ตอนที่ ๖
พุทธอาณาจักรที่รุ่งโรจน์
ในอาณาจักร ทั้งราชสำนัก และประชาชนของกรุงศรีอโยธยา
รับพุทธศาสนามาครั้งรัชกาลก่อนๆของอโยธยาโดยสืบทอดพุทธมาครั้งขอม ทราวดี แต่ด้วยอิทธิพลฮินดูของดินเดียที่เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิและขอมรับศาสนาฮินดูไว้ประจำอาณาจักรโดยราชสำนักขอมก่อสร้างศาสนสถานฮินดูไว้มากมาย
จนถึงยุคอโศกมหาราชา
อินเดียเข้ามาค้าขายยังดินแดนอุษาคเนย์และได้นำพุทธมาเผยแพร่ความเชื่อทางฮินดูราชสำนักขอมจึงเปลี่ยน แปลงไป เป็นพุทธแต่ก็ยังหลงเหลือทั้งคติพระมหากษัตริย์คือสมมุติเทพเป็นพระนารายณ์อวตาร
การพูดในราชสำนัก ใช้ราชาศัพท์ยังคงยึดถือภาษาเขมรและยึดถือมาจนถึงวันนี้
ส่วนการประกอบพิธีในราชสำนักก็ใช้พราหม์และพระสงฆ์ จึงเป็นพุทธแบบผสมผสานทั้งสามศาสนายิ่งไปกว่านั้นประชาชนโดยทั่วไปก็ยังนับถือผี
ของบรรพบุรุษผสมผสานเข้าไปอีกด้วยดังนั้นกรุงศรีอโยธยาจึงมีการสร้างวัดพุทธขึ้นมากมายทั้งกรุงมากกว่าร้อยวัดถึง
ห้าร้อยวัด ทั้งวัดของพระมหากษัตริย์ ของราชวงศ์ ของขุนนางชุมชนที่มีชาวมอญอาศัยอยู่
แต่ละวัดก็จะมีเสาหงส์ตั้งอยู่หน้าวัดพิเศษกว่าวัดทั่วไป
แต่คติการสร้างวัดก็ยังอิงคติฮินดู
คือความเชื่อฮินดูมีเขาพระสุเมรุที่ประทับของพระอิศวรเป็นศูนย์กลางจักรวาล
แต่วัดพุทธมีพระธาตุ เจดีย์ ที่ประดิษฐานพระธาตุของพระพุทธเจ้าเป็นศูนย์กลาง
มีวิหารเป็นที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระสังฆราชาที่ต้องใช้ราชาศัพท์คล้ายคลึงกับพระมหากษัตริย์นอกจากนี้เมืองยังมีเสาหลักเมืองเป็นศูนย์กลางเมือง
มีศาลพระเสื้อเมืองพระทรงเมือง
คติดังนี้พุทธศาสนามิได้มีกล่าวไว้ในพระธรรมคำสั่งสอนแต่อย่างใดเป็นการผสมผสานอย่างกลมกลืนด้านศาสนาฮินดู และพราหม์ ส่วนพุทธแบบเถรวาทที่จีนนับถือก็เช่นเดียวกันมีวัดที่เกี่ยวพันแบบจีนเกิดในกรุงศรีอโยธยาเช่นวัดพนัญเชิงเป็นต้น
นอกจากพุทธศาสนาแล้วถ้าไม่กล่าวถึงศาสนาอื่นๆในกรุงศรีอโยธยา คงได้ภาพได้เรื่องราวไม่สมบูรณ์
เพราะทั้งศาสนาคริสต์ และอิสลามล้วนอยู่คู่กับแผ่นดินนี้มาเช่นเดียวกับ พุทธ พราหม์และฮินดู
ด้วยความที่อโยธยาเป็นเมืองท่าชั้นแนวหน้าในสมัยนั้นทั้ง ชาวเปอร์เซีย ชาวมลายู
ชาวชวา พวกเขาเหล่านี้เป็นมุสลิมชาวแขก อินเดีย เป็นฮินดู ส่วนโปรตุเกสเป็นตริสต์ ญี่ปุ่นเป็นพุทธมหายานชาวต่างชาติต่างศาสนาเหล่านี้ล้วนจากถิ่นฐาน
เข้ามาค้าขายจนได้สนิทแนบแน่นกับราชสำนักจนมีถิ่นพำนักอยู่ในกำแพงพระนครบ้าง
ฝั่งแม่น้ำตรงข้ามบ้าง
ดังนั้นหมู่บ้านของชนชาวเหล่านี้ล้วนมีที่ปรกอบกิจทางศาสนาทั้งสิ้น ตามท่าเรือสำเภาที่มาจากเปอร์เซียบ้าง
ตามรายทางแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งที่บางเกาะ ธนบุรี ตลาดขวัญ จึงมีมัสยิสตั้งอยู่หลายแห่งเพื่อประกอบกิจทางศาสนาของมุสลิมที่ละหมาดวันละหลายเวลาเมื่อต้องล่องเรือผ่านเวลาต้องประกอบพิธีละหมาดก็จะแวะมัสยิสเหล่านั้น
ส่วนในกำแพงพระนครมีมัสยิสที่เรียกว่ากุฎีทอง ส่วน
๔๘
นอกกำแพงพระนครก็ยังมีอีกหลายมัสยิสเช่นมัสยิสปากคลองตะเคียนเป็นต้น มีการตั้งตำแหน่งจุฬาราชมนตรีขึ้น เพื่อเป็นผู้นำสูงสุดในพิธีละหมาด พี่น้องมุสลิมจากที่มาจากดินแดนต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็น
ประชากรที่สำคัญส่วนหนึ่งของกรุงศรีอโยธยา
มีส่วนรบทัพจับศึกยามสงครามเป็นทั้งทหารผู้เก่งกล้าเรียกว่าอาสาจาม และสืบต่อลูกหลานมาจนถึงทุกวันนี้
พลเมืองอโยธยาส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดล้วนนับถือพุทธศาสนา
ดังนั้นวัดจึง
เป็นส่วนหนึ่งของเมือง ของชุมชน และของพระราชวัง
พระมหากษัตริย์เป็นผู้รับพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำราชสำนัก ราชอาณาจักร
แม้ราชพิธีต่างๆจะเป็นพิธีพราหมมีราชครูเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมของราชสำนัก แต่ในการสถาปนาราชวงศ์การขึ้นครองราชย์เป็น
พระมหากษัตริย์ก็ยังถือคติพระมหากษัตริย์นั้นเป็นสมมุติเทพอย่างศาสนาฮินดูตามอิทธิพลของขอมชนชาติผู้ปกครองเก่าแก่ในคาบสมุทรอินเดียที่รับคตินี้มาจากอินเดีย
โดยพระนามของพระมหากษัตริย์จึงรวมทั้งพุทธศาสนาและฮินดูเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่
พระรามาธิบดี พระบรมไตยโลกนาถ พระบรมราชา พระนารายณ์ พระอินทร์เป็นต้น ราชสำนักนั้นจำเป็นต้องใช้วัดประจำพระบรมมหาราชวังเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ
ของพระมหากษัตริย์เนื่องในวโรกาสสำคัญต่างๆ ดังนั้นจึงโปรดให้สร้างวัดขึ้นประจำพระราชวัง
ส่วนวัดหลวงอื่นๆเป็นการสร้างเพื่อโอกาสที่สำคัญต่างๆและถวายเป็นพระราชกุศล
นอกจากนั้นเป็นวัดราษฎร์ที่ขุนนางผู้ใหญ่เป็นผู้สร้าง
และชุมชนร่วมกันสร้างเป็นวัดประจำชุมชนในการประกอบพิธีทำบุญต่างๆการสร้างวัดเป็นการแสดงออกถึงความมีใจบุญ
มีอำนาจ และบารมีดังนั้น ในพระนครจึงมีวัดมากมายถึง ๕๐๐วัด แบบสถาปัตย์ และรูปลักษณะของวัดนั้น
คล้ายกับวังและคล้ายที่ประทับของเทพ องค์ประกอบของวัดมีดังนี้ อุโบสถมีพระพุทธรูปอันเป็นพระประธานเพื่อสงฆ์ประกอบพิธีในหมู่สงฆ์
เป็นเขตพุทธาวาส
วิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามความเชื่อความศรัทธาเสมือนที่ประทับของทวยเทพ
กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง
ใบเสมากำหนดเขตพระอุโบสถ สถูป เจดีย์ พระปรางค์เป็นประธานเสมือนเขาพระสุเมร
กำแพงล้อมบริเวณพุทธาวาส สังฆาวาส วัสดุที่ใช้ก่อสร้างวัดส่วนใหญ่ใช้วัตถุนิยมในสมัยนั้นได้แก่ฐานเป็นอิฐฉาบปูนส่วนอาคารเสา
เครื่องบนเป็นไม้หลังคากระเบื้องดินเผา การก่อฐานย่อมุมตามศิลปร่วมสมัยขณะนั้น
ทำให้การค้นคว้า วัดเก่า เจดีย์เก่าในสมัยต่อๆมาสามารถบ่งชี้ได้ว่าใครสร้าง สมัยใด
ศิลปะแบบใด วัดเป็นทั้งแหล่งวิชาความรู้กับชุมชนที่มีขุนนางเป็นผู้นำชุมชนการอ่าน
เขียนตัวหนังสือไทยกำเนิดที่วัด นอกจากราชวงศ์ที่เกิดในวัง
การไปวัดทำบุญของคนในชุมชนส่วนมากแต่ละวัดมีขุนนางและบ่าวไพร่ในเรือนและพ่อค้าวานิชเป็นโยมอุปถาก
พลเมืองที่ไม่มีเจ้านายเลี้ยงดูมักไม่ค่อยไปทำบุญ นอกจากเทศกาลสำคัญเรามักเห็นว่าบางชุมชนมีวัดถึง๒วัดอยู่ใกล้แบบหันหน้าวัดชนกันมากมาย
ก็เพราะเป็นวัดประจำตระกูลขุนนางที่มีเจ้านายแต่ละองค์หรือขุนนางแต่ละตระกูลพาบ่าวไพร่ของตนไปทำบุญตักบาตรที่สำคัญประเพณีสงกรานต์ตามแบบมอญ
ที่มีการบังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษโกศเถ้ากระดูกของตระกูลขุนนางและครัวเศรษฐีผู้เป็นญาติของขุนนางทำอาชีพเป็นพ่อค้าวานิชจะตั้งโกศเป็นหมู่
๔๙
ใหญ่โตรอพระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล
ชาวบ้านที่ไม่ได้ทำราชการไม่มีพระยาเลี้ยงจะมีเพียงห่อผ้าขาวของบรรพบุรุษไม่อาจทัดเทียมนี่เป็นอีกสาเหตุที่การทำบุญที่วัดขุนนางสร้าง
ชาวบ้านทั่วไปมักไม่ค่อยไป คงใช้วิธีใส่บาตรที่ท่า
น้ำหน้าเรือนหรือริมทางเดินในเมือง
และไปวัดราษฏร์
การทำบุญในวันพระและเทศกาลที่มักใช้ลานวัดเป็นที่เล่นสนุกทั้งเด็กและหนุ่มสาวเป็นที่รวมพบปะของคนในชุมชนทั้งชาวมอญชาวเขมรและลาวในพระนครมีประเพณีสงกรานต์
ส่วนคนที่มาจากเมืองศรีธรรมราชก็นำประเพณีไหว้ผีในเดือนสิบเรียกว่าวันสาทร์ ส่วนชายวัยหนุ่มที่เตรียมพร้อมมีครอบครัวมีความเป็นอยู่สนุกสนานทั้งนายทั้งไพร่ทั้งทาสเมื่อยามไม่มีศึกสงครามและไม่ต้องเกณฑ์แรงงาน
แต่ความรู้หนังสือ รู้หลักธรรมนำชีวิต มารยาทการวางตนร่วมสังคมยังไม่เจน
ดีพอชาวต่างชาติที่พูดคุยด้วยมักสบประมาทว่าเป็นคนไร้อารยะธรรม
ก็ด้วยชนชั้นความเป็นอยู่ ทั้งภาพลักษณ์เครื่องนุ่งห่มชายมักเปลือยท่อนบนด้วยเป็นคนน้ำมีแม่น้ำลำคลองทั่วทั้งแผ่นดินการอาบน้ำของชายหนุ่มยังมีการเปลือยกายเป็นที่ขบขัน
อุจาดตาของชาวต่างชาติ พวกเปอร์เซียจึงเรียกขานหนุ่มที่เจอะเจอทำกริยาเยี่ยงนี้ว่า
เน็คหรือ นาค (พวกชีเปลือย )ซึ่งเป็นคนพวกหนึ่งที่อาศัยบนเกาะในมหาสมุทรอินเดียที่พวกเขาเดินเรือผ่านแล้วพบเห็น ครั้นคบหากันไปนายนาคเหล่านั้นได้ทำพิธีโกนหัวบวชพระในพุทธศาสนากริยาหยาบกระด้างหมดไปมีความรู้หนังสือเลยเรียกว่าบวช
นาคพอสึกจากพระมีความรู้ศีลธรรมจึงเรียกบัณฑิตผิดเพี้ยนมาเป็นทิด(ยังไม่มีโรงเรียน
และมหาวิยาลัยการได้เรียนในวัดถือว่าเป็นบัณฑิตแล้ว)
ดังนั้นจึงเป็นประเพณีนิยมที่ชายอโยธยาที่อายุครบบวชจะต้องการมีครอบครัวต้องบวชนาคเสียก่อนหากเป็นเจ้านายก่อนเข้ารับราชการก็ต้องบวชเสียก่อนไพร่บางคนหนีการเกณฑ์ทหารเข้าทัพหรือเกณฑ์แรงงานมักไม่สึกจากพระจำนวนพระสงฆ์จึงมีมากในแต่ละวัด
วัดที่สำคัญๆของกรุงศรีอโยธยาศรีรามเทพนครที่ขอกล่าวถึง ได้แก่
วัดพระศรีสรรเพชญ เดิมทีเป็นวัง ที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ
แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง
จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำ พรรษา แตกต่างกับวัดมหาธาตุ ที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ
วัดพระศรีสรรเพชญ ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้น เพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง
(วัดพระศรีสรรเพชรคือวัดพระแก้วของกรุงศรีอโยธยา)
วัดสุวรรณดาราราม ตั้งอยู่ริมป้อมเพชรชื่อว่าวัดทอง เป็นวัดของฝ่ายวังหน้า
ตั้งอยู่ในกำแพงกรุงศรีอยุธยาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ริมป้อม เพชร
เป็นวัดที่ขุนนางวังหน้าสร้างไว้ในย่านเรือนอาศัยของตระกูลต่อมาลูกหลานได้ปราบดาภิเษกจึงได้รับการบูรณะใหม่
วัดชุมพลนิกายาราม สร้างโดย พระเจ้าปราสาททอง
ตรงบริเวณที่เป็นเคหสถานเดิมของพระราชชนนีของพระองค์
๕๐
วัดพนัญเชิง เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน
ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอโยธยา พระเจ้าสายน้ำผึ้งกษัตริย์อโยธยาเป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า
วัดเจ้าพระนางเชิงตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ฝั่งตรงข้ามคูขื่อหน้า ก่อนสร้างกรุงคูขื่อหน้าคือลำคลองสายเล็กๆอีกด้านติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นชุมชนชาวจีนที่มาค้าขายนานวันจึงเป้นประชากรส่วนหนึ่งของกรุงศรีอโยธยา
วัดบรมวงศ์อิศรวราราม
เดิมชื่อ วัดทะเลหญ้า(เข้าใจเอาว่าบริเวณที่สร้างวัดเป็นดงกอพงแขมอ้อยช้าง)
เป็นวัดโบราณตั้งอยู่ริมคลองใกล้กับเพนียดคล้องช้าง พวกกรมพระคชบาล(เป็นเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งดำรงตำแหน่งเจ้ากรมคชบาลเป็นผู้สร้างขึ้น)อยู่ด้านเหนือนอกกำแพงพระนคร
วัดกษัตรา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางเกาะ นอกพระนครทางด้านทิศตะวันตก
ตรงข้ามกับวังหลังหรือวังสวนหลวง มีพระปรางค์เป็นประธานของวัด
วัดตูม
ตั้งอยู่ริมถนนสายประตูชัยซึ่งแต่เดิมคือริมกำแพงพระนครติดแม่น้ำลพบุรีหรือคลองเมืองส่วนถนนในปัจจุบันสร้างทับกำแพงเมือง
วัดตูมเป็นวัดที่สร้างขึ้นสำหรับลงเครื่องพิชัยสงครามในพระอุโบสถ
แบบมหาอุต คือมีแต่ประตูด้านหน้าวัดนี้เป็นวัดประจำวังที่ประทับของขุนหลวงสรศักดิ์(พระเจ้าเสือ)ขณะเป็นอุปราชรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา
วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง พระเจ้าอู่ทองสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นบริเวณที่ตรงนี้มีชื่อเรียกว่าเวียง(ภาษาลาวแปลว่าเมือง บ่งบอกถึงชุมชนที่ตามเสด็จท้าวอู่ทองเหล็ก
เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าอู่ทองขณะครองราชย์ซึ่งกษัตริย์พระองค์ก่อนๆประทับที่วังบริเวณวัดอโยธยา
ก่อนย้ายมืองใหม่ไปยังหนองโสนบริเวณวัดธรรมมิกราชครองราชย์ อโยธยาท้าวอู่ทองได้ดำหริสร้างกรุงใหม่บริเวณหนองโสนจึงมาสร้างวังที่ประทับที่เวียงเล็กแห่งนี้ โดยใช้ที่แห่งนี้เป็นศูนย์อำนวยการสร้างอโยธยาที่หนองโสนบริเวณซึ่งเป็นเมืองเก่า
ครั้นเมื่อสร้างเมืองสร้างวังที่ประทับเสร็จก็ย้ายไปประทับที่พระราชวังฝั่งหนองโสนแล้วจึงทรงสร้างวัดขึ้นเป็นอนุสรณ์
ณ ที่เวียงเล็กแห่งนี้ ต่อมาเป็นที่เล่าเรียนประจำพระนครของเหล่าลูกขุนนาง
และพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย
วัดหน้าพระเมรุ พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ รัชกาลที่ ๑๐แห่งกรุงศรีอโยธยา ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๖ประทานนามว่าวัดพระเมรุราชิการาม ส่วนมากนิยมเรียกว่า วัดพระเมรุ จึงเป็นนามของวัดที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอโยธยาเนื่อจากเคยเป็นวัดที่หงสาวดีและอังวะใช้ตั้งฐานบัญชาการจึงเป็นวัดเดียวในกรุงศรีอโยธยาที่ไม่ได้ถูกหงสาวดีทำลายเหตุการณ์คราวทำสัญญาสงบศึกระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง มีการปลูกพลับพลาเป็นที่ประทับซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดพระเมรุกับวัดหัสดาวาส (ปัจจุบันวัดหัสดาวาสเหลือเพียงซากเจดีย์)อีกคราวหนึ่งครั้งสมเด็จพระเจ้าอะลองพญามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำพ.ศ ๒๓๐๓ อังวะ เอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดพระเมรุราชิ
วัดหน้าพระเมรุ พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ รัชกาลที่ ๑๐แห่งกรุงศรีอโยธยา ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๖ประทานนามว่าวัดพระเมรุราชิการาม ส่วนมากนิยมเรียกว่า วัดพระเมรุ จึงเป็นนามของวัดที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอโยธยาเนื่อจากเคยเป็นวัดที่หงสาวดีและอังวะใช้ตั้งฐานบัญชาการจึงเป็นวัดเดียวในกรุงศรีอโยธยาที่ไม่ได้ถูกหงสาวดีทำลายเหตุการณ์คราวทำสัญญาสงบศึกระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง มีการปลูกพลับพลาเป็นที่ประทับซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดพระเมรุกับวัดหัสดาวาส (ปัจจุบันวัดหัสดาวาสเหลือเพียงซากเจดีย์)อีกคราวหนึ่งครั้งสมเด็จพระเจ้าอะลองพญามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำพ.ศ ๒๓๐๓ อังวะ เอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดพระเมรุราชิ
๕๑
การามกับวัดหัสดาวาส
พระเจ้าอะลองพญาทรงบัญชาการและทรงจุดปืนใหญ่เอง
ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ในวัดพระเมรุราชิการาม แตกต้องพระองค์บาดเจ็บสาหัส
ประชวรหนักในวันนั้น พอรุ่งขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ.
๒๓๐๓พม่าเลิกทัพกลับไปทางเหนือหวังออกทางด่านแม่ละเมา
ระหว่างทางยังไม่พ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอังวะอลองพญาก็สิ้นพระชนม์
วัดใหญ่ชัยมงคล (วัดเจ้าแก้ว)เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งอยู่ริมฝั่งคลองหันตรา
สร้างขึ้นครั้งเป็นเมืองอโยธยาก่อนการสร้างพระนครในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิปดีที่
๑ เมื่อ พ.ศ.๑๙๐๐สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขุดศพเจ้าแก้ว
ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรคขึ้นมาเผา ที่ปลงศพนั้นโปรดให้สถาปนาเป็นพระอาราม การปฎิสังขรณ์เจดีย์ประธานวัด มีขึ้นในสมัยพระนารายณ์
โดยใช้เทคนิคการเรียงอิฐของช่างเปอร์เซียสร้างเจดีย์ใหญ่ครอบจึงเป็นที่มาของชื่อวัดใหญ่ชัยมงคล
วัดมเหยงคณ์ สร้างขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒
(เจ้าสามพระยา)เมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑
ลักษณะทางศิลปกรรมของเจดีย์ทรงระฆังที่มีรูปช้างรอบฐาน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับแบบอย่างในเจดีย์ช้างล้อมในศิลปะสุโขทัย
ครั้นพ.ศ. ๒๒๕๒ ในแผ่นดินของพระเจ้าท้ายสระ มีการปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ที่วัดนี้
พระองค์เสด็จมาทอดพระเนตรการปฎิสังขรณ์นั้นเนืองๆ
รวมทั้งโปรดมาประทับตำหนักสองชั้นซึ่งอยู่ด้านใต้นอกกำแพงวัด ทรงเบ็ดในฤดูน้ำหลาก
วัดกุฏีดาว ฝีมือการสร้างงดงามยิ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสร้างพระนครและได้รับการบูรณะปรับปรุงเรื่อยมา
เจดีย์ขนาดใหญ่อันเป็นประธานของวัด เป็นเสมือนวัดคู่แฝดกับวัดมเหยงคณ์
เพราะต่างก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญในรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ
วัดมเหยงคณ์ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของวัดกุฎีดาวนั้นบูรณะโดยกษัตริย์
ส่วนวัดกุฎีดาวบูรณะโดยพระอนุชาซึ่งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช หรือวังหน้า
และได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา คือ พระเจ้าบรมโกษ
วัดราชบูรณะ สร้างขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒หรือ
เจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ.
๑๙๖๗เพื่ออุทิศให้พระเชษฐาคือภายหลังจากสมเด็จพระนครินทราธิราชาสวรรคตพระราชโอรสองค์ใหญ่สองพระองค์
คือเจ้าอ้ายพระยา ครองเมืองสุพรรณบุรีและเจ้ายี่พระยาครองเมืองสรรค์บุรี
สองพระองค์เสด็จลงมาชิงพระราชสมบัติ ต่างทรงช้างเคลื่อนพลมาปะทะกัน
ทรงพระแสงของ้าวต้องพระศอขาดสิ้นพระชนม์พร้อมกัน
เจ้าสามพระยาพระอนุชาทรงเป็นโอรสองค์ที่สาม จึงเสด็จลงมาจากชัยนาทได้เสวยราชสมบัติ
ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชเมื่อเจ้าสามพระยาทรงขึ้นครองราชย์แล้ว
จึงจัดการถวายเพลิงพระศพ พระเชษฐาธิราชทั้งสองพระองค์พร้อมกัน
สถานที่ที่ถวายพระเพลิงนั้น ก็ทรงอุทิศสร้างพระปรางค์และพระวิหารมีนามว่า
เจดีย์เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา ที่องค์พระปรางค์สร้างเป็นกรุมหาสมบัติ มี ๒ตอน คือตอนที่เป็นเรือนธาตุ
และตอนกลางองค์พระปรางค์กรุชั้นบนสูงจากระดับพื้นดินประมาณ ๕เมตร
มีลักษณะเป็นกรุสี่เหสี่ยมจัตุรัส
๕๒
ขนาดกว้างด้านละ ๔ เมตร
มีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนต้นมีภาพเทพชุมนุมลอยอยู่บางองค์มีดอกไม้เป็นก้านชูออกไปข้างหน้า
ลวดลายเครื่องประดับต่างๆมีลักษณะแบบศิลปะสุโขทัย และมีรูปกษัตริย์
หรือนักรบจีนองค์หนึ่งสวมชุดเขียวองค์หนึ่งสวมชุดขาว และอีกองค์สวมชุดแดง
ภาพแสดงเป็นเรื่องราวกรุชั้นล่างอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ ๒ เมตรเศษ
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ๑.๒เมตร สูง ๒.๖๕ เมตร
ฝาผนังกรุชั้นล่างเจาะลึกเข้าไปแบ่งเป็นช่องคูหาทั้ง๔ด้าน
เพดานเขียนลายดาวตรงกลางล้อมรอบด้วยลายและเขียนกรอบด้วยเส้นลวด
เขียนเป็นลายเส้นดอกไม้สีแดงปิดทองเป็นวงกลมๆ ผนังเหนือซุ้มคูหาแบ่งเป็น ๔
ชั้นชั้นบนเขียนรูปพระพุทธรูปสลับกับสาวกผนังซุ้มคูหาเขียนภาพชาดกในพระพุทธศาสนานับได้
๖๐ชาติมีภาพพระโพธิสัตว์ในชาดกต่างๆนั้นมีภาพที่พอเห็นชัดคือภาพโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกกวาง
ช้าง กาเผือก คนขี่ม้า นกเขา สุนัข และหงส์ ภายในห้องกรุชั้นนี้
เป็นสถานที่เก็บสมบัติและของมีค่าไว้มากมายเมื่อกรุงใกล้แตกพระเจ้าเอกทัศน์จึงมีบัญชาให้ราชองค์รักษ์ให้นำ
อาทิ พระแสงขันธ์ มหามงกุฎ และมงกุฏราชินี เสื้อทองคำ และพระพุทธรูปต่างๆ พระแก้ว
พระทองคำ พระนาก เป็นต้น ไปเก็บซ่อนไว้ไม่ให้ตกถึงมือพม่าหากรักษากรุงไว้ไม่ได้
วัดมหาธาตุ เป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญที่สุดในกรุงศรีอโยธยา
เพราะนอกจากเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุกลางเมืองแล้ว ยังเป็นที่พำนักของ
สมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสี(ต้นกำเหนิดนิกายธรรมยุตในปัจจุบัน)อีกด้วยวัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้าง
และ ดูแลตลอดเวลาวัดมหาธาตุนี้ได้ริเริ่มสร้างองค์พระปรางค์มหาธาตุขึ้นในแผ่นดินสมเด็จบรมราชาธิราชที่
๑(ขุนหลวงพระงั่ว) แต่อาจจะยังไม่สำเร็จในรัชกาลของพระองค์
จนถึงรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงทรงสร้างเพิ่มเติมจนเสร็จบริบูรณ์เป็นพระอาราม
แล้วขนานนามว่า”วัดมหาธาตุ”ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
(พ.ศ.๒๑๕๓-๒๑๗๑)พระปรางค์เคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่โดยเสริมพระมหาธาตุให้สูงยิ่งขึ้น
รวมเป็นความสูง ๒๕ เมตร
วัดธรรมิกราช
เดิมชื่อวัดมุขราช ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวังหลวง
วัดนี้สร้างขึ้นโดยพระเจ้าธรรมมิกราชกษัตริย์อโยธยา เป็นวัดประจำพระราชวังของพระเจ้าธรรมมิกราช
และยังคงเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อมาจนถึงช่วงท้าวอู่ทองมายึดอำนาจอโยธยาจึงสร้างวังขึ้นชั่วคราวที่เวียงเล็กจึงใช้พระราชวังเป็นวัดทั้งหมด
วัดมงคลบพิตร วิหารพระมงคลบพิตร
ถ้าตามพระราพงศาวดารฯบริเวณที่ตั้งวิหารนี้เคยเป็นวัดในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเพราะระบุว่าโปรดอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่
นามว่า “มงคลบพิตร” มาจากพื้นที่ทางตะวันออกต่อจากนั้นก็ทรงก่อมณฑปครอบครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดเกล้าให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตรขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยโปรดให้ทำบัวหงาย
นามว่า “มงคลบพิตร” มาจากพื้นที่ทางตะวันออกต่อจากนั้นก็ทรงก่อมณฑปครอบครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดเกล้าให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตรขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยโปรดให้ทำบัวหงาย
๕๓
คั่นระหว่างพระเกตุมาลากับพระรัศมีส่วนพระวิหารนั้นก็โปรดให้รื้อเครื่องบนออก
แล้วก่อหลังคาให้เหมือนกับพระวิหารโดยทั่วไป
วัดพระราม ตั้งอยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก
ตรงข้ามกับวัดมงคลบพิตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๑๒
ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวรซึ่งเป็นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่
๑(พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดาโดยสร้างพระธาตุตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงและสร้างวิหารขึ้นเป็นวัดพระราชทานนามวัดว่าวัดพระราม
วัดพิชัย ตั้งอยู่ ริมแม่น้ำป่าสัก สร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๙๐๐
พระยาวชิรปราการหรือพระยาตากได้ใช้ตั้งค่ายเผชิญอังวะ
จนได้รับบัญชาจากพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์ให้รวบรวมผู้คนในหัวเมืองตะวันออกเพื่อมาเป็นทัพเข้าตีขนาบทัพพม่า
จึงได้นำทหารตีฝ่าวงล้อมข้าศึก ออกจากวัดพิชัยไปยังบางปลาสร้อย ระยองและจันทบูร
วัดโลกยสุธารามสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางตั้งอยู่ที่ประตูชัย
อยู่ทางด้านหลังพระราชวังหลวง วัดนี้มีพระพุทธไสยาสน์
ปางไสยาสน์ลักษณะสมัยอโยธยาตอนกลาง ก่ออิฐถือปูน พระพักตร์หันไปทางทิศเหนือ
ที่พระเศียรมีดอกบัวรองรับ พระบาทซ้อนกันเป็นมุมฉาก นิ้วพระบาทยาวเท่ากัน
มีความยาว ๔๒ เมตร และสูง ๘ เมตร
วัดวรเชษฐ์ เป็นพระอารามหลวงเก่า ที่ตั้งอยู่ภายในพระนคร โดยอยู่ระหว่างวัดโลกยสุธาราม และวัดวรโพธิ์ สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระเชษฐา
ที่ได้สวรรคตลงขณะยกทัพไปเมืองตองอู
ซึ่งเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเชษฐาโดยได้บรรจุผอบพระบรมอัฐิพระเชษฐาของพระองค์พร้อมพระพุทธรูป
นาคปรกไว้ภายในเจดีย์ประธานวัดวรเชษฐารามนี้
วัดวรเชษฐาราม หรือวัดป่าแก้ว(ส่วนวัดใหญ่ชัยมงคลชื่อคล้ายกันคือวัดเจ้าแก้ว)ตั้งอยู่ทุ่งวรเชษฐ์
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่นอกกำแพงพระนคร เป็นเส้นทางเดินทางไปเมืองสุพรรณเป็นป่าต้นแก้ว ที่สงบสงัด เป็นวัดอรัญวาสีเป็นคณะป่าแก้วเป็นที่ประทับของสังฆราช
อรัญวาสีกาลต่อมาคณะสงฆ์ของวัดป่าแก้วได้เดินทางไปเล่าเรียน
จากวัดรัตนมหาเถระ อาณาจักรลังกา
คณะสงฆ์นี้ได้เป็นที่เคารพเลื่อมใสแก่ชาวกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก
ทำให้ผู้คนต่างมาบวชเรียนที่วัดป่าแก้วกันมากวัดนี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชด้วยอยู่นอกเมืองสงัดเงียบดังนั้นอุโบสถของวัดเคยเป็นที่ซึ่งเหล่าขุนนางและเชื้อพระวงศ์มาประชุมเสี่ยงเทียนอธิษฐาน
เพื่อคิดกำจัดขุนวรวงศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ จนได้รับผลสำเร็จ
จึงอัญเชิญพระเฑียรราชาลาผนวช ขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต่อมาในรัชกาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ได้มีเหตุการณ์ที่ต้องสำเร็จโทษ พระสังฆราชวัดป่าแก้วไป
ด้วยฐานความผิดฝักใฝ่ให้ฤกษ์ยามแก่ฝ่าย
๕๔
กบฎพระศรีศิลป์ ครั้นถึงพ.ศ. ๒๑๓๕
ในแผ่นดินของพระนเรศวรมหาราชมีการปฎิสังขรณ์เจดีย์ประธานวัด
เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ที่ได้ชัยชนะพระมหาอุปราชแห่งหงสาวดีสมเด็จพระเอกาทศรถทรงราชาภิเษก ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอโยธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๘ ทรงบูรณะวัดวรเชษฐารามเป็นวัดประจำพระองค์เสด็จปฏิบัติธรรม
มีวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาอันงดงาม มหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมกุฎิสงฆ์และกำแพงแก้ว สร้างหอพระไตรปิฏก
และสร้างพระไตรปิฏกธรรมจนจบบริบูรณ์ เสร็จสิ้นแล้วก็นิมนต์พระสงฆ์อรัญวาสีผู้ทรงศีลาธิคุณอันวิเศษมาอยู่ครองพระวรเชษฐาราม
ทรงแต่งตั้งขุน,หมื่น,ข้าหลวงไว้สำหรับอารามนั้น
แล้วพระราชทานทรัพย์ไว้ให้จัดทำจตุปัจจัยไทยทานถวายแก่พระสงฆ์เป็นนิจกาล พระองค์ยังให้ตั้งทานศาลา แล้วประทานพระราชทรัพย์ ให้ทำอาหารถวายแก่ภิกษุสงฆ์เป็นประจำมิได้ขาด
วัดภูเขาทองสมเด็จพระราเมศวร
โปรดเกล้าให้สร้างขึ้น ต่อมา รัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช พระเจ้าบุเรงนอง
กษัตริย์แห่งกรุงหงสาวดี ได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอโยธยาได้สำเร็จ
ได้มีการสร้างเจดีย์รูปแบบมอญไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ต่อมารัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ได้ทำการบูรณะเจดีย์ใหม่ เนื่องจากเจดีย์องค์เดิมได้พังทลายลงมาเหลือเพียงฐาน
โดยเปลี่ยนรูปแบบเจดีย์เป็นแบบย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนฐานนั้นเป็นรูปแบบมอญดังเดิม
วัดไชยวัฒนาราม สร้างขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าปราสาททอง
เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระราชมารดา ในบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระราชมารดา
เมื่ออโยธยามีชัยชนะอาณาจักรเขมรได้นำ สถาปัตยกรรมศิลปะขอมมาผสมผสาน
ตามคติเขาพระสุเมรุศูนย์กลางจักรวาล ด้วยการจำลองแบบจากนครวัธ
โดยมีลักษณะปรางค์แบบสมัยอยุธยาตอนต้น ครั้งวัยเยาว์พระเจ้าปราสาททองได้อาศัยที่นิวาสสถานตรงสร้างวัดนี้เมื่อมองฝั่งแม่น้ำตรงข้ามเป็นกำแพงเมืองปราสาทราชวัง
แล้วพระองค์ก็ได้เข้ามารับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่ในพระมหาราชวังรับราชการเจริญก้าวหน้าจนเป็นพระยากลาโหมและปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าปราสาททอง ความสำคัญของวัดไชยวัฒนารามที่มีมาในอดีตได้แก่เป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์เป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เป็นที่พำนักของพระราชาคณะฝ่ายอรัญวาสีเป็นที่บรรจุพระอัฐิกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) และเจ้าฟ้าสังวาลย์
วัดท่าการ้อง ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำบางกอก เป็นการรวมวัด ๒
วัดเข้าด้วยกัน คือ วัดท่าและวัดการ้อง สร้างขึ้นก่อนราว พ.ศ. ๒๐๙๒
ต่อมาหงสาวดีได้มาตั้งค่ายที่วัดการ้อง เพื่อเข้าตีกรุงศรีอโยธยา
ในสมัยพระมหาจักรพรรดิ โดยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ยกทัพมาตั้งค่ายที่วัดการ้องคราวสงครามช้างเผือก
และอีกครั้งคือสมัยพระเจ้าเอกทัศน์
โดยเนเมียวสีหบดีแม่ทัพตั้งทัพปืนใหญ่ที่วัดท่าระดมยิงเข้าพระนคร
๕๕
วัดบรมพุทธาราม หรือ วัดกระเบื้องเคลือบ เป็นวัดเก่าที่
สมเด็จพระเพทราชา เมื่อครั้งยังรับราชการกรมช้าง โปรด ฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.
๒๒๒๖ ในบริเวณย่านป่าตอง อันเป็นนิวาสเดิม
ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์
โดยวัดได้มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา อีกทั้งยังเป็นที่จำพรรษาของพระราชาคณะศาสนสถานที่สร้างขึ้นนั้น
โปรด ฯ ให้หมื่นจันทรา ช่างเคลือบกระเบื้องสี
มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ
ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่น อันเป็นที่มาของนามวัดต่อมารัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด และโปรดให้ทำบานประตูพระอุโบสถ ประดับมุก
วัดขุนแสน
จ.พระนครศรีอยุธยาวัดขุนแสนสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา
ครั้งเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแครงนั้น
เมื่อเสด็จกลับกรุงศรีอโยธยา ได้มีชาวมอญนําโดยพระมหาเถรคันฉ่อง
พระยาเกียรติและพระยาราม ผู้ที่ได้ร่วมทำศึก ติดตามมาด้วย
สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดเกล้าฯ ให้พระมหาเถรคันฉ่องจําพรรษาอยู่ ณ วัดมหาธาตุ
ส่วนพระยาเกียรติและพระยาราม ให้อยู่ ณ ตําบลบ้านขมิ้น ใกล้วัดขุนแสน
วัดสมณโกฏฐาราม หรือ วัดพระยาคลัง สร้างยุคต้นๆของการสร้างพระนคร
และบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยอโยธยาตอนปลาย โดย เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และ
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และในสมัยสมเด็จพระเพทราชา
ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพเจ้าแม่ดุสิต มารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์ ณ วัดแห่งนี้
วัดดุสิตาราม
สร้างขึ้น ราวปี พ.ศ. ๒๑๐๐
ต่อมาได้มีการบูรณะในสมัยอยุธยาตอนปลายมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์คือ
เป็นวัดที่ เจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์
และเป็นมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
ได้บุรณะปฏิสังขรณ์ และเป็นวัดทีมีที่ตั้งใกล้กับตำหนักเจ้าแม่วัดดุสิต
ซึ่งเป็นตำหนักที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างเพื่อเป็นที่พำนักแก่พระนมของพระองค์
วัดราชประดิษฐาน อยู่ริมคลองประตูข้าวเปลือก ฝั่งตะวันตก
ถนนอู่ทอง ตำบลหัวรอ สร้างในสมัยกรุงศรีอโยธยาตอนต้น พระศรีศิลป์ พระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์มีพระชันษาได้ประมาณ ๑๔ พรรษา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงให้ออกผนวชเป็นสามเณร
เป็นวัดที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเฑียรราชาทรงผนวชอยู่
และเมื่อก่อนเสียกรุง ใน พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต (ขุนหลวงหาวัด) ซึ่งทรงผนวชอยู่ ณ
วัดประดู่โรงธรรม นอกพระนครก็ได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ วัดนี้
ก่อนถูกกวาดต้อนไปอังวะภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐
๕๖
วัดขุนเมืองใจ เป็นวัดที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยกรุงศรีอโยธยาพระมหาเจดีย์ของวัดขุนเมืองใจนี้เป็นหลักของพระนครศรีอโยธยาด้วยแห่งหนึ่ง
วัดมลฑป ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวังหน้า(วังจันทรเกษม
หรือ พระราชวังบวรสถานมงคล ) ทางทิศตะวันตกติดแม่น้ำป่าสัก
ทางทิศเหนือติดแม่น้ำลพบุรีในเขตหัวรอ กรุงอโยธยา
ด้านหน้าของวัดหันสู่ทิศตะวันออกตามคตินิยมดั้งเดิมไม่ได้หันตามแม่น้ำ
รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑ - ๒๒๔๖) อ้ายธรรมเถียร ชาวมอญอดีตข้าหลวงของเจ้าฟ้าอภัยทศ พระราชอนุชาสมเด็จพระนารายณ์
ได้ก่อกบฎขึ้นในแขวงเมืองนครนายกแล้วปลอมตัวให้เหมือนเจ้าฟ้าอภัยทศ ยกทัพเข้ามากรุงศรีอโยธยา โดยมาตั้งมั่นอยู่ที่ฟากวัดมณฑป
ตรงทำนบหน้าพระราชวังบวรสถานมงคล พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ
ให้ทหารยิงปืนใหญ่จากฝั่งวังหน้าถูกช้างตัว
อ้ายธรรมเถียรตกจากหลังช้างบาดเจ็บสาหัสส่วนประกอบที่สำคัญของวัดนี้คือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมสูง ก่ออิฐไม่สอปูน อิฐที่ใช้เป็นอิฐผสมเปลือกข้าว ทั้งองค์แล้ว ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของมณฑป
วัดประดู่ทรงธรรม ที่ตั้งของวัดมีต้น ประดู่ขึ้นอยู่จำนวนมากอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง
ภูมิประเทศโดยรอบทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ด้านทิศตะวันตกมีลำคูเล็ก ๆ
ชาวบ้านเรียกว่า
คลองประดู่ที่เชื่อมแม่น้ำป่าสักสายใหม่เข้ามาภายในวัดจนถึงเขตพุทธาวาส
มีลักษณะเป็นนทีสีมาล้อมรอบกำแพงแก้ว
สร้างขึ้นตอนต้นของการสร้างพระนครในปีพ.ศ. ๒๑๖๓ พระภิกษุสงฆ์ของวัดประดู่๘รูป ได้ช่วยเหลือพระเจ้าทรงธรรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาหลบหนีจากการก่อกบฏของพวกญี่ปุ่นที่หมายปลงพระชนม์ชีพ ครั้งฝ่ายมหาอำมาตย์พอคุมพลได้ก็ไล่รบญี่ปุ่นล้มตายและแตกไปจากพระราชวัง ต่อมาพระมหาอำมาตย์มีความชอบดังนี้จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ (ต่อมาได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าปราสาททอง)ในคราวที่พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร ทรงผนวชและพำนักที่วัดประดู่ทรงธรรมนี้
สร้างขึ้นตอนต้นของการสร้างพระนครในปีพ.ศ. ๒๑๖๓ พระภิกษุสงฆ์ของวัดประดู่๘รูป ได้ช่วยเหลือพระเจ้าทรงธรรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาหลบหนีจากการก่อกบฏของพวกญี่ปุ่นที่หมายปลงพระชนม์ชีพ ครั้งฝ่ายมหาอำมาตย์พอคุมพลได้ก็ไล่รบญี่ปุ่นล้มตายและแตกไปจากพระราชวัง ต่อมาพระมหาอำมาตย์มีความชอบดังนี้จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ (ต่อมาได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าปราสาททอง)ในคราวที่พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร ทรงผนวชและพำนักที่วัดประดู่ทรงธรรมนี้
วัดเชิงท่าหรือวัดตีนท่าหรือวัดโกษาวาส วัดคลัง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะเมืองริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี ใกล้กับคูไม้ร้องซึ่งเป็นอู่เก็บเรือพระที่นั่ง ที่ตั้งวัดนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมท้ายสนมและปากคลองท่อ ซึ่งเป็นท่าข้ามเรือของฝั่งเกาะเมืองมาขึ้นฝั่งที่วัดเชิงท่า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าพระยาโกษาปานเป็นราชทูต กลับจากประเทศฝรั่งเศสแล้วได้ปฏิสังขรณ์วัดนี้และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดโกษาวาสในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาลงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
บริเวณวัดนี้คงจะเป็นที่รวบรวมหญ้า เพื่อนำข้ามฝั่งไปให้ช้างม้าในวัง จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดติณในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้งหนึ่ง วัดโกษาวาสแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดคลัง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขณะพระชนมายุได้
๙ พรรษา เจ้าพระยาจักรีได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์ทองดี ให้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย ขอม
และคัมภีร์พระไตรปิฎก เมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ในวันหนึ่ง นายสินคิดตั้งตนเป็นเจ้ามือบ่อนถั่ว ชักชวนบรรดาศิษย์วัดเล่นการพนัน พระอาจารย์ทองดีทราบเรื่องจึง
๕๗
ลงโทษทุกคน เฉพาะนายสินเป็นเจ้ามือถูกลงโทษหนักมากกว่าคนอื่น ให้มัดมือคร่อมกับบันไดท่าน้ำประจานให้เข็ดหลาบ นายสินถูกมัดแช่น้ำตั้งแต่เวลาพลบค่ำ พอดีเป็นช่วงเวลาน้ำขึ้น พระอาจารย์ทองดีไปสวดพระพุทธมนต์ลืมนายสิน จนประมาณยามเศษ พระอาจารย์นึกขึ้นได้จึงให้พระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นอันเตวาสิก ช่วยกันจุดไต้ค้นหาก็พบนายสินอยู่ริมตลิ่ง มือยังผูกมัดติดอยู่กับบันได แต่ตัวบันไดกลับหลุดถอนขึ้นมาได้อย่างอัศจรรย์ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ช่วยกันแก้มัดนายสินแล้ว
พระอาจารย์ทองดีจึงพาตัวนายสินไปยังอุโบสถให้นั่งลงท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ แล้วพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายสวดพระพุทธมนต์ด้วยชัยมงคลคาถาเป็นการรับขวัญต่อมาเมื่อนาสินเรียนจบการศึกษา เจ้าพระยาจักรีก็ได้นำไปถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในราชสำนักสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้อุปสมบทอยู่กับอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาสแห่งนี้ บวชอยู่นานถึง๓ พรรษาในระหว่างนั้น นายทองด้วง พี่ชายนายบุญมาสหายกับสมเด็จพระเจ้าตาก ขณะนั้นก็บวชอยู่ ณ วัดสุวรรณดาราม
ด้านป้อมเพชร
วัดพระญาติ เป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งสร้างราชธานี
เดิมเรียกว่า วัดพบญาติ ครั้งแผ่นดินอโยธยาก่อนกรุงเทพทราวดีพระราชาพระองค์หนึ่งประพาสจากวัง(ตรงวัดอโยธยา)มาถึงตำบลหนึ่งพบหญิงสาวนางหนึ่งมีผิวพรรณหน้าตาดี
เป็นที่พอพระทัยจึงขอหญิงสาวนั้นเข้าวังและได้อภิเษกเป็นมเหสี อยู่ต่อมาจึงพามเหสีเสด็จฯ
ไปเยี่ยมเยียนพ่อแม่และญาติของมเหสีที่หมู่บ้านนั้น
ราชสำนักจึงจัดพลับพลาที่ประทับมีบรรดาญาติของพระมเหสีพากันมาเข้าเฝ้าและสนทนากับมเหสีและพระราชา
ครั้นเสด็จกลับพระราชาจึงให้ถวายพลับพลาที่ประทับเพื่อการศาสนา จึงโปรดฯ
ให้สร้างวัดขึ้น ณที่ตรงนั้น ตั้งชื่อว่า "วัดพบญาติ" และเปลี่ยนเป็น
"วัดพระญาติการาม"
วัดศาลาปูน ตั้ง
อยู่ริมคลองคูเมืองด้านทิศเหนือของเกาะเมือง (เดิมคือแม่น้ำลพบุรี)
มีฐานะเป็นพระอารามหลวง ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยอโยธยา
วัดวรโพธิ์ เดิมชื่อ วัดระฆัง ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดวรเชษฐาราม ใกล้กับวัดโลกยสุธาราม เป็นวัดสำคัญมาแต่อดีตโดยเป็นวัดที่ประทับของพระสังฆราชในสมัยอโยธยา พระเจ้าทรงธรรมได้ผนวชที่วัดแห่งนี้ โดยได้สมณศักดิ์เป็น พระพิมลธรรมอนันตปรีชา
ต่อมาในสมัย พระเจ้าบรมโกศ ได้มีการปลูกต้นโพธิ์ ซึ่งได้จากเกาะลังกา
คราวที่คณะสงฆ์ได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดวรโพธิ์ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
วัดส้ม เป็นวัดเล็กๆ
ตั้งอยู่ริมคลองฉะไกรใหญ่ (คลองท่อ)ใกล้วัดสุวรรณดาราม วัดส้มเป็นวัดเล็กๆ
ราษฎร์ที่มีใจใฝ่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้สร้างขึ้นไว้ในอาณาบริเวณที่ครอบครองของตนเองที่เป็นคหบดีในสมัยนั้น
เพราะ ย่านคลองฉะไกรใหญ่หรือคลองท่อเป็นย่านการค้า
ขายที่ใหญ่และสำคัญเปรียมเสมือนตลาดศูนย์การค้าเช่นตลาดจตุจักรในปัจจุบัน
๕๘
วัดแม่นางปลื้ม หรือ
วัดส้มปลื้มสร้างมาก่อนกรุงศรีอยุธยา กล่าวกันว่า เดิมเรียกว่า วัดท่าโขลง
อีกหนึ่งวัดโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่คลองเมือง
ตรงข้ามตลาดหัวรอ เป็นวัดที่ เมื่อก่อนเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เคยเป็นวัดที่ตั้งค่ายของพม่าค่ายหนึ่ง
ยังมีเนินค่ายปรากฏอยู่ชาวบ้านเรียกกันว่า"โคกพม่า"
วัดสามวิหารเป็น
วัดที่สร้างในสมัยอโยธยาตอนต้นในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า
วัดสามพิหารและกล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า
สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาโดยผ่านโพธิ์สามต้นมาทุ่ง เพนียด
เสด็จยืนช้าง ณ วัดสามวิหาร และ พ.ศ. ๒๓๑๐ วัดนี้ก็เป็นที่ตั้งค่ายพม่าค่ายหนึ่ง
ภาย ในวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงกลมขนาดใหญ่เป็นเจดีย์สมัยอโยธยาตอนต้น
ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัย โบสถ์และวิหาร ๒ หลังหลังหนึ่งประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
ตั้งเรียงกันอยู่ทางด้านหน้าของเจดีย์
วัดแค หรือ วัดร่างแค หรือวัดท่าแค ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะเมืองอยุธยา
ซีกด้านตะวันออกของคลองสระบัวบริเวณพื้นที่เดิมเรียกว่า
เกาะทุ่งแก้ว วัดร่างแคนี้ เป็นที่ตั้งของชุมชนลาวเหนือ
(ล้านนา) เป็นวัดแห่งแรกที่หลวงพ่อทวดเคยมาพำนักอยู่ ครั้งมาถึงกรุงศรีอโยธยาสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถครองราชย์ ที่ท่านมาพำนักอยู่
เพื่อไปศึกษาธรรมที่วัดลุมพลีนาวาส ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก
ก่อนจะย้ายไปพำนักกับสมเด็จพระสังฆราชในเวลาต่อมา
วัดลุมพลีนาวาส นี้อยู่ในต.ลุมพลี นอกกรุงอโยธยา
เป็นสถานที่พักทัพทั้งทัพอโยธยาและทัพพม่าเช่นครั้งสมเด็จพระนเรศวรราชาจัดทัพไปรบตองอู
วัดสามปลื้มสร้างในสมัยอโยธยาตอนต้นส่วน
เจดีย์วัดสามปลื้มสร้างในสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยมารดาของเจ้าพระยาโกษา (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาปาน
(ปาน) เป็นแม่นมของพระนารายณ์มหาราช เรียกกันว่าเจ้าแม่ดุสิต (บัว)
ดีใจที่ลูกชายไปรบแล้วชนะศึกสงคราม ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
จึงสร้างเจดีย์วัดสามปลื้มขึ้น
(ปัจจุบันเป็นเจดีย์กลางวงเวียนถนนตั้งบนเกาะกลางถนน
ก่อนที่จะข้ามแม่น้ำป่าสักเข้าเกาะเมือง)
วัดหัสดาวาส ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือ
ใกล้วัดหน้าพระเมรุ พระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าบุเรงนองใช้เป็นที่เจรจาที่สงบศึก
ตรงระหว่างวัดหัสดาวาสกับวัดหน้าพระเมรุ ดังนั้น
วัดหัสดาวาสน่าจะสร้างมาก่อนสมัยพระมหาจักรพรรดิ
ภายในวัดมีเจดีย์แปดเหลี่ยมเป็นประธาน วิหารตั้งอยู่ด้านหน้าและมีกำแพงแก้วล้อมรอบเจดีย์ทรงกลมบนฐานสี่เหลี่ยมทรงสูงมาบังหน้าวิหารเจดีย์องค์นี้
มีประติมากรรมรูปช้างและเสาตามประทีปล้อมรอบการทำเจดีย์ช้างล้อมแสดงให้เห็น
ถึงอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยมีการสร้างเจดีย์รายเพิ่มเติมขึ้นอีกในเวลาต่อมา
๕๙
วัดสุดท้ายที่ขอกล่าวถึงคือวัดโคกพระยา
(วัดคลองสระบัว)สร้างขึ้นพร้อมการก่อสร้างพระนคร ใกล้กับวัดหน้าพระเมรุราชิการาม ประกอบด้วย
เจดีย์ประธาน เจดีย์ราย เจดีย์ทรงปรางค์ วิหาร เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง
คล้ายสุสานหลวงแต่เป็นที่ฝังพระศพของราชวงศ์กลุ่มอำนาจเดิม
ทุกยุคทุกสมัยของอาณาจักรอโยธยา เมื่อมีการปราบดาภิเษก รัฐประหารเกิดขึ้นมัก
ใช้เป็นสถานที่สำเร็จโทษพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร
สำเร็จโทษพระยาทองลัน ครั้งต่อมา ขุนวรวงศาเจ้าแผ่นดิน
คิดการกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิต กาลต่อมาพ.ศ.๒๑๔๕
พระพิมลเข้าพระราชวังได้ก็ให้จับกุมเอาพระศรีเสาวภาคสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์(พ.ศ.๒๒๖๒) พระศรีสุธรรมราชากับพระนารายณ์ราชนัดดา กุมเอาเจ้าฟ้าไชยไปสำเร็จโทษแผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่
๗ (พระศรีสุธรรมราชา)ถูกรัฐประหารโดยเสนาบดีถูกกุมตัวไปสำเร็จโทษและจับพระเจ้ามิ่งขวัญสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ในพระตำหนักหนองหวาย
แล้วให้เอาพระศพออกไปฝังเสีย ณ วัดโคกพระยา แผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่
๙ (พระเจ้าท้ายสระ)สำเร็จโทษพระองค์ดำ
แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราช (กรมขุนพรพินิต)สำเร็จโทษเจ้าสามกรม
เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วให้นำเอาศพทั้งสามไปฝัง ณ วัดโคกพระยา ตามโบราณราชประเพณี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น