ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สามมหาราชตอนที่ ๑

                                                                                  

                                                                         
                                                                                  

                                                                                    คำนำ
       ประเทศไทยของเรานั้น มีประวัติศาสตร์ ของชาติมายาวนาน ทั้งชาติพันธุ์ ศิลปะ วัฒนธรรม ต้องผ่านช่วงเวลาของการทำสงคราม   การกวาดต้อนผู้คนจากแคว้นจากเมืองต่างๆมารวมกันเข้าไว้ในเมืองศูนย์กลางการปกครอง ตั้งเป็นอาณาจักรเป็นกรุงอันหมายถึงศูนย์กลางที่มีพระมหากษัตริย์ ขุนหลวง ปกครอง  จากเมืองในสามลุ่มน้ำ ได้แก่ลุ่มน้ำ สุพรรณ(ราชธานีอู่ทอง)  ลุ่มน้ำยม(ราชธานีสุโขไท) และลุ่มน้ำเจ้าพระยา(ราชธานีอโยธยา) รวมกันก่อกำเนิดกรุงเทพทราวดีศรีอโยธยา ก็ด้วย “มหาราชา รามาธิบดี  ได้รวบรวมผู้คนก่อร่างสร้างพระนครอโยธยาเดิม ให้ใหญ่โตอันเป็นศูนย์รวมหลากหลายเผ่าพันธุ์ก่อกำเนิดเผ่าพันธุ์ชาวกรุงศรีธยาขึ้นมาพัฒนาราชอาณาจักร พุทธจักร จนแข็งแรงมั่นคงจนโลกรู้จักชาวกรุงศรีอยุธยาศรีรามเทพนครแห่งอุษาคเนย์ เมืองอันมั่งคั่งแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา สืบต่อลูกหลายมาหลายชั่วอายุคนจนวิวัฒน์เป็นสยามและไทย ในกาลต่อมา 
        ครั้นมีสงครามต้องพ่ายแพ้ต่อชาวอังวะแห่งลุ่มน้ำอิระวดี กรุงศรีอโยธยาได้ก่อกำเนิด “มหาราชนเรศวรราชา   พระราชาผู้สร้างตำนานการรบเพื่อปลดปล่อยอำนาจอังวะเหนือกรุงศรีอโยธยา และพระองค์ยังได้ขยายอำนาจเพื่อความปลอดภัยของอาณาจักรจากอังวะจึงได้กรีฑาทัพไปยังดินแดนของอังวะและมอญ จนเป็นที่เกรงขามของอังวะและมอญในเวลานั้น จึงนำมาซึ่งความมั่นคงสืบต่อมาอีกหลายชั่วอายุคน   ให้อยุธยาศรีรามเทพนครปลอดภัยจากสงคราม อาณาประชาราษฎร์ได้อาศัยผืนแผ่นดินทำมาหากิน  สร้างคน   สร้างอาณาจักร  มีระบบการเมืองการปกครอง  การทหาร ศิลปะ ศาสนาเจริญก้าวหน้าจนเป็นที่กล่าวขวัญถึงมหานครที่ร่ำรวยแห่งอุษาคเนย์ เมืองที่มีกำแพงเมืองล้อมรอบยาวกว่าสิบกิโลเมตร มี ปราสาทราชวังลงรักปิดทองเป็นประกายเหลืองอร่ามยอดปราสาทประดับเพชรนิลจินดาจนเหมือนปราสาทแห่งสรวงสวรรค์    แต่ความรุ่งเรืองสูงสุดกลับตกลงต่ำสุด ด้วยปัญหาการเมืองการปกครองการแย่งชิงอำนาจเหนือพระนคร  มา ปั่นทอนความเข้มแข็งจนเมืองอ่อนแอขาดขุนทหารฝีมือดีจนในที่สุด กษัตริย์อังวะแห่งลุ่มน้ำอิระวดีที่สร้างสมความเข้มแข็งได้มากกว่าก็ยกทัพเข้ามารุกรานทำลายกษัตริย์ของกรุงศรีอยุทธยา ทำลายเมือง และความเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งอุษาคเนย์ในเวลานั้นจนสิ้น ในฤดูร้อนของเดือนเมษา พุทธศักราช ๒๓๑๐    สงครามครั้งนี้แม้อยุธยาประสพความพ่ายแพ้แต่ก็ ได้ก่อกำเนิด กษัตริย์ยอดนักรบคือ  “สมเด็จพระเอกาทศรุธหรือพระยาตาก”  ขุนนางจากหัวเมืองฝ่ายเหนือผู้สร้าง๒
                                                                                         
ตำนานทุบหม้อข้าวหม้อแกงเข้ารวบรวมผู้คนที่เมืองจันทบูรแล้วนำทัพกลับมา  ยกพลขึ้นบก ที่ธนบุรี ที่โพธิ์สามต้นขับไล่อังวะ จนสามารถสร้างนครของชาวสยามที่ธนบุรี และเป็นรากฐานกำเนิดกรุงเทพมหานครของสยามประเทศ และจากสยามประเทศเป็นประเทศไทยถึงเราได้อาศัยอยู่ในวันนี้
          ผู้เขียนได้รวบรวมเรื่องราว เป็นช่วง เป็นตอนไล่เรียงเหตุการณ์ สถานการณ์ทั้งการรบ การเมืองการปกครองโดยเทียบเคียงกับความรู้ด้านการทหารในปัจจุบัน และการศึกษาค้นคว้าจากประวัติศาสตร์บางเรื่องราวอาจขัดแย้งกับความรู้ที่เราเคยเรียนจากตำราประวัติศาสตร์ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายถึงเหตุผลของเหตุการณ์ต่างๆที่มีความเห็นแตกต่างเอาไว้บ้าง จึงขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้อ่านเรื่องราวที่ผู้เขียนได้เรียบเรียง ประพันธ์ขึ้น การแสดงทัศนะที่แตกต่างของผู้เขียนก็เพื่อเพิ่มมุมมองให้ทุกท่าน โดยมิได้มุ่งหวังเพื่อให้เชื่อเรื่องราวของผู้เขียนและยึดถือเป็นเรื่องจริงและ เป็นประวัติศาสตร์ตามที่ผู้เขียนประพันธ์แต่อย่างใด
                                                                                                                                                 ขอขอบคุณทุกท่าน
                                                                                                                                                          อิน-ทร

                                                                                         
                                                                                     สารบัญ
ตอนที่ ๑ คนอโยธยา
ตอนที่ ๒บรรพบุรุษของชาวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้                                                                                     
 ตอนที่ ๓ขอม มหาอำนาจในอุษาคเนย์                                                                                                                                          
 ตอนที่ ๔ จากอโยธยา สู่กรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา                                                                                                                        
 ตอนที่ ๕ อลังค์การสถาปัตย์แห่งอุษาคเนย์                                                                                                                              
 ตอนที่ ๖ พุทธอาณาจักรที่รุ่งโรจน์                                                                                                                                                         ตอนที่ ๗ ขุนหลวงอโยธยา                                                                                                                                                                 ตอนที่ ๘  การปกครองอาณาจักร                                                                                                                                                         ตอนที่ ๙  ศึกภายนอกไม่หนักเท่าศึกภายใน                                                                                                                              
 ตอนที่ ๑๐ พระราชาเหนือพระราชา                                                                                                                                                                             
 ตอนที่ ๑๑ มหานครร้าง                                                                                                                                                          
 ตอนที่ ๑๒ สงครามครั้งสุดท้าย                                                                                                                                                               ตอนที่ ๑๓ ราชวงศ์ใหม่                                                                                                                                                                    
  ตอนที่ ๑๔ ราชวงศ์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา                                                                                                                                                                     
 ตอนที่ ๑๕ ศึกสายเลือด                                                                                                                                                            
  ตอนที่ ๑๖ ขุนพลคู่บัลลังค์                                                                                                                                                                
 ตอนที่ ๑๗ อโยธยาสิ้นแล้ว                                                                                                                                                                 ตอนที่ ๑๘ฐานทัพจันทบูร                                                                                                                                                                
 ตอนที่ ๑๙ สร้างอาณาจักรสยาม ธนบุรี                                                                                                                                    
 ตอนที่ ๒๐ชนะศึกที่สุดคือความพ่ายแพ้
บทส่งท้าย พระราชประวัติ สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ธรรมมิกราชรามาธิบดี
                                                                                                                                                                                                                                                                                
                                                                                      
                                                                                           
                                                                      ตอนที่ ๑ คนอโยธยา
                   ความหลากหลายถูกตั้งนามสมมุติเป็น “ชาวกรุงศรีอยุธยา” หรือ “ชาวสยาม” ตามฝรั่งที่เป็นบาทหลวงและเข้ามาค้าขายเรียก “ชาวไทย”  ยังไม่มีในยุคสมัยนั้น ซึ่งเป็นนามสมมุติเช่นเดียวกับ ชาวเขมร ชาวลาว ชาวมอญ  ชาวจีน ชาวมลายู  ชาวไทยใหญ่คือคำเรียกคนในแถบพม่าโดยกลุ่มชนนี้มีหลากพวกได้แก่ ไทหลวง เมืองฉาน  ไทเขินเมืองตุง ไทเหลออยู่ยูนานไทยน้อยคือลาวนั่นเอง   ส่วนคนไทยนั้นเกิดขึ้นในสมัยหลังใช้เรียกชื่อแทนคนสยาม และ คนกรุงศรีอยุธยาเป็นเผ่าพันธุ์ที่ไม่ใช่มีมาแต่ครั้งดั้งเดิม  เป็นการผสมผสานของ ทุกเผ่าพันธุ์ในสุวรรณภูมิผูกพันกันไปมา  ด้วยการเดินทางค้าขาย  การทำสงคราม    การแต่งงาน  ในหนึ่งคนอาจมีเชื้อไขมากกว่าสองเชื้อไข    และในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงยุคปัจจุบัน ยังมีเชื้อไขข้ามภูมิภาคจากการอพยพ  การค้าขายและการสงครามยุคสมัยนี้เราเห็นมากมาย เราเรียกว่าลูกครึ่งบ้าง เชื้อ บ้าง เช่นเชื้อจีน เชื้อแขก เชื้อมอญ อย่านำมาผูกกับเรื่องกฎหมายเข้าเมือง หรือ กฎหมายคนต่างด้าวเพราะสมัยนั้นยังไม่มี การเข้ามาของคนต่างเผ่าพันธุ์ล้วนมีจุดหมายเรื่องการค้า การแสวงหาดินแดนใหม่ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ในยุคนั้นนับว่ามีค่ามากแม้ไม่เดินทางเข้ามาเอง  ยามเมื่อเดินทัพไปตีชนะเขายังไปกวาดต้อนคนเมืองเขากลับมาอยู่ในดินแดนเราอีกต่างหาก พม่าอังวะก็เช่นเดียวกันคงมีชาวกรุงศรีอยุธยาไม่น้อยที่ถูกกวาดต้อนเมื่ออังวะชนะศึกกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันคงกลายเป็นชาวพม่าไปแล้ว
เชื้อชาติ      หมายถึง ระบบทางพันธุ์กรรม(DNA) หรือ ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์(สรีระวิทยา)ชนชาติคือกลุ่มคนที่มีเชื้อสายพันธุ์เดียวกัน  รวมกลุ่มอาศัยอยู่ด้วยกัน 
ชนชาติ    ในคาบสมุทร อินโดจีนมีชนชาติหลากหลายขอกล่าวถึงกลุ่มใหญ่ๆได้แก่ชนชาติไท ชนชาติจีน ชนชาติพม่า ชนชาติมอญ ชนชาติเขมร ชนชาติลาว และชนเผ่าที่อยู่ตามภูสูง ถิ่นอาศัยของกลุ่มชนที่เป็นชนกลุ่มใหญ่บนที่ราบ นั้นเป็นหลักในการเกิดเมือง โดยจะรวมกลุ่มกันตามที่ราบลุ่มน้ำ    กระจายตัวจากศูนย์กลางลุ่มน้ำต่างๆใช้น้ำนั้นอุปโภคและบริโภค มีการประกอบกิจกรรมเลี้ยงชีพจากการเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์ และประมงซึ่งอาศัยน้ำทั้งสิ้น    การรวมกลุ่มชนที่มีความหนาแน่นหลากหลาย   ก่อเกิด การก่อสร้างบ้านเรือน ซื้อขายแลกเปลี่ยน การละเล่น ศิลปะ วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา การรักษาความปลอดภัยในชุมชน(การปกครอง การทหาร)ใช้สายน้ำติดต่อสัมพันธ์กันไปมา     เกิดเป็นกลุ่มชนขนาดใหญ่ ชุมชนที่เกิดขึ้นเรียกบ้าน หลายบ้านเรียกเมือง หลายเมือง(หลายชนชาติก็ได้)รวมกันเป็นอาณาจักรคำว่าอาณาจักร น่าจะถูกต้องที่สุดในการเรียกประเทศสมัยก่อนเพราะความหมายของ               
 อาณาจักร คือเขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองสรุปคำว่าประเทศ ซึ่งเป็นศัพท์เกิดขึ้นใหม่ ก็คืออาณาจักรที่ประกอบด้วยคนหลายชนชาติแต่ชนชาติส่วนใหญ่ที่มีอำนาจทหารอำนาจปกครองคือพระราชาผู้ครองอาณาจักร
                                                                                          
แต่คงสรุปไม่ได้ว่าอาณาจักร กับประเทศใครกว้างใหญ่กว่ากันเพราะมีทั้งใหญ่กว่า และเล็กกว่าประเทศที่ปรากฏในปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเป็นดินแดนที่รวบรวมหลายๆอาณาจักรที่จะกล่าวต่อไปนี้เข้าด้วยกันเป็นประเทศไทย แต่ในทางกลับกันบางอาณาจักรในอดีตก่อนเป็นประเทศไทยมีความกว้างใหญ่เกินดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน เพราะการประกาศเขตแดนที่เป็นรูปขวานของไทยต้องผ่าน การเมือง การปกครอง การสงคราม ทั้งสงครามภูมิภาค สงครามโลก ที่ต้อง สู้รบ ต้องเจรจา ทั้งตกลง แลกเปลี่ยน เพื่อปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านรอบๆในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นจนมาถึงยุคปัจจุบันที่ยังไม่ลงตัวเรียบร้อย                                   ขอบเขตอาณาจักรคงยึดถือที่ความเป็นชนชาติเดียวกัน และการยอมกันของชนชาติอื่นที่มีความเข้มแข็งน้อยกว่าเข้าร่วมอยู่ภายในอาณาจักร ยอมรับการปกครองของอาณาจักร  อาณาจักรใดเป็นผู้เกณฑ์ไพร่พล เกณฑ์เสบียงอาหาร คุ้มครองพลเมืองจากการรุกรานยึดเอาเสบียงอาหาร ข้าวของ ของอาณาจักรอื่นๆเมืองนั้นก็เป็นเมืองในอาณาจักร                                                                                                                                                    
ส่วนเขตหมู่บ้านเขตเมืองต่างๆนั้นก็ดูจากภูมิประเทศที่สำคัญเช่นลำห้วย ภูเขา แม่น้ำ หรือที่เพาะปลูกบริเวณหลังหมู่บ้านที่มีผืนนาผืนไร่ที่เพราะปลูกเป็นขอบเขตการเก็บของป่าจากป่าใดก็ถือว่าเป็นแดนของตน
ไทยสยาม หรือ ไทเสียม หมายถึง คือกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งพูดภาษาตระกูลลาว    สยามหรือเสียมเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบประเทศไทยในปัจจุบันมาตั้งแต่สมัยโบราณส่วนชาติหมายถึงกลุ่มคนที่มีภาษา วัฒนธรรม และ/หรือ พันธุ์กรรม เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ต้องมีจุดร่วมของการเป็นชาติด้วย เช่น มีประวัติศาสตร์ มีพระมหากษัตริย์ มีวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมา หรือมีเป้าหมายที่ดีสำหรับการรวมเป็นชาติเดียวกัน
กรุง     หมายถึงเมืองใหญ่เมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักร ดังนั้นข้าพเจ้าขอสรุปในมุมมองของข้าพเจ้าว่าปัจจุบันประเทศไทยมีเมืองหลวงชื่อกรุงเทพ อดีตไม่ใช่มีเมืองหลวงชื่อสุโขทัย แล้วมาเป็น อยุธยา และต่อมาก็ธนบุรี แต่ชนชาติไทย มีเมืองที่มีกษัตริย์ปกครองยุคแรกได้แก่สุโขทัย(เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย) สุพรรณ ละโว้ อโยธยา(เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสยาม ขณะที่ยังมีอาณาจักรสุโขทัย และสุพรรณ อยู่) ยุคต่อมา มีอโยธยา(เป็นเมืองหลวงของอาณาจักร แต่สุโขทัยอ่อนแอลงมีสภาพแค่เมืองธรรมดาสิ้นสุดสภาพเมืองหลวงของอาณาจักร) ส่วนลพบุรี และพิษณุโลก(มีกษัตริย์ปกครองและสวามิภักดิ์กับหงสาวดีอีกด้วย      การรวมตัวของชนชาติมักเลือกทำเลประกอบกิจการผลิตข้าวปลาอาหาร และการคมนาคมติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยน เป็นที่ตั้งเมืองตั้งอาณาจักร เมื่อเลือกทำเลอันอุดมสมบูรณ์ตั้งเมือง ผู้เป็นหัวหน้าตามธรรมชาติ หรือเป็นเชื้อสายเจ้าเมืองอื่นย่อมมีประสบการณ์นำชุมชน ก็ตั้งตนเป็นกษัตริย์เป็นเจ้าเมืองนั้น เมื่อชุมชนใหญ่ขึ้น พื้นที่มีทรัพย์ในดินสินในน้ำมากผู้คนก็หลั่งไหลเข้ามา ศิลปะวิทยาการหลากหลายก็เข้ามามีความเจริญขึ้นเป็นยุคนำไพร่ใส่เมืองเมื่อชุมชนเข้มแข็งการเมืองเข้มแข็งการทหารก็เข้มแข็งตามไปด้วยการ ขยายเมืองเพื่อการทำมา
                                                                                             
หากินขยายมากจนข้ามเมืองเป็นอาณาจักรไปจนรุกรานผนวกอาณาจักรอื่นๆเป็นเรื่องธรรมดา ดังเช่นอาณาจักรสุโขทัยมีความเข้มแข็งกว่าอาณาจักรร่วมสมัยอื่นๆก็ขยายอาณาจักรเข้าควบคุมอาณาจักรเชียงแสน อาณาจักรล้านนา ลงทางใต้ควบคุมเมืองต่างๆที่ต่อมาเจริญขึ้นเป็นอาณาจักรอโยธยา ตลอดไปถึงอาณาจักรศรีวิชัยเดิมทางปลายด้ามขวาน การควบคุมมิใช่เข้ายึดครองแต่ในยุคสมัยนั้นเป็นการทอนอำนาจเจาเมืองนั้นลงเป็นประเทศราชมีอำนาจปกครองอาณาจักรของตนแต่ต้องส่งบรรณาการลัเกณฑ์คนมาช่วยทำสงครามตรงข้ามหากประเทศราชถูกอาณาจักรอื่นรุกรานเจ้าประเทศราชต้องนำกองทัพไปช่วย                                                                         
  เมื่อพระรามาธิบดีกษัตริย์กรุงอโยธยา ผู้ซึ่งบรรพบุรุษของพระองค์ครองเมืองสุพรรณที่มีเชื้อสายชาวลาวเชียงแสนพระองค์ได้ดำหริสร้างเมืองอโยธยาให้เป็นศูนย์กลางเมืองท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยา สร้างระบบป้องกันเมืองให้มีอาณาเขตสัดส่วนที่ทันสมัยขึ้นแบ่งเป็นเขตพระราชฐาน เขตการค้า วัดวาอาราม ตามแบบเมืองที่รุ่งเรืองเช่นสุโขทัย ด้วยวังที่ประทับเดิมของพระองค์ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดพระเจ้าองค์ตื้อยังไม่มีขอบเขตเช่นกรุงต่างๆที่เจริญในสมัยเดียวกัน พระองค์ร่วมกับขุนนางบ่าวไพร่ชาวอโยธยาเชื้อ ลาว (ไตน้อย)มอญ เขมร ที่เป็นพลเมืองที่ครองพื้นที่เดิมอยู่ จึงปรับแบบแผนสร้างกรุงอโยธยาขึ้นใหม่บนปากแม่น้ำเมืองราดแม่น้ำนี้ไหลมาจากเมืองราดที่มีลักษณะเป็นเขาสูงลงสู่ที่ราบลุ่มเมืองอโยธยาฤดูน้ำหลากจะเชี่ยวมากคุ้งน้ำต่างๆจึงถูกกัดเซาะพังทลายอยู่เนืองๆ(สัก=ไหลแรงกัดเซาะต่อๆมาจึงเรียกน้ำสัก จนยุคปัจจุบันเรียกป่าสัก) เมื่อเมืองอโยธยาใหญ่ขึ้นและและสถาปนาเป็นกรุงมีลักษณะความเป็นเมืองเอกที่มีพระมหากษัตริย์หรือขุนหลวงปกครองชัดเจนเช่นเดียวกับเมืองสุโขทัยกำแพงเพชร พิษณุโลก คือมีเมือง วัง กำแพงเมือง ระบบการปกครองเมือง  ฝรั่งเรียกกรุงศรีอยุธยาว่าสยาม อโยธยาไม่ใช่เมืองเกิดใหม่แต่มีพัฒนาการมาจากเมืองอโยธยาที่มีขุนหลวงปกครอง เมื่อสร้างราชธานีใหม่ก็ใช้อำนาจทหารผนวกเมืองรายรอบลุ่มน้ำสุพรรณเจ้าพระยา และน้ำสัก เมืองที่เคยอยู่ใต้ขอบสีมาของ สุโขทัย ก็ถูกผนวกรวมเข้ากับอโยธยา                                                                                                                                              ขณะนั้นกลุ่มชนหลายๆกลุ่มที่สมมุติชื่อเรียกคนกลุ่มเดียวกันที่รวมกลุ่มอู่อาศัยอยู่ด้วยกัน ใช้ภาษาเดียวกันโดยเรียกตนเองว่า คนมอญ คนลาว คนเขมร รวมตัวกันอยู่ตามเมืองต่างๆทั่วทั้งอุษาคเนย์ที่ขอมปกครองอยู่  ในหลายๆ เมืองนั้น มีผู้นำ มีขุนหลวง มีพระราชาเป็นผู้นำผู้ปกครอง เมื่ออโยธยาเข้มแข็งถึงขีดสุดก็ผนวกรวมอาณาจักรเหล่านั้นเป็นหนึ่งเดียว มีกรุงอโยธยาเป็นศูนย์กลางทั้งการปกครองและเป็นเมืองท่าทางการค้า ดังนั้นอาณาจักรอื่นๆ ทั้งสุโขทัยและ ศรีวิชัยและเมืองที่สองอาณาจักรเคยปกครองจึงเปลี่ยนศูนย์กลางมาเป็นอโยธยา
                                                                                          
ส่วนอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเสมอกันและเหนือกว่าในบางช่วงบางตอนคืออาณาจักรตองอูที่เป็นศูนย์กลางการปกครองและศูนย์กลางเมืองท่าค้าขายด้านทะเลอินเดีย ส่วนอาณาจักรกันชนระหว่างกรุงศรีอโยธยา สุโขทัยกับตองอูคือ ล้านนาและมอญ เมื่อคราวเราเข้มแข็งก็มักโจมตี ผนวกล้านนาเข้าเป็นประเทศราชของอาณาจักร พออังวะ เข้มแข็งกว่าก็เข้าควบคุมล้านนาเราต้องส่งกำลังไปช่วยซึ่งไม่ทันกาลเพราะพื้นที่เป็นเขาสูงการเคลื่อนทัพจากอโยธยาไปได้ยาก เมื่อล้านนาป้องกันตนเองไม่ได้ อังวะก็จะนำทัพเข้าควบคุมล้านนาซึ่งอังวะครองอำนาจเหนือล้านนาในฐานเจ้าประเทศราช  ปกครองอยู่นานจนผนวกกลมกลืนทั้งภาษาศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ล้วนเป็นแบบฉบับล้านนาที่คล้ายคลึงกับอังวะมากกว่าศิลปวัฒนธรรมของอโยธยาสยามอาณาจักรอังวะก็มีอาณาจักรหรือเมืองภายใต้ปกครองที่สำคัญคือ ฉาน กระเหรี่ยง มอญ อาณาจักรเหล่านี้มักสวามิภักดิ์กับอาณาจักรสยามเป็นหอกข้างแคร่ของชาวอังวะที่ตักตวงผลประโยชน์ทางการค้าจากเมืองท่าเมาะตะมะดังนั้น ดังนั้นการจะปกครองดินแดนทั้งภูมิภาคตั้งแต่เขตอินเดีย เขตจีนถึงเวียดนาม  การปราบปรามอาณาจักรสยามเพียงอาณาจักรเดียวก็สามารถครองอิทธิพลเหนือ มลายู ไทยใหญ่ ล้านนา ล้านช้าง กัมพูชา ได้อย่างง่ายดาย ถ้าไม่ปราบปรามสยาม เมื่อใดสยามแข็งแกร่งถ้าเข้าร่วมกับหงสาวดี สามารถโจมตีอังวะได้ ดังนั้นเมื่อกษัตริย์อังวะ ว่างจากสงครามปราบปรามหงสาวดี และได้ย้ายเมืองมายังหงสาวดี แล้วก็ทำสงครามรบกับจีน และกรุงศรีอโยธยา อังวะนั้นเคลื่อนพลเข้าตีกรุงศรีอโยธยา เพื่อกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินและทำลายความเป็นเมืองท่าศูนย์กลางการค้ากับจีนแขกและฝรั่ง  ส่วนกรุงศรีอโยธยาเองนั้น มีความอ่อนแออันเกิดจากการถูกรัฐประหารชิงราชบรรลังค์บ่อยครั้ง ซึ่งการชิงอำนาจแต่ละครั้ง ต้องประหารขุนนางที่มีฝีมือซึ่งรับราชการถือข้างกษัตริย์พระองค์ก่อนดังนั้น จึงมีความระส่ำระสายคราวเมื่อต้องการระดมพลบ่าวไพร่รับศึกสงคราม เมื่อเราอ่อนแอตรงกับอังวะเข้มแข็งก็จะถูกอังวะเข้าโจมตี หรือหาเหตุเข้าบุกรุก ดังเช่นในรัชสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ์พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอโยธยาครองราชต่อจากพระไชยราชา มีเรื่องบาดหมางกับพระเจ้ามหาธรรมราชากษัตริย์เมืองพิษณุโลก  โดยอโยธยาเกรงว่าพิษณุโลกจะเข้ายึดครองกรุงศรีอโยธยาเมื่อสิ้นสมเด็จพระไชยราชาธิราช จึงเกิดศึกระหว่างอโยธยากับพิษณุโลก  กรุงอโยธยาเลือกลาวเป็นพันธมิตรโดยพระมหาจักรพรรษดิ์ส่งราชธิดาไปแต่งงานกับเจ้ากรุงล้านช้างเพื่อรวมกำลังพลเตรียมทำสงครามกับพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกนั้นจึงนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้   ต้องหาพันธมิตรทางกำลังมาต่อสู้กับอโยธยาจึงเข้าเป็นพันธมิตร กับกรุงอังวะโดยถวายพระราชธิดาเจ้าฟ้าสุพรรณกัลยา กับพระเจ้านันทจอเดงนรธา เพื่อเป็นพันธมิตรกับอังวะๆจึงสนับสนุนกำลังทหารให้
                                                                                              
กษัตริย์เมืองพิษณุโลกต่อสู้กับอโยธยาและสามารถเอาชนะจึงได้กรุงศรีอโยธยาเป็นประเทศราชในสมัยพระมหินทร์โอรสพระมหาจักรพรรดิ์ แต่พระมหาธรรมราชาได้เข้ายึดครองกรุงศรีอโยธยาว่าราชการที่กรุงศรีอโยธยาเป็นการรวมอาณาจักรทั้งสองเข้าด้วยกัน ส่วนอังวะนั้นจะปกครองทั้งพิษณุโลกและกรุงศรีอโยธยาในฐานประเทศราชอีกทอดหนึ่งซึ่งประเทศราชนั้นจะให้ราชวงศ์ พระมหากษัตริย์พระองค์เดิมได้ปกครองภายใต้การส่งบรรณาการและเกณฑ์พลไปช่วยรบเมื่อจ้าวประเทศราชต้องการดังนั้น ตองอูจึงต้องการฝึกอบรมให้กษัตริย์พระองค์ต่อไปที่จะครองราชย์ต่อจากพระมหาธรรมราชาไดเมีความผูกพันธ์ ความจงรักภักดีต่อราชสำนักตองอูจึงใช้วิธีนำผู้สืบบรรลังค์(พระนเรศ)ไปอบรมวิทยาการ การปกครองการทหารจากราชสำนักอังวะเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับอโยธยา แบบประเทศราชตามหลักการปกครองสมัยนั้น เช่นเดียวกับที่อโยธยาปกครองมะลายู ปกครอง ล้านช้าง ปกครองอาณาจักรกัมพูชา ด้วยพระมหากษัตริย์ชาวกัมพูชา ที่กรุงอโยธยา                          
เวลานั้นกรุงศรีอโยธยาถือว่าอ่อนแอที่สุด  จนเมื่ออังวะมีความเข้มแข็งน้อยน้อยลงเนื่องจากการช่วงชิงอำนาจในหมู่เจ้าฟ้าต่างเมืองกันเอง จึงเป็นโอกาสอันดีที่พระนเรศจะปฏิเสธไม่ยอมเป็นประเทศราชของอังวะอีกต่อไปและทรงประสพความสำเร็จ แข็งเมืองไม่รับอำนาจอังวะเหนือประเทศราชและเดินทัพประกาศศักดาตีเมืองหงสาวดีที่อังวะปกครองให้เป็นที่ประจักษ์ทั่วทั้งอาณาจักรอโยธยาและอาณาจักรอังวะรวมถึงอาณาจักรอื่นๆในภูมิภาคจน กรุงศรีอโยธยานั้นเกรียงไกรเป็นที่ยำเกรงนานถึง ๑๖๐ปีทีเดียว หากแต่ความไม่เที่ยงแท้มีเกิดต้องมีดับ ขึ้นสูงสุดย่อมตกลงต่ำสุด เมื่อมีปัญหาศึกภายในปฏิวัติรัฐประหารแย่งชิงอำนาจการปกครองกันอย่างต่อเนื่อง การปกครองเปลี่ยนมือไปมาไม่มีสเถียรภาพ ไพร่หลวง ขุนนาง มีความอ่อนแอ ขาดการเกณฑ์มาฝึกอย่างต่อเนื่อง การบรรจุขุนนางใหม่ที่ไร้ประสบการณ์ ส่วนขุนทหารที่เก่งๆแต่ด้วยเป็นขุนนางแผ่นดินก่อนก็จะถูกกำจัดถอดออกปลดออกหรือถูกประหารชีวิต ส่วนประเทศราช และหัวเมืองที่เคยอ่อนน้อมส่งบรรณาการ ส่งผู้คนเข้าร่วมทัพกับเมืองหลวงเคยเชื่อฟังคำสั่งจากราชสำนักที่เมืองหลวงก็ได้โอกาสไม่เชื่อฟังกระด้างกระเดื่อง แข็งเมือง โดยราชสำนักไม่มีกองกำลังไปปราบปรามเพราะขาดคนมีฝีมือ จนกรุงศรีอโยธยาเกิดความอ่อนแอที่สุด พ.ศ.๒๓๐๘,๒๓๐๙ กองทัพของอังวะมีความเข้มแข็งมากกว่า จึงเดินทัพเข้ารุกปราบปรามอาณาจักรอโยธยาซึ่งครั้งนี้คงตั้งใจปราบห้ราบคราบสิ้นความเป็นอาณาจักรต่อกรกับอังวะได้อีก ซึ่งก็ทำสำเร็จ แต่มีชัยได้ไม่นานอาณาจักรที่สิ้นเหลือเพียงซากเมืองกองเถ้าถ่านของเสาพระราชวังและวัดวาอารามต่างๆหาก มองสภาพแล้วคงหมดหนทางที่จะฟื้นฟูกอบกู้ขึ้นมาให้ยิ่งใหญ่ดังเดิมได้อีก แต่ ณ.เวลานั้น กับมีเจ้าเมืองตากแม่ทัพคนสำคัญที่
                                                                                       
เคยรบป้องกันพระนคร แต่ในวันนี้ได้รวบรวมผู้คนเพียงน้อยนิด แต่สามารถขับไล่กองทัพอังวะผู้ครองเมืองให้พ้นราชอาณาจักร กอบกู้บ้านเมือง ตั้งอาณาจักรใหม่แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา และอยู่สืบต่อมาจนปัจจุบันจาก                        เมื่อพระยาตากขับไล่ทัพอังวะที่เข้ายึดกรุงศรีอโยธยาได้สำเร็จแล้ว จึงสถาปนาขึ้นครองราชย์ และใช้เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรขึ้นเป็นกรุงปกครองอาณาจักรแทนกรุงศรีอโยธยาที่พังทลาย และเพลิงไหม้เผาผลาญจนราบเรียบ เมื่อปราบปราบทัพอังวะได้ก็เสมือนประกาศความเกรียงไกรความเข้มแข็งของกองทัพเมืองธนบุรีในเวลานั้นให้เมืองอื่นๆอาณาจักรอื่นๆได้เห็น ประเทศราช และเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอโยธยา แต่แข็งเมืองเมื่อคราวเสียกรุงบางเมืองก็ถูกเข้าปกครองโดยอังวะแทน   ดังนั้นหลังครองราชย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงต้องเร่งปราบปรามรวบรวมเมืองในราชอาณาจักร และปราบปรามเมืองประเทศราชให้รับอำนาจกรุงธนบุรีเช่นเดียวกับกรุงศรีอโยธยา                                                                              
 ครั้งอังวะส่งทัพใหญ่เข้ามาเพื่อหวังปราบปรามทำลายธนบุรีเช่นเดียวกับกรุงศรีอโยธยาอีกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของเมืองหลวง และเพื่อให้ได้ชัยชนะในการศึกต่อศัตรูที่มีกำลังมากกว่า จึงมีความจำเป็นที่สมเด็จพระเจ้าตากสินปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรธนบุรีต้องใช้ยุทธวิธีการรุกเข้าโจมตีข้าศึก แทนการตั้งรับอยู่ที่ ณ กรุงธนบุรี รวมถึงดำเนินยุทธศาสตร์เป็นมิตรกับเจ้ากรุงจีนโดยส่งราชทูตส่งบรรณาการไปยังกรุงจีน ด้วยจีนนั้นเป็นเมืองใหญ่ผู้คนมากหากเป็นมิตรต่อกัน การรบกับอังวะ กับญวน เมืองใหญ่ทั้งสองที่มีกำลังมากกว่ากรุงธนบุรีที่เป็นคู่สงครามในยุคสมัยนั้นก็เป็นเรื่องง่าย หากอยู่โดดเดี่ยวรบโดดเดี่ยว คงยากที่จะรักษาแผ่นดินสยาม(ชื่อตามฝรั่งเรียก)เอาไว้ได้ซึ่งก็ประจักรในเวลาต่อๆมา
เพื่อไม่เป็นเป้าอยู่นิ่งให้ข้าศึกนำกำลังมาโจมตี ดังนั้นตลอดรัชกาลของพระองค์จึงทรงเดินทัพเข้าโจมตีเมืองต่างๆไม่ได้ว่างเว้นทำให้กองทัพอังวะที่มีขนาดใหญ่กว่าระส่ำระสาย เพราะฝ่ายกรุงธนบุรีไม่ตั้งรับที่เมืองหลวงเป็นเป้านิ่ง ส่วนกองทัพอังวะนั้นก็ต้องแต่งทัพคอยป้องกันการโจมตีของธนบุรีที่ไม่ได้มุ่งบดขยี้ แต่เป็นการเข้าตีโฉบฉวย จึงคาดเดาได้ยากว่าทัพธนบุรีมีสภาพ และขนาดเท่าใด การรวมกำลังเกณฑ์ไพร่พลของทัพตองอูก็ไม่เป็นเอกภาพการส่งกำลังห่างไกลจากสุโขทัยและถูกปล้นสดมภ์จากอโยธยา ถึงแม้เดินทัพมาเข้าตีเมืองพิษณุโลกหน้าด่านเมืองหลวงของธนบุรีตอนเหนือ ทัพอโยธยาก็สามารถจำกัดการรุกคืบหน้าของทัพอังวะได้และมีแนวโน้มว่าทัพอังวะจะถูกตีโต้ตอบพ่ายแพ้ได้ด้วยทัพจีนได้เข้าโจมตีอังวะตอนเหนือ ประกอบกับอังวะเปลี่ยน
                                                                                          ๑๐
ผ่านแผ่นดินจึงต้องถอยกลับ และพระปรีชาสามารถด้านการทหารนี้ทำให้อาณาจักรปลอดภัยถึง ๑๕ปี แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินเจ้ากรุงธนบุรีต้องพ่ายแพ้ด้านการเมืองจนพระองค์ต้องสิ้นพระชนม์ชีพ ด้วยพระชันษาเพียง ๔๘ พรรษา ถ้าเปรียบเทียบอายุของคนวัยทำงาน อายุ๒๓ ๓๕เป็นวัยทำงานสร้างสมประสพการณ์อายุ๓๕-๖๐เป็นวัยที่ใช้ประสบการณ์มาบริหารงานให้สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นหากพระองค์ไม่พ่ายแพ้ทางการเมือง ความเข้มแข็งจะเกิดกับธนบุรีอาณาจักรสยามอย่างมากมายมหาศาล พวกเราคงได้เห็นอาณาจักรสยามเป็นผู้ปกครองอาณาจักรอังวะ อาณาจักรกัมพูชา อาณาจักรญวน อาณาจักรมลายู แล้วต่อกรกับชาติตะวันตกที่เก่งกาจกว่าอาณาจักรอังวะที่ประจักษ์ในกาลต่อมา ว่าชาวยุโรปสามารถยึดอาณาจักรต่างๆตลอดทั้งคาบสมุทรโดยเข้ายึดอังวะ มลายู บางส่วนของสยาม ลาว กัมพูชาและ ญวน  อาณาจักรสยามสิ้นกรุงศรีอโยธยาแต่ก็เกิดกรุงธนบุรี ฝรั่งนั้นเรียกอาณาจักรของคนไทว่าอาณาจักรสยามมาตลอด เมื่อหมดยุคอาณาจักรก็เกิดเป็นประเทศต่างๆแทนอาณาจักรส่วนเมืองใดที่เคยเป็นประเทศราชในอาณาจักรมาก่อน ก็แยกตัวออกเป็นประเทศได้อย่างง่ายดายภายใต้ประเทศในอาณานิคมของยุโรปเมื่อหมดยุคอาณาจักรหลังชาวยุโรปล่าอาณานิคม การกำหนดขอบเขตโดยอาศัยวิทยาการแผนที่สมัยใหม่ เมืองต่างๆรวมกันเป็น ประเทศ 
การเข้ายึดครองของชาวยุโรปหลายประเทศนำเอาอารยะธรรมของตนมาใช้กำหนดขอบเขตไม่ให้ล้ำเส้นกันระหว่างประเทศเมืองขึ้นของตนกับเมืองขึ้นของอีกประเทศหนึ่งเช่นอังกฤษกับฝรั่งเศส เป็นต้นเป็นอันว่าสิ้นสุด ปิดฉากยุคอาณาจักร เปิดศักราชประเทศ ณ.บัดนั้น                   





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น