ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สามหาราช ตอนที่ ๗

    

                                    

                                                                                                        ๖๐
                                                                       ตอนที่ ๗ ขุนหลวงอโยธยา
                        อโยธยานั้นเป็นเมืองที่มีพระมหากษัตริย์ปกครองมานานในยุคเดียวกับสุโขทัย ลพบุรี สุพรรณบุรี หริภุญชัย เชียงใหม่ ลำปาง ตองอู แต่มีผู้คนเพิ่มมากขึ้นมีกองกำลังทหารเพิ่มมากขึ้นยุคสร้างราชอาณาจักรกรุงเทพทราวดีขึ้นใหม่จากเมืองอโยธยา สมัยกษัตริย์ท้าวอู่ทองหรือพระรามาธิบดี ลำดับพระองค์เป็นราชวงศ์อู่ทองจะเห็นได้ว่าอโยธยาไม่มีราชวงศ์อโยธยาที่กำเนิดจากอโยธยาโดยตรงเหมือนล้านนาและสุโขทัยคงเป็นกลุ่มเมืองเดียวกับสุพรรณ อู่ทอง และละโว้แสดงให้เห็นว่าทั้งสุพรรณ อู่ทอง และลพบุรีนั้นมีความเข้มแข็งว่าอโยธยาสามารถนำกำลังเข้าครอบครองเมืองท่าอโยธยา อู่ทอง กับ สุพรรณภูมินั้นด้วยมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติกับราชวงศ์สุพรรณภูมิ กษัตริย์สุพรรณ ครั้นราชวงศ์อู่ทองมีความอ่อนแอราชวงศ์สุพรรณภมิก็เข้ายึดอำนาจปกครองอโยธยาเมื่อราชวงศ์สุพรรณภูมิอ่อนแอราชวงศ์อู่ทองก็ยึดอำนาจคืน เมื่อราชวงศ์สุพรรณ และอู่ทองอ่อนแอลง เชื้อพระวงศ์ของสุโขทัย(พระมหาธรรมราชา-ขุนพิเรนเทพ)ยึดอำนาจอโยธยาได้ก็สถาปนาเรียกว่าราชวงศ์สุโขทัย การขึ้นเป็นกษัตริย์อโยธยาไม่ใช่มีแต่ การสืบเชื้อสายจากเจ้าของทั้ง ๓ ราชวงศ์อู่ทอง(เชียงแสน) สุพรรณภูมิ และสุโขทัยเท่านั้น ยังมีสามัญชนที่กุมอำนาจทหารทำการรัฐประหารปราบดาภิเศกตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่คือราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวงรวมกษัตริย์เป็น ๕ราชวงศ์ มีกษัตริย์ ๓๓ พระองค์ คือ   ราชวงศ์อู่ทอง(เชียงแสน) ๓ พระองค์  ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ๑๓ พระองค์  ราชวงศ์สุโขทัย ๗ พระองค์  ราชวงศ์ปราสาททอง ๔ พระองค์  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง ๖ พระองค์  

พระนามของพระมหากษัตริย์ สมัยกรุงศรีอโยธยาได้รับคติเรื่อง"นารายณ์อวตาร" มาจาก อินเดียและกัมพูชา พระนาม"รามาธิบดี"(พระราม) มาจากคัมภีร์รามายณะของอินเดียซึ่งพระรามเป็นราชาครองเมืองอโยธยาและการมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำอาณาจักร ขอมรับอิทธิพลต่อจากอินเดียและทั้งสุโขทัย และอโยธยาล้วนรับอิทธิพลต่อจากขอม ไม่ใช่อยู่ๆก็คิดขึ้นมาได้เอง ราชวงศ์อู่ทองมีที่มั่นเดิมอยู่ในละโว้อันเป็นศูนย์อำนาจเก่าที่ใกล้ชิดกับพระนคร(เขมร)ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็น  เทวราชา  พระนามของกษัตริย์อโยธยาสายนี้ จึงเกี่ยวข้องกับนารายณ์ทั้งสิ้น รามาธิบดี ราเมศวร รามราชา  ส่วนราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีที่มั่นสุพรรณบุรี ใกล้ชิดกับความเชื่อทางพม่าที่นับถือว่ากษัตริย์นั้นเปรียบได้ดั่งหัวหน้าเทวดาหรือพระอินทร์ ถือเอาคติ"สมมติเทพ"พระนามก็มาแนว อินทราชา บรมราชาธิราช  

ในส่วนของราชวงศ์กรุงสุโขทัย เมื่อถูกท้าทายจากราชวงศ์แห่งกรุงศรีอโยธยา จึงจำเป็นต้องสถาปนาราชวงศ์ ขึ้นเป็นราชาเหนือราชาบ้าง โดยเมื่อราชสำนักรับพุทธศาสนาเป็นศาสนประจำราชอาณาจักรจึงสืบทอดแนวคิดพุทธเถรวาท พระมหากษัตริย์เป็น “มหาธรรมราชา” หรือเทียบเสมือนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นพระนามของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์จึงใช้พระนามเดียวกันว่าพระมหาธรรมราชา ซึ่งหมายถึงพระองค์ปัจจุบัน
                                                                                           ๖๑
ยกเว้นพระบรมไตรโลกนารถ หมายถึงเป็นใหญ่ทั้งสามโลก หากพระนามของพระองค์เก่าที่สวรรคตแล้วมักเรียกพระนามเดิมหรือฉายาอื่นที่ประชาชนขนานพระนาม
แต่เมื่อนักประวัติศาสตร์อ่านพงศาวดารต่างๆกล่าวถึงชื่อกษัตริย์เป็นชื่อเดียวกันแต่ต่างปีกันมากจึงใส่หมายเลขเพื่อให้จดจำได้ว่าเป็นกษัตริย์พระองค์ใด
 พระนามพระเจ้าแผ่นดินทั้งไทยทั้งอังวะมอญตามที่เรียกกันแต่ก่อนมา ลัทธิของชาวเมืองทางนี้มีวิธีเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินถึงห้าอย่างต่างกัน คือ
๑.   พระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏเมื่อจะทำการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ขึ้นผ่านพิภพ สมณพราหมณ์แลเสนาพฤฒามาตย์ที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองประชุมปรึกษากันถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น จารึกลงในแผ่นทองถวายเมื่อทำพิธีราชาภิเษก มักเป็นพระนามมีสร้อยยืดยาวมาก
๒.   พระนามพิเศษถวายเพิ่มพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอันเป็นพระเกียรติยศพิเศษ จึงถวายพระนามพิเศษเฉลิมพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นเช่นพระเจ้าช้างเผือก พระเจ้าทรงธรรม
๓.   พระนามที่เรียกกันในเวลาเมื่อเสด็จดำรงพระชนม์อยู่ราษฎรมักเรียกเหมือนกันทุกพระองค์เช่น ขุนหลวง พระเจ้า(พระเจ้าอยู่หัว)เช่นพระเจ้ากรุงศรีอโยธยา
๔.   พระนามตามที่ปากตลาดเรียกขาน   กล่าวถึงเมื่อล่วงรัชกาลไปแล้วเช่นขุนหลวงเพทราชา ขุนหลวงเสือ ขุนหลวงท้ายสระ ขุนหลวงทรงปลา เพราะเสด็จอยู่พระที่นั่งข้างท้ายสระ เป็นต้น ตลอดจนขุนหลวงบรมโกศ เป็นพระนามที่มักเรียกพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่พึ่งสวรรคตล่วงไปแล้วทุกพระองค์อย่างเราเรียกกันว่า ในพระโกศ นี้เอง สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หลังในกรุงศรีอยุธยาที่ได้ทรงพระโกศ) คนคงเรียกกันว่า พระเจ้าอยู่ในพระบรมโกศ หรือในพระโกศ) ขุนหลวงหาวัด ส่วนพระที่นั่งสุริยามรินทร์นั้น ครั้งกรุงเก่าคงเรียกกันเพียงว่า ขุนหลวง หรือพระเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่เสวยราชย์พระองค์หลังที่สุด มาเรียกพระนามอื่นตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีเรียกว่า ขุนหลวงพระที่นั่งสุริยามรินทร์ เพราะเสด็จอยู่ที่พระที่นั่งนั้น ครั้นถึงพระเจ้ากรุงธนบุรีเอง ต่อมาชั้นหลังเรียกกันว่า ขุนหลวงตาก ด้วยเหตุได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองตากครั้งกรุงศรีอยุธยา ประเพณีเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินตามปากตลาดดังนี้มีตลอดจนเมืองพม่ารามัญ
๕.   พระนามที่เรียกในราชการในเวลาเมื่อล่วงรัชกาล ไปแล้วเกิดแต่ความจำเป็นที่จะต้องเรียกพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลก่อน ๆ ให้ปรากฏพระนามผิดกัน เพราะพระนามตามพระสุพรรณบัฏมักจะเหมือนกันโดยมากเช่นรามาธิบดี บรมราชา จึงต้องสมมตพระนามขึ้นสำหรับเรียกเฉพาะพระองค์ ใส่หมายเลขที่๑ที่๒ โดยมากนั้นเรียกตามพระนามเดิมที่ปรากฏแก่คนทั้งหลายเมื่อก่อนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ๆ ได้ผ่านพิภพ ยกตัวอย่างดังพระนามพระเจ้าแผ่นดินที่เรียกว่า พระราเมศวร พระมหินทร์ พระนเรศวร พระเอกาทศรถ พระรัษฎา พระยอดฟ้า

                                                                                   ๖๒
พระเชษฐา พระอาทิตยวงศ์ เจ้าทองจันทร์ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ เจ้าฟ้าไชย เหล่านี้เป็นพระนามแต่ครั้งยังเป็นลูกหลวงทั้งนั้นพระนามที่เรียกว่า พระบรมราชา พระรามราชา พระอินทราชา พระไชยราชา พระมหาธรรมราชา พระศรีสุธรรมราชา เหล่านี้บรรดาที่ใช้คำว่า ราชา ไว้ท้าย ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เป็นพระนามสำหรับเจ้าครองเมือง                                                
                                                          
รายพระนามพระมหากษัตริย์กรุงศรีอโยธยา                                                 
 สมเด็จพระรามาธิบดีบดินทรศรีสุรินทรบรมมหาจักรพรรดิศร บวรธรรมิกมหาราชาธิราช ชาติหริหรินทร อินทรเดโชชัย มไหสุริยสวรรยา เทพาดิเทพตรีภูวนาถ บรมบาทบพิตร (พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๑๒) ต้นราชวงศ์อู่ทอง  สมเด็จพระราเมศวร  (ถูกรัฐประหารโดยขุนงั่ว)
สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) (พ.ศ. ๑๙๑๓-๑๙๓๑)ต้นราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พ.ศ. ๑๙๓๑)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ                                                                                  
สมเด็จพระราเมศวร (พ.ศ. ๑๙๓๑-๑๙๓๘)ราชวงศ์อู่ทอง                                    
สมเด็จพระรามราชาธิราช (พ.ศ. ๑๙๓๘-๑๙๕๒)ราชวงศ์อู่ทอง สิ้นราชวงศ์อู่ทอง               
สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พ.ศ. ๑๙๕๒-๑๙๖๗)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ         
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) (พ.ศ. ๑๙๖๗-๑๙๙๑)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ                  
สมเด็จพระรามาธิบดีบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ            
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พ.ศ. ๒๐๓๑-๒๐๓๔)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ                  
สมเด็จมหาจักรพรรดิราชราเมศวรบรมนาถบรมบพิตร(พระรามาธิบดีที่๒) (พ.ศ.๒๐๓๔-๒๐๗๒)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ                                                                        
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (หน่อพุทธางกูร) (พ.ศ. ๒๐๗๒-๒๐๗๖)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระรัษฎาธิราช (พ.ศ. ๒๐๗๖-๒๐๗๗)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ                                    
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรบรมจักรพรรดิศรบวรธรรมิกมหาราชาธิราช(พระไชยราชาธิราช) (พ.ศ. ๒๐๗๗-๒๐๘๙)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ                                            
พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (พ.ศ. ๒๐๘๙-๒๐๙๑)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
ขุนวรวงศาธิราช (พ.ศ.๒๐๙๑)กับการพยายามฟื้นฟูราชวงศ์อู่ทองของท้าวศรีสุดาจันทร์ 
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ                        
สมเด็จพระมหินทราธิราช (พ.ศ. ๒๑๑๑-๒๑๑๒)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ สิ้นราชวงศ์           


                                                                                    ๖๓
สมเด็จพระสรรเพชญวงศ์กุรุสุริโยดมบรมมหาธรรมราชาธิราชราเมศร (พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๓๓)ต้นราชวงศ์สุโขทัย 
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘)ราชวงศ์สุโขทัย                            
สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร (พ.ศ.๒๑๔๘-๒๑๕๓)ราชวงศ์สุโขทัย                                    
พระศรีเสาวภาคย์ (พ.ศ. ๒๑๕๓-๒๑๕๔)ราชวงศ์สุโขทัย                                       
สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร(พระเจ้าทรงธรรม) (พ.ศ.๒๑๕๔-๒๑๗๑)ราชวงศ์สุโขทัย                                                                                      
สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๑๗๑-๒๑๗๒)ราชวงศ์สุโขทัย                                  
พระอาทิตยวงศ์ (พ.ศ. ๒๑๗๒)ราชวงศ์สุโขทัย สิ้นราชวงศ์ 

หลังจากสิ้น พระอาทิตยวงศ์ ขุนนางผู้มีอำนาจพร้อมด้วย กำลังบ่าวไพร่ในสังกัด ซึ่งยุวกษัตริย์ มีความจำเป็นต้องใช้ขุนนาง สำเร็จราชการบริหารกิจการเมือง ซึ่งมีอำนาจเสมือนพระมหากษัตริย์ ดังนั้น ขุนนางผู้ใหญ่จึงมีความคิด ที่จะตั้งตนเป็นต้นราชวงศ์ใหม่ โดยเจ้าพระยากลาโหมศรีสุริยวงศ์ ปราบดาภิเษกครองราชย์ในปี พ.ศ.๒๑๗๒

สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร( พระเจ้าปราสาททอง)  (พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๑๙๙) ต้นราชวงศ์ปราสาททอง                                                                           
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พ.ศ. ๒๑๙๙)ราชวงศ์ปราสาททอง                                          
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พ.ศ. ๒๑๙๙)ราชวงศ์ปราสาททอง                                
สมเด็จพระบรมราชาธิราชธิบดีศรีสรรเพชญ บรมมหาจักรพรรดิศวรราชาธิราชราเมศวร ธรรมธราธิบดี (พระนารายณ์) (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑)ราชวงศ์ปราสาททอง  

เมื่อพระยากลาโหมศรีสุริยวงศ์ สามารถปราบดาภิเษกตั้งราชวงศ์ ซึ่งเป็นที่รับทราบกันทั่วกรุง ดังนั้นในแต่ละรัชกาลต่อมาพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์จึงมีความหวาดระแวงขุนนางผู้ใหญ่ทั้งสองคนในแผ่นดินคือเจ้าพระยากลาโหม และสมุหนายกจึงมีการออกกฏหมายแบ่งแยกอำนาจเพื่อจำกัดกำลังและอำนาจของขุนนางถึงกระนั้น พระยากลาโหมทองคำก็สามารถที่ทำการปราบดาภิเษกขึ้นได้อีกครั้ง ในปีพ.ศ.๒๒๓๑          
                 

                                                                                      ๖๔
สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดมบรมจักรพรรดิ(พระเพทราชา) (พ.ศ.๒๒๓๑-๒๒๔๖) ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง(ถิ่นกำเนิดบ้านพลูหลวงเมืองสุพรรณ)
สมเด็จพระสรรเพชญ์ (พระเจ้าเสือ) (พ.ศ. ๒๒๔๖-๒๒๕๑)ราชวงศ์บ้านพลูหลวง          
สมเด็จพระสรรเพชญ์ (พระเจ้าท้ายสระ) (พ.ศ. ๒๒๕๑-๒๒๗๕)ราชวงศ์บ้านพลูหลวง    
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุธรรมราชบรมจักรพรรดิศวรบรมบพิตร(พระเจ้าบรมโกษ) (พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑)
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) (พ.ศ. ๒๓๐๑)ราชวงศ์บ้านพลูหลวง                
สมเด็จพระบรมราชามหาอดิศรบวรสุจริตทศพิธธรรมธเรศรโลกเชษฐนายกอุดมบรมนาถบพิตร (พระเจ้าเอกทัศ) (พ.ศ. ๒๓๐๑-๒๓๑๐)ราชวงศ์บ้านพลูหลวง สิ้นราชวงศ์  ความเป็นอาณาจักรถูกกษัตริย์อังวะทำลาย                                                                                                  
พระมหากษัตริย์นั้นเป็นศูนย์อำนาจของอาณาจักรการสืบต่อราชบัลลังค์เป็นการสืบต่อจากเชื้อสายของพระมหากษัตริย์ แบ่งแยกหน้าที่ระหว่างราษฏร ขุนนาง ราชวงศ์ ดังนั้นการปกครองและอำนาจทางทหารจึงมีความเข้มแข็งแต่หลังจากสิ้นราชวงศ์สุโขทัยขุนนางที่ไม่มีเชื้อพระวงศ์สามารถกุมอำนาจการทหารแล้วยึดอำนาจการปกครองของราชวงศ์และสถาปนาราชวงศ์ขึ้นเองคือราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง  ทำให้เหล่าขุนนางที่มีไพร่พลมาก และมีทรัพย์สินมากคิดเสมอว่า สามารถตั้งตนเป็นกษัตริย์ได้ไม่จำเป็นต้องสืบต่อจากราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์ทำให้พระยากลาโหมเป็นที่หวาดระแวงว่าจะรัฐประหารตลอดเวลา ดังนั้นเกือบทุกรัชกาลมักมีการชิงอำนาจเพื่อปราบดาเป็นพระมหากษัตริย์ และการตั้งไพร่เชื้อสายขุนนางที่รัฐประหารขึ้นเป็นขุนนางทำให้ไม่สามารถเข้ากับขุนนางเก่าได้และการรัฐประหารยัง เป็นเหตุให้ต้องกำจัดทั้งสมาชิกราชวงศ์ ขุนนางฝ่ายตรงข้ามทำให้บ้านเมืองอ่อนแอขาดคนดีมีฝีมือ ขุนนางเลือกข้าง เป็นสาเหตุหลักทำให้เสียเอกราชกับอังวะในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ  แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น