ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

เขตแดน ประเทศ


                                                      เขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

                 เมือง อาณาจักร ประเทศ  เป็นการกำหนดชื่อเรียกดินแดนที่คนอาศัยอยู่รวมกันเป็นสังคมเผ่าเดียวกันหรือต่างเผ่ากันแต่ยอมรับซึ่งกันและกันมาอยู่รวมกันเมื่อคนอาศัยอยู่เป็นเมืองต่างๆรวมกันหลายๆเมืองเป็นประเทศ ชนเผ่า ลั้ว-ลื้อ-ไท-ลาว-มอญ-เขมร-จีน-แขกและมลายู ทั้งพันธุ์แท้เดี่ยว และผสมเผ่าที่กล่าวมา กันไปมา ถึงจนเป็นชื่อเฉพาะเรียกว่าชาวสยาม  ปัจจุบันมีการผสมเผ่าพันธุ์มากกว่าเดิมจากการเคลื่อนย้ายเดินทางการค้าขายที่เรียกว่าโลกไร้พรมแดน จากกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาต่างชาติเรียกเราว่า สยาม ไทยเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ในยุคสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงครามที่เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย ด้วยสาเหตุใดก็ตาม ความจริงด้วยเรามีภาษาไทยเป็นของตนเองไม่ต้องพูดถึงว่าวิวัฒนาการจากภาษาอะไรซึ่งเป็นกลุ่มภาษามอญ  ลาว เขมรเหมือนๆกัน เราต้องใช้ เรียกชื่อว่า คน “ไท” “ประเทศไท” เพราะคำว่า “ไทย” นั้นเป็นภาษามคธ เราชนรุ่นหลังจึงไม่เข้าใจถึงความเป็นมาว่าขณะนั้นรัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาแล้วแทนที่จะใช้ ไท แต่ทำไมจึงใช้ ไทย ในภาษามคธ

เหตุจากคนที่อาศัยในเมืองต้องมีกิจวัตรทำสิ่งต่างๆ มีที่ทำกินเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์  มีแหล่งน้ำ แหล่งแร่ธาตุและพืชพันธุ์เมืองข้างเคียงอาจต่างเผ่าพันธุ์ก็ใช้ทรัพยากรแหล่งเดียวกันเมื่อเกิดการแย่งชิงก็ต่างใช้กำลังเข้ารบกันเมื่อคนเรามีอารยธรรมมากขึ้นทำให้เกิดการตกลงแบ่งเขตซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากการตกลงต่อกันก่อนมีเขตแดนนั้นคงแบ่งเมืองแบ่งอาณาจักรกันด้วยตัวเมืองและที่ทำกินของเมืองนั้นๆดังนั้น ดังนั้นขอบเขตของกรุงศรีอยุธยาอยู่ตรงไหนก็คงบอกได้เพียงว่า ด้านเหนือคือเมืองตาก ด้านใต้ คือสงขลา ความเป็นประเทศและเขตแดนเกิดขึ้นยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกที่มีหลายประเทศเช่นอังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ต่างก็เข้ายึดครองเมืองในแอฟริกา เอเชีย อเมริกาใต้ จึงกำหนดขอบเขตเพื่อไม่ให้กระทบกระทั่งกัน            
  สำหรับประเทศไทยของเรา เขตแดนเพิ่งมาปรากฏขึ้นช่วงชาติตะวันตกเข้าปกครองประเทศ รอบบ้านเรา ในปีพ.ศ.๒๓๖๖ รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชของพระพุทธเลิศหล้านภาลัยต้องเสียอำนาจปกครองประเทศราชมะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้อังกฤษผนวกเข้ากับประเทศพม่ารัฐในอารักขา โดยอังกฤษใช้ยอดเขาตะนาวศรีกั้นแดนพม่ากับสยามโดยรัฐบาลสยามไม่สามารถนำกำลังทหารเข้าช่วยเหลือมะริดได้อังกฤษจึงยึดถือว่าจากสันปันน้ำข้ามเขาตะนาวศรีเป็นเขตสยามนับเป็นเหตุการณ์แรกที่สยามเผชิญกับปัญหาเขตแดน   
จนล่วงเข้าปี พ.ศ.๒๔๑๑ จึงได้ลงสัตยาบันว่าทั้งสามเมืองเป็นดินแดนของอังกฤษ เขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านรอบด้าน ๔ประเทศ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นผลมาจากการเจรจาตกลงกำหนดเขตแดนระหว่างสยามกับอังกฤษและฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  ประเทศรอบๆไทยของเรานั้นทั้งเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ล้วนเป็นเมืองในอารักขา หรือเมืองขึ้นชาติตะวันตกทั้งสิ้นประเทศเหล่านั้นจึงใช้วิทยาการแผนที่ สำรวจ รังวัด กำหนดเขตแดนประเทศที่ตนยึดครองเมื่อกำหนดเขตแดนก็ถามไถ่ดินแดนข้างเคียงที่ติดกันว่าตกลงไหมตามที่สำรวจนั้นๆเมื่อเจรจา แล้วตกลงกันได้ก็เขียนหรือใช้พิมพ์    เป็นแผนที่ แล้วร่างสัญญา ให้ลงนามกันทั้งสองฝ่ายยึดถือกันตลอดมาหากจะมีเหตุต้องเปลี่ยนแปลงเขตแดนก็ต้องเจรจากันตกลงกันได้บ้างไม่ได้บ้าง ถ้าไม่ได้ก็พิพาทอ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่อย่างนั้นหากแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องการเข้ายึดครองดินแดนที่อ้างสิทธิกันทั้งสองฝ่ายเข้าไว้แต่ฝ่ายเดียวโดยเด็ดขาดก็ใช้กำลังทหารเข้ารบกัน เมื่อเกิดศาลโลกขึ้นก็มีการฟ้องร้องแย่งสิทธิกัน
เส้นเขตแดนของสยามกับเพื่อนบ้านรอบๆของเรานั้นประกอบด้วยสนธิสัญญา แผนที่ที่เป็นวิทยาการสมัยใหม่ พิกัด หลักเขตแดน สภาพภูมิประเทศภูเขา แม่น้ำ ห้วยคลอง ต่างๆที่ประเทศสยามฝ่ายหนึ่งกับประเทศเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษ และฝรั่งเศสที่ยึดครองประเทศเพื่อนบ้านอยู่นั้น เจรจาทำความตกลง กำหนดขึ้นเป็นแผนที่และสนธิสัญญา ซึ่งมีการเจรจาในหลายพื้นที่ ต่างปีต่าง พ.ศ.ต่างวาระกันไป
ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ โดยมีการจัดทำสนธิสัญญาระหว่าง สยามกับอังกฤษ และ สยามกับฝรั่งเศสหลายฉบับ  แม้จะมีการ   กำหนดเขตแดน    ตามสนธิสัญญาและแผนที่ ที่ฝรั่งเศส กับอังกฤษทำขึ้น และมีการปักปันเขตแดน  ด้วยการกำหนดพิกัดจุดหลักเขตบนแผนที่และในภูมิประเทศขึ้น แต่ก็ยังคงต้องพึ่งที่หมายทางธรรมชาติ ทั้งภูเขา (ยอดสูงสุดของภูเขาเรียกสันปันน้ำ) และแม่น้ำ (ขอบฝั่ง/ร่องน้ำลึก) อยู่มาก ซึ่งสภาพทางธรรมชาติดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงได้เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝน กระแสน้ำหลากที่กัดเซาะฝั่งแม่น้ำลำคลองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงร่องน้ำ     แต่เดิม เรื่องเขตแดนไม่เป็นปัญหามากนักเพราะยังไม่มีระบบทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งการขยายที่ทำกินของพลเมือง มากเท่ายุคปัจจุบัน ซึ่งผู้คนพัฒนาจากการทำมาหากิน   เป็นการผลิตสินค้าทางการเกษตรป้อนตลาดนานาประเทศ ซึ่งต้องอาศัยที่ดินในการเพาะปลูกพืชเกษตรอุตสาหกรรม การตั้งฟาร์ม เลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคและส่งออก และการพัฒนาที่ดินในเมืองใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยรวมทั้งการตั้งโรงงานเพื่อตองสนองความต้องการของมนุษย์ทางด้านต่างๆ  ทำให้เสียที่ดินทางการเกษตรเพื่อทำมาหากิน  ให้กับสิ่งต่างๆเหล่านี้  ทำให้ผู้คนเสาะแสวงหาที่ดินทำกินแหล่งใหม่ๆ  ไม่เว้นแม้กระทั่งการบุกรุกทำลายป่าไม้เพื่อเป็นที่ทำกิน ทั้งการบุกรุกครอบครองข้ามดินแดนระหว่าประเทศทั้งเพาะปลูก อุตสาหกรรมป่าไม้ การทำประโยชน์ประมงในทะเลที่ติดต่อกับเพื่อนบ้าน การหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆเช่นปิโตเลี่ยมเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์  รวมทั้งสภาพการณ์ทางการเมืองบางช่วงก็ไม่เอื้ออำนวยให้มีการดำเนินการต่อปัญหาเขตแดน   ซึ่งในปัจจุบัน สภาพภูมิประเทศตามแนวชายแดนได้รับการพัฒนา และมีกิจกรรมทางธุรกิจและการลงทุนตามแนวชายแดนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำป่าไม้ การค้าชายแดน รวมทั้งการท่องเที่ยว และการไปมาหาสู่ระหว่างราษฎรตามแนวชายแดน ดังนั้น ความไม่ชัดเจนของแนวเขตแดนจึงกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการกระทบกระทั่งระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน
รัฐบาลไทยทุกรัฐบาลจำเป็นต้องกระทำเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีทั้งภูมิภาค อันจะขจัดข้อขัดแย้งและการเผชิญหน้ากัน  จนอาจถึงขั้นก่อสงครามกันขึ้นกับประเทศรอบๆไทย   จึงจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเขตแดน   การตรวจสอบและจัดทำหลักเขตแดนให้เส้นเขตแดนตามที่กำหนดไว้แล้ว โดยสนธิสัญญาระหว่างสยามกับอังกฤษและฝรั่งเศสปรากฏเป็นที่แน่ชัดโดยเร็วที่สุด การกำหนดเขตแดนโดยมีสยามหรือต่อมาเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นไทย เป็นศูนย์กลางมีประเทศในอาณานิคมของทั้งอังกฤษ และ ฝรั่งเศส ล้อมรอบสยามผลของเขตแดนเป็นเรื่องสมัยใหม่ที่มีการทำแผนที่ที่เป็นวิทยาการที่ไม่เคยมีในสยามมาก่อน  การดำเนินการเจรจาตกลงกันโดย เจ้าประเทศอาณานิคมทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสได้ใช้กำลังทหารที่มีอาวุธทันสมัยมากกว่าสยาม มากดดันสยามจนเกิดสนธิสัญญาที่ทั้งสองประเทศพึงพอใจซึ่งมีผลมาจนถึงยุคปัจจุบัน
ทั้งนี้ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบมีพื้นที่ติดต่อกัน  ทั้งทางผืนแผ่นดิน  ติดต่อกัน ทางลำน้ำ สันเขา   มี ความยาวทั้งสิ้นประมาณ ๕,๖๕๖ กิโลเมตร แยกได้ดังนี้
ด้านกัมพูชาตั้งแต่อำเภอน้ำยืนจังหวัดอุบลราชธานีถึงอำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด ประมาณ ๗๙๘ กิโลเมตร โดยใช้สันปันน้ำและหลักเขตแนวเส้นตรงต่อหลักเขตประมาณ ๕๙๐ กม.ตาม ลำน้ำ ซึ่งเป็นคูคลอง ประมาณ ๒๐๘ กม.)
ด้านลาวตั้งแต่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายจนถงอำเภอน้ำยืนจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ ๑,๘๑๐ กิโลเมตร (สันปันน้ำ ๗๐๒ กม. ลำน้ำของ น้ำเหือง และอื่นๆประมาณ ๑,๑๐๘ กม.)
ด้านพม่ายาวมากที่สุดตั้งแต่อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงรายจนถึงอำเภอเมืองระนอง ประมาณ ๒,๔๐๑ กิโลเมตร (สันเขา/สันปันน้ำ/แนวตรง ๑,๖๘๗กม. ลำน้ำ ๗๑๔ กม.)
ด้านมาเลเซียจากอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาสถึงอำเภอระงูจังหวัดสตูล ประมาณ ๖๔๗ กิโลเมตร (สันปันน้ำ ๕๕๒ กม. ลำน้ำ ๙๕ กม.)
เขตแดนไทย-กัมพูชา
หลังจากสยามเจรจากับฝรั่งเศสที่ปกครองอารักขาราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๐๘ จึงลงมือสำรวจรังวัด ร่างสนธิสัญญา ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๑๐ สยาม ฝรั่งเศสได้ลงนามในสนธิสัญญาเขตแดนได้ให้สัตยาบันในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๑๐ กำหนดเขตแดนสยาม พะตะบอง เสียมเรียบ สนธิสัญญา ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ กำหนดเขตแดน สยามกับราชอาณาจักรลาวในอารักขาของฝรั่งเศสสนธิสัญญาฉบับนี้เราคุ้นกันดีว่าเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือหลวงพระบางที่เป็นประเทศราชของสยาม  คืนกลับไปเป็นฝรั่งเศสปกครองแทนสยาม ช่วงนั้นการกล่าวอ้างเรื่องเขตแดนนำไปสู่การยึดเมืองจันทบุรีเมืองตราดเมืองปัจจันคีรีเขตหรือเกาะกงเพื่อเป็นประกันให้สยามยินยอมรับและทำตามสนธิสัญญา๒๔๓๖ ยึดจันทบุรีตราดเกาะกงอยู่สิบปีถึง พ.ศ.๒๔๔๖ และ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ เกิดสนธิสัญญาอีกฉบับ สรุปสาระก็คือเขตแดนช่วงนั้นใช้เทือกเขาหมายถึงสันปันน้ำเทือกเขา แบ่งเขตแดนสยามกับลาว ต่อจากเทือกเขาเป็นเขตแดนแบ่งด้วยร่องน้ำโขง ส่วนเกาะแก่งในแม่น้ำเป็นสิทธิของลาว  ดังนั้นเซ็นสัญญาปุ๊บพื้นที่ทิศตะวันออกของเทือกเขา(ฝั่งขวาแม่น้ำโขง)และเกาะแก่งเป็นของลาวทันทีที่สำคัญมีการยึดเมืองด่านซ้ายอยู่ในอาณาเขตลาวด้วยทำให้มีการแลกดินแดนส่วนอื่นกับฝรั่งเศสแทนด่านซ้ายที่คืนกลับมาเป็นของสยาม ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายหลังได้แก่สันปันน้ำบนเทือกเขาและแม่น้ำเหือง จะยึดถือสิ่งใดเป็นเขตแดนเกิดพิพาทจนทำสงครามบ้านร่มเกล้า และดอนต่างๆในแม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นจากการทับถมของตะกอนดินในภายหลังจากเป็นของใครจนยิงกันที่ดอนแตงดอนน้อยของหน่วย นปข.สัญญาฉบับนี้ยังกำหนดเขตแดนส่วนที่เป็นกัมพูชาเอาไว้ด้วยคือต่อจากแม่น้ำโขง(เมืองอุบลราชธานี)เขตแดนจะขึ้นจากแม่น้ำโขงไปตามเทือกเขาพนมดงเร็กแล้ววกลงไปตามคลอง สะดงโรลออส พอเซ็นสัญญาฉบับนี้ฝรั่งเศสแค่เตรียมเคลื่อนย้ายฐานทัพออกจากจันทบุรีเท่านั้นเกิดการเจรจาต่อรองเรื่องเขตแดนตกลงกันอีกครั้งและเซ็นสัญญาแนบท้ายสัญญา ๒๔๔๖เมื่อ ๒๙มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๗ กำหนดแดนฝรั่งเศสเมืองตราดคือข้ามแม่น้ำเวฬุก็พ้นสยามเป็นอันว่าเขตแดนสยามเรากั้นด้วยแม่น้ำเวฬุ อำเภอเขาสมิงในปัจจุบันจันทบุรีตกอยู่ในปกครองของฝรั่งเศสถึง สิบปีแต่ด่านซ้ายและ ตราดยังคงอยู่ในอารักขาฝรั่งเศส จนถึง ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๙ มีการเจรจาเรื่องเขตแดนอีกครั้งกำหนดจากปากคลองคลอง สะดงโรลออส ฝั่งขวาถึงเทือกเขาพนมดงเร็กให้อยู่ในอารัขาของฝรั่งเศส ส่วนด่านซ้าย ตราดและเกาะแก่งในทะเลถึงเกาะกูดเป็นเขตแดนสยาม พอเซ็นสัญญาเสร็จสิ้นนั่นหมายถึงผู้ว่าราชการ เมืองพะตัมบอง เสียมเรียบ ศรีโสภณต้องอพยบกลับสยามทันทีบุคคลสำคัญได้แก่ เจ้าพระยาอภัยภูเบศผู้ว่าพระตัมบอง ทั้งสามเมืองเป็นของฝรั่งเศส และเมืองตราด เมืองด่านซ้ายกลับคืนสู่สยามหลังจากอยู่ในอารักขาฝรั่งเศส ๑๒ ปีเสียดายแต่การคืนตราดแล้วคืนให้ไม่หมด เมืองปัจจันคีรีเขตหรือเกาะกงไม่ได้กล่าวเอาไว้ในสัญญาในเวลาต่อมาจึงมีคนสยามเกาะกงอยู่ในกัมพูชาจนถึงทุกวันนี้
ในปีพ.ศ.๒๔๘๔ เกิดพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสอีกครั้ง จึงทำสัญญาเปลี่ยนเขตแดนสยามและกัมพูชาฝรั่งเศสกลับไปเป็นดินแดนจากปากคลองคลอง สะดงโรลออส ฝั่งขวาถึงเทือกเขาพนมดงเร็กให้อยู่ในอารัขาของสยามมีผลให้พะตะบอง เสียมเรียบ ศรีโสภณ กลับคืนเป็นของสยาม ได้เพียง ๕ ปีสงครามโลกครั้งที่๒สิ้นสุดลงพ.ศ.๒๔๘๙ฝรั่งเศสกับไทยตกลงทำสัญญายกเลิกสัญญาที่ทำขึ้นปี๒๔๘๔ ดังนั้นเขตแดนจึงกลับไปเหมือนสัญญาปีพ.ศ.๒๔๔๙ จากการแบ่งเขตแดนกลับไปกลับมา เส้นเขตแดนเปลี่ยนแปลงไปมาด้วย ศิลปะ อารยธรรม เชื้อชาติ ภาษา ทำให้ไทยเกิดข้อพิพาทกับกัมพูชาเรื่องเขตแดนในสนธิสัญญาที่สยามทำไว้กับฝรั่งเศส เช่นการทับซ้อนพื้นที่ทางทะเล และทางบกที่ตำบลหาดเล็กอ.คลองใหญ่ พื้นที่บ้านชำรากอ.เมืองจังหวัดตราด อ.โป่งน้ำร้อน อ.สอยดาว จังหวัดจันทบุรี อ.คลองหาด จังหวัดสระแก้ว ที่สำคัญ คือเขาพระวิหาร พื้นที่ต่างๆที่กล่าวมามีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันทั้งสองประเทศหาทางออกร่วมกันพิจารณาปักปันเขตแดนร่วมกันให้ชัดเจน แต่อาจติดขัดด้านปัญหาการเมืองที่ยากจะมีใครกล้าชี้ชัดว่าดินแดนเป็นของฝ่ายใดเพราะสุ่มเสี่ยงกับข้อกล่าวหาว่าเสียดินแดน ว่าขายชาติ จึงหาข้อยุติยาก คงปล่อยปัญหาค้างเอาไว้ต่อไป 
คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งมีที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานฝ่ายไทย และที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนเป็นประธานฝ่ายกัมพูชา ได้ประชุมกันแล้ว๒ ครั้ง และสามารถจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกฉบับวันที่ ๑๔มิถุนายน ๒๕๔๓  บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะเป็นกรอบทางกฎหมายในการปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลัก
เขตแดนร่วมกันต่อไป  ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังพิจารณายกร่างแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานีจนถึงจังหวัดตราด
เขตแดนไทย-ลาว
เป็นผลจากการปักปันเขตแดนตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฉบับวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.. ๒๔๔๗  ความตกลงสยาม-ฝรั่งเศสฉบับวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.. ๒๔๕๐ สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฉบับ
วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.. ๒๔๕๐ และพิธีสารแนบท้าย สำหรับส่วนที่เป็นแม่น้ำโขงนั้นเป็นไปตามผลการปักปันเขตแดนตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฉบับ วันที่ ๒๕สิงหาคม พ.. ๒๔๖๙
เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๓๙ ไทยกับลาวได้ลงนาม  ความตกลงเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตลอดแนวร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดทำหลักเขตแดนตลอดแนวเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายรู้ที่ตั้งของเส้นเขตแดนอย่างแน่ชัดและชัดแจ้ง ความตกลงฉบับนี้ได้กำหนดให้มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกให้เป็นไปตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส และแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามความตกลงดังกล่าว และมีการจัดตั้ง กลไกการดำเนินงานเพื่อให้เป็นตาม
เจตนารมณ์ของความตกลงได้แก่คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของทั้งสองประเทศเป็นประธาน  และได้มีการประชุมกันแล้ว ๖ ครั้ง จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ทั้งสองฝ่ายสามารถจัดทำหลักเขตแดนได้แล้ว ๑๖๓หลักเป็นระยะทางประมาณ ๖๐๐กว่า กิโลเมตร อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถหาข้อยุติเกี่ยวกับแนวเส้นเขตแดนในบริเวณต่างๆ หลายบริเวณ
ในระหว่างการรอการมีผลบังคับใช้ของเส้นเขตแดนที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนนั้น ประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตและทำมาหากินตามเดิม โดยไม่ให้มีการยุ่งเกี่ยวจากทางการของอีกฝ่ายหนึ่ง และห้ามมิให้ทั้งสองฝ่ายก่อสร้างเพิ่มเติมใดๆ ในบริเวณ หนึ่งร้อย เมตร ในแต่ละด้านของสันปันน้ำที่เป็นแนวเส้นเขตแดน
ทั้งสองฝ่ายยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะเร่งรัดการปฏิบัติงาน เพื่อให้การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๕ และเริ่มการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางน้ำในปี ๒๕๔๖ 
ด้านพม่า    หลังจากการจัดทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับเขตแดนคงที่บริเวณแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก เมื่อปี ๒๕๓๔(สำรวจและจัดทำหลักอ้างอิงเขตแดนได้ ๔๙๒คู่ เป็นระยะทางประมาณ ๕๙ กม.) ทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่า เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาเขตแดนระหว่างกันตลอดแนว และในการประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่า ครั้งที่ ๓เมื่อปี ๒๕๔๐ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะร่วมกันสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตลอดแนวจากเหนือลงใต้  ปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายกำลังเจรจาจัดทำบันทึกความเข้าใจซึ่งจะเป็นพื้นฐานทางกฎหมายใน การปฏิบัติงานร่วมกันสำหรับการดำเนินการตรวจสอบและซ่อมแซมหลักอ้างอิงเขตแดน ช่วงแม่สาย-น้ำรวก นั้น ชุดสำรวจของทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการไปจนเกือบเสร็จสิ้นแล้ว
 เขตแดนไทย-พม่า
เป็นผลจากการปักปันเขตแดนตามอนุสัญญาสยาม-อังกฤษฉบับวันที่ ๘กุมภาพันธ์ พ.. ๒๔๑๑, สนธิสัญญาสยาม-อังกฤษ พ.. ๒๔๑๗, สนธิสัญญาสยาม-อังกฤษฉบับวันที่ ๓กันยายน พ.. ๒๔๒๖ พิธีสารฉบับวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.. ๒๔๓๗ หนังสือแลกเปลี่ยนฉบับวันที่ ๒๗สิงหาคม พ.. ๒๔๗๔และ๑๔มีนาคม พ.. ๒๔๗๕ หนังสือแลกเปลี่ยนฉบับวันที่ ๑ มิถุนายน พ.. ๒๔๗๗ หนังสือแลกเปลี่ยนฉบับวันที่ ๑ ตุลาคม พ.. ๒๔๘๓ หนังสือแลกเปลี่ยนฉบับวันที่ ๑๐ ธันวาคม ค.. ๒๔๘๓
อนึ่ง ได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจฉบับวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.. ๒๕๓๔ กำหนดเขตแดนคงที่ช่วงแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก ให้เป็นไปตามร่องน้ำลึกขณะที่ทำการสำรวจเมื่อปี ๒๕๓๑ โดยมีการจัดทำแผนที่แสดงเส้น เขตแดนคงที่ดังกล่าวไว้ด้วย
เขตแดนไทย-มาเลเซีย
เป็นผลจากการปักปันเขตแดนตามสนธิสัญญาสยาม-อังกฤษฉบับลงวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.. ๒๔๕๒
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศเจ้าอาณานิคมปลดปล่อยทั้งลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซียเป็นอิสรภาพ ประเทศเหล่านั้นก็ยังยึดถือสนธิสัญญาเรื่องเขตแดนที่เคยทำกันไว้สมัยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และฝรั่งเศส

เมื่อปี ๒๕๑๕ รัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการสำรวจเขตแดนทางบกและการปักหลักเขตแดนร่วมกันเพื่อให้เส้นเขตแดนมีความชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น จนถึงปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไปได้แล้วเกือบตลอดแนวโดยสามารถจัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกันได้ ๑๓ ฉบับ  ในส่วนเขตแดนตามแม่น้ำ โก-ลก ซึ่งได้ตกลงกันที่จะสำรวจและจัดทำเขตแดนคงที่นั้น ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มงานสนามแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๒

 โดยหลักการแล้ว การเจรจาจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งจะมีส่วนช่วยอย่างยิ่งให้การเจรจาเป็นไปโดยราบรื่น  นอกจากนั้น ยังต้องยอมรับข้อเท็จจริงของการสำรวจปักปันเขตแดนในอดีตและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การให้เกียรติและความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของความเป็นธรรมและความถูกต้อง จนถึงช่วงหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลของไทยความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านตกต่ำลงมากการเจรจาเรื่องเขตแดนหยุดชะงัก มีการปลุกระดมเรื่องเขตแดนผูกโยงกับการเมืองภายในประเทศจนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลโลก และเกิดสงครามเฉพาะบริเวณที่เกิดเหตุพิพาทกัน ซึ่งไม่เกิดผลในทางที่ดีกับประเทศไทยและความร่วมมือระหว่างกันเพราะในที่สุดแล้วก็ต้องย้อนกลับไปสู่การเจรจากันใหม่    ปัญหาเขตแดนนั้นมีลักษณะพิเศษเนื่องจากประชาชนมีความรู้สึกผูกพันว่ามีส่วนร่วม รัฐบาลจึงต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง และไม่สามารถเร่งรัดให้สำเร็จรวดเร็วได้ตามใจ เพราะนอกจากจะต้องได้รับความเห็นพ้องจากประเทศคู่เจรจาแล้ว ยังจะต้องได้รับความเห็นชอบจากมวลชนในประเทศด้วย
  ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมกับมาเลเซียและลาวนั้นได้พบว่าปัญหาเขตแดนบางเรื่องอาจไม่มีทางออกทางวิชาการ เช่น ปัญหาการไม่สามารถหาแนวเขตแดนเนื่องจากสันปันน้ำเขตแดนถูกทำลายจากการพัฒนาพื้นที่  ปัญหาการคัดค้านไม่ยอมรับแนวเขตแดนซึ่งต่างจากที่ชาวบ้านยึดถือ เป็นต้น
การพิจารณาดำเนินการต่อปัญหาเหล่านี้ อาจเสี่ยงต่อความเข้าใจผิดของประชาชนว่า มีการได้หรือเสียดินแดนเกิดขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง  นอกจากนั้น รัฐบาลอาจจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือราษฎรซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนและได้รับผลกระทบ เช่น จัดหาที่ทำกินให้ใหม่ การจ่ายเงินชดเชย การคงสัญชาติไทย ฯลฯ เพื่อมิให้ราษฎรเข้าใจผิดจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการนอกจากนั้น ยังอาจจำเป็นต้องกำหนดมาตรการเสริม โดยในส่วนของฝ่ายไทยจะต้องจัดให้มีระบบการแก้ไขปัญหาเขตแดนอย่างทันท่วงทีและเป็นเอกภาพ ไม่ว่าจะเป็นการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด การกำหนดกลไกในการตรวจสอบและรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเขตแดน ไม่ว่าจะเป็นการดัดแปลงสภาพภูมิประเทศ การก่อสร้างตามแนวชายแดน  การเปลี่ยนทางเดินและการกัดเซาะตลิ่งของแม่น้ำเขตแดน ฯลฯ หรือการวางมาตรการในการตรวจสอบและบำรุงรักษาหลักเขตแดนและหลักอ้างอิงเขตแดน ด้วยการมอบอำนาจให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ปฏิบัติงานเบื้องต้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะและถาวร ตลอดจนอาจจำเป็นต้องมีการตรากฎหมายเพื่อให้สามารถลงโทษผู้เคลื่อนย้าย รื้อถอน หรือทำลายหลักเขตแดนและหลักอ้างอิงเขตแดน
สำหรับการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดำเนินการด้านเขตแดน ซึ่งมุ่งประสงค์ให้เกิดความเข้าใจอันถูกต้องในหมู่ราษฎรและเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชการซึ่งอยู่ในพื้นที่ตามแนวชายแดน อันจะนำมาสู่ความสนับสนุนหรือการหลีกเลี่ยงปัญหาการกระทบกระทั่งระหว่างราษฎรกับคณะเจ้าหน้าที่ชุดสำรวจและนำความเข้าใจอันถูกต้องต่อการดำเนินการเจรจาของกระทรวงการต่างประเทศ นั้น ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศกับสภาความมั่นคงแห่งชาติได้เคยไปทำการประชาสัมพันธ์ที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดสงขลาในลักษณะการสัมมนา  บางครั้งก็ได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่จากกรมสนธิสัญญาและกฎหมายและกรมแผนที่ทหารไปทำความเข้าใจกับราษฎรตามแนวชายแดน เช่นที่แก่งผาได และภูชี้ฟ้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งเคยเกิดกรณีราษฎรต่อต้านการทำงานของคณะเจ้าหน้าที่ขึ้น 
ลักษณะการปักปันเขตแดนทั้งทางบกทางทะเล หากท่านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินท่านคงเคยเห็นหลักสั้นๆเป็นแท่งกลมทำด้วยปูนซิเมนต์ยาวประมาณหนึ่งศอกปักแสดงอาณาเขตที่ดินด้านหัวมุดหลักเขตมีหมายเลข บอกเอาไว้ตรงตามในแผนที่ในโฉนดนั่นคือเขตแดนของบุคคล ส่วนหมุดเขตแดนของประเทศนั้นทำขึ้นด้วยปูนซีเมนต์เขียนชื่อประเทศที่อาณาเขตติดกันเอาไว้ทั้งสองด้านด้านละประเทศ ด้านใต้หลักมีเหล็กขนาดใหญ่หล่อผนวกเอาไว้กับหลักเขตเพื่อกันการเขยื้อนหลักเขต ในยุคแรกของการปักปันเขตแดน หลักเขตทำจากไม้เนื้อแข็ง  ในเวลาต่อมาถูกปลวกกัดกินบ้างผุกร่อนบ้างจึงใช้เป็นซีเมนต์แทน
เส้นเขตแดน   แบ่งออกเป็น เขตแดนตามธรรมชาติ     เส้นแบ่งเขตแดนที่สร้างขึ้น
เขตแดนตามธรรมชาติ เป็นตำบลที่ที่มองเห็นได้เด่นชัดทั้งสองประเทศเช่นภูเขา ทิวเขา แม่น้ำ ขวางกันกลางระหว่างสองประเทศ มีหลักการใช้สิ่งกีดขวางทางธรรมชาติเป็นเขตแดนดังนี้
๑.ภูเขาใช้ยอดเขาที่สูงสุดแบ่งเป็นสองด้าน กั้นเขตแดน
๒.ทิวเขาใช้สันปันน้ำ สูงสุดกั้นเขตแดนตลอดทิวเขา ดังนั้นเส้นเขตแดนจึงคดเคี้ยวไปมาตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดตามทิวเขานั้นหากทิวเขาซับซ้อนกันเป็นหลายทิวเขาจะใช้ทิวเขาที่สูงที่สุด และต่อเนื่องกันมากที่สุดเป็นเส้นเขตแดน หากสุดแนวทิวเขาเป็นช่องเขา และมีทิวเขาอีกฝากของช่องเขาจะใช้ไหล่เขาลงจากสันปันน้ำตรงไปยังสันปันน้ำตามไหล่เขาสู่สันปันน้ำอีกทิวเขาหนึ่ง และหากบนทิวเขามียอดเขาแนวเขตแดนจะตัดตรงสู่ยอดเขาและลงจากยอดเขาไปตามสันปันน้ำอีกด้านหนึ่ง หรือหากมีการสร้างหลักเขตแดนขึ้นปักปันผสมกับแบบธรรมชาติเมื่อเส้นเขตแดนมาตามสันปันน้ำจะต้องลากผ่านกึ่งกลางหลักเขตแดนหากยังไม่สุดแนวทิวเขาแต่มีการปักปันเขตแดนด้วยหมุดหลักเขตแล้วจะใช้หลักเขตนั้น เช่นหลักเขตแดนไทย กัมพูชาหลักที่๗๒อยู่บนยอดเขา เนิน๑๐๙ที่อยู่บนทิวเขาบรรทัด บริเวณหลังโรงเรียนบ้านหาดแต่ทิวเขายังทอดยาวไปอีก ส่วนหลักเขตที่ ๗๓ อยู่ชายหาดดังนั้นเขตแดนจะยึดถือเป็นเส้นตรงจากหลักเขตที่ ๗๒ไปสู่หลักที่ ๗๓เมื่อไม่มีหลักเขตต่อไปอีกแล้วเพราะเป็นทะเลเส้นเขตแดนต่อไปจะเป็นการแบ่งเขตแดนทางทะเล
๓.ใช้แม่น้ำเป็นแนวเขตแดน ในโลกนี้มีประเทศต่างๆที่มีอาณาเขตติดกันกั้นกลางด้วยแม่น้ำแต่อาจมีวิธีการใช้แม่น้ำกั้นกลางที่ไม่เหมือนกัน สุดแล้วแต่จะเจรจาตกลงกันระหว่างสองประเทศนั้นๆ ส่วนของประเทศไทยเส้นเขตแดนที่ใช้แม่น้ำแบ่งเขตได้แก่พรมแดนด้าน ประเทศลาว ประเทศเมียนม่าร์ และประเทศมาเลเซีย หลักนิยมใช้แม่น้ำแบ่งเขตแดนมีหลาย วิธีการ
           ๓.๑ ยึดถือฝั่งแม่น้ำฝั่งใครฝั่งมันเป็นเขตแดน แม่น้ำถือว่าใช้ร่วมกัน วิธีนี้ไทยและเมียนมาร์ใช้โดยมีแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมยวิธีนี้นำมาใช้เพราะแม่น้ำมีขนาดเล็กการกำหนดร่องน้ำเปลี่ยนแปลงง่ายเมื่อใช้แม่น้ำร่วมกันปัญหาที่เกิดคือกระแสน้ำกัดเซาะทำให้ฝั่งหนึ่งที่งอกมีประชาชนยึดที่ดินปลูกสร้างบ้านเรือน ส่วนฝั่งหนึ่งพังทลาย อีกปัญหาหนึ่งคือสันดอนกลางน้ำมักมีประชาชนมาอยู่อาศัยอ้างกรรมสิทธิเป็นเรื่องต้องพูดคุยกันเจรจากัน                   
  ๓.๒การใช้เส้นแนวกึ่งกลางความกว้างของแม่น้ำในระดับน้ำเฉลี่ย มักใช้กับแม่น้ำเล็กๆที่ตื้น                                            
           ๓.๓การใช้ร่องน้ำลึก นิยมใช้กับแม่น้ำใหญ่ๆ สำหรับไทยนั้นใช้ร่องน้ำลึกของแม่น้ำโขงแบ่งเขตแดนกับ ลาวแต่ในสากลอาจเป็นอย่างนี้สำหรับไทยและลาวนั้น ยังมีสนธิสัญญาระหว่างสยาม กับฟรั่งเศสกำหนดเกาะแก่งในแม่น้ำเอาไว้ด้วยว่าทุกเกาะแก่งเป็นของลาว ดังนั้นร่องน้ำลึกช่วงเกาะแก่งจึงต้องอยู่ร่องน้ำด้านฝั่งไทย
นอกจากทั้งสามหลักการนี้แล้วยังมีการแบ่งโดยสภาพของแม่น้ำหากมีสองร่องน้ำอาจกำหนดเส้นเขตแดนอยู่ระหว่าร่องน้ำ หรือผสมผสานทั้งหมดเป็นช่วงๆของลำน้ำแล้วแต่จะเจรจาตกลงกัน
   เส้นเขตแดนที่มนุษย์สร้างขึ้น
มนุษย์สร้างสิ่งก่อสร้าง ขึ้นเป็นจุดบ่งว่าเป็นเขตแดนเช่น หมุดหลักเขตแดน กำแพง แนวรั้ว คู คลอง ถนนโดยการทำสัญญาตกลงกันที่จะยึดถือ ใช้พิกัดทางภูมิศาสตร์ของโลก กำหนดเป็นเส้นแลตติจูด หรือเส้นลองติจูด ใช้การลากเส้นตรงระหว่างหลักเขต
นอกจากแผ่นดินของแต่ละประเทศที่เป็นผืนแผ่นเดียวกันโดยมีการกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนกันตามวิธีการต่างๆทั้งตามธรรมชาติและสิ่งที่สร้างขึ้นแล้ว หากประเทศใดมีพื้นที่ติดทะเลต้องมีการกำหนดอาณาเขตทางทะเลตามอนุสัญญาองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล สรุปสาระสำคัญแสดงอาณาเขตคือ
๑.น่านน้ำภายใน คือบริเวณอ่าวหรือทะเลที่ตั้งอยู่บนเส้นฐาน เป็นกรรมสิทธิของประเทศที่ติดกับทะเลนั้น
๒.ทะเลอาณาเขต คือทะเลที่อยู่ต่อจากน่านน้ำภายใน ตามที่ประเทศชายฝั่งทะเลกำหนดขึ้นไม่เกิน ๑๒ไมล์ทะเลเขตนี้เป็นแนวตรงสูงขึ้นไปในอากาศและลึกลงไปใต้น้ำด้วย นั่นเป็นสิทธิเหนือพื้นที่อธิปไตยของประเทศชายฝั่งนั้น
๓.เขตต่อเนื่องอยู่นอกออกต่อออกไปจากเขตของทะเลอาณาเขต ออกไป ๑๒ ไมล์ทะเล                 ๔.เขตเศรษฐกิจจำเพาะ อยู่ต่อจากน่านน้ำภายในออกไปไม่เกิน ๒๐๐ ไมล์ทะเล ประเทศชายฝั่งมีสิทธิ์อธิปไตยในการสำรวจ หาประโยชน์ การอนุรักษ์ การจัดการทรัพยากรณ์ธรรมชาดิ แต่ไม่มีอธิปไตยด้านการบิน การเดินเรือ
๕.ไหล่ทวีป เป็นทะเลนอกสุดจากเส้นฐานระยะ ๒๐๐ไมล์มีน้ำลึกไม่เกิน ๒๐๐ เมตร เป็นอธิปไตยของประเทศชายฝั่งในทรัพยากรทางธรรมชาติ ประเทศอื่นๆได้สิทธิ์ในการวางสายเคเบิลใต้น้ำ ท่อขนส่งทางทะเลโดยขอความเห็นชอบยินยอมจากประเทศชายฝั่งนั้นเสียก่อน
๖.ทะเลหลวงเป็นทะเลอยู่นอกจากไหล่ทวีปทุกประเทศในโลกสามารถใช้ประโยชน์ด้านการเดินเรือ การบิน การประมงฯและฯลฯ
          บทความนี้คงเป็นประโยชน์และสร้างความเข้าใจให้กับท่านผู้อ่านถึงความเป็นมาเป็นไปของการแบ่งเขตแดนประเทศระหว่างประเทศไทยและเพื่อนบ้านรอบๆทั้งนี้เราเป็นคนไทยชั้นหลานเหลน ที่ต้องรับผิดชอบ ยอมรับสิ่งที่บรรพชนของเราได้ตกลงกับมิตรประเทศและ ยึดถือยึดปฏิบัติเรื่องเขตแดนโดยประโยชน์สูงสุดแต่ก็ต้องไม่ล้ำสิทธิของเพื่อนบ้าน ก็เพื่อความสงบสุขมีความเป็นอยู่ร่วมกันได้ดีเพราะเราต้องอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านไปตราบชั่วฟ้าดินสลาย มิอาจยกพื้นดินหนีออกจากกันไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น