ตอนที่
๑๒ สงครามครั้งสุดท้าย
ฝ่ายนัดจินหน่อง ราชบุตรพระเจ้าตองอูได้วางยาพิษ
ปลงพระชนม์เจ้าหงสาวดีนันทบุเรงและอุปราชาจนสิ้น พระเจ้าตองอูนั้นสามารถต้านทานทัพจากอโยธยาได้จนต้องถอยกลับไป
ก็คิดตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ ในขณะเดียวกันนั้น เจ้านะยองรามโอรสพระเจ้าบุเรงนอง
อนุชาต่างมารดาของพระเจ้านันทบุเรง ทราบข่าวการสวรรคตของพระเจ้านันทบุเรงพระเชษฐา
จึงประกาศตนเป็นรัชทายาท สถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรทั้งสิ้น
และให้อังวะที่พระองค์ประทับอยู่เป็นกรุงของอาณาจักร ขณะเดียว ทางด้านพระเจ้าตองอูก็ประกาศตนเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรต่อจากพระเจ้านันทบุเรง
บรรดาเจ้าเมืองในอาณาจักรทั้งหลายนั้นต่างไม่เชื่อถือพระเจ้าตองอู เพราะต่างเชื่อว่าพระเจ้าตองอูเป็นผู้ปราบดาภิเษกและปลงพระชนม์พระเจ้านันทบุเรง
จึงจะพากันยกทัพมาโจมตีตองอู แต่พระเจ้าตองอูมีหนังสือตราตั้งประทับตราพระราชลัญจกรพระเจ้านันทบุเรง
เจ้าเมืองทั้งหลายจึงพากันยกทัพกลับไปและเมื่อทราบว่าเจ้านะยองรามโอรสพระเจ้าบุเรงนองเป็นพระอนุชาพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงประทับอยู่อังวะ
และประกาศตนเป็นพระมหากษัตริย์ต่อจากพระเจ้านันทบุเรงปี พ.ศ.๒๑๔๓นั้น พระเจ้าอังวะนะยองรามก็ทำพิธีอภิเษก เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า
พระเจ้าสีหสุธรรมราชาบรรดาเจ้าเมืองต่างพากันเข้าด้วย ยกเว้น เมืองมอญและไทยใหญ่ที่เข้าสวามิภักดิ์กรุงศรีอโยธยา อาณาจักรอังวะที่ยิ่งใหญ่จึงแตกเป็นสามพวก คือ พระเจ้าตองอู พวกหนึ่ง พระเจ้าแปรซึ่งตั้งแข็งเมืองมาแต่ครั้งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง
พวกหนึ่ง และพระเจ้าอังวะอีกพวกหนึ่ง อาณาจักรอโยธยาก็ว่างศึกกับอาณาจักรอังวะถึงสามปี ดินแดนอังวะทางภาคใต้ ตั้งแต่กรุงหงสาวดีลงมา
ตกเป็นประเทศราชของอโยธยา ส่วนอังวะสถาปนาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรต่อจากหงสาวดีดินแดนทางพม่าเหนือ
อันประกอบด้วยรัฐไทยใหญ่ต่าง ๆ นั้น ตั้งแต่รัฐแสนหวี
เมืองนาย เมืองหาง ยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระนเรศวรแล้ว อาณาเขตอโยธยาทางด้านทิศเหนือ
จึงขยายไปจนต่อกับยูนาน
กาลต่อมาพระเจ้าแปรร่วมกับพระเจ้าตองอูคิดกำจัดเจ้าอังวะแต่ระหว่างเตรียมกองทัพอยู่นั้นพระเจ้าแปรถูกลอบปลงพระชนม์
พระเจ้าตองอูจึงยอมสวามิภักดิ์กับพระเจ้าอังวะสีหสุธรรมราชา
พระเจ้าอังวะสีหสุธรรมราชาจึงรวมอาณาจักรพม่าเข้าไว้อีกครั้งและ
คิดฟื้นฟูอำนาจอาณาจักรพม่าให้กลับมายิ่งใหญ่เหมือนสมัยพระราชบิดาของพระองค์ประเทศราชและเมืองต่างๆที่แข็งเมืองปกครองตนเองนั้น
พระองค์มีดำหริจัดทัพไปปราบปรามให้หมดสิ้น บรรดาเมืองไทใหญ่ แต่เดิมเคยขึ้นอยู่กับพระเจ้านันทบุเรง ครั้นสิ้นพระเจ้านันทบุเรงอาณาจักรพม่าแตกเป็น
๓ฝ่าย ก็พากันตั้งแข็งเมือง เมืองใดที่อยู่ใกล้เขตแดนอาณาจักรอโยธยา
ก็พากันมายอมขึ้นแก่อโยธยา ครั้นพระเจ้าอังวะมีอำนาจขึ้นเป็นกษัตริย์ พวกที่อยู่ใกล้แดนพม่า
ก็กลับมายอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าอังวะ อีกหลายเมืองยังคงตั้งแข็งเมืองอยู่ไม่ขึ้นกับใคร พระเจ้าอังวะจึงยกกองทัพไปปราบปรามบรรดาเมืองไทใหญ่ ตีได้หัวเมืองไทใหญ่ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระได้มาตามลำดับ
จนมาถึงเมืองนายประเทศราชของอโยธยา แล้วตีได้เมืองแสนหวีเพิ่มขึ้นอีก สมเด็จพระนเรศวรราชาธิราชทรงทราบก็ขัดเคือง จึงดำรัสสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลเพื่อไปปราบเมืองอังวะ
ได้ไพร่พล ๑๐๐,๐๐๐ คน จะเสด็จยกไปตีเมืองอังวะ
กองทัพอโยธยากำหนดเส้นหลักการรุกเข้าตีอังวะทางเมืองแหงอาณาจักรล้านนาเชียงใหม่ ข้ามแม่น้ำสาละวินที่เมืองแหง ผ่านฉาน ไปเมืองอังวะ เมื่อถึงฤกษ์เดินทัพในวันพฤหัส
แรม ๘ ค่ำเดือนยี่ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๔๘ พระองค์กับสมเด็จพระเอกาทศรถ นำทัพหลวงจากพระนครศรีอโยธยาศรีรามเทพนครด้วยทัพบกและทัพเรือถึงที่รวมพลเมืองเชียงใหม่
ก็กะเกณฑ์ไพร่พลจากประเทศราชต่างๆทั้งล้านนา ทั้งมอญได้ไพร่พลเพิ่มอีก ๑๐๐,๐๐๐ บำรุงทัพอยู่ในที่รวมพล ๑
เดือนโปรดให้ตั้งเป็นทัพหลวงและทัพหนุนเมื่อพร้อมแล้วจึงเคลื่อนพล
ให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองแหง เมืองงาย เมืองหาง ครั้นเสด็จถึงเมืองหางแล้วก็ให้ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรประชวนเป็นฝี
ขึ้นที่พระพักตร์ เป็นไข้พระอาการหนัก ติดเชื้อโรคด้วยตรากตรำ จึงโปรดให้ข้าหลวง
รีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จมาถึงได้
๓วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต
เมื่อ วันจันทร์ ขึ้น๘ ค่ำ เดือน ๖ปีมะเส็ง(เป็นวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘) พระชันษา๕๐ ปี เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี
เมื่อจัดการถวายพระเพลิงพระศพของพระเชษฐาธิราชเจ้าเสร็จแล้วรวมพระอัฐินำกลับพระนคร
พระเอกาทศรถจึงรับสั่งเคลื่อนทัพกลับกรุงศรีอโยธยาเจ้าไทยใหญ่จึงให้ก่อกองมูขุนหอคำไตยขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงนั้น
เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.
๒๑๔๘ พระองค์ไม่มีทั้งโอรสและธิดาพระ
อนุชาเอกาทศรถก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวรเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่๑๙
แห่งกรุงศรีอยุธยา และรัชกาลที่
๓ แห่งราชวงศ์สุโขทัย
ในปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในเวลานั้นอาณาจักรอังวะแต่ก่อน
แยกกันเป็นหลายเจ้าปกครอง ข้างเหนือเมืองอังวะพระเจ้านะยองรามก็ตั้งเป็นอิสระ
ต่อลงมาทางตะวันตกพระเจ้าแปรก็ตั้งเป็นอิสระ
หัวเมืองข้างใต้เมืองหงสาวดีแถบตะวันออกก็เป็นอาณาเขตของอาณาจักรศรีอโยธยา พระเจ้าตองอูกับพระเจ้ายะไข่เป็นไมตรีกันสนิทก็ตั้งตนอิสระ
พระเจ้าตองอูซึ่งตั้งตัวเป็นพระเจ้าหงสาวดีคงมีอาณาเขต แต่ตอนกลาง
ลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ พระเจ้ายะไข่จึงให้โปตุเกสชื่อฟิลิบเดอบริโต
ซึ่งฝากตัวอยู่กับพระเจ้ายะไข่ มาอยู่รักษาเมืองซีเรียม ฟิลิบเดอบริโต
ชักชวนพวกโปตุเกสมาอยู่ด้วยมากขึ้น แต่แรกทำการปราบปรามโจรผู้ร้ายแลเก็บส่วยส่งพระเจ้าตองอู
และค้าขายด้วย ครั้นได้กำไรมีกำลังมากขึ้น ก็คิดตั้งตนเป็นใหญ่
มาเป็นไมตรีกับพระยาทะละ เข้ามาสวามิภักดิ์ขอขึ้นต่อกรุงศรีอโยธยาด้วยพระยาทะละ
ปกครองหัวเมืองมอญซึ่งขึ้นกรุงศรีอโยธยาในเวลานั้น
ฟิลิบเดอบริโตได้กำลังพระยาทะละสนับสนุน จึงตั้งแข็งเมือง
ไม่ยอมขึ้นกับพระเจ้ายะไข่
และพระเจ้าตองอูพระเจ้ายะไข่กับพระเจ้าตองอูจึงให้พระมหาอุปราชาทั้ง ๒ เมือง
ยกกองทัพลงมาตีเมืองซีเรียม มาแพ้ฟิลิบเดอบริโต จับพระมหาอุปราชาเมืองยะไข่ได้
พระเจ้ายะไข่กับพระเจ้าตองอูจึงต้องยอมหย่าทัพ ปล่อยให้ฟิลิบเดอบริโตครองเมืองซีเรียม
ฝ่ายเมืองอังวะ พระเจ้านะยองราม สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกับสมเด็จพระนเรศวร
ราชโอรสได้เป็นพระเจ้าอังวะแทน พระเจ้าอังวะองค์นี้เก่งในการสงคราม ตั้งกองทัพอังวะยกไปตีเมืองแปร
เมืองตองอูได้ จึงรวบรวมกำลังลงมาตี ได้เมืองซีเรียมแล้ว จะยกมาตีเมืองเมาะตะมะ
พระยาทะละเห็นจะสู้พระเจ้าอังวะไม่ได้ ก็ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าอังวะ
พระเจ้าอังวะให้พระยาทะละครองเมืองเมาะตะมะอย่างเดิม
แต่เอาพระยาพระรามลูกพระยาทะละ ซึ่งครองเมืองเยไปไว้เป็นตัวประกัน และโปรดให้เจ้าจะกายะแมงพระอนุชา
มารักษาเมืองเย เมื่อปีฉลู พ.ศ.๒๑๕๖
สมเด็จพระเอกาทศรถให้เจ้าเมืองทวายยกกองทัพไปตีเมืองเย จับเจ้าจะกายะแมงได้
ส่งเข้ามากรุงศรีอโยธยา
ด้วยเมืองหงสาวดีนั้นร้างมาแต่ครั้งพระเจ้านันทบุเรงอพยพไปตองอู
แต่การติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติต้องเข้าแม่น้ำลึกเข้าไปในแผ่นดินมาก หงสาวดีนั้นเหมาะสมที่จะเป็นเมืองท่ามากกว่าเมืองอื่นๆพระเจ้าอังวะจึงลงมาบูรณะสร้างวังต่างๆตั้งเมืองหงสาวดีเป็นราชธานีอย่างแต่ก่อน
ที่เคยรวมอยู่ในอาณาจักรครั้งพระเจ้านันทบุเรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระเจ้าอังวะจึงคิดรวบรวมบรรดาเมืองต่างๆโดยเฉพาะเมืองต่างๆของชนชาวมอญที่อยู่ติดทะเลและปากน้ำอิรวดี
ปากน้ำสะโตง เพราะการเป็นเมืองท่าของอังวะจะมีอุปสรรคอย่างมากจากเมืองมอญเหล่านี้ที่สวามิภักดิ์กับอยุธยาทำให้อยุทธยาควบคุมเมืองท่าทั้งอ่าวเมาะตะมะและอ่าวบางปลากด
ถ้าไม่จัดการนับวันอังวะจะสูญสิ้นความมั่งคั่งจากการเก็บส่วยสาอากร ซึ่งตกอยู่ในมือของเมืองมอญพันธมิตรอยุธยาดังนั้น
จึงยกกองทัพหลวงลงมาจากหงสาวดีเข้าตีเมืองเมาะตะมะ ส่วนอีกกองทัพไพร่พล ๔๐,๐๐๐ ให้ยกลงมาตีเมืองทวาย ตีเมืองทวายยึดได้แล้วเดินทัพลงมาตีเมืองตะนาวศรี
พระเอกาทศรถจึงจัดกองทัพกรุงศรีอโยธยายกออกไปช่วย เจ้าพระยาพิษณุโลก กับพระยาสุโขทัยเป็นแม่ทัพใหญ่
พระยาสวรรคโลก กับพระยาพิไชย เป็นทัพหนุนตีกองทัพอังวะถอยมาจากเมืองตะนาวศรี แล้ว
ติดตามทัพอังวะต่อไปทางเมืองเมาะตะมะ อังวะตั้งรับสู้รบกันกองทัพกรุงศรีอโยธยาไม่สามารถหักเอาทัพอังวะได้จึงต้องถอยทัพกลับมาตั้งที่ตะนาวศรีส่วนอังวะยึดเมาะตะมะตั้งมั่นอยู่เมื่อทัพกรุงศรีอโยธยาต้องถอยกลับจากเมาะตะมะได้ไม่นานพระเจ้าอังวะจึงยกลงมาตีตะนาวศรี
ครั้งนี้ชนะทัพอยุธยายึดตะนาวศรีไว้ได้
ด้านพระเจ้าเชียงใหม่มังนรธาช่อถึงพิราไลยลงในช่วงนั้นพอดี
พระเจ้าเชียงใหม่นี้ ได้ถวายราชธิดาแด่สมเด็จ พระเอกาทศรถ แลถวายราชโอรสชื่อพระทุลอง
ลงมาทำราชการอยู่ที่กรุงศรีอโยธยา ได้เป็นราชบุตรเขยของสมเด็จพระเอกาทศรถ พระทุลอง
ยังมีอนุชาอีก ๒ องค์ ชื่อพระไชยทิพย์และ พระสะโด๊ะกะยอ เมื่อพระเจ้าเชียงใหม่พิราไล
ยสมเด็จพระเอกาทศรถจึงโปรดให้พระทุลองกลับขึ้นไป ครองเมืองเชียงใหม่ แต่บังเอิญพอไปถึงเมือง
พระทุลองไปป่วยไข้ ไม่ทันจะได้ครองเมืองก็ถึงแก่กรรม
พวกท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่จึงยก พระไชยทิพย์ขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่
แต่ครองเมืองอยู่ไม่นาน เกิดเหตุผิดใจกับท้าวพระยาผู้ใหญ่
พวกท้าวพระยาจึงบังคับให้พระไชยทิพย์ออกบวช ยก สะโด๊ะกะยอ น้องคนเล็กขึ้นครองเมืองเชียงใหม่
ในเวลานั้น ทัพพระเจ้าอังวะยังตั้งอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ
ทราบข่าวว่าเกิดเกี่ยงแย่งกันครองราชย์เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่
เมื่อทัพอโยธยาต้องถอนตัวจากทางเมืองตะนาวศรีแล้ว พระเจ้าอังวะนะยองยานก็ยกกองทัพจากตะนาวศรี
ขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๑๕๗ ทัพเมืองเชียงใหม่ตั้งทัพสู้กับทัพ
พระเจ้าอังวะที่ตั้งล้อมเมืองนครลำปางไว้ ทัพอังวะขาดเสบียงอาหาร
เจ้าเมืองน่านที่แข็งเมืองกับเชียงใหม่ยกทัพและเสบียงมาสนับสนุนทัพอังวะ
ขณะพระเจ้าอังวะตั้งล้อมเมืองนครลำปางอยู่นั้น พระเจ้าเชียงใหม่นะโด๊ะกะยอล้มป่วยถึงแก่พิราไลย
ไม่มีคนบัญชาการทัพได้ ท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่
จึงมายอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะตั้งให้พระยาน่านครองเมืองเชียงใหม่
แล้วเลิกทัพกลับไป เมื่อปี พ.ศ.
๒๑๕๓
สมัยของพระเอกาทศรถทรงมีภาพผู้นำคู่พระเชษฐานเรศวรราชาให้ไพร่ฟ้า
ขุนนาง ขุนทหาร เจ้าฟ้า เจ้าเมือง
เจ้าประเทศราชได้เห็นและเกรงในความเก่งกล้าสามารถ
และเฝ้ามองการสืบราชบรรลังค์ช่วงปลายรัชกาลของพระองค์ที่จะเปลี่ยนถ่ายอำนาจ
พระราชโอรส ในสมเด็จพระเอกาทศรถมี
๒พระองค์ คือเจ้าฟ้าสุทัศทรงดำรงตำแหน่งอุปราช(มีดวงตาพิการ
บางครั้งสับสนในประวัติศาสตร์ นำบุคลิกมาเล่าความเป็นพระเจ้าเอกทัศ)
และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ และมีโอรสกับสนม ๑องค์ คือพระอินทรราชา บวชเป็นพระภิกษุ
ทั้ง ๓ องค์มีวัยไล่เลี่ยกัน เมื่อบ้านเมืองปกติสุข
ไร้สงครามมีผลประโยชน์จากการค้าต่างประเทศกับจีน ญี่ปุ่น โปรตุเกส ฮอลันดา
การสืบต่ออำนาจจึงมีการวางแผนจากขุนนางที่ได้ประโยชน์จากการถือข้าง
เจ้าฟ้าสุทัศในวัยหนุ่มย่อมมีความสามารถโดยตำแหน่งอุปราชที่ราชบิดาแต่งตั้งและสั่งกิจการงานราชการเพื่อปลูกฝังให้สืบต่ออำนาจเป็นผู้สืบราชบรรลังค์โดยถูกต้องอันดับ
๑ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์พระอนุชา อันดับ ๒ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์นั้น
แต่ยามบ้านเมืองปกติสุขงานราชการพระอุปราชผู้พี่เป็นผู้บริหารทั้งสิ้น
เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์มีพระบุคลิกค่อนข้างอ่อนแอและไม่สนพระทัยเกี่ยวกับราชการบ้าน
เมืองเลย ย่อมแสวงหาแต่ความสนุกสนานตามประสา และรัชทายาทอันดับ ๓
คือพระอินทราชาโอรสจากสนม (พระสนมเป็นน้องสาวของออกญาศรีธรรมมา ตัวออกญาศรีธรรมมามีบุตรชายคือ
จหมื่นศรีสรรักษ์)ซึ่งโดยส่วนพระองค์แล้วเป็นผู้มีสติปัญญาดี
แต่โดยสายเลือดการขึ้นครองราชย์แทบจะไม่มีโอกาสเอาเลยดังนั้นจึงผนวชจำพรรษาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุจนได้สมณะฐานันดรเป็น พระพิมลธรรม อนันตปรีชา
ทรงเชี่ยวชาญทางด้านพระพุทธศาสนา มีลูกศิษย์และขุนนางข้าราชการนิยมชมชอบไม่น้อย
ในกาลก่อนนั้นการบวชอาจเป็นการแสดงประสงค์ว่าหลีกทางให้ สองพี่น้อง
ไม่ประสงค์แย่งชิงราชสมบัติ แต่แล้วก็มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นช่วงปลายรัชกาล
มีข่าวการขบถลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวเอกาทศรถ
โดยหลักฐานพุ่งเป้าไปที่เจ้าฟ้าสุทัศน์ พระอุปราช
จนมีการกุมตัวและลงโทษประทานยาพิษจนสิ้นพระอุปราชสืบต่อราชบรรลังค์
พระองค์ครองราชย์ได้ ๕ ปี ก็สวรรคต
ราชสมบัติจึงตกที่เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระสรรเพชญ
เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงศรีอยุธยา และรัชกาลที่
๔ แห่งราชวงศ์สุโขทัย ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น
โดยเรือของญี่ปุ่นที่เข้ามาค้าขาย ได้ปล้นราษฎร
ได้บุกเข้าไปในพระนคร และเข้าไปในพระราชวังหลวง จับสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์และบังคับให้ทรงปฏิญาณสัญญาว่ามิให้ผู้ใดทำร้ายพวกญี่ปุ่น
แล้วได้ลงเรือแล่นหนีออกทะเล โดยนำตัวสมเด็จพระสังฆราชไปเป็นตัวประกันจนถึงปากน้ำเนื่องจากทรงบริหารราชการบ้านเมืองไม่เป็นไปตามปกติบกพร่องหลายประการขาดความปรีชา
อาจไม่สมประโยชน์กับเหล่าขุนนางขณะครองราชย์อยู่ได้หนึ่งปีเศษมีเหล่าขุนนางจำนวนมากนิยมชมชอบพระพิมลธรรมอนันตปรีชาไปมาหาสู่ยังตำหนักมิได้ว่างเว้น
บรรดาเหล่าขุนนาง ขุนทหาร
จหมื่นศรีสรรักษ์(มหาดเล็กในพระเอกาทศรถ)และบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้ซ่องสุมกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุแล้วนำกำลังจากวัดมุ่งเข้าวังหลวงกุมตัวสมเด็จพระสรรเพชญ์
ได้แล้วสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เสด็จสวรรคต
เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๔ พระบรมศพถูกนำไปฝังที่วัดโคกพระยา แล้วทูลเชิญพระอินทราชาให้ทรงลาสิกขาบท
ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอโยธยาศรีรามเทพนครเมื่อปีขาล พ.ศ.๒๑๕๔ ทรงพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถบรมราชา
เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระองค์ที่
๕ แห่งราชวงศ์สุโขทัยหรือพระเจ้าทรงธรรมและทรงแต่งตั้งพระพันปีศรีศิลป์พระอนุชาเป็นพระมหาอุปราช โปรดให้จมื่นศรีสรรักษ์เลื่อนเป็นจมื่นสรรเพชญ์ภักดี
และได้เลื่อนเป็นออกญาศรีวรวงศ์ ตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก
จมื่นศรีสรรักษ์ผู้นี้มีบทบาทมากในราชสืบต่อราชบรรลังค์ของรัชทายาทต่อจากพระเจ้าทรงธรรม
เริ่มต้นรับราชการเป็นมหาดเล็ก
แล้วจึงได้เลื่อนเป็นหุ้มแพร และได้เลื่อนเป็นจมื่นศรีสรรักษ์ เมื่อจมื่นศรีสรรักษ์มีอายุได้
๑๓ ปี ได้ไปก่อเหตุทำร้ายพระยาแรกนาแล้วหนีไปหลบอยู่ในวัด
พระเจ้าอยู่หัวเอกาทศรถจึงให้จับตัวออกญาศรีธรรมาผู้เป็นบิดาไปขัง
จมื่นศรีสรรักษ์จึงเข้ามามอบตัว มีรับสั่งให้จับไปขังคุก ๕ เดือน แต่ เจ้าขรัวมณีจันทร์ พระชายาม่ายในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมาทูลขอพระราชทานอภัยโทษแทน
จมื่นศรีสรรักษ์จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษออกมารับราชการตามเดิม
แต่จมื่นศรีสรรักษ์ก็ยังก่อเรื่องวุ่นวายอีกจนถูกจำคุกอีกสองหน
ต่อมาได้เลื่อนเป็นจมื่นสรรเพชญ์ภักดี และได้เลื่อนเป็นออกญาศรีวรวงศ์ ตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก(ออกญาคือพระยา
นั่นเอง) เป็นขุนนางที่พระเจ้าทรงธรรมไว้วางพระราชหฤทัยอย่างมากจึงทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก
และเป็นพี่เลี้ยงให้โอรสพระเชษฐากุมารเพื่อเป็นองค์รัชทายาทสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชโอรส
๙ พระองค์ พระราชธิดา ๘ พระองค์พระราชโอรสกับพระมเหสีได้แก่ พระเชษฐากุมาร และ พระอาทิตยวงศ์ รัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรมไม่มีการปราบปรามประเทศราชที่ตั้งตนแข็งเมือง
มีสงครามเล็กๆเมื่ออังวะมาตีเมืองทวายประเทศราชในราชอาณาจักร มีแต่งานบริหารราชการ
ไม่มีงานการทัพขนาดใหญ่ ด้านทหาร ตกต่ำไม่มีความเข้มแข็ง
ทำให้เกณฑ์ทัพไปช่วยทวายไม่ทัน ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียเมืองทวาย เมื่อ พม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ.
๒๑๖๕ต่อมา กัมพูชาและเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นเมืองประเทศราชมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา โดยที่พระเจ้าทรงธรรมไม่ยอมส่งกองทัพไปปราบปรามแต่อย่างใด
เรื่องการสืบทอดอำนาจของราชวงศ์และการวางตำแหน่งขุนนางจึงเริ่มมีปัญหาในการแบ่งฝ่ายกัน
ไม่สามัคคีกัน เหมือนเมื่อยามเกิดศึกสงครามจาก ต่างอาณาจักร
ให้บังเอิญที่อังวะยังไม่มีกษัตริย์ที่เข้มแข็งจึงไม่มีสงครามต่อกรุงศรีอโยธยาแต่เค้าลางก็เริ่มโดยอังวะเริ่มเข้าตียึดเมืองต่างๆที่อยู่ในอำนาจปกครองของอโยธยา ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์
ขณะที่พระองค์ประชวรหนักได้คิดว่าหากพระองค์ไม่จัดการสิ่งใดๆเพื่อที่จะให้พระโอรสคือพระเชษฐาธิราชกุมาร
ได้ขึ้นครองราชย์ ราชสมบัติต้องตกอยู่กับพระมหาอุปราชพระอนุชาของพระองค์โดยแน่แท้
แต่พระโอรสทั้ง ๒ องค์ยังเยาว์วัยนัก จึงทรงมอบหมายให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก
ซึ่งไว้วางพระทัยเป็นผู้ดูแลพระเชษฐากุมารจนกว่าจะได้ครอง ราชย์ พระองค์จึงประกาศเรียกประชุมเหล่าขุนนางผู้ใหญ่เพื่อแต่งตั้งองค์รัชทายาทซึ่งเหล่าขุนนางมีความเห็นแตกเป็นสองฝ่าย
สนับสนุนพระเชษฐาธิราช พระโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๔ ชันษา กับสนับสนุนพระศรีศิลป์มหาอุปราช
พระอนุชาของพระเจ้าทรงธรรม ฝ่ายนี้มี ออกญากลาโหม ออกญาท้ายน้ำ ออกหลวงธรรมไตรโลก
ออกพระศรีเนาวรัตน์และออกพระจุฬาราชมนตรี สนับสนุน
ยังสรุปเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดมิได้ พระเจ้าทรงธรรมจึงรับสั่งให้ออกญาศรีวรวงศ์จางวางมหาดเล็ก
แจ้งให้บรรดาเสนาบดีทราบว่า มีพระราชประสงค์ให้พระเชษฐาธิราชได้ครองราชสมบัติ ออกญาศรีวรวงศ์จึงแจ้งให้เหล่าขุนนางทราบว่าทรงให้พระเชษฐาธิราชครองราชย์ต่อ
วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.
๒๑๗๑ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต
ทรงครองราชย์ได้ ๑๗ปี
จากนั้นราชสำนักจัดพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาโดยมีขุนนางทั้งปวงร่วมพิธีระหว่างพิธีจึงเกิดการรบกันขึ้น
ระหว่าง พระศรีศิลป์มหาอุปราชซึ่งมีกำลังทหารมากอยู่ กับฝ่ายพระเชษฐาธิราชกุมาร มีออกญาศรีวรวงศ์กับ ออกญาเสนาภิมุข
เป็นกำลังสำคัญพร้อมทหารอาสาชาวญี่ปุ่นของออกญาเสนาภิมุข สามารถจับพระศรีศิลป์ได้
จึงสำเร็จโทษเสีย จากนั้นออกญาศรีวรวงศ์จึงควบคุมการปกครอง ออกคำสั่งให้จับออกญากลาโหมกับขุนนางที่สนับสนุนพระศรีศิลป์
ไปประหารชีวิตที่ท่าช้าง แล้วริบทรัพย์สมบัติมาแจกจ่ายผู้มีความชอบ
เสร็จศึกภายในพระเชษฐาธิราชกุมาร
จึงได้ราชสมบัติขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเชษฐาธิราชพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๒
แห่งกรุงศรีอโยธยารัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์สุโขทัยซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์มายุได้ ๑๕ พรรษา
และทรงแต่งตั้งออกญาศรีวรวงศ์ให้ เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม แทนเจ้าพระยามหาเสนาบดีที่ถูกประหารเป็นพี่เลี้ยงช่วยการบริหารราชการทั้งปวง
บรรดาเหล่าขุนนางไม่สามารถถวายรายงานราชการทั้งปวงถึง ยุวกษัตริย์ได้โดยตรง
ต้องผ่านเจ้าพระยากลาโหมทั้งหมด
เป็นที่ขัดเคืองอิจฉาริษยาของเหล่าขุนนางจำนวนมากจึงมีผู้ไปกราบทูลเรื่องเจ้าพระยากลาโหมคิดการใหญ่จนเวลาผ่านไปใกล้
ปีเศษ ยุวกษัตริย์มีพระชันษามากขึ้นฟังความมาว่าน่าจะเป็นจริง
ก็คิดระแวงในตัวเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ว่าจะคิดแย่งชิงราชสมบัติจึงทรงหาทางกำจัดเสียใน ขณะนั้น มารดาของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ถึงแก่กรรม
เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้จัดงานศพอย่างใหญ่โต ขุนนางทั้งหลายที่ชอบพอ
นับถือเจ้าพระยากลาโหมต่างพากันไปช่วย บางคนถึงกับไปนอนค้างเพื่อช่วยงาน
เมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชออกว่าราชการ มีขุนนางจำนวนมากหายไปไม่เข้าเฝ้ารายงานเรื่องราชการส่วนขุนนางที่เคยอยู่กับพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดิมและพวกที่สนับสนุนอุปราชแต่ไม่เผยตัว
มาเข้าเฝ้าพร้อมเพรียงกัน เมื่อสอบถามได้ความ
จึงทรงพระพิโรธว่าจะลงอาญาขุนนางเหล่านั้นที่บังอาจไม่รู้ที่ต่ำที่สูงขาดงานราชการโดยไม่แจ้ง
เมื่อเหล่าขุนนางทั้งหลายที่ขาดการเข้าเฝ้าทราบว่าจะถูกลงอาญา จึงพากันไปขอพึ่งเจ้าพระยากลาโหม
ปรึกษาความว่าจะทำอย่างไรดีพระเจ้าอยู่หัวทรงกริ้วให้เอาโทษ
แม้มาประชุมครั้งนี้ก็ผิดอาญาซ้ำอีก ในท้องพระโรงเสนาบดีทั้งหลายจึงกราบทูลว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์คิดเป็นกบฏแน่แล้วคิดซ่องสุมคนเต็มบ้าน
พระเชษฐาธิราชจึงทรงให้ข้าหลวงไปแจ้งให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์มาเข้าเฝ้าโดยเร็ว
โดยสั่งการให้ทหารรักษาวังคอยกุมตัวเหล่ากบฏเอาไว้ให้หมดสิ้น เหตุการณ์มาถึงบัดนี้การพบปะของขุนนางผู้ใหญ่โดยไม่บอกกล่าวพระมหากษัตริย์ก็นับว่าเป็นความผิดกฏบ
การขัดไม่เข้าเฝ้าก็เป็นกฏบ ดังนั้น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ จึงประกาศแก่เหล่าขุนนางทั้งปวงที่ชุมนุมอยู่ที่เรือน
ว่าเราได้ทำราชการมาด้วยความสุจริตมาตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอยู่หัวทรงธรรมพระราชบิดาพระเชษฐาธิราช
เดี๋ยวนี้พระเจ้าแผ่นดินพาลเอาผิดจะฆ่าแกงตัวเรา
เมื่อภัยมาถึงตัวก็จำต้องเป็นกบฏตามรับสั่ง จึงได้จัดไพร่พลพากันเข้าไปในวังหลวงเพื่อยึดอำนาจทันที ฝ่ายพระเชษฐาธิราชเห็นเวลาล่วงเลยเจ้าพระยายังไม่เข้าเฝ้าก็ทราบเหตุการณ์ว่าคงเกิดกบฏขึ้นแล้วเป็นแน่
พระองค์จึงได้หลบออกจากวังหลวงไปกับมหาดเล็ก เจ้าพระยาเข้าถึงพระราชวัง
เมื่อไม่พบพระเชษฐาธิราชเจ้า ฝ่ายในจึงแจ้งแก่เจ้าพระยากลาโหมว่าพระเชษฐานั้นเสด็จออกไปกับมหาดเล็กไม่รู้เสด็จไปที่ใด
จึงสั่งให้พระยาเดโชและพระยาท้ายน้ำเร่งติดตามโดยพลันไปทันที่ป่าโมกน้อยแล้วกุมสมเด็จพระเชษฐาธิราชกลับมาได้
เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์สำเร็จราชการ
เร่งจับกุมบรรดาขุนนางที่เป็นต้นเหตุแห่งการยึดอำนาจมาลงโทษได้จำนวนมากจึงให้ประหารเสียคราวเดียวกับ
ให้สำเร็จโทษพระเชษฐาเสียที่วัดโคกพระยา บรรดาเจ้านายเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย
ไม่ได้แสดงออกถึงการต่อต้านและยินดีต่อการยึดอำนาจครั้งนี้
ด้วยเจ้าพระยากลาโหมเป็นสามัญชนเมื่อกระทำการเช่นนี้กับพระมหากษัตริย์และปราบดาภิเษกครองราชย์
บรรดาเหล่าขุนนางทั้งปวงที่เคยทูลเรื่องที่ตนคิดขบถต้องรวมกำลังต่อต้านหากตนจะขืนนั่งบรรลังค์ขณะมีองค์รัชทายาท
เจ้าพระยากลาโหมจึงประมาณสถานการณ์เบื้องต้นว่ายังมีการต่อต้านเงียบๆอีกดังนั้นเพื่อลดแรงต้านแต่ยังสามารถกุมอำนาจเอาไว้ในมือได้
จำเป็นจะต้องอภิเษกราชวงศ์โดยลำดับต่อจากพระเชษฐาธิราช ขึ้นครองราชย์
เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงได้ทูลเชิญพระอาทิตยวงศ์พระอนุชาในสมเด็จพระเชษฐาธิราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อทำให้เหล่าขุนนางอำมาตย์ทั้งปวงเห็นถึงความจงรัก ภักดี
ของเจ้าพระยากลาโหมว่าไม่ได้กระทำการเพื่อตนเองแต่ กระทำเพื่อความจำเป็น
เนื่องจากมีผู้ยุยง จนภัยมาถึงตน เหล่าขุนนางทั้งหลายที่ร่วมก่อการขึ้นมาจึงให้ความเคารพยำเกรงในตัวเจ้าพระยากลาโหมมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น