทบูรส่วนชาวจีนบางกะจะที่เข้าร่วมทัพพระเจ้าตากให้แทรกซึมเข้าเมือง(เป็นชาวเมืองจันทบูร
สามารถเข้าออกได้ง่าย)เมื่อทราบที่วางกำลังหนักเบาแล้วลักลอบออกมาแจ้งข่าวจึงได้ล่วงรู้เป็นที่แน่แท้ว่ากองทัพเมืองจันทบูรจัดกำลังเอาไว้ต้านทานทัพพระยาตากด้านทิศใต้และตะวันตกเป็นสำคัญ
และทัพจันทบูร เตรียมชุดซุ่มโจมตี ถ้ากองทัพพระยาตากข้ามลำน้ำท่าใหม่
ดังนั้นพระองค์จึงให้หลวงพิชัยส่งข่าวถึงทัพหน้าให้หยุดทัพตรึงกำลังข้าศึกไว้ที่ฝั่งแล้วพระองค์นำส่วนเข้าตีหลักและกองหนุนอีกกองหนึ่งโอบขึ้นทางหนองสีงา
มุ่งสู่ เขาแก้วด้านทิศเหนือของเมืองห่างประตูเมือง ๒๐๐๐ เมตร เจ้าตากจึงให้ทหารม้าไปเชิญพระยาจันทบุรีให้ออกมาเจรจาที่วิหารวัดเขาแก้ว
นอกกำแพงเมือง หากไม่ยอมมาทัพของพระองค์จะเข้าโจมตีเมือง
พระเจ้าจันทบูรจึงรู้ว่าพระเจ้าตากรู้กลศึกของตนแล้ว จึงไม่ยอมออกมาต้อนรับพร้อมกับระดมคนประจำรักษาหน้าที่
เชิงเทินอย่างแน่นหนา สั่งถอยทัพจากที่ซุ่มกลับเมือง
เกิดการรบพุ่งตั้งแต่เช้าจรดค่ำแม้พระองค์นำทัพด้วยพระองค์เองปีนกำแพงเข้าตีขาดแรงหนุนเนื่องไม่สามารถบุกเข้าเมืองได้เป็นหลายครา
เมื่อสถานการณ์ศึกทัพของพระองค์ยังไม่สามารถหักเอาเมืองได้พระองค์ทรงตระหนักดีว่าแม้ข้าศึกจะครั่นคร้ามฝีมือไม่กล้าโจมตีซึ่งหน้าก็ตาม
แต่ฝ่ายพระยาจันทบูรมีจำนวนมากกว่าและทหารของพระองค์ที่เจนศึกมีประมาณ๕๐๐ คน
นอกนั้นกะเกณฑ์และอาสาเข้าทัพมาจากเมืองรายทางจึงไม่เจนศึกขาดความกล้าหาญและความมุ่งมั่นเอาชนะข้าศึกหากรบยืดเยื้อนอกจากเสบียงหมด
(ตั้งใจนำเสบียงมาจากวัดทะเลน้อยแค่เดินทางมาถึงเมืองจันทบูร) ยังจะถูกทัพจันทบูรตอบโต้จนพ่ายแพ้ได้
หากต้องล่าถอยไป ทัพจันทบูรก็จะล้อมไล่ตีได้หลายทางพระเจ้าตากจึงตัดสินพระทัยจะต้องเข้าตีเมืองจันทบูรในค่ำวันนี้ให้ได้และจักต้องปลุกเร้าให้ทหารของพระองค์มีใจรุกรบให้เต็มที่
ดังนั้น เมื่อพักรบยามค่ำหลังกินข้าวมื้อเย็น ณ.ลานหน้าวิหารวัดเขาแก้ว
พระองค์สั่งชุมนุมพล สั่ง ขุนกองนำเสบียงทั้งมวลที่เหลืออยู่จากการนำมาจากค่ายวัดเนินสระซึ่งครบมื้อสุดท้ายพอดีจะเหลืออยู่ก็เฉพาะในหม้อดินที่พอมีอยู่บ้าง
พระองค์ประกาศให้ทั้งนายทั้งไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและ ต่อยหม้อเสียให้หมด
ด้วยพระสุรเสียงดังก้องกลางชุมนุมไพร่พล ว่าเราจะหักเอาเมืองจันทบูรให้จงได้
มื้อเช้ากองทัพของเราจะเข้าไปกินข้าวในเมืองให้อิ่มหนำสำราญ หากเราหักเอาเมืองไม่ได้ถ้าไม่ตายด้วยศาตราของข้าศึกคงต้องพากันอดอาหารตายเสียด้วยกันให้หมด
คืนนี้เราจะบุกเอาเมืองให้ได้ เสียงไชโยของเหล่าทหารคงดังกึกก้อง และคงดังไปถึงจวนเจ้าเมืองจันทบูร
พระยาตากสั่งกองหนุนให้โอบล้อมเมืองไปด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือถัดจากทัพหลวงของพระองค์แล้วค่ำคืนนั้นเวลา
๓ นาฬิกา วันอาทิตย์ เดือน ๗ ปีกุน พ.ศ.๒๓๑๐ทัพหลวงของพระองค์ทั้งทหารไทยจีนเข้าโจมตีเมืองจันทบุรีอย่างหนักโดยเจ้าตากขี่ช้างพังคีรีบัญชรเข้าพังประตูเมืองได้สำเร็จสุดที่
กำลังจันทบูรจะต้านทานได้ ทหารก็กรู
กันสามารถผ่านกำแพงเมืองด้านเขาแก้วเข้าเมืองได้
เข้าตีผ่านกองทัพจันทบูรที่เสียขวัญละทิ้งหน้าที่ ถอยร่นทิ้งที่มั่น แตกหนีไป
ทหารจีนจากบ้านบางกะจะนำเสด็จพระเจ้าตากเข้าล้อมจวนพระเจ้าจันทบูร หาพบตัวไม่
บ่าวไพร่หมอบคลานยอมรับอำนาจเอาตัวรอด พระเจ้าตากสอบสวนได้ความว่าพระเจ้าจันทบูรพาครอบครัวลงเรือล่องออกปากน้ำแหลมสิงห์หนีไปเมืองบันทายมาศตั้งแต่ช่วงค่ำหลังจากสั่งการให้ทหารเข้าประจำเชิงเทินป้องกันทัพพระเจ้าตากให้มั่นคง
ประมาณสถานการณ์เห็นว่าคงต้องพ่ายแพ้เพราะเสียการตั้งแต่ให้พระรามปล้นทัพพระเจ้าตากไม่สำเร็จ
และการลวงทัพพระเจ้าตากให้ข้ามลำน้ำท่าใหม่แต่ถูกซ้อนกลเข้าตีเปลี่ยนทิศทางมาด้านเหนือที่การป้องกันมีน้อย
การกระทำขัดใจพระเจ้าตากให้ขุ่นเคืองอยู่มาก
หากจันทบูรแตกถูกจับตัวได้คงถูกประหาร
จึงตัดสินใจทิ้งเมือง ภายในจวนเจ้าเมืองจันทบูรเจ้าตากได้พบพระองค์เจ้าทับทิมราชธิดาพระเจ้าเสือองค์หนึ่งเมื่อกรุงใกล้แตกซึ่งพวกข้าพาหนีลงไปที่เมืองจันทบูรเห็นจะเป็นเพราะเจ้าจอมมารดาเป็นญาติกับพระเจ้าจันทบูร พระเจ้าตากก็มีความสงสาร
จึงสั่งให้จัดที่ให้ประทับตามสมควรเมื่อพระเจ้าตากจัดการเมืองจันทบูรเรียบร้อยแล้วจึงดำหริให้มีการจัดทัพเรือเพื่อยกไปตีกรุงศรีอโยธยาที่มีแม่ทัพสุกีควบคุมอยู่
ด้วยทัพบกมีความยากลำบากในการเดินทัพและใช้เวลานาน ซึ่งขณะนั้น ทราบข่าวสงครามจีนกับกับอังวะจากสำเภาจีนที่ใช้เส้นทางค้าขายตามหัวเมืองกง(เกาะกง)
เมืองกราด(เมืองตราด)จันทบูร จึงเห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะที่จะขับไล่อังวะให้พ้นกรุงศรีอโยธยา จึง โปรดให้เร่งต่อเรือเป็นจำนวนมากเพื่อ
ยกทัพเรือและทัพบก ลงไปเกณฑ์ไพร่พลที่เมืองกราด เส้นทางไปตีเมืองกราดสำหรับทัพเรือไม่มีปัญหาการเดินทัพส่วนทัพบกต้องข้ามลำน้ำจันทบูร
ลำน้ำเวฬุ เป็นช่วงหน้าฝนจันทบูรฝนชุกนัก เชิงเขาสระบาปเส้นทางทุรกันดาร
ถึง
หมู่บ้านหนึ่งน้ำป่าจากเขาสระบาปพัดขบวนทัพจนเกวียนบรรทุกเสบียงลอยน้ำไป
ลำธารจากภูเขาด้านทิศตะวันออกไหลลงแม่น้ำด้านตะวันตกขวางทางเดินทัพหลายสายถึงตำบลหนึ่งเกวียนสัมภาระถึงกับคานล้อหัก
ทัพบกพระเจ้าตากเข้าถึงเมืองตราด
พวกกรมการเมืองและราษฎรต่างยอมอ่อนน้อมโดยดี จึงเรียกเกณฑ์ไพร่เข้าทัพ ด้วยการจัดทัพเรือเดินทัพไปกรุงศรีอโยธยาต้องใช้เรือ
บรรทุกสัมภาระ สรรพวุธ ปืนใหญ่ และไพร่พลเป็นจำนวนมาก
ที่อู่ต่อเรือปากน้ำจันทบูรต่อเรือได้แต่เรือขนาดเล็กไม่เหมาะกับการเดินทาง
จึงเจรจากับพ่อค้าจีนเพื่อขอให้ความช่วยเหลือ
บางสำเภาก็ขัดขืนแต่ท้ายที่สุดด้วยเกรงอำนาจพระเจ้าตากที่มีในปัจจุบันจึงจำต้องเข้าช่วยเหลือพร้อมสรรพวุธที่มีมากับสำเภา
ขณะนั้นเป็นฤดูฝน ฝนตกชุกคลื่นลมแรง
จึงไม่อาจเร่งยกทัพจากเมือง กราดไปเลยทีเดียว จึงยกกองทัพเรือกลับเมืองจันทบุรี
เพื่อตระเตรียมกำลังคนฝึกซ้อมอาวุธ สะสมเสบียงอาหาร เตรียมอาวุธยุทธภัณฑ์
และต่อเรือรบเพิ่มเติมได้ถึง ๑๐๐ ลำ รวบรวมกำลังคนเพิ่มได้อีกเป็นคนจันทบูร คน
เมืองกราด คนจีน ได้ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คนเศษ
กับมีข้าราชการในกรุงศรีอโยธยาได้หลบหนีพม่ามาร่วมด้วยอีกหลายคน และที่สำคัญก็คือ
หลวงศักดิ์นายเวรมหาดเล็ก (นายสุจินดาหุ้มแพร) มหาดเล็กเวรศักดิ์ ซึ่งผู้นี้รู้จักกันดีกับพระเจ้าตากพอถึงเดือน
๑๑ พ.ศ.๒๓๑๐ หลังสิ้นฤดูมรสุมแล้ว
เจ้าตากก็ยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีเพื่อมากอบกู้เอกราช หยุดพักทัพตามชายฝั่งขนน้ำจืดขึ้นเรือเพิ่มเรื่อยมา
เหตุการณ์อีกด้านหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
หลังจากกองทัพใหญ่ของอังวะถอนกำลังจากกรุงศรีอโยธยากลับไปเตรียมกองทัพทำศึกใหญ่
โดยทิ้งกองทัพกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยไว้จำนวน ๓,๐๐๐ คนเศษ ด้วยต้องรวมกำลังไปสู้ทัพจีน
และมั่นใจว่าปราบปราบอยุธยาลงได้เรียบร้อยไร้ราชวงศ์และขุนนางใหญ่ที่สามารถรวมทัพออกมาต่อต้านกับกองทัพรักษาความสงบนี้ได้
ทั้งมอบหมายให้แม่ทัพสุกี้ คอยจับกุมชาวกรุงศรีอโยธยาที่หลบซ่อนแล้วออกมาภายหลังสิ้นศึก
และเก็บกวาดทรัพย์สินให้ได้มากพอจึงค่อยส่งตัวเชลยไปอังวะ
หากเสร็จศึกจีนจะจัดส่งขุนนางอังวะมาฟื้นฟูปกครองอโยธยาเป็นเมืองในขัณฑสีมาของอังวะ
ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ด้วยมีขุนนางฝรั่งในอังวะชี้แนะเป็นการปกครองเหมือนเมืองขึ้นชาติตะวันตก
ไม่เป็นดั่งการปกครองประเทศราชที่เคยปฎิบัติกันมาในภูมิภาคอุษาคเนย์
ซึ่งจะทำให้ดินแดนอังวะกว้างใหญ่ครอบคลุมทั้งทะเลด้านอินเดีย
และทะเลด้านจีนภายหน้าจะสามารถควบคุมจีนได้
ผู้คนทั้งหลายทั้งในพระนครทั้งชนบทรอบๆพระนครที่รอดตาย
พากันหลบหนีออกชนบทห่างไกลให้พ้นทัพอังวะ บ้างหนีไปสมทบกับเมืองต่างๆที่มีเชื้อพระวงศ์
และพระยาที่ประกาศตนเป็นเจ้า มีทั้งหมดที่เข้มแข็ง ๕ก๊ก รวมทั้งก๊กของเจ้าตากด้วย
ทัพเรือพระเจ้าตากพักเรือที่บางปลาสร้อย
มีชาวเมืองมาร้องเรียนว่าเจ้าเมืองที่เจ้าตากตั้งขึ้นกดขี่ข่มเหง
พระองค์จึงประกาศตั้งศาลตัดสินซึ่งแสดงให้ประชาราษฎรสิ้นสงสัยในอำนาจการปกครอง
ตัดสินคดีความเหนือดินแดน เป็นการประกาศอำนาจปกครองเหนือเมืองตั้งแต่เมืองกราด(ตราด)
จันทบูร ราย็อง(ระยอง) บางปลาสร้อย(ชลบุรี)
ให้บรรดากลุ่มอื่นๆที่ประกาศตนเป็นเจ้าเมืองต่างๆทราบ แผนการโจมตีขับไล่อังวะเพื่อควบคุมกรุงศรีอโยธยาให้ได้ เพื่อฟื้นฟูขึ้นใหม่ถูกกำหนดขึ้น ด้วยพระเจ้าตากทราบระบบการป้องกันพระนครของกรุงศรีอโยธยา
เมื่ออังวะเข้าปกครองก็ต้องกระทำการเช่นเดียวกันคือตั้งรับข้าศึกด้วยการใช้ป้อมปืนใหญ่เมืองธนบุรียิงเรือที่เข้าจากปากน้ำ
ดังนั้นเพื่อจำกัดการมองเห็นของทหารปืนใหญ่ที่ป้อมปราการในการเล็งยิงอาวุธมายังขบวนเรือของพระองค์
ด้วยพระองค์ไม่ต้องการเปิดศึกใหญ่ก่อนบุกเข้าถึงกรุงศรีอยุธยา
พระองค์จึงวางแผนใช้กำลังส่วนน้อยบุกเข้ายึดป้อม
จึงคะเนคลื่นลมที่บางปลาสร้อย ถึง บางปลากดกะเวลาให้เดินทางถึงปากน้ำบางเกาะในยามค่ำ
คืนเพื่อใช้ความมืออำพรางขบวนเรือรบ
ที่ธนบุรีปราการด่านแรกของการเข้าเมืองหลวง
กรุงศรีอโยธยา มีนายทองอินนายกองอาสาอังวะที่เมืองธนบุรีรักษาเมืองอยู่ ข่าวการยกทัพเรือจากจันทบูรล่วงรู้ถึงนายทองอินก็ให้คนรีบขึ้นไปบอกข่าวแก่สุกี้แม่ทัพอังวะที่ค่ายโพธิ์สามต้นกรุงศรีอยุธยา
แล้วนายทองอินก็เรียกระดมพลคนไทที่อาสาแม่ทัพอังวะทำราชการแทนทัพอังวะรักษาหน้าด่านทางน้ำ
ขึ้นรักษาป้อมพระยาวิชเยนทร์ และหน้าแท่นเชิงเทินเป็นมั่นคง
วันเพ็ญเดือน ๑๒ ปีกุน
ตรงกับวันศุกร์ที่ ๖พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐อาศัยแสงจันทร์ส่องสว่างในการเข้าตีข้าศึก
กองทัพเรือภายใต้บัญชาการของเจ้าตากได้เข้าโจมตีเมืองธนบุรีเป็นครั้งแรก
ครั้นกองทัพเรือเจ้าตากเดินทางมาถึงก็โห่ร้องยิงปืนใหญ่เข้าใส่และยกพลจากเรือเข้าตีกองทหารรักษาค่ายของนายทองอิน
รี้พลที่รักษาเมืองธนบุรีกลับไม่มีใจสู้รบเพราะเห็นเป็นคนไทสยามด้วยกันเอง
ดังนั้นกองทัพเรือของพระเจ้าตากเข้ารบพุ่งเพียงเล็กน้อยก็สามารถตีเมืองธนบุรี ได้พระเจ้าตากจึงให้ประหารชีวิตนายทองอินเสียแล้วจึงพักทัพจัดหุงหา
กะเวลายกกองทัพเรือจากป้อมวิชเยนทร์ไปตีกรุงศรีอโยธยาในเวลาค่ำ
สุกี้แม่ทัพอังวะได้ข่าวจากนายทองอินในหลายวันก่อนหน้า ว่าพระยาตากแม่ทัพค่ายวัดพิชัย นำกำลังหลายพันยกมาจากจันทบูร แต่สุกี้ไม่ยอมทิ้งค่ายโพสามต้นนำกำลังลงไปธนบุรีด้วยเกรงเชลยจะแหกค่ายหนี รู้ข่าวอีกครั้งเมื่อพระเจ้าตากยึดป้อมธนบุรีแล้ว จึงส่งมองญ่ารองนายทัพคุมพลมอญและกรุงศรีอโยธยาอาสา ยกกองทัพเรือไปสกัดอยู่ที่เพนียด ทัพเรือส่วนหน้าของทัพพระเจ้าตากขึ้นไปถึงกรุงศรีอโยธยาขณะเป็นเวลาค่ำ หมู่เรือตระเวนหน้าพบ ข้าศึกยกมาตั้งรับคอยอยู่ที่เพนียดไม่ทราบว่ามีกำลังเท่าใด จึงให้เรือล่องลงไปแจ้งทัพหลวง แล้วจึงลอยลำคอยทำท่าว่าจะเข้าสู้รบกับเรืออังวะ ฝ่ายพวกคนสยามที่ถูกเกณฑ์มาในกองทัพมองญ่าเห็นเรือข้าศึกรู้ว่ากองเรือที่ยกมานั้นเป็นคน กรุงศรีอโยธยาด้วยกัน จึงไม่ยิงปืนใส่ด้วย บ้างจะหลบหนี บ้างจะหาโอกาสเข้าร่วมกับเจ้าตากบ้าง มองญ่า พบเรือข้าศึกสั่งการให้ยิงแต่ไพร่ทหารไม่ยิงปืนและลอยลำเฉยอยู่ เห็นดังนั้นจึง เกรง ว่าตนและนายกองอังวะมีไม่กี่สิบคน คงควบคุมพลมอญและสยามไม่ได้แน่หากจะพากันก่อการกบฏเข้าจับตน จึงปรึกษานายกองของตนทิ้งทัพเรือนั้นกลับลำเรือหนีไปค่ายโพธิ์สามต้นไพร่ทหารมอญ และกรุงศรีจึงลอยลำวางอาวุธให้กองเรือของพระเจ้าตากคุมตัว จึงขอเข้าร่วมทัพ
สุกี้แม่ทัพอังวะได้ข่าวจากนายทองอินในหลายวันก่อนหน้า ว่าพระยาตากแม่ทัพค่ายวัดพิชัย นำกำลังหลายพันยกมาจากจันทบูร แต่สุกี้ไม่ยอมทิ้งค่ายโพสามต้นนำกำลังลงไปธนบุรีด้วยเกรงเชลยจะแหกค่ายหนี รู้ข่าวอีกครั้งเมื่อพระเจ้าตากยึดป้อมธนบุรีแล้ว จึงส่งมองญ่ารองนายทัพคุมพลมอญและกรุงศรีอโยธยาอาสา ยกกองทัพเรือไปสกัดอยู่ที่เพนียด ทัพเรือส่วนหน้าของทัพพระเจ้าตากขึ้นไปถึงกรุงศรีอโยธยาขณะเป็นเวลาค่ำ หมู่เรือตระเวนหน้าพบ ข้าศึกยกมาตั้งรับคอยอยู่ที่เพนียดไม่ทราบว่ามีกำลังเท่าใด จึงให้เรือล่องลงไปแจ้งทัพหลวง แล้วจึงลอยลำคอยทำท่าว่าจะเข้าสู้รบกับเรืออังวะ ฝ่ายพวกคนสยามที่ถูกเกณฑ์มาในกองทัพมองญ่าเห็นเรือข้าศึกรู้ว่ากองเรือที่ยกมานั้นเป็นคน กรุงศรีอโยธยาด้วยกัน จึงไม่ยิงปืนใส่ด้วย บ้างจะหลบหนี บ้างจะหาโอกาสเข้าร่วมกับเจ้าตากบ้าง มองญ่า พบเรือข้าศึกสั่งการให้ยิงแต่ไพร่ทหารไม่ยิงปืนและลอยลำเฉยอยู่ เห็นดังนั้นจึง เกรง ว่าตนและนายกองอังวะมีไม่กี่สิบคน คงควบคุมพลมอญและสยามไม่ได้แน่หากจะพากันก่อการกบฏเข้าจับตน จึงปรึกษานายกองของตนทิ้งทัพเรือนั้นกลับลำเรือหนีไปค่ายโพธิ์สามต้นไพร่ทหารมอญ และกรุงศรีจึงลอยลำวางอาวุธให้กองเรือของพระเจ้าตากคุมตัว จึงขอเข้าร่วมทัพ
เมื่อทัพหลวงมาถึงจึงสอบสวนความ รู้แจ้งแล้วว่าถูกบังคับและอังวะถอยหนีจากเพนียดหมดแล้วพระ
เจ้าตากจึงรับพวกคนสยามและมอญที่หนีอังวะให้มาเข้าด้วยแล้ว รีบยกกองทัพขึ้นไป เช้าตรู่จึงเข้าตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น
๒ค่าย พร้อมกัน สู้รบกันจนเที่ยง เจ้าตากก็เข้ายึดค่ายพม่าได้ พบสุกี้ตายในที่รบ
จับได้นายกองไพร่เลวที่เหลือได้จนหมดสิ้นจึงให้ ประหารเสียทั้งสิ้น
เมื่อพระเจ้าตากมีชัยชนะอังวะแล้วตั้งพักกองทัพ
อยู่ที่ในค่ายอังวะ ที่โพธิ์สามต้นขณะนั้นในค่ายมีผู้คนและทรัพย์สมบัติซึ่งสุกี้
รวบรวมรักษาไว้ ยังมิได้ส่งไปเมืองอังวะ รวมทั้งพวกข้าราชการที่อังวะจับเอาไปไว้หลายคน
คือพระยารัตนาธิเบศร์บดี จางวางมหาดเล็ก เป็นต้นต่างพากันมาเฝ้าถวายบังคมเจ้าตากกราบทูลให้ทราบถึงที่พระเจ้าเอกทัศ
สวรรคต สุกี้ให้ฝังพระบรมศพไว้ที่กลางค่ายและทูลว่ายังมีเจ้านายซึ่งพม่าจับได้
ต้องกักขังอยู่ในค่ายนั้นหลายพระองค์ที่เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบรมโกษ คือ
เจ้าฟ้าสุริยา เจ้าฟ้าพินทวดี
เจ้าฟ้าจันทวดีพระองค์เจ้าฟักทอง รวม ๔ พระองค์ ที่เป็นชั้นหลานเธอคือ
หม่อมเจ้ามิตร ธิดาของกรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ หม่อมเจ้ากระจาด
ธิดากรมหมื่นจิตรสุนทร หม่อมเจ้ามณี ธิดากรมหมื่นเสพภักดีองค์หนึ่ง และหม่อมเจ้าฉิมธิดาเจ้าฟ้าสุนทรเทพ
รวม ๔ องค์ เจ้านายทั้ง ๘ องค์สุกี้จะส่งไปอังวะในครั้งต่อไป พระเจ้าตากจึงให้ทหารไปเปิดค่ายกักขังให้
ปล่อยคนทั้งปวงที่ถูกอังวะกักขังเอาไว้ออกมาโดยไว แล้วแจกจ่ายทรัพย์สิ่งของเครื่องอุปโภค
บริโภคให้พ้นทุกข์ทรมานด้วยกันทั้งนั้นแล้ว จึงให้ปลูกเมรุดาดผ้าขาว
ที่ท้องสนามหลวงและให้สร้างพระโกศกับเครื่องประดับสำหรับงานพระบรมศพตาม
กำลังที่จะทำได้ ให้ขุดพระ บรมศพพระเจ้าเอกทัศเชิญลงพระโกศประดิษฐานที่ในพระเมรุที่สร้างไว้
ครั้นเตรียมการพร้อมเสร็จเจ้าตากจึงเสด็จเข้ามาตั้งพลับพลา อยู่ที่ในกรุงฯให้เที่ยว
หาพระสงฆ์ซึ่งยังมีเหลืออยู่ นิมนต์มารับทักษิณานุปทานและสดับปกรณ์ตามประเพณีแล้วพระเจ้าตากกับเจ้านายในพระ
ราชวงศ์เดิมและข้าราชการทั้งปวง ก็ถวายพระเพลิงพระบรมศพและบรรจุพระอัฐิธาตุตามเยี่ยงอย่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนมา เมื่อเสร็จแล้วคิดจะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาตั้งเป็นราชธานีดังแต่
ก่อนมา
ยังมิได้มีแผนการใดว่าจะเริ่มปฏิสังขรณ์อย่างไรบ้างจึงขึ้นทรงช้างที่นั่งเที่ยวทอดพระเนตรในบริเวณพระราชวัง
และประพาสตามท้องที่ในพระนครโดยรอบ เห็นปราสาทราชมนเทียรตำหนักใหญ่น้อยทั้งอาวาส
วิหาร และบ้านเรือนชาวพระนคร ถูกเพลิงเผาทำลายเสียเป็นอันมากที่ยังดีอยู่นั้นน้อยก็สังเวชสลดพระหฤทัย
ในวันนั้นเสด็จเข้าไปประทับแรมอยู่ที่พระที่นั่งทรงปืนอันเป็นท้องพระโรงที่เสด็จออกข้างท้ายวังมาแต่ก่อน
และที่พระที่นั่งองค์นี้พระองค์ได้รับพระบัญชาให้นำทัพไปเกณฑ์ไพร่พล
พระเจ้าตากทรงดำหริสภาพทั้งวังที่เป็นศูนย์กลางอำนาจปกครองและที่ประทับเสียหายหมดสิ้น
ส่วนกำแพงเมืองยังดีอยู่พังเสียหายก็ด้านที่อังวะขุดเผาให้ทะลายลง วัดวาอารามยังดีอยู่ครบแต่พังเสียหายกว่าครึ่ง
ส่วนเมืองก็เสียหายจากไฟไหม้ตั้งแต่ก่อนเสียกรุง
ขณะที่พระองค์รับราชโองการนำทัพออกจากวัดพิชัย ในสภาพที่ขาดแคลน กู้แผ่นดินขึ้นได้ใหม่สภาพอัตคัดขัดสนทั้งทรัพย์ทั้งผู้คน
ทั้งช่าง บ้านเรือน วัด
พระบรมมหาราชวัง ในสภาพบ้านเมืองปกติสุขสถานที่เหล่านี้ยัง
สรรค์สร้างมาหลายรัชกาลจึงสำเร็จยิ่งใหญ่สวยงาม หากทำการบูรณะไม่เหมือนดังเดิมทำครึ่งๆกลางๆ จะเป็นการเสื่อมพระเกียรติ ให้ประชาราษฎร์ดูแคลน
แต่หากพระองค์ก็ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แล้ว กำจัดข้าศึกจนหมดสิ้นแต่ไม่สามารถมีที่ว่าราชการและที่ประทับ จะมีใครนับถือ และที่สำคัญหากทุ่มกำลังทั้งคนและทรัพย์ยามยากเข็ญนี้ หากอังวะย้อนกลับมาโจมตี จะมีกำลังที่ไหนเข้ารบกับข้าศึกคงต้องเสียทีซ้ำอีก ส่วน ครบุรี(นครราชเสมา)ของกรมหมื่นเทพพิพิธ พระเจ้าพิษณุโลกและพระเจ้านครศรีธรรมา
ก็นอนพระทัยไม่ได้หากไม่นำทัพไปปราบปรามพวกเขาก็คงนำทัพลงมาชิงเมืองเกิดเป็นศึกต้องรบกันเองอีก จึงคิดถึง เมืองธนบุรี เมืองแรกที่พระองค์บุกเข้าโจมตีมีป้อมปราการที่ยังสมบูรณ์มีทั้งที่พักนายป้อมและเป็นภูมิประเทศไม่ใหญ่โตนักเป็นทำเลสำคัญป้องกันข้าศึกจากปากแม่น้ำหากเริ่มแรกตั้งราชธานีคงใช้แรงงานและราชทรัพย์ไม่มากเมื่อบ้านเมืองมั่นคงค่อยคิดกลับมาบูรณะกรุงศรีอโยธยาให้ปกติดังเดิม
อีกทั้งธนบุรีนั้นเจริญเรื่องการค้ามาครั้งกรุงศรีอยุธยา
มีเส้นทางแม่น้ำลำคลองเชื่อมต่อไปยังเมืองสาครบุรี เมืองสมุทรสงคราม
เส้นทางนี้อังวะเคยใช้ทัพเรือบุกมายังธนบุรีเป็นเรื่องง่ายที่จะรับทัพอังวะหากยกทัพเรือเข้ามา
หากเหลือกำลังเส้นทางถอนตัวไปเมืองจันทบูรก็สะดวก เมื่อดำหริและตัดสินพระทัยเป็นเช่นนั้นแล้วรุ่งเช้าจึงเรียกแม่ทัพนายกองมารวมยังที่ประทับแล้วดำรัสให้ข้าราชการทั้งปวงฟัง
ว่าตอนกลางคืนได้สุบินถึงขุนหลวงพระองค์ก่อนๆท่านหวงแหนสถานที่นี้ มาขับไล่มิให้อยู่ที่นี่ แล้วดำรัสต่อไปว่า เดิมเราคิดจะปฏิสังขรณ์
พระนครให้คืนดีดังเก่า
แต่เมื่อเจ้าของเดิมท่านยังหวงแหนอยู่ฉะนี้เราชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีเถิด พวกท่านทั้งหลายมีความเห็นประการใด หมู่ขุนนางต่างเห็นพ้อง พระองค์จึงให้อพยพผู้คนลงมาตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองธนบุรีแต่นั้นมา โดยสร้างวังที่ประทับองค์ย่อมทั้งเป็นท้องพระโรงว่าราชการตามที่ดำหริไว้
วันจันทร์ ขึ้น๘ค่ำเดือน ๒ จุลศักราช๑๑๒๙
(วันจันทร์ที่๒๘ธ.ค.๒๓๑๐)บรรดาอำมาตย์ ราชครู ต่างร่วมกันประกอบพระราชพิธีสถาปนาพระเจ้าตากขึ้นเป็น
สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ บรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดี พระชันษา
๓๔พรรษา ต่อแต่ นี้ก็ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ทรงทำให้สถานะ พระมหา กษัตริย์ของราชอาณาจักรสยามเด่นชัดและสมบูรณ์อย่างไม่เป็นที่สงสัยอีกต่อไป
นับเวลา ไม่ถึง ขวบปี ที่กรุง ศรีอโยธยา เสียแก่อังวะเมื่อวันที่
๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังเสียกรุงพระยาวชิรปราการหรือพระยาตากได้ประกาศพระองค์
เป็นพระมหากษัตริย์ที่เมืองระยอง ที่คนทั่วไปเรียกกันภายหลังว่าพระเจ้าตากฟื้นฟูราชอาณาจักรสยามขึ้นมาใหม่โดยสร้างธนบุรีเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางการปกครองอาณาจักร เมื่อสถาปนาขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์จึงทรงปูนบำเหน็จให้ทหารกล้าคู่พระบารมี
โดยพระราชทานบรรดาศักดิ์และศักดินาได้รับเข้ารับราชการในพระองค์
บุคคลที่สำคัญๆได้แก่
หลวงพิชัยอาสา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถราชองค์รักษ์
พระเชียงเงินท้ายน้ำ เป็นพระยาสุโขทัยเจ้าเมืองสุโขทัย
หลวงพรหมเสนา เลื่อนขึ้นเป็นพระพรหมเสนาต่อมารับราชการด้วยความวิริยะโปรดเกล้าให้รับตำแหน่งพระยา
อนุรักษ์ภูธรเจ้าเมืองพรหมบุรี
จหมื่นราชเสน่หา เป็นราชองครักษ์ประจำพระองค์คู่กับเจ้าหมื่นไวยวรนาถ
ขุนอภัยภักดี ชาวจีนอาสา เป็นที่ปรึกษาโกษาธิบดี
ยังมีขุนทหารอาสาร่วมรบอีกมาก
ที่เป็นนักรบ ไม่มีรากฐานขุนนางมาก่อนไม่เคยเรียนรู้ด้านกฎหมายทั้งการมีบรรดาศักดิ์ไม่ถนัดงานปกครองในพระนคร
จึงโปรดให้รับราชการตามหัวเมืองบ้านเกิดของตนซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป
สิบห้าปีพระองค์ถูกรัฐประหารขุนนางเหล่านั้นไม่อาจมีไพร่พลเป็นกำลังช่วยเหลือพระองค์ได้ บรรดาขุนนางเก่าหลายคนที่รู้เรื่องแบบอย่างธรรมเนียมขุนนางและการปกครองจึงได้รับชักชวนให้เข้ารับราชการอยู่ก็มากนายสุจินดาหุ้มแพรมหาดเล็กโปรดเกล้าเป็นพระมหามนตรีตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจในขวาและพระมหามนตรีได้พาหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีผู้เป็นพี่ชายที่พักอยู่กับครอบครัวช่วงเสียกรุงที่เมืองสวนนอก(อัมพวา)
เข้าเฝ้าฝากตัวเข้ารับราชการและได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง พระราชวารินทร์เจ้ากรมตำรวจนอกขวา
ด้วยขณะนั้นบ้านเมืองเพิ่งเป็นอิสระจากอังวะจิตใจของประชาราษฎรยังระส่ำระสายต้องบ้านแตกสาแหรกขาดสูญเสียญาติพี่น้องไปกับศึกสงครามนับหมื่นนับแสน
ทั้งยังมีญาติพี่น้องถูกกวาดต้อนไปอังวะต้องพลัดพรากประกอบกับสภาพบ้านเมืองที่ถูกข้าศึกทำลายปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไปก็ยิ่งก่อให้เกิดความเศร้าโศกสะเทือนใจจนยากที่จะหาสิ่งใดมาลบล้างความรู้สึกสลดหดหู่นั้นได้
จึงมีความจำเป็นจะต้องเรียกขวัญและกำลังใจของประชาชนให้กลับคืน
อยู่ในสภาพปกติโดยเร็วที่สุด และยังต้องป้องกันอังวะที่คาดการณ์ได้ว่าเสร็จศึกจีนคงต้องนำทัพมาโจมตีกรุงธนบุรีอีก
นอกจากเตรียมการสู้รบกับอังวะภายในสยามด้วยกัน ต้องเร่งปราบปรามก๊กเหล่าต่างๆให้ยอมรับอำนาจของพระองค์ที่มีเหนืออาณาจักร
แต่ศึกต่างๆนั้นไม่หนักเท่าศึกภายใน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น