ก่อนถึงเรื่องป่า ขอเล่าเรื่องสวนก่อน
ข้าพเจ้าเกิดมาไม่ได้เติบโตมากับป่าแต่อย่างใด
แต่เกิดมาอยู่กับน้ำและสวนมะพร้าวที่เมืองแม่กลอง
แต่ก็มีความรักทั้งสายน้ำทั้งป่าไม้และภูเขาไม่รู้ว่ารักตั้งแต่
เมื่อใดที่วัดเกาะแก้วสถานที่ไล่ทหารเกณฑ์จับใบดำใบแดงก็มียางนาสูงใหญ่นับ
สิบต้นสวยสง่างามมาก(วันนี้ถูกตัดไปเกือบหมด)
รู้ว่ารักจริงจังก็เมื่อมีโอกาสเป็นหัวหน้าชุดลาดตระเวนป่าไม้เพื่อป้องกัน
และปราบปรามการบุกรุกป่าสงวนการลักลอบตัดไม้และทำไม้ในผืนป่าแห่งสุดท้ายของ
ภาคตะวันออก ในวัยเด็กอยู่กับสายน้ำทั้งแม่น้ำลำคลองได้ใช้ทั้งอาบทั้งเล่นด้วยมีบ้านติด
ลำคลองแถมมีสวนมะพร้าวที่ขุดท้องร่องสวนเอาไว้อีกเดินทางไปไหนก็ใช้เรือทั้ง
เรือสำปั้นใช้พายเรือจ้างใช้แจวเรือมาดใช้แจวและเครื่องrotacที่บ้านมีทั้งหมดที่กล่าวมา
ลงจากบ้านมาก็มีแต่สวนมะพร้าว ทั้งมะพร้าวเก็บผล ทั้งมะพร้าวทำน้ำตาล ในสวนมีต้นไม้ที่พอเรียกว่าคล้ายต้นไม้ในป่าก็มีแค่ต้นกระถินต้นมะม่วงต้นขนุน
ต้นสะเดา ต้นข่อย ต้นขี้เหล็กและต้นนุ่น ไม่เห็นมีต้นอะไรนอกจากนี้ สวนมะพร้าวมีการตั้งชื่อร่องสวน
และต้นมะพร้าวที่มีลักษณะเด่นๆด้วยต้องการให้จดจำตำแหน่ง
และใช้ประโยชน์อื่นๆเป็นพิเศษ เช่น ชื่อต้นมะพร้าวว่า
อีแดง(ลูกมีสีน้ำตาลแดง)จุกมังคุด(ขั้วมะพร้าวคล้ายจุกมังคุดและขั้วเหนียวผลหล่นยาก)
บ้าทะเล(น้ำตาลออกมากกว่าต้นอื่น) เวลาเก็บมะพร้าวที่สวนก็ข้ามสะพานที่พาดท้องร่อง
สะพานนี้เป็นไม้ยาวหนึ่งท่อนทำจากต้นกระถินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสามหรือสี่นิ้วเวลาข้ามก็วิ่งข้ามเร็วเพราะเดินข้ามช้าๆจะเซตกน้ำ ที่ กล่าวมาเป็นความใกล้ชิดธรรมชาติน้ำ ดิน ต้นไม้
ส่วนภูเขาได้เห็นครั้งแรกเมื่อแม่ไปคลอดน้องชายของข้าพเจ้าที่โรงพยาบาล
ราชบุรีคือบ้านอยู่แม่กลองแต่เตี่ยบอกว่าโรงพยาบาลแม่กลองเหมือนโรงฆ่าสัตว์
คงมีคนบอกต่อกันมาว่าใครได้เข้าต้องตายเสียส่วนมาก(สมัยนั้นนะครับ)เวลาเจ็บ
ป่วยคลอดลูกเลยต้องไปโรงพยาบาลราชบุรีทุกครั้งแต่ถ้าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ไปหา
หมอฉวีที่อนามัยวัดบางใหญ่
หรือกวาดยาที่คอก็บ้านหมอเฉลิมชัยอยู่คลองบางน้อยถ้าแข้งขาบวมไร้สาเหตุก็
พ่นด้วยน้ำหมากที่บ้านป้าอุ่ม
แม่ไปคลอดน้องที่ราชบุรีออกจากบ้านด้วยเรือมาดใหญ่ติดเครื่องโลแทคสูบเดียว
เตี่ยเป็นคนขับเรือข้าพเจ้ากับพี่สาวนั่งเป็นเพื่อนแม่ไปด้วยจากบ้านประมาณ
เที่ยงคืนถึงท่าน้ำหน้าค่ายภาณุรังสีเช้ามืดเตี่ยพาแม่ไปโรงพยาบาลข้าพเจ้า
เฝ้าเรืออยู่สองคนกับพี่สาวพอสายๆหน่อยได้เห็นแม่น้ำแม่กลองกว้างมากๆน้ำใส
เห็นภูเขาอยู่ไกลๆ เป็นการเห็นภูเขาครั้งแรกในชีวิต
อีกหลายปีต่อมาเมื่อรัฐบาลตัดถนนสายแม่กลอง-บางแพ
ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นได้นั่งรถสองแถวดำเนิน-แม่กลองไปไหนๆได้หมดทีนี้
เวลาป่วยก็นั่งรถสองแถวไปลงที่แม่กลองแล้วต่อรถบัสแม่กลอง-ปากท่อ-ราชบุรี
พอรถข้ามสะพานยาว(สะพานพุทธเลิศหล้านภาลัย)ก็เห็นภูเขาตะนาวศรีแล้วพอผ่าน
ปากท่อทีนี้นั่งรถหันหน้าซ้ายตลอดดูภูเขาไปจนถึงราชบุรีมีภูเขาในเมือง
ด้วย(เขาวัง)รู้สึกชอบเอามากๆ
ส่วนป่าได้สัมผัสครั้งแรกตอนเรียนประถมห้าประถมหกไปทัศนะศึกษาที่พระพุทธบาท
สระบุรี แล้วได้แวะที่สวน พฤกษศาสตร์พุแค
โอ้โหป่ามันเป็นอย่างนี้นี่เองสุดยอดสวยมากต้นไม้สูงตระง่านมากมาย
อีกปีก็ไปทัศนะศึกษาที่น้ำตกเอราวัณครั้งนี้ประทับใจมากๆเห็นทั้งภูเขา น้ำตก
แม่น้ำแคว สะพานรถไฟ พอเรียนมัธยมที่โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย ม.ศ.สองครั้งนี้ประทับใจสุดๆตอนไปค่ายลูกเสือหาดวนกร
พักแรมที่ชายหาด และที่กลางป่าห้วยยางข้างลำธาร
คงรู้สึกรักป่ารักต้นไม้มากจนอยากอยู่ในป่าไม่อยากอยู่ในเมืองและจบลงด้วย
การจากป่าห้วยยางกลับบ้านจนถึงวันนี้ยังไม่มีโอกาสกลับไปเยี่ยมเยียนห้วยยาง
อีกสักครั้งหนึ่งเลย อีกครั้งหนึ่งมากับรถทัศนาจรฤดูผลไม้จากวัดโตนดราย
แม่กลองมาเที่ยวที่วัดเกวียนหัก อำเภอขลุง
เห็นสวนเงาะสวนทุเรียนและป่าเขาน้ำตกพลิ้ว
มันสุดยอดมากจนเรียนจบมัธยมศึกษาตอนต้นปี 2523
ข้าพเจ้าได้ใช้ชีวิตท่ามกลางขุนเขา ชายหาด ทะเล และเกาะ ก็ด้วยมาเป็นนักเรียนจ่า ณ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ เกล็ดแก้ว
อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โอ้โหทางเข้าโรงเรียนจากสุขุมวิทถึงเกล็ดแก้วสองข้างทางเต็มไปด้วยต้นประดู่ป่า(ดอกเหลืองทองต้นสูงใหญ่
ต่างจากประดู่กิ่งอ่อนที่ใบใหญ่ต้นแคระดอกใหญ่สีเหลืองสดกว่าประดู่ป่าแต่ต้นจะไม่แข็งแรงมักตายเมื่อถึงช่วงอายุมาก)
ยางนา และมีต้นมะค่า
ที่โรงเรียนชุมพลนี้ช่วงเย็นสุดสัปดาห์ครูฝึกที่พวกเราเรียกท่านว่านายตอน
มักพาวิ่งระยะไกลขึ้นเขาลงห้วยจากเกล็ดแก้วไปบางเสร่บ้าง เขาน้อยหาดทรายแก้วบ้าง ป่าเขาธรรมชาติล้วนๆ ปัจจุบันหาดทรายแก้วยังมีความสวยงามคงอยู่
ด้วยอยู่ในค่ายทหารการค้าพานิชยังไม่มาเปลี่ยนแปลงสภาพเหมือน พัทยา
บางแสนช่วงเป็นนักเรียนจ่าสองปีนี้อยู่กับธรรมชาติจริงๆ ปีนั้น 2524-25 สัตหีบยังเงียบสงบ
ถนนสองเลนที่ฝึกเดินแผนที่เข็มทิศใช้ป่าเขาและไร่มันย่านเขาชีจรรย์เขาหินแนวถนนสาย332เขาหินมีแต่ไม้รกทึบปัจจุบันเชิงเขาถูกถากถางทำไร่ทำบ้านสไตล์คันทรีมีแต่บ้านจัดสรรและบ้านผู้มีอันจะกินเช่น
เจ้าพ่อเพลงเพื่อชีวิตที่ร้องเพลงรักธรรมชาติเสียเหลือเกิน บ้านนายพลเรือ ทนายความ
เป็นต้น
มีบ่อยครั้งได้วิ่งทางไกลจากโรงเรียนจ่านย.ขึ้นเขาแหลมปู่เจ้าไปไหว้ศาลกรมหลวงชุมพรเส้นทางนี้ก็เป็นป่าเขาสวยงามมาก
ปัจจุบันยังคงสภาพป่าอยู่ด้วยเป็นเขตทหารและเป็นที่ตั้งใหญ่ของทหารนาวิกโยธิน
ช่วงฝึกภาคปลายดำรงชีวิตตามเกาะแก่งก็สุดยอด
นอนบนเกาะแบบท้องหิวเป็นแบบเรียนที่ต้องพร้อมเผชิญเมื่อเรียนจบออกสู่สนามรบ
เป็นทหารปืนใหญ่ต้องฝึก ต้องดูแลสนามฝึกยิงปืนใหญ่อำเภอโป่งน้ำร้อน
ที่เต็มไปด้วยป่าดงดิบมีพรรณไม้นานาชนิดเป็นป่าสมบูรณ์ที่กองทัพขอนุญาต กรมป่าไม้ ใช้
ซึ่งป่าไม้ของสนามยิงปืนแม้ถูกลักลอบบุกรุกทำลายไปบ้างแต่ยังคงสภาพเป็นป่ามีทหารพรานนาวิกโยธินดูแลรักษา
หากเปิดแผนที่ภูมิประเทศมาตาส่วน 1/50,000ขอบเขตสนามยิงปืนใหญ่นั้นยังระบายเป็นสีเขียวซึ่งพื้นที่รอบๆเปลี่ยนสภาพเป็นไร่เป็นสวนของชาวบ้านหมดสิ้น
กองร้อยปืนใหญ่ที่
3
คลองตาคง
ตุลาคม
ปีพ.ศ.2526
ได้รับคำสั่งให้ไปปฎิบัติราชการที่กองร้อยทหารปืนใหญ่ ที่๓
คลองตาคงเดินทางจากสัตหีบแต่เช้า เวลาบ่ายขบวนเดินทางถึงแยกอำเภอโป่งน้ำร้อนเป็นครั้งที่สองที่มาเห็นอำเภอ
โป่งน้ำร้อน ก่อนถึงตลาดทับไทร
เราต้องข้ามช่องเขาเกลือที่ยอดเขาเกลือมีด่านความมั่นคงของทหารและตำรวจคอย
ตรวจตรารถผ่านไปมาถนนสายสระแก้ว-จันทบุรีช่วงตั้งแต่วัดโป่งโรงเซ็นก่อนขึ้น
เขาเกลือจนถึงยอดเขาเกลือบ้านมาบคล้าทั้งสองฝั่งถนนเป็นป่าเขียวขจี
ต้นไม้ใหญ่ยืนตระหง่านจากหุบเหวสูงกว่าแนวถนนเสียอีกเลยมาบคล้าด้านซ้ายมือ
เป็นแนวเขาสอยดาวสูงเทียมเมฆผมมองดูด้วยความรู้สึกตื่นตากี่ครั้งผมก็ดูไม่
เบื่อมันให้ความรู้สึกสงบ เย็น สบายใจ
เมื่อถึงตลาดทับไทรเราต้องเลี้ยวขวาเข้าถนนลูกรังเส้นทางนี้มุ่งสู่หนองบอน
บ้านผักกาด บ้านบึงชะนัง เส้นทางเป็นรูปตัวยูมุ่งออกถนนสาย317อีกครั้งที่บ้านตามูลขบวนเดินทางมุ่งไปยังบ้านพญากัมพุชที่พญากัมพุชเป็นศูนย์อพยพชาวกัมพูชาและเป็นที่ตั้งหน่วยใหญ่ของเรารถเอ็ม35จี เอ็มซีต้องเล่นด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะช่วงข้ามคลองทัพไทรจะขึ้นเนินแล้ว
ลงเนินยาวถนนลูกรังหน้าฝนเดือนตุลามันลื่นรอยล้อรถลากซุงของบริษัทศรีมหา
ราชาตะกรุยขึ้นเนินจนเป็นร่องลึกทั้งถนนก็เป็นหล่มข้างทางก็เป็นทางน้ำไหล
ขนาดรถจีเอ็มซีทหารยังลื่นส่ายไปมาภาพในวันนี้ไม่เหลือแล้วเพราะทางการลาด
ยางตลอดทั้งเส้นทางลงเนินมาถึงโค้งเป็นทางแยกเข้าหน่วยทหารพรานนาวิก
โยธิน(ทหารพรานตอนนั้นใช้เครื่องแบบลายพราง)ก่อนถึงค่ายทหารพรานเป็นที่ตั้ง
กองร้อยปืนใหญ่ที่3ที่นี่ผมและเพื่อนนักเรียนจ่ารุ่นเดียวกันอีกเกือบสิบคนต้องมาประจำการตลอดปี2526
จากทางแยกถนนใหญ่เข้ากองร้อยด้านซ้ายมือเป็นเนินที่มีป่าล้อมรอบเป็น
ที่ตั้งตอนปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน๔๐มิลลิเมตรส่วนฝั่งตรงข้ามตอน
ปตอ.เป็นเรือนแถวที่พักคนงานปางไม้ของบริษัทศรีมหาราชาและกองไม้ซุง
รวมทั้งมีช้างหลายเชือกอยู่ในปางไม้นี้ด้วย ถัดจากปางไม้เป็นที่ตั้งกองร้อยในบริเวนที่ตั้งเป็นที่ราบมีอาคารสโมสรบ้าน
พักและโรงครัว
ถัดจากที่ราบไปทางตะวันออกเป็นเนินเขาเตี้ยๆเป็นที่ตั้งบังเกอร์ศูนย์อำนวย
การยิงผมพักอยู่ที่นี่เหละ เนินนี้กลุ่มงานของเราสร้างกระท่อมอยู่เรียงราย
ลงเนินไปในหุบด้านล่างเป็นกระท่อมกลุ่มงานสื่อสารและขึ้นเนินเขาอีกลูกจาก
หุบสื่อสารเป็นที่ตั้งหมู่ปืนใหญ่ เรียงรายไปตามสันเนิน
ปีกขวาเป็นที่ตั้งตอนปืนกลต่อสู้อากาศยานขนาดครึ่งนิ้ว
บนเนินนี้มีต้นไม้เต็มเนินนอกจากให้ร่มเงาแล้วยังเป็นเครื่องมือพรางที่ตั้ง
ปืนอย่างดีอีกด้วยฝั่งตรงข้ามถนนที่ตั้งกองร้อยของเราเป็นป่าเขตสนามยิงปืน
ที่วันนี้ยังคงสภาพป่าด้วยได้รับการดูแลจากหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน
ส่วนที่ตั้งปืนวันนี้หลังจากเกิดความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนจำเป็นต้องถอน
ปืนออกจากที่ตั้งด้วยเป็นป่านอกเขตสนามยิงปืนทำให้ประชาชนบุกรุกปลูกพืชทำ
กินขายเปลี่ยนมือไปหลายรอบบางส่วนมีนายทหารใหญ่เกษียณอายุครอบครองในวันนี้
อาจออกโฉนดแล้วหรือยังไม่ทราบเหมือนกัน เสียดายป่าเหลือเกินแต่ได้ต้นลำไยมาแทนที่
ที่กองร้อยปืนใหญ่ที่ 3 นี้
ได้เห็นการชักลากไม้ซุงออกจากป่าการบรรทุกซุงด้วยรถบรรทุกซุงที่มีโครงไม้รูปร่างแปลกตาด้านหลังและการใช้ช้างลากไม้
เขาทำไม้กันเหมือนตัดแล้วพรุ่งนี้ก็มีให้ตัดอีกไม่มีวันหมดเหมือนการหล่อเสาคอนกรีตตัดแล้วก็ตัด
ลาก บรรทุกตัดลากบรรทุก หมอนไม้กองเป็นภูเขา
จากปากทางเข้าปางไม้นี้รถบรรทุกท่อนซุงจะออกมาจากป่าฝั่งตรงข้ามปางไม้
เราเรียกช่องทางนี้ว่าบ้านป่าในฝันมาจนถึงทุกวันนี้
ผมมีโอกาสเข้าป่าตามช่องทางชักลากไม้บ้านป่าในฝันเมื่อผู้กองสมชาย เมฆสุวรรณและรองสมพงษ์
แสงมหาชัยต้องการสร้างบ้านพักให้กำลังพลในฐานของเรา
และปรับปรุงสโมสรกองร้อยที่เป็นที่พักผ่อนดูทีวีและขายขนมและเครื่องใช้จำพวกสบู่ยาสีฟันเอาไว้บริการพวกเรา
รองสมพงษ์จ่ายงานตอนแถวตรวจบัญชีพลเช้าให้จัดพลทหารและผู้ควบคุมไปตัดไม้ขนาดเล็กในป่าเพื่อสร้างกระต๊อบ
ตัดไม้ระกำป่ามากั้นฝาสโมสร พวกเราหกเจ็ดคนที่จำได้ก็พี่ จ่าเอกสถิตย์ นามสกุลกองพัน
เป็นผู้ควบคุมรุ่นน้องและพลทหารเป็นแรงงานตัดไม้
เมื่อ
เข้าจะเข้าป่าต้องผ่านบ้านป่าในฝันเข้าไปไม่นานนักต้องข้ามลำธารเล็กๆด้วยสะพานไม้ซุงผ่าซีกสอง
ข้างทางเป็นป่าและกองซุงเราไปจนสุดทางในป่าพบคนตัดไม้ของบริษัทศรีมหาราชา
เจ้าของสัมปทานไม้ ป่ารกทึบแหว่งเป็นหย่อมๆเห็นท้องฟ้าขาวจากไม้ใหญ่ถูกโค่น
ได้เห็นมะไฟป่าเก็บกินแก้หิวลำธารน้ำใสมีป่าระกำขึ้นเป็นแนวตามลำธารยังจำ
ได้ว่าเราช่วยกันตัดและริดหนามระกำออกท่ามกลางสายฝนพรำๆ ป่านี้จากวันนั้นปี 2526 วันหนึ่งในปี 2551 ผมเป็น
ผบ.หมวดปืนเล็กได้เดินทางเข้าไปอีกครั้งกับผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินจันทบุรี
มันเป็นสวนเป็นบ้านชาวบ้านหมดแล้วสงสัยหลักการทำสัมปทานป่าไม้ตามหลักวิชาการตัดแล้วปลูกทดแทนมันไม่มีอยู่จริง
เป็นนิยามใหม่ที่เป็นความจริงว่าตัดไม้กรุยทางป่าให้คนงานปางไม้บ้างนายทุนบ้างคนต่างถิ่นบ้าง
ถางไม้ออกทั้งหมดจับจองทำไร่ ทำสวน
จนหมดสภาพป่าทั้งๆที่ยังมีฐานะเป็นป่าสงวนตามกฎหมาย คงไม่ใช่ที่นี่ทีเดียวของประเทศ
เข้าป่าสนามยิงปืนใหญ่บ้านพังงอน
สนาม
ยิงปืนใหญ่บ้านพังงอนเป็นป่าไม้ที่กองทัพเรือขออนุญาตกรมป่าไม้ใช้ประโยชน์
เพื่อเป็นสนามฝึกยิงปืนใหญ่สนาม กินอาณาบริเวณตั้งแต่บ้านพังงอน บ้านดงจิก
บ้านคลองคต บ้านแสมดในด้านทิศเหนือ ด้านตะวันออกจากบ้านแสมด บ้านทรัพย์ประเมิน
บ้านเขาหอม บ้านใหม่ถึงบ้านพญากัมพุช ด้านทิศใต้จากบ้านพญากัมพุช คลองกระชาย
บ้านคลองตาคง ค่ายเทวาพิทักษ์ทหารพรานนาวิกโยธินบ้านทับไทร
ส่วนทิศตะวันตกตั้งแต่บ้านทับไทรถึงบ้านพังงอน รวมเนื้อที่ประมาณ 37,00ไร่
พื้นที่ประกอบด้วยเนินเขาสลับพื้นราบมีป่าไม้ที่สำคัญได้แก่ประดู่ป่า ไม้ยางนา
ไม้แดง ไม้ตะแบก ไม้มะค่าและไม้อื่นๆอีกหลากหลายประกอบเป็นป่า
ส่วนเนินเขาที่เป็นเป้าหมายยิงกระสุนปืนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าคามีเนิน จอลอหนึ่ง
จอลอสอง เนินสามร้อย เนินจิ๋ม เนินแอล มีอาคารจุดตรวจการณ์หน้าที่หนึ่ง
และเนินเขาตรวจการหน้าที่สอง
ด้านบ้านเขาหอมมีเนินเขาสูงชันชื่อว่าเขาเจ้าสุดเป็นที่ตั้งหมุดหลักฐานใน
การทำงานแผนที่สามเหลี่ยมบนยอดเขาทางขึ้นเขาอยู่ตรงสระน้ำระหว่างบ้านเขาหอม
กับบ้านทรัพย์ประเมิน ด้านขวา
จอลอหนึ่งเป็นหมู่บ้านชื่อบ้านใหม่มีเขาควายปละกั้นเขตแดนสนามยิงปืนกับที่ ทำกินของชาวบ้านที่เป็นสวนลำใยส่งออกไปจีน
ป่าสนามยิงปืนเป็นเขตหวงห้ามไม่ให้ชาวบ้านหรือสัมประทานไม้เข้าตัดทำลายจึง
ยังมีความสมบูรณ์หากมองในแผนที่Google หรือแผนที่ภูมิประเทศ ๑/๕๐,๐๐๐ จะเห็นขอบเขต เป็นป่าเขียวขจี อยู่ด้านขวาทางหลวงหมายเลข ๓๑๗และเขาสอยดาวใต้โดยกองพันทหารปืนใหญ่กองกำลังจันทบุรี-ตราด
และชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินเป็นผู้รับผิดชอบลาดตระเวนตรวจตราไม่ให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่าทำไร่
ซึ่งก็ต้องเข้มงวดเป็นพิเศษกับชาวบ้านโดยรอบและข้าราชการที่มีที่ดินติดป่าผืนนี้คอยลักลอบเข้าไปตัดไม้
โดยเฉพาะประดู่ป่าและไม้แดง ที่มาแปรรูปเป็นเสาเรือน ไม้พื้น วงกบประตูหน้าต่าง
ไม้เครื่องบนชั้นดี
ผมชี้ได้เลยว่าบ้านหลังไหนตัดไม้จากป่าสนามยิงปืนมาปลูกบ้านที่ร้ายกว่านั้น
ในสมัยหนึ่ง มีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลป่าไม้นี้ลักลอบให้นายทุน
และจ้างคนตักไม้ทั้งไม้ประดู่ทำไม้แปรรูป ไม้แดงทำเสา
ไม้แดงขนาดเล็กทำไม้เสาค้างพริกไทยส่งลงมาที่ท่าใหม่
แต่สุดวิสัยของผมที่จะทัดทานหรือจับกุมด้วยไร้ซึ่งอำนาจและทั้งผู้มีหน้าที่ละเลย
มีผู้กองที่ผมนับถือท่านหนึ่งถึงกับเบื่อหน่ายเรื่องการจับกุมคนตัดไม้ทำถูกมีความผิดทำผิดสบายใจ
ถึงกับหาช่องทางไปทำงานเอกชนลาออกจากราชการทหารที่เส้นทางของท่านดูแล้วน่าจะเจริญก้าวหน้าด้วยท่านเป็นคนเก่ง
จริงจัง รักลูกน้อง รบเก่งแต่ท่านก็ลาออก
เพื่อนๆรุ่นท่านวันนี้เป็นนายพลเรือกันหลายคน
ปัจจุบันท่านเป็นมะเร็งเสียชีวิตไปนานหลายปี ด้วยเป็นลูกพี่ที่ผมรัก
มีใจผูกพันด้วยเคยร่วมรบกันมา วันหนึ่งช่วงชีวิตสุดท้ายได้แวะเข้าไปเยี่ยมท่านที่แฟลตแถวบ้านโรงโป๊ะเหมือไปเยี่ยมท่านครั้งสุดท้าย
ท่านบอกว่ากำลังคิดถึง ส่วนผมก็ไม่เคยแวะหาท่านเลยในรอบสิบปี
วั้นนั้นไม่รู้นึกอย่างไรจึงแวะหาท่าน
ถัดมาอีกไม่นานอ่านหนังสือนาวิกศาสตร์เห็นชื่อท่านปรากฏในหน้ารายชื่อผู้เสียชีวิตของสมาชิกฌาปนกิจกองทัพเรือ วันหนึ่งที่กองร้อยปืนใหญ่ที่1
ผมต้องพาลูกน้องห้าหกคน ตามคำสั่ง
ผบ.ร้อยให้สำรวจหลักเขตพื้นที่ป่าสนามยิงปืนที่รับผิดชอบด้านบ้านแสมดถึง บ้านดงจิก
บ้านพังงอน เข้าป่าตรวจหลักเขต และตรวจผู้รักลอบตัดไม้ รถจีเอ็มซีสองตันครึ่งพาคณะของเราไปปลายทางที่ดงจิกเลาะขอบป่ามายังบ้านแสมด
ตรวจหลักเขตสนามยิงปืนกองทัพเรือส่วนใหญ่ป่าที่ติดที่ทำกินชาวบ้านจะถูกแผ้ว
ถางและไถล้ำเข้ามาปลูกมันสำปะหลังบ้างเป็นหย่อมๆหลังหมู่บ้านคลองคตมีช่อง
ทางเข้าป่าเพื่อชักลากขนไม้เราพบการตัดไม้แดงทำเสาถึงสิบสองต้น กล่อมเป็นเสาจนสวยคงมีใครจะยกบ้านใหม่
เดือดร้อนต้องวิทยุเรียกกำลังจากกองร้อยมายกไม้หนึ่งต้นยกขึ้นรถด้วยคนเป็น
สิบแถมยาวกว่ากะบะออกมามากจนไม้กระดกลงดินต้องใช้เลื่อยตัด
วันนั้นเหนื่อยกับการตรวจยึดไม้ของกลาง
เป้นความลำบากจับคนก็ไม่ได้แถมต้องเสียแรงขนไม้ออกมาเก็บเป็นของกลางอีก
เราเจอเรื่องแบบนี้บ่อยมาก บ้างครั้งก็เป็นไม้แผ่น
แล้วที่เราตรวจไม่พบอีกมากกว่าหลายสิบเท่า
ที่บ้านดงจิกพบตอประดู่ป่าในดงประดู่(ป่าทั้งดงเป็นประดู่หลายสิบต้น)และปีก
ไม้ที่เปิดออกแปรรูปเป็นไม้แผ่นต้นขนาดสามสี่คนโอบน่าเสียดาย ถึงวันนี้การลักลอบตัดไม้น้อยลง
เพราะตัดกันจนหมดแล้วเหลือแต่ไม้ที่ไม่มีค่าต้นตะแบก ต้นงิ้ว ต้นแต้ว ต้นกระโดน
และไม้ปะดู่ ไม้แดงต้นเล็กๆ
ซึ่งต้องคอยตรวจพวกเผาถ่านไม้ให้ดีเจอเตาในป่าต้องทุบทำลาย
ปัจจุบันมีกองร้อยทหารพรานรับผิดชอบตั้งฐานเฝ้าในป่าเลย สถานการณ์คงดีขึ้น
ป่าแตกขวางอิทธิพลขบวนการรุกป่าขุนซ่อง
รอบนี้ทำหน้าที่หัวหน้าชุดอยู่ด่านบ้านแหลมครบ 10 วัน
ลงมาพักที่กองพันทหารราบ ฉก.นย.จันทบุรีคลองตานีอีก10วันก็จะถึงกำหนดวันลาพักได้กลับบ้านอีก10วัน ลงมาพักที่
กองพันมีงานจรที่ผบ.ฉก.สั่งสั่งการเฉพาะลงมาส่วนใหญ่ก็จะเป็น เรื่องลาดตระเวนไปจับกุมการบุกรุกป่าสงวน
การตัดไม้ในพื้นที่ อ.โป่งน้ำร้อน และอ.สอยดาว เมื่อมีสายข่าวแจ้งเข้ามา ช่วงนี้
ชุดปฎิบัติการพิเศษของ ศปศ.61แจ้งข่าวการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนป่าขุนซ่อง
อุทธยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น เข้ามา ผบ.ร้อยเชิญผมเข้าพบเพื่อมอบหมายภารกิจจัดกำลังชุดลาดตระเวนหาข่าวและตรวจค้น
จับกุมผู้บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนท้องที่ อ.แก่งหางแมว โดยจัดเป็นสองชุดลาดตระเวน 2ชุด มีผมและ ร.ท.ชูชาติ
พรพึ่งเป็นหัวหน้าชุดผู้กองเป็นผู้ควบคุมการปฎิบัติการครั้งนี้ในฐานะเจ้าหน้าที่ป่าไม้ตาม
พรบ.ป่าไม้
การปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการจู่โจมหวังผลจับกุมและหยุดยั้งผู้บุกรุกป่าสงวน
เราสนธิกำลังที่ บก.พันทหารราบ คลองตานี บ่ายแก่ๆ
ก็เคลื่อนกำลังพลและเสบียงที่พอเลี้ยงดูสองสามวัน ด้วยรถปิคอัพ4 คัน
เป้าหมายค้างแรมที่ชุดเฝ้าตรวจสนามยิงปืนบ้านจันทเขลม ผู้กองวางแผนให้พวกเราเข้าพื้นที่อ.แก่งหางแมวโดยเลือกเข้าฐานปฏิบัติการวัดโป่งขนมจีน
โดยมีชุดปฏิบัติการพิเศษในพื้นที่ติดต่อเจ้าอาวาสขอใช้พื้นที่ตั้งฐานปฏิบัติการ
และพวกเราต้องอยู่พักแรมที่วัดโป่งขนมจีนจนจบภารกิจ
เราใช้เส้นทาง 317จากปากทางเข้า ศปศ.61เลี้ยว
ขวา ถึงแยกอำเภอมะขามไปอำเภอคิชกูฏเลี้ยวขวา
เส้นทางนี้จะไปสิ้นสุดที่ตลาดอำเภอคิชกูฏเลี้ยวซ้ายจะไปแยกเขาไร่ยา
เราเลี้ยวขวาเพื่อมุ่งตรงไปยังสนามยิงปืนบ้านจันทเขลม
เขารอข่าวสารที่ชุดเฝ้าตรวจนี้จนค่ำจึงวางแผนที่จะเข้าพื้นที่ปฏิบัติการใน
ช่วงเช้ามืดเพื่อปกปิดการรับรู้ของชาวบ้านแก่งหางแมวถึงการมาตรวจการบุกรุก
ป่าสงวนจึงได้ค้างคืนที่ชุดเฝ้าตรวจนี้โดยตื่นขึ้นประมาณ0300
ชุดหุงหาอาหารก็เตรียมข้าวใส่ถุงให้พร้อมเพื่อปฏิบัติการตั้งแต่เช้า
ถึงเที่ยงที่จะถึงอีกไม่กี่ชั่วโมง พวกเราจึงเดินทางออกจากสนามยิงปืน จัน ทเขลมมุ่งสู่วัดโป่งขนมจีนเข้าฐานพักไม่ทันสว่างหมวดเลอพงษ์หัวหน้าชุด
ปฏิบัติการพิเศษที่บ้านหินดาษพร้อมตาเจ๊กสายข่าวที่จะนำทางไปยังพื้นที่ป่า
เขาสิบห้าชั้นด้านคลองยางที่มีการบุกรุกนับร้อยไร่ เราแบ่งชุดสนับสนุน
พวกหุงหาจัดข้าวของเตรียมอาหารกลางวันที่วัดโป่งขนมจีนส่วนชุดลาดตระเวน สองชุดทั้งหมวดชูชาติ
และชุดของผม แยกกันไปตามพิกัดที่หน่วยเหนือสั่งให้ตรวจสอบ
ชุดของหมวดชูชาติพร้อมผู้กองน๊อตไปตรวจพื้นที่ป่าด้านวัดเขารุ่งโรจน์โอบ
ขึ้นเหนือไปบ้านคลองยาง
ส่วนชุดของผมพร้อมสายข่าวจะบุกเข้าที่หมายหลังบ้านคลองยางหมู่บ้านที่สาย
แจ้งว่าเป็นมือถากถางป่าให้นายทุนโอบลงใต้ไปบรรจบกับชุดหมวดชูชาติ
สภาพป่าด้านคลองยางยังรกทึบมีไม้ใหญ่นานาชนิดรวมทั้งตะแบกเต็มพรึดทั้งป่ามีตอกันเกราที่ถูกตัดจากสัมปทานไม้ในอดีตอยู่เต็มไปหมด
มีป่าถูกบุกรุกปลูกยางพาราอยู่หลายแปลงเมื่อลาดตระเวนลึกเข้าไปยังพิกัดเป้าหมายที่ได้รับแจ้งว่ามีคนงานลักลอบถากถางป่า
กานโคนไม้จำนวนมากนับร้อยไร่ จนสายเราจึงพบ
การพ่นสีฟ้าเป็นขอบเขตว่าแปลงนี้กี่ไร่ใครจับจอง
เราเร่งตรวจสอบพื้นที่พบต้นกระพ้อที่เป็นไม้คล้ายหมากถูกตัดฟันเกลื่อนไปทั่ว
วันนี้พบหลักเขตปั๊มอักษร ชป.แสดงเขตชลประทาน จนเที่ยงเราไม่พบผู้กระทำความผิดพบแค่การพ่นสีสเปรย์และตัดต้นกระพ้อ
ตกลงถึงเที่ยงสองชุดไม่สามารถฝ่าดกไม่รกทึบไปบรรจบกันได้
เที่ยงรถที่ให้มารับกลับฐานปฏิบัติการวัดโป่งขนมจีนมาถึง
เราเหนื่อยกับการบุกป่ากันมากเมื่อกินข้าวอาบน้ำเสร็จก็วางแผนการลาดตระเวนต่อในเช้าวันรุ่งขึ้น
จากผลการลาดตระเวนวันนี้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีการบุกรุกป่าจริงเป็นพื้นที่มากด้วย
และขบวนการแผ้วถางคงหนีออกจากป่าเมื่อสายข่าวในหมู่บ้านคลองยางแจ้งถึงการเดินทางมาของทหาร
แต่เป็นการยากที่จะจับกุมหากพบตัวเพราะป่าทั้งรกทึบทั้งกว้างใหญ่มีเส้นทางชักลากไม้เก่าอยู่เต็มไปหมด
การลาดตระเวนวันนี้รวมชุดทั้งหมดไปหมู่บ้านคลองยางปูพรมเข้าเขตป่าเขาสิบห้าชั้น
ป่ารอยต่อ5จังหวัดภาคตะวันออกป่าผืนสุดท้ายใกล้เมืองกรุง
ในปี พ.ศ. 2510
สงครามเวียดนามได้อุบัติขึ้น
ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ร่วมรบโดยเป็นสัมพันธมิตรกับฝ่ายเวียดนามใต้
ต้องการความรวดเร็วในการขนย้ายกำลังพล อาวุธและยุทโธปกรณ์จากท่าเรือสัตหีบ
และสนามบินอู่ตะเภาไปยังฐานทัพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เพื่อไปยังสมรภูมิในเวียดนาม
จึงได้ร่วมกับรัฐบาลไทยตัดเส้นทางผ่านป่าพนมสารคามทางตอนเหนือจากพนมสารคามไปยังนครราชสีมา
ผ่านกบินทร์บุรีและปักธงชัย ทำให้ตอนเหนือของป่าแห่งนี้ ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก
และยังทำให้ป่าสองข้างทางที่ถนนตัดผ่าน ไม่ว่าจะเป็นป่าเขาใหญ่ ป่าทับลาน
และป่าเขาภูหลวงถูกบุกรุกทำลายบางแห่งถึงกับมีการเข้าไปตั้งชุมชนกลางป่าสมบูรณ์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้มีการตัดถนนหมายเลข317เพิ่มทางด้านตะวันออกของป่าพนมสารคามจากสระแก้ว ผ่านวังน้ำเย็น ปะตง
โป่งน้ำร้อน ไปยังจันทบุรี ผลกระทบที่เกิดจากการตัดถนนเส้นนี้ไม่แตกต่างจากถนนมิตรภาพที่ตัดผ่านดงพญาไฟจนกลายเป็นดงพญาเย็นในปัจจุบัน
ชุมชนใหญ่น้อยได้ผุดขึ้นสองข้างทาง
วังน้ำเย็นที่เคยเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กกลางป่าก็กลายเป็นกิ่งอำเภอ
และเป็นอำเภอวังน้ำเย็นในที่สุด
นอกจากถนนเส้นนี้จะกลืนป่าพนมสารคามด้านตะวันออกแล้วยังส่งผลกระทบป่าเขาสอยดาว
ที่อยู่ในจังหวัดจันทบุรีอีกด้วย อันสืบเนื่องมาจากป่าแถบนี้มีพื้นที่ติดต่อกัน
เมื่อรัฐบาลมีนโยบายให้การทำไม้ทั่วประเทศ
การทำไม้ในรูปของบริษัททำไม้จึงเกิดขึ้นมากมาย ในบริเวณป่าพนมสารคามที่เหลืออยู่
มีการทำไม้ถึง 8 โครงการ โดยที่บริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์เป็นบริษัทแรกที่ได้รับสัมปทานทำไม้ในป่าแห่งนี้
ในปี พ.ศ. 2513 จากนั้นก็ได้มีบริษัทต่าง ๆ
ได้รับสัมปทานจนครบพื้นที่ป่า โดยที่แต่ละสัมปทานมีอายุการให้สัมปทาน 30 ปี
ความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของป่าพนมสารคามก็ได้เกิดขึ้นในยุคนี้อีกครั้งหนึ่ง
ไม้มีค่าจำนวนมหาศาลลำเลียงเข้าโรงเลื่อยคันแล้วคันเล่า
มีทางชักลากไม้มากมายจนทะลุปรุพรุนไปทั่วทั้งแปลงทำไม้ นับร้อย ๆเส้นทาง
เส้นทางเหล่านี้นับเป็นตัวกระตุ้น
และชี้นำอำนวยความสะดวกให้ผู้คนจากทั่วสารทิศเข้าไปแผ้วถาง
และจับจองที่ดินในป่าเพื่อทำการเกษตรหรือขายต่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นราษฎรที่เดินทางมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำร่ำลือถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าพนมสารคามจากปากต่อปากเป็นตัวเร่งให้ราษฎรหลั่งไหลเข้ามาในป่าผืนนี้
บ้างก็เข้าไปเพื่อถางป่าเอง บ้างก็ซื้อที่ดินต่อจากคนอื่น
และบางคนก็ซื้อป่าจากผู้มีอิทธิพลที่ชี้ป่าขาย ในระยะที่มีการทำไม้ของบริษัทที่ได้รับสัมปทาน
ป่าแห่งนี้ได้ถูกทำลายอย่างหนักจากทุกด้าน
ควันไฟที่เกิดจากการเผาป่าลอยคละคลุ้งให้เห็นอยู่ทั่วไป การล่าสัตว์ที่ปราศจากการควบคุมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
นักล่าสัตว์ป่าเหล่านั้นมาจากบุคคลหลายกลุ่ม หลายอาชีพงาน นับตั้งแต่พ่อค้า
ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป รถจิ๊ปคันแล้วคันเล่าได้พานักล่าพร้อมปืนไรเฟิล
และอาวุธสงครามนานาชนิดเข้าไปไล่ล่าสัตว์ป่าจนเห็นเป็นเรื่องธรรมดา
จำนวนสัตว์ป่าลดลงรวดเร็ว บางชนิดถึงกับหมดไปจากพื้นที่เลยเลยทีเดียว
ป่าที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางประกง และแม่น้ำอื่น ๆ
อีกหลายสาย เอื้ออำนวยความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ประชาชนในภาคตะวันออก
ป่าไม้ที่ค่ามหาศาลเป็นแหล่งสัตว์ป่าที่ชุกชุม ได้กลับกลายเป็นไร่ สำปะหลัง
ข้าวโพด อ้อย ยางพารา และผลไม้นานาชนิด ในป่ามีหมู่บ้านหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วไป
ได้มีการคาดคะเนว่าป่าพนมสารคามจะหมดไปภายในเวลา 7 ปี
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 แสดงให้เห็นว่าอัตราการทำลายในสมัยนั้นรุนแรงมากและยากที่จะป้องกันแก้ไข
เมื่อรัฐบาลมีนโยบายเพิ่มผลผลิตทาการเกษตรเพื่อส่งออก โดยเฉพาะพืชไร่
ราคารับซื้อผลผลิตค่อนข้างสูงจึงเป็นแรงจูงใจให้มีการแสวงหาที่ดินสำหรับการใช้เป็นพื้นที่เกษตรมากขึ้น
หนทางที่จะได้ที่ดินมาโดยง่ายในสมัยนั้นก็ด้วยการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ยิ่งในปี
พ.ศ. 2518 รัฐบาลได้มีมติผ่อนผันให้ราษฎรที่บุกรุกครอบครองป่าสงวนแห่งชาติก่อนปี
พ.ศ. 2518 ให้ทำกินในป่าสงวนแห่งชาติต่อไปได้ ห้ามเจ้าหน้าที่จับกุม
ยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้ป่าแห่งนี้ถูกบุกรุกทำลายเร็วยิ่งขึ้น
ทุกคนที่เข้าไปมักจะอ้างว่าบุกรุกเข้ามาก่อนปี พ.ศ. 2518 การตรวจสอบทำได้ยาก
แม้มีการตั้งหน่วยป้องกันรักษาป่าขึ้นมาหลายแห่งก็ไม่สามารถหยุดยั้งกระแสแห่งการทำลายได้
หน่วยป้องกันรักษาป่าที่เคยอยู่กลางป่าบางแห่งกลับกลายมาอยู่กลางชุมชน
ซึ่งเป็นเขตสุขาภิบาลในปัจจุบัน และไร่นาไปหมดสิ้น
ชื่อป่าพนมสารคามก็เริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คน ในปี พ.ศ. 2525 กองทัพภาคที่ 1 เห็นว่าท้องที่บางส่วนของเขตรอยต่อ 5 จังหวัดมีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อาศัยภูมิประเทศซึ่งเป็นภูเขา
และป่าทึบเป็นฐานปฏิบัติการสะสมกำลังพลเสบียงอาหาร
และอาวุธยุทโธปกรณ์เคลื่อนไหวทั้งงานด้านการเมือง และการทหาร
ตลอดจนมีบุคคลและกลุ่มอิทธิพลหรือกลุ่มผลประโยชน์เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
อันเป็นการบั่นทอนความั่นคงปลอดภัยของประเทศ จึงได้ออกประกาศกองทัพภาคที่ 1
ลงวันที่ 27 กันยายน 2525 กำหนดให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าแห่งนี้
และป่ารอบนอกบางแห่งเป็นเขตหวงห้ามบุคคลเข้าไปอยู่หรืออยู่อาศัย (ป่าปิด)
ชื่อของป่ารอยต่อ 5 จังหวัด
จึงได้เข้ามาแทนที่ชื่อป่าพนมสารคามนับแต่บัดนั้น ปัจจุบันน้อยคนนักทีจะรู้จักชื่อป่าพนมสารคาม
แต่หลังจากประกาศเป็นเขตหวงห้ามแล้ว การบุกรุกทำลายป่าก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม
และกลับรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เนื่องจากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526-2527 กองทัพภาคที่ 1 มีภารกิจด้านชายแดนกัมพูชา
จึงไม่มีกำลังเพียงพอที่จะดูแลรักษาป่าผืนนี้ได้อย่างทั่วถึง
ป่าไม้ได้ถอยร่นจากตัวเมืองพนมสารคามมาอยู่บริเวณรอบนอกที่ภายหลังได้แยกออก
มาตั้งเป็นกิ่งอำเภอสนามไชย และเป็นอำเภอสนามชัยเขตตามลำดับ
เหตุการณ์มิได้สิ้นสุดอยู่เพียงเท่านั้น
ได้มีการแยกพื้นที่บางส่วนที่ครบคลุมพื้นที่ป่าทั้งหมดออกเป็นกิ่งอำเภอท่า ตะเกียบ
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2534 จนกลายมาเป็นอำเภอท่าตะเกียบในปัจจุบัน
ณ วันนี้ปัญหาต่างๆก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่กรมป่าไม้จึงได้จัดทำแผนเฉพาะกิจเพื่อ ปกป้องผืนป่าอันทรงคุณค่าแห่งนี้โดยจัดกำลังจากหลายๆหน่วยงานโดยเฉพาะเจ้า หน้าที่ทหารพรานออกลาดตระเวนรอบป่าตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้และล่าสัตว์ป่าอย่างจริงจังเพื่อ หยุดยั้งปัญหาเหล่านี้ให้จงได้
ณ วันนี้ปัญหาต่างๆก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่กรมป่าไม้จึงได้จัดทำแผนเฉพาะกิจเพื่อ ปกป้องผืนป่าอันทรงคุณค่าแห่งนี้โดยจัดกำลังจากหลายๆหน่วยงานโดยเฉพาะเจ้า หน้าที่ทหารพรานออกลาดตระเวนรอบป่าตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้และล่าสัตว์ป่าอย่างจริงจังเพื่อ หยุดยั้งปัญหาเหล่านี้ให้จงได้
ป่าวันนั้น ไร่มันสำปะหลัง บ้านจัดสรร
โรงงานอุตสาหกรรมที่บ่อวินวันนี้
1. เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้ขอสัมปทานป่าไม้กระยาเลยที่ศรีราชา 5ปี หลังจากที่ได้เคยสำรวจเมื่อคราวไปพักรักษาตัวที่เกาะลอย ศรีราชา เมื่อปี 2438 - โดยกำหนดสัมปทาน ระหว่างหนองคล้าทางทิศตะวันออก ถึงตำบลโรงโป๊ะ ทางทิศตะวันตก และ ทางเหนือจากเขาหุบบอน ถึง ทางใต้ที่เขาหลัง โดยแบ่งขายที่ 100 ไร่ แถว ตำบลบางรักที่ซื้อจาก พระประมาณ แล้วตัดถนนประมวญและถนนสุรศักดิ์ และ ขายที่บริเวณดงตาล (ข้างหัวลำโพง) ประมาณ 100 ไร่เศษ ให้ พระยาอินทราธิบดีศีหราชรองเมือง (ที่มาของถนนรองเมือง) ในราคาวาละ 10 สลึง สัญญาอนุมัติเมื่อ 23 ตุลาคม รศ. 121 (2445)
2. ต่อมาทุนรอนไม่พอจนต้องกู้พระคลังข้างที่และ ชาเตอร์แบงค์ (ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ในปัจจุบัน) โดยชาเตอร์แบงค์ ของให้ยืดสัมปทานจาก 5 ปี เป็น 30 ปี แต่กรมพระยาดำรงราชานุภาพท่านไม่เห็นด้วยที่ จะให้ ตำบลบางพระ และ ศรีราชาอยู่ในมือต่างชาติ เลยให้แต่ ขยายสัญญาสัมปทานหลังจาก 5 ปี แทน
ในระหว่างที่ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีไปราชการปราบเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ หลวงอุดรภัณฑ์พาณิชย์ (นายอากร เต็ง) ดูแลกกิจการ แต่ หลวงอุดรภัณฑ์พาณิชย์ (นายอากร เต็ง) ได้มอบให้พระโสภณเพชรรัตน์ (เจ้าสัวกิมเซ่งหลี) และ หลวงจิตจำนงดำเนินการ แต่ ทั้งสองให้ พระยามหิบาลดำเนินการแทน และ เวลานั้นได้ขยายพื้นที่สัมปทาน ไปถึงคลองบางโปร่ง ทางตะวันออก บ้านจอมเทียนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือจดเขาหินสูง ทิศใต้จดแหลมฉบัง แต่กระนั้น ก็ยังไม่ได้ผลดีเพราะ
1. การตัดไม่ไม่มีหลักเกณฑ์ว่าจะตัดไม้ไหนก่อนหลัง ตัดไม้ขนาดไหนก่อน ไม่มีการกำหนดเขตแน่นอน
2. บัญชีรายรับรายจ่ายไม่มีหลักฐานแน่นอน
ทำให้ บริษัท กิมเซ่งหลีของหลวงอุดรภัณฑ์พาณิชย์ ต้องออกเงินแทนบริษัทศรีมหาราชาถึง 750000 บาท และ เมื่อ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีกลับจากราชการปราบเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ บริษัท กิมเซ่งหลี ให้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ชำระหนี้ 5 แสนบาท แต่กว่าจะชำระหมด ต้องเสียดอกเบี้ยถึงสองครั้งเป็นเงิน 16000 บาท
ตอนหลังเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ความช่วยเหลือจาก นาย เอฟ วี เค เซนิช ผู้จัดการโรงเลื่อยลาซีเอเชียติก ช่วยทำตลาดไม้แปรรูปให้ศรีมหาราชา ที่สุดก็ได้ ลูกค้าจาก ห้างบมเบย์เบอร์มา สั่งไม้หมอน 1 แสนท่อน บริษัทคลาก ต้อการไม้หน้าทำสะพาน 1400 ตัน หร้างแจกอาดัมยีจากเมืองท่าการาจีขอสั่งไม้หมอนขนาด ยาว 10 ฟุต กว้าง 10 นิ้ว หน้า 5 นิ้วเอาไปทำไม้หมอนทางรถไฟ พอกู้สถานการณ์ไปได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม การทำไม้กระยาเลย จะใช้วิธีเดียวกันกับการทำป่าไม้สัก ไม่ได้ เนื่องจากไม้กระยาเลยหนักกว่าน้ำ ท่อนซุงไม้กระยาเลยจะจมน้ำ แทนที่จะลอยน้ำเหมือนไม้สัก ทำให้ชักลากจากคลองบางละมุงไปออกทะเล แล้วน้ำไปแปรรูปที่โรงเลื่อยที่ศรีราชาไม่ได้ ต่อ มาจึงทำทางรถไฟป่าไม้ เพื่อชักลากไม้แทน โดย[color=darkred][b] จากนั้นในปี 2448 เริ่มทางรถไฟยาว 5 ไมล์ (8.04672 กิโลเมตร) สิ้นเงินไป 125000 บาท และ สร้างโรงเลื่อย เครื่องจักร และที่พักอีก 260000 บาท เพื่อชักลากไม้ และในปี 2449 สร้างทางรถไฟไปถึงหุบบอน เพราะหุบบอนเป็นแหล่งไม้ตะเคียน ที่ทั้งยาว (ไม้ตะเคียน 7 วา ไม้สัก 5 วา) ทนแดดทนฝนและเหนียวกว่าไม้สัก - ตัวทำเงินให้บริษัทศรีมหาราชา นอกนั้นเป็นไม้แดง ไม้ยาง และ ไม้ตะแบก ไม้ตะแบก ไม่ยาง และ ไม้ตะเคียนเป็นตัวทำเงินโดยเฉพาะไม้ตะแบกที่ทนดีกว่าไม้สิงคโปร์
ต่อมาในปี 2451 ก็ต้อง ให้ห้างบอเนียว เป็นผู้ถือหุ้น โดยห้างบอเนียว ได้จ่ายสด 3 แสนบาท ให้เงินยืม 1 แสนบาท และ สัญญาจะให้กู้ 9 แสนบาทเพื่อเป็นทุน ทำให้ต้องจัดการเป็นแบบบริษัทจำกัดตามเงื่อนไขที่ตกลังกันไว้กับห้างบอเนียว โดยชำระหนี้ห้างกิมเซ่งหลี โดยการขายที่ดิน ไป 350000 บาท และ ออกหุ้น 1500 หุ้นเป็นเงิน 150000 บาทเพื่อเอาไปใช้หนี้ส่วนที่เหลือ และ นำทุนที่ได้ไปขยายกิจการ สร้างสะพานไปเกาะ ลอย ขยายทางรถไฟ ไปจนได้ระยะทาง 30 กิโลเมตร ตอนแรกทำไปแค่หนองค้อ ระยะทาง 9.75 ไมล์ (15.6911 กิโลเมตร) มีเดิน 3 ขบวน โดยสั่งรถจักรไอน้ำจากที่ต้อไปนี้
1. รถจักร บรัชอิเล็กตริคัลเนยีเนียร์ (ที่ขายรถจักรสับเปลี่ยนเบอร์ 61-65) ขนาด 30 แรงม้า ใช้งานมาแล้ว 5 ปี
2. รถจักรของ ห้างเฮาวาดอิสเทิน ขนาด 11-12 แรงม้าสำหรับขนไม้เข็มและ ไม้ลงเรือ
จากนั้นได้ทำสะพานบรรทุกไม้ลงเรือได้ตลอดทั้งเวลาน้ำขึ้นน้ำลง เป็นสะพานไม้ยาว 3500 ฟุต (1.0668 กิโลเมตร) นับแต่โรงเลือยจนยาวเลยเกาะลอยไป 500 ฟุต (154.4 เมตร)
เสาตอม่อสะพาน เป็นสะพานไม้ชั้นดี เช่นไม้พันจำ ไม้โคนสมอ ไม้พะวาดำ ไม่มะขามกราย ไม้เสม็ดแดง ไม้แต้ว ไม้เฉียวพร้า ไม้หว้าใหญ่ ไม้มุนชี ไม่มะแพน ไม่กระทั่งหัน ไม้ยางแดง ขนาด 10-24 นิ้ว ส่วน ไม้ตัวสะพานเป็นไม้ยางเหลี่ยม สะพานกว้าง 14 ฟุต ปลายสะพานกว้าง 34 ฟุต มีราว 2 ทาง มีหลักตามทางเพื่อสะดวกต่อการบรรทุกไม้ที่ปลายสะพาน มีเครื่องยกไม้ 2 เครื่อง สำหรับยกไม้หนัก 3-6 ตัน
นอกจากนี้ ตั้งโรงเลื่อนเพิ่มอีก 2 โรง ให้เลื่อยไม้ได้วันละ 2พันลูกบาศก์ฟุต และ อื่น เป็นเงินถึง 1 ล้าน 7 แสนบาท
ในปี 2451 ก็ ได้ขยายสัมปทานป่าไม้ถึงพนัสนิคม และ เมืองแกลง รวม 960000 ไร่ โดย 2 ใน 3 อยู่ที่พนัสนิคม แต่ต้องเสียที่ชายฝั่ง 200 เส้น ให้ชาวบ้านเพาะปลูกได้
แม้ไม้จากศรีมหาราชาจะขายดีแต่มีปัญหาเรื่องการส่งมอบล่าช้าทำให้คนหันไปซื้อไม้สิงคโปร์ ที่ ตัดจากป่ามลายู และ ป่า แถวเกาะสุมาตรา ที่มาเร็วทันใจกว่า
ต่อมาปี 2456 ได้ขอต่อสัญญาสัมปทานป่าไม้ศรีราชา และ ก็ได้อนุมัติปี 2458
12 มิถุนายน 2464 ห้างบอเนียวขอให้ บริษัทศรีมหาราชาชำระหนี้ 5 แสนบาทใน 1 เดือน จนเป็นความถึงขั้นฟ้องล้มละลาย คราวนี้ ศรีมหาราชาชนะความ เลยฟ้องกลับ ทีสุด ก็ตกลงกันได้ว่าให้ห้างบอเนียว คืนสัมปทานแล้วบริษัทศรีมหาราชาจะจ่าย 3 แสนบาท ใน 5 ปี โดย 2 ปีแรก ไม่คิดดอกเบี้ย ปีที่ 3-4 คิดร้อยละ 6 และ ปีที 5 คิดร้อนยละ 8 ซึ่งห้างบอเนียวได้คืนสัมปทานให้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2465
จากนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ต้องวิ่งเต้นเอา บ้านและหุ้นของท่านไปจำนองเอาเงินมาบริหารกิจการต่อไป ตอนหลังได้ นำเจ้านายหลายพระองค์ที่เป็นสหายเป็นผู้ถือหุ้น และเป็นถึงพระสัสสุระในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียด้วย แต่ภายหลังได้ขัดแย้งกันเพราะ เจ้านายพระองค์นั้นเห็นว่า เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ไม่ชำนาญด้านธุรกิจ ถ้าปล่อยให้ทำไปจะมีแต่เข้าเนื้อ ดังที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยมีพระกระแสตำหนิติเตียน เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เรื่องการบริหารจัดการที่ผิด และ เรื่องการช่วยใช้หนี้เพื่อนผู้ถือหุ้นที่เป็นหนี้หลวง (เจ้าของห้างกิมเซ่งหลี) และ ลงทุนไปหนักแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และ ที่สุดก็ เจ้าท่านนั้นก็เสนอให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกเลิกบริษัท ศรีมหาราชาเสีย เพราะ ผู้บริหาร (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) เลอะเลือน จน เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีต้องทำฎีกาเสนอ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ต่าง
ที่สุดเมื่อ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปี 2474, พระคลังข้างที่ต้องเข้าถือหุ้นบริษัทศรีมหาราชาแทน โดยให้ในหลุย คีรีวัต เป็นผู้บริหาร เพราะ จ้านายพระองค์นั้นได้เลือกให้มาบริหารแทน
1. เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้ขอสัมปทานป่าไม้กระยาเลยที่ศรีราชา 5ปี หลังจากที่ได้เคยสำรวจเมื่อคราวไปพักรักษาตัวที่เกาะลอย ศรีราชา เมื่อปี 2438 - โดยกำหนดสัมปทาน ระหว่างหนองคล้าทางทิศตะวันออก ถึงตำบลโรงโป๊ะ ทางทิศตะวันตก และ ทางเหนือจากเขาหุบบอน ถึง ทางใต้ที่เขาหลัง โดยแบ่งขายที่ 100 ไร่ แถว ตำบลบางรักที่ซื้อจาก พระประมาณ แล้วตัดถนนประมวญและถนนสุรศักดิ์ และ ขายที่บริเวณดงตาล (ข้างหัวลำโพง) ประมาณ 100 ไร่เศษ ให้ พระยาอินทราธิบดีศีหราชรองเมือง (ที่มาของถนนรองเมือง) ในราคาวาละ 10 สลึง สัญญาอนุมัติเมื่อ 23 ตุลาคม รศ. 121 (2445)
2. ต่อมาทุนรอนไม่พอจนต้องกู้พระคลังข้างที่และ ชาเตอร์แบงค์ (ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ในปัจจุบัน) โดยชาเตอร์แบงค์ ของให้ยืดสัมปทานจาก 5 ปี เป็น 30 ปี แต่กรมพระยาดำรงราชานุภาพท่านไม่เห็นด้วยที่ จะให้ ตำบลบางพระ และ ศรีราชาอยู่ในมือต่างชาติ เลยให้แต่ ขยายสัญญาสัมปทานหลังจาก 5 ปี แทน
ในระหว่างที่ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีไปราชการปราบเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ หลวงอุดรภัณฑ์พาณิชย์ (นายอากร เต็ง) ดูแลกกิจการ แต่ หลวงอุดรภัณฑ์พาณิชย์ (นายอากร เต็ง) ได้มอบให้พระโสภณเพชรรัตน์ (เจ้าสัวกิมเซ่งหลี) และ หลวงจิตจำนงดำเนินการ แต่ ทั้งสองให้ พระยามหิบาลดำเนินการแทน และ เวลานั้นได้ขยายพื้นที่สัมปทาน ไปถึงคลองบางโปร่ง ทางตะวันออก บ้านจอมเทียนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือจดเขาหินสูง ทิศใต้จดแหลมฉบัง แต่กระนั้น ก็ยังไม่ได้ผลดีเพราะ
1. การตัดไม่ไม่มีหลักเกณฑ์ว่าจะตัดไม้ไหนก่อนหลัง ตัดไม้ขนาดไหนก่อน ไม่มีการกำหนดเขตแน่นอน
2. บัญชีรายรับรายจ่ายไม่มีหลักฐานแน่นอน
ทำให้ บริษัท กิมเซ่งหลีของหลวงอุดรภัณฑ์พาณิชย์ ต้องออกเงินแทนบริษัทศรีมหาราชาถึง 750000 บาท และ เมื่อ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีกลับจากราชการปราบเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ บริษัท กิมเซ่งหลี ให้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ชำระหนี้ 5 แสนบาท แต่กว่าจะชำระหมด ต้องเสียดอกเบี้ยถึงสองครั้งเป็นเงิน 16000 บาท
ตอนหลังเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ความช่วยเหลือจาก นาย เอฟ วี เค เซนิช ผู้จัดการโรงเลื่อยลาซีเอเชียติก ช่วยทำตลาดไม้แปรรูปให้ศรีมหาราชา ที่สุดก็ได้ ลูกค้าจาก ห้างบมเบย์เบอร์มา สั่งไม้หมอน 1 แสนท่อน บริษัทคลาก ต้อการไม้หน้าทำสะพาน 1400 ตัน หร้างแจกอาดัมยีจากเมืองท่าการาจีขอสั่งไม้หมอนขนาด ยาว 10 ฟุต กว้าง 10 นิ้ว หน้า 5 นิ้วเอาไปทำไม้หมอนทางรถไฟ พอกู้สถานการณ์ไปได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม การทำไม้กระยาเลย จะใช้วิธีเดียวกันกับการทำป่าไม้สัก ไม่ได้ เนื่องจากไม้กระยาเลยหนักกว่าน้ำ ท่อนซุงไม้กระยาเลยจะจมน้ำ แทนที่จะลอยน้ำเหมือนไม้สัก ทำให้ชักลากจากคลองบางละมุงไปออกทะเล แล้วน้ำไปแปรรูปที่โรงเลื่อยที่ศรีราชาไม่ได้ ต่อ มาจึงทำทางรถไฟป่าไม้ เพื่อชักลากไม้แทน โดย[color=darkred][b] จากนั้นในปี 2448 เริ่มทางรถไฟยาว 5 ไมล์ (8.04672 กิโลเมตร) สิ้นเงินไป 125000 บาท และ สร้างโรงเลื่อย เครื่องจักร และที่พักอีก 260000 บาท เพื่อชักลากไม้ และในปี 2449 สร้างทางรถไฟไปถึงหุบบอน เพราะหุบบอนเป็นแหล่งไม้ตะเคียน ที่ทั้งยาว (ไม้ตะเคียน 7 วา ไม้สัก 5 วา) ทนแดดทนฝนและเหนียวกว่าไม้สัก - ตัวทำเงินให้บริษัทศรีมหาราชา นอกนั้นเป็นไม้แดง ไม้ยาง และ ไม้ตะแบก ไม้ตะแบก ไม่ยาง และ ไม้ตะเคียนเป็นตัวทำเงินโดยเฉพาะไม้ตะแบกที่ทนดีกว่าไม้สิงคโปร์
ต่อมาในปี 2451 ก็ต้อง ให้ห้างบอเนียว เป็นผู้ถือหุ้น โดยห้างบอเนียว ได้จ่ายสด 3 แสนบาท ให้เงินยืม 1 แสนบาท และ สัญญาจะให้กู้ 9 แสนบาทเพื่อเป็นทุน ทำให้ต้องจัดการเป็นแบบบริษัทจำกัดตามเงื่อนไขที่ตกลังกันไว้กับห้างบอเนียว โดยชำระหนี้ห้างกิมเซ่งหลี โดยการขายที่ดิน ไป 350000 บาท และ ออกหุ้น 1500 หุ้นเป็นเงิน 150000 บาทเพื่อเอาไปใช้หนี้ส่วนที่เหลือ และ นำทุนที่ได้ไปขยายกิจการ สร้างสะพานไปเกาะ ลอย ขยายทางรถไฟ ไปจนได้ระยะทาง 30 กิโลเมตร ตอนแรกทำไปแค่หนองค้อ ระยะทาง 9.75 ไมล์ (15.6911 กิโลเมตร) มีเดิน 3 ขบวน โดยสั่งรถจักรไอน้ำจากที่ต้อไปนี้
1. รถจักร บรัชอิเล็กตริคัลเนยีเนียร์ (ที่ขายรถจักรสับเปลี่ยนเบอร์ 61-65) ขนาด 30 แรงม้า ใช้งานมาแล้ว 5 ปี
2. รถจักรของ ห้างเฮาวาดอิสเทิน ขนาด 11-12 แรงม้าสำหรับขนไม้เข็มและ ไม้ลงเรือ
จากนั้นได้ทำสะพานบรรทุกไม้ลงเรือได้ตลอดทั้งเวลาน้ำขึ้นน้ำลง เป็นสะพานไม้ยาว 3500 ฟุต (1.0668 กิโลเมตร) นับแต่โรงเลือยจนยาวเลยเกาะลอยไป 500 ฟุต (154.4 เมตร)
เสาตอม่อสะพาน เป็นสะพานไม้ชั้นดี เช่นไม้พันจำ ไม้โคนสมอ ไม้พะวาดำ ไม่มะขามกราย ไม้เสม็ดแดง ไม้แต้ว ไม้เฉียวพร้า ไม้หว้าใหญ่ ไม้มุนชี ไม่มะแพน ไม่กระทั่งหัน ไม้ยางแดง ขนาด 10-24 นิ้ว ส่วน ไม้ตัวสะพานเป็นไม้ยางเหลี่ยม สะพานกว้าง 14 ฟุต ปลายสะพานกว้าง 34 ฟุต มีราว 2 ทาง มีหลักตามทางเพื่อสะดวกต่อการบรรทุกไม้ที่ปลายสะพาน มีเครื่องยกไม้ 2 เครื่อง สำหรับยกไม้หนัก 3-6 ตัน
นอกจากนี้ ตั้งโรงเลื่อนเพิ่มอีก 2 โรง ให้เลื่อยไม้ได้วันละ 2พันลูกบาศก์ฟุต และ อื่น เป็นเงินถึง 1 ล้าน 7 แสนบาท
ในปี 2451 ก็ ได้ขยายสัมปทานป่าไม้ถึงพนัสนิคม และ เมืองแกลง รวม 960000 ไร่ โดย 2 ใน 3 อยู่ที่พนัสนิคม แต่ต้องเสียที่ชายฝั่ง 200 เส้น ให้ชาวบ้านเพาะปลูกได้
แม้ไม้จากศรีมหาราชาจะขายดีแต่มีปัญหาเรื่องการส่งมอบล่าช้าทำให้คนหันไปซื้อไม้สิงคโปร์ ที่ ตัดจากป่ามลายู และ ป่า แถวเกาะสุมาตรา ที่มาเร็วทันใจกว่า
ต่อมาปี 2456 ได้ขอต่อสัญญาสัมปทานป่าไม้ศรีราชา และ ก็ได้อนุมัติปี 2458
12 มิถุนายน 2464 ห้างบอเนียวขอให้ บริษัทศรีมหาราชาชำระหนี้ 5 แสนบาทใน 1 เดือน จนเป็นความถึงขั้นฟ้องล้มละลาย คราวนี้ ศรีมหาราชาชนะความ เลยฟ้องกลับ ทีสุด ก็ตกลงกันได้ว่าให้ห้างบอเนียว คืนสัมปทานแล้วบริษัทศรีมหาราชาจะจ่าย 3 แสนบาท ใน 5 ปี โดย 2 ปีแรก ไม่คิดดอกเบี้ย ปีที่ 3-4 คิดร้อยละ 6 และ ปีที 5 คิดร้อนยละ 8 ซึ่งห้างบอเนียวได้คืนสัมปทานให้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2465
จากนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ต้องวิ่งเต้นเอา บ้านและหุ้นของท่านไปจำนองเอาเงินมาบริหารกิจการต่อไป ตอนหลังได้ นำเจ้านายหลายพระองค์ที่เป็นสหายเป็นผู้ถือหุ้น และเป็นถึงพระสัสสุระในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียด้วย แต่ภายหลังได้ขัดแย้งกันเพราะ เจ้านายพระองค์นั้นเห็นว่า เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ไม่ชำนาญด้านธุรกิจ ถ้าปล่อยให้ทำไปจะมีแต่เข้าเนื้อ ดังที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยมีพระกระแสตำหนิติเตียน เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เรื่องการบริหารจัดการที่ผิด และ เรื่องการช่วยใช้หนี้เพื่อนผู้ถือหุ้นที่เป็นหนี้หลวง (เจ้าของห้างกิมเซ่งหลี) และ ลงทุนไปหนักแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และ ที่สุดก็ เจ้าท่านนั้นก็เสนอให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกเลิกบริษัท ศรีมหาราชาเสีย เพราะ ผู้บริหาร (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) เลอะเลือน จน เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีต้องทำฎีกาเสนอ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ต่าง
ที่สุดเมื่อ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปี 2474, พระคลังข้างที่ต้องเข้าถือหุ้นบริษัทศรีมหาราชาแทน โดยให้ในหลุย คีรีวัต เป็นผู้บริหาร เพราะ จ้านายพระองค์นั้นได้เลือกให้มาบริหารแทน
จากสถิติพื้นที่ป่าไม้ของไทยที่มีการบันทึกไว้ในปี พ.ศ. 2504 พบว่าขณะนั้นป่าไม้ทั่วประเทศมีอยู่ถึง 273,628 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด 513,115 ตารางกิโลเมตร และเมื่อไล่ดูปีต่อ ๆ มาก็ปรากฎว่าพื้นที่ป่าได้ลดน้อยถอยลงตามปีที่เพิ่มขึ้น
2516 พื้นที่ป่าไม้เหลือ 221,707 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43.21
2521 พื้นที่ป่าไม้เหลือ 175,434 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34.15
2528 พื้นที่ป่าไม้เหลือ 149,053 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29.05
เพียงชั่วระยะเวลา 24 ปี ป่าไม้ได้ลดลงเฉลี่ยปีละประมาณ 5,190 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 3 ล้าน 2 แสนไร่ต่อปี นับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ป่าตามหลักการอนุรักษ์ ที่จะต้องมีไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด เพื่อคงไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ
ดังนั้น จึงเกิดคำถามตามมาว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ป่าจำนวนมากถูกทำลายลง ทั้ง ๆ ที่รัฐได้มีการออกกฎหมายไว้ควบคุม มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเอาใจใส่ มีการวางหลักการสัมปทานทำไม้ที่มุ่งนำเอาทรัพยากรธรรมชาติด้านนี้มาใช้ให้ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ตลอดจนการวางนโยบายป่าไม้ของชาติที่จะอนุรักษ์พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ให้ดำรง อยู่ แต่ดูเหมือนว่ามาตรการที่กล่าวมาไม่เพียงแต่จะไม่สัมฤทธิ์ผลทว่ายังกลายเป็น ต้นเหตุแห่งการทำลายป่าอย่างขนานใหญ่อีกด้วย โดยเฉพาะปัญหาสัมปทานป่าไม้
บทเริ่มต้นของกรมป่าไม้และสัมปทานป่า
“มีกรมป่าไม้ ก็มีสัมปทานป่า”
ประโยคบอกเล่าสั้น ๆ ที่มีความหมายแฝงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านป่าไม้กับกิจกรรมการทำไม้ที่มีความเป็นมา เกือบจะพร้อมกัน.. ในอดีตก่อนที่จะมีการตั้งกรมป่าไม้ การทำไม้และการใช้พืชผลจากป่าในประเทศไทยมิได้อยู่ในความควบคุมของรัฐบาล ราษฎรสามารถตัดฟันเอาไปใช้สอยหรือทำการค้าได้โดยเสรี เว้นแต่ในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศซึ่งเป็นแหล่งที่มีไม้สักอุดมสมบูรณ์ เจ้าผู้ครองนครเขตแคว้นต่าง ๆ ได้ยึดเอาป่าไม้สักในท้องที่ของตนเป็นทรัพย์สินส่วนตัว ผู้ใดประสงค์จะทำไม้สักในป่าท้องที่ใด ต้องขอรับอนุญาตจากเจ้าผู้ครองนครนั้น โดยยอมเสียเงินให้ตามจำนวนต้นสักที่ตัดฟันลง ซึ่งเรียกว่า “ค่าตอไม้”
การถือสิทธิ์ในป่าของเจ้าผู้ครองนครได้ดำเนินเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ก็เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเจ้าของป่าส่วนมากเห็นแก่ได้ เปิดอนุญาตให้มีการทำไม้อย่างไม่ยุติธรรม จึงเกิดกรณีพิพาทระหว่างผู้ขออนุญาต ผู้รับอนุญาตและเจ้าผู้ครองนครซึ่งเป็นเจ้าของป่าอยู่เนื่อง ๆ ทำให้รัฐบาลในกรุงเทพฯ จำเป็นต้องเข้าแทรกแซงแก้ไข ด้วยการออกพระราชบัญญัติสำหรับผู้รักษาเมือง พ.ศ. 2417 มาใช้ แต่ยังคงให้สิทธิ์ถือครองแก่เจ้าผู้ครองนครเช่นเดิม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2426 เมื่อรัฐบาลทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ ก็ได้มีบริษัทต่างประเทศเข้ามาประกอบอาชีพในการทำไม้กันมากขึ้น ซึ่งกลายเป็นผลร้ายแรงต่อมา เนื่องจากเมื่อมีผู้ต้องการทำไม้มากขึ้นก็ต้องแก่งแย่งกันเพื่อจะได้รับอนุญาต ต่างฝ่ายต่างให้เงินกินเปล่าเป็นจำนวนมาก ๆ แก่เจ้าผู้ครองนครเพื่อจะได้สิทธิในการทำไม้ ทำให้บรรดาผู้ขอทำไม้ได้รับความเดือดร้อน
นอกจากนั้นยังปรากฎว่าการเก็บเงินค่าตอไม้ได้กระทำกันอย่างหละหลวม รัฐบาลจึงพิจารณาเห็นความจำเป็นที่จะต้องจัดการควบคุมการทำไม้ให้รัดกุมยิ่ง ขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2436 รัฐบาลจึงยืมตัวนายเอช ชเลค ชาวอังกฤษ ผู้ชำนาญการป่าไม้ของพม่ามาเป็นการชั่วคราว เพื่อให้ช่วยวางแผนการจัดการป่าไม้ของไทย ซึ่งนายชเลค ได้สำรวจและชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องอันเนื่องมาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ ประการแรก การทำป่าไม้ทั้งหมดอยู่ในความครอบครองของเจ้านายเจ้าของท้องที่ ทำให้เกิดการเรียกเงินกินเปล่าตามอำเภอใจ และประการที่สอง การทำป่าไม้เท่าที่เป็นอยู่ยังไม่อยู่ในระ
เบียบอันถูกต้อง คือ ขาดหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองรักษาป่าเพื่อที่ป่าไม้จะสามารถอำนวยผลได้
อย่างถาวร นั่นก็คือ ได้มีการทำไม้ในป่าไม้สักจนเกินกำลังของป่าไม้มาก
ซึ่งเป็นการผิดหลักการของวิชาการป่าไม้ที่ถือว่า “ป่าไม้ที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นเสมือนต้นทุนซึ่งเป็นของประเทศ
และปริมาณเนื้อไม้ที่งอกเงยขึ้นทุกปีนั้นเป็นดอกเบี้ยที่เราอาจจะนำออกใช้
สอยได้เป็นรายปี ต้นทุนที่มีอยู่ไม่สมควรไปแตะต้องเป็นอันขาด
คงใช้แต่ดอกเบี้ยเท่านั้น มิเช่นนั้นแล้ว
ป่าไม้ที่มีอยู่ก็จะไม่สามารถอำนวยประโยชน์อย่างถาวรได้ตลอดไป”
นายชเลค ได้เสนอวิธีแก้ไขไว้หลายประการ แต่ที่สำคัญก็คือ การชี้ให้เห็นว่าป่าไม้เป็นเสมือนต้นทุนซึ่งเป็นของประชาชาติโดยส่วนรวม จึงเป็นสิ่งที่ควรคุ้มครองรักษาไว้และจัดการให้อำนวยประโยชน์แก่รัฐและ ประชาชนอย่างสม่ำเสมอตลอดไป ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในมือของเอกชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้รับรายงานดังกล่าวแล้ว จึงพิจารณาเห็นชอบและนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งทรงมีพระราชดำริเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชหัตเลขา ที่ 62/……. ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2439 ทรงราชการจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนากรมป่าไม้ พร้อม ๆ กับการจัดการป่าไม้ในประเทศไทยก็เริ่มดำเนินการโดยรัฐบาลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในระยะแรกเป็นการทำไม้สักแต่อย่างเดียว จนมาในสมัยหลังเมื่อประชาชนมีความต้องการไม้มากขึ้น จึงเปิดให้มีการทำไม้กระยาเลย แต่ยังเป็นการทำไม้กันอย่างไม่มีโครงการ จนเมื่อปี พ.ศ. 2496 ก็เริ่มมีการวางแผนการทำสัมปทานป่าไม้ครั้งแรกขึ้นในเมืองไทย โดยเป็นโครงการชั่วคราว อนุญาตให้ทำปีละแปลง ต่อมาขยายเวลาอนุญาตให้ผูกขาดทำ 3 ปี แต่ปากฎว่าผู้ทำไม้รายย่อยเห็นแก่รายได้ส่วนตัว ไม่ได้เอาใจใส่ดูแลป่า ทำให้ป่าถูกทำลายเสื่อมโทรม ดังนั้นในปี พ.ศ. 2509 จึงมีการเสนอให้วางโครงการทำไม้ในระยะยาว โดยกำหนดอายุสัมปทานเต็มรอบตัดฟันเป็นระยะเวลา 30 ปี ทั้งนี้ให้เหตุผลว่า
เพื่อควบคุมการทำไม้ให้เป็นไปโดยสะดวก เนื่องจากป่าหนึ่ง ๆ มีผู้ทำไม้เพียงบริษัทเดียว การทำไม้ก็ให้ทำเป็นแปลง แปลงละปี รวมเป็น 30 แปลง มีขอบเขตป่าไม้ที่ให้ทำไม้เป็นที่แน่นอน
เพื่อให้ผู้รับสัมปทานมีโอกาสทำไม้เป็นเวลานาน
ซึ่งถือเป็นอาชีพที่ยั่งยืน จะได้กล้าลงทุนในการป้องกันรักษาป่าที่ตนได้รับสัมปทาน
ตลอดจนทุนปลูกบำรุงป่าตามหลักวิชาการที่เจ้าหน้าที่จะได้กำหนดและให้คำแนะนำ
เพื่อให้ผู้รับสัมปทานเป็นกำลังในการป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เนื่องจากเห็นว่าป่านั้น ๆ เป็นทรัพย์สมบัติอันจะยังประโยชน์แก่ตนเองและลูกหลานต่อไป และเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับความร่วมมือในเรื่องนี้แล้ว ย่อมจะบังเกิดผลในด้านการป้องกันรักษาป่าได้ดียิ่งขึ้น
รัฐบาลสามารถกำหนดเงื่อนไขและวิธีการให้ผู้รับสัมปทานทำการปลูกบำรุงป่าตามความประสงค์ของ ทางราชการได้ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบางบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินได้เป็นอันมาก
ในที่สุดวันที่ 19 พฤศจิกายน 2511 รัฐบาลจึงมีมติเห็นชอบกับหลักการดังกล่าว กำหนดให้ผู้ประกอบการและประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่าไม้ และราษฎรแต่ละจังหวัดรวมตัวกันจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดขึ้น เรียกว่า “บริษัททำไม้ประจำจังหวัด” ซึ่งจะเป็นผู้รับสัมปทานทำไม้ในป่าโครงการที่อยู่ในท้องที่จังหวัดนั้น ๆ
เพื่อให้ผู้รับสัมปทานเป็นกำลังในการป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เนื่องจากเห็นว่าป่านั้น ๆ เป็นทรัพย์สมบัติอันจะยังประโยชน์แก่ตนเองและลูกหลานต่อไป และเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับความร่วมมือในเรื่องนี้แล้ว ย่อมจะบังเกิดผลในด้านการป้องกันรักษาป่าได้ดียิ่งขึ้น
รัฐบาลสามารถกำหนดเงื่อนไขและวิธีการให้ผู้รับสัมปทานทำการปลูกบำรุงป่าตามความประสงค์ของ ทางราชการได้ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบางบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินได้เป็นอันมาก
ในที่สุดวันที่ 19 พฤศจิกายน 2511 รัฐบาลจึงมีมติเห็นชอบกับหลักการดังกล่าว กำหนดให้ผู้ประกอบการและประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่าไม้ และราษฎรแต่ละจังหวัดรวมตัวกันจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดขึ้น เรียกว่า “บริษัททำไม้ประจำจังหวัด” ซึ่งจะเป็นผู้รับสัมปทานทำไม้ในป่าโครงการที่อยู่ในท้องที่จังหวัดนั้น ๆ
นอก
จากนี้ยังให้อำนาจแก่บริษัททำไม้ในการดูแลรักษาป่า โดยแต่งตั้งให้กรรมการผู้จัดการบริษัททำไม้ประจำจังหวัดหรือผู้รับสัมปทาน
และผู้จัดการฝ่ายป่าของบริษัทเป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
มีอำนาจจับกุมผู้ผ่าฝืนกฎหมายป่าไม้ภายในเขตสัมปทานของตนได้
ต่อมาได้มีมติของคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้กำหนดให้
(1) ผู้รับสัมปทานจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าเส้นทางเข้าสู่ป่าสัมปทาน เพื่อตรวจบุคคลและยานพาหนะอย่างเข้มงวดกวดขัน โดยต้องมีด่านกั้นเส้นทาง
(2) ผู้รับสัมปทานทำลายเส้นทางชักลากไม้ที่เลิกใช้แล้วเสียให้สิ้น
(3) ผู้รับสัมปทานจัดเวรยาม
สายตรวจลาดตระเวนในพื้นที่ป่าสัมปทาน เมื่อพบการกระทำผิดก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบโดยทันที
และ
(4) หากทางราชการตรวจพบการกระทำผิดภายในเขตสัมปทานและปรากฎว่าผู้รับสัมปทานมิได้ปฏิบัติตามแนวข้อ
1-3 ก็ให้เจ้าหน้าที่เสนอเรื่องให้กระทรวงเกษตรฯ
พิจารณาเพิกถอนสัมปทานต่อไป
ใครคือผู้ถือสิทธิ์ในสัมปทาน
การทำสัมปทานป่าบกในบ้านเรามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ สัมปทานป่าไม้สักและสัมปทานป่าไม้กระยาเลย โดยผู้มีสิทธิ์ในสัมปทานป่าไม้สักนั้น ได้แก่ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้หรือ ออป. ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดไว้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2500 สำหรับสัมปทานป่าไม้กระยาเลยส่วนใหญ่จะอยู่ในมือของบริษัทป่าไม้ประจำจังหวัด ที่ก่อตั้งขึ้นตามนโยบาย และหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2511 เว้นแต่ป่าโครงการไม้กระยาเลยที่มีลักษณะเป็น
1) ป่าที่ล่อแหลมต่ออันตราย มีการบุกรุกลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอยู่เสมอ
2) ป่าต้นนำลำธาร และ
3) ป่าสาธิตที่จะอยู่ในความควบคุมดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นอกจากนั้นมีรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน และองค์การของรัฐบางแห่งที่ได้รับสัมปทานทำไม้ด้วย
ปี พ.ศ. 2511 พื้นที่ป่าไม้ที่เป็นป่าสัมปทานมีรวมทั้งสิ้นประมาณ 230,000 ตารางกิโลเมตร แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 คณะรัฐมนตรีมีมติปิดป่าสัมปทานทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่สัมปทานทั้งหมด ทำให้พื้นที่สัมปทานถูกปิดไป 122,784 ตารางกิโลเมตร จนปี พ.ศ. 2527 รัฐบาลมีมติเปิดป่าสัมปทานเพื่อผ่อนคลายให้มีการทำไม้ได้อีกเป็นพื้นที่ 24,063 ตารางกิโลเมตร รวมแล้วเป็นพื้นที่ป่าสัมปทานทั้งสิ้น 130,815 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 25.5 ของพื้นที่ประเทศ ส่วนป่าที่เหลืออยู่ร้อยละ 3.5 ของประเทศถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (พื้นที่ที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ และป่าต้นลำธาร ซึ่งไม่ซ้อนทับกับพื้นที่ป่าสัมปทานและไม่รวมพื้นที่ที่เป็นพื้นน้ำของ อุทยานแห่งชาติทางทะเลบางแห่ง)
จากตัวเลขล่าสุดเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2531 จากกองคุ้มครอง กรมป่าไม้ พบว่า มีการให้สัมปทานป่าไม้สักเป็นจำนวน 42 สัมปทาน (พื้นที่ซ้อนทับป่าโครงการไม้กระยาเลย) และสัมปทานไม้กระยาเลยรวม 274 สัมปทาน โดยมีบริษัทจังหวัดทำไม้ครอบครองมากที่สุด คือ 48 บริษัท ครอบครอง 218 สัมปทาน รองลงมา คือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 29 สัมปทาน องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 8 สัมปทาน การรถไฟแห่งประเทศไทย 7 สัมปทาน บริษัทไม้อัดไทย จำกัด 7 สัมปทาน และอื่น ๆ (ดูรายละเอียดในตารางที่ 1)
สำหรับสัมปทานป่าเลนนั้น มีการให้สัมปทานระยะยาวเช่นกัน โดยมีอายุสัมปทาน 15 ปี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2509 และ 6 กันยายน 2509 จากสถิติปัจจุบันของกองคุ้มครอง กรมป่าไม้ ระบุว่า มีบริษัทและเอกชนอื่น ๆ เป็นผู้รับสัมปทานป่าเลนจำนวน 249 สัมปทาน เป็นเนื้อที่ 1,451.40 ตารางกิโลเมตร
วนวัฒนวิธีแบบเลือกตัด หลักการทำไม้ในปัจจุบัน
หลังจากที่รัฐบาลมีมติให้สัมปทานระยะยาวแล้ว ก็ได้มีการจัดวางโครงการทำไม้ โดยการจัดการไม้สักใช้รอบตัดฟัน 30 ปี ด้วยการแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็น 10 ตอน ตอนละ 3 แปลง เปิดให้ทำไม้ปีละ 1 แปลง แล้วใช้วนวัฒนวิธี
ตารางที่ 1 สถิติผู้รับสัมปทานและจำนวนป่าสัมปทานทำไม้ทั่วราชอาณาจักร
สัมปทานไม้กระยาเลย
|
จำนวน (สัมปทาน)
|
บริษัท (จังหวัด) ท่าไม้ จำกัด (48 บริษัท)
|
218
|
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
|
29
|
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
|
8
|
การรถไฟแห่งประเทศไทย
|
7
|
บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด
|
7
|
บริษัท ศรีมหาราชา จำกัด
|
2
|
บริษัท สงเคราะห์สหายร่วมรบเกาหลี จำกัด
|
2
|
เจ้าวัฒนา โชตนา
|
1
|
รวม
หมายเหตุ : ปัจจุบันกำลังมีการเวนคืนสัมปทานบางแห่งอยู่
|
274
|
สัมปทานป่าไม้สัก
|
จำนวน (สัมปทาน)
|
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
|
36
|
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
|
3
|
บริษัท สงเคราะห์สหายร่วมรบเกาหลี จำกัด
|
2
|
บริษัท อาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 จำกัด
|
1
|
รวม
|
42
|
ที่มา : กองคุ้มครอง กรมป่าไม้
แบบเลือกตัด คือ ไม่ได้ทำการตัดไม้หมดทั้งแปลง แต่จะตัดไม้ที่โตได้ขนาดจำกัดบางส่วน อีกบางส่วนเหลือสงวนทิ้งไว้พร้อมกับไม้ที่ห้ามตัดฟัน อันได้แก่ ไม้โทน (ไม้ที่ขึ้นอยู่โดดเดี่ยวห่างจากกลุ่มไม้ชนิดเดียวกัน) ไม้สันเขา (ไม้ที่ขึ้นอยู่บนสันเขาหรือใกล้สันเขาที่จะโปรยปรายเมล็ดลงสองข้างไหล่เขา ได้) และไม้เชื้อหรือแม่ไม้อีกด้วย ไม้ที่ได้ขนาดตัดฟันแต่เว้นไว้ไม่ตัด จะต้องเหลือไว้ 35 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนไม้สักที่เลือกตัดทั้งหมดในแต่ละแปลง เช่น มีไม้ที่ได้ขนาด 100 ต้น ต้องเหลือทิ้งไว้ไม่ตัด 35 ต้น ส่วนขนาดจำกัดของไม้สักที่เลือกตัดได้ต้องมีเส้นรอบวง 190 เซนติเมตร โดยวัดตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 130 เซนติเมตร
สำหรับการตัดไม้กระยาเลย มีพื้นที่แต่ละโครงการประมาณ 500-1,000 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งป่าโครงการออกเป็น 10 ตอน ตอนละ 3 แปลง ให้ทำไม้ปีละ 1 แปลง ด้วยการใช้วนวัฒนวิธีแบบเลือกตัดเช่นกัน แต่การกำหนดให้สงวนไม้กระยาเลยอื่น ๆ (นอกจากไม้ยาง) ในแต่ละแปลงต้องเหลือไว้ 30 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนไม้ที่เลือกทั้งหมด ส่วนไม้ยางให้เหลือไว้ 50 เปอร์เซ็นต์ คือ ตัดต้นเว้นต้น
นอกจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการกำหนดให้หมายแนวเขตพื้นที่บางแห่งในป่าโครงการ ห้ามมิให้ทำการสำรวจคัดเลือกตีตราไม้ คือ ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นต้นน้ำลำธาร พื้นที่ที่มีความลาดชันโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 30 องศาขึ้นไป และพื้นที่ที่อยู่ติดริมลำน้ำ ดังนั้น หลังจากที่มีการตัดฟัน ชักลากไม้ออกจากป่าสัมปทานแล้ว ป่าที่เหลืออยู่จะยังคงมีไม้ยืนต้นเหลืออยู่ หากแต่ไม่หนาแน่นดังเก่า ไม่ใช่สภาพป่าที่ถูกตัดฟันเหลือแต่ตอไม้ดังที่มักจะเข้าใจกันผิด ๆ
ส่วนการจัดการป่าชายเลน ได้ใช้วนวัฒนวิธีแบบตัดหมดในแนวสลับ กำหนดรอบหมุนเวียน 30 ปีและรอบตัดฟัน 15 ปี ป่าแต่ละหมวดแบ่งออกเป็น 15 แปลง ตัดฟัน เปิดให้ทำไม้ปีละแปลง โดยให้ตัดฟันไม้ออกเป็นแนวกว้าง 40 เมตร ตลอดแนวเว้นไว้ 1 แนวสลับกันไปทั้งหมวดตัดฟัน เมื่อตัดฟันออกแล้ว ผู้รับสัมปทานต้องทำการปลูกป่าในบริเวณที่ตัดฟันไม้ตามวิธีการที่กรมป่าไม้ กำหนด
จากระบบวิธีการทำไม้แบบเลือกตัดเช่นนี้ นักวิชาการป่าไม้มีความเห็นว่า เมื่อมีการตัดไม้ออกแล้วอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ จะไม่ทำให้ป่าสัมปทานนั้นเสื่อมโทรมลงและแทบไม่จำเป็นที่จะต้องมีการปลูกป่า ขึ้นทดแทน เพราะไม้ที่เหลือยังไม่ได้ขนาดจะโตขึ้นทดแทนทันเมื่อถึงรอบตัดฟันครั้งต่อไป ส่วนไม้ที่สงวนไว้ไม่ตัดก็จะกลายเป็นแม่ไม้ ขยายแพร่พันธุ์ต่อไป แต่จากสภาพความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะสาเหตุใดจะกล่าวต่อไป
ขั้นตอนและเงื่อนไขการทำไม้
ก่อนที่จะมีการให้สัมปทาน จะมีการวางโครงการโดยยึดถือแผนที่ระวางของกรมแผนที่ทหารมาตราส่วน 1:50,000 และภาพถ่ายทางอากาศเป็นบรรทัดฐาน จากนั้นส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจวางแนวเขตพื้นที่สัมปทาน โดยแต่ละโครงการมีพื้นที่ประมาณ 500-1,000 ตารางกิโลเมตร ส่วนการอนุญาตให้สัมปทานเป็นมติของคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามพระราช บัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 63 เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติออกสัมปทานแก่ผู้ใดแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นผู้ลงนามในสัมปทานนั้น
ต่อมากรมป่าไม้จะกำหนดพื้นที่ภายในเขตสัมปทานออกเป็นแปลง ๆ และทำบัญชีแสดงชนิดและจำนวนไม้ที่จะนำออกได้ในแปลงนั้น ๆ โดยส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปทำการคัดเลือกไม้ที่จะตัดฟัน ตรวจแนวเขตพื้นที่ตอนที่คัดเลือกให้ตรงกับแผนที่โครงการ และไม้ที่จะทำการคัดเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ คือ มีขนาดไม่ต่ำกว่าขนาดจำกัดที่กำหนดตามชนิดของไม้ อาทิ ไม้สักมีขนาดจำกัด 190 เซนติเมตร ไม้ยางมีขนาดเท่ากับ 250 เซนติเมตร เป็นต้น และไม้ที่ได้ขนาดจะไม่ตัดทุกต้น ต้องเหลือสงวนทิ้งไว้ตามจำนวนที่กำหนด แล้วทำเครื่องหมายกากบาทสีแดงลงบนลำต้น ส่วนไม้ที่เลือกตัดฟันให้ใช้ขวานถากบนต้นไม้แล้วเอาค้อนทุบลงไปตรงหน้าเขียง ค้อน
ที่ทุบนั้นจะมีหมายเลขประจำตัวของเจ้าหน้าที่กำกับไว้
นอกจากนี้ระหว่างทำการคัดเลือกตีตราไม้เจ้าหน้าที่ต้องทำการนับจำนวนไม้ชั้น สอง
(ไม้ที่จะโตขึ้นมาจนได้ขนาดตัดฟันในรอบต่อไป) ของตอนที่ทำการสำรวจ
และให้ระบุไว้ในสมุดคัดเลือกไม้ด้วย
ต่อมาจึงจัดทำรายงานตามแบบที่กำหนดพร้อมทั้งแผนที่สังเขปแสดงตำแหน่งไม้ เลือก
และไม้สงวนกับแผนที่สังเขปแสดงภาพป่าให้ป่าไม้เขตทราบ ป่าไม้เขตจะจัดส่งเจ้าหน้าที่อีกชุดเข้าไปทำการตรวจสอบรับรองผลการปฏิบัติ
งาน เมื่อตรวจผลเสร็จ ป่าไม้เขตจะส่งเจ้าหน้าที่ให้จัดทำบัญชีไม้เลือก
โดยทำการแบ่งเฉลี่ยไม้ในตอนนั้น ๆ ออกเป็น 3 แปลง
แล้วส่งหลักฐานการสำรวจคัดเลือกไม้ให้กรมป่าไม้พิจารณาอนุมัติ
เมื่อถึงกำหนดทำไม้ ผู้รับสัมปทานก็จะตัดฟันไม้ตามบัญชีที่ได้รับอนุญาต แต่ก่อนที่จะตัดฟันผู้รับสัมปทานจะต้องชำระเงินค่าเปิดป่าเป็นรายปี เมื่อตัดฟันเสร็จ ป่าไม้เขตจะส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจวันและตีตราชักลาก ซึ่งเจ้าหน้าที่ชุดนี้ต้องเป็นคนละชุดกับผู้ทำการสำรวจคัดเลือกไม้ หลังจากประทับตราที่ท่อนไม้แล้ว ก็ให้ประทับตราที่ตอไม้ทุกตอด้วย การตีตราอนุญาตให้ชักลากต้องกระทำ ณ ที่ที่ไม้แต่ละต้นถูกตัดโค่นลงและยังคาตออยู่ ห้ามมิให้ตีบนต้นไม้ที่ยังยืนต้นอยู่หรือบนท่อนไม้ที่ชักลากออกมาห่างไกลจากตอเกิน 40 เมตร และเมื่อตีตราอนุญาตให้ชักลากแล้ว จะต้องวัดขนาดความยาว ความกว้างและรูปพรรณตำหนิของไม้ท่อนนั้น ๆ ด้วย
เมื่อไม้ถูกชักลากออกจากป่ามารวมที่หมอนไม้เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะต้องประทับตราเพื่อคำนวณค่าภาคหลวง โดยผู้รับสัมปทานต้องจ่ายชำระให้แล้วเสร็จก่อนนำไม้ออกจำหน่าย เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการทำไม้
ต่อไปก็คือข้อกำหนดและเงื่อนไขสัมปทานเพิ่มเติมที่ผู้รับสัมปทานจะต้องปฏิบัติแม้จะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่ถ้าไม่กล่าวถึงแล้วก็จะทำให้การมองภาพกระบวนการทำสัมปทานป่าไม้ไม่ชัดเจน เนื่องจากการจะรู้ว่าผู้รับสัมปทานทำผิดข้อกำหนดหรือไม่ จำเป็นต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์การทำไม้และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่รัฐได้วางไว้ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
ผู้รับสัมปทานจะต้องชำระเงินค่าเปิดป่าอีกต่างหากจากเงินค่าภาคหลวงเป็นรายปี โดยกำหนดเป็นอัตราเหมารายตันตามชนิดไม้ที่ได้รับสัมปทาน เช่น ไม้ยาง มะค่าโมง ตะเคียนทอง และประดู่ ในอัตราต้นละ 100 บาท ไม้เต็ง รัง และไม้แดง อัตราต้นละ 35 บาท ไม้สยา หลุมพอ และไม้เคี่ยม อัตราต้นละ 50 บาท ส่วนไม้กระยาเลยชนิดอื่น ๆ อัตราต้นละ 20 บาท เป็นต้น
ผู้รับสัมปทานต้องเข้าทำไม้ทุกชนิดตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สำรวจคัดเลือกตีตราให้ตัดฟันในแปลงตัดฟันตามโครงการ
ผู้รับสัมปทานต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมรายต้นตามอัตราที่กระทรวงเกษตรฯ ได้ออกประกาศกำหนดไว้ตามชนิดและจำนวนไม้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สำรวจตีตราให้ตัดฟัน
ผู้รับสัมปทานต้องชำระค่าภาคหลวงสำหรับไม้ที่ทำออกตามชนิดและอัตราที่กำหนด
ผู้รับสัมปทานต้องชำระเงินค่าใช้จ่ายในการรังวัดหมายแนวเขตป่า การจัดวางโครงการและการสำรวจคัดเลือกตีตราประจำต้นไม้เป็นเงินปีละ 10,000 บาท
ผู้รับสัมปทานต้องวางเงินประกันเพื่อเป็นหลักประกันในการที่จะต้องชำระเบี้ยปรับตามสัมปทานทำไม้ไว้เป็นเงิน 10,000 บาท
ผู้รับสัมปทานต้องจำหน่ายไม้ที่ทำออกจากป่าสัมปทานให้แก่บุคคลในท้องที่จังหวัด เป็นอันดับแรกในราคาพอสมควร
หากต่อไปภายหน้า ทางราชการจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องป่าที่ให้สัมปทาน หรือแก้ไขความในสัมปทานประการใดก็ดี หรือจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการใด ๆ หรือบันทึกเพิ่มเติมใด ๆ ก็ดี ตลอดจนเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่กรมป่าไม้จะเรียกเก็บจากผู้รับสัมปทานก็ดี ผู้รับสัมปทานยินยอม ปฏิบัติตามที่ทางราชการสั่งทุกประการ
ผู้รับสัมปทานต้องดำเนินการปลูกบำรุงและดูแลรักษาป่าเพื่อให้ป่ามีสภาพสมบูรณ์ สามารถอำนวยผลได้สม่ำเสมอ โดยผู้รับสัมปทานใช้เครื่องมือสัมภาระอุปกรณ์ และต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น ตามวิธีการดังนี้
การปลูกบำรุงป่า ทำการปลูกบำรุงป่าธรรมชาติภายในเขตป่าสัมปทาน และทำการปลูกสร้างสวนป่าเพิ่มเติมในที่ว่าง ตามแนวทางและวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด
การดูแลรักษาป่า ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดูแลรักษาป่าและป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าภายใน เขตสัมปทาน ตลอดจนดูแลรักษาป่าและธรรมชาติที่สวยงามตามกฎหมายว่าด้วยการสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่าและกฎหมายว่า ด้วยอุทยานแห่งชาติ ทำแนวป้องกันไฟป่าและกำจัดศัตรูพืชตามแนวทางและวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด โดยให้ผู้รับสัมปทานจัดเจ้าหน้าที่ไว้คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำตามหลักวิชาการ ที่กล่าวไว้ในข้อ ก. และ ข.
ถ้าผู้รับสัมปทานไม่ดำเนินการตามข้อ 9 หรือดำเนินการไม่เป็นผลผู้ให้สัมปทานอาจรับดำเนินการปลูกบำรุงป่าเองทั้งหมด หรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้ แต่ผู้รับสัมปทานต้องเสียเงินค่าใช้จ่ายในการปลูกบำรุงป่าตามที่ผู้ให้ สัมปทานจะแจ้งให้ทราบ
ถ้าผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขสัมปทานดังกล่าวในข้อ 1-10 ผู้ให้สัมปทานมีอำนาจที่จะสั่งพัก การทำไม้ตามสัมปทานแต่ขั้นหนึ่งขั้นใด หรือเพียงส่วนหนึ่งส่วนใด หรือสั่งเพิกถอนสัมปทานดังกล่าวได้
อนึ่ง มีข้อกำหนดในสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สัก ข้อที่ 7 กำหนดไว้ว่า “สัมปทานนี้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย กฎ และข้อบังคับทั้งปวงที่ประกาศใช้บังคับอยู่แล้วในขณะนี้ และที่จะได้ประกาศใช้บังคับต่อไปภายหน้า ผู้รับสัมปทานจะอ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใด ๆ ในสัมปทานนี้เป็นข้อยกเว้นมิให้ต้องถูกบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับนั้น ๆ หรือจะอ้างเหตุที่ได้รับ หรือจะได้รับโทษตามกฎหมายมาเป็นเหตุไม่ต้องถูกบังคับตามสัมปทานนี้หาได้ไม่”
บทพิสูจน์ความล้มเหลว
เมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์และวิธีการทำไม้ในป่าสัมปทานตามที่กล่าวแล้ว น่าจะเป็นผลให้ป่าสัมปทานหรือป่าเศรษฐกิจของประเทศคงอยู่ และอำนวยประโยชน์แก่รัฐและประชาชาติโดยส่วนรวมได้ตลอดไป แต่ข้อเท็จจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ กลับปรากฏว่าพื้นที่ป่าไม้ของประเทศลดลง โดยเฉลี่ยปีละ 3 ล้าน 2 แสนไร่ จากร้อยละ 53.3 ของพื้นที่ประเทศในปี พ.ศ. 2504 ลงมาเหลือร้อยละ 29 ในปี พ.ศ. 2528 และในระหว่างปี พ.ศ. 2524-2528 ประเทศไทยมีอัตราการทำลายป่าเป็นอันดับ 10 ของโลก
จากตัวเลขในปี พ.ศ. 2528 พื้นที่ป่าไม้ของประเทศเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 29 ของพื้นที่ประเทศหรือประมาณ 149,053 ตารางกิโลเมตร แต่ปรากฎว่าพื้นที่สัมปทานทำไม้กระยาเลย (รวมพื้นที่ป่าสัมปทานไม้สักที่ซ้อนทับ) ที่กระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ มีพื้นที่รวมกันถึงร้อยละ 36.3 หรือประมาณ 186,317 ตารางกิโลเมตร (ดูตารางที่ 2) แสดงว่าพื้นที่ป่าสัมปทานบางส่วนหมดสภาพความเป็นป่าไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่เพิ่งจะผ่านการทำไม้ไปเพียงครึ่งรอบตัดฟันเท่านั้น (รอบตัดฟัน 30 ปี เริ่มให้ดำเนินการป่าสัมปทานประมาณปี พ.ศ.2515) และหากนำมาเทียบกับพื้นที่ป่าไม้ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ประเทศหรือประมาณ 149,053 ตารางกิโลเมตร ก็จะยิ่งชี้ชัดว่าพื้นที่ป่าสัมปทานได้ถูกทำลายลงไปเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ จากกราฟบริเวณไม้ที่ได้รับอนุญาตให้ตัดฟันปี พ.ศ.2520-2529 (ตารางที่ 3) ชี้ให้เห็นว่า ปริมาณไม้ที่อนุญาตให้ตัดฟันในช่วงระยะเวลา 9 ปี มีปริมาตรไม่ต่างไปจากกันเท่าไร ทั้ง ๆ ที่ในปี พ.ศ.2522 คณะรัฐมนตรีปิดป่าสัมปทานทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 324 ป่า ในจำนวนนี้เป็นป่าสัมปทานไม้สัก 36 ป่า จากทั้งหมด 43 ป่า และป่าสัมปทานไม้กระยาเลย 176 ป่าจากทั้งหมด 292 ป่า
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ในปี
พ.ศ. 2528 กับพื้นที่ป่าสัมปทานทำไม้กระยาเลย ในปี พ.ศ.2530
ภาคเหนือ
(17 จังหวัด)
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(17 จังหวัด)
|
ภาคกลาง และตะวันออก
(25 จังหวัด)
|
ภาคใต้
(14 จังหวัด)
|
รวม
|
เปอร์เซ็นต์
|
|
พื้นที่ป่าไม้
พื้นที่ป่าสัมปทาน
|
84,126
81,307
|
24,224
47,816
|
25,218
36,821
|
15,485
20,372
|
149,053
186,317
|
24.0
36.3
|
หน่วย ตารางกิโลเมตร
* จากสถิติการป่าไม้ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2530 กรมป่าไม้
** จากรายงานประจำปี พ.ศ. 2530 กรมป่าไม้
แม้ว่าป่าสัมปทานถูกปิดไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนป่าทั้งหมด แต่ปริมาณไม้ที่ได้รับอนุญาตให้ตัดฟันออกจากป่าสัมปทานหลังจากนั้นมิได้ลดลงเป็นสัดส่วนเดียวกันกับปริมาณ ของป่าที่ถูกปิดไป แสดงว่าได้มีการทำไม้เกินกำลังผลิตของป่า
จากข้อมูลดังกล่าวไม่เพียงแต่จะบ่งบอกถึงข้อผิดพลาดของการจัดการป่าไม้ในบ้านเรา หากยังชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2528 ซึ่งกำหนดจะให้มีพื้นที่ป่าทั่วประเทศอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ โดยแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็น 2 ประเภท คือ ป่าเพื่อการอนุรักษ์ 15 เปอร์เซ็นต์กับป่าเศรษฐกิจอีก 25 เปอร์เซ็นต์ แต่จากตัวเลขพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศในขณะนี้เหลืออยู่แค่ 29 เปอร์เซ็นต์ เป็นป่าสัมปทานเพื่อการผลิตถึงร้อยละ 25.5 ของประเทศ ที่เหลืออีก 3.5 ก็คือป่าอนุรักษ์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ทางราชการจะมีนโยบายส่งเสริมการปลูกป่า สร้างสวนป่าขึ้นทดแทนป่าธรรมชาติที่เสื่อมโทรมไป แต่ก็เป็นการปลูกเพื่อหวังผลทางด้านเศรษฐกิจมิได้เป็นการปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าธรรมชาติให้กลับคืนมา จากรายงานผลการปลูกป่าเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของกรมป่าไม้ รัฐวิสาหกิจและเอกชนปลูกป่าตามเงื่อนไขสัมปทาน ตั้งแต่เริ่มดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันรวมเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 6,335.54 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราการทำลายป่าธรรมชาติโดยเฉลี่ยปีละ 5,190 ตารางกิโลเมตร จะเห็นว่าพื้นที่สวนป่าทั้งหมดที่ปลูกขึ้นมาทดแทน มิอาจนำมาชดเชยพื้นที่ป่าธรรมชาติที่ถูกทำลายไปในแต่ละปีได้เลย
นอกจากนี้สถิติการทำไม้ในปี พ.ศ. 2530 เราพบว่าเพียงช่วงปีเดียวไม้สักถูกทำออกจากป่าสัมปทานรวมทั้งสิ้น 37,278 ลูกบาศก์เมตร เป็นของกลางที่เกิดจากการกระทำผิด 822 ลูกบาศก์เมตร ส่วนไม้กระยาเลยถูกทำออกรวมทั้งสิ้น 2,027,551 ลูกบาศก์เมตร เป็นของกลางที่เกิดจากการกระทำผิด 30,495 ลูกบาศก์เมตร และรายได้ที่กรมป่าไม้ได้จากสัมปทาน โดยเก็บจากค่าภาคหลวง ค่าขายไม้ ค่าใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม และอื่น ๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2524-2529 รวมเป็นเงินเฉลี่ยปีละ 220 ล้านบาท ในขณะที่รายจ่ายของงบประมาณในช่วงระหว่างปีดังกล่าว เป็นเงินเฉลี่ยปีละ 1,350 ล้านบาท เมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนระหว่างรายได้กับรายจ่ายต่อปีเท่ากับ 1 ต่อ 6 ทีเดียว
กฎหมายสัมปทาน ทางสู่ความพินาศของป่าไม้
แม้จะมีความพยายามที่จะวางกฎเกณฑ์การทำไม้ให้รัดกุมแล้วก็ตาม แต่ปรากฎว่าสิ่งที่กำหนดขึ้นกลับกลายเป็นเงื่อนไขให้เจ้าหน้าที่ที่ทำการควบ คุมหลีกเลี่ยงและอาศัยเป็นช่องทาง ในการทุจริต จนทำให้ป่าต้องถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งพอจะสรุปมูลเหตุสำคัญที่ทำให้สัมปทานป่าไม้ของไทยต้องล้มเหลวอันเนื่อง มาจาก…..
การตั้งบริษัทจังหวัดทำไม้ขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้ประชาชน มีส่วนร่วมได้รับผลประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้รวมถึงดูแลป่าสัมปทานเป็น ประโยชน์แก่ลูกหลานในวันหน้า แต่ปรากฎว่าบริษัทจังหวัดทำไม้ได้กลายเป็นแหล่งที่นายทุนเข้ามาแสวงหากำไร โดยประชาชนไม่ได้รับผลประโยชน์เลย ทั้งนี้ดูจากเงื่อนไขการจดทะเบียนบริษัทที่กำหนดว่าให้ อ.อ.ป. ถือหุ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ผู้มีอาชีพทำไม้รายใหญ่ 15 เปอร์เซ็นต์ โรงงานไม้แปรรูปด้วยแรงคนหรือได้รับอนุญาตทำโรงค้าไม้แปรรูปถือหุ้น 20 เปอร์เซ็นต์ และประชาชนในท้องถิ่นและประชาชนจังหวัดใกล้เคียงซึ่งไม่มีป่าสัมปทานถือหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าบรรดานายทุนทำไม้ หรือเจ้าของโรงเลื่อยขนาดใหญ่มักกะเกณฑ์ญาติพี่น้องและพรรคพวกของตนเองมา เป็นผู้ถือหุ้นในส่วน ของประชาชน ประกอบกับ อ.อ.ป. เองก็ไม่ได้ทำไม้เอง อาศัยให้มีผู้มารับช่วงทำสัญญาทำไม้กับ อ.อ.ป.อีกต่อหนึ่ง ซึ่งผู้รับช่วงมักเกี่ยวพันกับเจ้าของโรงเลื่อยในจังหวัดนั้น และปฏิเสธไม่ได้ว่าการทุจริตคอรับชั่นได้แทรกแซงอยู่ในทุกวงการ
นอกจากนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และบริษัทสงเคราะห์สหายร่วมรบเกาหลี ก็ล้วนใช้วิธีประมูลให้เอกชนเข้าทำไม้แทบทั้งสิ้น
การกำหนดแปลงตัดฟันรายปี มิได้อาศัยกำลังผลิตของป่าหรือความเพิ่มพูนรายปีของป่ามาใช้เป็นหลักในการ คำนวณปริมาตรไม้ที่อนุญาต ให้ตัดออก ทำให้ปริมาณไม้ที่ได้ไม่สมดุลกับกำลังผลิตของโรงเลื่อยที่มีอยู่ จึงได้เกิดการลักลอบทำไม้ นอกเหนือไปจากปริมาณที่ได้รับอนุญาตในแต่ละปี และเมื่อไม้ที่เหลืออยู่ในแปลงตัดฟันต่อไปเหลืออยู่ไม่เพียงพอ ก็มักจะมีการขอทำไม้ควบแปลง ซึ่งปกติแล้วต้องทำไม้ปีละแปลง ก็ขอทำปีละ 2 หรือ 3 แปลง ทำให้อายุของป่าสัมปทานสั้นลง ไม่เป็นไปตามหลักการของวิธีเลือกตัดที่ถูกต้อง
ข้อกำหนดและเงื่อนไขสัมปทานเปิดโอกาสให้ผู้รับสัมปทานไม่ต้องปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกบำรุงป่าธรรมชาติและการป้องกันการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่า เพราะบริษัทสามารถนำเงินค่าใช้จ่ายในการปลูกป่า บำรุงป่ามาเข้าบัญชีธนาคารเพื่อที่กรมป่าไม้จะได้ปลูกป่าขึ้นมาทดแทนให้ ส่วนในกรณีที่มีการบุกรุกทำลายป่าขึ้นในพื้นที่สัมปทาน ผู้รับสัมปทานก็สามารถอ้างและพิสูจน์ได้ว่าการไม่ปฏิบัติตามหรือการกระทำผิด นั้นเกิด จากผู้อื่นที่ไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของผู้รับสัมปทานและผู้รับสัมปทานมิ ได้รู้เห็นเป็นใจด้วย เป็นต้น
ขั้นตอนการทำไม้มิได้รับการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ เนื่องมาจากเจ้าหน้าที่รู้เห็นเป็นใจกับผู้รับสัมปทาน ดังเป็นที่ทราบกันดีและมีข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์เนื่อง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์เดลินิว คอลัมน์”ปลายนิ้ว” ของนายกำแหง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2531 เปิดโปงการทุจริตของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไว้ว่า
“เจ้าหน้าที่ผู้คัดเลือกไม้ไม่ได้ทำตามหลักเกณฑ์ โดยส่งตรา ต.ตัด และช.ลาก ให้กับโรงเลือยไปจัดการตีคัดเลือกไม้เอาเองตามสะดวก ส่วนเจ้าหน้าที่ก็จะไปนอนตีพุงอยู่ที่โรงแรมหรือที่บ้านพักของโรงเลือยใน เมือง แถมเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักจากหลวงอีก แล้วยังได้ค่าส่งตรา ต.ตัด และตรา ช.ลาก จากโรงเลื่อยอีกต่างหาก แต่ละป่าจะมีไม้ทำออกได้หลายหมื่นลูกบาศก์เมตร คิดดูว่าจะเป็นเงินเท่าใดที่เจ้าหน้าที่จะได้รับ เงินพิเศษนี้จะถูกแบ่งกันไปตั้งแต่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้าฝ่าย ป่าไม้จังหวัด ป่าไม้เขต จะเห็นว่าหากเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเคร่งครัดแล้ว ความเสียหายจากการทำไม้ในป่าของโรงเลื่อยจะมีน้อยมาก แถมเจ้าหน้าที่บางคนยังทำบัญชีไม้ในป่าสัมปทานเกินจำนวนที่มีอยู่จริง เรียกว่า “บัญชีลม” ไว้ให้โรงเลื่อยไปหาตัดไม้จากที่อื่นมาสวมว่าตัดจากแปลงที่ได้รับสัมปทาน จึงไม่น่าแปลงอะไรเลยที่ต้นไม้ในป่าเมืองไทย ต้นหนึ่ง ๆ หากจะวัดกันที่ท่อนซุงที่โรงเลื่อยตัดท่อนละ 5 เมตรแล้ว ต้นหนึ่งจะทอนเป็นไม้ซุงได้ถึง 10-20 ท่อน รวมความแล้วต้นหนึ่งต้องสูงถึง 100 เมตร บางต้นโคนใหญ่กว่าตอที่ถูกตัด บางต้นท่อนปลายใหญ่กว่าท่อนโคน เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมรู้แต่เพียงว่า ยิ่งโรงเลื่อยตัดไม้ได้มากเท่าไรตนก็จะได้เงินมากขึ้นเท่านั้น”
เมื่อมีทางชักลากไม้ การเดินทางเข้าป่าก็จะเป็นไปโดยสะดวก ราษฎรก็จะติดตามเข้าไปบุกรุกแผ้วถางและยึดครองป่าที่เหลือเพื่อทำไร่เลื่อน ลอยต่อไป โดยหวังจะได้กรรมสิทธิ์ในอนาคต และแล้วที่ดินดังกล่าวก็จะตกเป็นของนายทุนที่สามารถครอบครองที่ดินในป่าเป็น จำนวนนับร้อยนับพันไร่ ชาวบ้านที่ยากจนได้ถูกใช้ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการบุกรุกทำลายป่าต่อไป อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้แปลงตัดฟันที่ผ่านการทำไม้ไปแล้วถูกทำลายจนสิ้นสภาพ และไม่สามารถฟื้นคืนสภาพขึ้นมาให้สามารถตัดฟันได้ใหม่ในรอบตัดฟันรอบต่อไป ซึ่งหมายถึงว่าป่าสัมปทานสูญสิ้นสภาพไปเมื่อสิ้นอายุสัมปทานที่ให้ไปแล้วนี้ เท่านั้น
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบ