ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สามมหาราช ตอนที่๒

                               

                                                                                           ๑๑
                                                                    ตอนที่ ๒ บรรพบุรุษของเรา
อาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ที่ก่อให้เกิดหนังเรื่องยาวเกี่ยวพันกันไปมา ทับซ้อนพื้นที่กันไปมาแบบเก่าไปใหม่มา ทำให้เชื่อได้ว่าในภูมิภาคนี้ความจริงแล้วเราเป็นพี่น้องกันทั้งหมดแต่เมื่อความเจริญ ความอุดมสมบูรณ์ไม่เท่ากันเกิดความบาดหมางระหว่างราชสำนัก ความต้องการทรัพย์สินและผู้คนจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องถ้าพี่น้องไทยเราจดจำแต่เรื่องไทยรบพม่า พม่ายึดเมือง ก็ดูจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ลองดูประวัติแต่ละอาณาจักรล้วนรบพุ่งแย่งชิงถิ่นทำมาหากินกันไปมา ไทยรบพม่า ไทยรบล้านนาไทยรบกัมพูชาหากเราเกลียดพม่า ลาวและเขมร มลายู ล้านนา ก็เกลียดไทยเหมือนกัน หากรู้รากเง้าของบรรพบุรุษ คนในภูมิภาคล้วนเป็นเชื้อไขเดียวกัน      
 อาณาจักรสุธรรมวดี    (สะเทิม ปัจจุบันคือพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของพม่าในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ นั้น ชนชาติพม่าได้เข้าครอบครองดินแดนลุ่มแม่น้ำอิรวดี และสาละวิน ซึ่งเดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่ามอญและพวกปยุหรือพะยู พม่าได้ตั้งเมืองพุกาม หรือนครอริมัทนะ หรือนครศรีเกษตร เป็นเมืองหลวง   นับเป็นสมัยที่เจริญรุ่งโรจน์ที่สุด พระเจ้าอนิรุธ หรืออนุรุทร หรืออนวรตะ หรืออโนรธาช่อ (..๑๕๘๗๑๖๒๐) แห่งอาณาจักรพุกามยุคต้น พระองค์ส่งกองทัพไปโจมตีเมืองสะเทิมของอาณาจักรมอญจนพินาศ ต่อจากนั้นพระเจ้าอนิรุธได้โปรดให้มีการสังคายนาศาสนาพุทธขึ้นในพม่า  เพื่อให้พระสงฆ์เคร่งครัดธรรมวินัย และมีการสร้างเจดีย์ชะเวดากองใน พ.. ๑๖๐๒   ต่อมาใน พ.. ๑๘๓๐สมัยพระเจ้านรสีหปติของพม่าถูกจักรพรรดิ์กุบไลข่านของจีนมองโกล  นำกำลังบุกเข้าโจมตีเมืองพุกาม จนพม่าต้องตกเป็นประเทศราชของจีน
..๑๘๔๑๒๐๔๓(สมัยอาณาจักรสุโขทัย) พวกไทใหญ่หรือฉาน ที่เคยรับราชการกับกษัตริย์พม่า ได้ใช้กำลังยึดเมืองหลวงพุกามได้    พวกไทใหญ่จึงสร้างเมืองอังวะเป็นเมืองหลวงและยึดดินแดนอาณาจักรพุกามของพม่าไว้ถึง ๒๕๐ ปี
ต่อมา ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ อาณาจักรพม่าได้ฟื้นตัว   พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (.. ๒๐๗๔๒๐๙๓)รบชนะไทใหญ่และมอญตั้งเมืองหลวงที่เมืองหงสาวดี หรือ เมืองพะโค และ ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอโยธยาในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์(คราวสงครามช้างเผือก)แต่ ตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ    และเมื่อกลับไปเมืองหงสาวดีก็ถูกลอบปลงพระชนม์ในเวลาต่อมา ทำให้พระเจ้าบุเรงนอง ผู้เป็นแม่ทัพได้อภิเษกกับพระพี่นางของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์แทนที่เมืองหงสาวดี  พระเจ้าบุเรงนองนั้นมีความเก่งด้านสงคราม  สามารถปราบอังวะ
                                                                                            ๑๒
ของพวกไทใหญ่  พวกมอญ  พวกเชียงใหม่ ได้เป็นประเทศราช  ด้วยเป็นแม่ทัพของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้  เคยเข้ามาทำสงครามกับอโยธยา คราวสงครามขอช้างเผือก จึงรู้เส้นทางและวิธีรบของอโยธยาได้ดี ล่วงปี พ..๒๑๑๒   จึงนำทัพมาตีอโยธยา มีชัยชนะต่อกรุงศรีอโยธยา ได้เป็นประเทศราชอีกเมือง  พระเจ้าบุเรงนองสามารถสร้างอาณาจักรพม่าคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง    จนแผ่นดินขยายกว้างใหญ่  ตั้งแต่ลุ่มน้ำมณีปุระถึงแม่น้ำโขง  หลังจากบุเรงนองสวรรคตในปี  ..๒๑๒๔   พระเจ้านันทบุเรง    โอรสพระเจ้า บุเรงนองครองราชย์ต่อ  ทรงให้พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด)   ยกทัพมาตีกรุงศรีอโยธยาจนเกิดการสู้รบกับสมเด็จพระนเรศวรราชาเมื่อ พ..๒๑๔๒ ถูกปืนไฟของทัพพระนเรศวรราชาสิ้นพระชนบนหลังช้าง  หลังจากนั้นอาณาจักรมอญที่เมืองหงสาวดีก็เสื่อมโทรมลง   ..๒๑๕๘ พม่าโจมตีพวกมอญแล้วจึงย้ายเมืองหลวงจากอังวะมาตั้งที่เมืองหงสาวดี แต่ต่อมาได้ย้ายกลับไปอังวะอีกครั้งหนึ่ง
อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละ อาณาจักรกัมพูชา และอาณาจักรทาราวดี และฟูนันสันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของชาวขอม เป็นอาณาจักรเก่าแก่แรกสุดของชนเชื้อสายกัมพูชา  อยู่ทางใต้แหลมอินโดจีนมีเมืองหลวงตั้งอยู่แถบเมืองบาพนม เมืองเปรเวง  ในเขมร และจังหวัดออกแอ้ว   ในประเทศเวียดนาม   อันเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเล  ตรงดินดอนสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขง  ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ฟูนัน ถ่ายเสียงมาจากคำว่า  พนม ที่แปลว่าภูเขา  และยังเป็นตำแหน่งของกษัตริย์ที่มี
ความหมายว่า  เป็นราชาแห่งภูเขา  มีอาณาเขตครอบคลุมประเทศกัมพูชาทั้งหมด และบริเวณภาคกลางของไทย ฟูนันเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗-๑๐พุทธศตวรรษที่ ๑๑ อาณาจักรฟูนันอ่อนแอลงและล่มสลาย  พระเจ้าภววรมันที่ ๑  ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์องค์หนึ่งของอาณาจักรฟูนัน  ก็ได้ประกาศตนเป็นอิสระ  แยกตัวออกมาจากอาณาจักรฟูนัน  รวบรวมกำลังมาตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้น  เรียกว่า  อาณาจักรเจนละ คำว่า  เจนละ  มาจากภาษาเขมรว่า       เจือนเลอ   หมายถึง   ข้างบน  ชั้นบน  ที่ข้างบน  ด้านเหนือ  อันหมายถึงดินแดนที่อยู่เหนือทะเลสาบเขมรในปัจจุบันขึ้นมา  ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีได้นำเอาจดหมายเหตุของชาวจีนที่บันทึกไว้ในราวพุทธสตวรรษที่     ไปตรวจสอบพร้อมทั้งพิจารณาหลักฐานที่ได้จากศิลาจารึกและโบราณวัตถุต่างๆที่ค้นพบ ต่างมีความเห็นตรงกันว่าอาณาจักรเจนละนั้น   จุดเริ่มต้นน่าจะมีถิ่นที่อยู่แถบเมืองเศรษฐปุระ ในบริเวณแถวปราสาทวัดภู    ริมฝั่งแม่น้ำโขง  แคว้นจำปาสัก  ในประเทศลาวปัจจุบันนั่นเอง      ต่อมาก็ได้ขยายอาณาเขตลงมาสู่ตอนล่าง   ในถิ่นที่เคยเป็นอาณาเขตแว่นแคว้นของอาณาจักรฟูนันมาก่อนและได้สถาปนาศูนย์กลางอาณาจักร ในบริเวณแถบเมืองภวปุระ (เหนือกำปงธม เหนือทะเลสาบใหญ่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบันในระหว่าง  ที่พระเจ้าภววรมันที่ ๑  ยังทรงครองราชย์อยู่นั้น   พระอนุชาของพระองค์ ชื่อเจ้าชายจิตรเสน ก็ได้ทำการขยายอาณาเขตและรวบรวมเอาบ้านเมืองน้อยใหญ่ในบริเวณใกล้เคียง  แล้วแผ่อาณาเขตลงสู่ดินแดนเขมร ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง  โดยทุกครั้งที่ทรงได้รับชัยชนะหรือแผ่อำนาจไปถึง    พระองค์ก็จะสร้างศาสนสถานและรูปเคารพ
                                                                                        ๑๓
พร้อมกับจารึกขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศถวายแด่พระศิวเทพ  ทังนี้พระองค์ยังได้มีพระราชประสงค์เพื่อจะให้เป็นที่เคารพสักการะแก่ปวงพสกนิกรของพรองค์    บริเวณชุมชนแห่งนั้นๆด้วยจารึกจิตรเสน  ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ อาณาจักรเจนละก็เริ่มอ่อนแอลงเรื่อยๆ  จนกระทั่งมาถึงสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑  อาณาจักรเจนละก็ถูกแบ่งออกเป็น สอง ส่วน  คือส่วนที่เป็นอาณาจักรเจนละบก  และอาณาจักรเจนละน้ำบริเวณอาณาจักรเจนละบก    นั้น  เข้าใจว่าว่าน่าจะครอบคลุมอยู่ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำโขง  ทั้งดินแดนในเขตภาคอีสานของประเทศไทย    และดินแดนบางส่วนของประเทศลาวตั้งแต่หลวงพระบาง  เวียงจันทน์ลงมาถึงจำปาสักส่วนบริเวณอาณาจักรเจนละน้ำ      น่าจะครอบคลุมลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ และบริเวณทะเลสาบใหญ่ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบันเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔  เริ่มเข้ายุคทองของอาณาจักรขอม  เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒   ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่ออาณาจักรศรีวิชัย  แห่งหมู่เกาะชวา   ทรงรวบรวมอาณาจักรเจนละบกและเจนละน้ำให้เป็นปึกแผ่น     ทรงรับลัทธิไศเลนทร์     หรือ  เทวราชา ”  จากชวามาสถาปนาในอาณาจักรของพระองค์  จนเกิดเป็นราชประเพณีในการสร้างปราสาทหรือเทวาลัย  ซึ่งเป็นศาสนสถานบนฐานเป็นชั้นถวายเป็นทิพย์วิมานของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์และเป็นราชสุสานของกษัตริย์ขอมยามเสด็จสวรรคต  และหลอมดวงพระวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าที่พระองค์นับถือ  กล่าวได้ว่าได้ทรงนำความเชื่อใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ศิลป  ชะตากรรมของชาวขอม  ทั้งนี้เรื่องราวของรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกค้นพบที่ปราสาทสะดก-ก๊กธม  บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา  เขตอำเภอตาพระยา  จังหวัดสระแก้ว  ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งฃาติ  กรุงเทพมหานครจากหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า เมืองหลวงของอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒  มีหลายแห่ง  เช่น  ที่อมเรนทรปุระ  บนเทือกเขาพนมกุเลน  ทางตะวันตกของนครวัด  เมืองหริทราลัย  ที่ตำบลโรลูสในปัจจบัน     ซึ่งที่ตำบลโรลูสนี้เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒  พระเจ้าชัยวรมันที่ ๓    พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑   และพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑     จึงปรากฏมีปราสาท หรือเทวสถานที่สำคัญหลายแห่ง      เช่น  ปราสาทพระโค   บากองโรลูส    การที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ สามารถรวบรวมอาณาจักรเจนละทั้งสองเข้าด้วยกันได้ และปลดแอกเจนละออกจากการเป็นประเทศราชของชวา    แล้วได้สถาปนาระบบเทวราชาขึ้น    ถือว่าเป็นการพัฒนาการของอาณาจักเจนละ ก่อเกิดเป็น อาณาจักรกัมพูชา  โดยมีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ที่เมืองพระนคร    และสามารถติดกับดินแดนลาว(ปัจจุบันคือที่ราบสูงทางภาคอีสานของไทย) โดยผ่านขึ้นมาตามช่องเขาต่างๆของเทือกเขาพนมดงเร็ก  หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการ คมนาคม  หรือการเดินทางไปมาติดต่อกันระหว่างอาณาจักรเจนละน้ำในดินแดนเขมรต่ำและเจนละบกในดินแดนที่ราบสูงของคนลาว ซึ่งในปัจจุบันเราก็ได้เห็นซากปรักหักพังของเทวาลัย  หรือ  เทวสถาน  ที่ เราเรียกว่า   ปราสาท   นั้นกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ    ตั้งแต่เมืองพระนคร (นครวัด นครธม) เรื่อยมาจนถึงทั่วภาคอีสานของประเทศไทย
                                                                                          ๑๔
พระเจ้ามเหนทรวรมัน  กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ  ทรงเป็นแบบอย่างอันดียิ่งของกษัตริย์กัมพูชาในยุคต่อๆมา  คือนับตั้งแต่พระเจ้า อีสานวรมันและพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒  ซึ่งเป็นยุคก่อนเมืองพระนครเรื่อยมา  จนกระทั่งถึงยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่  ๗ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์สุดท้ายแห่งกัมพูชาในยุคของเมืองพระนคร  หรือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘( ซึ่งตรงกับเมืองสุโขไทแข็งเมืองไม่เป็นประเทศราชของกัมพูชาอีกต่อไป)    กษัตริย์ขอมเกือบจะทุกพระองค์ ทรงโปรดให้สร้างศาสนสถาน     หรือสิ่งก่อสร้างอันเป็นสัญลักษณ์ต่างๆขึ้น    ตามอย่างบุรพกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ   เพื่อใช้เป็นสถานที่ แสดงความเคารพบูชาต่อเทพเจ้าในชุมชนต่างๆตามความเชื่อทางศาสนา  ในการสร้างปราสาทหรือเทวาลัยจะมีการจัดสร้าง  บาราย    หรือสระน้ำ  เพื่อที่จะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของประชาชน  รวมทั้งการสร้างบรรณาลัยหรือห้องสมุดไว้สำหรับเป็นที่เก็บพระคัมภีร์ทางศาสนา    และการสร้าง   อโรคยาศาลา  หรือโรงพยาบาล  ไปพร้อมๆกันในบริเวณนั้นด้วยเสมออารยธรรมที่เกิดขึ้นบนพื้นแผ่นดินอีสานของประเทศไทยในปัจจุบัน 
นับตั้งแต่พระเจ้ามเหนทรวรมันเป็นต้นมา  ได้ แผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางมีผู้นำหรือชนชั้นปกครองนับถือทั้งศาสนาฮินดูทั้งลัทธิไศวนิกาย   และลัทธิไวษณพนิกาย    โดยในส่วนของพลเมืองนั้นนับถือทั้งผี ฮินดู      และพุทธ  โดยมีสภาพชีวิตทางสังคมที่ผสมผสานกันไป   และภาษาที่ใช้กันในยุคนั้นมีทั้งภาษาบาลีสันสกฤตภาษามอญและภาษาเขมร
อาณาจักรกัมพูชา   นับแต่ พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ ๒ พุทธศตวรรษที่ ๑๕  ถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗  พุทธศตวรรษที่ ๑๘  ขอมมีเมืองพระนคร   (บริเวณนครวัดนครธม) เป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักร  สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่๗นี้ได้ทรงขยายพระราชอาณาเขตไปอย่างกว้างขวาง   และยังได้ทรงสร้างศาสนสถานเอาไว้เป็นจำนวนมากทั้งในราชธานีและหัวเมืองต่างๆที่พระราชอำนาจได้แผ่ไปถึงงานทางสถาปัตยกรรมที่พระองค์ทรงสร้างเอาไว้รวมไปถึงพระนครธม  ซึ่งมีกำแพงแต่ละด้านยาวถึง  ๑๒ กิโลเมตรและมีคูเมืองขนาดมหึมาล้อมรอบโดยมีปราสาทบายน   เป็นศูนย์กลางของพระนครธมอันยิ่งใหญ่ คูเมืองในสายทางที่ล้อมรอบปราสาทนครวัดที่เรียกโดยชาวกัมพูชาว่าปราสาทองค์เล็ก เรียกว่าวงเล็ก และสายทางที่ล้อมปราสาทบายนที่เป็นศูนย์กลางของพระนครธมอันยิ่งใหญ เรียกว่าวงใหญ่ นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังได้สร้างปราสาทองค์เล็กๆเพื่อเป็นที่พักสำหรับคนเดินทางที่ป่วยไข้ ที่เรียกว่าบ้านพักคนมีไฟ”(จะสุมไฟเอาไว้ตลอดเวลาเพื่อต้มยารักษาคน)เอาไว้อีกถึง ๑๐๒  แห่ง กระจายไปทั่วทั้ง  ๔ ทิศทั่วทั้งพระราชอาณาจักร  แผ่นดินอีสานของประเทศไทยสมัยนั้นยังเป็นเมืองในปกครองของขอม  จึงทำให้มีมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นผลมาจากความเชื่อทางศาสนาได้ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปของการสร้างปราสาทและเทวาลัยรวมทั้งรูปเคารพต่างๆ   กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ภายหลังจากการสิ้นสุดในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ นี้ไปแล้ว อาณาจักรของกัมพูชาก็เริ่มเสื่อมลง  จึงทำให้พระราชอาณาจักรกัมพูชา  อันมีนครวัดนครธมเป็นศูนย์กลาง    ได้เสื่อมสลายลงไป  และจนในที่สุดในราวกลาง
                                                                                     ๑๕
พุทธศตวรรษที่  ๒๐  กัมพูชาจึงได้ละทิ้งเมืองพระนครหรือนครธมย้ายไปอยู่ที่พนมเปญอันเป็นเมืองที่ไม่ไกลไปจากราชธานีเดิมของอดีตแห่งอาณาจักรฟูนันในสมัยเมืองพระนครเท่าใดนัก เมื่อฟูนันเสื่อมอำนาจจึงเกิดอาณาจักเจนละ อาณาจักรกัมพูชาตอนใต้แม่น้ำโขงและอาณาจักรทาราวดีมีอำนาจในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอาณาจักรสุโขทัยลุ่มน้ำยม
เมื่ออาณาจักรขอมไม่ได้ทรงพลังเช่นเดิมแล้ว การย้ายเมืองหลวงจากพระนครไปสู่พนมเปญที่ห่างไกลจากศัตรูอย่างอโยธยา หรือ เวียดนามมากกว่า และในอีกด้านหนึ่งก็มีที่มั่นทางการค้าที่ดีกว่า จึงนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ากระแสให้เห็นว่าการคงอยู่ของเมืองมหานครในสมัยดังกล่าวนั้นต้องมีส่วนผสมเรื่องรายได้การค้า แม่น้ำโขงและทะเลสาบเขมรกลายเป็นชัยภูมิจุดที่ลงตัวในเรื่องของการเกษตรและการค้า ซึ่งด้วยเหตุนี้ก็ไม่ต่างจากการสถาปนาอยุธยา และเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพการที่ถดถอยของสุโขทัยก็ยิ่งให้ภาพที่ชัดของยุคสมัยนั้นมากขึ้น
แม้ว่าอิทธิพลทางการเมืองของขอมในบริเวณแทบนี้จะสิ้นสุดลง แต่ทว่าอิทธิพลทางความคิดความเชื่อต่างๆที่ฝังหัวมานาน กลับไม่ได้สิ้นสุดลงไปด้วย แต่หากความคิดแบบ ภารตาภิวัฒน์” (สภาพความคิดความเชื่อของอินเดียที่ถูกส่งผ่านมาจากอารยธรรมขอม) ที่แฝงเร้นอยู่ในการเชื่อทางการเมือง ความศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิกษัตริย์นิยม การให้คุณค่าของชนชั้นต่างๆ ในสังคม หรือแม้กระทั่ง ชื่อตำแหน่งต่างๆทางการเมือง กลับเติบโตในสภาพแวดล้อมอีกแห่งหนึ่งในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอีกประการหนึ่ง คือ วัฒนธรรมการบริโภคข้าว ที่แต่เดิมก่อนอาณาจักรอโยธยานั้น ผู้คนในแถบนี้ จะบริโภคข้าวเหนียว เช่นเดียวกันกับ คนลาว แต่เมื่ออารยธรรมด้านชนชั้นของภารตาภิวัฒน์ ขยายอิทธิพลจากขอมสู่อยุธยาทำให้ชนชั้นสูงของอยุธยา หันมาบริโภค ข้าว เจ้า ที่ทำให้ข้าวกลายเป็นเครื่องชี้วัดสถานะของ เจ้า หรือ ชนชั้นสูงในอยุธยา ส่วนผู้ที่กินข้าวเหนียว ก็ยังคงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของอาณาจักร หรือ มีสถานะเป็น ไพร่ นั่นเอง และเมื่อสืบย้อนถึงประวัติข้าวหอมมะลิ หรือ ข้าวขาวมะลิ ที่เรารู้จักกันดี ก็มีที่มาของสายพันธุ์เดียวกับข้าวเจ้าเขมรในชื่อ โสมาลี นั่นเอง
อาณาจักรทวารวดี ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ มีเมืองสำคัญ ๒ เมือง คือ เมืองละโว้ และเมืองนครชัยศรี อยู่บริเวณสองฝั่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และยังมีเมืองโบราณอื่นๆกระจายอยู่ตามลุ่มแม่น้ำอีก เช่น เมืองคูบัว เมืองอู่ทอง เมืองศรีเทพ อาณาจักรทวารวดีเกิดขึ้นหลังจากฟูนันเสื่อมอำนาจ วัฒนธรรมประเพณีคล้ายกับอาณาจักรฟูนัน เป็นลักษณะเมืองโบราณที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบเมืองเป็นรูปวงกลมหรือวงรี ประมาณ ๑-๓ ชั้น แต่ละเมืองจะมีกษัตริย์ปกครองตนเอง ชุมชนทวารวดีเจริญรุ่งเรืองมาก จะเห็นว่ามีเมืองที่อยู่ในปกครองของอาณาจักร เมืองมีกษัตริย์ปกครอง เมืองหลักเมืองใหญ่หรือเมืองหลวงของอาณาจักรก็มีกษัตริย์ปกครอง

                                                                                        ๑๖
เช่นเดียวกันและเป็นที่ยกย่องของกษัตริย์เมืองต่างๆในอาณาจักรหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญที่ค้นพบ ได้แก่ วงล้อธรรมจักร เสมาสลักเรื่องราวพุทธประวัติ และพระพุทธรูปศิลปะทราวดี
 อาณาจักรละโว้ แต่เดิมคือเมืองๆหนึ่งของอาณาจักรขอมหรืออาจเป็นเมืองประเทศราช ในช่วงที่ขอมเจริญรุ่งเรือง เช่นเดียวกับ เมืองอื่นๆเช่นอโยธยา   สุโขไท   มีอายุในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ พร้อมๆ กับอาณาจักรทวารวดีและศรีวิชัย
อาณาจักรตามพรลิงค์ Tanmaling เป็นชุมชนสำคัญแถบชายทะเลในดินแดนภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งต่อมาได้กลายเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราชนั้น เป็นอาณาจักรโบราณที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธศตวรรษที่  เป็นเส้นทางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ไปยังอาณาจักรสุโขทัยและดินแดนทั่วแหลมมลายูหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ พระบรมธาตุเจดีย์   เมืองสำคัญในอาณาจักรได้แก่กรุงศรีธรรมราช(เมืองหลวงของอาณาจักร เมืองไชยา เมืองปัตตานี เมืองสงขลา เมืองตะกั่วป่า เริ่มราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๓ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ นับเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ในแหลมมลายู มีชื่อเรียกในศิลาจารึกว่า ตามพรลิงค์ และยังมีชื่อในตำนานต่างๆว่า นครดอนพระ ศรีธรรมราช ศิริธรรมราช เป็นต้น เคยเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรศรีวิชัย แต่ได้กลับมาตั้งตัวเป็นอิสระและมีความเจริญถึงขีดสุดทั้งด้านอาณาจักรและ ศาสนจักร ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้มีประเทศราชในปกครอง ถึง ๑๒ หัวเมืองโดยใช้ตรารูปสัตว์ประจำปีนักษัตรเป็นตราประจำเมืองขึ้นนั้นๆสายบุรีหนู   ปัตตานีวัว  กลันตันเสือ   ปาหังกระต่าย ไทรบุรีงูใหญ่   พัทลุงงูเล็ก  ตรังม้า ชุมพรแพะ บันไทยสมอ(ท่าทอง/กาญจนดิษฐ์)ลิง  สงขลาไก่ ตะกั่วป่า(ถลาง)หมา กระบุรีหมู  เมืองนครศรีธรรมราชเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยามในพุทธศตวรรษที่๒๐  อาณาจักรนี้มีภาษาพูดเป็นของตนเองและสืบต่อมาจนทุกวันนี้                                                         
 อาณาจักรศรีวิชัย   เป็นอาณาจักรใหญ่ในภาคใต้ของไทยตั้งอยู่บนเกาะชวาเกาะสุมาตรา คาบสมุทรมลายู
 อาณาจักรโคตรบูร ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่นครพนม ครอบคลุมดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขง ตั้งแต่เมืองอุดรธานี หนองคาย เวียงจันทน์นครพนมจนถึงอุบลราชธานี ส่วนด้านตะวันตกติดนครราชสีมา ติดอาณาจักรขอม โคตรบูรมีความสัมพันธ์พี่น้องกับอาณาจักรล้านช้าง                                                                                                                                                              อาณาจักรหริภุญชัย ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ตรงกับปี ..๑๒๐๖ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน และบริเวณลุ่มแม่น้ำวัง มีเมืองสำคัญคือ เมืองลำปาง (เมืองเขลางค์นคร) เมืองลำพูน (เมืองหริภุญชัย) มีปฐมกษัตริย์คือ นางจามเทวี ธิดากษัตริย์แห่งกรุงละโว้ จนถึงพญายีบา รวมทั้งสิ้น ๔๙ พระองค์ ต่อมาถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนาของพระยามังรายมหาราช ประมาณปีพ..๑๘๒๔

                                                                                     ๑๗

อาณาจักรพุกาม (อาณาจักรพม่าโบราณ) พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ พุทธศตวรรษที่๑๖-๑๗ อาณาจักรพุกามชนะเหนืออาณาจักรมอญ (พระเจ้ามังนรธาช่อยึดได้ประมาณ พ.ศ. ๑๖๐๐) พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘

อาณาจักรโยนกเชียงแสน   พุทธศักราชที่ ๑๑-๑๕ (ระหว่าง พ.ศ.๑๑๑๑-๑๘๐๔) เชื่อว่าผู้นำกลุ่มคนไทยชื่อ สิงหนวัติ ได้สร้างเมืองนาคพันธุ์-สิงหนวัติ (อ.เชียงแสน จ. เชียงราย) ต่อมา คือ อาณาจักรโยนกนคร มีเมืองเชียงแสนเป็นราชธานี มีอาณาเขตถึง ตังเกี๋ย เวียดนาม ถึงแม่น้ำสาระวิน รัฐฉาน ต่อมาถูกขอมรุกรานและถูกน้ำท่วมบ้านเมืองพังพินาศล่มสลายไป ช่วงขอมเสื่อมอำนาจชาวเชียงแสนส่วนหนึ่งขยายอิทธิพลมายังสุพรรณ สร้างเป็นเมืองแห่งลุ่มน้ำภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ                                                                                                                 อาณาจักรล้านนา เป็นอาณาจักรโบราณอยู่ทางภาคเหนือของไทย ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ บริเวณดินแดนแม่น้ำปิง แม่น้ำกก และแม่น้ำโขง แบ่งเป็น ๒ แคว้น คือ แคว้นโยนกเชียงแสน พระเจ้าสิงหนวัติ ผู้สร้างเมือง โยนกนาคพันธุ์ ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ที่ราบเชียงราย มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาจนถึงพระเจ้าพรหมมหาราช แต่ต่อมาในตำนานสิงหนวัติกล่าวไว้ว่า อาณาจักรแห่งนี้ถูกรุกรานจากภายนอก และเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมจนเมืองล่มกลายเป็นหนองน้ำ และแคว้นเงินยางเชียงแสนต่อมาได้รวมกับอาณาจักรหริภุญชัยหลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาได้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และได้ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ บริเวณลุ่มแม่น้ำปิงปู่ลาวท้าวจก (ละวะจังกะราช) ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรเงินยางเชียงแสน มาสร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสน) เป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักร พญามังราย กษัตริย์ลำดับ ๒๕ ราชวงศ์ลวจังกราชปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ได้สถาปนา   อาณาจักรล้านนา (ประมาณ พ.ศ.๑๘๐๔) ต่อมาพญามังรายมหาราช ย้ายเมืองหลวงจากเมืองเงินยางเชียงแสนมาเมืองไชยปราการ (ฝาง) และเชียงใหม่  สามสหาย พญามังราย พญางำเมืองและพ่อขุนราม ร่วมสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ รับพุทธศาสนาลังกาวงศ์ครั้งแรก (ทรงสร้างวัดเวฬุกัฏฐาราม) ศิลปกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป (หมวดพระพุทธสิหิงค์) วัด วิหาร เจดีย์ (วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ เจดีย์วัดป่าสัก เชียงราย พระธาตุปางหลวง ลำปาง) เมืองต่างๆในอาณาจักรได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พเยา แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน  และมีกษัตริย์สืบทอดมาอีก ๑๙ พระองค์(เป็นประเทศราช  ของอาณาจักรตองอู พ.ศ. ๒๑๐๑  ๒๑๓๙ เป็นประเทศราชของอาณาจักรอโยธยา พ.ศ. ๒๑๓๙  ๒๑๕๘ เป็นประเทศราช  ของอาณาจักรอังวะ พ.ศ. ๒๑๕๘-๒๒๐๖ประเทศราชของราชวงศ์ตองอู ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๐๗-๒๓๑๗สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สามารถตีเอาเชียงใหม่คืนมาได้ในปี พ.ศ. ๒๓๑๗
อาณาจักรสุโขทัย ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย ปฐมกษัตริย์คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง และเสื่อมอำนาจลงในสมัยพระธรรมราชาลิไท เมื่ออโยธยารุ่งเรืองมากขึ้นด้วยเป็นเมืองระหว่างทางน้ำสามารถเก็บอากรได้ร่ำรวยมีกำลังทหารที่แข็งแกร่งกว่าสุโขทัย  
                                                                                            ๑๘
และในสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอโยธยา ได้ยกทัพมายึดเมืองสองแคว (พิษณุโลก)เมืองหลักของสุโขทัย ไว้ได้ พระมหาธรรมราชาลิไทต้องถวายบรรณาการเพื่อขอเมืองคืน อาจเป็นเหตุให้พระองค์ต้องเสด็จไปประทับอยู่ที่สองแคว และโปรดให้พระขนิษฐาของพระองค์(คือพระมหาเทวี) ปกครองที่สุโขทัยแทน เมื่อทรงได้รับคืนเมืองสองแควแล้ว ขณะที่ทรงผนวชอยู่นั้น ทรงโปรดฯให้สร้างวัดสำคัญๆหลายวัดในเมืองสองแคว(ต่อมาคือเมืองพิษณุโลก) และให้พระราชโอรสของพระองค์ คือสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๒ ใช้เมืองสองแควเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่ง ปกครองอาณาจักรเรื่อยมา เหตุการณ์ตอนนี้ชี้ให้เห็นว่า แกนแห่งศูนย์กลางอำนาจของราชอาณาจักรสุโขทัย ต้องย้ายจากสุโขทัยไปพิษณุโลก เนื่องจาก
ต้องการสกัดกั้นอำนาจของกรุงศรีอโยธยาที่อยู่ทางตอนใต้ เมืองสุโขทัยจึงค่อยๆลดความสำคัญลง  เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๑๙๑๑ พระมหาธรรมราชาลิไททรงพยายามฟื้นฟูความเป็นเมืองศูนย์กลางของสุโขทัยอีกครั้งหนึ่ง แต่พระองค์ก็ไม่สามารถแสดงบทบาทด้านการเมืองต่อไปได้นาน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๒ อันเป็นเวลาที่กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาคือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (พ่องั่ว) ได้เสวยราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยา และส่งกำลังเข้าโจมตีเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาที่ ๒กษัตริย์สุโขทัย ต้องออกถวายบังคม ยอมอ่อนน้อมรับพระราชอำนาจของอโยธยาพระมหากษัติรย์แห่งกรุงศรีอยุธยา(ข้อขัดแย้งกับประวัติศาสตร์ที่ว่าสุโขทัยปกครองอยุธยา)ได้อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติพร้อมๆกับการบังคับด้วยแสนยานุภาพทางทหาร ในการที่จะกลืนราชอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอโยธยา การแต่งงานระหว่างเจ้านายฝ่ายหญิงของสุโขทัยกับกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ฝ่ายอโยธยาจึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง ในพ.ศ. ๑๙๘๑ สุโขทัยและเมืองน้อยใหญ่ในขอบขัณฑสีมาของสุโขทัย ทั้งหมด   ได้กลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของกรุงศรีอโยธยา ที่ชาวอยุธยาเรียกว่า เมืองเหนือ และสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (สมเด็จเจ้าสามพระยา) ได้ส่งโอรสที่สมภพจาก พระชายาราชวงศ์สุโขทัยมาครองเมืองพิษณุโลก ในตำแหน่งพระราเมศวร อันเป็นตำแหน่ง พระมหาอุปราช ปกครองกลุ่มเมืองเหนือทั้งมวล โดยขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาอีกทีหนึ่งพระราเมศวร ทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอโยธยา ในปี พ.ศ.๑๙๙๑ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แม่นางสาขาพระราชมารดาของพระองค์ ยังคงประทับอยู่ที่ราชธานี พิษณุโลก และช่วยราชโอรสปกครองเมืองเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๐๓ พระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่หรือราชอาณาจักรล้านนา ได้ยกทัพมาโจมตีพิษณุโลก พระบรมไตรโลกนาทจึงเสด็จฯนำกองทัพกรุงศรีอโยธยามาตั้งมั่นที่เมืองพิษณุโลกสามารถรักษาเมืองไว้ได้ และพระองค์เองทรงประทับเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองพิษณุโลกตลอดพระชนม์ชีพ เมื่อเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๒๐๓๑ พิษณุโลกไม่ได้เป็นราชธานีของเมืองเหนืออีกต่อไป เป็นเพียงหัวเมืองเอก ระดับเมืองลูกหลวง ขณะที่สุโขทัย ลดความสำคัญลงไปเป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรุงศรีอโยธยามาปกครองเท่านั้น ฉะนั้นการที่พวกเราฝังหัวกันมาตั้งแต่เด็กว่าสุโขทัยคือราชอาณาจักรเริ่มแรกของคนไทย แล้ว
                                                                                        ๑๙
สืบเนื่องมาเป็นอาณาจักรอโยธยานั้นคงไม่ใช่ มีหลายรัฐเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นอิสระต่อกัน และทุกรัฐมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่ครั้งอยู่ร่วมในราชอาณาจักรกัมพุชเทศเดียวกัน ทุกรัฐล้วนเป็นรากเหง้าของคนไทย
ด้วยกันทั้งสิ้นโดยเฉพาะ สุพรรณภูมิ ก็น่าจะเป็นรัฐเริ่มแรกของคนไทยพอ ๆ กับสุโขทัย เพชรบุรี ลพบุรี ชัยนาท สองแคว ชากังราว จนผนวกมาเป็นอาณาจักรอโยธยา แล้วจึงขยายตัวไปยึดครองเมืองทางล้านนา โคตรบูร ศรีธรรมราช เป็นประเทศราช   ในภายหลัง
.อาณาจักรสุพรรณภูมิ คือกลุ่มบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำสุพรรณบุรี โดยมีแม่น้ำจระเข้สามพัน เป็นเส้นทางเชื่อมโยงแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าว้ามีทางแยกเส้นทางน้ำที่เมืองอู่ทอง เชื่อมโยงไปยังแม่น้ำสวนแตงและแม่น้ำสุพรรณบุรี ชุมชนเริ่มแรกของรัฐสุพรรณภูมิ เริ่มต้นที่เมืองโบราณอู่ทอง และเมืองโบราณทวารวดี ที่สาบสูญในเขตตำบลรั้วใหญ่ไปจรดตำบลพิหารแดง ในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรีในปัจจุบัน เป็นอาณาจักรที่นักประวัติศาสตร์ไทยให้ความสำคัญน้อยกว่าเมืองพิษณุโลกและกำแพงเพชรเสียอีก สุพรรณภูมิ แปลได้ว่า เป็นแผ่นดินทองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทุ่งข้าวสีทองกว้างใหญ่อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุพรรณภูมิ เป็นรัฐที่มีอิทธิพลในภูมิภาคมาแต่ครั้งโบราณ   ต่อมาเรวมกลุ่มทางการแต่งงานกับละโว้และละโว้เคลื่อนย้ายศูนย์กลางมาอโยธยา  ก่อนการเกิดของราชอาณาจักรกรุงศรีอโยธยาและเจริญรุ่งเรืองในระยะเดียวกับกรุงโยธยาของอาณาจักรสยามเป็นเมืองในปกครองของสุโขทัย ซึ่งต่อมา สุพรรณภูมิผนวกเป็นอาณาจักรสยามสุพรรณภูมิ  เริ่มแรกเป็นรัฐที่พัฒนาการมาจากการผสมผสานระหว่างผู้คนในวัฒนธรรมทวารวดี กับวัฒนธรรมจากเขมรเมืองพระนคร ก่อนหน้าสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีจะเป็นศูนย์กลางของรัฐสุพรรณภูมิ มีบ้านเมืองในชุมชนทวารวดีกระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคกลางอยู่แล้ว ส่วน วัฒนธรรมแบบเขมรที่มีศูนย์กลางในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่เมืองลพบุรีหรือลวปุระได้ส่งอิทธิพลมาสู่เมืองในราชอาณาจักรขึ้นไปถึงเมืองสุโขทัย ศูนย์กลางในภาคเหนือสุด ไปยังเมืองสิงห์ ราชบุรี ศูนย์กลางในภาคตะวันตก เพชรบุรี ศูนย์กลางในภาคใต้สุด อยุธยาศูนย์กลางในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และเมืองสุพรรณภูมิ ศูนย์กลางในลุ่มน้ำท่าว้า สุพรรณบุรี   ขอมเขมรผสมทวารวดีที่รวมตัวกันแล้วครอบครองลุ่มเจ้าพระยา แตกเป็นรัฐเล็ก ๆ  หลังจากที่ศูนย์กลางของกัมพุชชาเทศหมดอิทธิพลไปในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ รัฐต่าง ๆ แตกแยกกันปกครองเป็นรัฐหรือแว่นแคว้นเล็ก ๆ แต่ทุกแคว้นก็ยังเป็นบ้านเมืองที่มีอัตลักษณ์ใกล้เคียงกัน มีภาษากลางที่สื่อสารกันได้ คือภาษาในตระกูลเขมร – ออสโตรเอเชียติกเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ ยังมีการติดต่อแลกเปลี่ยนทางค้าขายและมีความสัมพันธ์กันทั้งในเชิงเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการสงครามตามเส้นทางเครือข่ายในภูมิภาคเช่นเดิมมาโดยตลอด
รัฐต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้เริ่มสร้างสมวัฒนธรรมของตนเองในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนเติบโตขึ้นเป็นรัฐใหญ่ แต่ในที่สุดก็เข้ามาแย่งชิงเมืองท่าใหม่ ที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมกับการทำการค้า ทั้งยังมีทุ่งราบน้ำลุ่มขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นภายหลังน้ำทะเลลดระดับลงไป ไว้สำหรับเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ชาวต่างประเทศทั้งจาก
                                                                                      ๒๐
เปอร์เซีย อินเดียและจีน ที่เดินเรือสำเภา เรือสลุป เรือกำปั่นเข้ามาตามลำน้ำเจ้าพระยา เข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อทำมาค้าขาย ซื้อ ขาย ของป่าและแสวงโชคในอโยธยาเวียงเหล็กเมืองโบราณเล็ก ๆ ริมแม่น้ำที่มีมาตั้งแต่สมัยขอมกัมพุทเทศ จนกลายมาเป็นเมืองใหญ่ที่วุ่นวายและน่าพิสมัย  ที่เหล่าแว่นแคว้นโดยรอบหมายเข้าครอบครองเบ็ดเสร็จ  ผู้คนกลุ่มแรกที่เข้าครอบครองเมืองท่าอโยธยาได้ก่อนใคร น่าจะเป็นกลุ่มเพชรบุรีเมืองชัยวัชรปุระ เมืองพริบพลี(เพชรบุรี)และสุพรรณภูมิ ก็ใช้ตำนานพระเจ้าอู่ทองหนีโรคห่าจากแม่น้ำจระเข้สามพัน รัฐต่าง ๆ ได้พยายามสร้างประวัติศาสตร์ของตนเอง เป็น พงศาวดาร และ ตำนาน เพื่ออธิบายว่าเป็นผู้ครอบครองเมืองท่าอโยธยามาก่อนใครพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ศูนย์กลางของแคว้นสุพรรณภูมิเปลี่ยนแปลงไป เกิดชุมชนโบราณในคติปราสาทแบบเขมรที่เมืองโบราณหนองแจง ตำบลไร่รถ เมืองดอนเจดีย์ เป็นเมืองที่ควบคุมเส้นทางตะวันตก ติดต่อกับปราสาทเมืองสิงห์  และเมืองบางพระ เมืองสามชุก ควบคุมเส้นทางภาคกลางเชื่อมต่อกับเมืองครบุรี ชัยนาท แต่คติปราสาทดังกล่าวก็เป็นคติที่ผสมผสานกับศิลปกรรมพื้นถิ่นแบบทวารวดีทีมีอยู่เดิมแล้ว แต่มีรายละเอียดทางศิลปะที่แตกต่างไปจากเมืองศูนย์กลางที่ลวปุระมาก       เมืองโบราณหรือชุมชนเล็ก ๆ กระจายตัวไปตามเครือข่ายเส้นทางหรือถนนโบราณของรัฐสุพรรณภูมิ ภายใต้การควบคุมแบบหลวม ๆ ของเมืองพระนครที่โตนเลสาบที่มีเมืองละโว้เป็นเมืองหลักในย่านกลางอาณาจักรของขอม                 
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐   เมืองสองพันบุรี ศูนย์กลางของรัฐสุพรรณภูมิ ได้เคลื่อนย้ายลงมาตั้งตรงเส้นทางคมนาคมสายสำคัญของภูมิภาค แล้วสถาปนาพระมหาธาตุขึ้นกลางพระนคร ไร่เรี่ยเวลากับการเจริญรุ่งเรืองของรัฐอื่น ๆ ทั้งที่สุโขทัย อยุธยา ลพบุรี ราชบุรี  ด้วยเป็นนครแห่งพุทธจึงมีการก่อสร้างวัดและพระปรางค์ ขึ้นเพื่อเป็นที่สักการของราชสำนัก ขนานนามว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นศูนย์กลางของรัฐสุพรรณภูมิ องค์พระปรางค์เป็นทรงปราสาท รูปลักษณ์แบบฝักข้าวโพด ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า พระธาตุใน  นอกจากนั้นแล้วยังมีพระธาตุอีกแห่งหนึ่ง คือพระธาตุสวนแตง ที่ชาวบ้านมักเรียกว่า "พระธาตุนอก" ตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างเส้นทางเมืองสองพันบุรีมายังเมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเส้นทางเครือข่ายภูมิภาคโบราณ และกลายมาเป็นเดินทัพที่สำคัญในสมัยต่อมา  พระปรางค์ทั้งสองแห่งล้วนเป็นหลักของเมืองในอาณาเขตของรัฐสุพรรณภูมิโบราณ ซึ่งยังคงมีคตินิยมในการสร้างเป็นรูปทรงปราสาทแบบเขมรอยู่.เมื่อรัฐสุพรรณภูมิถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอโยธยา กษัตริย์อโยธยาเชื่อสายราชวงศ์ที่มาจากสุพรรณภูมิพระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็ได้กลับมาบูรณะแล้วก็ให้ใส่จารึกไว้ บอกไม่ได้ว่าเป็นพระองค์ใด เพราะหลักฐานจารึกลานทองก็กล่าวแต่เพียงชื่อ"พระจักรพรรดิเป็นผู้สร้าง" และกษัตริย์อยุธยาเป็นผู้มาซ่อมแซมเท่านั้นเมืองสุพรรณภูมิหรือสองพันบุรีหรือสุพรรณบุรี กลายมาเป็นเมืองร้าง เพราะราชสงครามครั้งใหญ่ในปี ๒๓๑๐ เป็นต้นมา  จากเรื่องราวที่กล่าวมาทำให้น่าเชื่อได้ว่า รัฐสุพรรณภูมิ น่าจะเป็นรัฐเริ่มแรกของคนไทยมากยิ่งกว่ารัฐสุโขทัย และรัฐในภูมิภาคต่าง ๆ เสียด้วยซ้ำไป  ด้วยหตุผลว่า อาณาจักรสุพรรณภูมิ โดยราชวงศ์สุพรรณภูมิและอู่ทอง คืออาณาจักรเริ่มแรกที่เข้ามา
                                                                                        ๒๑
ครอบครองกรุงศรีอโยธยาแบบเบ็ดเสร็จ ก่อนใคร จนราชวงศ์สุโขทัยเข้ามาแย่งชิง โดยใช้อำนาจของอาณาจักรหงสาวดีเกตุมวดี ปลดพระมหาจักรพรรดิแห่งสุพรรณภูมิออกจากอำนาจการครองราชสมบัติของเมืองหลวงกรุงศรีอโยธยา ดังนั้นจึงเปลี่ยนรากฐานอ้าง การสืบบรรพบุรุษราชประเพณี วรรณกรรม ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ จากสุพรรณมาเป็นสุโขทัยแทนที่ จากราชวงศ์สุโขทัยที่ปกครองอโยธยาเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อไพร่ที่เข้ามาเป็นขุนนางสามารถปราบดาภิเศกขึ้นครองราชย์ คือราชวงศ์ปราสาททองและราชวงศ์บ้านพลูหลวงเมื่อ ผู้ปราบดาภิเษกคือไพร่ฟ้าในอโยธยาไม่ใช่เชื้อสายพระวงศ์ ดังนั้นการปฎิบัติตามราชประเพณีต่างๆของราชสำนักจึงถือแบบอย่างตามราชวงศ์สุโขทัย จนแทบจะไม่อ้างถึงเมืองสุพรรณเลย

อาณาจักรสยาม     มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีโยธยา ทางตะวันออกของเมืองพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน กว่าจะกลายมาเป็น"ราชอาณาจักร"ใหญ่อย่างกรุงศรีอโยธยาที่ครอบครองศูนย์กลางทางเชื้อชาติ เศรษฐกิจและอำนาจทางการปกครองเหนือแผ่นดินทุกแว่นแคว้นก็กินเวลายาวนานมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๑เป็นอาณาจักรของคนที่นักประวัติศาสตร์ในยุคปัจจุบันเรียกว่าคนไทยซึ่ง คนไทยไม่ใช่อยู่ดี ๆ ก็โผล่ขึ้นมาแต่ที่เราเรียกว่าคนไทยในภายหลังนั้นมีสายเลือด ทั้งขอมเขมรละโว้ ผสมมอญทวารวดีผสมลาวเชียงแสน ลาวล้านนา จนถึงยุคเคลื่อนย้ายค้าขายจากแดนไกลนอกภูมิภาคได้แก่ จีน แขก ดินเดีย จาม มลายู เปอร์เชียการผสมต่างเผ่าพันธุ์มีหลากหลายขึ้น เป็นชาวกรุงศรีอยุธยา  ก็คือบรรพบุรุษเริ่มแรกของผู้คนที่อยู่อาศัยบนภูมิภาคนี้มาก่อน ที่นักประวัติศาสตร์กลับบอกว่าอพยพมาจากเทือกเขาอันไต กลายมาเป็น "คนไท" และรัฐชาติ"ประเทศไทย" นั้นเป็นการยกเมฆเพราะเทือกเขาอันไตนั้นเป็นแดนหนาวเย็นของมองโกลไม่มีคนอาศัยอยู่ได้  กรุงศรีอโยธยาและเมืองสุพรรณมีความเกี่ยวข้องกันทาง เชื้อพระวงศ์ และต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทองซึ่งเป็นเจ้าเมืองอโยธยา ได้ขยายเมืองโยธยาวางรูปแบบให้ใหญ่โตสถาปนาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสยามขึ้นผู้เป็นเจ้าครองนครจึงทรงพระนามว่ารามาธิบดี ซึ่งเมือง อโยธยามีลักษณะเป็นเมืองมีขุนหลวงปกครองเช่นเดียวกับสุโขทัยที่รุ่งเรืองยุคเดียวกับอโยธยาด้วยเป็นเส้นทางค้าทางบกระหว่างมอญกับญวน เมื่อสุโขทัยอ่อนแอลง กรุงศรีอยุธยาก็เข้าปกครอง อาณาจักรสุโขทัยเป็นอันสิ้นสุดเหลือฐานะเพียงเป็นเมืองๆหนึ่งที่อาณาจักรสยามผนวกรวมเป็นราชอาณาจักรส่วน เมืองในอาณาจักรสุโขทัยแต่เดิมเช่นศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร พิชัย ตาก ยังเป็นเมืองสำคัญที่กษัตริย์กรุงศรีอโยธยาส่งพระยาไปครองเมืองเป็นเมืองหน้าด่านติดต่อกับล้านนา และอังวะ เมื่อสยามเข้มแข็งสูงสุดได้รวบรวมเมืองในอาณาจักรต่างๆรอบๆไว้เป็นประเทศราช จนถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนองสยามตกเป็นประเทศราชของ อังวะ จนกระทั่งสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราชแข็งเมืองไม่ส่งบรรณาการอังวะ อาณาจักรสยามภายใต้เมืองหลวงกรุงอโยธยาศรีรามเทพนคร ถึงกาลสิ้นเมื่อสมัยพระเจ้าเอกทัศ เสียเอกราชให้กับกษัตริย์กรุงอังวะเพียงเวลา ๑ ปี พระยาตากสิน ก็สามารถกอบกู้เอกราชอาณาจักรสยามกลับคืนมาได้แต่ศูนย์กลางการปกครองเปลี่ยมมาเป็น กรุง
                                                                                      ๒๒
ธนบุรีศรีมหาสมุทร โดยพระยาตากสินปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวระยะเวลา ๑๕ ปีก็สิ้นสุดลงเมื่อพระองค์ถูก ชิงราชบรรลังค์โดยพระยาสรรค์และเหตุการณ์นำไปสู่การรัฐประหารโดย  สมุหนายก   ในวันที่ ๖ เมษายนพ.ศ.๒๓๒๕ กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร มีพระราชวัง ศูนย์กลางบริหารราชการที่คับแคบมีแม่น้ำผ่านกลางเมืองคล้ายพิษณุโลก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงดำหริจะย้ายกรุงไปกรุงศรีอโยธยาเมื่อปราบปรามเขมรได้เรียบร้อยและรวบรวมราชทรัพย์ได้แล้วแต่พระองค์ต้องสิ้นรัชกาลลงก่อนดังนั้นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ครั้งเป็นสมุหนายกต้องเป็นแม่งานก่อสร้างพระนครใหม่จึงเล็งเห็นความสำคัญเรื่องนี้เร่งย้ายกรุงแต่ไม่กลับไปกรุงศรีอโยธยา  แต่ตัดสินพระทัย ข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาฝั่งบางเกาะก่อสร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่โดยมีพระบรมมหาราชวัง และวังหน้าตั้งอยู่ระหว่าแม่น้ำและคูเมืองธนบุรีด้านทิศตะวันออกโดยทรงขยายคูเมืองด้านตะวันออกไปอีกหลายเส้น  โดยมีหลวงพรหมเสนามหาดเล็กหุ้มแพรในพระเจ้าเอกทัศ และร่วมรบกับพระเจ้าตากจนเลื่อนเป็นพระยาสุรสีห์ และปัจจุบันดำรงฐานะเป็นกรมพระราชวังบวรรับเป็นแม่งานสร้างกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์พระนครแห่งใหม่ของอาณาจักรสยาม สิ่งก่อสร้าง ประกอบด้วยพระบรมมหาราชวัง วังหน้า กำแพงเมืองป้อมปราการวัดพระแก้ว นอกจากนั้นยังจัดสร้างวัดวาอารามเคียงคู่พระนครและบูรณะวัดวาต่างๆที่เคยมีอยู่เดิมเป็นส่วนประกอบของพระนครเช่นเดียวกับกรุงศรีอโยธยา สำหรับอิฐที่ใช้ก่อสร้างได้รื้ออิฐกำแพงของกรุงศรีอโยธยาจนหมด ล่องลำน้ำเจ้าพระยาลงมาก่อสร้างพระนครแห่งใหม่นี้ได้อย่างสวยสดงดงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น