ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สามมหาราชตอนที่ ๕




                                       

                                                                                      ๔๒
                                         ตอนที่ ๕ อลังค์การสถาปัตย์แห่งอุษาคเนย์
วัง
                พระราชวังเป็นขอบเขตที่อยู่อาศัยของชนชั้นสูง ซึ่งได้แก่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ เป็นศูนย์กลางแห่งความรุ่งเรือง บรรดาชาวต่างประเทศที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา ยอส เซาเต็น พ่อค้าฮอลันดาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม และพระเจ้าประสาททอง กล่าวว่า พระราชวังหลวงที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ตั้งอยู่บนฝั่งน้ำด้านเหนือของพระนคร เสมือนเป็นเมืองเล็กๆ แยกอยู่อีกเมืองหนึ่ง  ปราสาทราชมณเฑียรดูมโหฬาร ตลอดจนอาคารต่างๆ มีสีทองทั้งสิ้น พระมหากษัตริย์สยาม เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในภาคตะวันออกนี้ ยังไม่มี
พระมหากษัตริย์พระองค์ใดในแถบนี้ของโลก ที่จะมีเมืองหลวงใหญ่โตมโหฬารวิจิตรพิสดาร และสมบูรณ์พูนสุขเหมือนพระมหากษัตริย์ในอาณาจักรสยามนี้ ภายในวังมีปราสาทราชมณเฑียรอันเป็นที่ประทับ มีท้องพระโรงเป็นที่ว่าราชการบ้านเมืองและที่ประกอบพระราชพิธี ของพระมหากษัตริย์ มีตำหนักน้อยใหญ่นับร้อยตำหนัก วังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเร่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับ และว่าราชการบริหารอาณาจักร ขุนนางผู้ใกล้ชิด และช่าง ควบคุมทาสและบ่าวไพร่ก่อสร้างทั้งเมืองวัดวาอาราม ถนนหนทาง ส่วนอื่นๆของราชธานีก็ทยอยก่อสร้างเป็นสัดส่วน พระราชวังหลวงของกรุงศรีอโยธยาศรีรามเทพนครนั้น ก่อสร้าง ในปีพ.ศ.๑๘๙๓ เมื่อแรกเริ่มสร้างอาณาจักรและ เป็นการสร้างต่อเนื่องกันในหลายรัชกาล ในระยะแรกพระรามาธิบดี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังด้วยเครื่องไม้ ขึ้นตรงวัดพระศรีสรรเพชญ ในปัจจุบัน หันหน้าพระราชวังไปทางทิศตะวันออก ใช้แม่น้ำลพบุรีอยู่ด้านข้าง วังที่ประทับประกอบไปด้วย หมู่พระมหาปราสาทคงเป็นปราสาทเครื่องยอดเป็นไม้ หลายองค์ แนวเขตพระราชวังเป็นกำแพงปักด้วยไม้แบบเสาพระเนียดเมื่อบ้านเมืองมีความมั่นคงขึ้น อันเนื่องจากการค้าขายกับต่างประเทศ และความเจริญในทางเทคนิค วิทยาการ ซึ่งชาวตะวันตกเป็นผู้นำเข้ามา ดังนั้นรูปแบบและโครงสร้างของเมืองจึงเปลี่ยนแปลงไป เริ่มจากการก่อสร้างกำแพงเมืองด้วยอิฐ หรือศิลาแลง มีใบเสมาและป้อมรับทางปืนอย่างเช่นเดียวกับเมืองในยุโรป ภายในเมือง
มีพวกพ่อค้า และผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ใช่การเกษตรอาศัยอยู่ จึงเป็นการยากที่พระมหากษัตริย์และเจ้านายจะอาศัยอยู่ในรั้วในวังที่เป็น เครื่องไม้ ให้สงบปลอดภัย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย และเพื่อการปกครองให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นในราชอาณาจักรจึงได้มี การสร้างพระราชวังอันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนขาวมีใบเสมา และป้อมเช่นเดียวกันกับกำแพงเมือง นอกจากนั้นยังแบ่งออกเป็นชั้นนอกชั้นในถึง ๓ชั้นด้วยกัน ปราสาทราชมณเฑียรก็เปลี่ยนจากเครื่องไม้มาก่อสร้างด้วยอิฐเป็นตึกใหญ่สูง ตระหง่าน เคียงคู่พระสถูปเจดีย์และวิหารทางศาสนา นอกจากพระราชวังหลวงแล้ว ยังมีวังอีก ๒ประเภทที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอโยธยา  ภายหลังรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถลง มา


                                                                                          ๔๓
ประเภทแรกคือ วังหน้าของพระมหาอุปราช และวังหลังหลังของเจ้าฟ้า ที่มีความสำคัญรองลงมา   สมัยก่อนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์บรรดาเจ้านายที่สำคัญรองลงมาจากพระมหากษัตริย์นั้น ไม่ได้อยู่ในเมืองหลวง มักโปรดให้ไปครองเมืองลูกหลวง หลานหลวงแต่เมื่อมีการปฏิรูปการปกครอง และการบริหาร ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งผนวกอาณาจักรสุโขทัยอย่างเด็ดขาด จัดแบ่งเมืองต่างๆให้เจ้านายและขุนนางออกไปปกครองส่วนบรรดาเจ้านายใกล้ชิดที่เรียงลำดับการสืบราชวงศ์ ก็ประทับอยู่ในเมืองหลวง เพื่อป้องกันการซ่องสุมผู้คนก่อการรัฐประหาร เจ้านายที่ ทรงมีฐานันดรศักดิ์ และตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในกฎมณเฑียรบาลโปรดให้มีวังที่ประทับ วังของเจ้านายพระองค์แรกที่ดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ก็คือวังจันทร์เกษมซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชา โปรดสร้างให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศ ราชโอรส ครั้นมาถึงสมัยพระเพทราชาปรากฏมีการตั้งตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ขึ้น เมื่อมีการกำหนดวังจันทรเกษมเป็นวังหน้าแล้วขาดแต่ที่ประทับวังหลัง จึงสร้างพระราชวังหลังขึ้นที่บริเวณสวนหลวงเป็นที่ประทับ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของวังหลวงติดกำแพงพระนครริมแม่น้ำ บางเกาะมีการก่อสร้างพระที่นั่งต่างๆเพิ่มเติมขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ได้แก่  พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท และพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท (พระที่นั่งทั้งสามองค์ตั้งอยู่แนวเดียวกับหมู่พระเจดีย์สามองค์ใน ปัจจุบัน) และสถานที่ตรงหอระฆังของวัดพระศรีสรรเพชญในปัจจุบันนั้นแต่เดิมสมัยสร้างพระราชวังในครั้งแรกสร้าง เป็นหอฆ้อง หอกลอง ประจำ พระราชวัง ใช้เป็นที่ย่ำยามทุ่มโมง ตีบอกสัญญาณ   โดยสร้างเป็นเสากลมสี่เสา ต่อมาจึง ก่อหุ้มเสากลมก่อเป็นหอ ครั้งหลังสุดได้ ก่อขยายชักมุขสี่ด้าน ก่อเป็นหอระฆังห้ายอด  จนเมื่อพระบรมไตรโลกนาถถวายวังเป็นวัด  หอกลอง ฆ้องนี้จึงใช้เป็นหอระฆังของวัดพระศรีสรรเพชญ พระบรมมหาราชวังนี้มีการก่อสร้างพระที่นั่งเพิ่มเติมต่อมาอีกหลายรัชกาลเช่น พระที่นั่งมังคลาภิเษก  จนถึงแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๘ แห่งกรุงศรีอโยธยา มีความเลื่อมใสศรัทราในพระพุทธศาสนามาก มีพระราชดำหริสร้างวัดเอาไว้ในพระบรมมหาราชวัง จึงได้ถวายพระราชวังเดิมให้เป็นวัดและขยายขอบเขตพระราชวังให้ใหญ่โตขึ้น โดยขยายขอบเขตพระราชวังไปทางทิศเหนือ ประชิดแม่น้ำลพบุรี ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเป็นวัดหน้าพระเมรุ วัดที่สร้างได้ขนานนามว่าวัดพระศรีสรรเพชญ ส่วนกำแผงวังหลวงขยายจากแนวเดิมชิดกำแพงพระนคร บนกำแพงเป็นใบเสมา ส่วนประตู ซุ้มเป็นยอดทรงแบบมลฑป เครื่องไม้ทาสีแดง    ซุ้มประตูเขตพระราชฐานส่วนในเป็นซุ้มปูนปั้นยอดเป็นรูปพรหมพักตร์    เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ถวายพระราชวังเป็นวัดแล้ว  จึงได้โปรดให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ทดแทนพระราชวังที่ถวายเป็นที่ตั้งวัด พระมหาปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่มีสององค์ ได้แก่ พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท และพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท   ส่วนพระที่นั่งอื่น ๆ  ได้สร้างเพิ่มขึ้นตามมาโดยพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆมา   เช่น พระที่นั่งสุริยาศอัมรินทร์สร้างขึ้นตรงข้ามกับพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท และพระนเรศวรให้สร้างพระที่

                                                                                     ๔๔
นั่งมังคลาภิเษก  เพื่อ เป็นพระที่นั่งที่ทรงเสด็จออกรับพระเจ้าเชียงใหม่ และต่อมาสมัยพระเอกาทศรถใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและใช้เป็นที่เสด็จออกรับราชฑูตของพระเจ้าตองอู(พุทธศักราช ๒๑๓๓  ๒๑๔๘) ในสมัยพระเจ้าปราสาททองครองราชย์ พระที่นั่งมังคลาภิเษกนี้ได้ถูกฟ้าผ่าจนเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น ไฟไหม้ครั้งนั้นถือ
เป็นครั้งรุนแรงมากในพระบรมมหาราชวังกรุงศรีอโยธยา ไฟได้เผาผลาญโรงเรือน ตำหนักใหญ่น้อย มากถึง ๑๐๐ หลังเนื่องจากตำหนักทั้งหมดเป็นเรือนไม้ทำให้เพลิงไหม้เสียหายหนักด้วยการก่อสร้างมีบริเวณไม่ห่างกันมากนักเพลิงจึงลุกลามอย่างง่ายพระเจ้าปราสาททองจึงทรงให้ก่อสร้างพระที่นั่งขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนพระที่นั่งมังคลาภิเศกที่ถูกเพลิงไหม้  ในปีพุทธศักราช ๒๑๘๖ บนรากฐานเดิมของพระที่นั่งมังคลาภิเษกพระราชทานชื่อพระที่นั่งวิหารสมเด็จ  เพื่อให้คล้องจองกับพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ตัวพระมหาปราสาทกว้าง ๒๓ เมตร ยาว ๒๕ เมตร มีมุขหน้าทางด้านทิศตะวันออก และมุขหลังทางด้านทิศตะวันตก เฉพาะมุขหน้ายาว ๓๑ เมตร มุขหลังยาว ๒๕.๕ เมตร เฉพาะมุขหลังแบ่งออกเป็นสองตอน ตอนสีหบัญชรทำเป็นมุขมีผนังและแบ่งเป็นมุขโถงตอนหลังยาว ๑๑ เมตร เฉพาะมุขมีมุขเด็จยาว ๓.๕ เมตร กว้าง ๘ เมตร โดยเฉพาะความยาวของพระที่นั่งจากมุขหน้าถึงมุขหลังยาวทั้งหมด ๘๑ เมตร    พระที่นั่งวิหารสมเด็จได้รับ การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการปฏิสังขรณ์โดยมีเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ มีการแก้ไขผนังเจาะช่องหน้าต่างเปลี่ยนเป็นบานพระบัญชรมีซุ้มยอด   แต่เดิมหลังคามุงด้วยกระเบื้องจึงเปลี่ยนเป็นดาดด้วยดีบุก ใส่บราลีที่สันหลังคา ปิดทองประดับกระจก เพราะรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษเป็นระยะรัชกาลยาวนาน (พุทธศักราช ๒๒๗๕  ๒๓๐๑) การสร้างใหม่มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นการปฏิสังขรณ์ให้ใหม่ขึ้นสวยงามขึ้นมากกว่า ฉะนั้นความสง่างามอลังการจึงเป็นสิ่งที่เลื่องลือ จนนำมาเรียกราชวงค์ว่า ราชวงศ์ปราสาททอง พระเจ้าอยู่หัวที่สถาปนามหาปราสาทพระวิหารสมเด็จก็ได้รับการถวายพระนามว่า พระเจ้าปราสาททอง  พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์เป็นอีกปราสาทหนึ่งที่พระเจ้าปราสาททองสั่งให้ก่อสร้างขึ้นพ.ศ.๒๑๗๕ บนกำแพงพระราชวังด้านตะวันออกเป็นโถงไม่มีฝากลางจตุมุขชั้นบนเป็นที่ตั้งแท่นสำหรับประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่และมหรสพด้านหน้าปราสาทเป็นถนนกว้าง ๖ วาเรียกว่าถนนหน้าจักรวรรษดิ์ติดถนนเป็นสนามกว้างใหญ่ตลอดแนวกำแพงพระบรมมหาราชวังเรียกสนามหน้าจักรวรรษดิ์หลังปราสาทมีสนามยิงเป้าพระแสงปืน ปลายรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ขณะพระองค์ประชวรได้ประทับ ณ พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทจนเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งนั้น ขณะประชวรหนักพระเจ้าปราสาททองได้รับสั่งให้เหล่าขุนนางผู้ใหญ่และราชโอรสทุกพระองค์เข้าเฝ้า ทรงมอบราชสมบัติให้เจ้าฟ้าไชยพระราชโอรส องค์ใหญ่ ทำให้พระนารายณ์พระราชโอรสองค์รองขัดใจเป็นอย่างมาก เสด็จออกจากที่เข้าเฝ้าแล้วใช้ปืนใหญ่ระดมยิงพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท พังทลายลง ในกาลต่อมาเมื่อพระนารายณ์ได้เสด็จผ่านพิภพจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ตรงพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งแบบสองชั้น ใช้เป็นที่ประทับเสด็จทอดพระเนตร

                                                                                      ๔๕
ขบวนแห่ทางชลมารคในแม่น้ำลพบุรี และเสด็จขึ้นลงในการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ เมืองลพบุรี ขอกล่าวถึงพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทเป็นพระที่นั่งที่ใหญ่โอ่โถง  มีความยาวประมาณ ๗๖เมตร ความกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ตัวพระมหาปราสาทเป็นเรือนยอดมีมุขหน้ามุขหลังยาว  มุขข้างสั้น องค์พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทแบ่งเป็นสองตอน คือ   ตอนหน้า มีที่เสด็จออกเป็นสีหบัญชร ด้านหน้าของสีหบัญชรเป็นท้องพระโรงยาว ด้านหน้าท้องพระโรงเป็นมุขเด็จแบบมุขโถง กลางมุขเด็จตั้งพระที่นั่งบุษบกใช้เป็นที่ประทับเวลาออกขุนนางหรือรับราชทูต ตามแต่โอกาส และด้านหลังข้างสีหบัญชรมีบันไดลงสองข้าง สำหรับเสด็จออกและใช้รับราชทูตต่าง ๆ    ส่วนตอนหลัง มีที่เสด็จออกเป็นท้องพระโรง ใช้เสด็จออกสำหรับฝ่ายในเข้าเฝ้า มุขตอนหน้าเป็นมุขโถงแบบมุขเด็จไม่มีบันไดลง แต่มีบันไดขนาบด้านข้างของมุขเด็จ ด้านข้างทางขวามีโรงช้างเผือกเป็นโรงยอดสี่เหลี่ยมจตุรัสความกว้าง ๑๐ เมตร กำแพงกั้นเป็นแนวเขื่อนเพ็ชรอยู่ในแนวถนนท้ายพระที่นั่ง ประเพณีการเสด็จออกสีหบัญชรของกษัตริย์สมัยกรุงศรีอโยธยานั้น เป็นการเสด็จออกสีหบัญชรภายในพระมหาปราสาท ขุนนางเฝ้าที่ท้องพระโรงตามตำแหน่ง ในสมัยพระนารายณ์พระองค์ เสด็จออกสีหบัญชรรับราชทูตเชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ ทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ถวายพระราชสาส์น เป็นการเสด็จออกเต็มยศ มีการยืนช้าง ยืนม้า ทหารเหล่าต่าง ๆ แต่งเต็มยศ รวมทั้งทหารอาสาต่างประเทศ ตลอดถึงบรรดาชาวต่างประเทศที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แต่งกายตามชาติของตนราชทูตถวายเครื่องราชบรรณาการและมีพระราชปฏิสันฐานตามขบวนการพิธีธรรมเนียมตรัสถามราชทูต
 อีกแบบอย่างหนึ่งเป็นการเสด็จออกมุขด้านหน้าพระมหาปราสาทมีการยืนช้าง ยืนม้า ทหารต่าง ๆ แต่งเต็มยศ ชาวต่างชาติแต่งกายตามชาติของตน ขุนนางและราชทูตเฝ้าที่ชาลาหน้าพระลานพระมหาปราสาท การเข้าเฝ้าดังกล่าวข้างต้น มีการประโคมแตร ทั่ง มโหระทึกไขพระวิสูตร เวลาเสด็จออกและเสด็จขึ้นทั้งสองคราวข้อความที่พรรณนาถึง พระราชวังหลวงกรุงศรีอโยธยาโดย ราชทูตลังกา กล่าวว่า
           “
เมื่อถึงเขตพระราชวัง แลเห็นปราสาทราชมนเฑียร ล้วนแต่ปิดทอง(ลงรักปิดทอง)อร่าม...เจ้าพนักงานจึงนำทูตานุทูตเข้าไปในพระราชวัง ผ่านประตู ๒ ชั้น ที่ประตูประดับประดาด้วยสีทองและสีอื่นๆ เมื่อล่วงประตูชั้นที่สองเข้าไป ก็ถึงพระที่นั่ง (สรรเพชญปราสาท) สองข้างฐานมุขเด็จพระที่นั่ง มีรูปภาพต่างๆ ตั้งไว้คือ รูปหมีรูปราชสีห์ รูปรากษส รูปโทวาริก รูปนาค รูปพิราวะยักษ์ รูปเหล่านี้ล้วนปิดทองตั้งอย่างละคู่ ตรงหมู่รูปขึ้นไปเป็น (มุขเด็จ) ราชบัลลังค์ก็สูงประมาณ ๕ ศอก ตั้งเครื่องสูงรอบ (มุขเสด็จ) ราชบัลลังค์นั้นผูกม่านปักทองงามน่าพิศวง ฝาผนังพระที่นั่งก็ปิดทอง บนราชบัลลังก์ตั้งบุษบกที่ประทับเสด็จออกที่บุษบกนั้น พวกทูตานุทูตเข้าเฝ้า ราชทูตถวายพระราชสาส์นและเครื่องบรรณาการเสร็จแล้ว พระเจ้ากรุงศรีอโยธยา จึงทรงพระกรุณาพระราชทานอนุญาตให้พวกทูตานุทูต ไปเที่ยวดูสถานที่ต่างๆ ในพระราชวังต่อไป”    บรรดาทูตานุทูตพรรณนาถึงโรงช้าง (โรงยอด) ในและนอกพระราชวัง และได้บรรยายถึงประตูพระราชวังว่า ประตูพระราชวัง

                                                                                       ๔๖
ยอดปิดทอง ประดับด้วยดอกไม้และเครือไม้(แกะสลัก) เมื่อแลดูกลับเข้าไปข้างในเห็นพระที่นั่งหลังคา ๕ ชั้น มียอดอันปิดทองพระราชวังอันงามวิจิตรที่กล่าวมานี้ สร้างที่ริมกำแพงใกล้แม่น้ำ  จากบันทึกดังกล่าวทำให้ภาพสถานที่เป็นพระราชวังและ ปราสาท ชัดเจนในการศึกษาเรื่องราวของอาณาจักรอโยธยา ราษฎรทั่วไปถ้าไม่มีรับสั่งในเข้าเฝ้าแล้วห้ามเข้าไปภายในกำแพงวัง จะเข้าได้ก็เฉพาะนางในและโขลนทวาร  เจ้านายและเชื้อพระวงศ์   ส่วนขุนนางและชาวต่างประเทศ เมื่อจะเข้าเฝ้า ก็จะผ่านเข้าทางประตูโขลน ด้านนอกเป็นทหารหลวงชาย ด้านในเป็นจ่าโขลนหญิง อาวุธและของที่อาจใช้เป็นอาวุธทุกชนิดที่นำมาด้วยจะถูกยึดไว้ คานหามและผู้ติดตามก็ให้รออยู่ด้านนอกกำแพงวัง ในวังหลวงจะมีวัดพระศรีสรรเพชญเป็นวัดประจำพระราชวัง หรือ เป็นหอพระแก้วของพระนคร (รัตนะที่หนึ่งตามคติทางพุทธศาสนา) มีพระศรีสรรเพชญ พระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ประดิษฐาน
ระบบน้ำที่ใช้ภายในพระราชวังมีระบบประปาของพระราชวังวางท่อไปยังพระราชวังและตำหนักต่างๆ  รากฐานการประปานั้นเริ่มก่อสร้างรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ด้วย แรงงานไพร่และทาส โดยช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้จัดวางระบบท่อดินเผา ระบบกังหัน ระหัดวิดน้ำและตะบันน้ำ  ผันน้ำจากแม่น้ำลพบุรีริมพระราชวังเข้ามาสู่ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่  จุด  แล้ว ปล่อยน้ำลงในระบบท่อดินเผา ไปสู่ห้องเครื่อง ห้องสรงในตำหนักต่าง ๆ 
อู่เรือรบและเรือพระที่นั่งที่ใช้ในพระราชพิธี อยู่ปากคลองคูไม้ร้อง แถววัดเชิงท่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดน้ำขนาดใหญ่ฝั่งตรงข้ามพระราชวัง  มีจำนวนเรือพระที่นั่งมากกว่า ๕๐ ลำ  มีชื่อต่าง ๆ  มากมาย เช่น ศรีษะพระครุฑพาหนะ อสุราวายุภักษ์ ศรีษะหงษ์พาหนะ   แก้วจักรมณี  สุวรรณจักรรัตนพิมานไชย  สุวรรณพิมานไชย สาลิกาล่องลม เอกไชย สินธุประเวศ รัตนพิมานอำมเรศ เป็นต้น     
ความมั่งคั่งของกรุงอโยธยา อาณาจักรสยาม มาจากทรัพยากรที่สมบูรณ์เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ทั้งการผลิตข้าว การปศุสัตว์วัวควาย หนังวัวหนังควาย ของป่าเครื่องเทศ ไม้สัก แร่ทองคำ อากรที่เก็บได้จากการค้าขายนำส่งเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้จ่ายและ ทะนุบำรุงวัดวาอาราม เวียง วังต่างๆ ให้ใหญ่โต สวยงามอลังการมีการสร้างอารามหลวง พระราชวัง ปราสาทหลายองค์จนชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายพรรณนาถึงเมืองที่มีความร่ำรวยความใหญ่โตสวยงามของ
พระราชวังแห่งกรุงอโยธยา ที่หาเมืองใดในอาณาจักรอื่นของแหลมอินโดจีน เทียบเทียมได้ แต่นั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ ทำให้บรรดาสมาชิกของราชวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ เช่นสมุหกลาโหม เกิดการแย่งชิงราชสมบัติเพื่อครองอำนาจเหนือกรุงศรีอโยธยา อีกประการที่มองข้ามไม่ได้คือการทำลายระบบเมืองท่าของอโยธยาของอังวะดินแดนของเมืองท่าสำคัญแห่งลุ่มน้ำเอยาวดี  เป็นผลให้อาณาจักรสยามที่มีความอ่อนแอมากกว่าอังวะ ความเป็นเมืองท่าจึงถูกทำลาย และในสมัยพระมหินทร์ได้ตกเป็นประเทศราชของอังวะ   ต้องส่งบรรณาการและสินค้าที่
                                                                                      ๔๗
อังวะต้องการ  ให้กับอังวะ    และในครั้งหลังรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศ ต้องถึงคราวสิ้นกรุงศรีอโยธยา  หลังจากพ่ายแพ้ สงครามแก่อังวะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น