๘๘
ตอนที่ ๑๐ พระราชาเหนือพระราชา
ดินแดนชมพูทวีปพระเจ้าอโศกมหาราชผู้เป็นต้นแบบของคติ
พระราชาเหนือพระราชา พระยาจักรพรรดิราชเป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าพระราชาทั้งปวงมีความเชื่อว่า ความเป็นจักรพรรดินั้นต้องมีลักษณะ ๗
ประการคือ
๑.ได้จักรแก้ว(จักรรัตน์จมอยู่ใต้ท้องทะเลลึกได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์เมื่อเกิดจักรพรรดิราชขึ้นในโลก
จักรแก้วซึ่งเป็นคู่บุญบารมีและจมอยู่ในมหาสมุทรก็จะผุดขึ้นมาจากท้องทะเลพุ่งขึ้นไปในอากาศเกิดเป็นแสงส่องอันงดงามมาน้อมนบเมื่อพระยาผู้ครองเมืองนั้นทราบว่าพระองค์จะได้เป็นพระยาจักรพรรดิราชปราบทั่วจักรวาลเพราะมีจักรแก้วมาสู่พระองค์พระยาจักรพรรดิราชก็จะเสด็จปราบทวีปทั้งสี่แล้วประทานโอวาทให้ชาวทวีปเหล่านั้นประพฤติและตั้งอยู่ในคุณงามความดีแล้วจึงเสด็จกลับพระนคร)(ได้ประเทศราชมีอำนาจเหนือแผ่นดินทั้งปวง)
๒.ได้ช้างแก้ว(หัสดีรัตน์)เป็นช้างที่มีความงดงาม
ตัวเป็นสีขาวตีนและงวงสีแดง เหาะได้รวดเร็ว ๓.ได้ม้าแก้ว (อัศวรัตน์)
เป็นม้าที่มีขนงามดังสีเมฆหมอกกีบเท้าและหน้าผากแดงดั่งน้ำครั่งเหาะได้รวดเร็ว
๔.ได้เพชร นิล จินดา( แก้วดวง (มณีรัตน์) เป็นแก้วที่มีขนาดยาวได้ ๔ศอก ใหญ่เท่าดุมเกวียนใหญ่สองหัวแก้วมีดอกบัวทอง
เมื่อมีความมืดแก้วนี้จะส่องสว่างให้เห็นทุกหนแห่งดังเช่นเวลากลางวันแก้วนี้จะอยู่กับพระยาจักรพรรดิราชจนตราบเท่าเสด็จสวรรคาลัยจึงจะคืนไปอยู่ยอดเขาพิปูลบรรพตตามเดิม
๕.ได้มเหสีผู้เลอโฉม สติปัญญาเฉียบแหลม ได้ข้าทาสบริวารสนมกำนัล นางแก้ว
(อิตถีรัตน์)คือ
แก้วอย่างที่ห้า
เป็นหญิงที่จะมาเป็นมเหสีคู่บารมีของพระยาจักรพรรดิราชนางแก้วนี้จะต้องเป็นหญิงที่ได้ทำบุญมาแต่ชาติก่อน
๖.ได้ขุนนางแก้วคือผู้มีฝีมือดีเป็นข้ารับใช้มีความสามารถแสวงหาความร่ำรวยมั่งคั่งสู่ราชอาณาจักร(ขุนคลังแก้ว เกิดขึ้นเพื่อบุญแห่งพระยาจักรพรรดิราช
และจะเป็นมหาเศรษฐีขุนคลังแก้วจะสามารถกระทำได้ทุกอย่างที่พระยาจักรพรรดิราชต้องการ)
๗.
ได้ขุนพลแก้วที่เป็นข้าประกาศพระราชอำนาจเหนือทวีป (หรือโอรสของพระยาจักรพรรดิราชมีรูปโฉมอันงดงาม
กล้าหาญ เฉลียวฉลาด สามารถบริหารกิจการบ้านเมืองได้ทุกประการ)ดังนั้นจึงต้อง
๘๙
แสดงแสนยานุภาพของอาณาจักรแผ่อำนาจไปยังเมืองทั้งปวง ให้อยู่ใต้ปกครองเพื่อเข้าลักษณะสำคัญ ๗ประการ การเข้าปกครองโดยเมืองต่างๆจะตกอยู่ในฐานะประเทศราชต้องส่งบรรณาการ
ต้องถูกกวาดต้อนแรงงานผู้หญิง ขุนนาง ช่าง ดังนั้นเมืองต่างๆก็ต้องการมีเมือง
ประเทศราช อยู่ภายใต้การปกครองทั้งสิ้นดังนั้นหมู่อาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สืบทอดพุทธศาสนาจากชมพูทวีปโดยยึดถือพระเจ้าอโศกมหาราชจักรพรรดิผู้ยึดมั่น
และศรัทธาในพุทธศาสนาเมื่อเดินทางมามุ่งขยายอำนาจและพร้อมกับนำพุทธศาสนาสู่เมืองอุษาคเนย์ที่นับถือผี
ดังนั้นหมู่พระราชาผู้เป็นเจ้าเมืองและเจ้าอาณาจักรในสมัยนั้น ยึดมั่นเอาพุทธเป็นพึ่งแต่การถือผีถือเทพเจ้าดังฮินดูก็ยังคงฝังแน่นในประเพณีอย่างมิจางหายโดยขอมทราวดี
ศรีวิชัยเป็นผู้สืบทอดในดินแดนนี้ตะวันออกสืบมานับพันปี เหล่าชาวอังวะ มอญ ลาว สุพรรณสุโขทัย อยุธยา ที่รับพุทธศาสนาจากพระเจ้าอโศกเริ่มมีความคิดตามคติราชาเหนือราชานี้
สืบกันมาโดยสมัยพระเจ้าเมงกินโยแห่งอังวะ ทรงมีเจตนารมณ์ไม่แตกต่างจากกษัตริย์พระองค์อื่นๆในยุคนั้น
บรรดาเจ้าเมืองต่างๆในลุ่มน้ำอิระวดีและแม่น้ำสโตง
ต่างต้องการรวบรวมเมืองน้อยใหญ่อื่นๆเข้าไว้ในอำนาจทั้งสิ้น
เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าเมงกินโยพระราชโอรสคือเจ้าฟ้าตะเบงชะเวตี้ก็ขึ้นครองราชย์โดยมีจอเดงนรธา(บุเรงนอง)
ขุนพลคู่ใจที่เติบโตมาด้วยกันจนพระเจ้าเมงกินโยพระราชทานพระธิดาให้จึงอยู่ในฐานะพี่เขยพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
ๆได้สืบทอดเจตนารมณ์ของพระบิดาได้ขยายอำนาจไปยังเมืองต่างๆแต่ด้วยมีดินแดนอีกหลายเมืองของลุ่มน้ำสะโตง
แม่น้ำอิระวดี
มีการค้าขายติดต่อกับชาวต่างชาติต่างๆจนมีทรัพย์สินร่ำรวยโดยเฉพาะเมืองมอญที่อยู่ปากแม่น้ำดังนั้นอังวะต้องควบคุมและยึดครองเมืองท่าต่างๆรวบรวมเข้าปกครองซึ่งจะนำมาซึ่งความร่ำรวยของราชสำนักอังวะดังนั้นจึงเริ่มจากโจมตีกรุงหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ
เมืองแปร ของพระเจ้าสการะวุตพี กษัตริย์ มอญกรุงหงสาวดี ที่มีทั้งตองอู และไทใหญ่หนุนหลังอยู่ก็ยังไม่สามารถต้านทานอังวะได้
ในขณะที่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กษัตริย์อังวะ ได้ยกกองทัพมาตีเมืองทวายเมืองด้านใต้ของเมาะตะมะอันเป็นหัวเมืองประเทศราชทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอโยธยาและเป็นเมืองท่าที่ขนส่งสินค้าทางบกมาลงเรือฝั่งอ่าวบางเกาะเข้ากรุงศรีอยุธยาและค้าขายไปล้านนาไปล้านช้างไปญวนเมืงท่าทวายนี้สำคัญต่อกรุงศรีอยุธยามากเพราะเป็นการเชื่อมต่อการค้าโดยไม่ต้องอ้อมไปมะละกาที่มีสลัดมากมายและนอกความคุ้มครองของกรุงศรีอยุธยาดังนั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราช แห่งกรุงศรีอโยธยาศรีรามเทพนคร
จึงทรงยกทัพไปช่วยทวายเพื่อชิงทวายคืน รบติดพันกันนาน
พระเจ้าตะเบงชะเวตี้จึงนำทัพบุกข้ามตะนาวศรีเข้ามาถึงกาญจนบุรีต่อสู้กับกองทัพกรุงศรีอโยธยาเป็นสงครามครั้งแรก
ของ กรุงศรีอโยธยากับอังวะ ในการทัพครั้งนี้
อโยธยานำทหารอาสาชาวโปรตุเกสที่มีความชำนาญในการใช้ปืนไฟ ไปสู้รบกับทัพอังวะด้วย
ทัพอโยธยามีไพร่พลน้อยกว่ามากด้วยอาศัยการแบ่งเป็นทัพเล็กๆเข้าซุ่มโจมตีสามารถตีทัพอังวะถอยร่นและเข้ายึดเมืองทวายกลับคืนมาได้เมื่อทัพอังวะพ่ายแพ้กลับไป
ต้องมีการปรับยุทธวิธีการรบกับกรุงศรีอโยธยาใหม่
พระเจ้าตะเบงชะเวตี้และจอเดงนรธาแม่ทัพพม่าได้ประจักษ์แล้วว่ากรุงศรีอโยธยามีกำลังเสมอเทียมอังวะหากปล่อยอยุธยาจะทำให้อยุธยามั่งคั่งจากการ
๙๐
ควบคุมเมืองท่าทั้งฝั่งทะเลมอญ(มหาสมุทรอินเดีย)และทะเลสยาม(มหาสมุทรแฟซิฟิค)โดยมีศูนย์กลางกระจายสินค้าที่กรุงศรีอยุธยา
ดังนั้นต้องทำลายเมืองท่าอยุธยาเพื่อให้ศูนย์กลางอยู่ที่อังวะและหงสาวดี
ส่วนจีนนั้นเป็นอาณาจักรใหญ่ต้องสร้างสมไพร่พลและเสบียงมากอังวะจึงจะสามารถเอาชนะได้
ส่วนเมืองไทใหญ่ และล้านนา หาใช่เมืองที่มีกำลังกล้าแข็งเท่าอังวะไม่ และเป็นเป้าหมายรองหากพระองค์จะสืบเจตนาจักรพรรดิราช
พระราชาเหนือพระราชานำความมั่นคง ความมั่งคั่งสู่อังวะต้องเข้ายึดครองเมืองท่าอโยธยาและยึดกรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชเพื่อเก็บบรรณาการ
ให้ได้ นับแต่นั้นอังวะจึงมุ่งทำสงครามกับอโยธยาโดยใช้กลยุทธโอบล้อม
โดยทำศึกยึดล้านนาและตีหัวเมืองที่กรุงศรีอโยธยาตั้งเป็นกองรักษาด่านหน้าเข้ามาจนถึงเมืองหลวง
ขณะที่เกิดศึกทวายนั้น ทางด้านล้านนา นั้นเป็นพันธมิตรและอ่อนน้อมต่อราชสำนักอังวะอยู่ก่อนแล้วด้วยเกรงการยึดครองจากกรุงศรีอยุธยา และกรุงศรีอโยธยาเองก็เพียรเข้าปกครองล้านนามาแต่พระราเมศวรก็ยังไม่สามารถยึดเป็นประเทศราชได้อย่างเด็ดขาด
ในเวลานั้นได้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญในล้านนาขึ้น เมื่อพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์ล้านนาถูกลอบปลงพระชนม์ที่วังเจ้าหลวงในนครเชียงใหม่ บรรดาท้าวพระยาเมืองลำปาง
เมืองเชียงราย และเมืองพานได้ ยกกำลังเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ได้
แล้วพร้อมใจกันแต่งตั้งพระนางมหาเทวีจิรประภา พระอัครมเหสีพระเมืองเกษเกล้า
ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระไชยราชาธิราชและเหล่าขุนนางที่เสร็จจากศึกทวาย
และได้รบกับอังวะ อย่างเต็มตัว จึง ประมาณสถานการณ์การศึกในวันข้างหน้าว่า
อังวะนั้นมีความเข้มแข็งอยู่มาก หากอโยธยาคิดตั้งรับอยู่ในพระนครประการเดียว
ก็จะเหมือนกรุงหงสาวดีเหมือนทวายที่ทัพอังวะเพียรเข้าตีถึงที่สุดแล้ว
ก็ต้องพ่ายแพ้และหากทัพอังวะต้องการใช้เชียงใหม่
เพื่อรวมผู้คนจากล้านนาเข้าร่วมทัพ คงมีกำลังพลจำนวนมากกว่าทัพกรุงศรีมากนัก
และใช้ล้านนาเป็นฐานส่งกำลังบำรุงกองทัพ เข้าทำศึกกับอโยธยา ซึ่งประมาณการณ์ทัพอังวะมีกำลังไพร่พลมากกว่าทัพอโยธยาถึงสองเท่าตัว
หาก แต่ยังไม่เข้าตีอโยธยาในทันทีก็ไม่ใช่ว่าอโยธยาจะปลอดภัย อีกทั้งอโยธยาเองมีอาณาเขตด้านทิศตะวันตกต่อเมืองมอญหากอังวะยึดมอญได้เด้ดขาดก็คงเกณฑ์มอญเสริมทัพเข้า
ตีขนาบมาอีกทางยากที่ทัพอโยธยาจะสู้
ดังนั้น ขณะเชียงใหม่ผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน พระไชยราชา จึงประสงค์
ยกกองทัพไปตีล้านนา ขณะนั้นล้านนาในแผ่นดินพระเกษเกล้า
ยอมอ่อนน้อมเป็นประเทศราชของอังวะอยู่ก่อนแล้วทัพพระไชยราชารวมพลที่ตาก(บ้านตากในปัจจุบัน)
เข้าตีได้นครลำปาง และนครลำพูน พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ออกญาพิษณุโลกพิเรนเทพ
นำทัพยกไปเชียงใหม่ พระนางมหาเทวีจิรประภา เห็นสถานการณ์จวนตัวเช่นนั้นแล้วอังวะหายกทัพมาช่วยไม่
จึงทรงต้อนรับออกญาพิษณุโลก
เจรจายอมเป็นประเทศราชของกรุงศรีอโยธยาโดยไม่ต้องรบกันอโยธยาจึงยกทัพกลับ
เห็นได้ว่า อาณาจักรล้านนานั้นเป็นอาณาจักรเป้าหมายเป็นที่ต้องการ ของทั้งอโยธยา
และอังวะ สำหรับอังวะนั้นต้องการเชียงใหม่ใช้เป็นฐานส่งกำลัง
และเกณฑ์ไพร่พลเพิ่มเติมกำลังเข้าตีอโยธยา
ส่วนอโยธยานั้นต้องการใช้เชียงใหม่เป็นรัฐหน้าด่านและเพื่อเป็นฐานทัพคอยสกัดกั้นการเข้าตีของอังวะและเพื่อเกณฑ์ไพร่พลเข้าทัพอโยธยา
๙๑
หลังจากเสร็จศึกเชียงใหม่พระไชยราชาก็ประชวรสวรรคต ความไม่สงบภายใน
กรุงศรีอโยธยากำลังอุบัติขึ้นอีก สมเด็จพระไชยราชาธิราชนั้นมีราชโอรส ๒
พระองค์คือพระยอดฟ้า ชันษา ๑๑ ปีและพระศรีศิลป์
เมื่อพระเทียรราชาผนวชได้นำพระศรีศิลป์ไปเลี้ยงดูที่วัดด้วย
การสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาพระยอดฟ้าจึงขึ้นครองราชย์โดยมีราชชนนีพระนางศรีสุดาจันทร์สำเร็จราชการเป็นแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์กาลต่อมาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์
พระนางคิดฟื้นฟูราชวงศ์อู่ทองที่ตั้งเมืองหลวงนี้มาซึ่งเป็นราชตระกูลของพระนางให้กลับขึ้นมาครองแผ่นดินอีกครั้งแต่ด้วยกำลังพระนางคนเดียวคงยากจึงมองเห็นแต่พันบุตรศรีเทพ
ซึ่งเป็นขุนนางชั้นประทวนดูแลราชพิธีพราหม์ในราชสำนัก
จึงสืบตระกูลพันบุตรศรีเทพว่าไม่เปิดเผยการลับของพระนาง จึง ทรงให้เลื่อนตำแหน่ง
พันบุตรศรีเทพ เป็นขุนชินราช แล้วย้ายเข้ามาอยู่วังชั้นใน
หลังจากนั้นได้เลื่อนให้เป็นขุนวรวงศาธิราช ต่อมาทรงพระครรภ์
จึงกำจัดพระยอดฟ้าผู้สืบสันติวงศ์ราชวงศ์สุพรรณภูมิซึ่งครองราชย์ได้เพียงแค่ ๒ ปี
โดยการยาพิษลงในอาหาร แล้วยกขุนวรวงศาขึ้นครองราชย์แทน แล้วเริ่มฟื้นฟูราชวงศ์อู่ทองแต่นั้น
แต่ด้วยขุนวรวงศาเป็นพราหม์ราชครู สกุลสามัญชนมิได้เติบใหญ่มาจากตระกูลขุนนาง
ดังนั้นการแต่งตั้งขุนนางให้ดูแลการทหารและเป็นอุปราชดูแลกองทหารจึงตั้งญาติพี่น้องมิใช่เชื้อสายขุนนางแต่ด้วยความเด็ดขาดของท้าวศรีสุดาจันทร์จึงสามารถควบคุมความสงบเรียบร้อยภายในพระนครได้แต่
บรรดาขุนนางเดิมหาเชื่อฟังไม่จึงรวมตัวกันวางแผนการณ์โค่นล้มอย่างลับๆเพราะหากเสียลับต้องถูกประหารฐานก่อการกบฏ เหล่าขุนนาง
และเชื้อพระวงศ์สุพรรณภูมิมีพระศรีสุริโยทัย
ชายาพระเทียรราชาเป็นผู้นำเห็นถึงความเดือดร้อนจะมาถึงทั้งราชตระกูลจึงร่วมกัน
กับออกญาพิษณุโลกบุตรเขย ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ
วางแผนกำจัดขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์เมื่อออกจากพระนครเท่านั้นเพราะเครือข่ายของขุนวรวงศาภายนอกพระนครยังไม่มี
ผู้ก่อการได้ไปประชุมวางแผนนอกการสอดส่องของขุนนางฝ่ายท้าวศรีสุดาจันทร์ที่วัดป่าแก้ว
วรเชษฐาราม แล้วจึงสบโอกาส คราวเสด็จทางชลมารค
ทหารองค์รักษ์ไม่อาจป้องกันขุนวรวงศาธิราชได้ถูกจับสำเร็จโทษ
เหล่าขุนนางจึงไปเชิญพระเทียรราชาพระอนุชาของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่ลี้ภัยผนวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐาน
ขณะที่พระนางศรีสุดาจันทร์สำเร็จราชการ
ให้ลาผนวชขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นรัชกาลที่๑๕
แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิอาณาจักรในอุษาคเนย์ที่มีอำนาจทางทหารเข้มแข็งยุคนั้น
มีอยู่เพียง ๓ อาณาจักร คือตองอู(อังวะ ต่อไปผู้เขียนจะแทนเมืองทั้งตองอู อังวะ
หงสาวดี ว่า อังวะเพราะภายในเขาก็ทำสงครามยึดเมืองสถาปนาเมืองไปมา
เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีไทยไม่มีพม่า
มีแต่อังวะทำสงครามกับกรุงศรีโยธยา)
เมื่ออังวะรวบรวมอาณาจักรและเมืองรอบๆจนหมดสิ้น
จึงคิดรวบรวมโยธยาซึ่งถ้าสำเร็จก็ง่ายที่จะได้กัมพูชา ล้านช้าง
และญวนเพื่อเป็นฐานส่งกำลังทั้งไพร่พล และ เสบียงในการเข้าตีจีนต่อไป ในปี
พ.ศ.๒๐๙๑ หลังจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดเดือนกษัตริย์ตะเบ็งชะเวตี้ทรงดำริว่า
ทางกรุงศรีอโยธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อำนาจมายังกรุงศรีอโยธยา จึงได้ยกกองทัพใหญ่มาทางด่านพระเจดีย์
๙๒
สามองค์ เมืองกาญจนบุรี ตีเมืองหน้าด่านสุพรรณ
โดยตั้งค่ายหลวงที่ตำบลบ้านกุ่มเมืองสุพรรณและเคลื่อนทัพถึงบ้านลุมพลีทิศเหนือกรุงศรีคอยบัญชาการทัพ
และทัพพระมหาอุปราชบาเยงนองดอตีป่าโมกได้แล้ว เคลื่อนพลมาตั้งค่ายที่เพนียด
ทัพพระเจ้าแปรตั้งที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งวรเชษฐ์
ครั้งนี้เป็นศึกครั้งแรกที่ทัพอังวะได้เข้าโจมตีถึงกรุงศรีอโยธยาที่อังวะยังไม่คุ้นเคย
เมืองที่มีแม่น้ำล้อมรอบเช่นเดียวกับอังวะ
ไพร่พลอังวะและเมืองประเทศราชรวมกันมีมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน(ขณะนั้นพลเมืองอังวะมีประมาณ สองล้านคน) ทั้งช้างม้าเป็นหลายพันอโยธยายากจะรับมือได้พระมหาจักรพรรดิจึงโปรดให้พระเจ้าพิษณุโลก(ขุนพิเรนทร์
บุตรเขย)เป็นผู้บัญชาการป้องกันพระนคร สั่งปิดประตูเมืองให้มั่นคงตั้งรับในเมือง
ทัพพระเจ้าตะเบงชะเวตี้นำป้อมปืนใหญ่ลากด้วยช้างยิงถล่มพระนครวันละหลายเวลาแต่ก็ไม่สามารถเข้ายึดเมืองได้ส่วนในเมืองอโยธยาเวียงวังเสียหายมากนักพระศรีสุริโยทัยได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
การที่อโยธยาตั้งรับเหนียวแน่นอยู่ในพระนครทำให้ทัพอังวะเลือกยิงปืนใหญ่โจมตีตามใจชอบแม้อโยธยาจะยิงตอบโต้
ฝ่ายอังวะๆนั้นสร้างป้อมค่ายและป้อมปืนกำบังแม้ถูกไพร่พลล้มตายก็ยังมีไพร่พลอีกมากทดแทนครั้นจะรอถึงฤดูน้ำหลากก็ยังอีกหลายเพลานัก
ออกญาพิษณุโลกกังวลหากปล่อยเช่นนี้ตองอูคงยิงถล่มกรุงแตกสักวัน
จึงจัดทัพเป็นกองรบขนาดเล็กหลายๆกองรบลอบออกจากพระนครเข้าตีโฉบฉวยทัพอังวะ
โดยรวมไพร่พลจากหัวเมืองด้านเหนือได้แก่กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก ตาก นครไทย น่าน มีกำลัง ๓๐,๐๐๐ คน แบ่งเป็นกองรบ
กองละ ๕,๐๐๐ คน ๖กองรบ ครั้นเพลาบ่ายก็
เปิดประตูเมืองส่งทหารออกครั้งละ๑กอง ไปโจมตี ทั้งทัพพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ พระเจ้าแปร พระมหาอุปราชาบาเยงนองดอและพระยาพะสิม โดยอังวะคิดไม่ถึงว่าคนเพียง ๕,๐๐๐จะกล้าเข้าตะลุมบอนกับกองทัพทุกกองทีมีไพร่พลมากถึง ทัพละ ๑๐๐,๐๐๐ คน เมื่อเข้าตะลุมบอนประชิด กองปืนใหญ่อังวะ
มิอาจใช้ปืนใหญ่โจมตีกองรบอโยธยาได้ด้วยรบประชิดติดพันกัน
ครั้นรุมเข้าปะทะก็เกะกะขวางทางกัน
ทหารไทยจึงเลือกฟันแทงไม่ว่าทางซ้ายขวาก็ถูกอังวะทั้งสิ้น
จนระส่ำระสายแม้สิ้นชีวิตทั้งกองรบ กองรบกองที่๒ ก็เปิดประตูเมือง เข้าตะลุมบอนซ้ำอีก
ลิดรอนกำลังจนทหารอาสาชาวต่างชาติในทัพอังวะถ้อถอยด้วยล้มตายเป็นแสนคน
ทัพใหญ่ก็ยังบุกเข้าพระนครไม่ได้ขณะนั้นมีเหตุพายุใหญ่พัดเชื้อเพลิงดินปืนเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ทั้งป้อมปืนดินปืนลามไปทั้งแปดป้อมจนใช้การไม่ได้ต้องซ่อมทำใหม่ทั้งหมดซ้ำพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติภัยครั้งนี้
แต่กระนั้นทัพอังวะและอโยธยาก็มิได้ถอนกำลังคงรบกันตั้งแต่บ่ายถึงค่ำจึงยุติ
การตะลุมบอนครั้งนี้ฝ่ายอโยธยาเสียทหารไปสิ้นทั้ง๖
กองรบไม่เหลือรอดกลับเข้าเมือง
ด้วยพบการพลีชีพด้วยกำลังพลเพียงน้อยแต่พม่าสูญเสียไพร่พลไปถึงครึ่งทัพปืนใหญ่เสียหายสัตว์ต่างล้มตายไพร่พลบาดเจ็บอีกมากมายรวมทั้งพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ก็มาเจ็บอีก
แม้ล้อมอโยธยาถึงเพลา ๔ เดือนก็ยังบุกเข้าเมืองไม่ได้
ไม่สามารถตีทัพอโยธยาที่ป้องกันเมืองให้แตกได้ ขณะนั้นด้วยเป็นฤดูฝน
ฝนตกชุกมากเสบียงอาหารก็ขาดแคลน เนื่องจากเป็นการบุกอโยธยาครั้งแรกการเตรียมการเรื่องเสบียงผิดพลาดไปมาก
และน้ำในแม่น้ำทั้ง ๓ สายไหลหลากสีแดงขุ่น
๙๓
ถ้าไม่เร่งถอยทัพอาจเสียทีออกญาพิษณุโลก
อีกไม่นานน้ำเหนือก็จะมาท่วมซ้ำอีกแม้ทหารอโยธยาจะตายสิ้นในการรบที่ผ่านมาก็แค่ส่วนเดียวพม่าหยั่งกำลังอโยธยาไม่รู้แน่ว่าในกำแพงเมืองยังมีอีก
มากน้อยเพียงใด พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จึงปรึกษาการทัพกับมหาอุปราชบาเยงนองดอ
และแม่ทัพทั้งปวง ได้ข้อสรุปว่าให้ถอยแต่หากถอยทัพออกด่านเมืองกาญจน์แม้จะปลอดภัยแต่ไม่เกิดประโยชน์อันใดกับการยกทัพมาครั้งนี้
เห็นทีต้องมุ่งทัพขึ้นเหนือไปด่านแม่ละเมาเพื่อกวาดต้อนผู้คนเมืองหน้าด่านอโยธยาและยึดเสบียงอาหารเลี้ยงทัพ
อโยธยาคงไม่กล้ายกทัพตามมาด้วยพระศรีสุริโยทัยสิ้นพระชนม์อังวะจึงสั่งถอยทัพในเพลาค่ำโดยมุ่งทัพออกทางด่านแม่ละเมาเมืองตาก
โดยทัพบาเยงนองดอเป็นทัพหน้า จึงเร่งถอยร่นออกจากที่ตั้งทัพ
โดยเผาซากศพจากเชื้อเพลิงทุกชนิดที่หาได้ เกิดควันคละคลุ้งไปทั่ว
ภายในพระนครไม่สามารถคาดเดาแผนการตองอูได้ว่าคิดอ่านอย่างไร
เช้าวันรุ่งขึ้นทหารบนเชิงเทินไม่เห็นทัพอังวะจึงรายงานออกญาพิษณุโลก
ข้าศึกถอยจนไม่เห็นหลังทัพไปแล้วคงเคลื่อนพลไปยามค่ำคืน การรบครั้งนี้
เสียทหารของออกญาพิษณุโลกไป ๓๐,๐๐๐ คน
คะเนทัพตองอูสูญเสียมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐คน
ทำให้ต้องเร่งถอยทัพกลับไป
ออกญาพิษณุโลกจึงกราบบังคมทูลพระมหาจักรพรรดิด้วยเห็นได้ทีขอจัดทัพออกติดตามโจมตี
ทัพอังวะคงได้ชัยชนะเด็ดขาดจึงโปรดให้ออกญาพิษณุโลกพร้อมพระราเมศวรนำทัพเร่งติดตาม
ด้านทัพอังวะ เมื่อถอยทัพถึงกำแพงเพชรแจ้งจากทัพหน้าว่ามีทัพอโยธยาโดยราช
บุตรพระเจ้าอโยธยาชื่อราเมศวร
และอีกทัพหนึ่งเป็นพระเจ้าพิษณุโลกราชบุตรเขยพระเจ้าอโยธยายกทัพติดตามมา พระเจ้าตะเบงชะเวตี้จึงแบ่งทัพเป็นสามกองโดย
ให้ทัพอุปราชบาเยงนองดอดักซุ่มย่านกลางมีอีกสองทัพอยู่ซ้ายและขวาแต่งทัพม้า
สามร้อย
เข้าจู่โจมทัพอโยธยาแล้วเร่งล่าถอยล่อเข้าที่ซุ่มทัพอุปราชบาเยงนองดอไสช้างโจมตีกองทัพของพระมหาธรรมราชา(ขุนพิเรนเทพ)และพระราเมศวรสามารถกุมตัวไว้ได้พร้อมจับได้เชลยจำนวนมาก
นำเชลยทั้งหมดเข้าถวายพระเจ้าตะเบงชเวตี้เป็นการพ่ายแพ้โดยง่ายเนื่องจากคาดการณ์ผิดว่าอังวะแตกทัพจากอโยธยาจึงถอยทัพ
ตองอูจึงให้แจ้งข่าวชัยชนะ
ยังทัพหลวงศรีอโยธยาพระมหาจักรพรรดิทราบความจึงขอเจรจาสงบศึก
ด้วยการถวายเครื่องราชบรรณาการเป็นช้างศึก
และภาษีอากรที่ได้จากเมืองตะนาวศรีเพื่อแลกตัวเชลยคืน
ดังนั้นในมิติทางการเมืองการที่อโยธยาเจรจรยอมถวายบรรณาการกับพม่าแม้เป็นการไถ่เชลยที่เป็นเชื้อพระวงศ์
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงถือว่า อโยธยายินยอมเป็น“ประเทศราช” ในความหมายโบราณกับอังวะ
แต่บัดนั้น เมื่อคืนเชลยกับอโยธยาแล้วจึงถอยทัพกลับไป
โดยจับบรรดาช่างฝีมือกับครอบครัวไปด้วย มีนักแสดงชายหญิงช่างก่อสร้าง ศิลปิน
ช่างเหล็ก ช่างไม้ ช่างผม คนครัว ช่างทองแดง ช่างย้อมสี ช่างทอง ช่างเครื่องเขิน
หมอช้าง หมอม้า นางระบำ ช่างสี ช่างน้ำหอม ช่างเงิน ช่างสลักหิน ช่างปูน
ช่างแต่งเครื่องไม้ และครอบครัวช่างทั้งหมดให้ ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเมืองหงสาวดี
หรือพะโค เป็นการกลืนชาติเมื่อกาลเวลาผ่านไปนานปี
แต่เป็นการเลือกคนที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศเพื่อมาเผยแพร่วิทยาการช่างฝีมือต่างๆให้ชาวอังวะ
และหงสาวดีซึ่งคนอโยธยาฝากฝีมือการแกะสลักไม้ในการสร้างพระราชวังอังวะ
ซึ่งการกวาดต้อนผู้คนนี้ชาวสยาม ชาวกัมพูชา
๙๔
ก็กระทำเช่นเดียวกันเมื่อชนะศึก
ปัจจุบันคนอโยธยาที่อยู่หงสาวดีในยุคนั้นมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาช่างถึงลูกหลานมานับสิบชั่วอายุคน แต่ภาษาและหน้าตาคงกลมกลืนเป็นพม่าไปหมดสิ้น ต่างจาก
ชนชาติมอญ
ล้านนา เขมร ที่กวาดต้อนมาสยามนับสิบชั่วอายุคนปัจจุบันนอกจากจะสืบทอดวัฒนธรรมของตนเองแล้วยังใช้ภาษาของตนได้ดีตลอดมา
เมื่อทัพอังวะถอยกลับได้ไม่นานพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ก็ถูกอุปราชบาเยงนองดอรัฐประหารโดยการวางยาพิษพระเจ้าตะเบงชะเวตี้สวรรคต
อุปราชบาเยงนองดอหรือที่คนไทยเรียกบุเรงนองขึ้นครอง ราชย์ ในวันราชาภิเษก ๑๒มกราคมพ.ศ.๒๐๙๖ไม่มีตัวแทนจากอยุธยามาเฝ้า
ทำให้พระองค์ทรงไม่พอพระทัย
เพราะถือว่าสยามเป็นประเทศราชของหงสาวดีเมื่อครั้งพระมหาจักรพรรดิ์ยอมแพ้แลกตัวพระราเมศวร
เมื่อไม่ส่งบรรณาการมาถือเป็นขบถอังวะจึงคิดวางแผนจัดทัพเข้าปราบปราม
ในพ.ศ. ๒๐๙๘ ราชสำนักอโยธยาเกิด
เหตุการณ์ก่อกบฎขึ้นโดยพระศรีศิลป์ พระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ซึ่งเมื่อท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาถูกพระศรีสุริโยทัยรัฐประหารแล้วพระเทียรราชาขึ้นครองราชย์สมบัติ
พระเทียรราชาได้ชุบเลี้ยงพระศรีศิลป์ครั้น อายุได้ ๑๔ ปี พระเทียรราชาทรงให้บวชเป็นสามเณรอยูที่วัดราชประดิษฐานพระศรีศิลป์นั้นได้วางแผนก่อการทวงบรรลังค์จากพระเทียรราชาแต่ความแตกจึง
ประหารผู้ร่วมสมคบคิด
ส่วนพระศรีศิลป์สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเลี้ยงมาแต่เด็กจึงรักหลานคนนี้นักไม่คิดประหารเพียงให้คุมตัวไว้ที่วัดธรรมมิกราช
ช่วงที่กรุงศีอโยธยามีสงครามติดพันทัพพระเจ้าตะเบงชะเวตี้อยู่นั้น
สมเด็จพระบรมราชากษัตริย์ละแวกแห่งอาณาจักรกัมพูชา(เมืองละแวกอดีตเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรกัมพูชาอยู่จังหวัดกัมปงฉนังในปัจจุบัน)
ส่งกองทัพเข้ามากวาดต้อนผู้คนแถบเมืองปราจีนแล้วยกทัพกลับ ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๐๙๙ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงให้แต่งทัพไปตีเมืองละแวก
ให้พระยาสวรรคโลก ยกทัพ ๓๐,๐๐๐ ให้พระมหามนตรีถืออาชญาสิทธิ์เป็นทัพหลวง
พระยารามลักษณ์เป็นแม่ทัพหน้า พระมหาเทพถือวัวเกวียนเป็นกองเกียกกาย
ให้พระยาเยาเป็นแม่ทัพเรือออกจากอโยธยาด้วยลมอ่อนทัพเรือจึงตามทัพบกไม่ทัน พระยารามลักษณ์แม่ทัพบกได้เข้าตีเขมรใน
ตอนกลางคืน
แต่เสียทีถอยหนีมาถึงทัพหลวง ในศึกนี้เสียพระยา สวรรคโลกกับไพร่พลอีกจำนวนมาก
ส่วนทัพหลวงเข้าตีผ่านทัพที่แตกร่นลงมา จนกระทั่งพญาละแวกยอมแพ้
ส่งสารมาขออ่อนน้อม และส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย แลให้นักพระสุโท นักพระสุทัน
มาเป็นข้าพระบาท(ตัวประกัน)พระมหาจักรพรรดิ
จึงทรงให้สมเด็จพระบรมราชากลับไปครองเมืองละแวกอย่างเดิม นำนักพระสุโท
กลับมากรุงศรี แล้วให้ นักพระสุทัน ไปอยู่เมือง สวรรคโลก
พระเจ้าบาเยงนองดอ
ทำสงครามตามอุดมคติพระราชาเหนือพระราชารวบรวมอังวะทั้งปวงทั้งมอญทั้งไทยใหญ่ ยะไข่
เข้าไว้ในพระราชอำนาจแล้วจึงมีเป้าหมายรวบรวมกรุงศรีอโยธยาและเมืองในปกครองเอาไว้ในอำนาจ
๙๕
ของอังวะด้วยสงครามครั้งแผ่นดินพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้อโยธยากล้าแข็งมากกว่าหงสาวดีและไทยใหญ่ครั้งนี้จึงมิได้เข้าตีอโยธยาโดยตรง
แต่ใช้ยุทธวิธีตัดกองหนุนจากหัวเมืองเหนือไม่ให้อโยธยามีกองหนุนจากออกญาพิษณุโลก
เมื่อ ตุลาคม พ.ศ.๒๑๐๐
เข้ายึดเชียงใหม่ไว้ได้ ใช้ล้านนาเป็นฐานส่งกำลังบำรุงเดินทัพเข้าตีหัวเมืองเหนือ
หลายทางพร้อมกันโดยล้อม กดดันกรุศรีให้ยอมแพ้เพื่อให้ได้อโยธยาเป็นประเทศราชโดยไม่ต้องรบจากนั้นแต่งราชทูตมากรุงศรีอโยธยา
ขอพระราชทานช้างเผือก(ช้างแก้ว)จากพระมหาจักรพรรดิ์
ได้รับการปฏิเสธจากพระมหาจักรพรรดิ
ซึ่งหากยอมส่งช้างให้ก็คือการยอมเป็นประเทศราชต่ออังวะแต่หากไม่ให้ก็คือการประกาศสงครามนั่นเอง
พระเจ้าบาเยงนองดอจึงสั่งเคลื่อนพล๒๐๐,๐๐๐คนเข้าโจมตีศรีอโยธยาโดย
แบ่งเป็น๖กองทัพ พร้อมปืนใหญ่จากโปรตุเกส
โดยทัพที่ล้อมหัวเมืองเหนือกองหนุนของอโยธยา เข้าโจมตีกำแพงเพชร สวรรคโลก
สุโขทัยและ พิชัย ด้านเมืองพิษณุโลกพระเจ้าพิษณุโลก
ส่งข่าวถึงอโยธยาขอทัพมาช่วย ส่วนกรุงศรีอยุธยามุ่งตั้งรับทัพอังวะด้าน ด่านเจดีย์สามองค์ที่ระยะทางใกล้กรุงศรีอยุธยามากเกรงอังวะบุกถึงพระนคร
จึงมิได้ส่งทัพไปช่วยพิษณุโลก เจ้าเมืองพิษณุโลกจึงต้องคิดการแก้ปัญหาเองตามลำพังด้วยทัพพิษณุโลกมีเพียงสามหมื่นคน
เทียบกำลังเรือนแสนของอังวะมิได้
เมื่อทัพอังวะถึงพิษณุโลกจึงล้อมเมืองไว้แล้วพระเจ้าจอเดงนรธาส่งนายทัพมาเชิญพระเจ้าพิษณุโลกที่หน้าเมืองให้ยอมสวามิภักดิ์
พระเจ้าพิษณุโลกจึงขัดเคืองกรุงศรีอยุธยายิ่งนักจึงจำยอมสวามิภักดิ์เพื่อรักษาชีวิตประชาราษฎร์
ยินยอมมอบทัพเข้าร่วมกับทัพอังวะ(ยึดทั้งกองทัพเป็นประกันว่าจะไม่เข้าช่วยอโยธยาตีขนาบทัพพม่า)
เมื่อเหตุการณ์รบเกิดขึ้นทางหัวเมืองเหนือ อโยธยาจึงถอนทัพจากด่านเจดีย์สามองค์
แล้ว โปรดให้พระมหินทร์ยกทัพไปสกัดทัพอังวะ
ถึงเมืองชัยนาทไม่อาจต้านทานได้จึงถอยทัพเข้ากำแพงกรุงศรีกองทัพอังวะได้เข้าล้อมกรุงศรีอโยธยาไว้ได้อีกครั้งๆนี้อโยธยาขาดออกญาพิษณุโลกเหมือนครั้งก่อน
อังวะเร่งระดมยิงปืนใหญ่เข้าในพระนครทุกวัน จนราษฎรได้รับความเดือดร้อนและเสียขวัญ
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบาเยงนองดอที่พลับพลาบริเวณตำบลวัดหน้าพระเมรุ กับวัดหัสดาวาส
ยอมเป็นไมตรี โดยได้มอบช้างเผือก ๔เชือก
พร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระสุนทรสงครามให้แก่อังวะและส่งช้างให้หงสาปีละ
๓๐ เชือก เงินปีละ ๓๐๐ชั่ง และเก็บภาษีเมืองมะริดเป็นสิทธิของอังวะ
จากนั้นอังวะก็ถอยทัพกลับไปหงสาวดีพร้อมบรรณาการและ
เชลย กรุงเทพทราวดีศรีอโยธยาจึงเป็นประเทศราชอังวะแต่นั้นมา (จึงเห็นได้ว่าเป้าประสงค์ คือทรัพย์สมบัติ
บรรณาการเมื่อค้าขายร่ำรวยแต่รบแพ้จำยอมจ่ายส่วยกับประเทศผู้ชนะสงคราม
โดยผู้ชนะมิได้มีความประสงค์ส่งคนมาปกครองควบคุม
ตรงข้ามกลับจับเชลยเฉพาะคนเก่ง ช่าง เพื่อนำกลับไปบ้านเมืองตน
และการสงครามไม่ประสงค์ยึดดินแดนเหมือนสงครามล่าเมืองขึ้นในยุคต่อมา)
ล่วงเข้าปีพ.ศ.๒๑๐๔
พระศรีศิลป์มีอายุครบ ๒๐ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ อยูที่วัดมหาธาตุ แต่พระศรีศิลป์หนีไปซุ่มพลอยู่ตำบลม่วงมดแดง
จึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหาเสนาบดีไปตามกุมตัว ฝ่าย
๙๖
พระศรีศิลป์นั้นจึงยกกำลังพลลอบ
เข้าวังหลวงในช่วงคืนเดือนมืด แรม ๑๔ ค่ำเดือน ๘ วันรุ่งขึ้นเช้าพระศรีศิลป์จึงนำกำลังบุกเข้าพระราชวังไ
ทหารองค์รักษ์ชาวโปตุเกตยิงปืนถูกพระศรีศิลป์สิ้นชีพขณะเข้าต่อสู้
กำลังพลที่เหลือจึงยอมจำนนทั้งหมดถูกนำตัวไปประหารชีวิตเหตุก่อการณ์ไม่สงบจึงกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ในราชสำนักนับแต่เป็นประเทศราชอังวะพระมหินทร์นั้นยิ่งทวีความโกรธแค้นพระเจ้าพิษณุโลกส่วนสาเหตุนั้นมีอยู่หลายประการทั้งพระราชบิดาให้พระเจ้าพิษณุโลกได้สิทธิขาดในกาปกครองเมืองเหนือเสมือนพระเจ้าพิษณุโลกเป็นอุปราช
ทั้งคลางแคลงใจเรื่องเข้าเป็นไมตรีทัพอังวะและด้วยเกรงเมื่อสิ้นพระราชบิดาพิษณุโลกจะชิงขึ้นเป็นกษัตริย์กรุงศรีอโยธยา
ทำให้ทรงไม่พอพระทัย อีกทั้งพระยารามขุนนางคนสนิทของพระมหินทร์ถูกพระเจ้าพิษณุโลกสั่งย้ายจากรั้งเมืองกำแพงเพชรไปรั้งเมืองจันทบูรที่กันดารห่างไกล
พระมหินทร์จึงต้องหาทางริดรอนลดอำนาจพระเจ้าพิษณุโลกลง ซึ่งพระเจ้าพิษณุโลกก็รู้เรื่องดีว่าหากสิ้นพระเจ้าแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ์คงต้องรบกับพระมหินทร์
พระเจ้าพิษณุโลกจึงคิดอ่านเตรียมการในเรื่องนี้ แล้วจึงสบโอกาสในพระราชประเพณีคล้องช้างปีนั้นอโยธยาคล้องช้างเผือกได้
๖ ช้างอีกทั้ง พระเจ้าอภัยพุทธบวรไชยเชษฐาธิราช
กษัตริย์ล้านช้าง(ลาว)เจริญสัมพันธ์ไมตรีกับอโยธยา ส่งคณะทูตมาสู่ขอ พระเทพกษัตรี
พระราชธิดาองค์เล็กของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระมหินทร์เห็นเป็นโอกาสที่จะร่วมเป็นทองแผ่นเดียวแผ่นดินล้านช้างเพื่อคิดการรวมกำลังแข็งเมืองอังวะจึงทรงรับไมตรีพระไชยเชษฐาธิราช
แต่ติดขัดที่พระเทพกษัตรีไม่เต็มใจจากบ้านเมืองไปไกลถึงล้านช้าง พระมหาจักรพรรดิ์จึงได้ส่งพระแก้วฟ้าพระธิดาพระสนมรัตนมณีเนตรไปล้านช้างแทน
เมื่อขบวนเสด็จพระราชธิดาและคณะทูตถึงล้านช้างพระไชยเชษฐาทราบความไม่ทรงพอพระราชหฤทัยจึงถวายคืนพระแก้วฟ้า
เมื่อการเป็นเช่นนี้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงส่งพระเทพกษัตรีไปล้านช้างอีกครั้งหนึ่ง
ข่าวการถวายพระเทพกษัตรีทราบถึงพระเจ้าจอเดงนรธา
จึงรู้ว่าอโยธยาคิดการแข็งเมืองโดยร่วมกับล้านช้าง
ดังนั้นพระเจ้าจอเดงนรธาจึงส่งกองโจรจากพิษณุโลกมาดักชิงพระเทพกษัตรีระหว่างเดินทางจากอโยธยาไปเวียงจันทร์
เมื่อการจัดส่งพระธิดาไปไม่ถึงล้านช้างเจ้าไชยเชษฐาเคืองพระทัยเป็นอย่างมากคิดการเข้าโจมตีเมืองพิษณุโลกแต่พระมหาจักรพรรดิทรงห้ามไว้เพราะถึงอย่างไร
พระวิสุทธิกษัตริย์ราชธิดาของพระองค์ก็เป็นชายาพระเจ้าพิษณุโลก
พระมหาจักรพรรดิทรงเสียใจมากที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นจึงเสด็จประทับวังหลังแล้วให้พระมหินทร์พระราชโอรสว่าราชการแทน
พระมหินทร์โปรดให้ส่งข่าวถึงพระยารามขุนนางคนสนิทผู้รั้งเมืองจันทบูรเดินทางเข้าเฝ้าเพื่อได้ร่วมกันวางแผนจับกุมตัวพระเจ้าพิษณุโลก
โดยให้ ล้านช้างยกทัพมาตีพิษณุโลกเป็นการลวงเพื่อให้ พระเจ้าพิษณุโลก
ขอทัพอโยธยาให้มาช่วยซึ่งถ้าเป็นไปตามแผนการ
เมื่อพิษณุโลกต้องเผชิญกับทัพล้านช้างที่ล้อมพระนคร พระมหินทราธิราชก็จะได้ส่งพญาสีห์ราชเดโชและพญาท้ายน้ำทำทีไปช่วยพิษณุโลกแล้วให้ไปกุมตัวพระเจ้าพิษณุโลก
ให้
๙๗
นำตัวลงมาอโยธยา
แต่การกลับไม่เป็นไปตามแผนการเมื่อพญาสีห์ราชเดโช ที่เป็นสหายร่วมรบกับขุนพิเรนเทพมาก่อนและไม่ชอบใจการบริหารราชการของพระมหินทร์
จึงนำความลับนี้ไปแจ้งแก่ พระเจ้าพิษณุโลก
เมืองพิษณุโลก
จึงแจ้งข่าวให้อังวะมาช่วย
การกระทำทั้งหมดเป็นความลับโดยพระเจ้าพิษณุโลก
แสร้งไม่ทราบแผนการของพระมหินทร์แต่อย่างใด เมื่อทัพล้านช้างมาถึงพิษณุโลกตั้งทัพที่ตำบล
โพธิเวียง พระมหินทราธิราช จึงทำทียกทัพไปช่วยพิษณุโลก โดยยกไปทางน้ำแควเพื่อเข้าถึงวังพระเจ้าพิษณุโลก
สมทบกับทัพพิษณุโลกเพื่อเตรียมกุมตัว พระเจ้าพิษณุโลก พระเจ้าพิษณุโลก จึงปิดประตูน้ำ
เข้าเมืองด้านใต้ ไม่ให้ทัพอโยธยายกทัพเข้าเมือง แล้วใช้แพไม้ไผ่วางเพลิงล่องน้ำไป
เผากองเรือกรุงศรีฯของพระมหินทร์เกิดโกลาหลแตกพ่ายไป
ส่วนทัพอังวะที่มาช่วยพิษณุโลกก็เข้าตะลุมบอน ทัพล้านช้างด้านเหนือพระนครพิษณุโลกแตกพ่ายถอยทัพไปพระเจ้าพิษณุโลก
รู้ว่า พญารามเป็นคนวางแผนเรื่องต่างๆจึงได้มีสารมาขอตัวพญารามจากอโยธยาว่าพระยารามเป็นขุนนางพิษณุโลกจะย้ายจากจันทบูรให้ไปเป็นพระยาพิชัย
พระยารามรู้ตัวว่าต้องโดนประหารหรือส่งตัวให้อังวะเป็นแน่ จึงทูลกับพระมหินทร์ ว่าพระเจ้าพิษณุโลก
กับอังวะเป็นมิตรกันยังจะมาบังคับพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ดังนั้นขออย่าให้พระมหินทร์ส่งตัว
หากแม้นว่าอังวะยกทัพมาตัวข้าพเจ้าจะอาสาป้องกันพระนครเอง
ดังนั้นพระมหินทร์จึงไม่ยอมส่งตัวพระยารามให้พระเจ้าพิษณุโลก ตามคำขอ
ในปีพ.ศ. ๒๑๐๗
พระเจ้าจอเดงนรธาส่งทูตมายังพิษณุโลกสู่ขอพระธิดาสุพรรณกัลยาพระเจ้าพิษณุโลกจึงดำหริว่าหากตัดไมตรี
คงไม่เป็นผลดี เพราะบาดหมางอยู่กับพระมหินทร์หากสิ้นพระมหาจักรพรรดิพระมหินทร์คงไม่มีเหตุให้เกรงใจพระราชบิดา
ด้วยขุนนางยุยงคงรบกับพิษณุโลกอีก จึงรับไมตรีและฝากโอรสองค์โตเพื่อไปเล่าเรียนยังราชสำนักอังวะ
จึงเป็นที่ชัดเจนถึงสองขั้วอำนาจที่จะสืบราชสมบัติกรุงศรีอโยธยา ระหว่างพระเจ้าพิษณุโลกกับพันธมิตรอังวะ
และพระมหินทร์กับพันธมิตรล้านช้าง
คราว เมื่อพระเจ้าพิษณุโลก เสด็จไปหงสาวดี
อโยธยาทราบข่าวจึงจัดเตรียมทัพเพื่อโจมตีพิษณุโลกเมื่อเข้าเมืองพิษณุโลกได้แล้วพระมหินทร์จึงพาพระวิสุทธิกษัตริย์
และหลานคือพระเอกาทศรถอนุชาของพระนเรศ กลับมากับทัพให้มาประทับในวังที่อโยธยา
เป็นการตัดไมตรีกับพระเจ้าพิษณุโลก ไม่ให้มีเยื่อใยต่อกัน พระเจ้าพิษณุโลก
โกรธเคืองพระมหาจักรพรรดิและพระมหินทร์ยิ่งนัก ที่พราก
มเหสีและพระโอรสของพระองค์ไป
สายสัมพันธ์ที่เคยมีมาตั้งแต่ครั้งปราบขุนวรวงศาและท้าวศรีสุดาจันทร์จนพระเทียรราชาได้ครองราชสมบัติกรุงศรีอโยธยาเป็นพระมหาจักรพรรดิ์มีอันขาดสะบั้นลง
พระเจ้าพิษณุโลกจึงเตรียมทัพ จึงเร่งส่งข่าวถึงอังวะมาช่วยโจมตีอโยธยาเพื่อชิงมเหสีและโอรสคืนทันที
พระเจ้าจอเดงนรธาเดินทัพมาถึงพิษณุโลกจึงจัดพิธีกรรมสถาปนาพระเจ้าพิษณุโลก
เป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์
ครองเมืองพิษณุโลกในฐานะเมืองประเทศราชของอังวะเมืองหนึ่งไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา
และเจ้าเมืองอื่นๆถือน้ำกระทำสัตย์
อังวะเตรียมกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพให้เจ้าฟ้าต่างๆคุมทัพมีกำลังห้า
๙๘
แสนคน พระเจ้าจอเดงนรธาเข้าตีกรุงศรีแล้ว ๒
ครั้ง
จึงทราบชัยภูมิกรุงศรีดีเส้นหลักการรุกเดินทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน
โดยมีทิศทางเข้าตีหลักทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรี ซี่งเป็นด้านที่คูเมืองแคบสุดและใช้กำลังทางเรือปิดกั้นลำน้ำทางตอนใต้ปากแม่น้ำบางกอก
เพื่อไม่ให้อโยธยาติดต่อกับหัวเมืองทางใต้และต่างประเทศทัพตองอูนั้นระดมพลจากเมืองประเทศราชทั้งหมดเมื่อประชุมวางแผนการทัพเตรียมการเสร็จเดือนตุลาคม
พ.ศ. ๒๑๑๑ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก ๗ ทัพ มีแม่ทัพคุมทัพดังนี้ พระมหาอุปราชานันทบุเรง
เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู เจ้าเมืองอังวะ เจ้าเมืองเชียงใหม่ เจ้าเชียงตุง
และพระศรีสรรเพชญ์เจ้าเมืองพิษณุโลก
เป็นกองหนุนควบคุมเสบียงการเตรียมการของฝ่ายอยุธยาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้เตรียมการป้องกันบ้านเมืองเพิ่มเติม
ดังนี้สร้างป้อมและหอรบเพิ่มเติม โดยหอรบอยู่ห่างกันหอละ ๔๐ เมตร
รวมทั้งเสริมกำแพงให้แข็งแกร่งขึ้นจัดปืนใหญ่ไว้ตามกำแพงเมืองเป็นจำนวนมาก
โดยห่างกันเพียงกระบอกละ ๑๐
เมตรโปรดให้สร้างแนวกำแพงขึ้นใหม่โดยให้ชิดกับคูเมืองทุกด้านให้สร้างหอรบไว้กลางลำน้ำที่เป็นคูเมืองแล้วเอาปืนใหญ่ติดตั้งไว้บนนั้น
อังวะกรีฑาเข้ายึดตาก กำแพงเพชร ชัยนาท เมืองอินทร์ ป่าโมกข์
ลงมาถึงพระนครในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน
ทัพพระเจ้าจอเดงนรธาก็ตั้งค่ายรายล้อมพระนครอยู่ไม่ห่าง
กองหนุนหัวเมืองเหนือก็อยู่ในปกครองของพิษณุโลกทำให้อโยธยาไม่สามารถมีกำลังตั้งรับมากๆได้
อโยธยาจึงต้องตั้งรับภายในพระนครอย่างเหนียวแน่น
ส่งผลให้มีการระดมยิงปืนใหญ่ของอังวะทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่ตลอด ทำให้ในเมือง วัง
วัดวาอาราม
ได้รับความเสียหายอย่างมากฝ่ายกรุงศรีอโยธยาเมื่อทราบว่าหัวเมืองทางเหนือเป็นของอังวะหมดสิ้นแล้ว
จึงเตรียมตั้งรับอย่างเหนียวแน่น อยู่ที่พระนคร
นำปืนนารายณ์สังหารยิงไปยังกองทัพพระเจ้าจอเดงนรธาที่ตั้งอยู่บริเวณทุ่งลุมพลี
ด้านเหนือของพระนคร ถูกทหาร ช้าง ม้าล้มตายจำนวนมาก
อังวะจึงถอยทัพมาตั้งที่บ้านพราหมณ์ให้พ้นทางปืน
แล้วพระเจ้าอังวะจึงเรียกประชุมการศึก พระมหา อุปราชเห็นสมควรให้ยกทัพควรจะเข้าตีหักเอาพระนครให้พร้อมกันทุกด้าน
เพราะนานวันจะเกิดความลำบากด้วยเสบียงอาหาร และอีกประการหนึ่ง ถ้าถึงฤดูฝน
ก็จะทำการไม่สะดวก จึงเห็นควรรีบเข้าระดมตีเอา กรุงศรีอยุธยา เสียให้ได้โดยเร็ว
ส่วน พระเจ้าจอเดงนรธาไม่เห็นชอบด้วย ตรัสว่า กรุงศรีอยุธยา
มีแม่น้ำล้อมรอบเป็นที่มั่นคงไม่เหมือนเมืองอื่น ๆ
การที่ให้จัดการป้องกันบ้านเมืองก็ตระเตรียมไว้เป็นอย่างสามารถ
ถึงคนน้อยก็อาจจะสู้คนมากได้ ถ้ายกเข้าตีพร้อมกันทุกด้านจะเสียรี้พลล้มตายมากนัก
ฉวยตีไม่ได้ก็จะพากันเสียข้าศึกทุกทัพ จำจะต้องคิดอ่านตึกตรองโดยวิธี
ถึงจะช้าวันไปก็อย่าให้มีทีท่า ที่จะเสียข้าศึกจึงจะชอบ
จึงกะการให้เข้าตีพระนครแต่ข้างด้านตะวันออกด้านเดียวด้วยคูเมืองยังแคบดัง
กล่าวมาแล้ว ด้านอื่นๆ เป็นเพียงแต่ล้อมไว้ให้มั่นคง พระเจ้าหงสาวดี
จึงยกค่ายลงมาตั้งใกล้กับ วัดมเหยงค์ ข้างด้านตะวันออก โดยให้กองทัพของ
พระมหาธรรมราชา ไปเที่ยวตัดต้นตาลส่งมาให้มาก แล้วให้ พระมหาอุปราชา
เป็นผู้อำนวยการตีพระนคร ให้ตั้งค่ายแนวแรกห่างคูเมืองออกไปประมาณ ๓๐ เส้นก่อน
อาศัยค่ายนั้นตัดเตรียมการพร้อมแล้ว ก็ให้รุกเข้ามาตั้งค่ายอีกแนวหนึ่ง
ห่างจากค่ายเดิมเข้ามาประมาณ
๙๙
๑๐
เส้น ขุดดินทำสนามเพลาะและถมเชิงเทิน จากนั้นให้เอาไม้ตาลปักรายเป็นเสาพะเนียดกันปืนที่ยิงออกไปจากกรุง
พวกอังวะที่เข้ามาตั้งค่ายถูกชาวพระนครเอาปืนใหญ่ยิงล้มตายเป็นอันมาก
จะยกเข้ามาทำการในกลางวันไม่ได้ ต้องลอบเข้ามา ตั้งค่ายต่อในเวลากลางคืน
เจ้าหน้าที่ในพระนคร ก็แต่งกองอาสาทะลวงฟันสู้รบกันมิได้ขาด พระเจ้าจอเดงนรธาต้องให้ไพร่พลมาเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก
จึงตั้งค่ายแนวที่สองลงได้เวลากลางวันถูกระดมยิงไม่สามารถปักแนวค่ายได้คงทำแต่ในเวลากลางคืน
พยายามอยู่กว่าสองเดือน จึงเข้ามาตั้งค่ายแนวที่สามได้ถึงคูเมือง
แต่ก็มาติดอยู่เพียงนั้น อโยธยายังอาศัยเรือรบช่วยป้องกันพระนครได้
พวกอังวะจะข้ามคูเมืองเข้ามาก็ถูกอโยธยายิงล้มตายถอยกลับออกไปหลายครั้ง
พระเจ้าจอเดงนรธา จึงสั่งให้กองทัพเรืออ้อมลงมาทาง สะพานเผาข้าว (คลองสีกุก) ออกมาทาง
บางไทร ลงมาตั้งตรวจตรารักษา แม่น้ำเมืองธนบุรี เมืองตลาดขวัญ คอยสกัดเรือที่จะเข้ามาช่วยในพระนคร
ส่วนพม่าทางพระนคร เร่งระดมคนเข้าถมทำทางเพื่อข้ามเข้ามาตีพระนคร
โดยให้แบ่งหน้าที่กันเป็น ๓ ตอน ตอนใต้ ให้กองทัพของ พระมหาอุปราชา
ถมคูทำทางเข้ามาตรงเกาะแก้ว ทาง หนึ่ง ตอนกลางให้ พระเจ้าแปร
คุมพลทำทางข้ามคูเข้ามาทาง วัดจันทน์ ตรง บางเอียน (หลังสถานีรถไฟอยุธยา)
ทางตอนเหนือให้ พระเจ้าอังวะ ถมคูทำทางเข้ามาทาง สะพานเกลือ
(ใต้พระราชวังจันทรเกษม) อีกทางหนึ่งพระเจ้าจอเดงนรธา คาดโทษว่า
ถ้าด้านไหนทำไม่สำเร็จจะเอาโทษแม่ทัพถึงชีวิต พระมหาอุปราชา พระเจ้าแปร และ
พระเจ้าอังวะ ต่างเกรงพระราชอาญา จึงพากันเอาไม้ตาลมาทุบพอบังตัวไพร่พล
แล้วเร่งรีบขับต้อนเข้ามาถมคลอง ชาวพระนครเอาปืนยิงตายเสียมาก พวกอังวะก็ยังขับกันหนุนเนื่องเข้ามา
คนข้างหน้าตายลง คนมาข้างหลังก็เอาดินถมทับศพเลยมา ด้วยความกลัวอาญาพระเจ้าจอเดงนรธาเป็นกำลัง
ในระหว่างสงคราม
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงพระประชวรหนักประมาณ ๒๕วัน
และเสด็จสวรรคตในขณะที่ทัพอังวะปิดล้อมกรุงศรีอโยธยาอยู่ รวมพระชนมายุ ๖๔พรรษา
ครองสิริราชสมบัติได้ ๒๐ ปีสมเด็จพระมหินทร์ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่๑๖และทรงบัญชาการรบแทน การที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จสรรคต
ส่งผลให้ชาวพระนครตกอยู่ในอาการเศร้าหมอง และรู้สึกว้าเหว่ พระยาราม พระยากลาโหม
และ พระมหาเทพ เห็นว่าไพร่พลพากันย่อท้อรักษาค่ายริมคูเมืองไว้ไม่ได้
จึงสั่งให้กองทัพถอยเข้ามา ตั้งค่ายอีกแนวหนึ่งข้างในพระนคร เอากำแพงเมืองเป็นแนวหน้าต่อสู้ข้าศึก
พระเจ้าจอเดงนรธา เห็นได้ที สั่งกำลังพลเข้าตีพระนครทางด้านตะวันออกพร้อมกัน
ข้าศึกเข้าเมืองได้ตรง เกาะแก้ว แต่ พระมหาเทพ ผู้รักษาค่ายตรงบริเวณนั้น
มีความเข้มแข็งในการศึก ได้ใช้แนวค่ายที่ทำขึ้นใหม่ เป็นที่มั่น ต่อสู้กับข้าศึก อังวะล้มตายลงเป็นอันมาก
ครั้นหักตีเอาพระนครไม่ได้ จำต้องถอยร่นข้ามคูกลับไป
ในเมืองขาดแคลนเสบียงเป็นอย่างมากฝ่ายอังวะก็เริ่มขาดแคลนเสบียงเพราะทัพใหญ่มีจำนวนไพร่พลหลายแสนคนหากไม่เร่งตีอโยธยาให้ได้คงต้องถอยทัพ
พระเจ้าจอเดงนรธาจึงเรียกประชุมแม่ทัพนายกองเพื่อวางแผนเข้าตีใหม่
ทรงให้พระศรีสรรเพชญ์ เจ้าฟ้าพิษณุโลก เข้าเฝ้าเพื่อแจ้งสาส์นไป
๑๐๐
ยังมเหสีในพระนครว่าถ้าส่งตัวพระยารามให้อังวะแล้วพระเจ้าจอเดงนรธาจะยุติการโจมตีเป็นพันธมิตรกับอโยธยา
เมื่อพิสูจน์เห็นแล้วว่าทัพอโยธยาตั้งรับในเมืองได้เข้มแข็งนักกำแพงป้อมปราการสูงใหญ่แข็งแรงมากพอ
สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงอ่านสาสน์แล้ว
ปรึกษากับข้าราชการต่างๆจึงเห็นสมควรสงบศึกเพราะผู้คนล้มตายกันมากแล้วการส่งตัวแม่ทัพแค่คนเดียวมิได้ทำให้กรุงศรีอ่อนแอลง
สมเด็จพระมหินทร์ฯมีรับสั่งให้ส่งพระสังฆราชออกไปเจรจาและส่งตัวพระยารามให้
พระเจ้าบาเยงนองดอเพื่อเป็นไมตรี
เมื่อได้ตัวพระยารามทัพอังวะหาได้ถอยกลับไม่กลับต้องให้พระมหินทร์ออกมากราบบังคมยอมแพ้
อโยธยาจึงรู้ว่าเป็นกลลวง สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงพิโรธโกรธแค้นในการกลับกลอกของพระเจ้าจอเดงนรธาอย่างมาก
มีรับสั่งให้ขุนศึกทหารทั้งปวงรักษาพระนครอย่างเข้มแข็ง
ถึงแม้ได้ตัวพระยารามทัพอังวะก็ยังหาวิธีเข้าเมืองไม่ได้จึงให้พระมหาธรรมราชาเลียบกำแพงเกลี้ยกล่อมให้อโยธยายอมแพ้ทหารในพระนครกลับระดมยิงจนต้องถอยออกห่าง
ขณะนั้นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งล้านช้างทรงส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือกรุงศรีอโยธยา
เมื่อทัพอังวะทราบข่าวจึงแต่งทัพเป็นกองโจรไปดัก
ซุ่มโจมตีทัพล้านช้างแตกพ่ายเสียไพร่พลจนแตกทัพหนีไปสิ้น
แผนการของพระเจ้าบาเยงนองดอ(จอเดงนรธา)(บุเรงนองแบบคนไทยเรียก)
การเข้าเมืองอโยธยาไม่ใช่เรื่องง่ายทัพด้านตะวันตกฝั่งตรงข้ามสวนหลวงเป็นแม่น้ำกว้างใหญ่ด้านนี้อังวะไม่ข้ามน้ำแต่จะระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาหนาแน่นส่วนด้านใต้ปากคลองฉะไกรเป็นปากแม่น้ำป่าสักคอยระวังเรือรบและแพมีป้อมปืนรักษาการมั่นคงด้านตะวันออกเป็นแม่น้ำแคบกว่าด้านอื่นจึงมีกองทหารดูแลกำแพงเข้มแข็งกว่าด้านสวนหลวงกองทัพอังวะทั้งต่อแพผูกสะพานทั้งทัพเรือก็เข้าใกล้กำแพงเมืองไม่ได้ถูกปืนใหญ่ต้องถอยกลับล้มตายจำนวนมากบ้างเข้าถึงกำแพงก็ปีนกำแพงไม่ได้ถูกทรายร้อนถูกหอกทิ่มแทงล้มตายลงมากกำแพงด้านเหนือติดพระราชวังมีคลองคูเมืองด้านนี้ป้องกันเข้มแข็งถึงคูเมืองเป็น
แม่น้ำลพบุรีป้อมปืนใหญ่ก็หนาแน่นระดมยิงไม่ให้อังวะเข้าประชิดผูกสะพาน
ถมทำนบข้ามเข้าเมืองได้ส่วนทำนบเก่าทางเข้าเมืองรื้อออกก่อนทัพอังวะจะเดินทัพมาถึง
พระเจ้าบาเยงนองดอจึงปรึกษากับพระเจ้าพิษณุโลกด้วยเคยเป็นแม่ทัพป้องกันพระนครครั้งรบกับพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ความว่าจะส่งจารชนเข้าไปเปิดประตูเมืองให้ได้
จึงมีการลักลอบส่งมอญจารชนลอบเข้าเมืองจนถึงวันเสาร์แรม ๑๑ ค่ำ เดือน๙ พ.ศ.๒๑๑๒
เวลาค่ำจารชนจึงส่งสัณญาน
ให้ทัพอังวะบุกเข้าประชิดกำแพงเมืองทุกทิศทางสามารถเปิดประตูเมืองเข้ามาได้แม่ทัพนายกองต่างมิได้ตั้งตัวถูกฆ่าฟันล้มตายจำนวนมากที่เหลือทำการรบจนตัวตายทัพอังวะเข้าควบคุมเมืองไว้จนสิ้นจับแม่ทัพนายกองที่เหลือพันธนาการรวบรวมไว้สิ้นแม่ทัพสั่งทหารบุกเข้าพระราชวังกุมตัวพระมหินทร์
ขุนนางอำมาตย์ และราชวงศ์ไว้สิ้น
พระเจ้าบาเยงนองดอจึงเสด็จเข้าพระนครขึ้นประทับบรรลังค์ อโยธยา เป็นเวลา ๗ วัน
ปูนบำเหน็จให้แม่ทัพนายกองที่สามารถเข้าเมืองได้ ส่วน สมเด็จพระมหินทราธิราช พระบรมวงศานุวงศ์
รวมทั้งขุนนางน้อยใหญ่ เสนา อำมาตย์ ทั้งหลายต้องใส่ขื่อคานำตัวอพยพเป็นเชลยไปอังวะทั้งหมด ถึงวันศุกร์ขึ้น ๖ ค่ำ
๑๐๑
เดือน
๑๒ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒
พระเจ้าบาเยงนองดอจึงทำพิธีอภิเษกสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์กษัตริย์พิษณุโลก
ขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่๑๗ทรงพระนามพระมหาธรรมราชา
ครองกรุงศรีอโยธยาศรีรามเทพนคร โดยทั้ง
พิษณุโลกและอโยธยาเป็นประเทศราชกับอังวะนับแต่วันนั้น
หลังอภิเษกกษัตริย์พระองค์ใหม่ครองกรุงศรีอโยธยาแล้ว ให้นำเสด็จ พร้อมไพร่ฟ้าชาวพระนครทั้งหมดทั้งสิ้นไปหงสาวดี
โดยคัดเลือกทหารรักษาเมืองไว้ดูแลพระนครกับสมเด็จพระสรรเพชญ ๑,๐๐๐คนเศษ
และให้เก็บข้าวของมีค่าบรรทุกคาราวานตามกองทัพกลับ กรุงหงสาวดีด้วย
กรุงศรีอโยธยาที่รุ่งเรืองเวลานี้กลับร้างผู้คน ในพระราชวังมีเพียงบ่าวไพร่
กับพระเจ้าอยู่หัว ประชาชน นอกพระนครต่างหนีตายกระจัดกระจายหาคนไม่พบ สมเด็จพระมหินทร์เสียพระทัยประชวรไข้
และสวรรคตระหว่างทางเสด็จไปกรุงหงสาวดี สิ้นสุดราชวงศ์สุพรรณภูมิ
เชลยชาวอโยธยาและขุนนางทั้งหลายเจ้ากรุงหงสาวดี จัดตำบลที่ให้อยู่ที่ ตำบลโยธยา
เมืองพะโค กรุงหงสาวดีร่วมกับคนอโยธยาที่เคยกวาดต้อนมาหลายๆครั้ง
พ.ศ.๒๑๑๓ พระยาละแวก กษัตริย์เขมร
ประเทศราชอโยธยา เห็นอโยธยาบอบซ้ำจากการทำสงครามกับหงสาวดี
ได้ถือโอกาสยกกำลังเข้ามาโจมตีกรุงศรีอโยธยา โดยยกกองทัพมีกำลัง ๒๐,๐๐๐
คนเข้ามาโจมตีเมืองปราจีน และเมืองนครนายก
เมื่อเข้ามาถึงกรุงศรีอโยธยาแล้วได้ตั้งทัพอยู่ที่ตำบลบ้านกระทุ่มแล้ว
เคลื่อนพลเข้าประชิดพระนคร โดยได้เข้ามายืนช้างบัญชาการรบอยู่ในวัดสามพิหาร
และวางกำลังพลรายเรียงเข้ามาถึงวัดโรงฆ้อง ต่อไปถึงวัดกุฎีทอง และนำกำลังพล ๕,๐๐๐ คน ช้าง ๓๐ เชือก
เข้ายึดแนวหน้าวัดพระเมรุราชิการามพร้อมกับให้ทหารลงเรือ ๕๐
ลำแล่นเข้าโจมตีพระนครตรงมุมเจ้าสนุก สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จ ออกบัญชาการรบป้องกันพระนครเป็นสามารถ
กองทัพเขมรพยายามยกพลเข้าโจมตีพระนครอยู่ ๓วัน
แต่ไม่สำเร็จจึงยกกองทัพกลับไปและได้กวาดต้อนผู้คนชาวบ้านนาเมืองนครนายกไปยัง
เมืองละแวกเป็นจำนวนมาก
อโยธยาเริ่มรวบรวมผู้คนได้มากพอ
แต่งตั้งขุนนางจากนายบ้านชานพระนคร จากหัวเมืองฝ่ายเหนือ เข้าทำราชการรวบรวมไพร่พลพลิกฟื้นกสิกรรมพอเลี้ยงพระนครและกองทัพ
แต่กระนั้นทัพอโยธยาก็สามารถต่อสู้ขับไล่เขมรจนถอยร่นกลับละแวกไปได้
ผลจากการศึกกับละแวกนี้ พระมหาธรรมราชาทรงเห็นเป็นโอกาสในการป้องกันพระนคร
จึงได้บูรณะซ่อมแซมกำแพงและป้อมต่าง ๆ รอบพระนครให้แข็งแรงขึ้นดังเดิม
ให้ขุดคูพระนครทางด้านทิศตะวันออก ด้านนี้ แต่เดิมแคบแล้วสร้างกำแพงให้ไปจรดริมฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกับด้านอื่น
ๆ ทรงสร้างป้อมมหาชัย ตรงบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน
และสร้างพระราชวังจันทร์เกษม ขึ้นเหตุการณ์กลับสู่ภาวะสงบอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น