ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สามมหาราช ตอนที่ ๙

                              

                                                                                                               
                                                                                    ๘๐
                                                  ตอนที่ ๙ ศึกนอกไม่หนักเท่าศึกภายใน
           มูลเหตุการณ์ทำสงครามของอาณาจักรในพุทธศรรษตวรรษที่ ๑๙ นั้นมิได้ต้องการยึดครองดินแดนเหมือนสงครามในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกซึ่งมีดินแดนที่ทุรกันดารหนาวเย็น ดินแดนบางแห่งเต็มไปด้วยทะเลทรายการแสวงหาดินแดนเพื่อให้ชนเผ่าตนเองอยู่อาศัยเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยแผ่นดิน โลกตะวันออก เป็นดินแดนอุดมสมบูรณ์มีน้ำจืด มีป่าร้อนชื้น มีแร่ธาตุ พื้นที่กว้างใหญ่อุดมสมบูรณ์มี มากกว่าจำนวนคนอาศัยดังนั้นการยึดดินแดนจึงไม่มี ตรงข้ามการทำสงครามเพราะ ต้องการกวาดต้อนผู้คนเพื่อนำมาเป็นพลเมืองหักร้างถางพงไพรเป็นแรงงานฝ่ายผลิตของอาณาจักรอันอุดมสมบูรณ์ เมื่อได้กวาดต้อนผู้คนมาบ้างการยอมอยู่ภายใต้การปกครองไม่เรียกว่าเสียดินแดนหรือเสียเมืองเพราะสิทธิการปกครองดินแดนการสืบราชสมบัติยังมีเหมือนเดิมแต่ต้องจ่ายค่าคุ้มครองเราเรียกว่าบรรณาการกับเมืองที่เข้าครอบครองอีกประการหนึ่งที่สำคัญของมูลเหตุสงครามคือการปฏิเสธการผูกมิตรจากการขอเครื่องบรรณาการและการผูกพันธุ์แต่งงานของราชสำนักต่อราชสำนัก ประการสุดท้ายคือการแย่งชิงความเป็นแหล่งทรัพยากรแหล่งค้าขายที่นำมาซึ่งความมั่งคั่งของราชสำนัก    เมื่อสร้างกรุงแล้ว สมเด็จพระรามาธิบดี ต้องการเข้ายึดครองบรรดาเมืองที่ขอมเคยปกครองทั้งมวลซึ่งหากพระองค์สามารถมีชัยชนะ บรรดาเมืองในอารักขาของขอมย่อมตกถึงมืออโยธยาบรรณาการจะหลั่งไหลมายังอโยธยา ทั้งการได้ของป่า เครื่องเทศที่จะนำมาซึ่งความมั่งคั่ง ของอโยธยาจึงทรงให้พระราเมศวรราชบุตรนำทัพไปตีนครธมอาณาจักรขอมเก่าที่เหลือเพียงกัมพุชประเทศ แต่ไม่สามารถเอาชนะได้จึงให้ตั้งทัพตรึงกำลังเอาไว้ รอทัพหนุนจากเมืองสุพรรณของพระบรมราชาธิราช(ขุนหลวงงั่ว)มารวมกำลังเข้าตีจนได้รับชัยชนะ      ใช้เวลา๑ปีได้อาณาจักรกัมพูชาเป็นประเทศราช โดยอโยธยาจัดการคัดเลือกเจ้านายกัมพูชาสถาปนาเป็นกษัตริย์ ครองกัมพูชา ทำให้บรรดาเมืองในอารักษ์ของกัมพูชาทั้งปวงยอมอยู่ภายในขอบขัณฑสีมาของอโยธยา ดังนั้นด้านเหนือของอโยธยาครองอิทธิพลครองคลุมเมืองครบุรี(นครราชสีมา เมืองศรีเทพ(ส่วนหนึ่งของเพชรบูรณ์)ต่อแดนอิทธิพลของสุโขทัย
ครั้นเมื่อสิ้นรัชกาลพระรามาธิบดีอู่ทอง ราเมศวรพระราชโอรสผู้ครองเมืองละโว้(ทั้งอโยธยาและละโว้ เป็นเมืองในอาณาจักรขอม กษัตริย์ของอโยธยาส่งอุปราชครองเมืองละโว้ ดังนั้นช่วงพ่อขุนรามคำแหงเรืองอำนาจส่งทัพมาตีทั้งละโว้ทั้งอโยธยานั่นหมายถึงโจมตีขอมตามพงศาวดารนั่นเอง)ก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ แห่งกรุงศรีอโยธยา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๒ บริหารราชแผ่นดินได้เพียงปีเดียวพระบรมราชากษัตริย์เมืองสุพรรณ ผู้เป็นพี่เขยก็ยกทัพมาอโยธยารัฐประหารพระราเมศวร ซึ่งพระราเมศวรยอมสละราชย์ถวายให้พระบรมราชาปราบดาขึ้นเป็นรัชกาลที่ ๓ (องค์ที่๑ของราชวงศ์สุพรรณ)การลงฑัณท์พระราเมศวรจึงไม่มีแต่โปรดให้พระราเมศวรกลับไปครองเมืองลพบุรีตำแหน่งอุปราชดังเดิม     พระบรมราชาธิราช   มีดำหริจัดทัพไปตีเอา เมืองฝ่ายเหนือต่อแดนสุโขทัย เมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง เมืองพิษณุโลกเข้าไว้เป็นประเทศราชจึงโปรดให้ท้าวพระยาจัดทัพเรือจากกรุงเทพทราวดี
                                                                                        ๘๑
โดยแต่งทัพบกที่เมืองไตรตรึงษ์ เมืองคนที โอบล้อมข้ามแพเข้า ตีเมืองชากังราวซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัย พร้อมทัพเรือในลำน้ำ พญาไสแก้วซึ่งเป็นเจ้าเมืองชากังราว และ พญากำแหงอุปราช ออกรบกับทัพกรุงศรีอโยธยา พญาไสแก้วตาย แต่พญากำแหงและไพร่พลหนีออกจากเมืองด้านตะวันออก ทัพหลวงของพระบรมราชาจึงเสด็จกลับให้ทัพเมืองไตรตรึงษ์อยู่รักษาเมืองชากังราว ไม่นานพญากำแหงและท้าวผาคองก็นำทัพกลับมาชิงเมืองคืนได้ พระบรมราชา จึงเดินทัพขึ้นไปโจมตีชากังราวอีกครั้ง ครั้งนี้ท้าวผาคองต้านทานทัพอโยธยาไม่ได้แตกทัพหนีไป   แต่พระองค์ทรงยกทัพตามทันสามารถตีทัพท้าวผาคองแตกครั้งนี้จับกุมเชลย ได้ท้าว พระยา เสนา ขุน หมื่น เป็นจำนวนมากพากลับกรุงศรีอยุธยา  หวังมิให้ชากังราวเติบใหญ่ขึ้นได้อีกแล้วทรงยกทัพหลวงกลับพระนครให้ทัพไตรตรึงษ์รักษาเมือง  เมื่อเสียชากังราวเมืองหน้าด่านสำคัญของกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชากษัตริย์สุโขทัยจึงต้องนำทัพมาชากังราวทัพไตรตรึงษ์มีน้อยกว่ามากนักจึงยอมสวามิภักดิ์ พระมหาธรรมราชาเจ้ากรุงสุโขทัยจึงสถาปนาชากังราวให้มั่นคงอีกครั้ง ด้วยอยุธยามีทั้งกำลังไพร่พลและร่ำรวยมากกว่าสุโขทัยการคิดทำสงครามเพื่อยึดเมืองประเทศราชจึงมีตลอดเวลาเมื่อยังไม่สามารถชนะสุโขทัยซึ่งเป็นเป้าหมายเมื่อยึดเมืองหน้าด่านล้อมกรอบสุโขทัยเอาไว้ก่อนทำสงครามใหญ่กับสุโขทัย  เมื่อชากังราวฟื้นตัวได้  ดังนั้นในปี   พุทธศักราช ๑๙๙๑ พระบรมราชาธิราชจึงต้องแต่งทัพเข้าตีชากังราวและสุโขทัยอีกครั้งหนึ่ง ด้านสุโขทัยทัพพระมหาธรรมราชานำทัพหลวงมาหนุนชากังราว ตั้งรับทัพอย่างเหนียวแน่นสุโขทัยแต่งทัพออกรับทัพอยุธยานอกกำแพงเมืองแต่สู้ไม่ได้ถอยกลับเข้ากำแพงเมือง ทัพกรุงศรีอยุธยาล้อมเมืองเอาไว้หนาแน่นแล้วส่งทัพรุกข้ามแพเข้าถาโถมกำแพงเมืองชากังราวอันสูงใหญ่หลายระลอกแต่ยังไม่สามารถเข้าเมืองได้ส่วนภายนอกกำแพงพระราชวัง ทัพอยุธยายึดได้หมดรอบพระนครพระมหาธรรมราชาเหมือนถูกขังอยู่ในกำแพงพระนครรอวันหมดเสบียงจึงต้องยอมจำนนออกมาถวายบังคมเจรจายอมเป็นประเทศราชต่อกรุงศรีอยุธยา พระบรมราชาทรงรับไมตรีจึงจัดพิธีถวายสัตย์ที่วิหารวัดพระแก้ว  จึงทรงให้พระมหาธรรมราชาครองเมืองสุโขทัยต่อไปในฐานะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาโดยทัพอยุธยามิต้องยกไปทำศึกใหญ่กับสุโขทัย แล้วทรงยกทัพหลวงกลับอยุธยา ด้วยชากังราวและสุโขทัยมิยอมตกเป็นประเทศราชกรุงศรีอยุธยาจึงตระเตรียมกองทัพเสริมครั้งนี้เจ้ามหาพรหมนำทัพป้องกันศึก สั่งเพิ่มกำแพงเมืองให้สูงใหญ่จึงได้ชื่อกำแพงเพชร  เพิ่มเติมป้อมปราการป้องกันหน้ากำแพงเมืองและขุดคลองเมืองให้ลึกและกว้างใหญ่ขึ้นใหม่แลชักน้ำจากน้ำปิงให้ท่วมเสมอรากกำแพง  ดังนี้แล้วสุโขทัยจึงมิยอมส่งบรรณาการในราชพิธีถวายสัตย์ที่จัดขึ้นในราชสำนักอยุธยา ทำให้อยุธยาต้องยกทัพไปเมืองชากังราวอีกครั้งเป็นครั้งที่สามครั้งนี้ทัพหลวงของกรุงศรีอยุธยามาถึงปากน้ำโพสมเด็จพระบรมราชาทรงล้มป่วยและสวรรคตลง กลางทัพ จึงต้องยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ด้วยความโกลาหล บรรดาเจ้านายต่างทราบดีถึงการบาดหมางของพระเจ้าอยู่หัวกับเจ้าราเมศวรด้วยพระงั่วนั้นมีทั้งพระราชโอรสจากพระเทวีราชวงศ์สุโขทัย และพระราชโอรสจากพระราชเทวีเมืองสุพรรณ และเจ้าทองลันโอรสของมเหสีแห่งกรุงศรีอยุธยา   ด้วยไม่มีการ
                                                                                       ๘๒
ตั้งรัชทายาท เจ้าทองลันจึงสมควรได้รับการอภิเษกด้วยเหล่าเสนาอำมาตย์แห่งกรุงศรีอยุธยาจะยินดี ดังนั้นจึงจัดเตรียมอภิเษกเจ้าทองลันขึ้นครองราชย์           
 เมื่อข่าวการสวรรคตทราบถึงพระราเมศวรที่ครองละโว้ จึงจัดทัพคอยทีอยู่   เมื่อราชพิธีถวายพระเพลิงเสร็จสิ้นที่ประชุมเสนาอำมาตย์ให้สถาปนาเจ้าทองลันราชโอรสผู้วัยเยาว์ ชันษา ๑๕ พรรษา ขึ้นครองราชย์เป็นพระองค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์สุพรรณ (วงศ์พระอินทร์)  นับเวลาได้๗เพลา เจ้าพระราเมศวรก็กรีฑาทัพจากลพบุรี ถึงกรุงศรีอยุธยาในเวลาค่ำคืน เข้าควบคุมเหล่าเสนาอำมาตย์ทั้งสิ้น พระราเมศวรได้บุกเข้าพระบรมมหาราชวัง จับเจ้าทองลันในที่บรรทมให้ สำเร็จโทษที่วัดโคกพระยานอกพระนคร และตามกุมตัวท้าวพระยาที่ไม่อ่อนน้อมมาประหารเสียสิ้น เมื่อควบคุมอำนาจภายในพระนครเอาได้ทั้งสิ้นแล้ว ราชวงศ์อู่ทอง(วงศ์พระราม)จากลพบุรีก็กลับคืนสู่เศวตฉัตรเหนือกรุงศรีอโยธยาอีกครั้งหนึ่งทรงพระนามสมเด็จพระนครินทราธิราชา เมื่อเสวยราชย์แล้วจึงควบคุมเจ้านายสุพรรณเอาไว้ ด้วยขณะพระรามาธิบดีครองราชย์กรุงศรีอยุธยา พระงั่วนั้นเป็นกษัตริย์เมืองสุพรรณบุรี แต่ครั้นพระงั่วนำกำลังจากสุพรรณมายึดอำนาจประราเมศวร ไว้ได้ ขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยา แต่พระองค์ก็มิได้ราชาภิเษกผู้ใดครองสุพรรณคงให้เจ้านครอินทร์ราชบุตรปกครองเหมือนพระองค์เป็นกษัตริย์ครองทั้งสองเมือง เมื่อพระองค์สวรรคตลงจึงมิได้ราชาภิเษกเจ้าฟ้าใดๆขึ้นครองสุพรรณ ดังนั้นเมื่อพระราเมศวรยึดอำนาจพระเจ้าทองลัน จึงเข้าควบคุมสุพรรณโดยง่ายดายและไม่มีการอภิเษกเจ้าขึ้นครองราชย์เมืองสุพรรณบุรี คงมีเจ้านครอินทร์ปกครองตามเดิม 
เมื่อครั้งพระบรมราชาเข้าตีเมืองชากังราวกำแพงเพชรไม่สามารถเข้าเมืองได้ทำให้สุโขทัยเข้มแข็งขึ้น การค้าขายของสุโขทัยจึงไม่ผ่านลงมายังกรุงศรีอยุธยาโดยสุโขทัยผ่านสินค้าไปยังมอญด้านเมืองตากสู่อ่าวเมาะตะมะ และไปกรุงจีนด้านล้านช้างด้านเมืองน่านส่วนสินค้า ของป่า เครื่องเทศจากล้านนา สุโขทัยจึงรับเอาไว้ทั้งสิ้นเมื่อเหตุการณ์เป็นดังนี้   การค้าทางน่านน้ำทะเลหลวงจากกรุงศรีอยุธยาไปแขกไปจีนสินค้าออกจึงลดน้อยส่วนสินค้าเข้าไม่สามารถกระจายขึ้นไปแว่นแคว้นอื่นอย่างสุโขทัยและล้านนาได้ เมืองท่าทั้งแม่น้ำสุพรรณและเจ้าพระยาจึงซบเซาลงถ้าไม่จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดนานวันอยุธยาคงอับจนลงดังนั้น กรุงศรีอยุธยาจึงมีดำหริจะยกทัพไปยึดทั้งสุโขทัย และล้านนาให้ได้เพื่อยึดทรัพยากรวัตถุดิบทางการค้าให้ได้ ด้วยกำแพงเพชรแข็งแก่งขึ้น  พระราเมศวรจึงยกทัพไปตีนครพิงค์เชียงใหม่อาณาจักรล้านนา ด้วยไม่เจนสงครามนครพิงค์จึงพ่ายทัพกรุงศรีอยุธยา ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา เป็นการล้อมกรอบอาณาจักรสุโขทัยด้านทิศเหนือเพราะได้เชียงใหม่ก็จะครองอิทธิพลลงมาเมืองละคร(ลำปาง)และตากส่วนชากังราว(กำแพงเพชร) และสุโขทัยเป็นเป้าหมายการเข้ายึดเมื่อมีความพร้อมครั้งต่อไป เมื่อยึดล้านนาเป็นประเทศราชแล้วได้กวาดต้อนเชลยสงครามลงมาไว้ที่เมืองจันทบูร หัวเมืองตะวันออก ไปหักร้างฉางพงที่เมืองสุพรรณ ที่เมืองพลิบพี(เพชรบุรี) ที่ เมืองคูบัว (ราชบุรี) ด้านกรุงกัมพูชาเมื่อทราบข่าวพระบรมราชาสิ้นพระชนม์และแย่งชิงบรรลังค์กันกองทัพอยุธยามีความ
                                                                                       ๘๓
อ่อนแอจึงจัดทัพมายึดเมืองในบังคับของตนคืนจากกรุงศรีอโยธยา โดยยกมากวาดต้อนชาวพนัสธานี และชาวจันทบูร(จันทบุรีและเมืองแกลง ระยอง)ไปหลายพันคน ครั้นอโยธยาเสร็จศึกเชียงใหม่เดินทัพกลับพระนครจึงได้รับแจ้งข่าวกัมพูชากวาดต้อนผู้คนจึงโปรดให้พระยาชัยณรงค์เป็นทัพหน้าเดินทัพไป ตีเมืองพระนคร กัมพูชาเข้ารบกันเป็นสามารถ อโยธยาชนะศึกยึดได้นครธม เจ้าเมืองกัมพูชาจึงหนีไปพึ่งอาณาจักรญวน ระหว่างนั้นทรงตั้งพระยาชัยณรงค์เป็นกษัตริย์ครองกัมพูชาได้ไม่นานนักทัพญวนก็บุกเข้าโจมตีเมืองพระนครธม พระยาชัยณรงค์ต้องนำทัพรบแบบร่นถอยพร้อมพาชาวพนัสธานี ชาวจันทบูรและชาวกัมพูชากลับมายังกรุงศรีอโยธยาแต่นั้นญวนจึงเป็นพันธมิตรกับกัมพูชาโดยกัมพูชายอมเป็นประเทศราชได้รับการอารักขาจากญวน
           ตั้งแต่ยุคขอมปกครองดินแดนสุวรรณภูมิเมืองสุพรรณบุรี และอโยธยาต่างมีเจ้าปกครอง และเป็นพันธมิตรกัน ทั้งสองเมืองมีความสำคัญด้านความเป็นเมืองท่า แม่น้ำสุพรรณที่ออกทะเลเมืองสาครบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ออกทะเลที่เมืองบางปลากด โดยพ่อค้าต่างชาติจากทั้งเปอร์เซีย และจีน ใช้ทั้งสองแม่น้ำเข้ามาค้าขาย โดยจีนเข้ามาค้าขายและพักอาศัยย่านแม่น้ำสุพรรณอาศัยอยู่เมืองสาครบุรีจนตั้งเป็นชุมชนที่เมืองสาครบุรีเรียกว่าบ้านท่าจีน และแม่น้ำสุพรรณตอนสาครบุรียังเรียกว่าแม่น้ำท่าจีน ในรัชสมัยพระเจ้าสุพรรณบุรีบรมราชาที่ตรงกับรัชสมัยของพระราเมศวรของกรุงศรีอยุธยา ราชวงศ์จีนที่มาค้าขายในสุวรรณภูมิยึดถือสุพรรณภูมิคือเมืองหลวงของสยามเป็นที่รับรู้กันทั่วไปและชาวจีนก็มาค้าขายอยู่ทั่วเมืองสุพรรณ ต่างจากชาวแขกอินเดียและแขกเปอร์เซียที่นิยมมาตั้งหลักแหล่งค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา
           เมื่อสมเด็จพระนครินทราธิราชาสวรรคต ด้านการปกครองเมืองประเทศราชจึงจบสิ้น ในราชพิธีพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา  กษัตริย์ล้านนาไม่เสด็จมาร่วมราชพิธีบ่งบอกถึงการแข็งเมืองไม่ขึ้นเป็นประเทศราชกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พระรามราชาธิราช พระราชโอรสพระราเมศวรทรงขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น พระองค์ที่ ๕  ด้านการค้า แหล่งสินค้าของป่าเครื่องเทศจากเมืองเหนือแคว้นสุโขทัย และล้านนายังเป็นที่ต้องการของพ่อค้าที่มายังกรุงศรีอยุธยาแต่เมื่อบาดหมางกับล้านนาและสุโขทัยที่ทั้งสองแคว้นจึงเปลี่ยนเส้นทางค้าขายเป็นทางบกไปยังเวียดนามและมอญแทนการล่องลงมากรุงศรีอยุธยา พระรามราชาทรงหวาดระแวง เจ้านครอินทร์จ้าเมืองสุพรรณและเป็นโอรสพระบรมราชาขุนหลวงพระงั่ว จึงไม่ทรงนำทัพไปล้านนาและสุโขทัยด้วยสาเหตุจากการหวาดระแวงการถูกรัฐประหารจากสุพรรณ เพราะมาจากสาเหตุที่สำเภาเจ้ากรุงจีนซึ่งเข้ามาค้าขายด้วยยกย่องเจ้านครอินทร์เป็นกษัตริย์สยามเป็นที่รับรู้กันทั่วพระนคร จึงเกรงว่าหากไม่อยู่พระนคร  เจ้านครอินทร์จะนำทัพเข้าชิงบรรลังค์จึงบัญชาให้เจ้าพระยามหาเสนาบดีนำทัพหลวงไปล้านนา และสุโขทัย  ทัพกรุงศรีอยุธยาไม่สามารถได้ชัยชนะต้องถอยทัพกลับมาต้องพระราชอาญาเพราะพ่ายแพ้สงคราม    เจ้าพระยามหาเสนาบดีผู้นี้เป็นเจ้าเชื้อสายสุพรรณ เมื่อพระราเมศวรยึดอำนาจพระเจ้าทองลัน พระราเมศวรละเว้นมิได้ลงอาญาให้รับราชการเรื่อยมาถึงรัชสมัยพระรามราชากลับมาถูกลงอาญา  เจ้าพระยามหาเสนาบดีต้องจึงนำครัวพร้อมบ่าวไพร่หลบหนีพระ
                                                                                    ๘๔
อาญาออกมาจากพระนครด้านคูขื่อหน้ามาตั้งมั่นรวมไพร่พลที่ฝั่งปทาคูจามทิศตะวันออกเฉียงใต้ตรงข้ามพระนครแล้วจึงติดต่อเจ้านครอินทร์ให้นำทัพจากสุพรรณมาช่วยปล้นเมืองโดยนำทัพล้อมพระนครด้านเหนือและตะวันตก พระรามราชาเห็นเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นจึงปิดประตูเมืองแต่ไม่สามารถรวบรวมไพร่พลจัดทัพต่อสู้กับทัพเจ้าพระยามหาเสนาบดีและทัพจากสุพรรณ จึงถูกปล้นเอาเมืองเป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์พระรามอู่ทอง เจ้าพระยามหาเสนาบดีควบคุมอำนาจไว้ได้ จึงออกจากเมืองร่วมกับเหล่าขุนนางทูลเชิญเจ้านครอินทร์ สถาปนาเป็นสมเด็จพระอินทราชา ขึ้นครองราชย์สมบัติแห่งกรุงศรีอโยธยา เป็นพระองค์ที่ ๖โดยพระอินทราชามีราชบุตร๓ องค์ โปรดให้เจ้าอ้ายพระราชโอรสองค์โตขึ้นครองเมืองสุพรรณ โปรดให้เจ้ายี่ไปครองเมืองสรรคบุรี เจ้าสามครองเมืองชัยนาท  ส่วนสมเด็จพระรามราชาธิราชไม่ให้สำเร็จโทษแต่ได้รับโปรดเนรเทศออกนอกเมือง ให้ไปอยู่เมืองปทาคูจามเมืองนี้มีเจดีย์ใหญ่อยู่กลางเมืองตรงข้ามกำแพงเมืองด้านตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันคือบริเวณวัดใหญ่ชัยมงคล (เมืองปทาคูจามนี้มีคลองคูจาม เป็นย่านคนจามอยู่อาศัย ถือเป็นการกักบริเวณนั่นเอง)พระอินทรชาครองราชสมบัติ ๑๕ ปี ก็เสด็จสวรรคต เจ้าอ้ายพญาทรงช้างนำทัพจากสุพรรณมาในราชพิธีพระบรมศพ  เจ้ายี่พญาก็นำทัพจากสรรคบุรีมาในพิธีเช่นกัน ขบวนเสด็จของทั้งสองพระองค์มาปะหน้ากันเมื่อเข้ามาถึงสะพานป่าถ่าน ด้านเจ้าอ้ายด้วยพระองค์เป็นพระเชษฐาเจ้ายี่ จึงไสช้างนำทัพขวางเจ้ายี่บังคับให้เจ้ายี่ยอมวางอาวุธ “เจ้าจะมาชิงราชสมบัติจากเชษฐาหรือไร” เจ้ายี่ขัดเคืองพระเชษฐายิ่งนัก การเป็นเช่นนี้ทั้งสองพระองค์จึงไสช้างเข้าปะทะกันท่ามกลางการรบกันของไพร่พล พระแสงของ้าวต้องพระศอขาดสิ้นพระชนม์พร้อมกันทั้งสองพระองค์ เจ้าสามพระอนุชา ทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเสด็จลงมาจากชัยนาทจึงทรงเข้าควบคุมความสงบในพระนครหลังถวายเพลิงพระศพพระราชบิดาและพระเชษฐาทั้งสองพระองค์ จึงสถาปนาเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่๗ แห่งกรุงเทพทราวดีศรีอโยธยา ส่วนทุ่งพระเมรุใกล้วัดมหาธาตุสถานที่ถวายพระเพลิงพระเชษฐาทั้งสองพระองค์ ได้โปรดให้ช่างก่อสร้างวัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและรำลึกถึงพระเชษฐาทั้งสองพระองค์พระราชทานชื่อว่าวัดราชบูรณะ
 พ.ศ.๑๙๗๔ พระเจ้าธรรมาศะกะราช กษัตริย์นครธม ได้ยกทัพเข้ามากวาดต้อนผู้ตามหัวเมืองครบุรี เมืองพนมรุ้ง ไป สมเด็จพระบรมราชาธิราช(เจ้าสาม) จึงได้เสด็จยกทัพไปตี นครธม พระองค์ตั้งทัพล้อมเมืองพระนครหลวงอยู่ ๗ เดือน ก็สามารถตีเอานครธมได้ พร้อมทั้งเทครัวเขมร มายังกรุงศรีอโยธยาหมดสิ้น ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของเขมร ประเพณี มาแพร่หลายในกรุงศรีอโยธยามากมาย แต่นั้นมาเมืองพระนครธมจึงร้างผู้คน ในภายหลังเมื่อราชสำนักเขมรฟื้นฟูขึ้นมาใหม่จึงได้ มีการย้ายราชธานีจากนครธมไปตั้งที่เมืองพนมเปญ
ล่วงถึง ปี พ.ศ. ๑๙๘๕ นครพิงค์เชียงใหม่  ล้านนา เกิดเหตุการณ์ชิงราชบัลลังค์ระหว่างเจ้าติโลกราชอุปราช กับท้าวช้อยผู้เป็นพระอนุชา   โดยเจ้าเมืองเทิง หนุนหลัง  ท้าวช้อยนำกำลังเข้ารบกับเจ้าติโลกราช สู้เจ้าติโลกราชไม่ ได้พ่ายหนีไปเมืองเทิง เจ้าติโลกราชจึงนำทัพไปตามจับ เจ้าเมืองเทิงและท้าวช้อย จึงหนีอาญามาขอพึ่งกรุงศรี
                                                                                       ๘๕
อยุธยาสมเด็จพระบรมราชา (เจ้าสาม) เห็นเป็นโอกาสเพราะล้านนา และสุโขทัย ขัดแย้งเรื่องการค้ามาครั้งพระราชบิดายังไม่สามารถตีเชียงใหม่ได้ จึงทรงร่วมกับท้าวช้อย และเจ้าเมืองเทิง ยกกองทัพไปตีนครพิงค์ ล้อมเมืองอยู่หลายเดือน ไม่สามารถเข้าเมืองได้ด้วย ทรงพระประชวร(น่าจะเป็นมาลาเลีย หรือ ไข้หวัดใหญ่ จึงทรงยกกองทัพกลับกรุงศรีอโยธยา พักฟื้นพระวรกายล่วงได้ปีเศษ พุทธสักราช ๑๙๘๗ จึงนำทัพ ขึ้นไปตีนครพิงค์เชียงใหม่อีกครั้ง ทรงตั้งทัพหลวงที่ตำบลปะทายเขษม ไม่สามารถตีนครพิงค์ได้สำเร็จ จึงกวาดต้อนชาวเชียงใหม่นอกกำแพงเมืองมาได้นับ แสน คน จึงยกทัพกลับพระนคร เมื่อพระบรมราชาสิ้นพระชนม์ พระราชโอรสขึ้นเสวยราชย์ทรงพระนามพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงศรีอโยธยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ด้วยกรุงศรีอยุธยามีพลเมืองดั้งเดิมและที่กวาดต้อนมาจากเขมร และเชียงใหม่ การผลิตข้าวมีเพิ่มมากขึ้น การค้าขายจากล้านนาและสุโขทัยพวกทั้งส่งมาขายและรับกลับไปยังมีน้อยเพราะความบาดหมายที่มีมานานส่วนปากแม่น้ำตั้งแต่แม่น้ำปราจีน เจ้าพระยา  ท่าจีน แม่กลอง และแม่น้ำเพชรพ่อค้าจีน แขก มอญ และมลายู ขึ้นล่องค้าขาย ยังติดขัดที่สำเภาจากกรุงศรีอยุธยาไปนครศรีธรรมราชต้องจ่าย ส่วยให้เจ้าเมืองศรีธรรมาราช จำนวนมากจึงจะทำการค้ากับชาวนครได้ ราชสำนักอยุธยา จึงต้องคุ้มครองการค้า ให้ท่าอยุธยามีอำนาจเก็บส่วยสาอากรอย่างแท้จริง จึงดำหริแต่งทัพไปตีเมืองนครไว้เป็นประเทศราช รวมทั้ง เมืองสุโขทัย ด้วยเช่นกัน หากสำเร็จความมั่งคั่งทางการค้าในภูมิภาคอุษาคเนย์จะตกอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาเพียงแห่งเดียว

ขณะที่อังวะทางลุ่มน้ำอิรวะดี กษัตริย์อังวะก็ชิงความเป็นเมืองท่าเอกของลุ่มน้ำอิระวดีจากมอญ และยะไข่มาไว้ในมือด้วยการทำสงครามยึดเมืองท่าเหล่านั้นเพื่อให้อยู่ในอำนาจ หรือเป็นประเทสราช ซึ่งทั้งกรุงศรีอยุธยา ที่เข้มแข็งที่สุดในอ่าวสยามมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางค้าขายหลักขึ้นล่องในดินแดนสุวรรณภูมิ  ส่วนอังวะก็เข้มแข้งที่สุด สามารถมีอำนาจเหนือดินแดนอื่น สามารถควบคุมอ่าวเมาะตะมะและมีแม่น้ำอิระวดีเป็นเส้นทางค้าขายหลัก ซึ่ง ในอนาคต จากนี้หากยึดอโยธยาเป็นประเทศราช หรือทำลายความเป็นเมืองท่าได้   ความมั่งคั่งจะตกอยู่ที่อังวะ ด้วยเหตุเช่นนี้จึง เป็นมูลเหตุแห่งสงคราม ยึดครองการค้าทั้งภูมิภาค จึงเกิดขึ้น  โดยอังวะ สามารถทำลายเมืองท่าอยุธยาถึง สอง ครั้งในสมัยพระมหินทร์ และ พระเจ้าเอกทัศ

กรุงสุโขทัย บาดหมางกันมานานตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชา พระอินทรราช หากควบคุมเส้นทางบกจาก อ่าวเมาะตะมะ เมืองตาก เมืองระแหง สุโขทัย พิษณุโลก น่าน ก็สามารถควบคุมการค้าได้ทั้งดินแดนทั้งการกระจายสินค้าจากกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปด้านเหนือและการแลกเปลี่ยนสินค้าลงมาทางใต้ ดังนั้นพระบรมไตยโลกนาถจึงดำหริทำสงครามกับกษัตริย์สุโขทัย หากได้ชัยชนะสุโขทัยเป็นประเทศราชจะควบคุมเมืองทั้งหมดด้านเหนือกรุงศรีอยุธยา หากพ่อค้าจากกรุงศรีอยุธยา และจีนที่เดินทางค้าขายจากมลายูมานครศรีธรรมราช มากรุงศรีอยุธยา กล่าวฟ้องถึงการเก็บอากรจำนวนมากของนครศรีธรรมราช ในปีนั้นจึงคิดรวบรวมเมืองมะลายู ได้แก่เมืองปา
                                                                                 ๘๖
ตานี เมืองปาหัง เมืองกลันตัน เมืองยะหริ่ง เมืองตากใบ จึงยกทัพเรือและทัพบกจากอโยธยาลงไปตีนครศรีธรรมราชกองทัพพระเจ้านครศรีธรรมราช แพ้กองทัพอยุธยาจึงยอมอ่อนน้อมกรุงศรีอยุธยาจึงตั้งกองบัญชาการกองทัพที่เมืองนครเพื่อเข้าตีมลายู บรรดาสุลต่าน มลายู ต่อสู้เป็นสามารถ ทัพกรุงศรีอยุธยา  ยังไม่สามารถยึดเมืองเหล่านั้นเป็นประเทศราชได้ ต้องยกทัพกลับพระนครบำรุงขวัญไพร่พลได้ขวบปี  ในปีถัดมาพระองค์จึงยกทัพไปตีเมืองเถินด่านหน้าของล้านนา เมืองเชลียง เมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร และยึดกรุงสุโขทัยได้จึงส่งเจ้านายอยุธยาไปครองสุโขทัย กำแพงเพชร ส่วนพิษณุโลกพระองค์เสด็จไปประทับควบคุมหัวเมืองเหนือและกรุงสุโขทัยมิให้ฟื้นตัวจนสิ้นรัชกาลของพระองค์ เพื่อประกันความมั่นคงทางการค้าจึงสิ้นสุดพระมหากษัตริย์สุโขทัย    เมื่อพระบรมไตรโลกนาถสวรรคต พระราชโอรสขึ้นครองราชย์สถาปนาเป็นพระบรมราชาธิราชพระองค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ในวันราชาภิเษกพระบรมราชาธิราช เจ้าเมืองทวายไม่มาเข้าเฝ้าถวายสัตย์ไม่ถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง กรุงศรีอยุธยาจึงยกทัพไปปราบปรามทวายอีกครั้ง เจ้าเมืองทวายจึงยอมอ่อนน้อม เมื่อสิ้นพระชนม์    พระอนุชาของพระบรมราชาอภิเษกขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดี เป็นพระองค์ที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ    ในแผ่นดินพระรามาธิบดีนี้ได้มีการนำปืนไฟมาใช้ด้วยคู่กับการรบแบบใช้ดาบ และ มีการแต่งตำราจารึกบนใบลาน ว่าด้วยการรบ  การจัดกระบวนทัพ การตั้งค่าย การเดินทัพ การเข้าจู่โจม และการตั้งรับ พระองค์ประสงค์ยกทัพไปตีมะลายูอีกครั้งหลังจากพระบรมไตรโลกนาถราชบิดาไม่สามารถยึดมะลายูได้ พระองค์จัดทัพบก และทัพเรือ เข้าโจมตี แต่ก็ยังไม่สามารถได้ชัยชนะจากการโจมตีอย่างหนัก ฝ่ายสุละต่านผู้ครองอาณาจักรมะลายู ตระหนักถึงอำนาจอโยธยาที่เป็นใหญ่ตั้งแต่ สุโขทัยลงมาถึงสงขลา จึงแต่งทูตพร้อมบรรณาการ ดอกไม้เงินดอกไม้ทองเป็นมิตรต่อกัน เป็นอันสงบศึกนับต่อแต่นั้นมาอีกหลายรัชกาล พ่อค้ามลายูจึงเดินทางหลั่งไหลเข้ากรุงศรีอยุธยาด้วยเจนทะเลมากกว่าพ่อค้าชาวกรุงศรีจึงเป็นตัวแทนการค้ากับพ่อค้าจากเปอร์เซีย สามารถส่งอากรราชสำนักอยุธยาได้จำนวนมาก มลายูพ่อค้าตั้งบ้านเรือนและมัสยิส อยู่ แถบริมแม่น้ำตั้งแต่ธนบุรี บางกอก ตลาดขวัญ และปากคลองตะเคียน ตรงข้ามพระนครฝั่งตะวันตก                                                                             
 พ.ศ.๒๐๕๐เมื่อต้องบาดหมางกับกรุงศรีอยุธยา เชียงใหม่จึงหันไปพึ่งอังวะเพื่อประกันความปลอดภัยจากการรบกับทัพอยุธยา    ด้วยล้านนานั้นไม่มีเส้นทางติดต่อค้าขายกับต่างชาติทางทะเลจึงอาศัยเส้นทางบกของสุโขทัยที่ต้องนำสินค้าขาเข้าและส่งออก จากอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวเมาะตะมะ เมื่ออยุธยายึดสุโขทัยได้ทำให้ล้านนาฝืดเคือง  พระเมืองแก้วกษัตริย์เชียงใหม่จึงหวังเปิดทางค้าขายทางบกเส้นทางสุโขทัยจึงยกทัพเข้าตีสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดีจึงทรงทัพออกไปหนุนสุโขทัย และเข้าตีจนพระเมืองแก้วแตกร่นถอยกลับไป พระองค์ไล่ติดตามโจมตีจนถึงนครแพร่ยึดเมืองไว้ได้ อีก ๖ ปีต่อมาเจ้าเชียงใหม่ยกทัพแยกเป็นสองทัพให้ หมื่นพิงยี หมื่นมาลาลงมาตีสุโขทัย และกำแพงเพชร อีกครั้ง แต่กองกำลังของทั้ง ๒ เมืองต้านทานเชียงใหม่ได้ ทัพอโยธยาติดตามโจมตีทัพเชียงใหม่ที่ลำปางได้ชัยชนะยึดลำปางไว้ได้   ทัพเชียงใหม่แตกถอยกลับไป   หลังจากเสร็จการทัพที่ยกไปช่วยสุโขทัยสมเด็จพระรามาธิบดี ทรงเห็นว่าการตีเมืองในล้านนาหากไม่สามารถปกครองได้หากทัพใหญ่กลับพระนครเมืองนั้นก็เติบใหญ่แข็งเมือง จะรบกันไม่จบไม่สิ้นการยกทัพแต่ละครั้งสูญเสียไพร่พลเสบียงอาหารไปจำนวนมากด้วยเดินทัพไกลจากพระนคร จึงสมควรตั้งอุปราชไปครองพิษณุโลกเพื่อเป็นราชธานีปกครองเมืองเหนือทั้งปวงเหมือนครั้งแผ่นดินพระราชบิดาบรมไตรโลกนาถจึงสถาปนาพระอาทิตยวงศ์พระราชโอรสเป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรตำแหน่งพระมหาอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก  ปีพ.ศ.๒๐๕๖ สมเด็จพระรามาธิบดี สวรรคต ได้จัดพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพด้านเหนือพระนคร ณ ทุ่งพระเมรุที่ถวายพระเพลิงนั้นพระอินทราชาพระอนุชาพระอาทิตยวงศ์จึงร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์สร้างวัดหน้าพระเมรุถวายเป็นพระราชกุศล เมื่อพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ขึ้นครองราชย์สถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเป็นพระองค์ที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ จึงโปรดให้พระอนุชาคือเจ้าฟ้าไชยครองเมืองพิษณุโลกดูแลหัวเมืองเหนือแทนโดยไม่ได้สถาปนาเป็น พระอุปราช แต่ทรงแต่งตั้งพระรัษฎา ราชโอรส เป็นอุปราช ทำให้เจ้าฟ้าไชยพระอนุชาไม่พอพระทัย พระบรมราชาอยู่ในราชสมบัติเพียง๔ ปีก็สวรรคตด้วยไข้ทรพิษ ขุนนางอำมาตย์จึงสถาปนาพระมหาอุปราชคือพระรัษฏาขึ้นครองราชย์ตามราชประเพณี ขณะพระชนม์ ๕ ชันษาพระนามว่า สมเด็จพระรัษฏาธิราชเป็นพระองค์ที่๑๒ โดยมีพระราชมารดาสำเร็จราชการแทน ท่ามกลางความหวั่นวิตกที่ไม่สามารถควบคุมขุนนางได้ อยู่ในราชสมบัติได้ ๕ เดือนเศษ พระไชยราชาก็นำทัพจากพิษณุโลกเข้าทำรัฐประหารจับสมเด็จพระรัษฏาธิราช สำเร็จโทษ และพระองค์ก็ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามสมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น