ช่องบก สมรภูมิพิทักษ์แผ่นดินไทย
ตอนที่ ๑
เมื่อสิ้นสุดสงครามเวียดนามในปี
พ.ศ.๒๕๑๘สหรัฐ อเมริกา ถอนทหารออกจากเวียดนามใต้ เมื่อเวียดนามเหนือชนะสงครามและรวมประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งเดียว ชาวเวียดนามใต้ที่ไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของเวียดนามเหนือต่างพากันอพยพโดยทางเรือออกนอกประเทศแม้แต่การเดินเท้าเข้ามายังกัมพูชาส่วนประเทศปลายทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของทะเลจีนใต้ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
ชาวเวียดนามหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก
ด้านสถานการณ์สงครามมิได้หยุดยั้งอยู่แค่เวียดนามใต้เท่านั้น
หลังจากอเมริกาต้องถอนฐานทัพที่เป็นฐานสนับสนุนการรบให้กับทหารนาวิกโยธิน
ทหารบกและทหารอากาศอเมริกัน ออกจากประเทศไทย
กองทัพทหารรับจ้างชาวไทยที่ร่วมรบกับทหารรัฐบาลเวียดนามใต้
ทหารรัฐบาลลาวและทหารกัมพูชาจึงต้องยุติการรบร่วมโดยสิ้นเชิง
ทำให้ทั้งรัฐบาลลาวและกัมพูชาไม่อาจต้านทานกองทัพลาวแดงและเขมรแดงที่เวียดนามสนับสนุนได้ในปี
๒๕๑๙ เขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตและเขียวสัมพันนำกองทัพแดงยึดกรุงพนมเปญได้ ส่วนลาวเมื่อไม่มีกองทัพหนุนจากมิตรประเทศ
จึงหมดทางต่อสู้เจ้าสว่างวัฒนากษัตริย์ลาวจึงถูกโค่นล้มสิ้นสุดระบอบประชาธิปไตยทั้ง
สองประเทศจึงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประเทศในลัทธิคอมมิวนิสส์ภายใต้การสนับสนุนของเวียดนาม
และจีนระหว่างที่เกิดสงครามระหว่างลัทธิคอมมิวนิสส์และประชาธิปไตยในเวียดนาม ลาว
และกัมพูชานั้น ในประเทศไทย กองทัพบก
นาวิกโยธิน ตำรวจตะเวนชายแดน ตำรวจ และอาสาสมัคร ได้ทำการสู้รบปราบปรามกองทัพทหารป่าของพรรคคอมมิวนิตส์ที่ทั้งเวียดนาม
จีน ลาวแดง และเขมรแดงให้การสนับสนุนอยู่อยากเข้มข้นหลายพื้นที่ในประเทศไทยเป็นพื้นที่สีแดง
พคท.ได้ตั้งเขตปลดปล่อย เขตงานที่ประกอบด้วยการปกครอง การทหาร โรงเรียนการเมือง
มีการเคลื่อนไหวทางหทารและมวลชน รุกหนักจากป่าสู่เมือง มีการสู้รบหนัก
ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐ ปิดล้อมโจมตีสถานีตำรวจ ฐานทหารและตชด.หลายพื้นที่ทั้งภาคเหนือ
ภาคอิสาน ภาคใต้ เช่นที่เชียงราย น่าน นครพนม สกลนคร กาฬสินธ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ตาก นครศรีธรรมราช
ส่วนแนวชายแดนด้านเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออก ที่กองทัพภาคที่๑
กองทัพภาคที่๒ กองทัพภาคที่๓ และกองกำลังนาวิกโยธิน กองทัพเรือ รับผิดชอบดูแลรักษาอธิปไตยโดยใช้กำลังจากกองพลทหารราบและกองพลนาวิกโยธิน(ขณะนั้นเป็นกรมนาวิกโยธิน)ตชด.
และทหารพรานที่เป็นกำลังจากประชาชนที่ตั้งขึ้นมาใหม่ เป็นกำลังหลักในกองกำลังรายรอบประเทศตั้งแต่กองกำลังผาเมืองกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี
กองกำลังสุรนารี กองกำลังบูรพา และกองกำลังจันทบุรีและตราดต้องทำหน้าที่ปกป้องการบุกรุกแนวชายแดน
ที่มีแนวโน้มจะเกิดการรุกหนักจากกองกำลังภายนอกประเทศที่ประกอบด้วย ลาว กัมพูชา
และเวียดนาม และกองทัพจีนที่สนับสนุนกองกำลังของ พคท.ในไทย โดยให้การสนับสนุนการฝึกอาวุธอบรม
การเมือง การทหารและอาวุธ ยุทธภัณฑ์ให้กับ
พรรคคอมมิวนิตส์ไทย
ประเทศกัมพูชาภายใต้การปกครองของเขมรแดงนิยมจีนภายใต้การนำของพอลพต
และเขียว สัมพัน มีการกำจัดประชาชนฝ่ายต่อต้าน
โดยจับกุมไปขังและสังหารเป็นจำนวนนับล้านคน ที่เรียกกันว่าทุ่งสังหารตั้งแต่เขมรแดงเข้าปกครองจนถึงการสังหารโหดผู้คนที่มีความคิดเห็นแตกต่าง
ทำให้
ประชาชนกัมพูชานับล้านคนอพยพหลบหนีเข้าประเทศไทยจนรัฐบาลไทยและยูเอ็น ต้องเข้าช่วยเหลือมีการตั้งศูนย์อพยพตามจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชาหลายศูนย์
เราเรียกชาวกัมพูชาอพยพเหล่านี้ว่าเขมรเสรี
กองทัพเขมรแดงได้เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของทหารไทย
และสถานีตำรวจรวมทั้งหมู่บ้านชาวไทยในจังหวัดชายแดนหลายครั้ง เช่นที่หมู่บ้านและฐานปฏิบัติการตชด.ตำบล
หาดเล็กอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งในกัมพูชาเองยังมีการรวมกลุ่มชาวกัมพูชาหลายกลุ่มนำโดย
ซอนซาน และกษัตริย์สีหนุ ต่อต้านรัฐบาลเขียวสัมพัน แต่ไม่สามารถต่อต้านเป็นรูปธรรมได้มากนัก
ท่ามกลางความไม่ลงตัวของการปกครองกัมพูชา มกราคม ๒๕๒๑ เฮงสัมรินผู้นำเขมรแดงที่นิยมเวียดนามก็นำ
กำลังกองทัพเวียดนามเข้ารัฐประหารเขียวสัมพัน
กองทัพเวียดนามใช้เครื่องบินรบแบบเอฟ ๕ ของอเมริกาจากกองทัพอากาศเวียดนามใต้
เข้าโจมตีทิ้งระเบิดจุดยุทธศาสตร์สำคัญในกัมพูชา ตามด้วยเคลื่อนกำลังรถถังจำนวนมาก
บุกเข้ามาที่เมืองสำคัญ ตั้งกองกำลังและยึดไว้ จากนั้นค่อยๆกระจายจากเมืองนั้นไปเมืองนี้ทีละเมือง
ๆ ประมาณ ๑๕ วัน เวียดนามยึดกัมพุชาได้ทั้งประเทศ การบุกเข้ามาในกัมพูชาในครั้งนี้ใช้กำลังมากถึง
๒๕ กองพล ทหารประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน และรถถังจำนวนหลายร้อยคัน
อีกทั้งส่งกำลังประมาณ ๖๐,๐๐๐ คนประจำการในลาวด้วย กองกำลังเวียดนามที่ร่วมมือรัฐประหารและเป็นกองกำลังพิทักษ์เฮงสัมรินเร่งเพิ่มกำลังทหารเข้าขับไล่กองทัพเขมรแดงของพอลพตออกจากพนมเปญ
และเมืองต่างๆ
พลพตและกองกำลังหลายหมื่นของเขาไม่สามารถเอาชนะกองทัพเวียดนามได้จึงถอยร่นมายังแนวตะเข็บชายแดนไทยทำให้กลุ่มนี้เปลี่ยนสภาพจากเป็นรัฐบาลมาเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลของเฮงสัมริน
ขณะนั้นกลุ่มต่อต้านจึงมี สามกลุ่ม ประกอบด้วย ฝ่ายสีหนุ, ซอน ซาน, และเขมรแดง (เขียว
สัมพันธ์)เมื่อยึดอำนาจรัฐบาลเขมรแดงของพอลพตสำเร็จ การปกครองกัมพูชาถูกเปลี่ยนมือเป็นเฮงสัมริน ก่อนหน้านั้นเขมรฝ่ายต่าง
ๆ ก็รบกันภายใน เพื่อแย่งชิงอำนาจกันอยู่แล้ว แต่คราวนี้กลับหันหน้ามาร่วมมือกันชั่วคราวเพื่อขับไล่เฮงสัมรินและทัพเวียดนาม
การต่อสู้ยังไม่รุนแรงเนื่องจากจำนวนทหารเวียดนามมีมากจนทัพเขมรแดงที่เป็นกองกำลังต่อต้านที่เข้มแข็งที่สุดไม่สามารถรุกคืบหน้าเข้ายึดเมืองต่างๆคืนจากเวียดนามได้คงถอยร่นมาติดแนวชายแดนไทย
การที่เฮงสัมรินต้องการยึดอำนาจจากพอลพต โดยใช้กองกำลังทหารเวียดนามช่วยเหลือนั้น ด้วยศักยภาพกองทัพของพอลพตที่ปกครองประเทศอยู่นั้นหากใช้กองทัพ
เวียดนามเพียงแค่ ๔ กองพลก็สามารถต่อกรกับเขมรแดงได้อย่างสบาย เพราะยังมีกองกำลังอีกจำนวนหลายหมื่นคนของฝ่ายเฮงสัมรินในกัมพูชา
ซึ่งรวมแล้วมีจำนวนมากกว่ากองกำลังเขมรแดงมาก อีกทั้งยังมีอาวุธหนัก เช่น ปืนใหญ่
และรถถัง ที่เหนือกว่าทางเขมรแดงมาก แต่เพราะเหตุใดเวียดนามถึงทุ่มกำลังเข้าประเทศกัมพูชาถึง
๒ แสนนาย หรือเวียดนามจะใช้กัมพูชาเพื่อเป็นฐานทัพในการบุกโจมตีประเทศไทย ขณะนั้นการสู้รบระหว่าง
พคท.กับกองทัพรัฐบาลไทยในภาคเหนือ อิสานเหนือ อิสานใต้ และบางส่วนของภาคใต้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ฝ่ายความมั่นคงไทยมีความหวาดระแวงเวียดนามว่าอาจอาศัยการปราบปรามเขมรแดงที่อยู่ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชาเป็นข้ออ้างรุกล้ำดินแดนไทยและเป็นไปได้ว่าอาจร่วมมือกับ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แยกกำลังกองทัพของไทยในความพร้อมรบที่ต้องจัดกำลังป้องกันประเทศ
และต้องจัดกำลังเข้าคุ้มครองประชาชนปราบปราม กองทัพของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย.ซึ่งเป็นไปได้มากที่เวียดนามจะบุกเข้ายึดดินแดนไทยทั้งภาคเหนือที่ติดกับลาวภาคอิสานที่ติดกับกัมพูชา
หรือที่สุดอาจขยายอิทธิพลยึดครองประเทศไทยทั้งหมด
เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมที่จะรับมือกองทัพของเวียดนามที่พิสูจน์แล้วว่ามีความพร้อมรบที่จะรุกเข้าสู่ประเทศไทย
จึงมีความจำเป็นที่กองทัพต้องทุ่มกำลังเตรียมพร้อมป้องกันประเทศอย่างเต็มที่ โดยก่อนหน้านั้นกองทัพได้เพิ่มเติมกองกำลังให้เพียงพอต่อการรับมือ
กองทัพของคอมมิวนิสต์
โดยตั้งกองกำลังกึ่งทหารกึ่งพลเรือนโมเดลเดียวกับกองกำลังที่ร่วมกับสหรัฐอเมริกาเข้ารบที่ลาวและเวียดนาม
เรียกว่าอาสาสมัครทหารพราน และเมื่อต้องเผชิญหน้ากับข้าศึกภายนอกประเทศ กำลังส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังป้องกันชายแดน
ปักกิ่งนั้นสนับสนุนด้านอาวุธและวิชาการ
ทั้งการฝึกอบรมฝึกอาวุธ(อาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงได้แก่
ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ปืนเล็กเอเค๔๗
เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถังอาร์พีจี)ทั้งโดยตรงและผ่านลาวแดงและเขมรแดงให้กับพลพรรคของคอมมิวนิสต์ไทยมานาน
มีการวางเครือข่าย ปลุกระดมและการติดต่อสื่อสารระหว่างศูนย์กลางพรรคกับเขตงานต่างๆ
โดยตั้งสถานีวิทยุเสียงปักกิ่งภาคภาษาไทยเป็นกระบอกเสียง
เมื่อมีความบาดหมางเกิดขึ้นระหว่างจีนที่สนับสนุนเขมรแดง พอลพต
และเวียดนามที่สนับสนุนเฮงสัมริน
และบาดหมางจากการที่พอลพตนำกำลังที่มีจีนสนับสนุนรุกล้ำชายแดนบุกเข้าเวียดนาม
ด้วยโอกาสที่ฝ่ายความมั่นคงไทยจะต้องจำกัดการเคลื่อนไหวของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย.ให้ลดลง เพื่อทุ่มเทกำลังป้องกันแนวชายแดนให้พร้อมเต็มที่ ผู้นำระดับสูงทางการทหารของไทย จึงได้ส่งนายทหารของไทยไปกรุงปักกิ่ง
เพื่อเจรจากับจีน ขอให้จีนยุติการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ซึ่งได้รับการตอบรับจากจีนเป็นอย่างดี จีนหยุดการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ
ต่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) มีการปิดสถานีวิทยุเสียงปักกิ่งเท่ากับการปลุกระดมและส่งข่าวสารไปยังส่วนต่างๆของเขตงาน
ที่เคลื่อนไหวในไทยยากลำบากมากขึ้นการปฏิบัติทางทหารรุกหนักมีการทำลายที่ซ่องสุมในเขตงานสำคัญๆของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ส่วนทางการไทยเตรียมเปิดช่องให้มีการมอบตัวของพลพรรค พคท.ด้วยนโยบาย นิรโทษกรรมไม่เอาความผิดกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่เข้ามอบตัวร่วมพัฒนาชาติไทย(ออกนโยบาย
๖๖/๒๓ ในปี๒๕๒๓) นอกจากนั้นจีนยังขายอาวุธหนักให้ไทย ซึ่งมีทั้งปืนใหญ่ รถถัง
ยานลำเลียงพลหุ้มเกราะเป็นหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ที่เราเคยแต่เป็นพันธมิตรกับฝ่ายสหรัฐและยืนอยู่ตรงข้ามกับจีนเคียงข้างสหรัฐ
อีกด้านหนึ่งไทยจำเป็นต้องญาติดีกับเขมรแดงเพื่อนสนิทของจีนและจีนได้ผ่านความช่วยเหลือทั้งเสบียงและอาวุธเพื่อให้เขมรแดง
และเขมรเสรีผ่านการขนส่งทางทะเลผ่านต่อไปยังฐานเขมรแดงตามตะเข็บชายแดนไทยเพื่อใช้ต่อสู้กับกองทัพเวียดนามซึ่งมีโซเวียดหนุนหลังอีกที
จึงทำให้กองกำลังที่จะรับมือเวียดนามนอกจากไทยแล้วยังมีเขมรแดงเป็นพันธมิตรเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง
แต่ก่อนอื่นจำเป็นต้องหยุดการรุกของเวียดนามให้เวียดนามคงอยู่แต่ในกัมพูชาและเวียดนามต้องลดกำลังทหารในกัมพูชาให้น้อยลงให้ได้เสียก่อน แล้วจึงให้กองกำลังเขมรแดง
และเขมรเสรีของซอนซานรบแบบกองโจรเช่นเดียวกับเวียดนามใช้กับอเมริกาจนถึงกับถอนทัพกลับ
ดังนั้นภารกิจแรกที่จีนให้ความร่วมมือไทยคือแบ่งแยกกองทัพเวียดนามในกัมพูชาให้ลดน้อยลง ฤดูแล้งของปี
๒๕๒๒ กองทัพจีนได้เคลื่อนทัพหลายแสนคนบุกเข้ามาเวียดนามทางตอนเหนือทางเมืองกวางสี เวียดนามจำเป็นต้องใช้กองกำลังทหารในประเทศมารับมือจีนแต่ก็มีจำนวนน้อยไม่สามารถหยุดยั้งกองทัพจีนได้จึง
ต้อเคลื่อนย้ายกองทัพที่ดีที่สุดของเวียดนามบางส่วนออกจากกัมพูชา เพื่อสู้รบกับจีน ส่วนกองทัพที่เหลืออยู่ในกัมพูชาก็รุกไล่กองทัพเขมรแดงและเขมรสีหนุ
จนติดชายแดนไทยและบางส่วนรุกล้ำเข้ามาตามช่องทางที่เขมรแดงเคลื่อนย้ายเข้าออกประเทศไทยบริเวณที่มีค่ายอพยพซึ่งเป็นที่รวมกองกำลังเขมรแดง,เขมรเสรี
และเป็นที่ส่งกำลังบำรุงทั้งอาหารและอาวุธหลังจากที่เวียดนามยึดกัมพูชาได้
ชาวกัมพูชาจำนวนหลายแสนคน อพยพเข้ามาประเทศไทย
มีการตั้งค่ายผู้อพยพขึ้นเป็นไซต์ต่าง ๆ ซึ่งประชาชนกัมพูชาจะรวมกันเป็นหลายกลุ่มในหลายพื้นที่ตามแนวชายแดนไทยเช่นที่เขาอีด่างจังหวัดปราจีนบุรี(ปัจจุบันตั้งเป็น
จังหวัดสระแก้ว) ค่ายอัมบึน ค่ายหนองจาน ค่ายเคทูเขาตาง๊อก ศูนย์อพยพบ้านพญากัมพุช
ฐานส่งกำลังบำรุงบ้านผักกาด ค่ายสุขสันต์จังหวัดตราด ค่ายเขาพลู ค่ายสะพานหิน
ค่ายเขาล้าน กลุ่มของเขมรแดง
กลุ่มของสีหนุ ในค่ายผู้อพยพเหล่านี้ มีประชาชน ติดอาวุธ และจัดเป็นหน่วยจรยุทธ์รบนอกแบบกึ่งรบตามยุทธวิธีเข้ารบกับเวียดนามในกัมพูชา
โดยการสนับสนุนด้านต่างๆเช่นเสบียง อาวุธ การฝึกอาวุธ การวางแผนการยุทธ์ จากนานาประเทศที่ต้องการหยุดยั้งการขยายอำนาจของคอมมิวนิสต์เวียดนาม-โซเวียต
ด้านกองทัพเวียดนามเริ่มเคลื่อนกำลังรุกล้ำเข้ามาในเขตไทย และตั้งฐานที่มั่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาตั้งแต่ดินแดนติดต่อสามประเทศไทยลาวกัมพูชาอำเภอน้ำยืน
จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดสุรินทร์จังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดจันทบุรีและตามแนวสันเขาบรรทัดจังหวัดตราด
มีการตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุงสาย เค-๕เป็นถนนยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนย้ายกำลัง
เคลื่อนย้ายอาวุธหนักและส่งกำลังบำรุงเพื่อต้องการควบคุมแนวชายแดนไทยไว้ทั้งหมด
และจำกัดการปฏิบัติการของเขมรฝ่ายต่อต้านจากไทย จนเป็นที่มาของ สมรภูมิช่องบก
การรบที่ตาพระยา การรบที่โนนดินแดง ยุทธการบ้านหนองกก ยุทธการบ้านกระดูกช้าง
ยุทธการบ้านชำราก และการปะทะกับกองกำลังนาวิกโยธินที่บ้านหาดเล็กจังหวัดตราด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น