ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สามมหาราช ตอนที่ ๘



                                      

                                                                                           ๖๕
                                                          ตอนที่ ๘ การปกครองอาณาจักร                                                                

                           การปกครอง อโยธยาก่อนสร้างกรุงเทพ ทราวดีศรีอยุธยา เริ่มต้น เป็นรูปแบบเดียวกับขอม ซึ่งก็เหมือนกับในอีกหลายเมืองเช่นละโว้ สุพรรณ และสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดี ได้เริ่มรวบรวมปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่เดินนั้นซึ่งเรียกว่า ธรรมศาสตร์ จดบันทึกเป็นภาษาฮินดูและนำธรรมเนียมขอม-ฮินดูที่มีมาแต่ครั้งเก่าเป็นระบบชั้นวรรณะ แม่กรุงศรีอยุธยารับพุทธสาสนาก็ยังยึดถือจารีตเดิม และ ธรรมศาสตร์นี้ยังคงใช้เรื่อยมาเป็นพื้นฐานกฎหมายกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีการนำระบบขุนนางที่มีลำดับชั้นบังคับบัญชา แบ่งงานแบ่งกรม มีชั้น ยศและบรรดาศักดิ์ และศักดินามาใช้ และมีการจัดระเบียบสังคมในแบบที่สอดคล้องกัน แต่ไม่นำระบบวรรณะในศาสนาฮินดูมาใช้แต่กระชับชนชั้นให้แคบขึ้น  มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ และเป็นหัวหน้ารัฐบาลปกครองโดยตรงในราชธานี ทรงใช้อำนาจผ่านขุนนางเพื่อปฏิบัติงานโดยมีพวกไพร่ขับเคลื่อนสังคมการผลิต ระบบการปกครองภายในราชธานีแบ่งงานเป็นสี่พันธกิจ ตามกิจที่มีในราชอาณาจักร อันได้แก่   กรมเวียง ทำงานด้านการปกครองประชาราชการยุติธรรม และความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร คล้ายกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหมและศาลสถิตย์ยุติธรรม    กรมวังคล้ายสำนักพระราชวัง และส่งต่ออำนาจพระมหากษัตริย์ไปยังกรมอื่นๆและมีหน้าที่ ดูแลกิจการของพระมหากษัตริย์พระบรมวงศานุวงศ์ การสืบราชบรรลังค์ พิธีกรรมหลวงต่างๆการบรรจุขุนนางเข้ารับราชการการเลื่อนบรรดาศักดิ์ต่างๆรวมทั้งการศาสนา) กรมคลัง มีหน้าที่ หารายได้เข้าท้องพระคลัง  การค้าขาย การเก็บอากร ส่วยจากการถือศักดินา เข้าท้องพระคลัง  และกรมนาดูแลด้านการเกษตรกรรมของพระมหากษัตริย์โดยการทำนาเป็นหลัก การส่งส่วยสาอากรเข้ากรมคลัง   การเตรียมเสบียงเพื่อการรบ
การปกครองนอกพระนครบาล มีรูปแบบ คล้ายกับกรมการปกครอง กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน  ความมั่นคงของเมืองหลวงจะคิดยุทธศาสตร์การการป้องกัน
ราชธานี ด้วยพระนครเป็นทั้งเมืองท่าเป็นทั้งศูนย์กลางอำนาจปกครอง โดยมียุทธวิธีคล้ายการวางกำลังตั้งรับของกองทัพในปัจจุบันทีมีพื้นที่ ที่มั่นได้แก่เมืองหลวงมีพระมหากษัตริย์เป็นแม่ทัพใหญ่ พื้นที่ระวังป้องกันได้แก่เมืองหน้าด่าน เมืองประเทศราชมีเจ้าเมือง ขุนนาง หรือเชื้อพระวงศ์เป็นแม่ทัพเป็นเจ้าเมือง  ประกอบด้วย เมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช โดยมีรูปแบบกระจายอำนาจออกจาก
ศูนย์กลางค่อนข้างมาก เมืองหน้าด่านเหมือนขอบเขตเมืองชั้นนอกต่อเมืองของอีกอาณาจักรหนึ่ง ได้แก่ ลพบุรีต่อแดนสุโขทัย นครนายกต่อแดนกัมพุชประเทศ บางปลากด และนครชัยศรีต่อแดนสุพรรณซึ่งต่อมาสุพรรณซึ่งเป็นพันธมิตรกันและรวมอยู่ในอาณาจักรเมืองด้านนี้ต่อแดนมอญและนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้งสี่ทิศ ระยะเดินทางจากราชธานีสองวัน พระมหากษัตริย์ทรงส่งเชื้อพระวงศ์ที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง แต่
                                                                                     ๖๖
รูปแบบนี้นำมาซึ่งปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง  เพราะเจ้าเมืองมีอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดในการปกครองการเกณฑ์ไพร่พล  การฝึกฝนอาวุธ ยามเมื่อเมืองหลวงพระมหากษัตริย์อ่อนแอเจ้าเมืองจะนำกำลังเข้ารัฐประหาร หรือแยกตัวเป็นอิสระ  เมืองชั้นในทรงปกครองโดยผู้รั้ง ถัดออกไปเป็นเมืองพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก ปกครองโดยเจ้าเมืองที่สืบเชื้อสายมาแต่เดิม มีหน้าที่จ่ายภาษีและเกณฑ์ผู้คนในราชการสงคราม และสุดท้ายคือเมืองประเทศราช   พระมหากษัตริย์ปล่อยให้ปกครองกันเอง เพียงแต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้ราชธานีทุกปี  ต่อมา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงยกเลิกระบบเมืองหน้าด่านเพื่อขจัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ และขยายอำนาจของราชธานีโดยการกลืนเมืองรอบข้างเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชธานี สำหรับระบบสี่พันธกิจ ทรงแยกกรมเวียงโดย กิจการพลเรือนออกจาก กิจการทหารอย่างชัดเจน โดยกิจการพลเรือน ให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสมุหนายกและกิจการทหาร สมุหกลาโหมรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนชื่อกรมและชื่อตำแหน่งเสนาบดี แต่ยังคงไว้ซึ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเดิมส่วนการปกครองส่วนภูมิภาคมีลักษณะเปลี่ยนไปในทางการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์ กลางให้มากที่สุด โดยให้เมืองชั้นนอกเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานี มีระบบการปกครองที่ลอกมาจากราชธานี มีการลำดับความสำคัญของหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก โท ตรี สำหรับหัวเมืองประเทศราชนั้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมากนักหากแต่พระมหากษัตริย์จะมีวิธีการควบคุมความจงรักภักดีต่อราชธานีหลายวิธี เช่น การเรียกเจ้าเมืองประเทศราชมาปรึกษาราชการ หรือมาร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือถวายพระเพลิงพระบรมศพในราชธานี การอภิเษกสมรสโดยการให้ส่งราชธิดามาเป็นสนม เช่น พระมหาจักรพรรดิส่งพระธิดาให้อภิเษกกับพระมหาธรรมราชา ส่งพระธิดาให้อภิเษกกับพระเจ้าล้านช้าง  พระมหาธรรมราชาส่งเจ้าฟ้าหญิงสุพรรณกัลยาให้อภิเษกกับพระเจ้าบุเรงนองเป็นต้น เหตุนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่พลเมืองมีการผสมเผ่าพันธ์กันไปมา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงจัดการรวมการปกครองประเทศอยู่ใต้ราชสำนักที่กรุงศรีอโยธยาโดยตรง เพื่อป้องกันมิให้ซ้ำรอยเจ้าฟ้าเมืองพิษณุโลกพระราชบิดา ที่มีปัญหาการปกครองกับศูนย์กลางอโยธยา พระองค์ทรงยุติการให้เจ้านายไปปกครองหัวเมืองของราชอาณาจักร แต่ใช้วิธีแต่งตั้งข้าราชสำนักที่คาดว่าจะดำเนินนโยบายตามทีพระมหากษัตริย์   มีบัญชา ไปเป็นเจ้าเมือง เมืองที่อยู่ใกล้เคียงกับเมืองประเทศราชเพื่อคอยส่งข่าว ซึ่งเมืองที่มีหน้าที่ดังกล่าว เช่น พิษณุโลกและเพชรบุรี ต่อมาเมื่อได้เมืองนครศรีธรรมราชเป็นประเทศราชและรวมเข้ากับอโยธยาแล้วเมืองหน้าด่านก็ขยับจากเมืองเพชรบุรีเป็นนครศรีธรรมราชและเมืองหน้าด่านแดนมลายู ฉะนั้น เจ้านายทั้งหลายจึงถูกจำกัดอยู่ในพระนคร แต่การช่วงชิงอำนาจยังคงมีต่อไป แต่อยู่ใต้สายพระเนตรที่คอยระวังของพระมหากษัตริย์เพื่อประกันการควบคุมของพระองค์เหนือชนชั้นเจ้าเมืองที่ทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระนเรศวรราชามีกฤษฎีกาให้ไพร่พลเมืองทุกคนที่อยู่ในระบบไพร่มาสังกัดเป็นไพร่ หลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง ซึ่งพระองค์จะเป็นผู้แจกจ่ายการใช้งานแก่ขุนนางของพระองค์ วิธีการนี้ทำให้พระมหากษัตริย์ผูกขาดแรงงานและที่ดินทั้งหมดในทางทฤษฎี
                                                                                       ๖๗
เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของกำลังของทุกคนพระองค์ก็ทรงครอบครองที่ดินทั้งอาณาจักร ตำแหน่งขุนนางในเมืองหลวงและเจ้าเมือง และศักดินาที่ดินที่อยู่กับพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งโดยปกติเป็นตำแหน่งที่ตกทอดถึงทายาทในไม่กี่ตระกูลที่มักมีความสัมพันธ์กับ พระมหากษัตริย์โดยการถวายบุตรให้แต่งงานกับเจ้านายและพระมหากษัตริย์ อันที่จริง พระมหากษัตริย์อยุธยาใช้การแต่งงานบ่อยครั้งเพื่อเชื่อมพันธมิตรระหว่างพระองค์ กับตระกูลที่ทรงอำนาจ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อมาถึงผลของนโยบายนี้ทำให้พระมเหสีในพระมหากษัตริย์มักมีหลายสิบพระองค์หากแม้จะมีการปฏิรูปโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ตาม ประสิทธิภาพของรัฐบาลอีก ๑๕๐ ปีถัดมาก็ยังไม่มั่นคง พระราชอำนาจครองที่ดินของพระมหากษัตริย์ แม้จะเด็ดขาดในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติถูกจำกัดโดยความหละหลวมของการปกครองพลเรือน อิทธิพลของรัฐบาลกลางและพระมหากษัตริย์มักอยู่ไม่เกินพระนคร เมื่อเกิดสงครามกับอังวะหัวเมืองต่าง ๆ ก็ละทิ้งพระนครอย่างง่ายดาย เนื่องจากกำลังไพร่ที่บังคับใช้    พระมหากษัตริย์ไม่สามารถเกณฑ์มาป้องกันพระนครได้โดยง่าย กรุงศรีอยุธยาจึงไม่อาจต้านทานอังวะได้เช่น การเข้าทำลายศูนย์กลางเมืองท่ากรุงศรีอโยธยา  ของทัพอังวะ เมื่อพระนครถูกล้อม และข้าศึกเข้าตี หัวเมืองห่างไกลด้านอิสาน และตะวันออกไม่ส่งทหารไปช่วยเหลือหวังเป็นอิสระจากอยุธยา แล้วปกครองเป็นอาณาจักรเสียเอง กระทั่งจวนเจียนเสียกรุงจำเป็นต้องระดมกำลังให้มากที่สุด  จึงต้องมีบัญชาให้พระยาตาก แบ่งกำลังจากทัพป้องกันพระนคร นำกำลังไปเกณฑ์บังคับหัวเมืองตะวันออกมาเข้าทัพ  เป็นกองหนุนเข้าตีขนาบ และ ตัดเส้นทางส่งกำลังทัพอังวะ แต่แผนการนี้คิดได้ล่าช้า หลังพระยาตากพากำลังออกจากพระนครรวบรวมผู้คนถึง เมืองระยอง อังวะก็สามารถมีชัยชนะเหนือกรุงสรีอยุธยา   การช่วงชิงอำนาจกันนั้น ถึงแม้เชื้อพระวงศ์จะไม่ชิงอำนาจพระมหากษัตริย์ แต่ สมุหกลาโหมขุนนางระดับสูงที่คุมไพร่มากมาย และร่วมมือกับบรรดาขุนนางอื่นก็ยังสามารถทำการรัฐประหารพระมหากษัตริย์ได้เช่นกัน  ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชาซึ่งพระองค์เป็นขุนนางที่รัฐประหารพระนารายณ์ จึงทรงทราบกลยุทธการรัฐประหารดีจึง ทรงกระจายอำนาจทางทหารซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับสมุหกลาโหมแต่ผู้เดียวออกเป็นสามส่วน(คล้ายกองทัพภาคในปัจจุบัน) โดยให้สมุหกลาโหมควบคุมกิจการทหารในราชธานี กรุงศรีอโยธยาพร้อมกับ กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางใต้ ส่วนสมุหนายกควบคุมกิจการพลเรือนในราชธานีกรุงศรีอโยธยาพร้อมกับกิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางเหนือ และให้พระโกษาธิบดี  ให้ดูแลกิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองตะวันออก ซึ่งสาเหตุมาจากสมุหกลาโหมมีอำนาจมากในการควบคุมกองทัพนั่นเอง   อีกทั้งยังใกล้ชิด กับขุน หมื่นและไพร่พลมากกว่าพระมหากษัตริย์  เป็นเหตุให้หลายสมัยสมุหกลาโหมทำการรัฐประหารและปราบดาภิเศกเป็น พระมหากษัตริย์ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ยังได้จัดกำลังป้องกันราชธานีออกเป็นสามวัง ได้แก่ วังหลวง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางเหนือ วังหน้า มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันออก และวังหลัง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันตก โดยตั้งตำแหน่งขุนนางและราชวงศ์ควบคุม เป็น
                                                                                        ๖๘
การริดรอนอำนาจสมุหกลาโหมอีกทาง นอกจากนี้ สมัยพระเจ้าบรมโกษ ทรงลดอำนาจของสมุหกลาโหมเหลือเพียงที่ปรึกษาราชการส่วนการทหารและไพร่หลวงในราชธานีพระองค์ควบคุมเอง และให้หัวเมืองทางใต้ไปขึ้นกับพระโกษาธิบดี
ความไม่ไว้ใจสมุหกลาโหมแต่ก็มีความจำเป็นต้องให้ออกญากลาโหมนี้คุมไพร่พลสู้รบ       เพราะเป็นไปไม่ได้ที่พระมหากษัตริย์จะควบคุมกองทัพทั้งราชอาณาจักรแต่เพียงผู้เดียวตลอดเวลาเพราะพระองค์ย่อมต้องมีงานบริหารราชการบ้านเมืองอีกมากมายทั้ง  การคลังการทูต  ซึ่งต้องทำให้ อาณาจักรมีความมั่นคงและต้องอำนวยความยุติธรรมทางการค้าให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขาย                                                                                        ข้อเปรียบเทียบผู้บริหารกระทรวง กรม ต่างๆยุคปัจจุบัน กับยุคสมัยอาณาจักรอโยธยาก็ยังคงคล้ายคลึงกันสิ่งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงได้แก่การกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของขุนนางในอดีต กับข้าราชการในปัจจุบันได้แก่ปัจจุบันใช้การศึกษาตามระบบ แต่ในอดีตใช้ตระกูลบ่มเพาะความรู้ และไพร่ที่มีความสามารถสามารถใช้ฝีมือเฉพาะหน้าที่ให้ประจักษ์ต่อขุนนางและเจ้านายเข้ารับราชการ
ยุคปัจจุบัน   อายุ ๒๓ เริ่มเข้าทำงานกระทรวง ประจำกรมต่างๆ   ๑๐ ปีจึง ได้เป็นหัวหน้าแผนกอายุ ๓๓ เป็นหัวหน้าแผนก อายุ ๔๐ได้เป็นรองหัวหน้ากอง อายุ ๔๗ขึ้นไป ได้เป็นหัวหน้ากอง อายุ ๕๐ขึ้นไปถึงจะได้เป็นผู้อำนวยการกอง รองอธิบดี หรือฝีมือดีมากได้เป็นอธิบดีก็น่าจะมี แต่น้อยคนนัก อายุอย่างน้อย ๕๕ ถึงได้เป็นปลัดกระทรวง ทบวง กรมต่างๆก็คล้ายกับยุคสมัยก่อน ตั้งกรมตั้งกระทรวง ตามความต้องการที่ต้องปกครองพลเมือง ควบคุม บริหารจัดการด้านต่างๆเป็นตัวกำหนด ปัจจุบันใช้ความต้องการทั้งภาคราชการ ทั้งภาคประชาชนเป็นตัวกำหนดว่าจะตั้งกระทรวงใดทำหน้าที่อะไรสมัยก่อนใช้ราชสำนักเป็นผู้แต่งตั้ง
ด้านการบริหารฝ่ายพลเรือน เริ่มที่การศึกษาในระดับ เตรียมอุดม มัธยมศึกษา และอาชีวะศึกษา การผลิตคนก็เพื่อ ควบคุมผลผลิต  ทำงานธุระต่างๆ  แรงงานต่างๆ แบ่งชั้นเอาไว้เป็นชั้นเป็นระดับ  ตั้งแต่ระดับหนึ่ง ถึง ระดับหก เช่นเดียวกับขุนนางชั้นประทวนในยุคสมัยโบราณ
การศึกษาระดับอุดมศึกษาได้แก่การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาต่างๆตามสาขาอาชีพที่จัดเป็นงานในกระทรวงต่างๆเช่นสาขารัฐศาสตร์เพื่อทำงานการปกครองของกระทรวงมหาดไทย สาขาเกษตรและชลประทาน ในกระทรวงเกษตร เป็นต้น เริ่มเข้ารับราชการในระดับสามถึงระดับ สิบเอ็ด ในสมัยโบราณได้แก่ขุนนางชั้นสัญญาบัตรตั้งแต่ระดับ
ขุน จนถึง พระยาและเจ้าพระยา เนื่องจากจำนวนคนในอาณาจักรมีน้อย การรับราชการจะต้องทำราชการจนกระทั่งป่วย กระทั่งตาย โดยเมื่อเริ่มวัยชราขุนนางจะต้องมีหน้าที่ฝึกฝนบุตรชายเพื่อทำราชการแทน แล้วเสนอไปยังราชสำนักให้โปรดเกล้าแต่งตั้ง การแต่งตั้งไม่จำเป็นต้องเรียงบรรดาศักดิ์ ขึ้นอยู่กับความสามารถ

                                                                                     ๖๙
เฉพาะตัวที่แสดงออกเป็นที่ประจักษ์แก่ราชสำนัก โดยพระมหากษัตริย์เป็นผู้วินิจฉัยเอง หรือทรงปรึกษาพระบรมวงษานุวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่
การรับราชการทหาร ทำงานด้านป้องกันประเทศเป็นหลักเช่นเดียวกับยุคเก่าก่อน ปัจจุบันมีโรงเรียนแยกระบบชั้นยศชัดเจน ชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตร การเกณฑ์พลทหาร ชั้นยศข้าราชการทหารใช้หลักจำนวนนับกำหนด คือ ชั้นนายสิบ ชั้นนายร้อย ชั้นนายพัน ชั้นนายพล    โรงเรียนนายทหารชั้นประทวนของเหล่าทัพเริ่มเข้าศึกษาตั้งแต่ อายุ ๑๗- ๒๐ ปี เรียน ๑-๓ ปี ได้ยศและตำแหน่งงานเป็นนายสิบ ผู้บังคับหมู่ มีความสามารถมากๆก็สามารถไต่เต้าขึ้นเป็นหัวหน้ากองได้ช่วงรับราชการก็มีการเพิ่มพูนความรู้แขนงต่างๆให้เพราะชั้นประทวนเป็นกำลังหลักที่ควบคุมพลทหารให้ทำการรบตามหมวดหมู่ พวกยิง เพื่อจัดกำลังตามรูปขบวนรบหลักในการรบ หรือตั้งรับข้าศึก การก่อสร้างกำแพงคูรบสนามเพาะต่างๆ ชั้นประทวนจะเป็นผู้ควบคุมแรงงานพลทหารในการทำงาน เช่นเดียวกับหมื่น พัน จ่าและหัวหมู่ในสมัยก่อนที่ควบคุมไพร่ที่เปลี่ยนสภาพเป็นทหารเมื่อมีศึก
โรงเรียนนาร้อยทำหน้าที่ผลิตนายทหารสัญญาบัตร ชายหนุ่มอายุ๑๗-๒๐ ปีสอบคัดเลือกผู้มีความรู้สามัญเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยก็เรียนอีก๖-๗ปี  อายุ๒๓-๒๔ เป็นผู้บังคับหมวด อายุ ๒๘  เป็นผู้บังคับกองร้อย อายุ๓๕เข้าเรียนเสนาธิการ ทำแผนด้านต่างๆของการรบ ที่โรงเรียนเสนาธิการวางแผนการรบระดับกองพัน กรม กองพล และกองทัพ แยกหน้าที่กันไปฝ่ายเสนาธิการวางแผนตามพันธกิจช่วยให้ฝ่ายบังคับบัญชาเป็นข้อมูลในการตกลงใจในการรบ ฝ่ายบังคับบัญชาหน่วย ก็สั่งการหน่วยรบ อายุ๓๘ก็เป็นผู้บังคับกองพันอายุ๔๘ผู้บังคับการกรม และเข้าเรียนการทัพ, อายุ๕๔เป็นผู้บัญชาการกองพล อายุ๕๗เป็นแม่ทัพเรียนการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ อายุ๖๐ พ้นหน้าที่ราชการ ส่วนพลทหารก็ออก
กฎหมายมาเกณฑ์ชายหนุ่มที่แข็งแรงอายุ๒๑เข้ากองทัพ ให้ประจำการเป็นพลทหารกำลังรบหลัก๒ปี แล้วปลดเป็นทหารกองหนุน ตาม กฎหมายรับราชการทหาร พร้อมกลับเข้ามากองทัพอีกครั้งเมื่อต้องการโดยนำตัวมาฝึกทบทวนและเข้าประจำการได้อีก บางหน่วยที่ทำงานในราชสำนักก็ใช้วิธีรับสมัครเข้าเป็นพลอาสา คล้ายกับการเป็นมหาดเล็กในสมัยโบราณเช่นเดียวกันจำนวนกำลังพลในปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบการจัดทัพกับในอดีต เช่นทัพอังวะที่ยกมาเข้าตีกรุงศรีอโยธยาครั้งแรก ๕๐๐,๐๐๐ นาย มีขนาดเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ประมาณ ๔๕ กองพล      
๑ หมู่ มี ๑๑ นาย (ต่างประเทศบางแห่งอาจจัด ๗ -๘ นาย)                                      
๓-๔ หมู่ (Section)        เป็น ๑ หมวด (๑ หมวด = ๔๔ นาย) (บางแห่งอาจจัด ๒-๔ หมู่)        
๓-๔ หมวด (Platoon)    เป็น ๑ กองร้อย = ๑๗๖ นาย                                             
๓-กองร้อย (Company)  เป็น ๑ กองพัน = ๗๐๔ นาย                                            
๓-๔กองพัน (Battalion)  เป็น ๑กรม = ๒,๑๘๖ นาย                                              
                                                                                          ๗๐
๓-๔ กรม (Regiment)    เป็น ๑ กองพล = ๑๑,๒๖๔ นาย)                                        
๒-๔กองพล (Division)    เป็น ๑ กองทัพภาค = ๔๕,๐๕๖ นาย                             
โดยทั่วไปกองพลทหารราบของไทยนั้นจะประกอบด้วย๓กรมทหารราบ (๖,๕๕๘ นาย)
๑ กรมทหารปืนใหญ่ (๒,๑๘๖ นาย)                                                                
กองพันทหารม้า (๗๐๔ นาย)                                                                        
กองร้อยลาดตระเวนระยะไกล (๑๗๖ นาย)                                                   
กองร้อยทหารม้าลาดตระเวน (๑๗๖ นาย)                                                          
การศึกษาสำคัญที่สุดสำหรับการเข้ารับราชการทั้งฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหารในยุคปัจจุบัน จะ
เริ่มต้นที่ การศึกษาภาคบังคับของพลเมือง ๙-๑๒ ปี ก่อนเป็นลำดับแรก แล้วจึงแยกเข้าเรียนสายงานพลเรือน และสายงานทหาร สำหรับการเรียนสายงานทหารมีทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฎิบัติ รวมทั้งการฝึกการรบจากสถานการณ์สมมุติ สายงานพลเรือนก็มีการฝึกหัดเช่นเดียวกัน แต่เป็นกิจการงานของฝ่ายพลเรือนต่างๆมากมาย ดังนั้นเมื่อเข้ารับราชการจึงเป็นการนำทฤษฏีไปปฎิบัติ ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเป็นคนเก่งหรือเป็นคนไม่เอาไหนก็คงเหมือนกับขุนนางสมัยก่อน ที่มีทั้งเก่งกาจปราญเปรื่อง กับขลาดเขลา
การจัดแบ่งหน้าที่ขุนนางในสมัยพระบรมไตยโลกนาถถือว่ามีการปฏิรูปเพื่อขจัดปัญหาเมืองลูกหลวงที่ซ่องสุมผู้คนจนท้าทายอำนาจพระมหากษัตริย์ พระองค์จึงออกกฎหมายจัดระเบียบโดยใช้ระบบศักดินา พระราชทานชื่อ ตำแหน่งให้ขุนนางเช่นพระยาจักรี พระยาโกษาธิบดีโดยการควบคุมทหาร ได้แก่ฝ่ายกลาโหม มีตำแหน่งสมุหกลาโหมเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดและควบคุมข้าราชสำนักฝ่ายพลเรือน มีตำแหน่งสมุหนายกเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด      พันธกิจที่ฝ่ายพลเรือนได้รับแบ่งเป็นงานอีกสี่อย่าง      ตั้งขุนเมืองเป็นพระนครบาล(ตำรวจ)ขุนวังเป็นพระธรรมาธิกร (ตุลาการ)ตั้งขุนนา เป็นพระเกษตรา ขุนคลังให้ถือเป็นโกษาบดีนอกจากนี้ยังมีการตรากฎหมายพระไอยการตำแหน่งนายพลเรือน และพระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง พ.ศ.๑๙๙๘ เป็นกฎหมายควบคุมกำลังคนอย่างมีระบบ และรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางกำหนดหน้าที่สิทธิในการควบคุมกำลังคน ตั้งแต่ระดับพระราชวงศ์ชั้นสูงจนถึงชั้นต่ำ คือทาส ทำให้ทุกคนมีศักดินาประจำตัวตามฐานะหน้าที่หรือตามยศชั้นของบุคคล กลุ่มคนในสังคมไทยแบ่ง ๒ ชนชั้น คือ ชนชั้นปกครอง ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนางซึ่งเรียกว่ามูลนาย ชนชั้นถูก
ปกครอง ได้แก่ ไพร่และทาส โดยมีพระสงฆ์เชื่อมระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมเข้าด้วยกัน ระบบศักดินานี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยต้นอยุธยาแล้วเพื่อควบคุมการผลิตของราชสำนัก มีการเข้าใจกันมาช้านานว่าการถือศักดินาเหมือนได้บำเหน็จที่ดินตามยศถาบรรดาศักดิ์ แท้จริงแล้วศักดินาเป็นเครื่องพิสูจน์ความสามารถด้านการผลิตของขุนนางนั้นในการควบคุมบ่าวไพร่ทำผลประโยชน์ในที่ดินและต้องจัดสรรอากรส่วนหนึ่งส่งคลังมีอัตรา
                                                                                          ๗๑
แน่นอนตามศักดินาเช่นศักดินาหมื่นไร่ ต้องส่งอากรข้าวไร่ละถังดังนั้นในหนึ่งฤดูกาลต้องส่งอากรหมื่นถัง ส่วนผลผลิตที่เหลือก็เป็นผลประโยชน์ของขุนนางนั้น เพราะรายได้ของขุนนางไม่มีรายเดือนมีแต่เงินรางวัลความดีความชอบและเงินรายปีที่จะใช้เลี้ยงดูครอบครัวและบ่าวไพร่ และจำนวนไร่ของศักดินายังเป็นการกำหนดโทษปรับในกรีทำความผิดอีกด้วย  ดังนั้นผู้ถือศักดินามากต้องมีความสามารถควบคุมบ่าวไพร่ให้ดีถ้าหย่อนความสามารถอาจต้องโทษลดตำแหน่งและ ริบศักดินา มีการระบุในทางกฎหมายและมีระเบียบที่แน่นอนในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว ระบบศักดินา มีวิธีคิดจากเรื่องของชาติกำเนิด ที่เชื่อว่า ชาติกำเนิดที่ดี น่าจะมีความสามารถที่สูงกว่า ทำให้สมควรที่จะมีหน้าที่ต่อบ้านเมือง และ นำมาสู่ตำแหน่งทางราชการ และต้องตอบแทนราชสำนักเพื่อนำอากร ส่วยสาไปพัฒนาอาณาจักร และกระบวนการเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดการแบ่งชนชั้นที่แบ่งแยกระหว่างผู้ปกครองกับไพร่สามัญชน
พระมหากษัตริย์   ทรงเป็นประมุขของอาณาจักร ในทางการเมืองทรงเป็นหัวหน้ารัฐบาลควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ในทางทหารทรงเป็นจอมทัพ โดยมีขุนนางฝ่ายกลาโหม และวังหน้าเป็นแม่ทัพ พระองค์ทรงอยู่ในฐานะเจ้าชีวิต มีพระราชอำนาจเหนือชีวิตทุกคนในสังคม ทรงปกครองโดยมีพวกเจ้านายและขุนนางเป็นผู้ช่วยทรงดำรงตำแหน่งเป็นจอมทัพ บังคับบัญชาทหารทั้งปวง พระองค์ทรงอยู่ในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเจ้าของปฐพีทั้งราชอาณาจักร ในทางสังคม พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำทางทางสังคมอยู่ในฐานะเป็นธรรมราชา ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาจึงมีบทบาทในการ สร้างเอกภาพของสังคม ในแง่ของสถาบันสังคม กรุงศรีอโยธยาได้รับเอาระบอบการปกครองและวัฒนธรรมของเขมรมาปรับปรุงให้เข้า กับของอโยธยา พระมหากษัตริย์จึงเปลี่ยนฐานะจากมนุษย์ขึ้นเป็นเทวราชา โดยมีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งอ้างถึงเทพเจ้าต่างๆในศาสนาพราหมณ์เพื่อ เสริมพระราชอำนาจทางการเมือง แต่ตามความเป็นจริงนั้นถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจมาก แต่ก็ถูกจัดอยู่ภายใต้ขอบเขตอย่างกว้าง ๆ ประกอบด้วยหลักธรรม ทรงอยู่ทศพิธราชธรรมและขอบเขตทางการเมืองเพราะสังคมอาณาจักรอโยธยาถือว่าการปราบดาภิเษกเป็นการก้าวสู่ราชบัลลังก์โดย ชอบธรรม
อุปราช เป็นเจ้านายรองลงมาจากพระมหากษัตริย์ มีศักดินา แสนไร่
เจ้านาย คือ พระญาติของพระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นที่ได้รับเกียรติยศและอภิสิทธิมาตั้งแต่กำเนิด มีศักดินาตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ไร่ ลงไปจนถึง ๔๐๐ไร่ ยศของเจ้านายแบ่งเป็นสกุลยศและอิสริยยศ สกุลยศเจ้านายแต่ละองค์จะได้รับมาตั้งแต่กำเนิดสมัยอาณาจักรอยุธยาตอนต้นคงเรียก เจ้านายว่า เจ้า ต่อมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้แบ่งสกุลยศเป็น ๓ ชั้น คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า และชั้นไม่นับว่าอยู่ในฐานะเจ้า 
อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานจากการรับราชการแผ่นดินช่วยเหลือพระมหากษัตริย์ อิสริยยศที่ได้รับพระราชทานตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจะขึ้นด้วยคำว่า พระ ตั้งแต่
                                                                                    ๗๒
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อมีการตั้งเจ้าทรงกรม อิสริยยศจึงเปลี่ยนเป็นกรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ อิสริยยศสูงสุดของเจ้านายคือ มหาอุปราช เมื่อมีการทรงกรมใช้ชื่อยศว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ขุนนาง เป็นกลุ่มคนในสังคมที่มีอำนาจ อภิสิทธิ์ และเกียรติยศ มีโอกาสเข้ารับราชการอยู่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นศูนย์อำนาจทางการ เมือง มีอำนาจและหน้าที่ในการปฏิบัติราชการ บังคับบัญชากรมกองต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายมีส่วนร่วมช่วยเหลือในการบริหารปกครองอาณาจักรให้มีเสถียรภาพ จึงเป็นผู้มีอำนาจทางสังคมสูง ได้รับการยกย่องและมีบริวารแวดล้อมมีฐานะทางเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลประโยชน์ จากการควบคุมไพร่สมและไพร่หลวงที่ได้รับพระราชทาน ในกรมกองที่ตนเป็นผู้บังคับบัญชา ในการเพิ่มพูนโภคทรัพย์ทางด้านการเกษตรและการค้า พวกขุนนางชั้นสูงจึงมีฐานะมั่งคั่ง สมัยกรุงศรีอโยธยาขุนนางมีฐานะตั้งอยู่บนเกณฑ์ ๔ประการ คือ  ศักดินา ยศหรือบรรดาศักดิ์   ตำแหน่ง   และราชทินนาม ศักดินา ขุนนางซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งด้วย พระองค์เอง  นั้นมีศักดินา ๔๐๐-๓๐,๐๐๐ ขุนนางผู้มีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐ ลงไปได้รับการแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นเจ้านายหรือ ขุนนางชั้นสูง ขุนนางชั้นต่ำมีจำนวนมากไม่มีสิทธิพิเศษ ต้องทำมาหากินเช่นเดียวกับราษฎรทั่วไป ในขณะที่ขุนนางชั้นสูงมีอภิสิทธิ์ เช่น ตัวเองและบุคคลในครอบครัวไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน เมื่อมีคดีความสามารถแต่งทนายหรือผู้แทนตนได้ เว้นแต่ในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ มีสิทธิเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ในขณะเสด็จออกว่าราชการ ขุนนางมีหน้าที่รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ในการควบคุมคน (ไพร่สมและไพร่หลวง) ในสังกัดจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นกำลังคนที่แข็งแรงมีประสิทธิภาพพอที่จะเป็นทหารในยามสงครามและราชการอื่น ๆ ขณะเดียวกันขุนนางมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของไพร่และ ส่งทนายไปแก้คดีให้เมื่อคนในสังกัดตนต้องคดี และควบคุมดูแลไพร่ในหัวเมืองชั้นใน  ซึ่งถูกแบ่งให้สังกัดกรมกองในเมืองหลวง ไพร่พลเหล่านี้ถือเป็นไพร่หลวงเป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์มิได้ ปกครองด้วยพระองค์เอง จำนวนไพร่พลในสังกัดมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและศักดินาของขุนนางผู้นั้น ศักดินานั้นเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อการเก็บส่วยสาอากร ค่าปรับสินไหมของผู้ถือศักดินา ในการที่ต้องความผิด   ส่วนหน่วยนับของศักดินาเป็นไร่นั้นคล้ายการกำหนดเป็นชั้นหรือซีในปัจจุบัน เนื่องจากพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของเมืองเจ้าของที่ดินการกำหนดศักดินาจะทำให้ทั้งเจ้านายและขุนนางได้รับสิทธิขึ้นทะเบียนจำนวนไพร่ในสังกัดและได้สิทธิรับพระราชทานทีดินจำนวนมากตามศักดินา ยศ และบรรดาศักดิ ที่สูงกว่ากันย่อมมีภาระเลี้ยงดูบริวารมากกว่าผู้มีบรรดาศักดิ์ต่ำ แต่ไม่ได้หมายถึงได้พระราชทานที่ดินเท่าจำนวนศักดินา นับเป็นการควบคุมระบบการผลิตและเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพด้วยรายได้ของเจ้านาย และขุนนาง ไม่มีประจำแบบเงินเดือน มีเพียงบำเหน็จรางวัลบางครั้งคราวและเงินปี บางปีเงินคลังมีไม่เพียงพอพระมหากษัตริย์ต้องจ่ายเงินปีเป็นผ้าก็มีเป็นสิ่งมีค่าเทียบเงินทอง ซึ่งอาณาจักรเป็นสังคมเกษตร รายได้ที่เหล่าขุนนางได้มาจากการเกษตรทั้งสิ้นดังนั้นในอาณาจักรเว้นพระมหากษัตริย์ทุกคนล้วนมีศักดินาทั้งสิ้นอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือผู้มีศักดินา ๑๐,๐๐๐ ถึง
                                                                                      ๗๓
๘๐๐ เท่านั้นที่ต้องเข้าเฝ้าเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จออกว่าราชการ       ส่วนทาสมีศักดินา๕ไร่นั้นเป็นแค่การกำหนดเบี้ยปรับแต่ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินหรือทรัพย์สินใดๆ            

 ยศ หรือบรรดาศักดิ์ของขุนนางสมัยกรุงศรีอโยธยาตอนต้นนั้น ขุนเป็นตำแหน่งสูงสุด ต่อมานำแบบอย่างอินเดียและเขมร มาใช้ตั้งยศได้แก่พระยาหรือออกญา เจ้าหมื่น พระ จมื่น หลวง ขุน จ่า หมื่น และพัน ลดหลั่นลงไปตามลำดับ เจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยามีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ตำแหน่งของข้าราชการ ได้แก่ อัครมหาเสนาบดี เสนาบดี จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บัญชี สำหรับบรรดาศักดิ์สมัยกรุงศรีอโยธยาตอนต้นเสนาบดีมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ไร่
ต่อมาได้รับการเลื่อนให้มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา ศักดินา ๓๐,๐๐๐ไร่ ตำแหน่งของขุนนางอโยธยาไม่มีการสืบสกุล เป็นเพียงตำแหน่งเฉพาะตัว
ราชทินนามทำเนียบข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนจะกำหนดราชทินนามไว้ประจำตำแหน่ง บอกหน้าที่ราชการทุกตำแหน่ง เมื่อผู้ใดพ้นจากตำแหน่งเดิมไปรับตำแหน่งใหม่ก็ต้องเปลี่ยนราชทินนามไปด้วย ดังนั้นเมื่อบุคคลใดเข้ารับราชการแล้ว ชื่อ-สกุล ของตนจะหมดสิ้นไป คงเหลือแต่บรรดาศักดิ์และราชทินนาม จึงไม่มีขุนนางผู้ใดต้องการออกจากตำแหน่ง เพราะว่าเมื่อออกจากตำแหน่งต้องสูญเสียศักดินา ยศหรือบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ขุนนางส่วนมากจึงพยายามอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกออกจากตำแหน่ง การที่สังคมสมัยกรุงศรีอโยธยายอมรับการขึ้นมาสู่อำนาจโดยการปราบดาภิเษก การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจึงเป็นเรื่องของชนชั้นสูงหรือผู้มีอำนาจ ขุนนางเจ้านายผู้มีศักดินาสูงซึ่งมีคนในควบคุมจำนวนมากจนเป็นการท้าทายพระ ราชอำนาจและเสถียรภาพของพระมหากษัตริย์ กฎมณเฑียรบาลจึงมีมาตรการและบทลงโทษที่รุนแรง ป้องกันมิให้เจ้านาย ขุนนาง ล้มล้างราชบัลลังก์ขุนนางต้องทำหน้าที่การเก็บภาษีอากร เช่นภาษีที่เก็บจากไพร่พลของตนที่ทำกินบนที่นาที่ได้รับพระราชทานตามศักดินา และภาษีอากรที่อยู่ในบังคับบัญชา ของกรมที่ตนสังกัด ถ้าเป็นเจ้าเมืองหัวเมืองชั้นนอกมีอำนาจหน้าที่เก็บภาษีอากรทั้งหมดใน บริเวณอาณาเขตที่เจ้าเมืองนั้นมีอำนาจขุนนางมีหน้าที่ต้องรายงานพระมหากษัตริย์ทันทีที่ได้รู้เห็นว่าที่จะเป็น ผลร้ายต่อพระมหากษัตริย์เช่น ข่าวกบฏ ยักยอกพระราชทรัพย์ ลักลอบติดต่อนางสนมกำนัลเป็นต้น ถ้ารู้แล้วไม่กราบทูลมีโทษถึงกบฏ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ขุนนางระแวงกันเอง หรืออาจมีการกลั่นแกล้งกัน โดยแจ้งเรื่องเท็จ หรือทำหนังสือแจ้งเท็จกล่าวหาลอยๆ ทำให้ขุนนางระมัดระวังอยู่เสมอ และขุนนางทุกคนจะต้องเข้าร่วมพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ใครขาดถือมีโทษถึงกบฏ
สำหรับการควบคุมพฤติกรรมของขุนนาง เพื่อกำหนดขอบเขตการเคลื่อนไหวของขุนนางหรือเจ้านายรวมตัวกัน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ เช่น เจ้าเมืองไปมาหาสู่กันไม่ได้ ขุนนางศักดินา ๘๐๐-๑๐,๐๐๐ ไปมาหาสู่กันถึงเรือน หรือในที่สงัดหรือลอบเจรจากันในศาลาลูกขุนสองต่อสอง ล้วนแล้วมีความผิดโทษถึงตาย หรือแม้แต่
                                                                                   ๗๔
ห้ามมิให้ขุนนางที่จะถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสวมแหวนนาก แหวนทอง กินข้าวกินปลาก่อนถือน้ำ ก็มีโทษระวางกบฏ
วิถีชีวิตประจำวันของแต่ละชนชั้นในสังคมดังนี้ ทุกคนในสังคมต่างมีงานที่ต้องขับเคลื่อนสังคมและอาณาจักร ภาระที่ต้องทำในชีวิตประจำวันนั้นต่างกันออกไปในอาณาจักร พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนผู้บังคับบัญชาสูงสุดที่มีขุนนางเป็นเฟืองใหญ่ขับเคลื่อนนโยบายและ คำสั่งทางปกครอง ทางบริหารทั้งปวงลงไปสู่ประชาราษฎร์
ทั้งมวลเพื่อความสงบสุข ความมั่นคง และมั่งคั่ง ของราชอาณาจักร วัฏ การคิดวันเวลาไม่ได้คิดแบบปัจจุบันคือชั่วโมง นาที เดือน สัปดาห์ วันหยุด วันงาน ในสมัยนั้นผูกติดวันเวลาไว้กับศาสนาและประเพณีตามจันทรคติ วงรอบประจำวันมีดังนี้ เริ่มนับยามเช้า เริ่มต้นวัน ที่การตีระฆังปลุกพระทำวัตรเช้า(ประมาณ ๐๔๐๐ ในปัจจุบันพระทำวัตรเสร็จ จึงเริ่มบิณฑบาตรก่อนแสงเงินแสงทอง จนถึงเพล บ่ายดวงอาทิตย์คล้อย เย็นใช้ระฆัง และกลองบอกเวลาการทำกิจวัตรของสงฆ์ใน๑วันทั้งสิ้น นับวงรอบที่ดวงจันทร์ขึ้นแรมและเดือนเป็นเดือนอ้ายเดือนยี่ เดือนห้าปีใหม่เปลี่ยนนักษัตร ๑๒ นักษัตร ชวด  ฉลู ขาล เถาะ ถึงปีกุน กิจประจำในแต่ละวัน ด้วยบ้านเมืองเป็นยุคเกษตรกรรมประชาราษฎร์ทั้งปวง ตื่นนอนเช้าตรู่ ผู้หญิง บ่าว ไพร่  ทาส เตรียมอาหาร ให้ครอบครัวเจ้านาย และตนเอง เช้าตรู่ใส่บาตร ผู้ชายออกทำเกษตรกรรม บ้านเจ้านายผู้มีหน้าที่เตรียมไพร่เป็นทหารก็ออกฝึกฝนที่ลานบ้าน และลานวัดพ่อค้าวานิชก็เตรียมของไปขายในตลาดเช่นในปัจจุบัน จะทำเกษตรหรืองานอื่นถึงสายจึงเข้าบ้านกินอาหารซึ่งมีข้าวเหนียวเป็นหลักวัฒนธรรมอย่างนี้ในสมัยปัจจุบันสังคมล้านนาภาคเหนือของไทยและล้านช้างคือประเทศลาวยังถือปฎิบัติสืบต่อกันมา ส่วนประเทศไทยเปลี่ยนการบริโภคข้าวเหนียวเป็นข้าวจ้าว ซึ่งแต่เดิมมีบริโภคเฉพาะในวังและบ้านขุนนางชั้นสูง และพระสงฆ์ในอารามหลวงและวัดประจำขุนนางผู้ใหญ่เท่านั้น อันข้าวจ้าวนี้ในราชสำนักขอมและอินเดียบริโภคมาแต่ดั้งเดิม จึงเหมือนเป็นราชประเพณีทางราชสำนักสืบต่อกันมาส่วน กิจวัตรของขุนนางตื่นนอนมาใส่บาตรแล้วเตรียมกินอาหาร
เพื่อจะไปทำกิจราชการหรือคุมบ่าวไพร่ทำงานเมื่อพร้อมขุนนางจะมาควบคุมการเรียนการฝึกประมาณก่อนเพลพระมหากษัตริย์ตื่นบรรทม แล้วเสวยจนเสร็จกิจประจำพระองค์สรงน้ำแต่งภูษามาลามาเป็นประธานในการบริหารราชการที่ท้องพระโรงหรือตรวจขุนนางที่ควบคุมทหารอาหารมื้อกลางวันคือหลังพระฉันเพลแล้ว ทุกผู้คนทำภารกิจต่อเนื่องจนตะวันคล้อยตกดินจึงเข้าบ้านมีมื้อค่ำที่ผู้หญิงทำหน้าที่เตรียมอาหารเอาไว้หลังอาบน้ำกินอาหารเย็นค่ำแล้วบ่าวไพร่ทาสราษฎรจึงพักผ่อน จนเข้านอนหลับพักผ่อนและตื่นนอนเช้าตรู่ครบวงรอบ ๑วัน ส่วนขุนนางหลังอาหารค่ำก็เข้าห้องพระสวดมนต์ และคิดการงานปกครองในวันพรุ่ง หากมีข้อราชการต้องนำขึ้นทูลเกล้าตอนวันพรุ่งก็เตรียมไว้พอจะเสร็จสิ้นก็ดึกจึงเข้านอน ส่วนพระราชานุกิจของ
พระมหากษัตริย์ กำหนดเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินจะทรงกระทำพระราชกิจต่างๆเป็นประจำวัน เป็นกิจวัตรประจำวันหลังเสวยค่ำแล้วมีเวลาพักผ่อนบ้างตามอัศธยาศัย เสด็จหอพระสวดมนต์ค่ำ และนำหนังสือราชการมา
                                                                                     ๗๕
ตรวจสอบ วางแผนการรบ วางแผนการศึก ตรวจสอบและตัดสินใจแผนการรุก การรับต่างๆ นำข้อราชการที่ติดต่อกับต่างปรเทศ เพื่อนำข้อตกลงใจไปสั่งการในที่ประชุมเหล่าขุนนางจนเสร็จกิจแต่ละวันถึงยามสองยามสาม(๐๐๐๐- ๐๓๐๐)จึงบรรทม ได้ประมาณ ๖ ชั่วโมง ก็ต้องตื่นบรรทมเพื่อเริ่มบริหารราชกิจในที่ประชุมเหล่าขุนนาง และนำทัพ วันรุ่งขึ้น  ยิ่งมีความขัดแย้งในราชวงศ์ และขัดแย้งกับเจ้าพระยากลาโหมเวลาบรรทมยิ่งน้อยมาก เพราะต้องระวังพระวรกายจากการรัฐประหารที่อาจเกิดได้ทุกเมื่อ และโรคภัยเช่นสามัญชนทั่วไป ดังนั้นช่วงสมัยที่อโยธยามีสงครามทั้งศึกกับต่างอาณาจักรและศึกจากเจ้าฟ้าราชวงศ์ พระมหากษัตริย์จึงมีพระชนมายุไม่ยืนยาว พระวรกายตรากตรำ จึงทรงพระ ประชวร และสวรรคตไม่ถึงปัจฉิมวัย
พระราชานุกิจในสมัยอโยธยาพระราชานุกิจตามมนูธรรมศาสตร์    ต้นเรื่องของพระราชานุกิจนี้ พวกพราหมณ์นำมาจากอินเดียแต่ดึกดำบรรพ์
 กลางวัน      ทรงแต่งองค์ และตรวจบัญชีพระราชทรัพย์
                     เสด็จออกพิพากษาคดี
                     เสวยพระกระยาหาร
                     ทรงรับของถวายและพระราชทานบำเหน็จ
                     ทรงปรึกษาราชการแผ่นดินด้วยมุขมนตรี
                     ทรงสำราญพระราช อิริยาบถ
                     ทอดพระเนตรโยธาทหาร
                     ทรงปรึกษาราชการด้วยเสนาบดี
กลางคืน       ทรงฟังรายงานผู้สืบข่าว
                     เสวยพระกระยาหาร
                     เสด็จเข้าที่ทรงสาธยายศาสตราคม
                     บรรทม  
                     ตื่นบรรทม    ชำระพระองค์
                     ทรงปรึกษาราชการลับกับอำมาตย์มนตรี และดำรัสสั่งราชการ 
                     ปุโรหิตเข้าเฝ้า ทรงบูชาเทวดา
พระราชานุกิจตามกฎมณเฑียรบาล ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
กลางวัน       เสด็จประทับพระที่นั่งมงคล สนมวังเข้าเฝ้า
                    เสวยพระกระยาหารต้น
                    เสด็จประทับหอพระ ตำรวจเข้าเฝ้า
                                                                                              ๗๖
                    เสวยพระกระยาหาร แล้วเข้าที่พระบรรทม
                    บรรทม
                    สำราญพระอิริยาบถอยู่ข้างใน
                    ประพาส
                    เสด็จประทับหอพระ                                                                                           
                    ประภาษราชกิจฝ่ายใน
กลางคืน       เสด็จพิพากษาการศึก
                    พิพากษาการเมือง
                    พิพากษาโบราณคดี
                    เสด็จขึ้นเสวยพระกระยาหาร
                    โหรและราชบัณฑิตเข้าเฝ้า ทรงสนทนาคติธรรม 
                    ทรงฟังเสภาดนตรี   ทรงฟังนิยาย
                    เข้าที่บรรทมจนสว่าง 
พระสงฆ์ สถาบันสงฆ์มีความสำคัญต่อสังคมสยามมีหน้าที่อบรมศิลปะวิทยาการแก่คนในสังคม ตั้งแต่เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ และทาส มีหน้าที่เป็นคนกลางเชื่อมระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ และทาส สถาบันสงฆ์เป็นที่รวมของชนชั้นต่าง ๆ จัดเป็นศูนย์กลางของสังคมพระสงฆ์มีฐานะเป็นผู้นำสังคมทางอ้อม ในพระไอยการศักดินาพลเรือน กำหนดศักดินาของพระสงฆ์ตั้งแต่ ๑๐๐-๒,๔๐๐ โดยพระมหากษัตริย์มีอำนาจในการแต่งตั้งสมณะศักดิ์หรือถอดถอนได้ พระสงฆ์ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน พระสงฆ์ยังได้รับผลกระโยชน์จากไพร่ที่เป็นเด็กวัด ทาส เชลย นักโทษ ซึ่งพระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง อุทิศถวายเพื่อให้ช่วยทำงานรับใช้กิจการของวัดและปรนนิบัติพระสงฆ์  พระสงฆ์แบ่งออกเป็น ๒ คณะ คือ คามวาสี และอรัญวาสี ต่อมามีพระสงฆ์สยามไปศึกษาพระธรรมวินัย ที่เมืองลังกา แล้วกลับมาประพฤติปฏิบัติ เคร่งครัดกว่าคณะสงฆ์ไทยที่เป็นอยู่เดิม จึงได้มีการตั้งคณะขึ้นอีกหนึ่งคณะคือ คณะป่าแก้ว ซึ่งต่อมาเรียกว่าคณะคามวาสีฝ่ายขวา ความนับถือพระพุทธศาสนาสมัยอโยธยา ไม่สู้สนใจหลักธรรมชั้นสูงนัก ส่วนใหญ่มุ่งไปสู่เรื่องทำบุญ ทำกุศล สร้างวัด ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ และทำพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งการฉลองและงานมนัสการเสียเป็นส่วนมาก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๗๓) มีผู้นิยมบวชเรียนกันมากทำให้มีคนหลบเลี่ยงราชการไปบวชกันมากมาย จนต้องมีการออกมาตรการให้มีการสอบความรู้พระภิกษุ สามเณรที่มาบวช โดยถ้าไม่มีความรู้ในพระศาสนาสอบสนามหลวงตก จะถูกบังคับให้ลาสิกขาเป็นอันมากในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ เกิดมีประเพณีว่าผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นขุนนาง ข้าราชการ มียศฐาบรรดาศักดิ์ ต้องได้บวชมาแล้วจึงจะทรงแต่งตั้ง ในห้วงเวลานี้ ทางลังกาเกิด
                                                                                 ๗๗
สูญสิ้นพุทธศาสนวงศ์ กษัตริย์ลังกาต้องส่งราชทูตมาขอคณะสงฆ์สยามไปตั้งสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ที่อาณาจักรลังกาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
การบริหารคณะสงฆ์สมัยปลายอยุธยา ถือพระธรรมวินัยเป็นหลัก ทางด้านอาณาจักรได้อาศัยพระบรมราชูปถัมภ์ จากพระมหากษัตริย์ ทำให้คณะสงฆ์เป็นระเบียบเรียบร้อย และเจริญก้าวหน้า สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศได้การปกครองและการตั้งสมณศักดิ์ มีตำแหน่งสังฆนายก เป็น ๓ ระดับคือ สมเด็จพระสังฆราช พระสังฆราชาคณะ และพระครู เจ้าคณะเมืองใหญ่เป็นพระสังฆราชา เจ้าคณะเมืองเล็กเป็นพระครู พระสังฆปรินายกเป็นสมเด็จพระสังฆราช บรรดาพระสงฆ์ ต่างชาติเช่น มอญ ลาว เป็นต้น ให้พระครูเป็นหัวหน้าดูแล โดยแบ่งการปกครองสงฆ์ไว้ดังนี้
 คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย   สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี วัดหน้าพระธาตุ เป็นเจ้าคณะ มีฐานานุกรม ๑๐ รูป มีพระราชาคณะ๑๗ รูป ๑๗ วัดในกรุงศรีอโยธยาเป็นรองเจ้าคณะ มีพระครูหัวเมืองฝ่ายเหนือ๒๔ รูป จำนวน๒๒ เมือง  สำหรับ(วัดใหญ่)เมืองพิษณุโลกมีสังฆราชาประจำและมีพระครูที่ขึ้นกับคณะพิษณุโลก จำนวน ๓ เมือง ๓ รูป เมืองสุโขทัยมีสังฆราชาหนึ่ง ส่วนเมืองลพบุรี สวางคบุรีและนครราชสีมา มีพระครูเป็นสังฆราชา เมืองอรัญประเทศ มีพระครูเป็นเจ้าคณะ ๓ รูป มีเมืองเล็กๆที่ไม่มีพระครูอีก ๒๖ เมือง
 คณะคามวาสีฝ่ายขวา พระพุทธฒาจารย์ วัดโบสถ์ราชเดชะ เป็นเจ้าคณะปกครองคณะสงฆ์มีพระฐานานุกรม ๑๑ รูป มีพระราชาคณะในกรุงศรีอโยธยาเป็น เจ้าคณะรอง ๑๗ รูป ๑๗ วัด คณะหัวเมืองปักษ์ใต้ มีพระครูหัวเมือง ๒๖ เมือง ๕๖ รูป เมืองราชบุรี เพชรบุรี และจันทบุรี มีพระครูเป็นที่สังฆราชา มีหัวเมืองเล็กๆไม่มีพระครู อีก ๒๐ เมือง
ส่วนคณะอรัญวาสี พระวันรัต วัดวรเชษฐาราม(วัดป่าแก้ว)เป็นเจ้าคณะ ฝ่ายสมถวิปัสสนา ทั้งในกรุง และนอกกรุง เจ้าคณะรอง ๗ รูป ๗ วัด มีพระครูฝ่ายวิปัสสนา พระครูเจ้าคณะสามัญ และพระครูเจ้าคณะลาว ขึ้นอยู่ในปกครองด้วย (ผู้เขียนเห็นต่าง ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่จะระบุเป็นวัดใหญ่ชัยมงคลและมีพระพุทธฒาจารย์ซึ่งเป็นตำแหน่งทางคามวาสี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นประธานฝ่ายอรัญวาสี )
ไพร่  คือราษฎรสามัญทั้งชายหญิงเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมกรุงศรีอยุธยา ไพร่ทุกคนต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของไพร่พลทั้งหมดแต่ผู้เดียว พระองค์ทรงแจกจ่ายไพร่ให้อยู่ใต้การปกครองของเจ้านายและขุนนางตามตำแหน่งและ ศักดินา ความสัมพันธ์ระหว่างมูลนายกับไพร่นั้น ไพร่จึงเป็นสมบัติของมูลนายเป็นฐานอำนาจที่สำคัญอย่างยิ่งขอชนชั้นปกครองใน ด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม จะสัมพันธ์อยู่ภายใต้ กฏ ซึ่งในยามปกติ ไพร่ จะต้องเกณฑ์แรงงานให้มูลนายที่เป็นเจ้านายเดิม หรือ รัฐส่วนกลาง ปีละ๖ เดือน โดยจะเข้ารับใช้ ๑เดือนเว้น ๑เดือนสลับกันไป แต่ในบางช่วงเวลาที่รัฐต้องการแรงงานมากเป็นพิเศษในบางปีอาจใช้แรงงานถึง ๘-๑๐ เดือนก็มี แต่ไพร่บางคนก็สามารถจ่าย ส่วย เป็นค่าแทนการเกณฑ์แรงงานได้ ซึ่ง
                                                                               ๗๘
มักจะจ่ายเป็นผลผลิตของท้องถิ่นนั้นๆ ให้กับรัฐ ซึ่งรัฐก็นำค่าส่วยที่เป็นผลผลิตๆไปขายไป รายได้เข้ารัฐ นอกจากจะมีค่าส่วยที่เป็นค่าเกณฑ์แรงงานแล้ว ยังจะมี ค่าฤชา ที่เป็นค่าธรรมเนียมในการติดต่อทางราชการหรือเป็นค่าปรับทางการศาลในกรณีพิพาทเรื่องต่างๆ อากรคือ ภาษีที่ได้จากผลผลิต เช่น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา และ จังกอบ เป็นภาษีศุลกากร ค่าผ่าน สินค้าเข้า/ออก โดยอากร จะแตกต่างจากจังกอบ ตรงที่อากรจะนับผู้ผลิตเสียให้รัฐ แต่จังกอบจะนับจากพ่อค้าคนกลางไม่ใช่ผู้ผลิต ไพร่ที่มีความสำคัญในสังคมไทยมี ๓ ประเภท คือ ไพร่หลวง ไพร่สม ไพร่ส่วย
พระมหากษัตริย์ พระองค์ปกครองไพร่หลวงผ่านทางมูลนายผู้ควบคุมไพร่หลวงจะสังกัดกรมขุนนาง ต่างๆ ยามปกติไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์ทำงานให้กับรัฐ ในพระนครศรีอโยธยาไพร่หลวงต้องเข้าเวรรับราชการปีละ ๖ เดือน เรียกว่า เข้าเดือนออกเดือนเช่นเดียวกัน เวลามาทำงานต้องเตรียมเสบียงอาหารมาเอง ไพร่สมเป็นไพร่ที่สังกัดมูลนาย มีหน้าที่รับใช้มูลนาย เช่น ซ่อมแซมวัง ส่งสาร ตามเป็นบริวาร ทำนาทำสวนและเป็นช่างฝีมือ ส่วนไพร่ส่วย คือ ไพร่หลวงที่ทำมาหากินอยู่หัวเมืองห่างไกลไม่สามารถเดินทางเข้ามาทำงานเวร เมืองหลวงได้สะดวก จึงกำหนดให้มีการส่งสิ่งของมาแทนแรงงานได้ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้มีการจ่ายเงินแทนการมาใช้แรงงานที่เรียกว่าไพร่ส่วยเงิน การมีระบบไพร่ทำให้ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพ และส่งผลให้หญิงมีบทบาทมากในครอบครัว เพราะต้องทำหน้าที่เลี้ยงดูครอบครัวแทนผู้ชายที่ถูกเกณฑ์แรงงาน และนอกจากนี้ไพร่ยังเป็นกำลังผลิตในทางเศรษฐกิจ เป็นแรงงานให้แก่ทางราชการ เป็นกำลังรบในยามสงคราม และยังเป็นฐานอำนาจทางการเมืองของมูลนาย เพราะมูลนายที่มีไพร่พลขึ้นสังกัดมากก็ทำให้มีกำลังการผลิต กำลังแรงงานและกำลังรบมากด้วยไพร่นั้นกำหนดศักดินา ๒๕ ไร่
ทาส  เป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม จัดอยู่ในบุคคลนอกระบบไพร่ ไม่ถูกเกณฑ์แรงงานทาส สมัยกรุงศรีอยุธยาตามกฎหมายลักษณะทาส พ.ศ.๒๑๙๑ มี ๗ ประเภท คือทาสสินไถ่ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสที่บิดามารดายกให้ลูกของตน ทาสท่านให้ ทาสที่ได้มาโดยการช่วยเหลือให้พ้นจากโทษปรับทาสที่ได้มาโดยการช่วยให้พ้นจากความอดอยากและทาสเชลย 
การมีทาสถือว่าเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของสังคมไทย ที่ถือว่าทาสเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเงิน แต่มิได้หมายความว่าทาสนั้นจะต้องเป็นทาสตลอดชีวิต อาจหลุดพ้นจากความเป็นทาสได้ในกรณีนี้เมื่อนายเงินให้บวชเป็นภิกษุ หรือสามเณร หรือนางชี ก็ถือว่าหลุดพ้นจากความเป็นทาสหรือแม้เมื่อลาสิกขาบทแล้วก็จะเอามาเป็นทาสอีกไม่ได้ เมื่อนายเงินใช้ทาสไปทำสงครามแล้วถูกจับเป็นเชลย เมื่อหลุดรอดมาได้ก็จะพ้นจากความเป็นทาสได้ ทาสฟ้องว่านายเป็นกบฏ และสอบสวนได้ความว่าจริง ให้พ้นจากความเป็นทาสได้ 
นายเงิน พ่อ หรือพี่น้อง ลูกหลานของนายเงินเอาทาสเป็นภรรยาให้ทาสนั้นเป็นไท ลูกที่เกิดมา

                                                                                       ๗๙
ให้เป็นไทด้วย) การไถ่ทาสจะไถ่ตัวเองหรือผู้ใดมาไถ่ก็ได้ อย่างไรก็ ดี การจะหลุดพ้นจากความเป็นทาสก็มิใช่เรื่องง่ายนัก เพราะทาสเปรียบเสมือนเป็นทรัพย์สมบัติ การมีทาสแสดงว่ามีอำนาจบารมีมาก จึงไม่มีนายเงินคนใดยอมปล่อยให้ทาสหลุดพ้นจากการครองครองของตน และอีกประการหนึ่ง แม้ทาสจะมีสิทธิไถ่ตนเองได้ แต่ค่าตัวทาสก็เพิ่มทวีขึ้นเรื่อยเช่นเดียวกันกว่าจะหมดค่าตัวก็เมื่อชรา หรือล้มตายไปเสียก่อน การปกครองทาสเป็นสิทธิขาดโดยนายเงิน กำหนดให้ทาสมีศักดินา ๕ ไร่                                                                                                                               ชาวต่างชาติ เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทในสังคมชาวอโยธยา คนกลุ่มนี้มีสถานพิเศษเนื่องจากไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไม่ต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย จึงสามารถเป็นแรงงานอิสระสามารถทำการค้าและเดินทางค้าขายได้ทั่วประเทศ พระมหากษัตริย์ไทยมิได้แสดงความรังเกียจชาวต่างชาติที่เข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิ์สมภาร มีการพระราชทานที่ดินให้ชาวต่างชาติอยู่ในเมืองอโยธยา มีการตั้งเป็นหมู่บ้านชาวต่างประเทศในกรุงศรีอโยธยา เช่น หมู่บ้านชาวโปรตุเกส หมู่บ้านชาวญี่ปุ่น และหมู่บ้านชาวฮอลันดาเป็นต้นในกรุงศรีอยุธยานั้นมีบ้านเรือนเป็นอาคารตึกก่ออิฐถือปูนแต่ไม่ใช่ของคนชาว กรุงศรีอยุธยา หากเป็นของชาวต่างชาติ ดังที่มีระบุในบันทึกของลาลูแบร์ว่า พวกฝรั่ง จีน และแขกมัวร์ ต่างสร้างบ้านเรือนของตนตามแบบอย่างการก่อสร้างของชาติของตน...ห้อง ก็เป็นห้องโต ๆ และมีหน้าต่างเต็มไปรอบตัว จะได้รับอากาศสดได้มาก และห้องตึกชั้นล่างก็ได้รับแสงสว่างจากห้องชั้นต่ำด้วยกัน เพราะยกพื้นสูง...หน้าเรือนมีห้องรับแขกคนกรุงศรีเรียกหอนั่งมีกันสาดยื่นและนิยมตั้งสิ่งของรูปสลักสวยงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น